Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา



บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา

สาเหตุ

ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะการบาดเจ็บของเนื้อเยื่ออ่อน เช่น กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น พังผืดเท่านั้น ไม่รวมถึงการบาดเจ็บ ที่รุนแรงจนกระดูกหัก หรือ ข้อเคลื่อน ซึ่งพอจะแบ่งสาเหตุของการบาดเจ็บได้เป็น 3 ชนิด คือ

1. เกิดจากแรงภายนอกมากระแทก เช่น ถูกเตะที่บริเวณข้อเท้าขณะเล่นฟุตบอล

2. เกิดจากแรงภายใน ทำให้มีการหดตัวของกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง จนเกิดการฉีกขาดของกล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อ เช่น การฉีกขาดของเอ็นร้อยหวายในนักกีฬากระโดดสูง หรือ กล้ามเนื้อน่องฉีกขาดในนักฟุตบอล

3. จากการใช้งานมากเกินไป และซ้ำ ๆ ซาก ๆ มักจะเกิดการบาดเจ็บที่ไม่รุนแรง ซ้ำที่เดิมบ่อย ๆ ซึ่งมักมีสาเหตุจาก เทคนิคในการเล่นกีฬา และ การใช้อุปกรณ์ที่ไม่เหมาะสม เช่น เส้นเอ็นข้อศอกอักเสบในนักเทนนิส หรือ เส้นเอ็นร้อยหวายอักเสบในนักวิ่ง กล้ามเนื้อหลังอักเสบเรื้อรัง เป็นต้น



หลักการสำคัญในการดูแลตนเองเบื้องต้น หลังจากได้รับบาดเจ็บ

1. หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวบริเวณที่บาดเจ็บ เช่น ใช้ไม้ดามชั่วคราว หรือ ใช้ผ้ายืดพัน เป็นต้น การใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงส่วนที่บาดเจ็บ เช่น การใช้ไม้ค้ำยันหรือไม้เท้าในกรณีบาดเจ็บที่ขา หรือการใส่ปลอกคอ เป็นต้น

2. ประคบด้วยความเย็นใน 24-48 ชั่วโมงแรก เช่นใช้ผ้าหุ้มก้อนน้ำแข็ง ออกแรงกดเล็กน้อยบริเวณที่บาดเจ็บ ความเย็นจะทำให้เส้นเลือดหดตัว ช่วยให้เลือดหยุดเร็วไม่ออกมากภายในเนื้อเยื่อ ทำให้ลดอาการอักเสบและบวมได้

ดังนั้นเมื่อเกิดการบาดเจ็บใหม่ๆในระยะ 24-48 ชั่วโมงแรกให้ใช้ความเย็น ไม่ใช่ความร้อน แต่พบว่า มีคนที่ ไม่ทราบหรือเข้าใจผิดเป็นจำนวนมาก ใช้ความร้อนทานวดบริเวณที่บาดเจ็บ เช่น ยาหม่อง หรือ ครีมนวด เป็นต้น ซึ่งจะทำให้เส้นเลือดขยายตัวมากขึ้น เป็นสาเหตุให้เลือดหยุดยาก เกิดอาการบวม อักเสบ มากขึ้นได้

3. ใช้ผ้ายืดพันกระชับส่วนที่บาดเจ็บ เพื่อลดอาการปวดและป้องกันไม่ให้บวมมากขึ้น ควรพันผ้ายืดให้กระชับพอดี อย่าให้แน่นเกินไปเพราะจะทำให้ส่วนปลายจากที่พันไว้บวม ควรพันผ้ายืดจากส่วนปลายขึ้นมาหาส่วนต้น

4. ยกส่วนที่บาดเจ็บให้สูงกว่าระดับหัวใจ เพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนดี ไม่คั่งอยู่บริเวณที่บาดเจ็บ เช่นในกรณีข้อเท้าแพลง เวลานั่งควรยกเท้าพาดเก้าอี้ ไม่ควรนั่งห้อยเท้านานๆ เวลานอนก็นำ ม้วนผ้าหรือหมอน หนุนยกเท้าให้สูงขึ้น

5. ถ้าปวดมาก ให้รับประทานยาแก้ปวด เช่น ยาพาราเซตตามอล ซึ่งเป็นยาที่ได้ผลดีและค่อนข้างปลอดภัย สามารถหาซื้อมารับประทานเองได้(ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยโรคตับ) ส่วนยาต้านอาการอักเสบอาจเกิดผลข้างเคียง โดยเฉพาะในผู้ที่มีแผลในกระเพาะอาหาร จึงควรใช้ตามที่แพทย์สั่ง และ ควรรับประทานร่วมกับยาลดกรดในกระเพาะอาหาร

6. เมื่อพ้นระยะ 24-72 ชั่วโมง (ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการบาดเจ็บ) ให้ใช้ความร้อน ซึ่งมีหลายแบบ เช่น กระเป๋าไฟฟ้า ถุงร้อน อัลตร้าซาวด์ หรือ ใช้ยาเฉพาะที่ ซึ่งอาจเป็น ครีม โลชั่น น้ำมัน หรือ สเปรย์ ก็ได้ แต่อาจจะเกิดอาการแพ้ยา และ ระคายเคืองต่อผิวหนัง จึงควรระมัดระวังการใช้ยาในบริเวณผิวหนังที่อ่อนบาง

7. ถ้าอาการไม่ดีขึ้นภายใน 72 ชั่วโมง ควรไปพบแพทย์ โดยทั่วไป ถ้าเป็นการบาดเจ็บที่ไม่รุนแรง อาการต่าง ๆ จะค่อย ๆ ดีขึ้นภายใน 2-3 วันแต่ถ้าอาการปวด หรือ บวม ไม่ดีขึ้น ก็ควรไปพบแพทย์ เพราะอาจเป็นการบาดเจ็บที่รุนแรงกว่าที่คิดไว้ก็ได้



จะเริ่มออกกำลังได้เมื่อไร

ควรเริ่มออกกำลังตั้งแต่ระยะแรก โดยที่เป็นการออกกำลังแบบ ที่ไม่มีการเคลื่อนไหวของส่วนที่บาดเจ็บ เช่น ในกรณีของการบาดเจ็บที่ข้อศอก สามารถออกกำลังของแขนข้างนั้น ได้โดยการกระดกข้อมือ กำมือ บีบเกร็งกล้ามเนื้อเบา ๆ อย่าให้ถึงกับเจ็บ ทำบ่อย ๆ หรือ ถ้าเจ็บที่ข้อเข่า ก็ให้เกร็งกล้ามเนื้อต้นขาและน่อง โดยไม่ให้ข้อเข่าเคลื่อนไหว

เมื่อพ้นระยะของการอักเสบ (ประมาณ 1 - 2 อาทิตย์ ) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการหยุดใช้กล้ามเนื้อนานเกินไป เช่น กล้ามเนื้อลีบอ่อนแรงหรือข้อยึดติด เป็นต้น จะต้องออกกำลังและเคลื่อนไหวบริเวณข้อที่บาดเจ็บให้มากขึ้น แต่มีข้อควรระวังคือ ต้องทำในขนาดที่เหมาะสมไม่มากเกินไป จนเกิดการบาดเจ็บซ้ำอีก โดยให้เริ่มทำช้า ๆ และ เริ่มจากเบา ๆ ก่อน ให้ใช้ความรู้สึกเจ็บเป็นตัวกำหนด ถ้ารู้สึกเจ็บมากก็แสดงว่าทำมากหรือรุนแรงเกินไป



ฟื้นฟูสภาพร่างกายให้แข็งแรง

ร่างกายจะพร้อมมากขึ้นในช่วง 4-6 อาทิตย์หลังจากได้รับบาดเจ็บ ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาสำหรับการฟื้นฟูสภาพ ร่างกายให้คืนสู่สภาพปกติ แต่ต้องจำไว้ว่าต้องค่อยเป็นค่อยไป อย่าใจร้อน ซึ่งมีหลักทั่ว ๆ ไปดังนี้

• ออกกำลังเคลื่อนไหวข้อหรือกล้ามเนื้อที่บาดเจ็บ ให้มากขึ้น แต่จะต้องค่อย ๆ เพิ่มอย่างช้า ๆ ไม่เช่นนั้นอาจทำให้ข้อนั้นเกิดบาดเจ็บซ้ำขึ้นอีก ซึ่งคงต้องปรึกษากับแพทย์เพื่อแนะนำการบริหารสำหรับการบาดเจ็บข้อหรือกล้ามเนื้อแต่ละตำแหน่งโดยเฉพาะ

• เริ่มออกกำลังเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เช่น เคลื่อนไหวข้อต้านกับน้ำหนักหรือแรงต้านเท่าที่ทำได้ โดยไม่รู้สึกปวด แล้วค่อย ๆ เพิ่มน้ำหนักหรือแรงต้านให้มากขึ้น เช่น ใช้น้ำหนักถ่วงที่ปลายเท้า หรือ ใช้เครื่องมือที่ใช้กล้ามเนื้อมือบีบ หรือ บีบดินน้ำมัน เป็นต้น

• ออกกำลังเพื่อเพิ่มความทนทาน ควบคู่ไปด้วย โดยใช้แรงต้านประมาณ 20-40% ของน้ำหนักที่สามารถยกได้เต็มที่ แต่ ให้ทำติดต่อกันหลาย ๆ ครั้ง เช่น ยกซ้ำ ๆ กัน 20-30 ครั้ง เป็นต้น

• ต้องเพิ่มความทนทานให้ระบบหัวใจ หลอดเลือด และปอดด้วย โดยการออกกำลังแบบแอโรบิก ต่อเนื่องกันประมาณ 30 นาที การออกกำลังกายแบบนี้ ควรทำต่อเนื่องมาตั้งแต่แรก ไม่ควรหยุดถ้าไม่มีผลเสียต่อส่วนที่บาดเจ็บ เช่น เคยออกกำลังแบบแอโรบิก ด้วยการวิ่งอยู่เป็นประจำ แล้วเกิดข้อมือซ้นจากการเล่นบาสเกตบอล ก็ยังคงสามารถวิ่งออกกำลังได้ตามปกติ

เมื่อสภาพร่างกายพร้อมมากขึ้นให้เริ่มฝึกตามประเภทของกีฬาที่เล่น เพื่อเพิ่มความคล่องตัว ความแข็งแรง และความเร็ว ในการเล่นกีฬานั้น ๆ แต่อย่าลืมว่าเป็นแค่การฝึกเท่านั้น จะต้องระวังไม่ให้รุนแรงหรือมากเกินไป




เมื่อไรจึงจะกลับไปแข่งขันได้

ปัญหาที่พบบ่อยคือ เกิดการบาดเจ็บซ้ำขึ้นอีก เนื่องจากใจร้อนกลับไปเล่นกีฬาในสภาพที่ร่างกายยังไม่พร้อม ก่อนที่จะกลับไปเล่นกีฬาอย่างเต็มที่โดยเฉพาะในระดับที่ต้องมีการแข่งขัน ควรมีการทดสอบความพร้อมของร่างกาย และแน่ใจว่าร่างกายมีความสมบูรณ์พร้อมมากกว่า 95% ขึ้นไป จึงจะลงแข่งขันได้

ก่อนที่จะเล่นกีฬาจะต้องรู้สึกว่ากล้ามเนื้อและข้อ อยู่ในสภาพที่ปกติ ไม่มีอาการปวด บวมหรือเสียว ในกล้ามเนื้อหรือในข้อ และ ควรใช้ผ้ายืดรัดบริเวณกล้ามเนื้อหรือข้อ เพื่อเพิ่มความแข็งแรง และป้องกันการเกิดการบาดเจ็บซ้ำ …




แถม ..

การบาดเจ็บที่ข้อเข่าจากกีฬา จากคอลัมภ์ " คุยกับหมอไพศาล"

//www.bangkokhealth.com/index.php/2009-01-26-08-35-33/609--1


//www.bangkokhealth.com/index.php/2009-01-26-08-35-33/607---2


//www.bangkokhealth.com/index.php/2009-01-26-08-35-33/608--3


//www.bangkokhealth.com/index.php/2009-01-26-08-35-33/517--4


//www.bangkokhealth.com/index.php/2009-01-26-08-35-33/528--5


//www.bangkokhealth.com/index.php/2009-01-26-08-35-33/526--6


//www.bangkokhealth.com/index.php/2009-01-26-08-35-33/504--7


//www.bangkokhealth.com/index.php/2009-01-26-08-35-33/514---8


//www.bangkokhealth.com/index.php/2009-01-26-08-35-33/512--9


//www.bangkokhealth.com/index.php/2009-01-26-08-35-33/622--10


//www.bangkokhealth.com/index.php/2009-01-26-08-35-33/486--11


//www.bangkokhealth.com/index.php/2009-01-26-08-35-33/500--12





Create Date : 21 มิถุนายน 2551
Last Update : 11 มิถุนายน 2552 16:08:45 น. 1 comments
Counter : 14055 Pageviews.  

 


บาดเจ็บจากการวิ่ง....ตอนที่ 1 .... โดย ศ.นพ. ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-02-2009&group=6&gblog=22

บาดเจ็บจากการวิ่ง....ตอนที่ 2 เจ็บเข่า.... โดย ศ.นพ. ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-02-2009&group=6&gblog=23

บาดเจ็บจากการวิ่ง....ตอนที่ 3 เจ็บขา.... โดย ศ.นพ. ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-02-2009&group=6&gblog=24

บาดเจ็บจากการวิ่ง....ตอนที่ 4 เจ็บเท้า.... โดย ศ.นพ. ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-02-2009&group=6&gblog=25

วิ่งอย่างไร ไม่ให้ ปวดเข่า ..... โดย อ.นพ.จักรกริช กล้าผจญ์
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-02-2009&group=6&gblog=26

ตะคริว ( muscle cramps )
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=22-08-2008&group=6&gblog=20

บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=21-06-2008&group=6&gblog=16

การยืดเส้นแบบประหยัด .... โดย ม.ร.ว. ธันยโสภาคย์ เกษมสันต์
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-02-2009&group=6&gblog=27


โดย: หมอหมู วันที่: 15 สิงหาคม 2555 เวลา:3:07:15 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]