Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ข้อเท้าพลิก ข้อเท้าเคล็ด ( ankle sprain )

 



ข้อเท้าพลิก ข้อเท้าเคล็ด

ข้อเคล็ด ข้อแพลง หรือ เส้นเอ็นฉีกขาด พบได้ค่อนข้างบ่อย โดยบริเวณที่พบบ่อยมากที่สุดก็คือ ข้อเท้า มักจะเกิดจากอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรง เช่น หกล้มแล้วข้อเท้าบิด เส้นเอ็นข้อเท้าที่พบว่าเกิดข้อเคล็ดได้บ่อย คือ เส้นเอ็นข้อเท้าด้านนอก

ปัจจัยที่ทำให้เกิดข้อเท้าเคล็ดได้บ่อย คือ เคยมีประวัติข้อเท้าเคล็ดมาก่อน รองเท้าไม่เหมาะสม น้ำหนักตัวมาก เดินหรือวิ่งบนพื้นที่ขรุขระ กล้ามเนื้อรอบข้อเท้าไม่แข็งแรง

ถ้าเอ๊กซเรย์ข้อเท้า โดยส่วนใหญ่มักจะไม่พบสิ่งผิดปกติ แต่ในบางรายที่มีอาการมาก อาจพบมีกระดูกหัก หรือ ถ้าเส้นเอ็นขาดหลายเส้น และมีระดับความรุนแรงมาก ก็จะพบว่ามีช่องว่างของข้อเท้ากว้างมากขึ้น




ระดับความรุนแรง

• ระดับที่หนึ่ง

เส้นเอ็นยึดข้อถูกเหยียดออกมากเกินไป และบางเส้นใยอาจฉีกขาด จะมีอาการปวดเล็กน้อยเวลากด หรือเคลื่อนไหวข้อ แต่มักจะไม่บวม ยังสามารถเดินลงน้ำหนักได้ตามปกติ

มักจะหายภายใน 2 อาทิตย์

• ระดับที่สอง

เส้นเอ็นยึดข้อมีการฉีกขาดบางส่วน จะมีอาการปวดและกดเจ็บมากพอควร รวมทั้งมีอาการบวมและฟกช้ำ เพราะเส้นเลือดเล็ก ๆ ฉีดขาด ทำให้มีเลือดออก เวลาลงน้ำหนักจะรู้สึกปวด

มักจะหายใน 4-6 อาทิตย์

• ระดับที่สาม

เส้นเอ็นยึดข้อเส้นหนึ่งหรือหลายเส้นเกิดการฉีกขาดจากกันทั้งหมด ทำให้เกิดอาการปวดมาก ข้อจะบวมและฟกช้ำมาก เคลื่อนไหวข้อหรือลงน้ำหนักไม่ได้

อาจต้องใช้เวลาในการรักษา 6-10 เดือนจึงจะหายสนิท แล้วถ้าไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมก็จะมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนค่อนข้างสูงมาก




แนวทางการรักษา

ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของเส้นเอ็นที่ได้รับการบาดเจ็บ ซึ่งมีแนวทางดังนี้

1. หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวข้อเท้า เช่น การใช้ไม้ดาม ใส่เฝือก ใช้ผ้ายืดพัน หรือใช้ไม้เท้าพยุงเวลาเดิน

2. ในระยะ 24-48 ชั่วโมงแรกให้ประคบบริเวณที่บาดเจ็บด้วยความเย็น เช่น ใช้ผ้าหุ้มก้อนน้ำแข็ง เป็นต้น โดยประคบครั้งละ 10 - 20 นาที วันละหลาย ๆ ครั้ง หรือทุก 1 - 2 ชม.

ความเย็นจะทำให้เส้นเลือดหดตัว ทำให้เลือดไม่ออกมากขึ้น ช่วยลดอาการปวด และลดอาการบวม

ห้ามใช้ความร้อน เช่น ยาหม่อง ครีมนวด เพราะจะทำให้เส้นเลือดขยายตัว เลือดออกมากขึ้น ข้อบวมมากขึ้น

ใช้ผ้ายืดพันรอบข้อที่เคล็ด เพื่อลดบวมแต่ ไม่ควรพันแน่นเกินไปเพราะจะทำให้ปลายเท้าบวมได้

ยกเท้าให้สูงกว่าระดับหัวใจ เพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น เช่น เวลานอนก็ใช้หมอนรองขาเพื่อยกเท้าให้สูงขึ้น

ถ้าปวดมากอาจรับประทานยาแก้ปวด เช่น ยาพาราเซตตามอล เป็นยาที่ได้ผลดีและค่อนข้างปลอดภัย ส่วน ยาแก้ปวดลดการอักเสบ มักจะเกิดผลข้างเคียงโดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคกระเพาะ จึงควรใช้ตามคำแนะนำของแพทย์

3.เมื่อพ้นระยะ 24-48 ชั่วโมง ให้ใช้ความร้อน ซึ่งมีหลายรูปแบบ เช่น น้ำอุ่น กระเป๋าไฟฟ้า ถุงร้อน ครีมนวด น้ำมัน เป็นต้น โดยจะประคบด้วยความร้อน 4 นาที สลับกับความเย็น 1 นาที ร่วมกับการบริหารข้อเท้า


โดยทั่วไปถ้าเป็นข้อเคล็ดระดับที่ 1 อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นใน 2 - 3 วัน ซึ่งถ้าอาการยังไม่ดีขึ้น หรือ คาดว่าอาจจะเป็นข้อเคล็ดระดับที่ 2-3 (ข้อเท้าบวมมาก ปวดมากจนเดินไม่ได้) หรือ สงสัยว่าจะมีกระดูกหักร่วมด้วย ให้รีบไปพบแพทย์


4. การบริหารกล้ามเนื้อรอบ ๆ ข้อเท้า
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-07-2008&group=11&gblog=4

4.1 เคลื่อนไหว 6 ทิศทาง ( กระดกขึ้น งอลง บิดเท้าเข้า บิดเท้าออก หมุนเท้าวนเข้า และ หมุนเท้าวนออก ) หรือ อาจใช้วิธีบริหารโดยเคลื่อนไหวปลายเท้า เหมือนกับการเขียนตัวหนังสือขนาดใหญ่ ๆ ก็ได้

4.2 บริหารกล้ามเนื้อให้แข็งแรง โดย เกร็งกล้ามเนื้อค้างไว้ประมาณ 5 -10 วินาที ใน 4 ทิศทาง คือ กระดกขึ้น งอลง บิดเท้าเข้าด้านใน และ บิดเท้าออกด้านนอก

ถ้าไม่มีอาการปวด ก็อาจถ่วงน้ำหนัก 0.5 - 4 กิโลกรัมที่บริเวณปลายเท้า หรือใช้เท้าดันกับขอบโต๊ะแทนก็ได้

5.การบริหารประสาทรับความรู้สึกของข้อเท้า

- ยืน หรือ นั่ง แล้วให้ลงน้ำหนักเล็กน้อยบนเท้าข้างที่บาดเจ็บ โดยเน้นลงน้ำหนักตามส่วนต่าง ๆ ของเท้า คือ ส้นเท้า ปลายเท้า ด้านในเท้า ด้านนอกเท้า ทำสลับกัน ประมาณ 10 รอบ

- วางเท้าบนแผ่นไม้ ที่เอียงกระดกได้ แล้วเหยียบให้แผ่นไม้กระดกไปทางด้านส้นเท้า ด้านปลายเท้า ด้านในเท้า ด้านนอกเท้า ทำสลับกัน ประมาณ 10 รอบ


อาการปวดข้อเท้าเรื้อรัง

โดยส่วนใหญ่ ข้อเท้าเคล็ดมักจะหายเป็นปกติ ด้วยวิธีรักษาแบบไม่ผ่าตัด แต่มีผู้ป่วยบางรายจะเกิดอาการปวดข้อเท้าเรื้อรัง ( ปวดนานกว่า 6 อาทิตย์ ) เคลื่อนไหวข้อได้ไม่เต็มที่ และเกิดข้อเท้าแพลงซ้ำได้ง่าย ซึ่งอาจเกิดจาก

 ไม่ได้ทำกายภาพบำบัดอย่างถูกต้องเหมาะสม ทำให้กล้ามเนื้อทำงานประสานกันได้ไม่ดี กล้ามเนื้อลีบ

 มีเนื้อเยื่อรอบข้อเท้าที่ฉีกขาดยื่นเข้าไปในข้อเท้า เมื่อกระดกข้อเท้าขึ้นก็จะถูกกระดูกหนีบทำให้ปวด

 มีกระดูกแตกร่วมด้วย แล้วมีกระดูกติดผิดรูป

 เส้นเอ็นฉีดขาดหลายเส้น แล้วเส้นเอ็นไม่ติด หรือ เส้นเอ็นติดในรูปแบบที่ไม่เหมาะสม



เมื่อไรถึงจะกลับไปเหมือนกับปกติ

ระยะเวลาหายที่จะหายเป็นปกติขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น อายุ ระดับความรุนแรงของข้อเคล็ด วิธีรักษา รวมถึงวิธีทำกายภาพบำบัด เป็นต้น ซึ่งอาจต้องใช้ระยะเวลาในการรักษาและทำกายภาพบำบัดประมาณ 1 - 6 อาทิตย์ แต่ เส้นเอ็นจะหายเป็นปกติต้องใช้เวลาประมาณ 4-6 เดือน จึงควรใส่อุปกรณ์พยุงข้อเท้าเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อเท้าแพลงซ้ำ

หลักการพิจารณาโดยทั่ว ๆ ไปว่าเมื่อไรจะสามารถกลับไปเล่นกีฬาได้อีกก็คือ สามารถเคลื่อนไหวข้อเท้า และ เดินลงน้ำหนักได้โดยไม่ปวด

ซึ่งทดสอบโดย ยืนเขย่งยกส้นเท้าขึ้น ถ้าเขย่งได้นานมากกว่า 20 วินาทีโดยไม่ปวดก็ให้ลองวิ่งในแนวตรงก่อน แล้วค่อยเพิ่มเป็นวิ่งวนเป็นรูปเลขแปด แล้วจึงเปลี่ยนเป็นวิ่งแบบสลับฟันปลา ถ้าไม่ปวด และ รู้สึกว่าข้อเท้ามั่นคงดี จึงจะสามารถกลับไปเล่นกีฬาได้เหมือนเดิม แต่ขณะเล่นกีฬาควรใส่เครื่องพยุงข้อเท้าไว้อย่างน้อย 6 เดือน

"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""

the Ottawa Ankle Rule

Stiell and colleagues developed the concept of a clinical decision rule to guide the assessment of ankle injuries—in particular, to determine the indications for radiography.This became known as the Ottawa ankle rules, using bony tenderness and
inability to bear weight as positive indicators for radiography.

Sensitivities for the Ottawa Ankle Rule range from the high 90% to 100% range for “clinically significant” ankle and midfoot fractures. This isdefined as a fracture or an avulsion > 3 mm.

Specificities for the Ottawa Ankle Rule are approximately 41% for the ankle and 79% for the foot, although the rule is not designed or intended to make a specific diagnosis.

The Ottawa Ankle Rule is useful in ruling out fracture (high sensitivity), but does poorly at ruling in fractures (many false positives) and its use should reduce the number of unnecessary radiographs by 30-40%

https://www.mdcalc.com/ottawa-ankle-rule
https://www.theottawarules.ca/ankle_rules
https://www.physio-pedia.com/Ottawa_Ankle_Rules
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4071746/
https://bjsm.bmj.com/content/37/3/194

***************************

ankle sprain
Updated: Jan 14, 2019
https://emedicine.medscape.com/article/1907229

Provide patients with information on when to call for advice if one of the following conditions is observed:
- The joint is wobbly or moves past its normal ROM
- The bone is deformed or bends abnormally
- Pain prevents putting weight on the injured area after 24 hours
- Weight-bearing still is difficult after 4 days
- Extreme pain, bruising, or severe swelling is present
- The toes below the injury feel cold to the touch or become numb or blue

In a systematic literature review, 36-85% of patients with acute ankle sprains reported full recovery at 2 weeks to 36 months,independent of the initial grade of sprain,with most recovery occurring within the first 6 months. After 12 months, the risk of recurrent ankle sprain returns to preinjury levels.However, 3-34% of patients reported re-sprains at 2 weeks to 96 months after the initial injury. Furthermore, after 3 years, some patients still had residual pain and instability. One risk factor for residual symptoms seems to be participation in competitive sports.

Functional instability of the ankle has been defined variously as the occurrence of frequent sprains, difficulty running on uneven surfaces, difficulty cutting or jumping, and recurrent giving-way for at least 6 months despite adequate nonsurgical therapy. Instability may result from tibiotalar laxity or subtalar instability.

For recurrent lateral ankle sprains, treatment should begin with a trial of conservative therapy for approximately 2-3 months.The recurrence rate for lateral ankle sprains has been reported to be as high as 80%.

**********************************

It is generally accepted that for most patients, operative repair of third-degree anterior talofibular ligament (ATFL) tears and medial ankle ligament tears does not contribute to an improved outcome. One of the few absolute indications for surgery in patients with a sprained ankle is a distal talofibular ligament third-degree sprain that causes widening of the ankle mortise. A second indication is a deltoid sprain with the deltoid ligament caught intra-articularly and with widening of the medial ankle mortise.

In selected young patients with high athletic demands who have both anterior talofibular and calcaneofibular complete ruptures, surgical repair may be the treatment of choice.

For recurrent lateral ankle sprains, treatment should begin with a trial of conservative therapy for approximately 2-3 months , if these measures are unsuccessful, surgical intervention is necessary. In syndesmotic injuries, when a diastasis has been present for longer than 3 months .

Chronic instability of the subtalar joint frequently requires surgical intervention

**********************************
Return-to-play criteria during the recovery phase (3 d to 2 wk post injury) include the following:
- Full, pain-free active and passive ROM
- No pain or tenderness
- Strength of ankle muscles 70-80% of that on the uninvolved side
- Ability to balance on 1 leg for 30 seconds with eyes closed

Return-to-play criteria during the functional phase (2-6 weeks postinjury) include the following:
- Normal ROM of the ankle joint
- No pain or tenderness
- Satisfactory clinical examination
- Strength of ankle muscles 90% of the uninvolved side
- Ability to complete functional examination

**********************************


 


Create Date : 21 มิถุนายน 2551
Last Update : 26 เมษายน 2564 21:50:20 น. 3 comments
Counter : 72320 Pageviews.  

 
คิดว่าเป็นระดับสองค่ะ
กว่าจะหาย4-6อาทิตย์เลยเหรอค่ะ นานจัง

แต่เดี๋ยวถ้ารู้สึกว่าดีขึ้นแล้วจะลองทดสอบแบบที่คุณหมอแนะนำ

ขอบคุณความรู้ดีๆที่เอามาฝากนะค่ะ


โดย: double_pp (double_pp ) วันที่: 7 มีนาคม 2552 เวลา:12:03:04 น.  

 
the Ottawa Ankle Rule

Stiell and colleagues developed the concept of a clinical decision rule to guide the assessment of ankle injuries—in particular, to determine the indications for radiography.This became known as the Ottawa ankle rules, using bony tenderness and
inability to bear weight as positive indicators for radiography.

Sensitivities for the Ottawa Ankle Rule range from the high 90% to 100% range for “clinically significant” ankle and midfoot fractures. This isdefined as a fracture or an avulsion > 3 mm.

Specificities for the Ottawa Ankle Rule are approximately 41% for the ankle and 79% for the foot, although the rule is not designed or intended to make a specific diagnosis.

The Ottawa Ankle Rule is useful in ruling out fracture (high sensitivity), but does poorly at ruling in fractures (many false positives) and its use should reduce the number of unnecessary radiographs by 30-40%

https://www.mdcalc.com/ottawa-ankle-rule
//www.theottawarules.ca/ankle_rules
https://www.physio-pedia.com/Ottawa_Ankle_Rules
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4071746/
https://bjsm.bmj.com/content/37/3/194

***************************


โดย: หมอหมู วันที่: 12 สิงหาคม 2563 เวลา:20:31:07 น.  

 
ankle sprain
Updated: Jan 14, 2019
https://emedicine.medscape.com/article/1907229

Provide patients with information on when to call for advice if one of the following conditions is observed:
- The joint is wobbly or moves past its normal ROM
- The bone is deformed or bends abnormally
- Pain prevents putting weight on the injured area after 24 hours
- Weight-bearing still is difficult after 4 days
- Extreme pain, bruising, or severe swelling is present
- The toes below the injury feel cold to the touch or become numb or blue

In a systematic literature review, 36-85% of patients with acute ankle sprains reported full recovery at 2 weeks to 36 months,independent of the initial grade of sprain,with most recovery occurring within the first 6 months. After 12 months, the risk of recurrent ankle sprain returns to preinjury levels.However, 3-34% of patients reported re-sprains at 2 weeks to 96 months after the initial injury. Furthermore, after 3 years, some patients still had residual pain and instability. One risk factor for residual symptoms seems to be participation in competitive sports.

Functional instability of the ankle has been defined variously as the occurrence of frequent sprains, difficulty running on uneven surfaces, difficulty cutting or jumping, and recurrent giving-way for at least 6 months despite adequate nonsurgical therapy. Instability may result from tibiotalar laxity or subtalar instability.

For recurrent lateral ankle sprains, treatment should begin with a trial of conservative therapy for approximately 2-3 months.The recurrence rate for lateral ankle sprains has been reported to be as high as 80%.

**********************************

It is generally accepted that for most patients, operative repair of third-degree anterior talofibular ligament (ATFL) tears and medial ankle ligament tears does not contribute to an improved outcome. One of the few absolute indications for surgery in patients with a sprained ankle is a distal talofibular ligament third-degree sprain that causes widening of the ankle mortise. A second indication is a deltoid sprain with the deltoid ligament caught intra-articularly and with widening of the medial ankle mortise.

In selected young patients with high athletic demands who have both anterior talofibular and calcaneofibular complete ruptures, surgical repair may be the treatment of choice.

For recurrent lateral ankle sprains, treatment should begin with a trial of conservative therapy for approximately 2-3 months , if these measures are unsuccessful, surgical intervention is necessary. In syndesmotic injuries, when a diastasis has been present for longer than 3 months .

Chronic instability of the subtalar joint frequently requires surgical intervention

**********************************
Return-to-play criteria during the recovery phase (3 d to 2 wk post injury) include the following:
- Full, pain-free active and passive ROM
- No pain or tenderness
- Strength of ankle muscles 70-80% of that on the uninvolved side
- Ability to balance on 1 leg for 30 seconds with eyes closed

Return-to-play criteria during the functional phase (2-6 weeks postinjury) include the following:
- Normal ROM of the ankle joint
- No pain or tenderness
- Satisfactory clinical examination
- Strength of ankle muscles 90% of the uninvolved side
- Ability to complete functional examination

**********************************


โดย: หมอหมู วันที่: 12 สิงหาคม 2563 เวลา:20:31:36 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]