Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ยาล้างไต มีจริง ??? ล้างไต ได้จริงหรือ ??? กินยาแล้วปัสสาวะสีเขียว ???


มียาหลายตัวเลยที่ทำให้สีปัสสาวะเปลี่ยนไป .. บางครั้ง ร้านขายยา บางแห่ง ก็เอาไปเรียกว่า ยาล้างไต เพราะเมื่อกินไปแล้วทำให้สีปัสสาวะเปลี่ยน คนซื้อไป ก็เข้าไปว่า ปัสสาวะมีสีเปลี่ยนไป เพราะ ยาเข้าไปล้างไต ซึ่งเป็นคนละเรื่องกันเลย ..

ยาเหล่านั้น นอกจากไม่ได้ช่วย "ล้างไต " ตามที่เข้าใจแล้ว ยังไปทำให้ไต ทำงานหนักขึั้นกว่าเดิมอีก เพราะต้อง ขับยา (สารเคมี ) ออกมาทางปัสสาวะ ..

ยาล้างไต จึงไม่มีอยู่จริง ... เป็นเพียงแค่ การหลอกลวง โดยอาศัยความไม่รู้ของประชาชน เท่านั้นเอง ...

ว่าง ๆ ก็ลองไปอ่านดูนะครับ ...

สารสาระจากห้องยา
ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 Vol. 1, No. 2 โดยฝ่ายเภสัชกรรมชุมชน โรงพยาบาลหนองม่วงไข่
ภญ. อัญชลี งานขยัน ผู้เรียบเรียง

https://www.nmkhospital.com/lookhealth10-02.htm

โดยทั่วไป ปัสสาวะของคนปกติจะมีลักษณะใส สีเหลืองอ่อน ไปจนถึงสีน้ำตาลอ่อน ขึ้นกับปริมาณน้ำ ที่ถูกขับออกมาในปัสสาวะ แต่ถ้าเมื่อใดเกิดความผิดปกติกับระบบการขับถ่ายสารต่างๆ ของร่างกาย จะทำให้ปัสสาวะมีสี และลักษณะเปลี่ยนไป เช่น

เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ จะทำให้ปัสสาวะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลขุ่นๆ หรือกรณีเกิดความผิดปกติต่อระบบการทำงานทำงานของไต อาจทำให้มีเม็ดเลือดแดงหลุดลงมาในปัสสาวะ ทำให้สีของปัสสาวะเปลี่ยนเป็นสีแดง เป็นต้น

แต่ปัสสาวะก็มีสีและลักษณะเปลี่ยนไปได้ แม้ไม่เกิดความผิดปกติกับระบบการขับถ่าย โดยเฉพาะเมื่อได้รับยาบางชนิด ที่ถูกขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะ และทำให้สีของปัสสาวะเปลี่ยนไปได้ ตัวอย่างเช่น

ยา สีของปัสสาวะ

Aminossalicylic acid, Loratadine, Sulindac สีเลืองซีดลง-ไม่มีสี

Amitriptyline สีน้ำเงิน – เขียว

Anthraquinones สีเหลือง – น้ำตาล* สีเหลือง – ชมพู – แดง**

Chloroquine สีเหลือง - น้ำตาล

Cimetidine inj. สีเขียว***

phenazopyridium ย่อๆคือ pyridium ยาล้างไต กินแล้วปัสสาวะจะเป็นสีเขียว

Ferrous salts สีดำ

Indomethacin สีเขียว

Levodopa สีแดง – น้ำตาล

Metronidazole สีเหลืองเข้ม – น้ำตาล

Riboflavin สีเหลืองเรืองแสงได้

Sulfonamides สีเหลือง – น้ำตาล

Triamterene สีน้ำเงินซีดเรืองแสงได้

Warfarin สีส้ม

* ในปัสสาวะที่เป็นกรด
** ในปัสสาวะที่เป็นด่าง
*** เฉพาะตำรับที่ใช้ Phenol เป็น Preservative


นอกจากนั้น ยาบางอย่างถูกขับออกทางอุจจาระ อาจทำให้อุจจาระมีสีเปลี่ยนไปได้ เช่น

ยา สีของอุจจาระ

Antacids, Al(OH) 3 type สีขาวด่างๆ

Oral Antibiotics สีเทาอมเขียว

Charcoal, Ferrous salt สีดำ

Bismuth Salts สีเขียวอมดำ

Rifampin สีแดง – ส้ม

Indomethacin สีเขียว

Anticoagulants, Heparin, NSAIDs, Salicylates สีชมพู – แดง หรือดำ

อุจจาระที่มีสีชมพู – แดง หรือ ดำ อาจบ่งถึงอาการเลือดออก ในทางเดินอาหาร ก็ได้

ในบางครั้งการที่ปัสสาวะและอุจจาระมีสีเปลี่ยนไปจากปกติ อาจทำให้ผู้ใช้ยาเกิดอาการตกใจ และไม่กล้าใช้ยาต่อ ซึ่งทำให้การรักษาไม่ได้ผล ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องที่จะต้องอธิบายถึงสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อใช้ยาดังกล่าวให้ผู้ป่วยทราบไว้ และยินดีที่จะใช้ยาในการรักษาต่อไป


เอกสารอ้างอิง
1. Philip O. Anderson, Jame E. Knoben. Handbook of Clinical drug data 9 ed “Drug Induced Discoloration of Feces and Urine ” page 828-830.

................................................


ปัสสาวะเปลี่ยนสีหลังกินยา

เภสัชกร สุรศักดิ์ วิชัยโย
ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ลักษณะของปัสสาวะ ถือเป็นหนึ่งในตัวบ่งชี้ถึงสุขภาพของมนุษย์ ดังจะเห็นได้จากโปรแกรมตรวจสุขภาพตามโรงพยาบาลต่างๆ ซึ่งมักจะมีการตรวจปัสสาวะแทบทุกครั้ง โดยปกติแล้วปัสสาวะจะมีสีเหลืองอ่อนถึงปานกลาง แต่หากสีของปัสสาวะเปลี่ยนไปจากเดิมอาจสร้างความกังวลใจให้กับทุกคนไม่น้อย ซึ่งการเปลี่ยนสีของปัสสาวะนั้นสามารถเกิดได้ทั้งจากโรคหรือภาวะบางอย่าง เช่น เม็ดเลือดแดงแตก หรือมีการติดเชื้อ อักเสบ และเลือดออกในทางเดินปัสสาวะ แล้วส่งผลให้ปัสสาวะมีสีแดงถึงน้ำตาล เป็นต้น หรืออาหารบางชนิด เช่น การรับประทานแครอทปริมาณมาก อาจทำให้ปัสสาวะมีสีส้มแดงจากสารเบต้าแคโรทีน นอกจากนี้ ยาบางชนิดก็อาจทำให้สีของปัสสาวะเปลี่ยนไปจากเดิมเช่นกัน ซึ่งเภสัชกรมักจะแจ้งผู้ป่วยขณะอธิบายวิธีการใช้ยา รวมทั้งอาจระบุไว้ในฉลากบนซองยา เพื่อให้ผู้ป่วยทราบถึงผลดังกล่าวของยา

การเปลี่ยนสีของปัสสาวะจากยานั้น มักไม่ก่อให้เกิดอันตราย และส่วนใหญ่เกิดจากสีของยาหรือสารที่เกิดขึ้นจากการที่ร่างกายเปลี่ยนแปลงยา โดยอาจพบได้หลายสี เช่น สีส้ม-ชมพู-แดง หรือ สีน้ำตาล-ดำ หรือ สีเขียว-น้ำเงิน หรือ สีขาวขุ่น ดังแสดงในตาราง ทั้งนี้ ขึ้นกับชนิดของยา แต่บางครั้ง แม้เป็นยาชนิดเดียวกันก็อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนสีของปัสสาวะได้แตกต่างกันในแต่ละคน เนื่องจากมีปัจจัยส่งเสริมอื่นๆ เช่น ปริมาณยาที่ได้รับ (ปริมาณยามากอาจทำให้มีสีเข้มมาก) ปริมาณและสีเดิมของปัสสาวะ (เหลืองอ่อนหรือเข้ม ซึ่งจะผสมกับสีของยาแล้วได้สีใหม่) สภาวะความเป็นกรด-ด่าง ของปัสสาวะ โรคหรือภาวะเดิมที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ และยาอื่นที่ผู้ป่วยใช้ร่วม เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม หากมีปัสสาวะเปลี่ยนสีขณะใช้ยา และไม่เคยทราบข้อมูลนี้มาก่อน ควรปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษาหรือเภสัชกร เพื่อให้ได้รับคำแนะนำในการปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะกรณีที่มีอาการผิดปกติอื่นๆร่วมด้วย เช่น ปวดกล้ามเนื้อร่วมกับปัสสาวะมีสีแดงถึงน้ำตาล ระหว่างใช้ยาลดไขมันในเลือดบางกลุ่ม หรือมีจ้ำเลือดตามตัวร่วมกับปัสสาวะสีแดงถึงน้ำตาล ขณะกำลังใช้ยาที่เสี่ยงต่อการมีเลือดออกง่าย เช่น ยาแอสไพริน (aspirin) โคลพิโดเกรล (clopidogrel) และวาร์ฟาริน (warfarin) เป็นต้น หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ภาวะพร่องเอ็นไซม์จีซิกพีดี (G-6-PD deficiency) แล้วปัสสาวะมีสีแดงถึงน้ำตาล ระหว่างใช้ยาบางชนิด เป็นต้น ซึ่งการเปลี่ยนสีของปัสสาวะในกรณีเหล่านี้อาจมีสาเหตุมาจากอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงของยา



เอกสารอ้างอิง

    Aycock RD, Kass DA. Abnormal urine color. South Med J. 2012;105(1):43-47.
    Gill BC. Urine discoloration. Available at https://emedicine.medscape.com/article/2172371-overview.
    Revollo JY, Lowder JC, Pierce AS, Twilla JD. Urine discoloration associated with metronidazole: a rare occurrence. J Pharm Technol. 2014;30(2):54-56.
    Ong YY, Thong SY, Ng SY. Cloudy urine after propofol anesthesia; a rare occurrence after a routine anesthetic. J Anesth Clin Res 2014;5(8):432.
    Vanholder R, Sever MS, Erek E, Lameire N. Rhabdomyolysis. J Am Soc Nephrol. 2000;11(8):1553-1561.

ตั้งแต่วันที่ 06/04/2558
https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/256/

*************************
 
ยืนยัน อีกครั้งว่า " ยาล้างไต " .. ไม่มี ...
มีแต่ยาที่ทำให้ " ปัสสาวะเปลี่ยนสี " ... เพื่อ หลอกคนที่ไม่รู้ เท่านั้น ...

กินยาล้างไต เลี่ยงฉี่ม่วง เตือนถึงตาย
https://www.thairath.co.th/content/region/236609

นพ.ศักดิ์ แท่นชัยกุล นายแพทย์สาธารณสุข จ.ภูเก็ต เตือนนักเรียนกินยาล้างไตขับสารเสพติด เลี่ยงตรวจฉี่ม่วง เสี่ยงไตวายตาย ระบุพบเป็นครั้งแรกของประเทศ แนะตำรวจหากตรวจพบปัสสาวะสีฟ้า ตั้งข้อสงสัยเสพยาไว้ก่อน ...

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 7 ก.พ. นพ.ศักดิ์ แท่นชัยกุล นายแพทย์สาธารณสุข จ.ภูเก็ต กล่าวถึงกรณีเด็กนักเรียนในพื้นที่นำยาล้างไตกลุ่มยา Methylene Blue มากิน หลังเสพยาไอซ์ เพื่อทำให้อาเจียนและไม่สามารถตรวจหาสารเสพติดในปัสสาวะ

พบว่า การกินยาล้างไต เพื่อไม่ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจหาสารเสพติดพบหลังมีการเสพยาเสพติดนั้น สสจ.ภูเก็ต เพิ่งได้รับรายงานเป็นครั้งแรกและคาดว่าอาจเป็นครั้งแรกของประเทศ ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่เคยพบว่ามีกลุ่มผู้เสพยาเสพติดนำตัวยาดังกล่าวมาใช้ เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจหาสารเสพติดในปัสสาวะ ทั้งนี้ สสจ.ภูเก็ตจะเร่งตรวจสอบในเรื่องดังกล่าว โดยจะเข้าไปควบคุมการจำหน่ายยาฟอกไตในกลุ่มดังกล่าว ซึ่งมีจำหน่ายตามร้านขายยาทั่วๆ ไป แต่ถ้ามีการใช้ผิดประเภท ต้องควบคุมพิเศษ ซึ่งอาจจะขอความร่วมมือไปยัง อย.ออกเป็นกฎระเบียบเฉพาะในส่วนของ จ.ภูเก็ต หรือใช้ทั้งประเทศในการควบคุมตัวยาในกลุ่มนี้ เพื่อไม่ให้มีการจำหน่ายโดยทั่วไป

สสจ.ภูเก็ต กล่าวเพิ่มเติมว่า ส่วนเด็กนักเรียนรู้ได้อย่างไรว่า ยาฟอกไตตัวดังกล่าวสามารถขับหรือเลี่ยง หรือปกปิดไม่ให้มีการตรวจพบสารเสพติดในปัสสาวะ หลังเสพยาเสพติดเข้าไปแล้ว เบื้องต้นคาดว่าน่าจะมีผู้รู้คุณสมบัติของตัวยาดังกล่าว หรือผู้ขายแนะนำให้ ใช้เพื่อปกป้องตัวเอง ซึ่งจริงๆแล้วก็หนีไม่พ้น เพราะส่อพิรุธ เนื่องจากปัสสาวะของคนทั่วไปจะมีสีขาวเหลือง หรือเหลืองขุ่น แต่ถ้าปัสสาวะเป็นสีฟ้า ถือว่าไม่ปกติ จึงขอให้ทางโรงเรียนติดตามพฤติกรรมของกลุ่มนักเรียนดังกล่าวว่า มีความจำเป็นต้องใช้ยาตัวนี้หรือไม่ มีใบแพทย์สั่งหรือไม่ ซื้อยามาจากที่ใด เมื่อได้ข้อมูลแล้วให้ส่งมายัง สสจ.ภูเก็ต เพื่อจะได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบและดำเนินการเรื่องนี้ต่อไป

“ปกติเราตรวจปัสสาวะเพื่อหาสารเสพติด เพราะฉะนั้นถ้าเด็กหรือเยาวชนที่ต้องการให้ปัสสาวะสีฟ้า เพื่อปกป้องไม่ให้ตรวจพบปัสสาวะสีม่วง ควรเป็นผู้ต้องสงสัยและเก็บปัสสาวะสีฟ้าส่งให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จ.ภูเก็ต ตรวจสอบว่า มีสารเสพติดตัวใดตัวหนึ่งปะปนอยู่หรือไม่ จากนั้นให้ตามไปหาบัตรผู้ป่วย ตามไปยัง รพ.ใดที่จ่ายยาให้เด็กนักเรียน และตามไปว่าเด็กนักเรียนซื้อยาจากร้านเภสัชที่ใด แล้วทางเราจะดำเนินการให้ครบวงจร จะต้องให้กลุ่มคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ.ไปตรวจสอบว่าร้านใดที่ขายยากลุ่มเมทีลินบลู เพื่อที่จะขอความร่วมมือให้หยุดจำหน่าย ถ้าไม่มีใบแพทย์สั่ง เพราะเป็นการส่งเสริมให้มีการกระทำผิดเกิดขึ้น

การรับประทานยาล้างไตเข้าไปอาจจะส่งผลกระทบต่อไตได้ ถ้ากินบ่อยๆ จะทำให้ไตทำงานหนัก เสี่ยงเกิดภาวะไตวายได้ ซึ่งปกติผู้ป่วยที่จะรับประทานยาล้างไต กลุ่มเมทีลินบลู จะต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์และแพทย์ต้องสั่งยาให้ แต่ถ้าพบว่ามีการไปหาซื้อมากินเอง เด็กนักเรียนหรือเยาวชนนั้นๆส่ออาการติดยา ซึ่งเรื่องนี้จะต้องขอความร่วมมือกันในการทำงาน เพื่อตรวจสอบต่อไป” สสจ.ภูเก็ต กล่าวย้ำ.

ไทยรัฐออนไลน์

โดย ทีมข่าวภูมิภาค
7 กุมภาพันธ์ 2555, 13:45 น.


...........................................
 

https://www.facebook.com/DramaAdd/photos/a.411063588290.186101.141108613290/10155417163148291/?type=3&theater

Drama-addict

เรื่องน่าสนใจจากเฟซคุณหมอท่านนึง
ถ้าสาวไทยตายเพราะหลงเชื่อยาลดความอ้วน ครีมปรอท ห่าเหวไรเทือกนั้น ไอ้ที่ทำให้ผู้สูงอายุแถว ตจว หลงเชื่อและตายเป็นอันดับต้นๆ ก็หนีไม่พ้นไอ้นี่ล่ะครับ

"ยาล้างไต"

ซึ่งถ้าใครไปประจำอยู่ใน รพ แถว ตจว
จะได้เจอคนไข้สูงอายุมา รพ ด้วยอาการเยี่ยวสีแปลกๆ
มีตั้งแต่เยี่ยวส้ม เยี่ยวฟ้า เยี่ยวเขียว บลาๆ สารพัด มากันเยอะมาก พอซักประวัติดีๆก็จะพบว่าพวกนี้ไปซื้อยาล้างไตมากิน

ไอ้ยาล้างไตที่ว่านี่ก็เป็นพวกสารเคมี หรือยาบางชนิด เช่น ยาวัณโรคบางตัวที่กินแล้วเยี่ยวเปลี่ยนสี แค่นั้นล่ะครับ

แต่คนขายแม่งหลอกว่านี่ไงเยี่ยวเปลี่ยนสีแล้ว ล้างไตแล้วนะ

ถุ้ยยยยยยย

แต่ที่น่ากลัวคือ ไอ้ยาและสารเคมีพวกนี้หลายตัวมีผลทำให้ไตแย่ลง ถึงขั้นไตวายได้ ขนาดว่าเคยมีคนเป็นโรคไตระยะต้นๆ หลงเชื่อยาพวกนี้ไปกินจนไตวายเฉียบพลันแล้วก็ตายไปเลยก็มี

ดังนั้นพ่อแม่พี่น้องถ้าเจอปู่ย่าตายายที่บ้าน ไปซื้อยาที่เขาเรียกว่า ยาล้างไต มากิน

เอาแม่งไปทิ้งให้ไว แล้วเรียก ตำรวจ ไปจัดการกับไอ้คนขายให้ไวครับ


***********************************************
อวสานยาล้างไต ?

๙ มีนาคม ๒๕๖๑ เฟสParun Rutjanathamrong
https://www.facebook.com/rparun/posts/1821777881190136


ร้านยาใดที่มีขายยาสูตรผสมของเมทิลีนบลู (Methylene blue) เอาลงจากชั้นวางยาได้แล้วนะครับ เนื่องจากขณะนี้ (9 มีนาคม 2561) มีคําสั่งกระทรวงสาธารณสุขที่ 79/2561 เรื่อง เพิกถอนทะเบียนตํารับยา ประกาศในราชกิจจานุเบกษาอย่างเป็นทางการแล้ว

เหตุผล ด้วยปรากฏข้อมูลทางวิชาการว่าทะเบียนตํารับยารักษาโรคทางเดินปัสสาวะชนิดรับประทาน ที่มีส่วนประกอบของเมทิลีนบลู (Methylene blue) ทั้งตํารับยาเดี่ยวและยาสูตรผสมที่มีและไม่มีส่วนประกอบของโพแทสเซียมไนเตรต (Potassium nitrate) ไม่มีหลักฐานสนับสนุนประสิทธิภาพ ในการรักษา หรือไม่มีสรรพคุณตามที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ นอกจากนี้ยังมีการนํายาไปใช้ในทางที่ผิดสูง

รายการยาที่ถูกเพิกถอนทะเบียนตำรับยาครั้งนี้ ประกอบด้วย
1. Olympic kidney tablets เลขทะเบียนตำรับยา 2A 390/27 บริษัท เอ.เอ็น.บี.ลาบอราตอรี่ (อำนวยเภสัช) จำกัด
2. Marwitt’s kidney pills เลขทะเบียนตำรับยา 2A 40/28 บริษัท ที.พี.ดรัก แลบบอราทอรี่ส์ (1969) จำกัด
3. Cystosin เลขทะเบียนตำรับยา 2A 1188/28 บริษัท บี.เอ็ล.ฮั้ว จำกัด
4. Cystosin - K เลขทะเบียนตำรับยา 2A 883/29 บริษัท บี.เอ็ล.ฮั้ว จำกัด
5. Holosan tablets เลขทะเบียนตำรับยา 2A 62/31 บริษัท โรต้าลาบอเร็ทตอรี่ส์ จำกัด
6. Cystosin - K เลขทะเบียนตำรับยา 2A 79/32 บริษัท เอ็ม แอนด์ เอ็ช แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด
7. Tricys brywood เลขทะเบียนตำรับยา 1A 433/32 บริษัท ไบร์วู๊ดฟาร์มาซูติคอล จำกัด
8. Tricys blue tablets เลขทะเบียนตำรับยา 1A 434/32 บริษัท ไบร์วู๊ดฟาร์มาซูติคอล จำกัด
9. Zoro kidney tablets เลขทะเบียนตำรับยา 2A 163/50 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฮุยแลนด์ฟาร์มาซี
10. Marwitt’s kidney pills เลขทะเบียนตำรับยา 2A 180/56 บริษัท ที.พี.ดรัก แลบบอราทอรี่ส์ (1969) จำกัด
11. Zoro kidney tablets เลขทะเบียนตำรับยา 2A 68/57 ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงงานเภสัชอุตสาหกรรม ค็อกซ

โปรดดูประกาศที่ //www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/054/44.PDF
____________

ยาสูตรนี้ ประชาชนที่มาซื้อยามักจะอ้างว่าเป็นยาใช้สำหรับล้างไต ผู้ติดเมทแอมเฟตามีนมักใช้กินเพื่อให้ปัสสาวะเป็นสีน้ำเงินเพื่อรบกวนการตรวจยาบ้าในปัสสาวะ

_______

เพิกถอนทะเบียนตำรับยาสูตรผสมของเมทิลีนบลู (Methylene blue)
https://wizsastra.com/2018/03/09/methyleneblue-2/

******************************************




เคยได้ยินกันไหมกับคำกล่าวที่ว่า ยาเม็ดล้างไตสามารถรักษาอาการปัสสาวะขัดได้ ความจริงแล้วจะเป็นเช่นไร เรามาติดตามกันเลยดีกว่า

          อาการปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะขุ่นนั้นคืออาการของภาวะติดเชื้อ โดยอาการก็จะแตกต่างกันออกไป

    กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis) อาการที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ ปัสสาวะบ่อย หรือปัสสาวะออก
    ทีละน้อย ปัสสาวะขุ่น มีกลิ่นแรง หรือปัสสาวะเป็นเลือด อาจมีอาการเจ็บที่ท้องน้อยบริเวณใกล้กระเพาะปัสสาวะ
    กรวยไตอักเสบ (Pyelonephritis) อาการที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ มีไข้สูงและหนาวสั่น ปวดหลังส่วนบน ปัสสาวะขุ่นหรือปัสสาวะบ่อย
    ท่อปัสสาวะอักเสบ (Urethritis) อาการที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ ปัสสาวะบ่อย มีตกขาวหรือของเหลวออกมาจากท่อปัสสาวะ ส่วนปลายของท่อปัสสาวะเกิดรอยแดง
    ช่องคลอดอักเสบ (Vaginitis) อาการที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ เจ็บหรือคันที่อวัยวะเพศ เจ็บหรือรู้สึก
    ไม่สบายในระหว่างมีเพศสัมพันธ์ ตกขาวมีสีผิดปกติ หรือส่งกลิ่นเหม็น

           โดยบางคนเมื่อมีอาการดังต่อไปนี้ก็มักจะมาหาซื้อยาล้างไต ซึ่งไม่ควรทำอย่างยิ่งเพราะยาล้างไตมีเมทิลีนบลู (methylene blue) เป็นส่วนประกอบ ซึ่งสารนี้ไม่ควรใช้เป็นอย่างมากในผู้ป่วยที่ไตบกพร่องรุนแรง และไม่ควรใช้ในผู้ที่มีภาวะพร่องเอ็นไซม์จีซิกพีดี (G6PD deficiency) เพราะจะทำให้เม็ดเลือดแดงแตกได้ง่าย  และต่อให้ร่างกายเป็นปกติก็ไม่ควรใช้ยาเม็ดล้างไตในการรักษา เพราะยานี้ไม่ได้มีส่วนในการกำจัดสารพิษออกมาจากปัสสาวะเลย ซึ่งในปัจจุบันนี้ยาเม็ดล้างไตจัดเป็นยาถูกถอนทะเบียนไปแล้ว ดังนั้นจึงไม่ควรมีร้านขายยา หรือร้านค้าใดจำหน่ายยากลุ่มนี้อีก หากมีในครอบครองถือว่าผิดกฎหมายนะจ๊ะและหากต้องการรักษาอาการที่เป็นอยู่ แนะนำให้ไปพบแพทย์ หรือเภสัชกรจะดีกว่า เพื่อที่จะได้รับข้อมูล และคำแนะนำในการดูและรักษาที่ถูกวิธี


สนับสนุนโดย : กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

ปัสสาวะแสบขัด ไม่ควรกินยาล้างไต
15 Oct 2020
https://oryor.com/%E0%B8%AD%E0%B8%A2/detail/media_specify/822


 


Create Date : 15 สิงหาคม 2551
Last Update : 16 ตุลาคม 2563 13:20:57 น. 9 comments
Counter : 6107 Pageviews.  

 
คนไข้แถวนี้ชอบๆกินกันมากเลยค่ะ

หาซื้อง่ายจัง


โดย: โยเกิตมะนาว วันที่: 15 สิงหาคม 2551 เวลา:19:01:05 น.  

 
ขอบพระคุณค่ะ หมอหมู
ตอนนี้เป็นกังวลอย่างเดียวคือ เป็นโรคอะไรกันแน่ เพราะปัสสาวะวันละ 15-20 ครั้ง หลังจากดื่มน้ำไปได้แค่ 5 นาทีก็ต้องไปห้องน้ำ ยังกับว่าไตมันไม่ทำงานแล้วอย่างนั้นเลยค่ะคุณหมอหมู นี่ก็รอนัดของทาง รพ.ตรวจอยู่ค่ะ เป็นอย่างนี้มาได้ 2-3 ปีแล้ว ครั้งแรกก้มาจากการเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบก่อนค่ะ คืออั้นฉี่ค่ะ เมื่อหลายปีก่อนค่ะ เพิ่งมามีอาการแย่ลงก็มาอยู่เมืองหนนาวใกๆอ่ะค่ะคุณหมอ


โดย: กวนฐานฮวา ณ อเบอร์ดีน วันที่: 16 สิงหาคม 2551 เวลา:1:14:12 น.  

 

ตอบคุณ กวนฐานฮวา หลังไมค์ แล้วนะครับ


โดย: หมอหมู วันที่: 17 สิงหาคม 2551 เวลา:16:32:09 น.  

 
แถม กระทู้เกี่ยวกับยา ของ คุณลูกเป็ดขี้เกียจ ..



ยาบำรุงตับ ล้างไต หน้าใสหน้าเด้ง รักษาครอบจักรวาล ภาค 1

//topicstock.pantip.com/lumpini/topicstock/2006/10/L4758772/L4758772.html


งานวิจัยในโฆษณา น่าเชื่อถือแค่ไหน

//topicstock.pantip.com/lumpini/topicstock/2008/12/L7317497/L7317497.html


ยา(แก้ปวด) ข้อเท็จจริงที่คุณควรรู้ !!!

//www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X8351110/X8351110.html


ชื่อสามัญทางยา VS ชื่อการค้า ความสับสนที่ยังคงอยู่....

//topicstock.pantip.com/lumpini/topicstock/2006/11/L4873379/L4873379.html


"ยาแก้อักเสบ" ชื่อแสลงสำหรับคนจ่ายยาตอนนี้

//topicstock.pantip.com/lumpini/topicstock/2006/11/L4877304/L4877304.html




โดย: หมอหมู วันที่: 30 กันยายน 2552 เวลา:15:28:04 น.  

 
//www.pantip.com/cafe/lumpini/topic/L9002767/L9002767.html#9

ขอบคุณครับ - -


โดย: thong765 วันที่: 18 มีนาคม 2553 เวลา:15:16:51 น.  

 

ยืนยัน อีกครั้งว่า " ยาล้างไต " .. ไม่มี ...

มีแต่ยาที่ทำให้ " ปัสสาวะเปลี่ยนสี " ... เพื่อ หลอกคนที่ไม่รู้ เท่านั้น ...




//www.thairath.co.th/content/region/236609

กินยาล้างไต เลี่ยงฉี่ม่วง เตือนถึงตาย


นพ.ศักดิ์ แท่นชัยกุล นายแพทย์สาธารณสุข จ.ภูเก็ต เตือนนักเรียนกินยาล้างไตขับสารเสพติด เลี่ยงตรวจฉี่ม่วง เสี่ยงไตวายตาย ระบุพบเป็นครั้งแรกของประเทศ แนะตำรวจหากตรวจพบปัสสาวะสีฟ้า ตั้งข้อสงสัยเสพยาไว้ก่อน ...

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 7 ก.พ. นพ.ศักดิ์ แท่นชัยกุล นายแพทย์สาธารณสุข จ.ภูเก็ต กล่าวถึงกรณีเด็กนักเรียนในพื้นที่นำยาล้างไตกลุ่มยา Methylene Blue มากิน หลังเสพยาไอซ์ เพื่อทำให้อาเจียนและไม่สามารถตรวจหาสารเสพติดในปัสสาวะ

พบว่า การกินยาล้างไต เพื่อไม่ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจหาสารเสพติดพบหลังมีการเสพยาเสพติดนั้น สสจ.ภูเก็ต เพิ่งได้รับรายงานเป็นครั้งแรกและคาดว่าอาจเป็นครั้งแรกของประเทศ ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่เคยพบว่ามีกลุ่มผู้เสพยาเสพติดนำตัวยาดังกล่าวมาใช้ เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจหาสารเสพติดในปัสสาวะ ทั้งนี้ สสจ.ภูเก็ตจะเร่งตรวจสอบในเรื่องดังกล่าว โดยจะเข้าไปควบคุมการจำหน่ายยาฟอกไตในกลุ่มดังกล่าว ซึ่งมีจำหน่ายตามร้านขายยาทั่วๆ ไป แต่ถ้ามีการใช้ผิดประเภท ต้องควบคุมพิเศษ ซึ่งอาจจะขอความร่วมมือไปยัง อย.ออกเป็นกฎระเบียบเฉพาะในส่วนของ จ.ภูเก็ต หรือใช้ทั้งประเทศในการควบคุมตัวยาในกลุ่มนี้ เพื่อไม่ให้มีการจำหน่ายโดยทั่วไป

สสจ.ภูเก็ต กล่าวเพิ่มเติมว่า ส่วนเด็กนักเรียนรู้ได้อย่างไรว่า ยาฟอกไตตัวดังกล่าวสามารถขับหรือเลี่ยง หรือปกปิดไม่ให้มีการตรวจพบสารเสพติดในปัสสาวะ หลังเสพยาเสพติดเข้าไปแล้ว เบื้องต้นคาดว่าน่าจะมีผู้รู้คุณสมบัติของตัวยาดังกล่าว หรือผู้ขายแนะนำให้ ใช้เพื่อปกป้องตัวเอง ซึ่งจริงๆแล้วก็หนีไม่พ้น เพราะส่อพิรุธ เนื่องจากปัสสาวะของคนทั่วไปจะมีสีขาวเหลือง หรือเหลืองขุ่น แต่ถ้าปัสสาวะเป็นสีฟ้า ถือว่าไม่ปกติ จึงขอให้ทางโรงเรียนติดตามพฤติกรรมของกลุ่มนักเรียนดังกล่าวว่า มีความจำเป็นต้องใช้ยาตัวนี้หรือไม่ มีใบแพทย์สั่งหรือไม่ ซื้อยามาจากที่ใด เมื่อได้ข้อมูลแล้วให้ส่งมายัง สสจ.ภูเก็ต เพื่อจะได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบและดำเนินการเรื่องนี้ต่อไป

“ปกติเราตรวจปัสสาวะเพื่อหาสารเสพติด เพราะฉะนั้นถ้าเด็กหรือเยาวชนที่ต้องการให้ปัสสาวะสีฟ้า เพื่อปกป้องไม่ให้ตรวจพบปัสสาวะสีม่วง ควรเป็นผู้ต้องสงสัยและเก็บปัสสาวะสีฟ้าส่งให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จ.ภูเก็ต ตรวจสอบว่า มีสารเสพติดตัวใดตัวหนึ่งปะปนอยู่หรือไม่ จากนั้นให้ตามไปหาบัตรผู้ป่วย ตามไปยัง รพ.ใดที่จ่ายยาให้เด็กนักเรียน และตามไปว่าเด็กนักเรียนซื้อยาจากร้านเภสัชที่ใด แล้วทางเราจะดำเนินการให้ครบวงจร จะต้องให้กลุ่มคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ.ไปตรวจสอบว่าร้านใดที่ขายยากลุ่มเมทีลินบลู เพื่อที่จะขอความร่วมมือให้หยุดจำหน่าย ถ้าไม่มีใบแพทย์สั่ง เพราะเป็นการส่งเสริมให้มีการกระทำผิดเกิดขึ้น

การรับประทานยาล้างไตเข้าไปอาจจะส่งผลกระทบต่อไตได้ ถ้ากินบ่อยๆ จะทำให้ไตทำงานหนัก เสี่ยงเกิดภาวะไตวายได้ ซึ่งปกติผู้ป่วยที่จะรับประทานยาล้างไต กลุ่มเมทีลินบลู จะต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์และแพทย์ต้องสั่งยาให้ แต่ถ้าพบว่ามีการไปหาซื้อมากินเอง เด็กนักเรียนหรือเยาวชนนั้นๆส่ออาการติดยา ซึ่งเรื่องนี้จะต้องขอความร่วมมือกันในการทำงาน เพื่อตรวจสอบต่อไป” สสจ.ภูเก็ต กล่าวย้ำ.

ไทยรัฐออนไลน์

โดย ทีมข่าวภูมิภาค
7 กุมภาพันธ์ 2555, 13:45 น.





โดย: หมอหมู วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:15:51:12 น.  

 
๙ มีนาคม ๒๕๖๑ เฟสParun Rutjanathamrong
https://www.facebook.com/rparun/posts/1821777881190136


ร้านยาใดที่มีขายยาสูตรผสมของเมทิลีนบลู (Methylene blue) เอาลงจากชั้นวางยาได้แล้วนะครับ เนื่องจากขณะนี้ (9 มีนาคม 2561) มีคําสั่งกระทรวงสาธารณสุขที่ 79/2561 เรื่อง เพิกถอนทะเบียนตํารับยา ประกาศในราชกิจจานุเบกษาอย่างเป็นทางการแล้ว

เหตุผล ด้วยปรากฏข้อมูลทางวิชาการว่าทะเบียนตํารับยารักษาโรคทางเดินปัสสาวะชนิดรับประทาน ที่มีส่วนประกอบของเมทิลีนบลู (Methylene blue) ทั้งตํารับยาเดี่ยวและยาสูตรผสมที่มีและไม่มีส่วนประกอบของโพแทสเซียมไนเตรต (Potassium nitrate) ไม่มีหลักฐานสนับสนุนประสิทธิภาพ ในการรักษา หรือไม่มีสรรพคุณตามที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ นอกจากนี้ยังมีการนํายาไปใช้ในทางที่ผิดสูง

รายการยาที่ถูกเพิกถอนทะเบียนตำรับยาครั้งนี้ ประกอบด้วย
1. Olympic kidney tablets เลขทะเบียนตำรับยา 2A 390/27 บริษัท เอ.เอ็น.บี.ลาบอราตอรี่ (อำนวยเภสัช) จำกัด
2. Marwitt’s kidney pills เลขทะเบียนตำรับยา 2A 40/28 บริษัท ที.พี.ดรัก แลบบอราทอรี่ส์ (1969) จำกัด
3. Cystosin เลขทะเบียนตำรับยา 2A 1188/28 บริษัท บี.เอ็ล.ฮั้ว จำกัด
4. Cystosin - K เลขทะเบียนตำรับยา 2A 883/29 บริษัท บี.เอ็ล.ฮั้ว จำกัด
5. Holosan tablets เลขทะเบียนตำรับยา 2A 62/31 บริษัท โรต้าลาบอเร็ทตอรี่ส์ จำกัด
6. Cystosin - K เลขทะเบียนตำรับยา 2A 79/32 บริษัท เอ็ม แอนด์ เอ็ช แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด
7. Tricys brywood เลขทะเบียนตำรับยา 1A 433/32 บริษัท ไบร์วู๊ดฟาร์มาซูติคอล จำกัด
8. Tricys blue tablets เลขทะเบียนตำรับยา 1A 434/32 บริษัท ไบร์วู๊ดฟาร์มาซูติคอล จำกัด
9. Zoro kidney tablets เลขทะเบียนตำรับยา 2A 163/50 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฮุยแลนด์ฟาร์มาซี
10. Marwitt’s kidney pills เลขทะเบียนตำรับยา 2A 180/56 บริษัท ที.พี.ดรัก แลบบอราทอรี่ส์ (1969) จำกัด
11. Zoro kidney tablets เลขทะเบียนตำรับยา 2A 68/57 ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงงานเภสัชอุตสาหกรรม ค็อกซ

โปรดดูประกาศที่ //www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/054/44.PDF
____________
ยาสูตรนี้ ประชาชนที่มาซื้อยามักจะอ้างว่าเป็นยาใช้สำหรับล้างไต ผู้ติดเมทแอมเฟตามีนมักใช้กินเพื่อให้ปัสสาวะเป็นสีน้ำเงินเพื่อรบกวนการตรวจยาบ้าในปัสสาวะ

_______
เพิกถอนทะเบียนตำรับยาสูตรผสมของเมทิลีนบลู (Methylene blue)
https://wizsastra.com/2018/03/09/methyleneblue-2/


โดย: หมอหมู วันที่: 9 มีนาคม 2561 เวลา:21:37:01 น.  

 
ปัสสาวะเปลี่ยนสีหลังกินยา

เภสัชกร สุรศักดิ์ วิชัยโย
ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ลักษณะของปัสสาวะ ถือเป็นหนึ่งในตัวบ่งชี้ถึงสุขภาพของมนุษย์ ดังจะเห็นได้จากโปรแกรมตรวจสุขภาพตามโรงพยาบาลต่างๆ ซึ่งมักจะมีการตรวจปัสสาวะแทบทุกครั้ง โดยปกติแล้วปัสสาวะจะมีสีเหลืองอ่อนถึงปานกลาง แต่หากสีของปัสสาวะเปลี่ยนไปจากเดิมอาจสร้างความกังวลใจให้กับทุกคนไม่น้อย ซึ่งการเปลี่ยนสีของปัสสาวะนั้นสามารถเกิดได้ทั้งจากโรคหรือภาวะบางอย่าง เช่น เม็ดเลือดแดงแตก หรือมีการติดเชื้อ อักเสบ และเลือดออกในทางเดินปัสสาวะ แล้วส่งผลให้ปัสสาวะมีสีแดงถึงน้ำตาล เป็นต้น หรืออาหารบางชนิด เช่น การรับประทานแครอทปริมาณมาก อาจทำให้ปัสสาวะมีสีส้มแดงจากสารเบต้าแคโรทีน นอกจากนี้ ยาบางชนิดก็อาจทำให้สีของปัสสาวะเปลี่ยนไปจากเดิมเช่นกัน ซึ่งเภสัชกรมักจะแจ้งผู้ป่วยขณะอธิบายวิธีการใช้ยา รวมทั้งอาจระบุไว้ในฉลากบนซองยา เพื่อให้ผู้ป่วยทราบถึงผลดังกล่าวของยา

การเปลี่ยนสีของปัสสาวะจากยานั้น มักไม่ก่อให้เกิดอันตราย และส่วนใหญ่เกิดจากสีของยาหรือสารที่เกิดขึ้นจากการที่ร่างกายเปลี่ยนแปลงยา โดยอาจพบได้หลายสี เช่น สีส้ม-ชมพู-แดง หรือ สีน้ำตาล-ดำ หรือ สีเขียว-น้ำเงิน หรือ สีขาวขุ่น ดังแสดงในตาราง ทั้งนี้ ขึ้นกับชนิดของยา แต่บางครั้ง แม้เป็นยาชนิดเดียวกันก็อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนสีของปัสสาวะได้แตกต่างกันในแต่ละคน เนื่องจากมีปัจจัยส่งเสริมอื่นๆ เช่น ปริมาณยาที่ได้รับ (ปริมาณยามากอาจทำให้มีสีเข้มมาก) ปริมาณและสีเดิมของปัสสาวะ (เหลืองอ่อนหรือเข้ม ซึ่งจะผสมกับสีของยาแล้วได้สีใหม่) สภาวะความเป็นกรด-ด่าง ของปัสสาวะ โรคหรือภาวะเดิมที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ และยาอื่นที่ผู้ป่วยใช้ร่วม เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม หากมีปัสสาวะเปลี่ยนสีขณะใช้ยา และไม่เคยทราบข้อมูลนี้มาก่อน ควรปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษาหรือเภสัชกร เพื่อให้ได้รับคำแนะนำในการปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะกรณีที่มีอาการผิดปกติอื่นๆร่วมด้วย เช่น ปวดกล้ามเนื้อร่วมกับปัสสาวะมีสีแดงถึงน้ำตาล ระหว่างใช้ยาลดไขมันในเลือดบางกลุ่ม หรือมีจ้ำเลือดตามตัวร่วมกับปัสสาวะสีแดงถึงน้ำตาล ขณะกำลังใช้ยาที่เสี่ยงต่อการมีเลือดออกง่าย เช่น ยาแอสไพริน (aspirin) โคลพิโดเกรล (clopidogrel) และวาร์ฟาริน (warfarin) เป็นต้น หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ภาวะพร่องเอ็นไซม์จีซิกพีดี (G-6-PD deficiency) แล้วปัสสาวะมีสีแดงถึงน้ำตาล ระหว่างใช้ยาบางชนิด เป็นต้น ซึ่งการเปลี่ยนสีของปัสสาวะในกรณีเหล่านี้อาจมีสาเหตุมาจากอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงของยา



เอกสารอ้างอิง

Aycock RD, Kass DA. Abnormal urine color. South Med J. 2012;105(1):43-47.
Gill BC. Urine discoloration. Available at //emedicine.medscape.com/article/2172371-overview.
Revollo JY, Lowder JC, Pierce AS, Twilla JD. Urine discoloration associated with metronidazole: a rare occurrence. J Pharm Technol. 2014;30(2):54-56.
Ong YY, Thong SY, Ng SY. Cloudy urine after propofol anesthesia; a rare occurrence after a routine anesthetic. J Anesth Clin Res 2014;5(8):432.
Vanholder R, Sever MS, Erek E, Lameire N. Rhabdomyolysis. J Am Soc Nephrol. 2000;11(8):1553-1561.

ตั้งแต่วันที่ 06/04/2558
https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/256/


โดย: หมอหมู วันที่: 27 มิถุนายน 2563 เวลา:16:00:15 น.  

 
เคยได้ยินกันไหมกับคำกล่าวที่ว่า ยาเม็ดล้างไตสามารถรักษาอาการปัสสาวะขัดได้ ความจริงแล้วจะเป็นเช่นไร เรามาติดตามกันเลยดีกว่า

อาการปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะขุ่นนั้นคืออาการของภาวะติดเชื้อ โดยอาการก็จะแตกต่างกันออกไป

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis) อาการที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ ปัสสาวะบ่อย หรือปัสสาวะออก
ทีละน้อย ปัสสาวะขุ่น มีกลิ่นแรง หรือปัสสาวะเป็นเลือด อาจมีอาการเจ็บที่ท้องน้อยบริเวณใกล้กระเพาะปัสสาวะ
กรวยไตอักเสบ (Pyelonephritis) อาการที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ มีไข้สูงและหนาวสั่น ปวดหลังส่วนบน ปัสสาวะขุ่นหรือปัสสาวะบ่อย
ท่อปัสสาวะอักเสบ (Urethritis) อาการที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ ปัสสาวะบ่อย มีตกขาวหรือของเหลวออกมาจากท่อปัสสาวะ ส่วนปลายของท่อปัสสาวะเกิดรอยแดง
ช่องคลอดอักเสบ (Vaginitis) อาการที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ เจ็บหรือคันที่อวัยวะเพศ เจ็บหรือรู้สึก
ไม่สบายในระหว่างมีเพศสัมพันธ์ ตกขาวมีสีผิดปกติ หรือส่งกลิ่นเหม็น

โดยบางคนเมื่อมีอาการดังต่อไปนี้ก็มักจะมาหาซื้อยาล้างไต ซึ่งไม่ควรทำอย่างยิ่งเพราะยาล้างไตมีเมทิลีนบลู (methylene blue) เป็นส่วนประกอบ ซึ่งสารนี้ไม่ควรใช้เป็นอย่างมากในผู้ป่วยที่ไตบกพร่องรุนแรง และไม่ควรใช้ในผู้ที่มีภาวะพร่องเอ็นไซม์จีซิกพีดี (G6PD deficiency) เพราะจะทำให้เม็ดเลือดแดงแตกได้ง่าย และต่อให้ร่างกายเป็นปกติก็ไม่ควรใช้ยาเม็ดล้างไตในการรักษา เพราะยานี้ไม่ได้มีส่วนในการกำจัดสารพิษออกมาจากปัสสาวะเลย ซึ่งในปัจจุบันนี้ยาเม็ดล้างไตจัดเป็นยาถูกถอนทะเบียนไปแล้ว ดังนั้นจึงไม่ควรมีร้านขายยา หรือร้านค้าใดจำหน่ายยากลุ่มนี้อีก หากมีในครอบครองถือว่าผิดกฎหมายนะจ๊ะและหากต้องการรักษาอาการที่เป็นอยู่ แนะนำให้ไปพบแพทย์ หรือเภสัชกรจะดีกว่า เพื่อที่จะได้รับข้อมูล และคำแนะนำในการดูและรักษาที่ถูกวิธี


สนับสนุนโดย : กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

ปัสสาวะแสบขัด ไม่ควรกินยาล้างไต
15 Oct 2020
https://oryor.com/%E0%B8%AD%E0%B8%A2/detail/media_specify/822



โดย: หมอหมู วันที่: 16 ตุลาคม 2563 เวลา:13:19:40 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]