Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

แนะนำ เวบ และ แอป ค้นหาข้อมูล ยา

ปัจจุบัน เราสามารถค้นหาข้อมูลได้ไม่ยาก แต่ ที่ยากก็คือ แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ




แอปพลิเคชัน RDU รู้เรื่องยา

คุณเคยเจอปัญหานี้หรือไม่ ได้ยาจากโรงพยาบาลมา อยากรู้ข้อมูลเกี่ยวกับยาเพิ่มเติม แต่ไม่รู้จะไปหาแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือจากไหน ปัญหานี้จะหมดไป เพราะเรามีแอป RDU รู้เรื่องยา ยา ยา ยา .....

ไม่ว่าท่านจะอยู่ที่ไหน จะใกล้หรือไกล เพียงแค่คุณมีสัญญาณอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็น 3G/4G หรือ wifi ท่านก็จะสามารถเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับยาได้ทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นข้อบ่งใช้ ผลข้างเคียง ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้ยา และอันตรกิริยาของยา (ยาที่กินด้วยกันไม่ได้หรืออาหารที่ห้ามกินร่วมกับยา) เพียงแค่คุณโหลดแอปพลิเคชัน RDU รู้เรื่องยา

ส่วนวิธีการใช้งานนั้นง่ายมาก เพียงแค่พิมพ์ชื่อยาแล้วกดค้นหา หรือสแกน QR code บนซองยาที่ท่านได้รับมาจากโรงพยาบาล ท่านจะสามารถเข้าถึงข้อมูลยาได้ทันที

เท่านั้นยังไม่พอ เรายังมีเมนูอื่นๆที่น่าสนใจอีก เช่น ข่าวสารเรื่องยา สาระยาน่ารู้ และสามารถค้นหาโรงพยาบาลหรือร้านยาคุณภาพได้ผ่านแอพพลิเคชั่นนี้

พิเศษ หากท่านลงทะเบียนในแอปพลิเคชัน RDU รู้เรื่องยา ท่านจะสามารถบันทึกข้อมูลการใช้ยาของท่านได้ เพื่อเก็บข้อมูลยาที่ท่านใช้อยู่เป็นประจำ และสะดวกต่อการค้นหา

ดีขนาดนี้รอช้าอยู่ใย โหลดมาใช้กันเลย แอปพลิเคชัน RDU รู้เรื่องยา ยา ยา ยา .....

===============
#Smartแน่แค่followเรา
FB: Smart Consumer
IG/twitter: @smart_consumer4

https://www.facebook.com/smartconsumer4.0/photos/a.290627251349713/688589951553439/?type=3&theater


************************************************


 

ให้ iPhone ของคุณเป็นหมอส่วนตัว ด้วยแอพ Ya & You และ DoctorMe โหลดฟรี !!

วันที่: 11/07/2016 | หมวด: App, Article, Featured, iOS, Thai | แท็ก: , , , ,

เคยมีปัญหาฉลากยาหาย หรือว่าไม่รู้ว่ายาตัวนี้มันไม่แก้อะไร ต้องทายอย่างไร วันละกี่เม็ด ก่อนอาหาร หรือหลังอาหาร หรือว่าปวดหัว ตัวร้อน ท้องเสีย ไม่รู้จะไปปรึกษาใคร วันนี้ทีมงาน MacThai จึงขอนำเสนอแอพที่จะทำให้ไอโฟนของคุณเป็นหมอและเภสัชกรส่วนตัวเลยทีเดียว นั่นก็คือแอพ Ya & You และ DoctorMe


Ya & You

เรามาเริ่มทำความรู้จักแอพ Ya & You กันก่อน แอพ Ya & You นี้จัดทำขึ้นโดย มูลนิธิเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบยา และ NECTEC ซึ่งแอพนี้เป็นแอพที่คอยรวบรวมข้อมูลยาเกือบทุกชนิดในตลาด มาไว้บนแอพมือถือ ให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลยาได้อย่างง่ายดาย โดยไม่จำเป็นต้องวิ่งไปถามเภสัชกรตามร้านขายยา

Ya & You สามารถค้นหาชื่อสามัญ ชื่อทางการค้า รูปแบบยา (เป็นยาเม็ด ยาน้ำ ยาภายนอก เป็นต้น) ยาใช้สำหรับอะไร แก้อะไร วิธีใช้ยา ห้ามใช้ยานี้กับยาประเภทใด ผลข้างเคียงต่าง ๆ หลังจากทานยานี้เข้าไปแล้ว

ตัวอย่างการค้นหาข้อมูลยา

ทีมงานจึงได้หายามาทดสอบ ว่าข้อมูลของทาง Ya & You มันจะเจ๋งแค่ไหนมาดูกัน…

ยาที่นำมาทบสอบวันนี้ ถ้าใครเป็นภูมิแพ้ อาจจะต้องร้องอ๋อ เพราะมันคือ ยี่ห้อ Nasolin (นาโซลิน) ยาเป็นยาแก้คัดจมูก น้ำมูกไหล แผงสีเหลือง

ทีมงานก็เริ่มจากการเข้าแอพ Ya & You เป็นอันดับแรก จากนั้นกดปุ่มค้นหา ที่เป็นรูปแว่นขยายด้านล่างซ้ายมือ จากนั้นให้พิมพ์ชื่อยาลงไปในช่อง Search ด้านบน

เมื่อพิมพ์คือว่า “nasolin” ลงไปก็จะพบตัวยาที่เป็นอักษรสีฟ้าขึ้นทันที ด้านล่างก็จะมีรูปแบบของยา ซึ่ง Nasolin ตัวนี้เป็นยาเม็ดถูกต้อง

เมื่อกดเข้าไปด้านใน ก็จะเจอกับข้อมูลยา ที่ระบุไว้อย่างละเอียด ตั้งแต่ชื่อสามัญ ชื่อการค้า รูปแบบยา ยาที่ใช้สำหรับรักษาอาการจาม ไอ น้ำมูกไหล คัดจมูด คันตา ผื่นคันต่าง ๆ ซึ่งถูกต้อง

และยังมีวิธีใช้ยาที่ระบุไว้อย่างละเอียดว่า ควรกินไม่เกินวันละ 3-4 ครั้ง ห้ามใช้ร่วมกับยาในกลุ่ม MAO inhibitor นอกจากนี้ ยังบอกอาการหรือผลข้างเคียงแบบทั่วไปจนไปถึงขั้นรุนแรงของตัวยาตัวนี้ไว้อีกด้วย ซึ่งยาตัวนี้เมื่อกินเข้าไปแล้วจะรู้สึกง่วงนอน เศร้าซึม ซึ่งตรงจุดนี้บนแผงยาไม่ได้ระบุไว้ และเป็นข้อดีของแอพตัวนี้เลยก็ว่าได้

 

DoctorMe

ส่วนแอพ DoctorMe เรียกได้ว่าเป็นแอพที่จะวินิจฉัยโรคเบื้องต้นให้กับเรา ว่าเรามีอาการแบบนี้ เรามีโอกาสจะเป็นโรคอะไรได้บ้าง มีวิธีแก้ไขเบื้องต้นอย่างไร เหมือนเรามีแพทย์ส่วนตัวอยู่บนไอโฟนเข้าเราเลยก็ว่าได้ ซึ่งแอพนี้มีจุดเด่นตรงที่ แอพหน้าตาสวยงาม น่าใช้ เข้าใจง่าย ซึ่งทาง สสส. ร่วมกับมูลนิธิหมอชาวบ้าน และโอเพ่นดรีม ได้จัดทำแอพนี้ขึ้นมานั่นเอง

เมื่อกดเข้าไปในแอพ ก็จะมี 3 ส่วนด้วยกัน คือ

  • ส่วนแรกก็คือจะถามเราว่า เราไม่สบายตรงไหน…? ซึ่งส่วนนี้จะแบ่งเป็น 3 ส่วนด้วยกันคือ ส่วนศีรษะ, ลำตัว และก็ลำตัวส่วนล่าง
  • ส่วนที่ 2 เป็นการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อเราหรือคนอื่นได้รับอุบัติเหตุ หัวแตก เลือดออก ไฟช็อต หมดสติ งูกัด เป็นต้น สามารถเข้าไปอ่านและวิธีการปฐมพยาบาลได้เลย
  • ส่วนที่ 3 เป็นการใช้สมุนไพรในการรักษาอาการเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ผื่นคัน แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แก้แพ้อักเสบ

เมื่อกดเข้ามาในส่วนแรก ก็จะพบอาการต่าง ๆ มากมายเต็มไปหมด เราสามารถกดรูปดาวข้างหน้า ให้เซฟเป็น Favorite หรือเพิ่มเป็นรายการลัดได้ด้วย สมมติมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ตัวแอพก็จะอธิบายอย่างละเอียด เช่นให้ทานยา ดื่มน้ำเกลือ หรือถ้าไม่ดีขึ้นให้รีบไปหาหมอทันที

ซึ่งด้านบนก็จะมีแถบ “เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง” ก็จะพบหัวข้อที่เกี่ยวกับคลื่นไส้ อาเจียน เช่น นิ่วน้ำดี อาหารเป็นพิษ ยาแก้อาเจียน ซึ่งเราสามารถกดเซฟ Favorite ได้เช่นกัน

ส่วนที่ 2 การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ก็จะคล้าย ๆ กับส่วนแรก ก็คือจะมีให้เลือกอาการ หรืออุบัติเหตุที่เจอและต้องปฐมพยาบาล เช่น มีคนหมดสติ แอพก็จะบอกหลาย ๆ กรณี การผายปอด การทำ CPR และมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการหมดสติให้อ่านกันอีกด้วย

ต่อมาเป็นอีกฟีเจอร์ที่ดีมากเลย เพราะแอพได้รวบรวมที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ของโรงพยาบาลทั้งหมดในประเทศ เพื่อไว้ติดต่อในยามฉุกเฉิน ซึ่งเราสามารถค้นหาโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดจากการใช้ GPS และสามารถกดปุ่มแผนที่ หรือขอเส้นทาง เพื่อสามารถขับรถไปส่งที่โรงพยาบาลได้ทันเวลา

และสุดท้ายเป็นฟีเจอร์บันทึกสุขภาพของตัวเรา ว่าวันนี้เรามีอาการเจ็บป่วย ไม่สบายอะไรบ้าง ข้อดีของฟีเจอร์นี้ก็คือในแต่ละเดือน แต่ละปีเราป่วยบ่อยมากแค่ไหนอีกด้วย เมื่อเราบันทึกว่าเราเจ็บป่วย แอพก็จะมีหัวข้อที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับอาการที่เราเป็นอีกด้วย เช่น ไอ เจ็บคอ แอพก็จะแสดงสมุนไพรที่ขับเสมหะได้ ยาแก้ไอ และอื่น ๆ

และจากฟีเจอร์ บันทึกสุขภาพ ตัวแอพจะนำข้อมูลตรงนี้ไปรวบรวมและวิเคราะห์ว่าในจังหวัดหรือพื้นที่ที่เราอยู่นี้ มีคนที่ป่วยกี่เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสามารถคาดการณ์ได้ว่าพื้นที่ที่เราอยู่มีโรคระบาดหรือไม่นั่นเอง

และเรายังสามารถเข้าไปดูสถิติการเจ็บป่วยในจังหวัดของเราได้ที่เว็บไซต์ https://www.sicksense.org

สุดท้ายทีมงาน MacThai ก็อยากจะให้ทุกคนที่อ่านบทความนี้ ลองโหลดแอพ Ya & You และ DoctorMe มาลองใช้กันดูซึ่งเป็นแอพที่มีประโยชน์มาก ๆ ควรเป็นแอพสามัญประจำเครื่องเลย โดยสามารถไปดาวน์โหลดได้ที่

Ya & You

iOShttps://itunes.apple.com/th/app/yaandyou/id459400481

Androidhttps://play.google.com/store/apps/details?id=com.yayou

Window Phonehttps://www.microsoft.com/en-us/store/apps/yaandyouwp/9nblggh0b09h

Websitehttps://www.yaandyou.net

 

DoctorMe

iOS : https://itunes.apple.com/th/app/doctorme/id450125162

Android : https://play.google.com/store/apps/details?id=comdream.android.doctorme

Website : https://www.doctorme.in.th

 

เรียบเรียงโดย
ทีมงาน MacThai

เครดิต
https://www.macthai.com/2016/07/11/ya-and-you-doctor-me-by-iphone-thai-health/
https://www.modify.in.th/7225

******************************************

 




 

Create Date : 28 กรกฎาคม 2562   
Last Update : 28 กรกฎาคม 2562 13:41:22 น.   
Counter : 9304 Pageviews.  

กัญชาทางการแพทย์ ... ข้อมูลวิชาการ ( คัดลอกมาฝาก ไม่ได้เขียนเอง )

กัญชาทางการแพทย์ (ฉบับ Evidence-based)
กัญชาทางการแพทย์ ฉบับ Evidence-based 20 เมษายน - วันกัญชาโลก (National Weed Day)

เนื่องจากช่วงนี้มีกระแสข่าวการปลูกกัญชาเสรีเป็นจำนวนมาก .. กัญชามีสรรพคุณอะไรกันบ้าง ? อันไหนลวง อันไหนจริง อันไหนมี study รับรอง หมออย่างเราลองมาดูกัน ..





กัญชา (Cannabis/Marijuana) เป็นพืชที่มีสารออกฤทธิ์หลายอย่าง แต่มักใช้นำมาเสพเพื่อหวังผลออกฤทธิ์ให้เกิดความสนุกสนาน (recreational use) ในขณะเดียวกัน ก็พบว่ามีประโยชน์ในการรักษาอาการบางชนิดทางการแพทย์ (medical use)




แม้ว่ากัญชาจะมีสารออกฤทธิ์มากกว่า 500 ชนิด แต่ชนิดที่มีการศึกษาว่ามีประโยชน์ทางการแพทย์อย่างแพร่หลาย คือ 9-tetrahydrocannabinol (THC) และ Cannabidiol (CBD)

THC เป็นสารตัวหลักที่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท โดยความแรง (high) ของกัญชาจะขึ้นกับสัดส่วนของ THC โดยตรง

ในขณะที่ CBD นั้นออกฤทธิ์หลายอย่างตรงกับข้ามกับ THC ไม่มีฤทธิ์ให้เกิดอาการ high และพบว่ามีฤทธิ์ต้านโรคจิตเภท (antipsychotic) คลายกังวล (anxiolytic) กันชัก (anti-seizure) และ ต้านการอักเสบ (anti-inflammatory)

สำหรับกัญชาที่ใช้เสพนั้นมีสัดส่วนของ THC และ CBD ที่แตกต่างกันไป หรืออาจไม่มี CBD เลยก็ได้

ซึ่งจริง ๆ แล้ว ร่างกายของเรานั้นก็มีการสร้างสารกัญชา (endogenous cannabinoid) ได้เองเช่นกัน โดยออกฤทธิ์ผ่าน cannabinoid receptors ซึ่งพบมากในสมอง





ประโยชน์ของกัญชาที่ถูกอ้างถึงกันมาก คือ สรรพคุณในด้านการรักษาอาการปวด ลดการอักเสบ รักษามะเร็ง แก้โรคลมชัก โรคทางจิตเวชและการบำบัดผู้ติดยา ฯลฯ

เรามาดูกันว่าสรรพคุณไหน ที่มี study มารองรับบ้าง

- มีการศึกษา (RCT) ว่ากัญชาใช้บรรเทาอาการปวดและช่วยทำให้นอนหลับดีในผู้ที่มีอาการปวดเรื้อรัง (chronic pain) เช่น การปวดจากมะเร็ง (cancer pain) การปวดจากเส้นประสาท (neuropathic pain) ฯลฯ แต่ไม่มีฤทธิ์ในการระงับอาการปวดฉับพลัน (acute pain) การปวดข้อ (rheumatoid pain) โดยมีฤทธิ์ทั้งรูปยากิน และยาสูด

- มีการศึกษา (RCT) ว่ากัญชาช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียนภายหลังจากการฉายแสงได้ดีกว่ายาหลอก

- มีการศึกษาในจานเพาะเลี้ยงและในหนูว่า CBD สามารถยับยั้งการเจริญ และเพิ่มการตอบสนองต่อรังสีรักษา (radiosensitive) ของเซลล์มะเร็ง (glioma cell lines) แต่ไม่มีการทดลองใดทำในมนุษย์

- มีการศึกษา (RCT) ว่ากัญชาสามารถรักษาโรคลมชักที่ไม่ตอบสนองต่อยากันชัก (treatment-resistant epilepsy) บางชนิดได้ แต่ไม่ได้เป็นตัวเลือกแรกในการรักษาโรคลมชัก

- มีการศึกษาในสัตว์ทดลองว่า CBD มีผลคลายกังวล แต่การศึกษาเชิงสังเกตในผู้เสพกัญชา (ซึ่งมี THC) พบว่าทำให้เกิดความกังวลมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ยังไม่มีการศึกษาในมนุษย์ที่แสดงถึงประสิทธิภาพของกัญชาในการรักษาโรคซึมเศร้า หรือ โรคอารมณ์สองขั้ว (bipolar) การศึกษาพบว่า การใช้กัญชาในผู้ป่วย bipolar ทำให้อาการณ์กำเริบได้มากขึ้น (new manic episode)





สิ่งที่ละเลยไม่ได้เลยก็คือ ผลข้างเคียงจากการใช้กัญชา โดยเฉพาะในผู้ใช้เสพปริมาณมาก และไม่มีการกำกับดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

- หลักฐานการศึกษา (meta-analysis,RCT) จำนวนมากพบว่า การใช้กัญชาในระยะยาวทำให้การทำงานของสมองแย่ลง โดยลดความสามารถในด้านความคิดความเข้าใจ (cognitive function) ทำให้เกิดอาการเลื่อนลอย (amotivation syndrome) และกระตุ้นให้เกิดโรคจิต (psychosis) โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงเดิ

- ในการทดลองทางการแพทย์โดยใช้กัญชาเทียบกับยาหลอก พบว่า กัญชาทำให้เกิดผลข้างเคียงมากกว่า (29 studies, CI2.4-3.8) ผลข้างเคียงที่ร้ายแรงมากกว่า (34 studies, CI 1.04-1.92) และการออกจากการศึกษาเนื่องจากผลข้างเคียงมากกว่า(23 studies, CI 2.2-4.0) อย่างมีนัยยะสำคัญ

- ผลข้างเคียงที่สำคัญจากการใช้กัญชาทางการแพทย์ เช่น สับสน(disorientation) อาการมึนหัว euphoria สับสน(confusion) ง่วงซึม(drowsiness) ปากแห้ง ง่วงนอน(somnolence) เสียการทรงตัว เห็นภาพหลอน(hallucination) คลื่นไส้ หงุดหงิด(asthenia) อ่อนเพลีย ฯลฯ ตามลำดับของ odd ratio จากมากไปน้อย

- บางการศึกษา (open label) ทางการแพทย์ เพื่อรักษาอาการปวด พบว่า ผลข้างเคียงไม่แตกต่างจากยาหลอก และไม่มีการชินต่อยา (analgesic tolerance) ที่เวลา 1 ปี

- บางการศึกษา (open label) พบว่ามีอาการขาดยา (withdrawal)

อย่างไรก็ตาม ยังขาดการศึกษาผลข้างเคียงต่อการใช้กัญชาในระยะยาวทางการแพทย์





ในปัจจุบัน มียาที่ได้รับการรับรองจาก US FDA และมีส่วนผสมของกัญชาอยู่ คือ

1) Dronabinol และ Nabilone ที่มีส่วนผสมของ THC โดยมีข้อบ่งชี้ใช้รักษาอาการคลื่นไส้อาเจียนภายหลังจากการทำคีโม และใช้เพิ่มความอยากอาหารในผู้ป่วย AIDS ที่มีน้ำหนักลดมาก
2) Epidiolex® ที่มีส่วนผสมของ CBD สำหรับใช้รักษาโรคลมชักในเด็ก เฉพาะในกลุ่ม Dravet syndrome และ Lennox-Gastaut syndrome

ซึ่งทั้ง 3 ตัว เข้าใจว่ายังไม่มีการนำมาขายในประเทศไทย






แม้ว่ากัญชาจะมีความเป็นไปได้ที่จะมีสรรพคุณทางการแพทย์หลากหลาย การศึกษาส่วนมากอยู่ในระดับสัตว์ทดลอง หรือกลุ่มคนจำนวนน้อย แม้ในยุคหลังจะมีการศึกษาระดับ RCT มากขึ้นก็ตาม จึงเป็นที่มาว่าเหตุใดจึงยังไม่มีการนิยมใช้ในทางการแพทย์อย่างแพร่หลาย รวมทั้งการที่ FDA ยังไม่ประกาศรับรองในหลายข้อบ่งชี้ (indication) ก็คงทำให้แพทย์ส่วนมากไม่กล้าจะแนะนำให้ใช้กัญชาเป็นแน่ ส่วนหนึ่งก็ต้องยอมรับว่าเป็นเพราะกฎหมาย ทำให้มีการทำวิจัยเกี่ยวกับกัญชาทำได้ยาก

ความเป็นไปได้ ที่จะเกิดการใช้กัญชาทางการแพทย์ ในอนาคตอันใกล้ นอกเหนือจากที่ FDA รับรองแล้ว คือ
การใช้เป็นยาระงับปวด โดยเฉพาะในอาการปวดจากโรคมะเร็ง (ไม่ใช่รักษามะเร็ง) โดยมีการรายงานว่า ภายหลังการประกาศให้กัญชาถูกกฎหมายในบางรัฐของอเมริกา ทำให้มีการสั่งกัญชาเป็นยาแก้ปวดมากขึ้น ช่วยลดอัตราการสั่งใช้ยาแก้ปวดกลุ่ม opioid ซึ่งทำให้ติดได้ง่าย และมีผลข้างเคียงถึงชีวิต

สำหรับการใช้รักษาโรคอื่น ๆ คงยังต้องรอการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมต่อไป

บทความโดย Pornlada Likasitwatanakul

__________________________________________

Reference

1. Andrade, C., Cannabis and neuropsychiatry, 1: benefits and risks. J Clin Psychiatry, 2016. 77(5): p. e551-4.
2. Bradford, A.C., et al., Association Between US State Medical Cannabis Laws and Opioid Prescribing in the Medicare Part D Population. JAMA Intern Med, 2018. 178(5): p. 667-672.
3. O'Connell, B.K., D. Gloss, and O. Devinsky, Cannabinoids in treatment-resistant epilepsy: A review. Epilepsy Behav, 2017. 70(Pt B): p. 341-348.
4. Romero-Sandoval, E.A., A.L. Kolano, and P.A. Alvarado-Vazquez, Cannabis and Cannabinoids for Chronic Pain. Curr Rheumatol Rep, 2017. 19(11): p. 67.
5. Rong, C., et al., Cannabidiol in medical marijuana: Research vistas and potential opportunities. Pharmacol Res, 2017. 121: p. 213-218.
6. Scott, K.A., A.G. Dalgleish, and W.M. Liu, The combination of cannabidiol and Delta9-tetrahydrocannabinol enhances the anticancer effects of radiation in an orthotopic murine glioma model. Mol Cancer Ther, 2014. 13(12): p. 2955-67.
7. Services., N.I.o.D.A.N.I.o.H.U.S.D.o.H.a.H. Marijuana as Medicine. 2018 June 2018 [cited 2019 26 March 2019]; Available from: https://www.drugabuse.gov/publications/drugfacts/marijuana-medicine#references.
8. Turna, J., B. Patterson, and M. Van Ameringen, Is cannabis treatment for anxiety, mood, and related disorders ready for prime time? Depress Anxiety, 2017. 34(11): p. 1006-1017.



**********************************************

การใช้ #สารสกัดจากกัญชา ทางการแพทย์
#กัญชาศาสตร์: เอกสารการอบรม รุ่น 1
First Do No Harm.
กัญชายังคงเป็นยาเสพติดประเภทที่ 5: ห้ามผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครอง เว้นแต่ได้รับอนุญาต…เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ [พรบ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562]

https://www.facebook.com/FreeMedicalBookThailand/posts/2087878574664206?hc_location=ufi
___________________________

คำแนะนำการใช้กัญชาทางการแพทย์ [Guidance on Cannabis for Medical Use]
https://drive.google.com/file/d/1q6m7orxwHuELtbxv_jQMbWh66usNUB-_/view?fbclid=IwAR1V5Uq1gwn4BT8AcqN8wI9h6GxFbfAnWos_hgRXuRJoSVRmzEv1lTD2x4k
________________________________

เอกสารการอบรม สำหรับบุคลากรทางการแพทย์รุ่น 1
https://drive.google.com/drive/folders/1sKLx0AS8J8jZ3zhfW8NSgSL8-PwGXHIe?fbclid=IwAR1HNCnAbLNZe8ZlxVztW4lu_Iqcap5oSC_Zj7UPkYVo9nhmeWwsKXYcvS4

**********************************************




นพ.ธีระ วรธนารัตน์ : นโยบาย “กัญชา”...ระวังเรื่องโง่ จน และเจ็บ
Tue, 2018-10-23 11:08    -- hfocus
ธีระ วรธนารัตน์

ใครจะให้ข่าวเพื่อหวังงบไปทำศึกษาวิจัย ใครจะให้ข่าวเพื่อหวังประโยชน์เชิงพาณิชย์ หรือใครจะให้ข่าวเพื่อวัตถุประสงค์แอบแฝงหรือไม่ประการใด ผมคงไม่อาจล่วงรู้ได้ และไม่สนใจที่จะไปขุดคุ้ยค้นหา
แต่วันนี้จำเป็นต้องมาเล่าข้อเท็จจริงจากความรู้วิชาการเรื่องกัญชาที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับสากล เพราะที่ผมสนใจคือความเคลื่อนไหวของรัฐที่จะผลักดันนโยบายเกี่ยวกับกัญชา ซึ่งจะมีผลกระทบระยะยาวต่อประชาชนในสังคม รวมถึงลูกหลานของผม และของทุกคนในอนาคต

ข่าวประชาสัมพันธ์ที่แพร่มาจากหลายต่อหลายแหล่ง สื่อให้คนจำนวนไม่น้อยเข้าใจกันว่า กัญชานั้นมีสรรพคุณเลิศเลอนั้น จะเป็นจริงมากน้อยเพียงใด เชื่อได้หรือไม่ หรือดูแค่หน้าตา ตำแหน่งที่อ้าง ก็เชื่อกันไปหมดแล้ว โดยลืมนึกถึงสัจธรรมในโลกนี้ว่า ไม่มีอะไรหรอกที่ดีเว่อร์จนไม่มีผลเสีย หรือเราพูดง่ายๆ ว่า ไม่มีอะไรหรอกที่ดีไปหมด และไม่มีอะไรหรอกที่แย่ไปหมดจนหาจุดดีไม่ได้เลย

อ้างกันเยอะว่าประโยชน์มากมาย โดยเฉพาะเรื่องการที่นำกัญชามาแก้ “ปวด” แก้ “อ้วก” และแก้ “เกร็ง”

วันนี้จะมาตีแผ่ให้ดูว่า แก้ปวด แก้อ้วก แก้เกร็งนั้น จริงไหม? ประการใด? ข้อควรระวังคืออะไร? และเหตุใดจึงนำมาจั่วหัวบทความว่า ให้ระวังโง่จนเจ็บ หากไม่ดูตาม้าตาเรือ

ขอเกริ่นไว้ก่อนว่า ผมไม่สนใจงานวิจัยที่ทำแค่ในห้องทดลอง ในหลอดทดลอง ในสัตว์ หรือในมนุษย์ โดยไม่เสร็จสิ้นกระบวนการตามมาตรฐานการวิจัยระดับสากล ดังนั้นคำกล่าวจากไหนหรือจากใครก็ตาม ที่มาเรียกร้องให้ผลักดันนโยบายสาธารณะโดยให้ลืมมาตรฐานสากล แล้วเอาเฉพาะงานวิจัยจากประเภทไม่เป็นไปตามมาตรฐานดังกล่าวมาใช้เลยนั้น ผมจะไม่นำมาพิจารณาเด็ดขาด และจะถือว่าเรียกร้องโดยไม่ถูกต้องเหมาะสม เพราะนโยบายสาธารณะนั้นส่งผลกระทบต่อประชาชนคนหมู่มาก ต้องยึดตามหลักฐานวิชาการที่ได้มาตรฐานสากล อันทำให้มั่นใจขึ้นในเรื่องความถูกต้อง และความปลอดภัย ซึ่งเกิดจากขั้นตอนการศึกษาวิจัยที่รัดกุม ขจัดอคติจากปัจจัยต่างๆ และมีการทำซ้ำเพื่อตรวจสอบได้ แม้จะไม่มีงานวิจัยใดเลยที่สมบูรณ์แบบ แต่สุดท้ายคนทั่วโลกก็ยังยอมรับมากกว่าการที่จะอ้างเอาสารเคมี หยูกยา หรืออะไรก็แล้วแต่ ที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการมาตรฐานดังกล่าวมาใช้กับคน ซึ่งมีชีวิตจิตใจ หรือแม้แต่กับสัตว์ซึ่งก็มีกระบวนการวิจัยมาตรฐานกำกับทั้งด้านวิทยาศาสตร์และจริยธรรมเช่นกัน

Allan GM และคณะ ตีพิมพ์ผลการวิจัยทบทวนงานวิชาการทั่วโลกอย่างเป็นระบบ ในวารสาร Canadian Family Physician เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้เอง โดยทำการทบทวนงานวิจัย 1,085 ชิ้น พบว่ามี 31 ชิ้นที่เป็นรูปแบบการทบทวนงานวิจัยอย่างเป็นระบบ ซึ่งถือเป็นระดับความน่าเชื่อถือสูงเมื่อเทียบกับงานวิจัยรูปแบบอื่นๆ ซึ่งแต่ละชิ้นงานนั้นคัดเลือกเฉพาะงานวิจัยที่ทำการทดสอบเปรียบเทียบผลของกัญชาในการแก้อาการต่างๆ ทั้งเรื่องปวด เกร็ง อ้วก และมีการประเมินเรื่องอาการไม่พึงประสงค์/ผลข้างเคียง โดยออกแบบงานวิจัยที่รัดกุม โดยมีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างและมีกลุ่มควบคุม ซึ่งรูปแบบดังกล่าวนั้นคือรูปแบบวิจัยมาตรฐานสากลที่เหมาะสำหรับการดูผลของสิ่งที่ทดสอบ ไม่ว่าจะเป็นยา วัคซีน หรืออื่นๆ แตกต่างจากงานวิจัยประเภทอื่นที่เชื่อถือได้น้อยและไม่ควรฟังเสียงนกเสียงกานำมายึดถือเป็นสรณะ

ว่าด้วยเรื่องแก้ “ปวด”

มีงานวิจัย 23 ชิ้น ทำการศึกษาทั้งในเรื่องปวดเฉียบพลันจากโรคกระดูกและข้อและกล้ามเนื้อ ปวดเรื้อรัง ปวดจากพยาธิสภาพของประสาท และปวดจากโรคมะเร็ง

สรุปให้อ่านกันสั้นๆ ได้ว่า สารออกฤทธิ์จากกัญชานั้นไม่ได้ช่วยเรื่องอาการปวดแบบเฉียบพลัน ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดกล้ามเนื้อ หรือปวดจากโรคกระดูกและข้อก็ตาม ส่วนผลในการลดอาการปวดในผู้ป่วยโรคมะเร็งนั้นก็ไม่ชัดเจน

สำหรับอาการปวดแบบเรื้อรัง และปวดจากพยาธิสภาพของเส้นประสาทนั้น สารออกฤทธิ์จากกัญชาดูจะช่วยลดอาการปวดได้เฉลี่ย 0.4 ถึง 0.8 หน่วย (จากอาการปวดคะแนนเต็ม 10) เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้กัญชา โดยมีการอภิปรายเปรียบเทียบให้กระจ่างชัดขึ้นด้วยว่า ผลของกัญชาในการลดอาการปวดนี้ เทียบเท่ากับการบริโภคแอลกอฮอล์ จนมีระดับแอลกอฮอล์ในเลือด 0.08% ซึ่งในต่างประเทศนั้นถือว่าเป็นระดับที่ผิดกฎหมายหากไปขับรถ เพราะจะทำให้ความสามารถในการขับรถด้อยลง เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ ดังนั้นจึงมีนักวิชาการจำนวนไม่น้อยแซวว่า ถ้าลดปวดได้เท่าแอลกอฮอล์ ก็แทบจะไม่ค่อยมีที่ยืนให้กัญชามาใช้ในสรรพคุณแก้ปวดนี้เลย

ยิ่งไปกว่านั้น พอไปวิเคราะห์เจาะลึก พบว่า สรรพคุณเรื่องแก้ปวดนั้นมักพบเฉพาะในงานวิจัยที่มีขนาดเล็ก และติดตามผลระยะสั้นกว่า 2 เดือน ในขณะที่งานวิจัยที่ติดตามผลไปนานกว่า 2 เดือนขึ้นไป พบว่ากลุ่มที่ได้สารออกฤทธิ์จากกัญชานั้นมีลักษณะอาการปวดไม่ต่างกับกลุ่มควบคุม ซึ่งอาจแปลความได้ว่า เลยสองเดือนไปก็จะไม่ได้ผลนั่นเอง จึงทำให้มีคำถามตามมาอีกมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องประโยชน์ที่จะได้จริงเวลานำมาใช้ดูแลรักษา รวมถึงความคุ้มค่าในการลงทุนตั้งแต่การศึกษาวิจัยสรรพคุณทางการแพทย์ จนถึงการลงทุนระบบการผลิตเชิงธุรกิจอุตสาหกรรมสำหรับทางการแพทย์

ว่าด้วยเรื่องแก้ “คลื่นไส้อาเจียน”

มีงานวิจัยจำนวน 5 ชิ้น สรุปให้ฟังได้ว่า สารออกฤทธิ์จากกัญชานั้นได้ผลดีในการลดอาการคลื่นไส้อาเจียนในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งชนิดต่างๆ ที่มีอาการหลังจากได้รับเคมีบำบัด ในขณะที่มีงานวิจัยทบทวนอย่างเป็นระบบเพียง 1 ชิ้นที่ทำให้กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง แล้วพบว่ากัญชาไม่ได้ช่วยลดคลื่นไส้อาเจียนเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม

สำหรับการลดอาการคลื่นไส้อาเจียนในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งชนิดต่างๆ หลังได้รับเคมีบำบัดนั้น ผลของกัญชาดูน่าสนใจทีเดียว แต่จากข้อมูลยังพบว่ามีการศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งที่มีความหลากหลายมาก และการติดตามผลการลดอาการคลื่นไส้อาเจียนนั้นมีความแตกต่างกันหลายแนวทาง โดยส่วนใหญ่เป็นการประเมินการรับรู้อาการของผู้ป่วยด้วยตนเอง และมักประเมินระยะสั้น เช่น ในระยะเวลา 1 วัน ซึ่งหากจะนำข้อบ่งชี้สรรพคุณนี้ไปผลักดันต่อเพื่อหวังให้เป็นเวชภัณฑ์เพื่อจำหน่ายในอนาคตและให้แข่งขันกับยาตะวันตกที่อยู่ในตลาดได้ ก็จำเป็นต้องวางแผนศึกษาวิจัย ติดตามประเมินผลเรื่องอื่นๆ ที่สำคัญในการดูแลรักษาให้ครบถ้วน

ว่าด้วยเรื่องแก้ “เกร็ง”

มีงานวิจัยแบบทบทบวนอย่างเป็นระบบอยู่ 3 ชิ้น ที่วิเคราะห์ผลเปรียบเทียบตัวต่อตัวระหว่างยาหลอกกับสารออกฤทธิ์จากกัญชา พบว่า 2 ใน 3 ชิ้นนั้น สรุปว่ากัญชาช่วยลดเกร็งได้มากกว่ายาหลอก 0.31 ถึง 0.76 คะแนน (จากคะแนนเกร็งเต็ม 10) โดยแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แถมมีการวิเคราะห์เพิ่มเติมให้เห็นชัดมากขึ้นได้ว่า หากเทียบกันแล้วกลุ่มที่ได้กัญชานั้น มีอยู่ร้อยละ 35 ของจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด และกลุ่มที่ได้ยาหลอก จะมีอยู่ร้อยละ 25 ของจำนวนผู้ป่วยทั้งหมดที่สามารถลดคะแนนเกร็งลงได้อย่างน้อยร้อยละ 30 แม้จะต่างกันทางสถิติ แต่ในทางปฏิบัติจริง หากนำมากัญชามาใช้แก้เกร็ง ก็จะต้องใช้ราว 10 คน จึงจะเห็นผลลดการเกร็งเพิ่มได้ 1 รายเมื่อเทียบกับยาหลอก ทั้งนี้งานวิจัยส่วนใหญ่ทำในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรค Multiple sclerosis โดยมีงานวิจัยชิ้นเดียวที่ทำในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่ไขสันหลัง อย่างไรก็ตามสิ่งที่เราควรรู้เพิ่มเติม ก่อนจะเชียร์หรือไม่เชียร์นโยบายกัญชาโดยไม่ดูตาม้าตาเรือคือ เคยมีงานวิจัยคาดประมาณว่าโรค Multiple sclerosis นี้แม้จะพบได้ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก แต่เชื้อชาตินั้นมีผล โดยสหราชอาณาจักรคาดว่ามีราว 164 คนต่อประชากร 100,000 คน ส่วนแถบเอเชียแปซิฟิกนั้น เจอเพียง 0 ถึง 20 ต่อประชากร 100,000 คน ต่างกันถึงอย่างน้อย 8 เท่า ซึ่งข้อมูลนี้คงจะพอประกอบให้เห็นเรื่องขนาดของปัญหา ควบคู่ไปกับขนาดของผลหรือสรรพคุณที่กล่าวไว้ตอนต้น สำหรับรัฐที่จะต้องพิจารณาเรื่องการลงทุนทรัพยากรของประเทศว่าคุ้มค่าหรือไม่เพียงใด

ว่าด้วยเรื่องการทำให้เกิด “ผลข้างเคียง/อาการไม่พึงประสงค์”

หากสังเกตดูในข่าวที่เผยแพร่กันทุกวี่วัน มีน้อยนักที่จะเอ่ยถึงเรื่องนี้ แต่ในฐานะประชาชนคนหนึ่ง อยากจะตีแผ่ให้เห็นว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร อย่างรอบด้าน ไม่ใช้อารมณ์ดราม่าหรือภาษาปลุกเร้าแบบที่เห็นกันบ่อยขึ้นเรื่อยๆ

มีงานวิจัยทบทวนอย่างเป็นระบบถึง 12 ชิ้นที่รายงานเรื่องนี้อย่างละเอียด โดยสรุปแล้วพบว่า จากการสังเกตการนำกัญชาไปใช้ทางการแพทย์จะเกิดผลข้างเคียง/อาการไม่พึงประสงค์ค่อนข้างบ่อย ทั้งนี้ผลข้างเคียงนั้นมีตั้งแต่รุนแรงน้อยไปจนถึงรุนแรงมาก ยกตัวอย่างเช่น การทำให้เกิดความผิดปกติของการรับรู้ความรู้สึกต่างๆ ในรูปแบบที่เว่อร์เกินจริง อาการง่วง อาการอยากยา ความผิดปกติของสายตา อาการสับสน ปัญหาด้านความจำ อาการซึมเศร้า ความดันโลหิตต่ำ หรือแม้แต่อาการผิดปกติทางจิต เป็นต้น

ทั้งนี้จากรายงานวิชาการที่มีอยู่ พบว่า หลายอาการอาจพบได้บ่อย เช่น ทุกๆ 2 ถึง 4 คนที่ใช้กัญชา จะเจออาการดังกล่าว 1 คน เป็นต้น แต่สิ่งที่ต้องพิจารณาคือ ผู้เชี่ยวชาญจำนวนไม่น้อยชี้ให้เห็นว่า รายงานสถิติที่มีนั้นน่าจะเป็นสถิติที่ต่ำกว่าความเป็นจริง เพราะกลุ่มผู้ป่วยในรายวิจัยต่างๆ นั้นมักเป็นผู้ที่ใช้กัญชามานาน ทำให้มีความทนต่ออาการต่างๆ ได้มาก หรือเคยชินไปแล้วจึงไม่รายงาน ในขณะที่บางอาการอาจทำให้คนที่มีอาการนั้นเพลิดเพลินกับความรู้สึกที่รับรู้หลังการเสพ ทำให้ไม่รายงาน เป็นต้น

นอกจากนั้น มีงานวิจัยและรายงานวิชาการจากต่างประเทศออกมาในปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง เกี่ยวกับผลกระทบต่อสังคมที่เกิดขึ้นจากการนำกัญชามาใช้ทางการแพทย์ และการเปิดเสรีให้ใช้กัญชาทั่วไป เช่น สถิติอุบัติเหตุจราจรที่เพิ่มขึ้น อัตราการเสพกัญชาในเด็กและเยาวชนที่สูงขึ้น ตลอดจนอาชญากรรมที่เพิ่มขึ้นและเชื่อมโยงกับการลัดเลาะนำกัญชาไปใช้นอกเหนือจากที่อนุญาตในวงการแพทย์ ทั้งนี้เริ่มเห็นมากขึ้นในบางประเทศ ที่มีการอนุญาตให้ใช้กัญชาทางการแพทย์ว่า มีการหลอกว่ามีอาการตามข้อบ่งชี้ เช่น อาการเจ็บปวด เพื่อให้ได้กัญชานำไปเสพ ทั้งที่มิได้มีอาการจริง

ปัจฉิมบท...สำหรับผู้กำหนดนโยบายในประเทศไทย

ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น หวังอยากให้ท่านเกี่ยวข้องได้อ่าน ใคร่ครวญ และพิจารณาให้จงหนัก ก่อนตัดสินใจสร้างนโยบาย กฎหมาย หรือระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกัญชาในประเทศเรา

ดูให้ดีว่า คนในสังคมเรานั้นมีระเบียบวินัย และความตรงไปตรงมามากน้อยเพียงใด ที่จะปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อตัวเรา และลูกหลานในอนาคต

สารออกฤทธิ์ในกัญชานั้น ค่อนข้างชัดเจนว่าแก้เรื่องคลื่นไส้อาเจียนในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งหลังรับเคมีบำบัดได้ แต่มีอีกหลายประเด็นที่จำเป็นต้องพิจารณาว่า จะเข็นไปสู่การวิจัย และวางแผนการผลิตเชิงพาณิชย์ เพื่อหวังลดค่าใช้จ่ายและหาเงินเข้าประเทศได้จริงหรือ คุ้มเพียงใด โดยควรพิจารณาศักยภาพและโครงสร้างพื้นฐานของประเทศตามความเป็นจริง หลีกเลี่ยงการสร้างภาพฝันที่แกล้งหลับตามองบางเรื่องจนอาจทำให้ฝันดังกล่าวเป็นไปไม่ได้จริง โดยเฉลี่ยแล้วยาหรือวัคซีนแต่ละตัว กว่าจะคิด และผ่านขั้นตอนการวิจัยตามมาตรฐานสากล จนคลอดออกมาจดทะเบียนเพื่อจำหน่ายจ่ายแจกแก่สาธารณะนั้น สากลโลกเค้าลงทุนราวตัวละ 800-1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และใช้เวลาราว 12-15 ปี ยังไม่นับว่า ยาหรือวัคซีนตัวนั้นมีสรรพคุณแข่งกับผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในตลาดอยู่แล้วได้มากน้อยเพียงใด และสามารถผลักดันเข้าสู่มาตรฐานการดูแลรักษาที่เค้าเชื่อถือในระดับสากลสำหรับโรคหรืออาการนั้นๆ ได้หรือไม่ นี่คือสิ่งที่ต้องทราบ และนำเข้าสู่การพิจารณาสำหรับการทำนโยบายสาธารณะของประเทศ

สรรพคุณอื่นๆ นั้น สำหรับความเห็นผมแล้ว ผมไม่คล้อยตาม และไม่คิดว่าสมควรแก่การนำไปผลักดันระดับนโยบายสาธารณะ

บทเรียนในอดีตจนถึงปัจจุบันนั้น ทั่วโลกมีให้เราเรียนรู้ ตั้งแต่ประชาสัมพันธ์ให้มีการใช้มอร์ฟีน หรือสารใกล้เคียงสำหรับคนที่มีอาการปวดเรื้อรังในอเมริกา จนส่งผลกระทบต่อสังคมวงกว้าง และมีปัญหามาถึงปัจจุบัน เรื่องกัญชาก็เช่นกันที่หลายประเทศที่ได้ทำกระบวนการเรียกร้องก่อนหน้าเรามานาน แบบที่เรากำลังทำอยู่ในปัจจุบัน แต่เขากำลังประสบปัญหา เพราะเพิ่งเริ่มมีรายงานต่างๆ มาให้เห็นหลังผลักดันไปแล้ว

สำคัญที่สุดคือ การเตรียมรับมือกับผลกระทบต่างๆ ที่กล่าวมา เช่น การลักลอบผลิต ลักลอบใช้ การอ้างเรื่องอาการเจ็บป่วย เช่น เรื่องอาการปวดที่ตรวจประเมินได้ลำบากว่าจริงหรือไม่ ตลอดจนการใช้ทั้งโดยมีข้อบ่งชี้และไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ และส่งผลต่อเรื่องวงกว้าง อาทิ อุบัติเหตุจราจร หรือการนำไปใช้เพื่อก่ออาชญากรรมและประทุษร้ายทางเพศ เป็นต้น

ห่วงใยลูกหลานจริง ต้องระวังให้ดี ตราบใดที่ยังไม่แน่ใจในระบบรักษาความปลอดภัยแก่ประชาชน ก็โปรดอย่าเสี่ยงครับ มิฉะนั้นที่เราหลงทำไป ก็จะแสดงถึงความไม่รู้เท่าทัน เสียเงินทองทรัพยากร และจะเจอปัญหาประชาชนบาดเจ็บล้มตายจากผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์ได้ครับ

ผู้เขียน : ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อ้างอิง

1.Allan GM et al. Systematic review of systematic reviews for medical cannabinoids. Canadian Family Physician. February 2018;64:e78-e94.

2.Cheong WL et al. Multiple sclerosis in Asia Pacific region: A systematic review of a neglected neurological disease. Front Neurol. 2018;9:432.


https://www.hfocus.org/content/2018/10/16462

***************************************

 
 

นพ.ธีระ วรธนารัตน์ : บทเรียนสังคมไทยจากเรื่องกัญชา

หลายเดือนก่อน ผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองท่านหนึ่งได้เมสเสจคุยกับผม ถามว่าผมประเมินสถานการณ์เรื่องกัญชาในสังคมไทยอย่างไร

ผมบอกกับท่านตรงๆ ว่า ผมไม่เห็นด้วยกับการเคลื่อนไหวเพื่อปลดล็อคกัญชาในเมืองไทยในช่วงที่ผ่านมาหลายปีนี้

เหตุผลหลักของผมคือ ผมไม่เชื่อว่ารัฐ และกลไกต่างๆ ในสังคมที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันนี้ จะสามารถที่จะดูแลปกป้องประชาชนจากผลร้ายที่จะเกิดขึ้นจากการปลดล็อคกัญชาได้

สิทธิและเสรีภาพของประชาชนในฐานะพลเมืองของประเทศนั้นย่อมต้องมีทุกคน โดยเป็นบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของรัฐที่จะต้องดูแลให้เกิดความเป็นธรรม และคนทุกคนในสังคมต้องอยู่ได้โดยมีความสงบสุข ปลอดภัย และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

หากเกิดปัญหาหรือสิ่งคุกคามต่อความมั่นคงของประเทศทั้งโดยตรงโดยอ้อม หรือส่งผลต่อสวัสดิภาพความปลอดภัย รัฐก็จำเป็นต้องตัดสินใจควบคุม ป้องกัน และแก้ไข โดยยืนพื้นฐานบนหลักการดังกล่าว

จริงๆ ผมตอบผู้ใหญ่ท่านนั้นไปเพียงประโยคแรก และต่อด้วยความเห็นส่วนตัวของผมว่า ณ จุดนี้ สังคมไทยคงยากที่จะต้านทานกระแสการเคลื่อนไหวเพื่อปลดล็อคกัญชาแล้ว เพราะได้ประกาศเป็นกฎหมายเพื่ออนุญาตให้ใช้ทางการแพทย์ โดยแท้จริงแล้วเป็นการปลดล็อคโดยที่หารู้ไม่ว่าจะเกิดผลกระทบทางลบตามมาอย่างมากมายและยากที่จะจัดการ เช่น การเข้าใจผิดของประชาชนและนำไปใช้ต่างๆ นานาโดยยากที่จะควบคุม จนเกิดผลกระทบต่อทั้งตัวผู้ป่วย ครอบครัว และกระบวนการดูแลรักษาทางการแพทย์มาตรฐานที่มีอยู่

ยังไม่นับเรื่องการค้าขายกัญชาและผลิตภัณฑ์อย่างผิดกฎหมายที่คาดว่าจะมีมากมาย รวมถึงปัญหาด้านสุขภาพและสังคมอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุจราจร ปัญหาจิตเวช อาชญากรรม และการนำไปสู่การเสพติดอื่นๆ ควบคู่กันไป และที่แน่ๆ คือจะมีการเคลื่อนไหวไปสู่เรียกร้องให้เกิดกัญชาเสรีตามมา

ที่กล่าวมาข้างต้นมิได้เอ่ยขึ้นอย่างเลื่อนลอย หากแต่เป็นสิ่งที่ถูกระบุเป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน ทั้งจากงานวิจัยติดตามผลจากการประกาศนโยบายปลดล็อคกัญชาของประเทศอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นแคนาดา สหรัฐอเมริกา กลุ่มประเทศในสหภาพยุโรป ฯลฯ รวมถึงรายงานขององค์กรต่างประเทศที่ดูแลทั้งด้านวิชาการและนโยบาย อย่าง International Narcotics Control Board (INCB) ซึ่งเป็นกลไกทำงานของสหประชาชาติเรื่องยาเสพติดด้วย

ผมบอกท่านไปว่า "ตอนนี้คงไม่สามารถทำอะไรได้แล้ว นอกจากหาทางช่วยกันเตือนประชาชนในสังคมไทยให้เตรียมรับมือกับปัญหาสังคมที่จะเกิดขึ้นจากนโยบายกัญชา"

"ครอบครัวเป็นหน่วยเล็กที่สุดในสังคม ที่จะต้องเลี้ยงดูลูกหลานของตนเองให้ดี ดูแลใกล้ชิด สอนให้รู้เท่าทันภัยคุกคามที่มีในสังคม รู้ว่าอะไรควรทำไม่ควรทำ"...ผมบอกท่านไปประมาณนี้ และจบการสนทนากันในวันนั้น

นั่นเป็นการสนทนาประมาณต้นๆ ปีที่ผ่านมา

ผ่านมาครึ่งปีหลังจากประกาศปลดล็อคกัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทย เราเห็นอะไรกันบ้าง?

1. ปรากฏการณ์ "ความเชื่อและงมงายว่ากัญชารักษาได้ทุกโรค" จากอิสระเสรีเหนืออื่นใด ในการป่าวประกาศ ประชาสัมพันธ์ ความ "รู้" แบบลวงๆ โดยที่กลไกอำนวยความยุติธรรมของรัฐไม่สามารถทำอะไรได้ หรืออาจไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี

2. ปรากฏการณ์ "การเติบโตของธุรกิจซื้อขายกัญชาและผลิตภัณฑ์ต่างๆ อย่างผิดกฎหมายผ่านสื่อออนไลน์" ทั้งในไลน์กรุ๊ป เฟซบุ๊ค และอื่นๆ ราคาค่างวดขวดนึงหลายร้อยไปจนถึงพันบาท คิดค่าใช้จ่ายที่คนเต็มใจควักเงินจากกระเป๋า คาดว่าเยอะกว่าค่าใช้จ่ายรายหัวด้านสุขภาพของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และระบบประกันสังคมเสียด้วยซ้ำ

3. ปรากฏการณ์ "การสร้างระบบการตลาดด้านกัญชา" ทั้งการประยุกต์ใช้แนวคิด Multi-level marketing และระบบขายตรงผ่านตัวแทนในหลากหลายลักษณะ โดยอาศัยการต่อยอดจากการเล่นกับความกลัวโรคร้ายต่างๆ ของคน ควบคู่กับการเล่นกับกิเลสด้านรายได้จากการเป็นตัวแทนขาย ทำให้สมประโยชน์ทั้งคนผลิต คนขาย ตัวแทน และคนซื้อ อย่างครบวงจร

4. ปรากฏการณ์ "ดีครับนาย ได้ครับผม เหมาะสมครับท่าน" นโยบายถูกดันจากเบื้องบน ขาดเหลืออะไร กลไกมดงานในระบบรัฐก็สนองได้หมด ขาดความเชี่ยวชาญด้านกัญชา แต่สามารถเนรมิตให้เกิดขึ้นได้ผ่านการอบรมระยะสั้นตีตราให้พร้อมอย่างไม่น่าเชื่อ

5. ปรากฏการณ์ "โยนบาปให้เหยื่อ" เห็นได้จากจำนวนเหยื่อ ในรูปแบบของผู้ป่วย และผู้ที่ไม่ป่วยแต่หลงเชื่องมงาย ตัดสินใจหาผลิตภัณฑ์มาใช้เอง หรือมีตัวแทนมาเสนอให้ลอง หรืออื่นๆ ใช้แล้วเกิดปัญหาตามมาตามพาดหัวข่าว เช่น ใช้กัญชาแล้วน็อคต้องหามส่ง รพ.ด้วยอาการต่างๆ มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สุดท้ายก็โดนโยนบาปจากกลุ่มคลั่งกัญชาว่า ใช้ไม่เป็นเลยเกิดปัญหา แต่ไม่เคยยอมรับผิดว่า ที่มันเกิดปัญหาเช่นนี้ เพราะอะไรกันแน่ เพราะการสื่อสารสาธารณะที่ไม่เหมาะสม? เพราะการเร่งผลักดันโดยที่ไม่คิดหน้าคิดหลังและไม่เตรียมกลไกที่จำเป็นให้พร้อม รวมถึงไม่เตรียมคนในสังคมให้พร้อมก่อนจะผลักดัน?

6. ปรากฏการณ์ "คนทำงานในระบบสุขภาพน้ำตาตก" หลายคนน้ำตาตกเพราะคิดไม่ถึงเลยว่า เฮ้ย...มาตรฐานการแพทย์และการวิจัยที่เราร่ำเรียนตลอดมานั้นมีขั้นตอนต่างๆ มากมายกว่าจะเข็นยาแต่ละตัวออกมาใช้ในระบบการแพทย์ได้ แต่ละตัวใช้เวลาเฉลี่ย 12-15 ปี ลงทุนมากกว่า 800 ล้านเหรียญ มีทั้งขั้นตอนในหลอดทดลองก่อนจะไปถึงสัตว์ทดลอง และค่อยเข้ามาสู่ระยะการทดลองวิจัยในคน ซึ่งมีอีก 4 ระยะ ที่ต้องใช้เวลาและทรัพยากรเยอะมากมาย ก็เพื่อให้แน่ใจใน 2 เรื่องหลักคือ สิ่งที่คิดว่าจะเป็นยานั้นจะต้องมีสรรพคุณรักษาโรคนั้นๆ ได้จริง และสิ่งที่คิดว่าจะเป็นยานั้นต้องมีความปลอดภัยจริง

แต่ปรากฏว่า ที่ผ่านมากัญชากลับถูกนำมาตีรวนให้สับสน และหาทางลัดเลาะให้นำมาใช้ทันทีในระบบการดูแลรักษาโดยกล่าวอ้างข้อมูลวิจัยที่จับแพะมาชนแกะ

งานวิจัยทั้งหลายของสากลที่ทำกันนั้น ส่วนใหญ่แล้วเป็นการวิจัยทางการแพทย์แผนปัจจุบัน ที่ต้องทำการสกัดสารเคมีจากวัตถุดิบให้ได้ สามารถวัดปริมาณได้ ทำให้คงตัวได้ ทำให้บริสุทธิ์ไม่มีสิ่งเจือปน และค่อยนำมาทดสอบในสัตว์และในคนตามที่กล่าวมา จนทราบได้แน่ชัดว่าปริมาณแค่ไหนปลอดภัย ให้ทางการกินการฉีดการหยดจะให้อย่างไร และจะมีสรรพคุณรักษาโรคใดได้จริงบ้าง และเมื่อเทียบกับยามาตรฐานต่างๆ ที่มีอยู่นั้น มันดีกว่า เท่ากัน หรือด้อยกว่า

ในขณะที่การวิจัยการแพทย์แบบพื้นบ้านหรือการแพทย์ทางเลือกนั้น จะใช้ระบบการศึกษาวิจัยที่เป็นคนละแบบกัน และมีความยากลำบากพอสมควรในการพิสูจน์ทั้งเรื่องความปลอดภัยและสรรพคุณ เนื่องจากหากศึกษาพืช สมุนไพร หรือตำรับยาต่างๆ ว่าจะรักษาโรคได้หรือไม่นั้น พืช สมุนไพร หรือตำรับยาต่างๆ นั้นมักประกอบด้วยสารมากมายหลายอย่าง บางครั้งก็ยากมากที่จะกำหนดปริมาณตายตัว กำนึงของพืชชนิดเดียวกัน ใบนึงของพืชชนิดเดียวกัน ก็มีปริมาณสารต่างๆ แตกต่างกันไปด้วย เราจึงเห็นได้ว่าจากอดีตจนถึงปัจจุบัน การแพทย์พื้นบ้านหรือการแพทย์ทางเลือกนั้นมักจะมีงานวิจัยที่สามารถพิสูจน์สรรพคุณและความปลอดภัยได้ค่อนข้างจำกัด และยากที่จะฟันธงถึงความเป็นเหตุและผลได้อย่างแม่นยำ

ช่วงที่ผ่านมา กระแสกัญชาในเมืองไทยนั้นจึงสร้างความสับสนให้กับคนในสังคม และส่งผลให้เกิดปัญหาดังกล่าวตามมา

บุคลากรทางการแพทย์จึงได้แต่น้ำตาตกที่เห็นการสื่อสารสาธารณะที่มุ่งแต่ผลักดัน แต่ไม่สนใจว่าคนรับนั้นจะเข้าใจอย่างไร

ทั้งๆ ที่การสื่อสารที่ดีนั้น ควรเป็นดังคำที่เราเคยได้ยินว่า "Words that work: It's not what you say, it's what people hear"

นอกจากนี้อีกเหตุผลหลักที่บุคลากรทางการแพทย์ในระบบสุขภาพน้ำตาตกคือ ความสงสารต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบจากข่าวสารกัญชาเหล่านั้น นอกจากเสียตังค์โดยไม่จำเป็น ตกเป็นเหยื่อเหล่าเสือหิวแล้ว ยังต้องเจ็บป่วยไม่สบายจากผลข้างเคียงต่างๆ จากกัญชา และการเสียโอกาสจากการไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการรักษาทางการแพทย์ จนทำให้โรคกำเริบหรือเป็นรุนแรงยิ่งขึ้น

จำนวนเหยื่อมีมากขึ้นเรื่อยๆ และส่งผลต่อเนื่องไปถึงภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่ประเทศจะต้องจ่ายไปจากปรากฏการณ์นี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

เอาล่ะ...แล้วจะทำอย่างไรดี?

สารภาพตรงๆ ว่า ผมเริ่มเห็นทางตันครับ เท่าที่คิดได้คงมีเพียง...

1.รัฐต้องยึดหลักการดูแลประชาชนในสังคม โดยคำนึงถึงความปลอดภัยมั่นคงของประเทศ สวัสดิภาพและคุณภาพชีวิต ไม่ตัดสินใจโดยอิงแต่ตัวเลขเศรษฐกิจที่อาจถูกปั่นให้เกิดกิเลสแบบได้ไม่คุ้มเสีย

2.นายกรัฐมนตรีโปรดพิจารณาคัดเลือกเสนาบดีที่จะมาคุมกระทรวงต่างๆ ให้ดี อย่าให้ใช้เป็นสะพานในการดำเนินการที่ส่งผลเสียต่อประเทศโดยรวม

3.นายกรัฐมนตรีโปรดทบทวนโครงสร้างหน่วยงาน และคณะกรรมการต่างๆ ทั้งด้านการปฏิรูปประเทศ ด้านสาธารณสุข ด้านพาณิชย์ และอื่นๆ โดยตรวจสอบเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน และพฤติกรรมที่ผ่านมาว่าสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดอคติในการดำเนินงานหรือปฏิบัติหน้าที่หรือไม่

4.หน่วยงานด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะ อย. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค โปรดยึดมั่นในหลักเกณฑ์มาตรฐาน อย่าหวั่นไหวกับการปั่นสังคมใช้กฎหมู่มาเหนือกฎหมาย

5.ราชวิทยาลัยแพทย์สาขาต่างๆ สมาคมวิชาชีพแพทย์และบุคลากรสาขาสุขภาพต่างๆ ตลอดจนโรงเรียนแพทย์ชั้นนำของประเทศควรพิจารณาประกาศจุดยืนทางวิชาชีพของท่าน ในการนำกัญชาหรือผลิตภัณฑ์จากกัญชามาใช้ดูแลรักษา โดยขอให้ยึดมั่นหลักฐานทางวิชาการที่หนักแน่น จนกว่าจะพิสูจน์เรื่องความปลอดภัยและสรรพคุณได้ตามมาตรฐานสากล ย่างก้าวนี้สำคัญยิ่งที่จะช่วยเป็นประทีปส่องทางให้ประชาชน และบุคลากรทางการแพทย์มีหลักยึด

6.โรงพยาบาลต่างๆ โปรดพิจารณาออกประกาศนโยบายของโรงพยาบาล (Hospital policy) ในการใช้กัญชาหรือผลิตภัณฑ์จากกัญชาในการดูแลรักษา โดยยึดมั่นในหลักวิชาการ เพื่อช่วยปกป้องทั้งผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ของท่าน และช่วยป้องกันปัญหาในอนาคตที่อาจเกิดขึ้น ทั้งจากระบบประกันสุขภาพ และปัญหาทางกฎหมาย

7.เรื่องนี้ยากสุดสำหรับทั้งสังคมไทยและสังคมโลก คือ รัฐควรพัฒนากลไกตรวจ ติดตาม กำกับ การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพที่เป็นเท็จ ทั้งนี้ยังไม่มี best practice ใดๆ ที่จะมาต้านทานกระแส Fake information อย่างมีประสิทธิภาพ จึงต้องช่วยกันคิดช่วยกันทำครับ

ด้วยรักต่อทุกคน

ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

https://www.hfocus.org/content/2019/06/17257

****************************************

สังคมไทย...ทางไปของกัญชา

ผศ.นพ.สหภูมิ ศรีสุมะ จากคณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี และราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวในงานแถลงข่าว ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย เรื่อง “สังคมไทย : ทางไปของกัญชา” ว่าในปี 2560 ตลาดกัญชากรุงวอชิงตันมีเม็ดเงินสะพัดกว่า 1,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่รัฐโคโลราโด สะพัดกว่า 1,508 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตามแม้กัญชาจะสร้างรายได้แต่ยังมีประเด็นอื่นๆ ที่ต้องนึกถึง ทั้งความปลอดภัยบนท้องถนน ความปลอดภัยของผู้ไม่เสพ และการตรวจคัดกรองคนทำงาน

จากข้อมูลของรัฐโคโลราโดหลังการประกาศใช้กัญชาทางการแพทย์และเสรีกัญชา พบว่าผู้ที่เสพติดกัญชาเพิ่มขึ้น ผู้ที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถยนต์ที่ตรวจพบสารกลุ่มแคนนาบินอยด์มากขึ้น ผู้ที่ทำร้ายตนเองที่ตรวจพบสารกลุ่มแคนนาบินอยด์มากขึ้น และพบว่ามีอัตราการนอนโรงพยาบาลจากภาวะที่เกี่ยวข้องกับกัญชามากขึ้น ในรัฐอื่นๆ ในสหรัฐอเมริการที่อนุญาตใช้แคนนาบินอยด์ทางการแพทย์ บางรัฐมีการจำกัดปริมาณ THC ให้ต่ำและ CBD ให้สูง ขณะที่รัฐที่เปิดเสรีกัญชามีการควบคุมระดับ THC ในผลิตภัณฑ์และมีการติดตามและจำกัดปริมาณการซื้อผลิตภัณฑ์ต่อคน

ผศ.นพ.สหภูมิ กล่าวเพิ่มเติมว่า หลายคนได้ยินว่าองค์การอนามัยโลก (WHO) เสนอสหประชาชาติ (UN) เรื่องกัญชามีประโยชน์ทางการแพทย์ แต่ความจริงต้องมาดูรายละเอียดแยกเป็นข้อๆ คือให้กัญชาเป็นยาเสพติดกลุ่มที่ 1 (ระดับเดียวกับมอร์ฟีน), ให้สาร THC เป็นยาเสพติดกลุ่มที่ 1 (ระดับเดียวกับมอร์ฟีน), หากผลิตภัณฑ์ CBD ที่แทบไม่เหลือ THC (<0.2%) ให้พ้นการควบคุมแบบยาเสพติด และสำหรับผลิตภัณฑ์หรือสารสกัดแบบอื่นๆ ที่มีสารอื่นนอกเหนือจาก CBD แต่ไม่มี THC (<0.2%) ควรให้เป็นสารเสพติดกลุ่มที่ 3 ดังนั้นผลิตภัณฑ์จะถูกควบคุมระดับใดต้องดูตามสารที่อยู่ในผลิตภัณฑ์นั้นๆ หากเป็นสกัดกัญชาแล้วได้ THC ก็ยังเป็นยาเสพติด

สำหรับ Tetrahydrocannabinol (THC) หากใช้ในขนาดที่เหมาะสมจะมีผลในการลดปวด ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ ลดอาการคลื่นไส้ แต่หากได้รับในขนาดสูงจะทำให้มีอาการเมาเคลิ้ม ใจสั่น หน้ามืด เห็นภาพหลอน รบกวนการรับรู้การตัดสินใจและความจำ นอกจากนี้การใช้สาร THC ขนาดสูงสม่ำเสมอทำให้เกิดภาวะดื้อต่อสาร (tolerance) นำมาสู่การติดยาได้

ด้าน Cannabidiol (CBD) เป็นสารที่มีฤทธิ์ต้านอาการเมาเคลิ้มและอาการทางจิตของ THC มีการศึกษาใช้สาร CBD เพื่อควบคุมอาการชักและอาการปวด สาร CBD ยังไม่พบว่าทำให้เกิดการดื้อหรือติด ปัจจุบันองค์การอนามัยโลกได้จัดสาร THC เป็นสารเสพติดประเภทที่ 1 คือ มีโอกาสเสพติดได้ มีโอกาสนำไปใช้ในทางที่ผิด แต่มีประโยชน์ทางการแพทย์ ขณะที่จัดให้สาร CBD ไม่เป็นสารเสพติด สำหรับพืชกัญชายังนับว่าเป็นสารเสพติดประเภทที่ 1

ทั้งนี้การใช้ทางการแพทย์ที่มีหลักฐานสนับสนุนพอสมควร คือ สามารถลดอาการคลื่นไส้อาเจียนในผู้รับยาเคมีบำบัด ลดอาการปวดในผู้ที่ปวดเรื้อรัง รักษาอาการเกร็งในโรคเอ็มเอส และโรคลมชัก ขณะที่การใช้ที่ปัจจุบันที่มีหลักฐานว่าไม่ได้ผลในการรักษาโรค ได้แก่ ภาวะสมองเสื่อม และต้อหิน ซึ่งสมาคมจักษุแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกาไม่แนะนำให้ใช้แคนนาบินอยด์ เนื่องจากการจะลดความดันตา 3–5 มม.ปรอท จะต้องบริโภค THC ปริมาณสูงถึง 18–20 มก./ครั้ง ซ้ำทุก 3-4 ชั่วโมง ขณะที่สาร CBD มีฤทธิ์เพิ่มความดันตา และสารละลายไขมันทำให้ตาระคายเคืองและเปลือกตาไหม้ได้

จากการศึกษาผลของกัญชาที่เกี่ยวข้องในมนุษย์ พบผลข้างเคียงทำให้เกิดโรคทางจิตเพิ่มขึ้น 3.9 เท่า การลงมือฆ่าตัวตาย 2.5 เท่า การติดกัญชาในวัยเรียน 17% เกิดปัญหาการเรียนรู้ สมาธิ และความจำ สมองฝ่อ เนื่องจากเนื้อสมองเล็กลงเมื่อใช้กัญชาในเวลานาน เส้นเลือดในสมองตีบ ถุงลมโป่งพอง หัวใจเต้นผิดจังหวะ สัมพันธ์กับมะเร็งอัณฑะ และเพิ่มความเสี่ยงหัวใจขาดเลือดทั้งฉับพลันและเรื้อรัง

ทั้งนี้ในกลุ่มที่ใช้ปริมาณมากทำให้เกิดภาวะคลื่นไส้อาเจียนรุนแรงจนเกิดภาวะแทรกซ้อน หลอดอาหารฉีกขาด ไตวาย ขาดน้ำรุนแรง เกลือแร่ผิดปกติรุนแรง หัวใจเต้นผิดจังหวะ และเสียชีวิตได้

ผศ.นพ.สหภูมิ กล่าวเพิ่มเติมว่า การผลิตเป็นยาจึงต่างจากการผลิตเพื่อเสพ ต้องมีมาตรฐานทุกลอตเท่ากัน ต้องมีการตรวจตัวยาและวัตถุดิบไม่ให้มีเจือปน ทั้งสารปราบศัตรูพืช สารละลายอื่นๆ โลหะหนัก เชื้อโรค รา แบคทีเรีย และพิษที่สร้างจากเชื้อโรค รวมถึงวัตถุเจอปน เช่น ผม ขน เล็บ แมลง อุจจาระ และปฏิกูลอื่นๆ

ในประเทศออสเตรเลีย ซึ่งมีการใช้กัญชาทางการแพทย์ก็ยังมีข้อบ่งชี้ 5 ข้อ โดยจะใช้ได้เมื่อการรักษาไม่ได้ผลเท่านั้น ได้แก่ 1.การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชีวิต 2.อาการคลื่นไส้อาเจียน จากการรับยาเคมีบำบัด 3.อาการปวดเรื้อรัง 4. โรคเอ็มเอส และ 5.โรคลมชัก ขณะที่ทั่วโลกบอกว่า “แคนนาบินอยด์เป็นยาแก้ปวด แก้คลื่นไส้ รักษาลมชัก ไม่ใช่ยารักษามะเร็ง”

สำหรับในประเทศไทยข้อบ่งชี้ตามกรมการแพทย์ในการใช้กัญชารักษาโรค มีทั้งหมด 4 ข้อ คือ จะใช้ได้เมื่อการรักษาไม่ได้ผลเท่านั้น ไม่ใช่ยาเริ่มต้น ได้แก่ 1.อาการคลื่นไส้อาเจียนจากการรับยาเคมีบำบัด 2.อาการปวดประสาท 3.กล้ามเนื้อหดเกร็งในผู้ป่วยโรคเอ็มเอส และ 4.โรคลมชักดื้อยา ในส่วนของโรคที่ข้อมูลสนับสนุนจำกัดต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนใช้ โดยมีเป้าหมายคือบรรเทาอาการเท่านั้น ได้แก่ การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง มะเร็งระยะสุดท้าย พาร์กินสัน อัลไซเมอร์ โรควิตกกังวล และโรคปลอกประสาทอักเสบ

นอกจากนี้กรมการแพทย์ยังระบุข้อห้ามใช้ผลิตภัณฑ์ THC ในกลุ่มที่มีประวัติแพ้สาร โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด โรคปอด หรือมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เคยเป็นโรคจิตมาก่อน หรือมีอาการทางโรคอารมณ์แปรปรวน วิตกกังวล รวมถึงหญิงมีครรภ์ ให้นมบุตร สตรีผู้ไม่ได้คุมกำเนิด หรือวางแผนจะมีบุตร ดังนั้น สารแคนนาบินอยด์มีทั้งประโยชน์และโทษ ควรเลือกศึกษาสารและขนาดให้ถูกต้อง และควรแยกคำว่า “การใช้ยาแคนนาบินอยด์ทางการแพทย์ จากการเสพกัญชา” ผศ.นพ.สหภูมิ กล่าวทิ้งท้าย

เครดิตข้อมูลสรุปจาก..คมชัดลึก

************************************************



ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย แถลงจุดยืน"การใช้กัญชาทางการแพทย์" ชี้อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการทางจิตเวชได้

เมื่อวันที่ 14 พ.ย. ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ได้ออกแถลงการณ์ จุดยืนของราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทยเรื่อง "การใช้กัญชาทางการแพทย์ มีเนื้อหาดังนี้

อาศัยอำนาจตามความในหมวด 3 ข้อ 8 (7) แห่งข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยราชวิทยาลัยจิตแพทย์ แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2538 และมติคณะผู้บริหารราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย มีความคิดเห็นและข้อแนะนำเกี่ยวกับการใช้กัญชาทางการแพทย์ ดังนี้

1. คุณสมบัติของกัญชา

กัญชา (marijuana) มีฤทธิ์เสพติด เป็นพืชที่มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า cannabis ซึ่ง cannabis มีหลายสายพันธุ์ ไม่ใช่เฉพาะแต่เพียงกัญชาเท่านั้น เช่น กัญชง ซึ่งเป็นพืชที่มีการน าล าต้นมาใช้ประโยชน์ ทั้งนี้ปริมาณของสาร cannabinoids ที่มีอยู่ในพืชเหล่านี้มีระดับที่แตกต่างกันตามสายพันธุ์และการเพาะปลูก สาร cannabinoids ที่มีอยู่ในกัญชามีอยู่หลายชนิด เช่น delta9-tetrahydrocannabinol (delta9-THC) และcannabidiol (CBD) เป็นต้น บางชนิดสามารถสกัดเฉพาะสารออกมาได้ หรือสังเคราะห์เองได้โดยไม่ต้องสกัดจากพืช โดยกัญชาในรูปแบบต่างๆ สามารถน ามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ในบางสาขาได้

กัญชาที่มีผู้นำมาใช้เพื่อความรื่นเริงจนบางครั้งเกิดการเสพติดนั้น มักเป็นชนิดที่มีปริมาณของสารdelta9-THC ที่สูง โดยผู้เสพดังกล่าวอาจนำส่วนต่างๆของกัญชามาทำให้แห้งเพื่อสูบ หรืออาจใช้ในรูปแบบน้ำมันซึ่งจะมีปริมาณ delta9-THC สูงกว่าปกติ โดยพบมากในต่างประเทศ

จากการศึกษาพบว่าการใช้กัญชาจะมีฤทธิ์รบกวนการทำงานของสมอง และเสี่ยงต่อการเกิดอาการทางจิตเวชได้ เช่น หลงผิด หูแว่ว ประสาทหลอน อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า วิตกกังวล เป็นต้น โดยเฉพาะผู้ที่ใช้ตั้งแต่วัยเด็กและวัยรุ่น ปัจจุบันยังไม่มีวิธีบอกว่าใครจะมีความเสี่ยงดังกล่าวบ้าง

2. ความคิดเห็นเกี่ยวกับกัญชาต่อผลทางจิตเวช

กัญชามีฤทธิ์ทำให้เสพติดได้ ซึ่งเกิดจากฤทธิ์ของสาร delta9-THC กัญชาไม่ว่าในรูปแบบใดก็ตามยังไม่มีที่ใช้ทางการรักษาโรคทางจิตเวช การใช้กัญชามีฤทธิ์รบกวนการทำงานของสมอง และอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการทางจิตเวชได้

3. คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้กัญชา

3.1 บุคคลควรใช้กัญชาหรือสารสกัดตามข้อบ่งชี้ที่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐานรองรับเท่านั้น

3.2 การให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลของกัญชาทั้งประโยชน์และโทษ ควรระบุให้ชัดเจนว่าเป็นผลของการใช้กัญชาหรือสารสกัด เช่น delta9-THC หรือ เป็นผลจากสารสังเคราะห์

3.3 บุคคลทั่วไปที่ไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ไม่ควรใช้กัญชา โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนและผู้ที่มีโรคทางจิตเวช

************************************************

 

มติราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ไม่สมควรนำกัญชาและสารสกัดจากกัญชาใดๆ มารักษาโรคในผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่น เผยตรงกับข้อสรุปของสถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกา ชี้กัญชามีส่วนประกอบที่ส่งผลเสียต่อระบบประสาทที่กำลังเจริญเติบโตในเด็กและวัยรุ่นหากใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน และมีฤทธิ์เสพติด

เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2562 ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ได้ออกประกาศฉบับที่ 134/2562 แถลงการณ์จุดยืนของราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย เรื่องการใช้กัญชาทางการแพทย์ ซึ่งลงนามโดย ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่เลขา ประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ระบุว่า

อาศัยอำนาจตามความในหมวด 3 ข้อ 8(7) แห่งข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2538 และมติคณะกรรมการบริหารราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย มีความคิดเห็นและข้อแนะนำเกี่ยวกับการใช้กัญชาทางการแพทย์ในเด็กและวัยรุ่น ดังนี้

1.คุณสมบัติของกัญชา

กัญชา (Marijuana) มีฤทธิ์เสพติด เป็นพืชที่มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis มีหลายสายพันธุ์ ไม่ใช่มีเฉพาะเพียงกัญชาเท่านั้น เช่น กัญชง ซึ่งเป็นพืชที่มีการนำลำต้นมาใช้ประโยชน์ ทั้งนี้ ปริมาณของสาร Cannabinoids ที่มีอยู่ในพืชเหล่านี้ มีระดับที่แตกต่างกันตามสายพันธุ์และการเพาะปลูก สาร Cannabinoids ที่อยู่ในกัญชามีอยู่หลายชนิ เช่น delta9-tetrahydrocannabinol (delta9-THC) และ cannabidiol (CBD) เป็นต้น บางชนิดสามารถสกัดเฉพาะสารออกมาได้ หรือสังเคราะห์เองได้โดยไม่ต้องสกัดจาพืช โดยกัญชาในรูปแบบต่างๆ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ในบางสาขาได้ กัญชาที่มีผู้นำมาใช้เพื่อความรื่นเริงบางครั้งเกิดการเสพติดนั้น มักเป็นชนิดที่มีปริมาณของสาร delta9-THC ที่สูง โดยผู้เสพดังกล่าวอาจนำส่วนต่างๆ ของกัญชามาทำให้แห้งเพื่อสูบ หรืออาจใช้ในรูปแบบน้ำมันสกัดซึ่งมีปริมาณ delta9-THC สูงกว่าปกติ

2.ความคิดเห็นและคำแนะนำเกี่ยวกับกัญชาในกลุ่มเด็กและวัยรุ่น

กัญชามีส่วนประกอบที่ส่งผลเสียต่อระบบประสาทที่กำลังเจริญเติบโตในเด็กและวัยรุ่น หากใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานานและมีฤทธิ์เสพติดจากผลของสาร delta9-THC

ดังนั้น ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยจึงมีมติว่า ไม่สมควรนำกัญชาและสารสกัดจากกัญชาใดๆ มารักษาโรคในผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่น ซึ่งตรงกับข้อสรุปของ American Academy of Pediatrics (สถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกา) ที่ตีพิมพ์ในเดือนมีนาคม ค.ศ.2015

Sun, 2019-06-30 09:20 -- hfocus
https://www.hfocus.org/content/2019/06/17314

************************************************



Worapong Tearneukit

3 กรกฎาคม เวลา 17:22 น.
https://www.facebook.com/worapong072/posts/10158191476198357

วันนี้ได้มีโอกาสฟังบรรยายเรื่อง #กัญชา จากศาสตราจารย์ นายแพทย์ สิริชัย ชยสิริโสภณ...

ท่านเป็นอดีต Neurologist ที่สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา และได้ไปเป็น Researcher อยู่ที่อเมริกากว่า 30 ปี มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารชั้นนำกว่า 100 ชิ้น

ปัจจุบันท่านเป็น Director ของ Comprehensive Epilepsy Program, Kaiser Permanente School of Medicine
และท่านมีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบจากการใชักัญชามาหลายปีในรัฐแคลิฟอร์เนีย

สรุปเบื้องต้นได้ว่า

1. จากการศึกษาที่มีในปัจจุบัน กัญชา ไม่ได้มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคสารพัดโรคตามที่กล่าวอ้าง เป็นเพียงการรักษาอาการให้ดีขึ้นในระยะหนึ่งเท่านั้น

2. กัญชา กับ #มะเร็ง มีแต่เพียงการทดลองในเซลล์มะเร็งที่อยุ่ในจานทดลอง กับในหนูเท่านั้นที่ได้ผล ส่วนในคนยังไม่มีการศึกษาใดๆ ที่ชี้ให้เห็นว่า กัญชารักษามะเร็งได้ และถ้าเอาขนาดของกัญชาที่ใช้ทดลองในหนูมาปรับตามน้ำหนักให้เป็นขนาดในคน จะทำให้คนเจอพิษข้างเคียงของกัญชาจนเสียชีวิตไปซะก่อน

3. ในอเมริกามีเพียง 10 รัฐที่กัญชาถูกกฏหมาย และส่วนใหญ่เป็นรัฐริมทะเลที่มีคนเชื้อสายอื่นเป็นจำนวนมาก และผ่านกฏหมายเพราะการเปิด Public vote แต่ในรัฐที่มีคนอเมริกาแท้ๆอยู่เป็นส่วนใหญ่ มีองค์กรแพทย์ ที่เข้มแข็ง ต่อต้านการทำกัญชาให้ถูกกฏหมาย เพราะผลเสียมากกว่าผลดีอย่างมากๆ

4. มีการตีพิมพ์ในวารสารชั้นนำ STROKE พบว่าการใช้กัญชาต่อเนื่องนานๆ เพิ่มความเสี่ยงเกิดโรคหลอดเลือดสมองอย่างชัดเจน ทำให้เป็นอัมพาตได้

5.การใช้กัญชา ทำให้เนื้อสมองฝ่อ โดยเฉพาะในเด็ก และวัยรุ่น IQ ต่ำลง เฉื่อยชา

โดยสรุป ผลเสียมากกว่าผลดี



************************************************





การใช้กัญชาทางการแพทย์ มีประโยชน์หลายประการต่อผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้ ตามข้อบ่งชี้ แต่เนื่องจากกัญชาในทางการแพทย์นั้น ถือเป็นยา จึงต้องใช้ให้มีขนาดที่ถูกต้อง และมีการระมัดระวัง มิให้เกินขนาดจนเกิดพิษได้ เช่นเดียวกับยาอื่น โดยมีคำแนะนำของ ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี ดังเอกสาร 20 สิงหาคม 2562 ขอให้คุณหมอโปรดศึกษาครับ

https://bit.ly/2L5DUK6

เครดิต FB@แพทยสภา
https://www.facebook.com/thaimedcouncil/posts/2332583467006545


************************************************





FB@Palliative Medicine ยากนิดเดียว

Admin รู้สึกว่า ชาว palliative อาจจะหนักใจเมื่อต้องมาทำ “clinic กัญชา”

เอาเป็นว่า ผมในฐานะคนทำงาน palliative ขอ ประกาศตัวว่า cons มากกว่า pros นะครับ เพียงแต่ก็ไม่ได้หลับหูหลับตาค้าน แค่ประโยชน์ไม่ชัดโทษเยอะ ก็ควร “ระวัง” มากกว่า “กระโจน” ไปใช้

ควรจะพิจารณาตัวเราว่าเป็น “หมอ” หรือ “นักวิจัย” ส่วนตัวนะ....admin page นี้ทุกคนเป็น “clinician “ ครับ กัญชายังอยู่ในวิจัย ยายังไม่ได้ขึ้นทะเบียนบัญชียา

ผมไม่ค่อยห่วงแพทย์ครับ แต่ห่วงประชาชน

การใช้กัญชา มีข้อควรระวัง (THC) และข้อห้ามนะจ๊ะ คนไข้ทุกคน กัญชามีสารสำคัญ 2 ตัว คือ THC ซึ่งเป็นตัวที่มีผลขอางเคียงมากมาย และ CBD ที่มีประโยชน์ (บ้าง) และยังมีสารอื่นอีกเป็น สิบ (เติม S) +สาร terpine

ประโยชน์ไม่ชัด โทษจากสาร THC เป็นส่วนใหญ่ จะใช้แต่ละที คิดดีๆ อย่างมีวิจารณญาณ

1. หากอายุ <25 ปี มีผลต่อต่อพัฒนาการสมอง ในส่วน prefrontal cortex ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้เรื่องเหตุผล
2. หากมีประวัติจิตเวชในครอบครัว อาจกระตุ้นให้เกิดอาการทางจิต และ กลายเป็นจิตเวชถาวร (จิตเภท/อารมณ์สองขั้ว)
3. ท่านที่มีโรคหัวใจ กัญชากระตุ้นอัตราการเต้นหัวใจ เป็น 2 เท่าในเวลา 1 ชั่วโมง ท่านอาจหัวใจวายได้ และหัวใจเต้นผิดจังหวะ
4. มีงานวิจัยในต่างประเทศ ว่า เพิ่มอุบัติเหตุทางท้องถนน อย่างชัดเจน ในผู้ใช้
5. ในกรณีที่ใช้ต่อเนื่อง นานจะเกิดความเสี่ยงโรคปวดหัว (ปวดรุนแรงมาเป็นพักๆ) และ อัมพฤกษ์/อัมพาต จากเส้นเลือดสมองหดตัว
6. เกิดอาการ คลื่นไส้อาเจียน รุนแรง/ยาวนาน เนื่องจาก กัญชา กระตุ้น TRPV1 ต่อเนื่องจนเกิดการลดจำนวนของตัวรับสัญญาณตัวนี้ ( receptor down regulation) อาเจียนรุนแรงจนเสียแร่ธาตุในเลือด อาจเสียชีวิตได้ กว่าจะกลับมาปกติ ก็เป็นสัปดาห์
7. กัญชาจะตีกับยาตัวอื่นได้บ่อย เนื่องจากการไปยับยั้ง เอนไซม์ ไซโตโครม P450 (3A4) จะทำให้ระดับของยาที่ใช้เอนไซม์นี้กำจัดยา เพิ่มระดับขึ้น โดยเฉพาะ ยา warfarin จะมีผลข้างเคียงจากยาหลักที่ท่านกินอยู่ได้ (ตามในรูป)

หลักฐานทางการแพทย์ พบว่า จำกัดการใช้ในกรณีที่ยาหลักๆ ไม่ได้ผลแล้ว
1. อาการชักในเด็ก บางชนิดที่ดื้อยาทุกตัว (ที่มีในโลก) (CBD)
2. อาเจียนรุนแรงจากเคมีบำบัดในมะเร็ง (THC) ซึ่งผ่านกลไก เดียวกับ ondansetron และตัว setron ที่ใหม่กว่า (5-HT3 receptor antagonists ) แปลว่ามียาดีกว่าอยู่แล้ว
3. อาการปวดเส้นประสาท และเกร็งในโรค multiple sclerosis (ปลอกประสาทแข็ง) ระยะสุดท้าย (ระยะแรกใช้ยาอื่นก่อน)
4. อาการปวดในมะเร็งระยะสุดท้าย โดยกระตุ้น ผ่านกลไก presynaptic receptor CB1 ลดการหลั่ง glutamates ซึ่ง “ morphine “ ก็กระตุ้นผ่าน mu receptor ได้ผลเดียวกัน แต่แรงกว่า และ ไม่ค่อยตีกับยาอื่นด้วย

ส่วนข้อบ่งชี้อื่น อยู่ในระดับงานวิจัยในหลอดทดลอง/ทดลองในมนุษย์

อยากรู้ละเอียดเชิญอ่าน เอกสาร กรมการแพทย์
www.dms.moph.go.th/dms2559/download/Final_Guidance.pdf?fbclid=IwAR2jK0Gp3XSKZJk0boq2g1fCfMiczSGo7nRYUPN1tyi1JnbOqgnxV8n0EZU

Cr. รูป อ สายพิณ หัตถีรัตน์

#healer_no1

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1396804663804105&id=637484473069465&__tn__=H-R






กรมการแพทย์  :  รอบรู้เรื่องกัญชาทางการแพทย์ คลิก www.medcannabis.go.th

************************************************

อายุรศาสตร์ ง่ายนิดเดียว
2 พฤศจิกายน 2563

กัญชาเพื่อการรักษาทางการแพทย์ สิ่งที่ประชาชนน่ารู้ : จากการบรรยายของ อ.สหภูมิ ศรีสุมะ, อ.วิโรจน์ ศรีอุฬารพงศ์, อ.เมธา อภิวัฒนากุล เมื่อครั้งที่แล้วได้สรุปเรื่องนี้จากการบรรยายของ อ.สหภูมิ เมื่อเวลาผ่านไป ยาได้รับการพัฒนาและประกาศใช้แล้ว มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

1. ข้อเท็จจริงที่ต้องรู้คือ กัญชาที่นำมาใช้ทางการแพทย์จะเป็นสารจากกัญชาสกัดเท่านั้น ไม่ใช่ใบหรือต้นกัญชาปลูก แล้วนำมาใช้ตรง ๆ เพราะจากการคัดเลือกสายพันธุ์เพื่อการค้าในปัจจุบัน สายพันธุ์กัญชาจึงมีสาร THC สูงกว่าในอดีต เพราะการใช้กัญชาเพื่อสันทนาการมีมากกว่าทางการแพทย์

2. ข้อบ่งใช้ทั่วโลกสำหรับสารสกัดจากกัญชา นั่นคือต้องมีสัดส่วนและสารเคมีของ THC และ CBD ในสัดส่วนเฉพาะเท่านั้น

ข้อบ่งชี้นั่นคือ การรักษาลมชักที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาปรกติ การรักษาอาการคลื่นไส้อาเจียนจากยาเคมีบำบัด การรักษาอาการปวดจากโรคมะเร็ง การรักษาอาการกล้ามเนื้อเกร็งในโรคระบบประสาทบางชนิด

**ข้อสำคัญคือ การสกัดกัญชาจะช่วยรักษาอาการเท่านั้น และไม่สามารถใช้เป็นยาหลักในการรักษาได้**

3. ในประเทศไทยมีการรับรองสารสกัดกัญชามาใช้เพียงในรูปน้ำมันกัญชา ที่มีสัดส่วน THC/CBD ที่คงที่หรือ THC เดี่ยวและ CBD เดี่ยว ในกี่ข้อบ่งชี้และไม่กี่คลินิกกัญชาและผู้สั่งใช้ ที่จะต้องได้รับการรับรองจากกรมการแพทย์ การสกัดเองหรือใช้ในรูปแบบอื่น ยังไม่ได้รับการรับรองให้ใช้โดยทั่วไปครับ

4. ขนาดของสารสกัดกัญชาที่ใช้ทุกประเภท จะใช้ในหน่วยเป็น หยด เท่านั้นนะครับ หยดจากหลอดหยดที่ให้มากับตัวยาเท่านั้นด้วย และจะต้องรอเวลาในการออกฤทธิ์และปรับยาพอสมควร เพราะกัญชาในรูปสารละลายน้ำมันและบริหารทางการกิน จะออกฤทธิ์ช้า หากใช้ซ้ำก่อนกำหนดเวลา สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ ยาเกินขนาด และนี่คือสาเหตุของพิษจากยาที่พบมากสุด

5. ผลของกัญชาจากการรักษาไม่ว่าจากโรคใด ประสิทธิภาพไม่ได้สูงไปกว่าการรักษามาตรฐานมากนัก ส่งผลข้างเคียงจะพบน้อยหากใช้ในขนาดรักษา แต่จะพบมากหากใช้เกิน

ประเด็นสำคัญคือ ผู้ป่วยไม่บอก หรือคิดว่าสิ่งที่เกิดนี้ไม่ได้เกิดจากกัญชา ทำให้คุณหมอก็ไม่ทราบ เพราะอาการพิษจากกัญชาไม่มีความเฉพาะเจาะจง เช่น ใจสั่น พฤติกรรมเปลี่ยน ซึม จำเป็นต้องอาศัยประวัติการใช้สารสกัดกัญชาที่ชัดเจน

6. ข้อห้ามสำคัญคือ แพ้ยา มีประวัติโรคทางจิตเวช หญิงที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ดังนั้นหญิงในวัยเจริญพันธุ์ก็ไม่ควรใช้เช่นกัน ผู้ที่มีโรคหัวใจและหลอดเลือดไม่ควรใช้ และแน่นอนว่านอกจากสารสกัดกัญชาทางการแพทย์แล้ว กัญชาที่ใช้เพื่อสันทนาการก็จะเกิดอันตรายที่รุนแรงได้เช่นกัน

7. ในโรคลมชัก นั้น จะใช้เมื่อไม่ตอบสนองต่อการรักษามาตรฐาน และใช้เพื่อควบคุมอาการเท่านั้น ไม่สามารถไปเปลี่ยนแปลงสภาพโรคเดิมได้ ข้อบ่งใช้ที่ชัดเจนมีในโรคลมชักที่พบน้อย คือ Dravet syndrome และ Lennox-Gestaut syndrome และมีการใช้เพื่อรักษาอาการกล้ามเนื้อเกร็งและอาการปวดเส้นประสาทในโรค multiple sclerosis (ข้อมูลจากการศึกษาเป็นโรคในช่วงลุกลาม แต่โรคที่พบส่วนใหญ่จะเป็นโรคที่เป็น ๆ หาย ๆ)

8. สำหรับเรื่องลดการปวดจากมะเร็งและอาการคลื่นไส้อาเจียนจากยาเคมีบำบัด ข้อมูลของสารสกัดกัญชา ไม่ได้มีประสิทธิภาพสูงมากนัก จึงมีคำแนะนำให้ใช้เป็นเพียงยาเสริมการรักษามาตรฐานเท่านั้น เพราะเมื่อเกิดผลข้างเคียงจะแยกยากมากว่าเกิดจากยาหรือเกิดจากโรค

สรุปว่า ใช้ทางการแพทย์ภายใต้การควบคุมอย่างเข้มงวด และไม่แนะนำให้ใช้นอกเหนือข้อบ่งชี้นะครับ โดยเฉพาะการนำน้ำมันสกัดไปใช้รูปแบบอื่น เคยมีปัญหาปอดอักเสบเฉียบพลันรุนแรงจากการใส่สารสกัดกัญชาในน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้ามาแล้วนะครับ

https://www.facebook.com/medicine4layman/posts/2728951274087555

************************************************

กัญชายาครอบจักรวาล ไม่จริง ? กัญชาเพื่อความเพลิดเพลิน อันตรายรึเปล่า ? และ บทเรียนจากอเมริกา
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-03-2019&group=28&gblog=15
 
กัญชาทางการแพทย์ ... ข้อมูลวิชาการ    ( คัดลอกมาฝาก ไม่ได้เขียนเอง )
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=21-04-2019&group=28&gblog=17


การใช้สารสกัดกัญชาทางการแพทย์ (คำแนะนำสำหรับแพทย์) 10 ต.ค.2562
https://www.facebook.com/pg/thaimedcouncil/photos/?tab=album&album_id=2367600230171535

.................................................







 
 
มาแล้ว !!! หัวข้อที่พลาดไม่ได้จาก MIMS Doctor Magazine เล่มใหม่ล่าสุด
เรื่อง การจัดการภาวะพิษเฉียบพลันจากกัญชาในภาวะฉุกเฉิน “อ่านง่าย เข้าใจ พร้อมใช้งาน” ในรูปแบบ flowchart จาก อ.นพ.ฤทธิรักษ์ โอทอง คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล

https://www.facebook.com/MIMSDoctorThailand/posts/pfbid033MkA83PY3rpDkvNJZDaeNkVENatE8TwW9MJRroSjMyQUCNXWbbjPU5byz9CEEFBtl

.............................................................

#หมอชวนรู้โดยแพทยสภา ( 26มิย67)
ตอนที่ 231 “กัญชากับปัญหาทางสุขภาพ”
------------------------
#กัญชา โดยเฉพาะ delta-9 tetrahydrocannabinol (THC) เป็นยาเสพติดที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ทำให้ผู้เสพรู้สึกผ่อนคลายและเคลิบเคลิ้ม กัญชาจึงถูกนำไปใช้เพื่อนันทนาการจนทำให้เกิดการเสพติดได้ คณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษสากลขององค์การสหประชาชาติจึงกำหนดให้กัญชาและสารสกัดกัญชาเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 ซึ่งมีลักษณะสำคัญ คือ “เป็นสารที่มีฤทธิ์เสพติดสูงและมีแนวโน้มสูงที่จะถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด…”
.
ในขณะที่กัญชาทางการแพทย์มักอยู่ในรูปของสารสกัดกัญชาที่ใช้สูบส่วนใหญ่มักเป็นกัญชาเพื่อนันทนาการ ใน พ.ศ. 2562 พบว่า ร้อยละ 2.2 ของคนไทยวัยผู้ใหญ่ มีการใช้กัญชาอย่างน้อย 1 ครั้งในช่วง 1 ปีก่อนการสำรวจ และความชุกนี้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 4.2 ใน พ.ศ. 2564 #การใช้กัญชาที่เพิ่มขึ้นมากนี้ย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตและสุขภาพกายของคนไทยเพิ่มมากขึ้น
.
#ผลกระทบของการใช้กัญชาต่อสุขภาพจิต
#การติดกัญชา
ผู้ที่ใช้กัญชาบ่อย ๆ จะเกิดการทนต่อยา ทำให้ต้องใช้กัญชาเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อให้ได้ฤทธิ์เท่าเดิม ในผู้ที่ใช้กัญชาบ่อยและมากมักมีอาการถอนกัญชาเกิดขึ้นเมื่อหยุดใช้ เช่น 
• วิตกกังวล (76.3%), 
• หงุดหงิด (71.9%), 
• นอนไม่หลับ (68.2%) 
• และอารมณ์ซึมเศร้า (58.9%)
ผู้ที่ติดกัญชามักไม่สามารถหยุดใช้กัญชาได้แม้การใช้กัญชานั้นจะทำให้เกิดผลเสียต่อการทำงาน การเข้าสังคม การดูแลตัวเอง หรือสุขภาพแล้ว บางการศึกษาพบว่า ทุก ๆ 3 ใน 10 คนที่ใช้กัญชาจะติดกัญชา
.
#ความบกพร่องทางสติปัญญา
การใช้กัญชาอาจทำให้เกิดความบกพร่องทางสติปัญญา เช่น
• ความจำ
• ความสนใจ 
• การตัดสินใจ 
• และการประมวลผลข้อมูลลดลง
ผลกระทบเหล่านี้จะเด่นชัดที่สุดเมื่อเกิดอาการเมากัญชาแบบเฉียบพลัน 
ในผู้ที่ใช้กัญชาบ่อยและมาก ความบกพร่องนี้อาจคงอยู่ได้ถึง 28 วันหลังหยุดใช้กัญชา และในบางราย อาจคงอยู่นานกว่านี้หรือคงอยู่แบบถาวรหากมีการเริ่มใช้กัญชาตั้งแต่วัยรุ่น ใช้มาก และใช้เป็นเวลานาน ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาระยะยาวที่พบว่า ผู้ที่ไม่ใช้กัญชาจะมี IQ เพิ่มขึ้นราว 0.7 คะแนน แต่ผู้ที่ใช้กัญชาจะมี IQ ลดลงราว 5.5 คะแนน 
.
#โรคจิตและโรคจิตเภท
โรคจิต คือ กลุ่มโรคที่มีอาการหลงผิด (เช่น หวาดระแวง) และประสาทหลอน (เช่น หูแว่ว) เป็นอาการสำคัญ โดยมีโรคจิตเภทเป็นโรคสำคัญ เนื่องจากเป็นโรคจิตเรื้อรังที่มักทำให้ป่วยตลอดชีวิต
#การใช้กัญชาเป็นประจำเพิ่มความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคจิต ประมาณ 2 เท่า และการใช้ที่มากขึ้นจะเพิ่มความเสี่ยง มากขึ้น (ดูรูปที่ 1) ในหน้า 2
เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่า ผู้ที่ใช้กัญชามากจะเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคจิตเภทเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน บางการศึกษาพบว่า ทุก ๆ 1 ใน 3 คนที่ป่วยเป็นโรคจิตระยะสั้นจากกัญชาจะป่วยเป็นโรคจิตเภทในอนาคต ซึ่งความเสี่ยงนี้สูงกว่าคนที่เป็นโรคจิตระยะสั้นจากแอมเฟตามีน (ซึ่งมีโอกาสเกิดประมาณ 1 ใน 5) 
.
#พฤติกรรมก้าวร้าวและรุนแรง
การเสพกัญชาอาจทำให้มีพฤติกรรมก้าวร้าวและรุนแรงเพิ่มมากขึ้นได้ โดยเฉพาะในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ที่อายุน้อย บางการศึกษาพบว่า ผู้ที่เสพกัญชา
มีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมรุนแรงมากกว่าผู้ไม่เสพกัญชาราว 2 เท่า และพฤติกรรมรุนแรงเหล่านี้จะเพิ่มมากขึ้นเมื่อมีการเสพกัญชาบ่อย มาก และนานขึ้น
.
#โรคทางจิตเวชอื่นๆ
นอกจากปัญหาทางจิตดังกล่าวมาแล้ว กัญชายังอาจทำให้คลุ้มคลั่ง ซึมเศร้า วิตกกังวล และคิดฆ่าตัวตายได้ สำหรับผู้ป่วยทางจิตเวชที่ใช้กัญชาก็มักมีอาการทางจิตแย่ลง
.
#ผลกระทบของการใช้กัญชาต่อสุขภาพกาย
#ระบบหัวใจและหลอดเลือด
 นอกจากกัญชาจะทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำในขณะเปลี่ยนท่าแล้ว ยังมีฤทธิ์ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นกว่าปกติราวร้อยละ 20-100 ภายในเวลาไม่กี่นาที
หลังการเสพและฤทธิ์นี้อาจคงอยู่นานหลายชั่วโมง อัตราการเต้นของหัวใจที่เพิ่มขึ้นนี้ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอาการหัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมองได้
.
#ระบบทางเดินหายใจ
ในระยะสั้น การสูบกัญชาส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจเช่นเดียวกับการสูบบุหรี่ ควันกัญชาจะระคายเคืองทางเดินหายใจและปอด ทำให้เกิดอาการไอเรื้อรัง หลอดลมอักเสบ และการติดเชื้อในปอด การสูบกัญชาในระยะยาวทำให้เสี่ยงต่อโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง และมีการสะสมทาร์และสารก่อมะเร็งในปอดมากกว่าการสูบบุหรี่ ทำให้เสี่ยงต่อการป่วยเป็นมะเร็งปอดไม่น้อยกว่าการสูบบุหรี่
.
#การตั้งครรภ์และการให้นมบุตร
มารดาที่เสพกัญชาสามารถส่งผ่านสาร THC ผ่านรกและน้ำนมได้ ทารกที่ได้รับสาร THC จากมารดาขณะตั้งครรภ์และให้นมบุตรจะมีน้ำหนักแรกคลอดน้อย เจริญเติบโตช้า และพัฒนาการของสมองช้า มารดาจึงต้องไม่ใช้กัญชาอย่างเด็ดขาดในระหว่างตั้งครรภ์  และให้นมบุตร นอกจากนี้ หญิงวัยเจริญพันธุ์ควรทราบด้วยว่าการหยุดเสพกัญชาหลังทราบว่าตนเองตั้งครรภ์เป็นการ
หยุดเสพที่ช้าเกินไป เพราะทารกได้เกิดขึ้นและได้รับสาร THC ไปหลายสัปดาห์แล้วก่อนที่มารดาจะหยุดเสพกัญชา 
.
#สรุป
การเสพกัญชาเพื่อนันทนาการก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพจิตและสุขภาพกายอย่างยิ่ง นอกจากผู้เสพแล้ว ผู้ที่ได้รับควันกัญชามือสองก็อาจมีปัญหาดังกล่าวมาแล้วได้ด้วยเช่นกัน ผู้ป่วยที่ได้รับกัญชาทางการแพทย์ควรได้รับการตรวจประเมินโดยละเอียดก่อนได้รับการรักษา และได้รับการติดตามปัญหาสุขภาพอย่างใกล้ชิด เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ป่วยได้รับประโยชน์มากกว่าโทษของการรักษาด้วยกัญชาหรือสารสกัดกัญชา
.
...................................
บทความโดย ศ.นพ. มานิต ศรีสุรภานนท์
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
......................
#หมอชวนรู้ #แพทยสภา #ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
 #กัญชากับปัญหาทางสุขภาพ
...................
ขอบคุณภาพประกอบจากเว็บไซต์ Canva

ที่มา 
https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=988154656434554&id=100057200869686&rdid=WL103B7myW9G7RkY

....................................................




 

Create Date : 21 เมษายน 2562   
Last Update : 22 มิถุนายน 2567 13:18:29 น.   
Counter : 13484 Pageviews.  

กัญชายาครอบจักรวาล ไม่จริง ? กัญชาเพื่อความเพลิดเพลิน อันตรายรึเปล่า ? และ บทเรียนจากอเมริกา

กัญชา ยาครอบจักรวาล ไม่จริง

26 Mar 2019 / 1277

 

ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 กำหนดให้สามารถนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ และการศึกษาวิจัยทางการแพทย์ได้ ประเด็นกัญชาจึงกำลังเป็นประเด็นที่ถูกจับตามองโดยประเด็นที่กำลังเป็นที่จับตามองก็คือ มีคนกล่าวอ้างว่ากัญชาเป็นยาครอบจักรวาล สามารถรักษาได้ทุกโรค ซึ่งไม่เป็นความจริง

          สรรพคุณของกัญชาที่เป็นประโยชน์ต่อวงการแพทย์และการรักษาผู้ป่วยตามที่มีรายงาน มีดังนี้

1. ภาวะคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบำบัด

2. โรคลมชักรักษายากในเด็ก และโรคลมชักที่ดื้อต่อยารักษา

3. ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งในผู้ป่วยปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

4. อาการปวดประสาทที่รักษาด้วยวิธีต่าง ๆ ไม่ได้ผล

ปัจจุบันกัญชาในตำรับยาแผนไทย 16 ตำรับ ได้รับการยอมรับจากกระทรวงสาธารณสุข ส่วนใหญ่มีสรรพคุณช่วยเรื่องลม การนอนหลับ และแก้ปวด ได้แก่

1.ยาน้ำมันสนั่นไตรภพ    2.ยาอัคคินีวคณะ          3.ยาศุขไสยาศน์

4.ยาแก้ลมเนาวนารีวาโย 5.ยาแก้ลมขึ้นเบื้องสูง      6.ยาไฟอาวุธ

7.ยาแก้นอนไม่หลับ หรือยาแก้ไข้ผอมเหลือง         8.ยาแก้สัณฑฆาต กร่อนแห้ง

9.ยาอัมฤตโอสถ           10.ยาอไภยสาลี           11.ยาแก้ลมแก้เส้น

12.ยาแก้โรคจิต            13.ยาไพสาลี               14.ยาทาริดสีดวงทวารหนัก และโรคผิวหนัง

15.ยาทำลายพระสุเมรุ    16.ยาทัพยาธิคุณ

กัญชามีทั้งประโยชน์ และโทษ ถ้าหากนำไปใช้รักษาโรคอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาอาจเกิดโทษได้ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาที่ถูกวิธีจะดีกว่า

หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถ โทร สายด่วน อย. 1556 กด 3 ในวัน และเวลาราชการได้นะ

 


https://oryor.com/digi_dev/detail/media_printing/1740?fbclid=IwAR0KH6x-zdsM5uwYbPUGZT5vqSaAZaQMrT16JEOVnLBy0P4twWD2o5Iv6Zs





 

กรมการแพทย์เผย 3 สิ่งที่ผู้ป่วยเริ่มใช้สารสกัดกัญชาในการรักษาโรคควรทราบ

1. จำเป็นต้องทราบข้อมูลต่อไปนี้ก่อนการรักษา
* สารสกัดกัญชาไม่ใช่ทางเลือกแรกในการใช้รักษา
* ใช้เป็นการรักษาเสริมการรักษาตามมาตรฐานที่ได้รับ ไม่ละเลยการรักษาที่ได้รับอยู่ในปัจจุบัน
* ผู้ป่วยต้องทราบประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ และความเสี่ยงอาจเกิดขึ้น
* ควรใช้สารสกัดกัญชาที่มีมาตรฐาน ทราบอัตราส่วนสารสำคัญที่ชัดเจน
2. เริ่มใช้สารสกัดกัญชา
* ควรเริ่มในปริมาณที่น้อยที่สุด หากไม่ได้ผลต้องปรับเพิ่มปริมาณช้าๆ เนื่องจากขนาดยาที่มีปริมาณน้อย มีโอกาสเกิดผลข้างเคียงน้อย
* ควรมีผู้ดูแลอยู่ด้วยเมื่อเริ่มใช้ หากเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ ให้รีบนำผู้ป่วยส่งพบแพทย์ทันที
* การให้สารสกัดจากกัญชาในครั้งแรกควรให้เวลาก่อนนอนและมีผู้ดูแลใกล้ชิด เนื่องจากอาจเกิดผลข้างเคียงได
3. แจ้งให้แพทย์ทราบว่าใช้ยาประเภทใดอยู่ เนื่องจากสารสกัดกัญชาส่งผลต่อยาบางชนิด ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยได้
#กรมการแพทย์ #กัญชาทางแพทย์


**********************************************



Thiravat Hemachudha

สืบเนื่องมาจาก บทความใน วารสาร lancet 2019 ที่ติดตามคนใช้กัญชาและพบว่าเกิดโรคจิตมากชึ้น มากขึ้น ต้องอ่านบทบรรณาธิการและอ่านข้อมูลก่อนหน้านั้นว่าการเป็นโรคจิตนั้นมีปัจจัยหลายประการที่เกี่ยวข้องได้แก่ความโน้มเอียงของบุคคลนั้นที่พร้อมจะเกิดเป็นโรคจิต มีความโน้มเอียงที่จะติด มีความโน้มเอียงที่จะต้องใช้บ่อยหรือมีอาการวิปลาสไปชั่วขณะ เกิดขึ้นจากการใช้สารปริมาณสูงโดยเฉพาะที่เป็น THC รวมทั้งประเภทที่มาจากการสังเคราะห์

นอกจากนั้นรายงานล่าสุดในวารสาร annals of internal medicine วันที่ 26 มีนาคม 2562 พบว่าอาการทางจิตที่เกิดขึ้นหลังการเสพแทนที่จะเกิดจากการสูบ กลับกลายเป็นที่ได้จากการกินหรือหยดใต้ลิ้นจากน้ำมันทั้งนี้เนื่องจากกระบวนการดังกล่าวจะทำให้กัญชาออกฤทธิ์ช้าตั้งแต่หนึ่งถึง 4 ชั่วโมงทำให้ต้องกินหรือหยดซ้ำๆคือให้ออกฤทธิ์เร็วเลยกลายเป็นทำให้ได้ปริมาณสารในขนาดสูงไป และเกิดอาการได้ง่ายขึ้นในคนที่มีความโน้มเอียงอยู่แล้ว
.................................

กัญชาเพื่อความเพลิดเพลิน อันตรายรึเปล่า?

ส่วนหนึ่งของบทความมาจากบีบีซีนิวส์ อังกฤษ (Cannabis : What are the risks of recreational use? Source BBC NEWS United Kingdom) หลังจากที่อังกฤษได้อนุญาตให้ใช้กัญชาทางการแพทย์ได้ หลายคนก็นึกสงสัยว่าก็ใช้ทางการแพทย์ได้ แล้วปล่อยให้ใช้ตามท้องถนนทั่วไป ขายใครก็ได้ อย่างงี้จะได้ไหม

เพราะถ้าเคยไปอังกฤษ เดินไปเดินมาในลอนดอนก็จะได้กลิ่นกัญชาอยู่บ่อยๆ บางทีก็เดินสูบกลางวันแสกๆ ริมถนนเลย แล้วตำรวจล่ะไม่ทำงานหรือ ตำรวจทำไมไม่จับ ก็เค้าบอกไม่รู้จะจับทำไม รกคุก สูบไปก็ไม่ได้เดือดร้อนใคร ไม่ได้เหมือนติดยาประเภทอื่น อย่างมอร์ฟีนหรือโคเคน เป็นต้นซึ่งสร้างปัญหาให้กับสังคมและครอบครัวเป็นอย่างมาก เลยแค่ตักเตือน และจับแต่คนขายกัญชาผิดกฎหมาย

ล่าสุดอดีตรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศอังกฤษออกมาเสนอว่าทำไม ไม่ทำให้ถูกกฎหมายไปเลยล่ะ เหมือนบางประเทศเช่น เนเธอร์แลนด์ เพราะพอปล่อยให้ถูกกฎหมายแล้วคนก็ใช้ยาเสพติดประเภทอื่นน้อยลง ดีเสียอีกเพราะสารเสพติดอื่นๆ ฉีดเข้าเส้นก็ติดไวรัสตับอักเสบบ้าง ติดเอดส์บ้าง และสามารถควบคุมการขายและเก็บภาษีได้ง่ายขึ้น ส่วนรัฐบาลอังกฤษเค้ายังไม่กล้าเพราะยังมีหลักฐานจากการศึกษาที่ว่าอาจจะเป็นผลเสียต่อสุขภาพจิตได้ และในโรงเรียนแพทย์ก็สอนมาตลอดว่าใช้กัญชาตอนเด็กมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคจิตเภท (Schizophrenia)

สั้นๆ เรื่องกัญชากันก่อนอีกสักรอบนึง กัญชามีส่วนประกอบหลักที่ออกฤทธิ์ต่อร่างกายและสมอง 2 ชนิด คือ tetrahydrocannabinol (THC) และ cannabidiol (CBD) ซึ่งไม่มีในร่างกายของเรา

ตัว THC นี่คือตัวทำให้หิว ทำให้เกิดความสุขหรือ High นั่นเอง แต่มากเกินก็อาจจะประสาทหลอนได้
ส่วน CBD นั้น ไปออกฤทธิ์กันคนละที่ ไปปรับสมดุลร่างกาย ซึ่งสามารถลดการอักเสบ ลดการกังวล และลดอาการประสาทหลอนได้

แต่อย่างไรก็ตาม หลักฐานในระยะหลังพบว่า THC สามารถลดหรือควบคุมอาการวุ่นวาย หรือที่มีอาการทางจิตประสาทในคนไข้ที่มีสมองเสื่อม และทั้งสองตัวมีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบด้วย

ปัญหาคือเวลาสูบนั้น ไอ้ใบกัญชาที่หามามันจะมีสารที่ออกฤทธิ์ ทางสนุกมากน้อยแค่ไหนเพียงใด ประเทศไทยคนเก่งเยอะ ทำสกัดกัญชาแม่นๆ ที่บอกว่ามีปริมาณของสารสองประเภทนี้ในแต่ละส่วนของกัญชาทั้งดอก ต้น ใบ และเมล็ดเท่าไหร่ก็คงใช้ประโยชน์ได้ดีและมาเป็นน้ำมันกัญชา

แล้วผู้เชี่ยวชาญที่อังกฤษเค้าว่ายังไง ถึงกัญชาจะเป็นยาเสพติดผิดกฎหมายที่ใช้มากที่สุดในอังกฤษ เพราะเค้าบอกกันว่าให้ความรู้สึกมีความสุขและผ่อนคลายอย่างเป็นธรรมชาติ แต่ผู้เชี่ยวชาญกังวลมากกับความเสี่ยงโรคจิตเภทและโรคประสาทหลอน (Psychosis) ในพันธุ์ที่มี THC สูงเพราะมีการวิจัยในปี 2015 จาก King’s College London บอกว่าพันธุ์ที่มีความเข้มข้นของ THC สูงมากจะทำให้เกิดความเสี่ยงประสาทหลอนมากถึง 3 เท่าถ้าเทียบกับคนไม่สูบ แต่อย่าเพิ่งหยุดอ่าน...

สูตรที่อ่อน THC และ CBD เด่นนั้น ทำงานในการลดการประสาทหลอนและลดผลเสียของ THC ได้

กลับมาดูในปี 2012 ดีๆ ก็มีการศึกษาลงใน Nature Translational Psychiatry ศึกษาสาร CBD ว่าจริงๆแล้ว ตัว CBD เนี่ยนอกจากไปช่วยปรับความเข้มข้นฤทธิ์ของ THC แล้ว มันยังไปเพิ่มความเข้มข้นของสารชื่อ Anandamide ที่มีอยู่ในร่างกายจากการลดการขจัดทำลายออก และสารนี้ละที่อธิบายประโยชน์ของ CBD และช่วยลดการเกิดโรคประสาทหลอนไปอีกระดับนึง มิหนำซ้ำคัดค้านความเชื่อที่ว่า กัญชาทำให้เกิดโรคจิตโดยมีกระบวนการพิสูจน์ในการรักษาผู้ป่วยจิตเภท ประการแรกคือ ใช้ยาพิเศษเจาะจงเฉพาะในการต้าน CB1 receptor ในสมอง ไม่ได้ผลในการควบคุมอาการทางโรคจิต

และประการที่สอง ระดับกัญชาธรรมชาติในน้ำไขสันหลัง anandamide (AEA) ต่ำกว่าปกติในผู้ป่วยเหล่านี้ ยิ่งอาการมากยิ่งมีระดับต่ำมากๆ ชี้ว่าแท้จริงอาการทางจิตเกิดจากการพร่องกัญชาในตัว การรักษาโดยเพิ่มพลังกัญชาธรรมชาติในร่างกายโดยใช้ CBD ได้ผลเท่ากับใช้ยาโรคจิต แต่ไม่มีผลข้างเคียง

แล้วที่อังกฤษสูบกันทั่วไปและที่ขายกันตามถนนอย่างผิดกฎหมายนั้น คือ ของดีแบบแรง THC เยอะ อย่างงี้คนอังกฤษจะเป็นประสาทหลอนกันหมดรึเปล่า หลังจากสูบกันมายาวนาน คนสูบก็ไม่เห็นเป็นอะไรเลยนิ แล้วคนประสาทหลอนหรือจิตเภทส่วนมากก็ไม่เคยสูบกัญชา

สรุปการศึกษาในปี 2015 นั้นอาจจะไม่ตรงและเอามายืนยันอะไรไม่ได้ ต้องศึกษาอีกเยอะและต้องดูถ้วนถี่ลึกถึงกลไกของสารออกฤทธิ์ในตัว มีการศึกษาออกมาดูว่ากัญชาทำให้เกิดโรคซึมเศร้า ผลก็ไม่ชัดเจนเพราะคนที่มันซึมเศร้าหรือกำลังจะเกิดเนี่ยหันมาใช้กัญชาหรือที่จริงอาจจะจะช่วยซึมเศร้ามากกว่านะ

ส่วนกัญชาเนี่ยติดง่ายไหม ก็ติดยากกว่าบุหรี่เยอะ แต่ถ้าใช้ต่อเนื่องทุกวันจะมีประมาณ 10% ที่ติดงอมแงม ส่วนคนที่ติดถ้าจะเลิกก็หยุดได้เลยแต่ก็จะมีอาการหงุดหงิด อยากกลับไปใช้เหมือนกับบุหรี่ แต่ไม่ถึงกับเป็นอันตราย และข้อดีคือถึงจะใช้เยอะมากก็ไม่ทำให้หยุดหายใจเสียชีวิตเหมือนกับฝิ่นนะ ใช้กัญชาอาจจะมีปัญหาเรื่องความจำและความสามารถของสมองในระยะสั้น พอมันออกจากร่างกาย ซึ่งประมาณ 20 วัน ทุกอย่างก็จะกลับมาเหมือนเดิมไม่มีผลเสียระยะยาว เค้าว่ามานะ

อืม แล้วงี้ลูกผมใช้กัญชาแล้วได้ใจ ไปใช้สารเสพติดอื่นที่แรงกว่าเช่นเฮโรอีนไหม ไม่มีหลักฐานนะว่าเค้าจะไปใช้อะไรมากกว่านี้ แต่ก็ยังเป็นสูบควันอยู่ดี ถ้าเค้ามวนสูบงี้เป็นมะเร็งปอดหรือถุงลมโป่งพองไหม อันนี้ยังไม่ชัดเจนเพราะหลายๆคนที่สูบกัญชาก็สูบบุหรี่เลยบอกยาก แต่คาดว่าสูบกัญชา ควันมันเนี่ยทำให้เกิดการอักเสบของหลอดลม

แล้วมันดียังไงล่ะ จากปากของคนไข้ที่ใช้อยู่ที่อังกฤษ เค้าบอกกันว่าก็ใช้กันได้เยอะไปหมด เช่นกันโรคลมบ้าหมูในเด็ก เจ็บเรื้อรัง กระวนกระวาย คลื่นไส้อาเจียน โดยเฉพาะเวลาให้ยาต้านมะเร็ง รวมถึงโรคขาดอาหาร นอนไม่หลับ และพาร์กินสันอีกด้วย ฟังดูดีไปหมด ส่วนปัญหาควันหรือประสาทหลอน เราก็ใช้สูตรที่ CBD เยอะๆสิครับ ทำเป็นน้ำมัน ตอนนี้เรารู้กลไกของมันในระดับนึงแล้ว เราก็พอโล่งใจได้

เอาเป็นว่า ขอให้ใช้ทางการแพทย์ก่อนเนอะ แล้วมาดูว่ามันดีหรือไม่ดี ส่วนใช้กับการบันเทิงให้ต่างประเทศเค้าเป็นหนูทดลองไปก่อนว่าผลออกมาเป็นยังไงแล้วเราค่อยมาดูกันอีกที จะได้เก็บภาษีเข้ารัฐบาลได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย คนไทยจะได้สุขภาพดีขึ้น รวมถึงปลอดภัยอีกด้วย

เอาอย่างนี้ดีกว่ามั้ย?

หมอดื้อ

https://www.facebook.com/thiravat.hemachudha/posts/10157336090641518
https://www.thairath.co.th/content/1410820?fbclid=IwAR1ziMDUvqB5V_6svwyLu9Yao6-BLaITVrsm8_F4ZsSxb7ORgzjbbdOvr9U

***********************************


 
บทเรียนจากอเมริกา ว่าด้วยกัญชาถูกกฎหมาย

Mfahmee Talib   10 เมษายน
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10156598308859440&set=a.236711204439&type=3&theater
 
ช่วงก่อนเลือกตั้งที่ผ่านมา มีกระแสเรื่องกัญชาพอสมควร อันเนื่องมาจากการประกาศพรบ.ยาเสพติดให้โทษฉบับ พ.ศ. 2562 ซึ่งมีการอนุญาตให้ใช้กัญชาเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ บวกกับ กระแสที่พรรคภูมิใจไทยเสนอให้นโยบายผลักดันให้กัญชาเป็นพืชเศรษฐกิจของไทยเป็นนโยบายหลักของพรรคที่ใช้ในแคมเปญการเลือกตั้ง ซึ่งทำให้ประชาชนนำประเด็นเรื่องกัญชามาถกเถียงในที่สาธารณะมากยิ่งขึ้น

โดยสรุปแล้ว ข้อมูลจากฝ่ายสนับสนุน ได้ให้เหตุผลสำคัญที่ควรผลักดันให้กัญชาเป็นพืชเศรษฐกิจ และปลดล็อคให้เสพอย่างถูกกฎหมาย เพราะ

1. กัญชามีคุณประโยชน์ทางการแพทย์ สามารถใช้รักษาโรคหอบหืด โรคพากินสัน รักษาอาการซึมเศร้า บำบัดโรคมะเร็ง โรคลมชัก ใช้รักษาอาการปวดตามร่างกาย และลดปวดจากโรคไขข้ออักเสบ ใช้ป้องกันโรคอัลไซเมอร์

2. มีคุณประโยชน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจ ราคาของกัญชาที่ขายในท้องตลาดที่กิโลกรัมละ 70,000 บาท หากส่งเสริมให้เกษตรกรไทยปลูกกัญชาแค่คนละไม่กี่ต้น จะทำให้เกษตรกรไทยร่ำรวยกันถ้วนหน้า

3. ในพรบ.ยาเสพติดให้โทษ 2562 มีการอนุญาตให้กลุ่มคน 7 กลุ่ม ทำการเพาะปลูกกัญชาได้ แต่ใน 7 กลุ่มนั้นไม่มีประชาชนทั่วไป ซึ่งมีโอกาสที่จะทำให้กัญชาถูกผูกขาดโดยนายทุนเจ้าใหญ่เท่านั้น

4. กัญชาหางกระรอก หรือ กัญชาไทย ที่รู้จักในต่างประเทศในชื่อ Thai stick ถือเป็นสายพันธ์กัญชาที่ดีที่สุดสายพันธ์หนึ่งในโลก บวกกับอากาศในที่ราบสูงภาคอีสานของไทยเหมาะแก่การปลูกกัญชา ถ้าปลูกขายจะมีตลาดจากลูกค้าทั่วโลกอยู่แล้ว

5. หากผลักดันให้กัญชาเป็นสิ่งถูกกฎหมายจะเพิ่มมูลค่าการตลาดของการท่องเที่ยวไทย จะมีนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกเดินทางมาเที่ยวไทย

6. หากพิจารณาจากพิษภัยด้านการเสพติดดูเหมือนกัญชาจะเป็นพืชเสพติดที่พิษภัยน้อย ไม่ทำให้คนเสพคลุ้มคลั้ง ไม่ทำให้เกิดมะเร็งเหมือนบุหรี่

ความจริงแล้ว ข้อสนับสนุนทางนโยบายที่พรรคการเมืองเสนอมานั้นก็ถูกตั้งข้อสังเกตโดยนักวิชาการไทยพอสมควร เช่น รศ.วิเชียร กีรตินิจกาล จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ให้ข้อทักท้วงว่า

- ในต่างประเทศที่ให้ประชาชนปลูกกัญชาได้เองนั้นเงื่อนไขที่จะอนุญาตให้ปลูกต้องเป็นคนไข้ก่อน และไม่สามารถใช้ยารักษาโรคทั่วไปในท้องตลาดรักษาได้

- การปลูกกัญชาให้ขายได้ในราคากิโลกรัมละ 70,000 บาทนั้นต้องเป็น Medical grade ซึ่งมีวิธีการปลูกที่ยากมาก ประชาชนทั่วไปทำได้ยาก ต้องควบคุมปัจจัยแวดล้อมเยอะ เนื่องจากกัญชาเป็นพืชที่ดูดโลหะหนักในดินได้มาก หากปล่อยให้ปลูกทั่วไปจะพบโลหะหนักมากเกินค่ามาตรฐานทางการแพทย์ยอมรับได้ ซึ่งจากการสำรวจกัญชาจากลาวก็พบปัญหานี้แล้ว

- การเคลมว่ากัญชาไทยดีที่สุดในโลกนั้นยังเป็นข้อความที่คลุมเครือ เนื่องจากกัญชาไทยที่ว่าดี เป็นกัญชาที่มีสาร THC (Tetrahydrocannabinol) สูง สารตัวนี้ทำให้เกิดอาการมึนเมาจึงเป็นที่นิยมของนักเสพ ส่วนคำว่าดีในทางการแพทย์ กัญชาประเภทนี้ต้องมีสาร CBD (Cannabidiol) มาก ซึ่งสายพันธ์ไทยไม่ได้มี CBD เยอะ

- การให้ประชาชนปลูกกัญชาอย่างเสรีจริง ๆ มีไม่กี่ที่ในโลก แม้จะมีหลายประเทศอนุญาตให้ใช้กัญชา แต่มีแค่ในรัฐบริทิชโคลัมเบียเท่านั้นที่ให้ประชาชนปลูกคนละไม่เกิน 6 ต้น ประเด็นปัญหาของการให้ปลูกอย่างเสรีคือ จะควบคุมการเสพกัญชาเพื่อความบันเทิงไม่ได้ หากปลูกกันอย่างเสรีแล้ว ไม่สามารถผลิตกัญชาให้อยู่ในคุณภาพที่ใช้ในทางการแพทย์ กัญชาจะไปอยู่ในตลาดมืด หรือถูกเสพแทน ซึ่งกัญชาก็เป็นสารมึนเมาชนิดหนึ่ง หากควบคุมการเสพไม่ได้ จะมีปัญหาตามมาอีกมากแน่นอน

(อ่านเพิ่มเติม https://www.isranews.org/isranews-article/74090-weed00.html )

อย่างไรก็ตาม ข้อถกเถียงทั้งข้อสนับสนุน และ ข้อคัดค้าน เป็นการคาดเดาในสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย แต่ในเมื่อโลกใบนี้มีหลายประเทศที่เคยมีกฎหมายห้ามใช้กัญชา และ เปลี่ยนมาเป็นอนุญาตให้ใช้กัญชาได้ ผมจึงคิดว่าการนำบทเรียนในช่วงเปลี่ยนผ่านของกฎหมายจากประเทศเหล่านี้มาเล่าสู่กันฟังน่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านที่สนใจเรื่องนี้พอสมคว

ข้อมูลที่ผมนำเสนอนี้เป็นการรวบรวมสถิติที่เกิดขึ้นใน 4 รัฐของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แก่ Colorado, Washington, Oregon และ Alaska ซึ่งอนุญาตให้ใช้ในช่วงปี 2012 เป็นต้นมา โดยกลุ่มนักวิจัยที่รวบรวมข้อมูลมาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ เช่น Harvard Medical School, U. of Colorado at Denver, Yale University และอีกหลายมหาวิทยาลัย จากระยะเวลาเปลี่ยนผ่านกฎหมาย 7 ปี มีการรวบรวมสถิติที่สำคัญดังต่อไปนี้

(อ่านเพิ่มเติม https://learnaboutsam.org/wp-content/uploads/2018/07/SAM-Lessons-Learned-From-Marijuana-Legalization-Digital-1.pdf)

ผลกระทบต่อสังคมและเยาวชน

หลังการอนุญาตให้ใช้ได้ใน 4 รัฐ แน่นอนว่าเยาวชนจำนวนมากเริ่มทดลองใช้ ทำให้จำนวนผู้ใช้กัญชาในรอบ 1 เดือน ที่มีอายุระหว่าง 12-17 ปี สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ โดยเฉพาะในรัฐ Alaska และ Oregon ที่ขึ้นเป็นอันดับต้น ๆ หนึ่งของประเทศทันที รัฐ Colorado มีจำนวนผู้ใช้กัญชาในช่วงอายุเยาวชนเพิ่มขึ้น 65% จากปีก่อนหน้า และมีรายงานตัวเลขที่เพิ่มขึ้นของผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จที่ตรวจพบสารกัญชาในร่างกา

การควบคุมการขายปลีก

แม้จะมีการอนุญาตให้ทำการขายแต่ทั้ง 4 รัฐก็ยังคงมีเงื่อนไข จำกัดการขายบางอย่างเช่น อายุผู้ซื้อ เวลาในการซื้อขาย และปริมาณ ในทางปฏิบัติพบว่ามีการละเมิดข้อกำหนด โดยเฉพาะการปล่อยขายให้เด็กที่อายุไม่ถึงเกณฑ์ ซึ่งพบมากกว่าครึ่งหนึ่งจาก 424 กรณีที่ละเมิดเงื่อนไขทั้งหมด

สารเสพติดอื่น ๆ ไม่ได้ลดลง

แม้จะมีการคาดการณ์ว่าเมื่อปล่อยให้กัญชาใช้ได้ทั่วไปแล้ว จะทำให้ประชาชนลดการใช้สารเสพติดอื่น แต่ในความเป็นจริง สารเสพติดอื่นไม่ได้ลดลงไปด้วย ในรัฐ Oregon พบว่าเยาวชนที่อายุต่ำกว่า 21 ปี ที่กลายเป็นนักดื่มแบบหนัก ส่วนหนึ่งเป็นกลุ่มเดียวกันกับผู้ใช้กัญชาที่เริ่มใช้ครั้งแรกหลังการเปลี่ยนกฎหมาย นอกจากนั้นในรัฐ Colorado พบว่าค่าเฉลี่ยการดื่มแอลกอฮอล์ของเมืองเพิ่มขึ้น 8% หลังการอนุญาต

นอกจากนั้นยังพบว่าการอนุญาตให้ใช้กัญชาอย่างเสรี จะทำให้มีผู้ใช้ยาเสพติดกลุ่ม opioids เพิ่มมากขึ้น โดยรูปแบบการใช้จะเหมือนกับการใช้ยาเสพติดในที่อื่น ๆ ของโลก โดยผู้ใช้จะเริ่มใช้จากยาเสพติดที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทน้อยไปหามาก ดังนั้นเยาวชนที่เริ่มใช้กัญชายิ่งใช้มากเท่าไหร่ ก็คาดเดาได้ว่าในอนาคตจะมีผู้ใช้ opioids มากยิ่งขึ้น ในข้อมูลที่เก็บในรัฐ Colorado 5 ปีหลังการเปิดเสรีกัญชา พบว่าจำนวนผู้เสียชีวิตจากการใช้ opioids กลับเพิ่มขึ้น

ผู้ป่วยในโรงพยาบาลและห้องฉุกเฉิน

เมื่อกัญชาเสพกันง่าย ตัวเลขของผู้ป่วยที่ถูกส่งเข้าโรงพยาบาลเพราะเสพกัญชาเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ ในรัฐ Oregon ก่อนหน้าจะอนุญาตให้ใช้มีคนไข้ถูกส่งมาห้องฉุกเฉินจากอาการเมากัญชาเฉลี่ยที่ 35 คนต่อเดือน แต่หลังจากอนุญาตเพิ่มขึ้นเป็น 434 คน หรือเท่ากับ 2000% ที่รัฐ Colorado และ Washington มีการโทรศัพท์เข้ามาในศูนย์พิษวิทยาของรัฐเพื่อสอบถามข้อมูลของอาการพิษจากกัญชามากขึ้นถึง 210% และ 70% ตามลำดับ

กัญชาในตลาดมืด

เนื่องจากเงื่อนไขในการปลูก ซื้อ และ ขายกัญชา อย่างถูกกฎหมายค่อนข้างซับซ้อน จึงทำให้เกิดการลักลอบปลูก ซื้อ และ ขาย ความตั้งใจจะลดปัญหากัญชาผิดกฎหมายของรัฐสวนทางกับข้อเท็จจริงทางสถิติที่พบว่า ในรัฐ Colorado มีการลักลอบปลูกกัญชาเพิ่มขึ้น 50% มีการจับกุมกัญชาผิดกฎหมายมากขึ้น มีการส่งกัญชาออกไปขายต่างรัฐด้วยไปรษณีย์มากขึ้นทำให้มีการจับกุมการลอบขายกัญชาออนไลน์นี้มากขึ้นถึง 884% นอกจากนั้นมีการประเมินว่าปริมาณการซื้อขายกัญชาในตลาดทั้งหมดของรัฐ Oregon อยู่ในตลาดมืดเสีย 70%

อาชญากรรม

เกิดอาชญากรรมเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวทั้ง 4 รัฐ ทั้งการโจรกรรม การใช้ความรุนแรง แม้ว่าการอนุญาตให้ใช้กัญชาจะไม่ใช่เหตุผลโดยตรงหรือเหตุผลหลักที่อธิบายปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ผู้เชี่ยวชาญ ทั้งตำรวจ นักกฎหมาย และนักวิชาการ ต่างกล่าวว่าการเปลี่ยนกฎหมายนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้อาชญากรรมเพิ่มขึ้น

เมา (กัญชา) แล้วขับ

กรณีการเมากัญชาแล้วขับถือเป็นเรื่องไกลตัวของคนไทย เพราะเรามีปัญหาหลักคือเมาแอลกอฮอล์แล้วขับ เรามาลองดูกันว่าเมื่อมีคนเสพกัญชามากขึ้น อุบัติเหตุบนท้องถนนจะเป็นอย่าง ในรัฐ Colorado พบว่า อุบัติเหตุจราจรที่รุนแรงที่เกิดจากคนเมากัญชาแล้วขับเพิ่มขึ้น 88% ผู้เสียชีวิตจากคนเมากัญชาแล้วขับเพิ่มขึ้น 66% ส่วนใน Washington และ Oregon พบว่าอุบัติเหตุจากคนเมากัญชาแล้วขับเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมเช่นกัน

ในข้อสรุปที่นักวิชาการได้ให้ไว้คือ การพิจารณานโยบายนี้ควรทำอย่างรอบคอบ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสถานะทางกฎหมายแล้ว ย่อมเปลี่ยนพลวัตรทางเศรษฐกิจและสังคม หากกัญชาถูกกฎหมายจะมีกลุ่มทุน นักธุรกิจเข้ามาในตลาดกัญชานี้อย่างแน่นอน โดยเป้าหมายของกลุ่มทุนเหล่านี้คือต้องการให้มีผู้เสพมากที่สุด เพื่อกำไรสูงสุดของอุตสาหกรรม ดังนั้นเมื่อปล่อยให้เกิดการผลิตมากขึ้นและเป็นสินค้าที่มีความต้องการเดิมในตลาดอยู่แล้วนั้น การทำลายกลไกตลาดที่ทำงานแล้วจะเป็นเรื่องยาก ดังที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมแอลกอฮอล์ในไทย ผลประโยชน์ในอุตสาหกรรมจะจูงใจให้อุตสาหกรรมขยายตัวอย่างรวดเร็ว และยากที่จะคัดค้านในภายหลั

ดังนั้นหากจะพิจารณานโยบายน
ี้ในประเทศไทย จึงควรพิจารณาอย่างรอบด้าน คาดการณ์ผลกระทบทุกรูปแบบที่จะเกิดขึ้น ทั้งข้อดีและข้อเสีย จึงจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติครับ
 
 
***************************
 
การปลดล็อคกัญชาเพื่อใช้ในการแพทย์: ผลกระทบที่เกิดในอเมริกา

เขียนวันที่ 11 พฤศจิกายน 2561 เวลา 11:17 น.
เขียนโดย  ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์


"...ส่วนผลกระทบในผู้ใหญ่นั้น มีหลายการศึกษาที่เจาะลึกเรื่องนี้ โดยพบว่า หลังประกาศนโยบายปลดล็อคกัญชาทางการแพทย์ มีอัตราการโดนจับกุมเพราะครอบครองกัญชาโดยผิดกฏหมายเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 15-20 และมีอัตราของผู้ใหญ่ที่มีอาการเสพติดกัญชาครั้งแรกจนต้องนำส่งรับการรักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ทั้งนี้ผลการศึกษามีลักษณะแนวโน้มตรงกันแทบทั้งสิ้น..."

งานวิจัยล่าสุดที่ตีพิมพ์ปีนี้ (2018) ใน Neuropsychopharmacology Reviews (1) ซึ่งอยู่ในเครือวารสารวิชาการระดับโลกอย่าง Nature ตีพิมพ์ผลการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของนโยบายการเปิดให้ใช้กัญชาทางการแพทย์ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเปรียบเทียบตั้งแต่ปีค.ศ.2005-2011

จำนวนของการโทรแจ้งขอความช่วยเหลือไปยังศูนย์พิษวิทยาเนื่องจากเด็กที่แอบเสพกัญชาเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 ในรัฐที่ประกาศปลดล็อคกัญชาทางการแพทย์ในช่วงปี 2005-2011 และเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 30 ในรัฐที่ประกาศปลดล็อคกัญชาทางการแพทย์ก่อนปี 2005

ทั้งนี้เด็กที่เสพกัญชาในเหล่ารัฐที่ประกาศนโยบายไปนานกว่า (ก่อนปี 2005) จะมีอุบัติการณ์ของการเกิดผลข้างเคียงจากกัญชาที่รุนแรงกว่า และจำเป็นต้องนำส่งโรงพยาบาลเพื่อรับการดูแลรักษามากกว่ารัฐที่เพิ่งประกาศนโยบายไป

ในเวลาต่อมา มีการศึกษาในช่วงปี 2009-2015 พบว่า รัฐโคโรลาโดซึ่งประกาศให้ใช้ทั้งทางการแพทย์ และเสพโดยเสรีนั้น มีอัตราการโทรแจ้งศูนย์พิษเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 34 ในแต่ละปี โดยมากกว่ารัฐอื่นๆ ที่ไม่ได้ประกาศให้ใช้เสรี โดยมีอัตราการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 19 ต่อปี

ส่วนผลกระทบในผู้ใหญ่นั้น มีหลายการศึกษาที่เจาะลึกเรื่องนี้ โดยพบว่า หลังประกาศนโยบายปลดล็อคกัญชาทางการแพทย์ มีอัตราการโดนจับกุมเพราะครอบครองกัญชาโดยผิดกฏหมายเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 15-20 และมีอัตราของผู้ใหญ่ที่มีอาการเสพติดกัญชาครั้งแรกจนต้องนำส่งรับการรักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ทั้งนี้ผลการศึกษามีลักษณะแนวโน้มตรงกันแทบทั้งสิ้น

นอกจากนี้ข้อสังเกตที่สำคัญคือ ต่างประเทศที่ใช้กัญชาเยอะๆ มักมีปัญหาเรื่องยาเสพติดอื่นๆ รุนแรงเช่น แอลกอฮอล์ ฝิ่น เฮโรอีน หรือยาแก้ปวดประเภทอนุพันธุ์ของฝิ่นอย่างมอร์ฟีน เป็นต้น โดยเคยมีการพยายามนำเสนอว่า ประกาศปลดล็อคกัญชาแล้ว จะทำให้ประชาชนเสพติดยาเสพติดอื่นๆ ลดลง แต่สุดท้ายแล้วมีการศึกษาอย่างถี่ถ้วน พบว่า การเข้าถึงกัญชา มิได้ทำให้เสพยาเสพติดอื่นๆ ลดลง แต่จะเป็นประตูนำไปสู่การเสพยาเสพติดชนิดอื่นๆ ได้ โดยมีโอกาสถึงร้อยละ 44.7 ที่คนเสพกัญชาจะเสพติดยาเสพติดชนิดอื่นๆ ร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาใดของชีวิต (2)

บทเรียนของอเมริกา...ประเทศไทยควรรับรู้ไว้ และเตรียมรับมือครับ

อ้างอิง:

1. Hasin DS. US Epidemiology of Cannabis Use and Associated Problems. Neuropsychopharmacology Reviews. 2018;43:195-212.

2. Secades-Villa R et al. Probability and predictors of the cannabis gateway effect: A national study. Int J Drug Policy. 2015 February;26(2):135-142.

ที่มา : Thira Woratanarat       

https://www.isranews.org/isranews-article/71044-kancha.html


****************************
 
 

นพ.ธีระ วรธนารัตน์ : จะต้อนหรือจะรับสังคมอุดมกัญชา?

European Journal of Public Health ซึ่งเป็นวารสารวิชาการระดับสากล ฉบับล่าสุดเพิ่งตีพิมพ์บทความวิชาการเกี่ยวกับกัญชาหลายเรื่องจากประเทศต่างๆ สดๆ ร้อนๆ ครับ

มาดูกันไหมว่าเค้ามีเนื้อหาอะไรกันบ้าง?

เมืองไทย นักการเมืองและนักกฎหมายบางคนโฆษณากันหลายครั้งว่า ถ้าปลดล็อคกัญชาเสรี ยาเสพติดอื่นๆ และการค้าขายในผิดกฎหมายจะลดลง...

จริงหรือไม่?

บทความในวารสารนี้ได้นำเสนอว่า จากการติดตามของประเทศในยุโรปบอกได้เพียงว่า ข้อมูลที่มีนั้นชี้ให้เห็นว่าการปลดล็อคกัญชา ไม่ได้ช่วยลดอาชญากรรม และการค้าขายในตลาดมืดเลย (1)

ทีนี้เราก็อาจยังจำได้ว่า มีการเล่นลิ้นในหมู่คนเรียกร้องโหยหากัญชาว่า การมีกฎหมายและนโยบายแข็งกร้าวต่อคนเล่นยานั้นไม่ได้ช่วยลดยาเสพติดได้ดีนัก ดังนั้นน่าจะเปิดเสรี เอาใต้ดินมาบนดิน จะได้คุมง่ายๆ จะดีกว่าไหม?

ข้อมูลที่มีในปัจจุบัน เตือนกันอย่างหนักว่า การเปิดเสรีนั้นหมายถึงใช้กันอย่างอิสระ และนำมาสู่การค้าขายเชิงพาณิชย์ จัดเป็นหนทางที่อันตรายยิ่ง ดังจะเห็นได้จากบทความวิชาการที่เผยแพร่ดังนี้

"...While the ‘war against drugs’, and a hard policy against drug users, has not shown to reduce the harmful effects of cannabis use, legalization in the meaning of opening up for commercial interest must be considered a dangerous way to go..." (2)

นอกจากนี้ในบทบรรณาธิการของวารสารฉบับนี้ยังอ้างอิงถึงงานวิจัยของ DiFiori และคณะ ที่ตีพิมพ์ในวารสารระดับโลกอย่าง Lancet Psychiatry ปี ค.ศ.2019 นี้เอง ว่าเป็นงานวิจัยชิ้นแรกที่ชี้ให้เห็นชัดเจนว่า ในพื้นที่ต่างๆ ของยุโรป ที่มีกัญชาที่เข้าถึงได้ง่าย จะพบประชาชนในพื้นที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางจิตเวชเพิ่มขึ้นอย่างมาก (3)

สนับสนุนสัจธรรมที่ว่า สิ่งที่ไม่ดีนั้น หากมีการเข้าถึงได้ง่าย รวมถึงการที่เอื้อให้เกิดการตลาดค้าขายกัญชานั้น ย่อมทำให้เกิดการใช้ที่เพิ่มขึ้น และเกิดผลกระทบทางลบตามมาอย่างต่อเนื่อง เช่น เหล้า บุหรี่ การพนัน ฯลฯ

คราวนี้ ถ้าไม่พูดถึงประสบการณ์ของประเทศอื่นในการประกาศนโยบายกัญชาทางการแพทย์ก็คงจะตกหล่นไป

ประเทศไทยโฆษณาเหลือเกินว่ามีสรรพคุณหลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเอามาแก้ปวดเรื้อรัง

ประเทศมอลต้าก็เช่นกัน เค้าเริ่มปลดล็อคกัญชาทางการแพทย์ ปี 2018 และกำลังถูกเรียกร้องให้เสรีกัญชาขณะนี้

สิ่งที่เค้าพบเจอหลังประกาศปลดล็อคทางการแพทย์ไปคือ กัญชาทางการแพทย์ราคาสูง และเข้าถึงได้ยากกว่าการซื้อหาในตลาดมืดของกระบวนการค้าขายยาเสพติดผิดกฎหมายตามท้องถนน หรือพูดง่ายๆ คือ ตลาดมืดดี๊ด๊า เงินสะพัดจากการค้าขายกัญชา

หลังปลดล็อคกัญชา พบว่าไม่มีหลักฐานใดเลยที่พิสูจน์ได้ว่าการใช้กัญชาทางการแพทย์แล้วจะช่วยให้ลดอาการปวดได้ดังที่ตั้งเป้าไว้จากการปลดล็อคกัญชาทางการแพทย์ (4)

ในประเทศเบลเยี่ยมล่ะ เป็นไงบ้าง?

นักวิชาการในประเทศเค้าค่อนข้างโน้มเอียงคิดไปในทางที่สนับสนุนให้ลองปลดล็อคเสรีดู เผื่อจะมีสถานการณ์ดีขึ้น

ปัจจุบันเบลเยียมให้ใช้กัญชาทางการแพทย์ได้ โดยระบุว่ามีข้อบ่งชี้เพียงโรคเดียว ทั้งนี้นโยบายระดับชาติยังมองว่ากัญชาเป็นสิ่งผิดกฎหมาย

สถานการณ์ของเค้าหลังปลดล็อคทางการแพทย์ พบว่า มีการลักลอบขายกัญชาและผลิตภัณฑ์กัญชามากมาย โดยมีจำนวนมากที่มีสาร THC ซึ่งทำให้ประสาทหลอน เจือปนอยู่ในสัดส่วนที่สูง โดยพบว่าสามารถเข้าถึงได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเปราะบางอย่างเยาวชน และมักตรวจจับหรือค้นเจอในพวกปาร์ตี้ และปะปนไปกับการใช้ยาเสพติดชนิดอื่นๆ

นอกจากนี้เบลเยี่ยมเองก็ยอมรับว่า จำนวนคนที่เสพกัญชาแล้วขับยานพาหนะนั้นมีมากขึ้นเรื่อยๆ ควบคู่ไปกับการต้องมานอนรักษาตัวในโรงพยาบาลจากผลกระทบจากกัญชา รวมถึงจำนวนคนที่เสพติดกัญชาและต้องหาทางรักษาอาการเสพติด (5)

อ่านกันมาถึงตอนนี้ หวนมาคิดถึงเมืองไทย

กัญชานั้น มีสารเคมีบางชนิดที่น่าจะมีสรรพคุณในการรักษาโรคบางอย่าง

จะพิสูจน์ จะวิจัย เพื่อมาทำเป็นยารักษาโรค ก็อยากสนับสนุนให้ทำกันครับ แต่ต้องทำตามขั้นตอน ตามมาตรฐานสากล ตามมาตรฐานวิชาชีพทางการแพทย์

ต้องใช้เวลา ต้องไม่ใจร้อน ไม่บุ่มบ่าม

และ เป็นคนละเรื่องกับการนำ"กัญชา"มาใช้ทางการแพทย์โดยไม่ได้รับการพิสูจน์ตามมาตรฐานแล้วอ้างว่าเป็นประสบการณ์ตรงจากคนที่ลองใช้ การอ้างแบบที่ว่านั้นไม่ใช่มาตรฐานที่ยอมรับได้ทางการแพทย์

สารเคมีที่สกัดจากกัญชา ไม่ใช่ตัวกัญชาที่ปลูกขึ้นมาแล้วจะนำมาใช้ได้เลย ไม่ใช่ใครคิดจะนำมาบดมาผลิตเป็นน้ำมันขวดขายกันเกลื่อนอย่างที่เห็นในปัจจุบัน

ไม่มีสารใด ยาใด ที่จะมีสรรพคุณรักษาสารพัดโรคได้ ใครอ้างเช่นนั้น ไม่วิกลจริตก็หลอกลวง

เจ็บป่วยไม่สบาย โปรดปรึกษากับแพทย์ที่ดูแลตัวท่าน ใคร่ครวญไตร่ตรองข้อมูลให้ดีครับ

ด้วยรักและปรารถนาดีต่อทุกคนครับ

ผู้เขียน : ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อ้างอิง

1. Apfel F. Alice Rap Policy Brief 5—Cannabis—From Prohibition to Regulation.

2. Allebeck P. Cannabis: harmless recreation or dangerous drug? European Journal of Public Health, Vol. 29, No. 3, 387.

3. Di Forti M, Quattrone D, Tom P, et al. The contribution of cannabis use to variation in the incidence of psychotic disorder across Europe (EU-GEI): a multicentre case-control study. Lancet Psychiatry 2019;6:427–36.

4. Mamo JJ et al. Cannabis in Malta—big business or laxing restrictions? European Journal of Public Health, Vol. 29, No. 3, 390–391.

5. Lues X et al. A new wave of marijuana legalization: country case study from Belgium. European Journal of Public Health, Vol. 29, No. 3, 388.



********************************

สรุปสาระงานวิจัยกัญชาในต้นปี 2020

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | 14 ม.ค. 2563 |
https://www.tcijthai.com/news/2020/1/article/9764

ตอนนี้มีงานวิจัยที่ได้รับการเผยแพร่ทางออนไลน์ล่วงหน้าก่อนตีพิมพ์ในวารสารในฐานข้อมูลวิชาการระดับสากลอย่าง SCOPUS จำนวนถึง 172 เรื่อง

ส่วนใหญ่มักเป็นงานวิจัยในระดับห้องแล็บ และในสัตว์ แต่สำหรับที่เกี่ยวข้องในคน ขอเลือกงานที่น่าสนใจมาสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

1. งานวิจัยในเด็ก ม.6 (Grade 12) จำนวนกว่า 35,000 คนในอเมริกา พบว่า เด็กที่ไม่เสพกัญชาจะมีคะแนนหรือผลการเรียนดีกว่าอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนเด็กที่เสพกัญชา ยิ่งเริ่มเสพตอนอายุน้อย พบว่ามีผลการเรียนแย่ ขาดแรงบันดาลใจในการเรียน ขาดการวางเป้าหมายในชีวิต และโดดเรียนมากกว่ากลุ่มที่ไม่เสพอย่างชัดเจน

สั้นๆ : การเสพกัญชาส่งผลต่อการเรียนและพฤติกรรมของเด็ก

2. งานวิจัยในรัฐ Utah สหรัฐอเมริกา พบว่าผู้ป่วยจิตเวชที่เป็นโรคไบโพลาร์ครั้งแรกนั้นได้รับการตรวจปัสสาวะหาสารเสพติด เจอสารสกัดกัญชา (Cannabinoids) ถึงร้อยละ 47 ซึ่งพบว่ามีอัตราสูงกว่าประชากรทั่วไปอย่างมาก ชี้ให้เห็นความจำเป็นที่จะต้องศึกษาเจาะลึกดูต่อไปว่า การเสพกัญชานั้นเป็นสาเหตุของโรคดังกล่าวจริงหรือไม่ มากน้อยเพียงใด

สั้นๆ : เป็นโรคไบโพลาร์แล้วหันมาใช้กัญชาซะมาก หรือใช้กัญชาแล้วทำให้เป็นโรคไบโพลาร์...ไม่ว่าจะแบบไหน ก็ไม่น่าจะพึงปรารถนา

3. งานวิจัยสถานการณ์ค้าขายจากนโยบายกัญชาเสรี โดยประเมินลักษณะร้านขายผลิตภัณฑ์กัญชาในแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา จำนวน 163 ร้าน ซึ่งมีโรงเรียนอยู่ในพื้นที่ใกล้ร้านขายกัญชาถึง 333 แห่ง พบว่า มีเพียงร้อยละ 40 ที่มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ร้อยละ 84 ไม่มีป้ายจำกัดอายุ ร้อยละ 28 ละเมิดกฎหมายห้ามแจกตัวอย่างผลิตภัณฑ์ และที่น่ากังวลคือ ร้อยละ 74 มีการออกแบบผลิตภัณฑ์ หรือโฆษณาที่มีแนวโน้มสะดุดตาแก่เด็กและเยาวชน

สั้นๆ : การติดตามกำกับในเรื่องการจำกัดอายุ การรักษาความปลอดภัย และการตลาดที่จะใช้หลอกล่อเด็กและเยาวชน คือเรื่องสำคัญในยุคสังคมกัญชา

4. งานวิจัยความสัมพันธ์ของเว็บใต้ดินกับการเสพกัญชาของประชากรอเมริกา วิจัยพฤติกรรมของประชากรโดยใช้ Big data ตั้งแต่ 2011-2015 พบว่า การเข้าถึงเว็บใต้ดินดัง ๆ 8 เว็บไซต์มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับพฤติกรรมของประชากร ทั้งในเรื่องอัตราการเสพกัญชาในแต่ละรัฐ และความถี่ในการเสพกัญชา สิ่งที่น่าสนใจคือ เว็บใต้ดินนั้นดูจะมีความสัมพันธ์กับประชากรวัยทำงานตั้งแต่อายุ 26 ปีขึ้นไป

สั้นๆ : จะทำให้มันถูกกฎหมายหรือผิดกฎหมาย ใต้ดินก็ยังครองใจคนในเรื่องแบบนี้ ท้าทายยิ่งนักว่าจะควบคุมอย่างไร

5. งานวิจัยลบคำโกหกว่ากัญชาไม่เกี่ยวกับพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ศึกษาในเยาวชนและวัยทำงานในอเมริกา พบว่า ผู้ที่กระทำผิดที่เกี่ยวข้องกับการก่อความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ นั้นจะมีโอกาสที่จะให้ประวัติเสพกัญชาในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมามากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ก่อความรุนแรงถึง 2.8 เท่า (ช่วงความเชื่อมั่น 95% คือ 1.3 เท่า -6.1 เท่า)

สั้น ๆ : การเสพยาเสพติดอย่างกัญชามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมรุนแรงก้าวร้าว

สุขสันต์วันคริสตมาสล่วงหน้าครับ


อ้างอิง

1. Williams GC et al. An examination of how age of onset for alcohol, cannabis, and tobacco are associated with school outcomes in grade 12. Addictive Behaviors. Volume 102, March 2020, Article number 106215.

2. Etyemez S et al. Cannabis use: A co-existing condition in first-episode bipolar mania patients. Journal of Affective Disorders. Volume 263, 15 February 2020, Pages 289-291.

3. Cao Y et al. Point-of-Sale Marketing in Recreational Marijuana Dispensaries Around California Schools. Journal of Adolescent Health. Volume 66, Issue 1, January 2020, Pages 72-78.

4. Jardine E et al. The Dark Web and cannabis use in the United States: Evidence from a big data research design. International Journal of Drug Policy. Volume 76, February 2020, Article number 102627.

5. Carter PM et al. Daily patterns of substance use and violence among a high-risk urban emerging adult sample: Results from the Flint Youth Injury Study. Addictive Behaviors. Volume 101, February 2020, 106127



*****************************
 
ถูกใจเพจแล้ว · 2 ชม.
 
กัญชาส่งผลต่อสุขภาพจิต เพราะมีหลักฐานเชิงประจักษ์ทางการแพทย์ชัดเจนว่า การใช้กัญชาเพื่อความรื่นเริง รวมถึงการใช้สารสกัดกัญชาที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม จะส่งผลกระทบต่อสมองของผู้ใช้โดยตรง โดยในระยะยาวจะทำให้เสี่ยงต่ออาการทางจิตเวชมากขึ้น เช่น อารมณ์ซึมเศร้า หูแว่ว เห็นภาพหลอน หวาดระแวง ฯลฯ
นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

สารทีเอชซีที่มีผลต่อสมอง ทำให้สารสื่อประสาทในสมองมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้สารที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ความคิดมีปัญหาได้ สุดท้ายทำให้เกิดภาวะวิตกกังวล ซึมเศร้า ติดฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นได้ บุคลิกภาพเปลี่ยนไป กลายเป็นคนเฉื่อยชา ไม่มีแรงจูงใจ และระยะยาวจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคจิตได้ โดยเฉพาะโรคจิตเภท ซึ่งจะเสี่ยงมากกว่าคนที่ไม่ได้ใช้กัญชา 1.4 - 2 เท่า ขณะที่ผู้ป่วยที่มีโรคจิตเวชอยู่เดิม หากไปใช้ยากัญชา โรคจิตเวชที่เป็นอยู่อาจจะกำเริบขึ้นได้
พ.อ.(พิเศษ) นพ.พิชัย แสงชาญชัย จิตแพทย์กองจิตเวชและประสาทวิทยา รพ.พระมงกุฎเกล้า ผู้เชี่ยวชาญด้านสารเสพติด สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.gpo.or.th/LinkClick.aspx?fileticket=QGrxOOInpC0%3D&tabid=414&mid=1297

*****************************


 
ชี้แจงการครอบครองกัญชา หลัง 21 พค. 62

1. ผู้ป่วยมีใบครอบครอง สามารถมีกัญชาใช้ในการรักษาโรคเพียง 3 เดือน นับจาก 21 พ.ค. 62 (ถึงวันที่ 19 ส.ค.62)

2. จำนวนที่ครอบครอง : ต้องตรงตามใบครอบครอง ส่วนที่เกินมีความผิดตามกฎหมาย

3. ผู้ที่ไม่ได้แจ้งครอบครอง : หากพบมีกัญชาในครอบครอง ถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย

4. เกษตรกรรายย่อยไม่สามารถปลูกกัญชาเองได้ แต่ต้องเป็นเกษตรกรที่รวมตัวเป็นวิสาหกิจชุมชน หรือวิสาหกิจเพื่อสังคม หรือเกษตรกรการเกษตร ซึ่งจดทะเบียนตามกฎหมาย และร่วมดำเนินการกับหน่วยงานของรัฐ

5. กรณีผู้แจ้งเจตนาขยายพันธ์หรือนำเมล็ดไปปลูก : หน่วยงาน ปปส.และตำรวจ จะติดตามการครอบครองที่มาสุจริตและดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

Smart Consumer
https://www.facebook.com/smartconsumer4.0/photos/a.332188787193559/653556328390135/?type=3&theater




*****************************


กัญชายาครอบจักรวาล ไม่จริง ? กัญชาเพื่อความเพลิดเพลิน อันตรายรึเปล่า ? และ บทเรียนจากอเมริกา
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-03-2019&group=28&gblog=15
 
กัญชาทางการแพทย์ ... ข้อมูลวิชาการ    ( คัดลอกมาฝาก ไม่ได้เขียนเอง )
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=21-04-2019&group=28&gblog=17


การใช้สารสกัดกัญชาทางการแพทย์ (คำแนะนำสำหรับแพทย์) 10 ต.ค.2562
https://www.facebook.com/pg/thaimedcouncil/photos/?tab=album&album_id=2367600230171535




 

Create Date : 26 มีนาคม 2562   
Last Update : 17 ธันวาคม 2563 20:26:08 น.   
Counter : 10290 Pageviews.  

เตือน "ยาทรามาดอล" อันตรายถึงชีวิต



เตือน "ยาทรามาดอล" อันตรายถึงชีวิต

สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) กรมการแพทย์ เตือนภัยยาทรามาดอล อันตรายนำไปสู่การเสียชีวิต พร้อมแนะผู้เสพที่ไม่สามารถหยุดใช้ยาได้ควรเข้ารับการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ 

ทรามาดอล อันตราย!

นายแพทย์ภาสกร ชัยวานิชศิริ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ทรามาดอล (Tramadol) เป็นยาแก้ปวดในกลุ่มโอพิออยด์ ออกฤทธิ์เหมือนมอร์ฟีน มีทั้งแบบยาเม็ดและยาแคปซูล ในทางการแพทย์ใช้รักษาอาการปวดระดับปานกลางถึงระดับรุนแรง ผลข้างเคียงที่พบจากการใช้ ยาทรามาดอล เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก มือสั่น ใจสั่น ความดันโลหิตต่ำ มึนงง ง่วงซึมหากใช้ในปริมาณมากอาจเกิดประสาทหลอน ชักและนำไปสู่การเสียชีวิต นอกจากนี้ยังพบอาการกล้ามเนื้อเกร็งกระตุกร่วมกับความดันโลหิตสูง ภาวะลิ่มเลือดกระจายในหลอดเลือด ไตวายเฉียบพลัน หากใช้ยาหลายตัวร่วมกันโดยเฉพาะยาอี ยาบ้า จะส่งเสริมทำให้เกิดอาการข้างเคียงจากยาทรามาดอลเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ ทรามาดอล จัดเป็นยาอันตราย การใช้ยาต้องควบคุมโดยแพทย์และห้ามขายให้ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ในทุกกรณี แต่พบว่ามีการลักลอบขายให้กลุ่มวัยรุ่นเพื่อนำไปใช้ในทางที่ผิด ทั้งการใช้เสพแบบยาเดี่ยวและผสมกับเครื่องดื่มชนิดต่างๆ เช่น น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ จะทำให้เกิดอาการเคลิ้มสุขและหากใช้อย่างต่อเนื่องทำให้มีความต้องการปริมาณยาที่เพิ่มมากขึ้น จนเกิดอาการติดยาในที่สุด

ทรามาดอล กับการเสพติด

นายแพทย์สรายุทธ์ บุญชัยพานิชวัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันบำบัดรักษา และฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กล่าวเพิ่มเติมว่า ยาทรามาดอล ทำให้เกิดการเสพติดได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ เช่นเดียวกับฝิ่น เฮโรอีน หากได้รับเป็นเวลานานและหยุดยาทันทีจะเกิดอาการถอนยาได้ ในกรณีที่ไม่สามารถหยุดใช้ยาได้เองควรเข้ารับการบำบัดรักษา ซึ่งแพทย์จะบำบัดอาการถอนยาและรักษาภาวะแทรกซ้อนทางกายและทางจิตควบคู่กันไป เมื่อผู้ป่วยอาการดีขึ้นจะส่งต่อเข้าสู่ขั้นตอนฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยเน้นการแก้ไขพฤติกรรมและเจตคติของผู้ป่วยเพื่อฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจให้สามารถเลิกใช้ได้อย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ขอย้ำเตือนกลุ่มวัยรุ่นที่นำ ยาทรามาดอล มาใช้ในทางที่ผิดให้ตระหนักถึงผลกระทบต่อตนเองและครอบครัวให้มาก ผู้ปกครองควรหมั่นสังเกตพฤติกรรมของบุตรหลาน หากพบมีพฤติกรรมเสี่ยงควรพูดคุยและบอกกล่าวถึงอันตรายและผลกระทบที่จะตามมา ทั้งนี้สามารถขอรับคำปรึกษาได้ที่ สายด่วนยาเสพติด 1165 หรือที่สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กรมการแพทย์ จังหวัดปทุมธานี และโรงพยาบาลธัญญารักษ์ในส่วนภูมิภาคทั้ง 6 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลธัญญารักษ์เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ขอนแก่น อุดรธานี สงขลา และปัตตานี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.pmindat.go.th

ขอขอบคุณ

ข้อมูล :สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) กรมการแพทย์

ภาพ :iStock

https://www.sanook.com/health/14229/?fbclid=IwAR2vfFoteqTlQAJitLkBGU17hc8EQUyAYt_A2e1qs_4JuYJT4J47P9mMHVc





 

Create Date : 11 มกราคม 2562   
Last Update : 11 มกราคม 2562 6:59:25 น.   
Counter : 765 Pageviews.  

ยาปฏิชีวนะ ยาฆ่าเชื้อ ไม่ใช่ ยาแก้อักเสบ ... นำมาฝาก




ย้ำอีกครั้ง!ยาแก้อักเสบ ไม่ใช่ยาฆ่าเชื้อ

https://med.mahidol.ac.th/th/infographics/18



ยาปฏิชีวนะ  ไม่ใช่  ยาแก้อักเสบ
https://www.hsri.or.th/people/media/infographic/detail/5914

ยาปฏิชีวนะ (Antibiotic) เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัส และไม่มีฤทธิ์ลดการอักเสบ แก้ปวด ลดไข้ ใช้รักษาเฉพาะโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น เช่น ทอนซิลอักเสบเป็นหนอง

ยาแก้อักเสบ หรือ ยาต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory drugs) เป็นยาที่ออกฤทธิ์ลดการอักเสบ ลดไข้ บรรเทาปวด ลดบวมแดง เช่น แอสไพริน  ไอบูโพรเฟน  ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย

ลักษณะการอักเสบ
- การอักเสบมี 2 แบบ คือ 1.อักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย  2.อักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
- การอักเสบส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แต่การอักเสบเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น โรคภูมิแพ้  คออักเสบจากเชื้อไวรัส  ผิวหนังอักเสบจากการแพ้แดดหรือสารเคมี กล้ามเนื้ออักเสบจากการยกของหนัก

อันตรายจากการใช้ยาปฏิชีวนะพร่ำเพรื่อ
แพ้ยา : หากแพ้ไม่มากอาจมีแค่ผื่นคัน ถ้ารุนแรงขึ้นผิวหนังจะเป็นรอยไหม้ หลุดลอก หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิต
เกิดเชื้อดื้อยา : การกินยาปฏิชีวนะพร่ำเพรื่อกระตุ้นให้เชื้อแบคทีเรียกลายพันธุ์เป็นเชื้อดื้อยา ต้องเปลี่ยนไปใช้ยาปฏิชีวนะที่ใหม่ขึ้น แพงขึ้น ซึ่งเหลือให้ใช้อยู่ไม่กี่ชนิด สุดท้ายก็จะไม่มียารักษา และเสียชีวิตในที่สุด
เกิดโรคแทรกซ้อน : ยาปฏิชีวนะจะฆ่าทั้งแบคทีเรียก่อโรคและแบคทีเรียชนิดดีมีประโยชน์ในลำไส้ของเรา เมื่อแบคทีเรียชนิดดีตายไป เชื้ออื่นๆ ในตัวเราจึงฉวยโอกาสเติบโตมากขึ้น ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ลำไส้อักเสบอย่างรุนแรง โดยผนังลำไส้ที่ถูกทำลายหลุดลอกมากับอุจจาระ อันตรายถึงชีวิต

ข้อมูลจาก..โครงการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในร้านยา ปี พ.ศ. 2555
https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/4203?locale-attribute=th





“ยาปฏิชีวนะ”
หลายคน รู้จัก  แต่ไม่ รู้จริง
https://www.hsri.or.th/people/media/infographic/detail/5912

ยาปฏิชีวนะที่ใช้กันบ่อย : อะม็อกซีซิลลิน  เพนนิซิลลิน  
เตตราซัยคลิน  นอร์ฟล็อกซาซิน

รู้แล้วบอกต่อ
- ยาปฏิชีวนะ ไม่ใช่ ยาแก้อักเสบ
- ยาปฏิชีวนะ เป็น ยาอันตราย
- 3 โรคหายได้ ไม่ต้องใช้ ยาปฏิชีวนะ

3 โรค หายได้ ไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ
1. หวัด-เจ็บคอ : กว่าร้อยละ 80 เกิดจากไวรัส มีอาการ เช่น น้ำมูกไหล ไอ จาม เสียงแหบ เจ็บคอ คันคอ มีไข้ เป็นนาน 7-10 วัน โดยวันที่ 3-4 จะมีอาการมากที่สุด แล้วจะค่อยๆ ดีขึ้นเอง รักษาโดยการดื่มน้ำอุ่น กลั้วคอด้วยน้ำเกลือ พักผ่อนให้มาก ไม่ต้องกินยาปฏิชีวนะ

2. ท้องเสีย : กว่าร้อยละ 99 เกิดจากไวรัส หรืออาหารเป็นพิษ มีอาการถ่ายเหลวหรือถ่ายเป็นน้ำ อาจมีคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย รักษาโดยดื่มน้ำเกลือแร่ ไม่ต้องกินยาปฏิชีวนะ
3. แผลเลือดออก : เช่น มีดบาด แผลถลอก แผลเล็กน้อยจากอุบัติเหตุ ซึ่งผู้ป่วยที่มีสุขภาพโดยรวมแข็งแรงดี รักษาโดยล้างทำความสะอาดอย่างถูกต้อง ไม่ต้องกินยาปฏิชีวนะ

ข้อมูลจาก..โครงการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในร้านยา ปี พ.ศ. 2555
https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/4203?locale-attribute=th

รุนแรง โดยผนังลำไส้ที่ถูกทำลายหลุดลอกมากับอุจจาระ อันตรายถึงชีวิต

............................

แถม ...
  ยาฆ่าเชื้อ กับ ยาแก้อักเสบ เหมือนกันหรือไม่?

https://knowdocth.blogspot.com/p/blog-page.html



สวัสดีครับ คิดว่ายังคงมีคนในบ้านเราอีกจำนวนมากที่เดียวที่สับสนระหว่างคำว่า ยาฆ่าเชื้อ (ยาปฏิชีวนะ) และ ยาแก้อักเสบ ผมไม่ทราบว่าต้นกำเนิดของความเข้าใจผิดนี้มันมาจากไหน แต่ที่แน่ๆมันยังคงสร้างปัญหาและความหนักใจให้แก่บุคคลากรทางการแพทย์พอสมควรในประเด็นของการสื่อสารไม่เข้าใจกันระหว่างผู้ป่วย-บุคคลากรทางการแพทย์ บุคคลากรทางการแพทย์-ญาติผู้ป่วย และผู้ป่วยกับญาติผู้ป่วยด้วยกันเอง มีหน่วยงานหลายหน่วยงาน คลินิคหลายแห่ง และโรงพยาบาลจำนวนไม่น้อยที่พยายามสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่ผู้มารับบริการ แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าไหร่

จึงอยากแบ่งปันความเข้าใจที่ถูกต้องกันครับ โดยที่จะอ้างอิงจากรูปภาพประกอบข้างบนนี้นะครับ
1. ยาฆ่าเชื้อ หรือ ยาปฏิชีวนะ ภาษาอังกฤษคือ antibiotics หลักๆคือมันเอาไว้รักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อครับ และเป็นการติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น เช่น ทอนซิลอักเสบจนเป็นหนอง ติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ กรวยไตอักเสบ เป็นต้น โดยทียาฆ่าเชื้อนี้ ไม่ได้มีฤทธิ์ต้านการอักเสบเลยแม้แต่นิดเดียวนะครับ

2. ยาแก้อักเสบ ภาษาอังกฤษคือ anti-inflammatory drug (รากศัพท์ inflammation = การอักเสบ)ยากลุ่มนี้จะแบ่งออกเป็นกลุ่มสเตียรอยด์และไม่ใช่สเตียรอยด์ โดยทั่วไปจะเป็นกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เรารู้จักกันย่อๆว่า เอ็นเสดส์ (NSAIDs: non-steroid anti-inflammatory drugs) ตัวอย่างยาพวกนี้ได้แก่ 
Ibuprofen (ชื่อการค้า Brufen , Profen)
Diclofenac (ชื่อการค้า Voltaren) 
Mefenamic acid (ชื่อการค้า Ponstan) ที่สาวๆมักคุ้นเคยกันดีเวลาปวดประจำเดือน
หรือดั้งเดิมที่สุดที่อยู่กับสังคมไทยคือ ทัมจัยแอสไพริน (aspirin)

ยาแก้อักเสบเหล่านี้ออกฤทธิ์แก้การอักเสบของเนื้อเยื่อ ทำให้บรรเทาอาการปวด ที่ใช้กันบ่อยๆคือรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ มีผลข้างเคียงสำคัญคือมันกัดกระเพาะครับ ใครที่เป็นโรคกระเพาะหรือทานอาหารไม่ตรงเวลาจะเกิดปัญหาได้ ยากลุ่มนี้ฆ่าเชื้อไม่ได้ และยากลุ่ม NSAIDs นี้เอง คนไทยแพ้ยากลุ่มนี้ตัวใดตัวหนึ่งค่อนข้างเยอะเสียด้วย รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตก็มีครับ 

จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อมีการสื่อสารแล้วเข้าใจกันผิด?

1. ผลระหว่างผู้ป่วยและแพทย์ เมื่อผู้ป่วยบอกคุณหมอว่าแพ้ยา คุณหมอจะถามทันทีว่าแพ้ยาอะไร ซึ่งถ้าผู้ป่วยนำบัตรแพ้ยามาด้วยจะช่วยให้คุณหมอเบาใจเยอะครับ เพราะชื่อยาที่แพ้นั่นแหละช่วยคุณหมอได้ดีที่สุดแล้ว แต่บ่อยครั้งทีเดียวที่ผู้ป่วยเองไม่ทราบ และบอกไปกว้างๆว่า "แพ้ยาแก้อักเสบ".... ตรงนี้เกิดความสับสนแล้วเห็นไหมครับ? คุณหมอต้องมาทำความเข้าใจกับผู้ป่วยว่าตกลงไอ้ที่บอกว่าแพ้ยาแก้อักเสบ มันคือแพ้ยาฆ่าเชื้อหรือแก้อักเสบกันแน่ ถ้าคุณหมอรักษาผู้ป่วยจำนวนมาก อาจจะไม่ได้ถามละเอียดแล้วผลเสียจะตกอยู่ที่ผู้ป่วยเองครับ

2. เกิดทัศนคติและความเข้าใจผิดๆว่า ยาฆ่าเชื้อและยาแก้อักเสบมันคืออันเดียวกัน ซึ่งปัญหานี้เกิดมานานแล้ว และยังคงมีความเข้าใจผิดกันอยู่อีกหลายท้องถิ่น สุดท้ายแล้วผู้ป่วยบางรายที่ไม่อยากมาพบคุณหมอที่โรงพยาบาลก็จะใช้ยารักษาเองแบบผิดๆ เพราะสลับกันระหว่างยาฆ่าเชื้อและยาแก้อักเสบ

3. เจ้าหน้าที่เภสัชกรต้องทำงานเหนื่อยมากขึ้น เมื่อคุณหมอสั่งยาแล้วผู้ป่วยจะต้องมารอเภสัชกรจ่ายยาให้ แต่ในสถานบริการหลายแห่งที่มีปริมาณผู้ป่วยมาก ก็ต้องหาผู้ช่วยเภสัชกรมาช่วยจัดยาและอธิบายผู้ป่วยว่ายาใช้ยังไง หลายครั้งที่ผู้ป่วยยังเข้าใจผิดระหว่างยาฆ่าเชื้อและยาแก้อักเสบก็ไปโต้แย้งกับเภสัชกร ถ้าปริมาณผู้ป่วยไม่เยอะ เภสัชกรอาจจะมีเวลาอธิบายแก้ความเข้าใจผิดให้ แต่ถ้าปริมาณคนไข้เยอะเภสัชกรอาจจะจำเป็นต้อง เออ ออตามผู้ป่วยไปว่า "เอาล่ะๆ แก้อักเสบก็แก้อักเสบจ้ะป้า" ทั้งๆที่มันคือยาฆ่าเชื้อ แล้วสุดท้ายก็ เออ เออ กันต่อไปว่ามันคือยาตัวเดียวกัน สุดท้ายก็เข้าใจผิดกันรุ่นต่อรุ่นไปเรื่อยๆ


สิ่งที่อยากให้นำกลับไปด้วย
(Take home messages)

1. ยาฆ่าเชื้อและยาแก้อักเสบคนละตัวกัน
2. อ่านบทความนี้ซ้ำอีกรอบนึง เพื่อทำความเข้าใจอีกครั้งนึง
3. หลังจากวันนี้เวลาไปโรงพยาบาลหรือคลินิค ก็ตามช่วยกันแก้ไขสิ่งที่ผิดกันมานานนะครับ
4. ไม่แน่ใจ ปรึกษาแพทย์ดีที่สุด


..............................






เรียกให้ถูก “ยาปฏิชีวนะ” ไม่ใช่ “ยาแก้อักเสบ”

ยาปฏิชีวนะ คือ ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ไม่มีฤทธิ์แก้ปวด หรือลดการอักเสบ ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัส เช่น ยาเพนนิซิลลิน อะม็อกซีซิลลิน
ยาแก้อักเสบ คือ ยาลดการอักเสบ แก้ปวด ลดไข้ ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัส เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน

ส่วนใหญ่การอักเสบไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย มักเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น คออักเสบจากเชื้อไวรัส ผิวหนังอักเสบจากการแพ้แดดหรือสารเคมี หรือการอักเสบของกล้ามเนื้อจากการยกของหนัก

เรียกชื่อยาผิด ก็ใช้ยารักษาโรคผิดไปด้วย ทำให้เปลืองทั้งเงินและรักษาโรคไม่หาย แถมเพิ่มโรคแทรกซ้อนเป็นอันตรายต่อสุขภาพอีกด้วย
#องค์การเภสัชกรรม #GPO





 

Create Date : 12 มิถุนายน 2560   
Last Update : 22 มกราคม 2562 16:02:28 น.   
Counter : 14252 Pageviews.  

1  2  3  4  

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]