Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ไวรัส COVID-19 ( Corona virus 2019 ) .... นำมาฝาก (ไม่ได้เขียนเอง ^_^)

ไวรัส Wuhan


ไวรัสอู่ฮั่น Wuhan virus นำมาฝาก (ไม่ได้เขียนเอง ^_^)

คัดลอกภาพและข้อความจากเฟส One Slide ID   20มกราคม2563
https://www.facebook.com/oneslideid/posts/1037497843280009

จาก SARS ถึง MERS
จาก MERS ถึง Wuhan virus


สรุปคำแนะนำจากกรมควบคุมโรคเพื่อรับมือไวรัสที่กำลังระบาดในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน

1. ผู้เดินทางที่จะเดินทางไปเมืองอู่ฮั่นหรือใกล้เคียง
a. หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด
b. ไม่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยไอจาม หากจำเป็นให้สวมใส่หน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในที่ชุมชน
c. หลีกเลี่ยงการเข้าไปตลาดค้าสัตว์ และไม่สัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดกับสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์ที่ป่วย หรือตาย
d. หมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอด้วยน้ำและสบู่ หรือ แอลกอฮอล์เจลล้างมือ

2. ภายใน 14 วัน หลังเดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยง หากมีไข้ ร่วมกับอาการทางเดินหายใจ ได้แก่ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจเหนื่อยหอบ ควรรีบพบแพทย์ทันที พร้อมทั้งแจ้งประวัติการเดินทางไปเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน
....
Wuhan virus เป็นเพียงชื่อเล่นของ virus ที่กำลังระบาดในเมืองอู่ฮั่นประเทศจีน ซึ่งทราบแล้วว่าเป็น coronavirus (CoV) คำว่า corona แปลว่ามงกุฎในภาษาละติน คำนี้กลายเป็นชื่อไวรัสเพราะรูปร่างของมันคล้ายมงกุฎ หากมองด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน (transmission electron microscpy)

Coronavirus ถูกค้นพบตั้งแต่ยุค 1960s เป็น positive sense RNA virus มีสายพันธุ์จำนวนมาก แต่ละสายพันธุ์ก่อโรคในสัตว์ต่างชนิดกัน เราสามารถรู้ host หรือแหล่งที่มาของ coronavirus ได้จากชื่อ เช่น ถ้าเป็น coronavirus ของคนก็เรียก Human coronavirus (HCoV) Rhinolophus bat coronavirus HKU2 พบในค้างคาว (Rhinolophus sinicus หรือ Chinese horseshoe bats) เป็นต้น

มีรายงานการติดเชื้อ coronavirus ทั้งในสัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมนานาชนิด เช่น สุนัข แมว สุกร คน ปศุสัตว์ ไม่เว้นแม้ วาฬเบลูก้า (Beluga whale coronavirus SW1)

Coronavirus จัดอยู่ใน order Nidovirales, family Coronaviridae, subfamily Coronavirinae ซึ่งแบ่งเป็น 4 genera (genus)

1. Alphacoronavirus เช่น HCoV-229, HCoV-NL63
2. Betacoronavirus เช่น SARS-CoV, MERS-CoV, Bat coronavirus หลายชนิด, Murine coronavirus
3. Gammacoronavirus เช่น Avian coronavirus, Beluga whale coronavirus
4. Deltacoronavirus เช่น Munia coronavirus, Bulbul coronavirus

สัตว์บางชนิดสามารถติดเชื้อ coronavirus ได้มากกว่า 1 สายพันธุ์ จึงมีโอกาสสูงที่ไวรัสต่างสายพันธุ์จะบังเอิญติดเชื้อในสัตว์ตัวเดียวกัน เกิดการแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรม (genetic recombination) จนเกิดเป็น coronavirus สายพันธุ์ใหม่และแพร่ระบาดในที่สุด

บทความนี้เรียก coronavirus ที่ก่อโรค respiratory tract infection ทั่วไปและพบมานานแล้วว่า CAR-HCoV (community acquired respiratory HCoV) แยกจาก coronavirus สายพันธุ์ใหม่ ๆ ได้แก่ MERS-CoV, SAR-CoV และ สายพันธุ์ล่าสุดที่ระบาดในเมืองอู่ฮั่น

coronavirus มักก่ออาการคล้ายคลึงกันคือเริ่มต้นที่อาการของ respiratory tract infection เหมือนไข้หวัดและอาจรุนแรงมากขึ้นเป็น pneumonia หรือ respiratory failure ได้

CAR-HCoV เป็นไวรัสสำคัญชนิดหนึ่งที่ก่อโรค common cold หรือไข้หวัด สายพันธุ์ที่พบในผู้ใหญ่ ได้แก่ HCoV-229, HCoV-HKU1และ OC43 ส่วน HCoV-NL63 มักพบในเด็ก

Coronavirus ที่กำลังระบาดในเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ยนี้ website ของ WHO เปิดเผยว่าทางการจีนรายงานการระบาดตั้งแต่ 31 ธ.ค. 2019 และพบว่าสัมพันธ์กับการเข้าไปในตลาดอาหารทะเลหัวหนาน เมืองอู่ฮั่น

CNN รายงานว่านอกจากอาหารทะเลแล้ว ยังมีสัตว์อื่น ๆ หลายชนิด เช่น นก งู กระต่าย ฯลฯ ตลาดนี้ถูกสั่งปิดเมื่อ 1 ม.ค. 2020

วันที่ 7 ม.ค. 2020 ทางการจีนสามารถแยกเชื้อ coronavirus สายพันธุ์ใหม่ได้จากผู้ป่วย ขณะนี้เรียกว่า 2019-nCoV (2019 novel coronavirus) เมื่อวิเคราะห์ลำดับเบสใน RNA ของไวรัส พบว่าใกล้เคียงกับ Bat SARS like coronavirus มากที่สุด จัดอยู่ใน genus Betacoronavirus

นับแต่เริ่มการระบาดจนถึง 12 ม.ค. ทางการจีนรายงานว่ามีผู้ป่วยทั้งสิ้น 41 ราย ในเมืองอู่ฮั่น

เมื่อ 18 ม.ค. 2020 จำนวนผู้ป่วยเพิ่มเป็น 62 ราย

ล่าสุด 19 ม.ค. 2020 ทางการจีนรายงานว่า มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มอีก 139 ราย โดย 136 รายวินิจฉัยในเมืองอู่ฮั่น (อาการไม่รุนแรง 100 ราย, รุนแรง 33 ราย และ วิกฤต 3 ราย) 2 ราย พบในกรุงปักกิ่ง และอีก 1 รายในเมืองเซินเจิ้น มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย

ช่วงนี้คนจีนเดินทางไปทั่วประเทศเพราะใกล้ตรุษจีนแล้ว 2019 Novel coronavirus ก็อาจแพร่กระจายไปด้วย
ตามตัวเลขที่รายงานนี้ รวมผู้ป่วยในจีนเท่ากับ 201 ราย

สถาบัน MRC center for global infectious disease analysis ของมหาวิทยาลัย Imperial Collage London คาดการณ์ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อจริงอาจมากถึง 1723 ราย สำนักข่าวต่าง ๆ ติดตามเรื่องจำนวนผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดซึ่งยังรายงานเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

ถึงตอนนี้มีผู้เสียชีวิตทั้งหมดรวม 3 ราย

ผู้ป่วยรายแรกที่เสียชีวิตเป็นชาวจีน อายุ 61 ปี มีโรคประจำตัวหลายอย่างและเกิด severe pneumonia เสียชีวิตเมื่อ 9 ม.ค. 2020

ผู้ป่วยที่เสียชีวิตเป็นรายที่สอง คือ ชายชาวจีน อายุ 69 ปี เริ่มป่วยเมื่อ 31 ธ.ค. 2019 แล้วอาการแย่ลงเรื่อย ๆ CNN รายงานว่าผู้ป่วยรายนี้มี myocarditis ร่วมด้วยและ CT chest พบลักษณะที่สงสัยวัณโรค เสียชีวิตเมื่อ 15 ม.ค. 2020 ที่ผ่านมา

รายที่สามยังไม่ทราบข้อมูล

ประเทศแรกที่พบผู้ป่วย 2019-nCoV นอกประเทศจีน คือประเทศไทย

ผู้ป่วยเป็นหญิงชาวจีนอายุ 61 ปี เริ่มมีอาการ ไข้ หนาวสั่น เจ็บคอ และปวดศีรษะ เมื่อ 5 มค. 2020 เธอเดินทางมาประเทศไทยพร้อมคณะทัวร์อีก 16 คนเมื่อ 8 ม.ค. 2020 โชคดีที่เครื่องตรวจจับอุณหภูมิของสนามบินสุวรรณภูมิสามารถตรวจพบไข้ในผู้ป่วยคนนี้ และเจ้าหน้าที่จึงดำเนินการตรวจเพิ่มทางห้องปฏิบัติการพบ 2019-nCoV และส่งรักษาต่อที่สถาบันบำราศนราดูร ผู้ป่วยอาศัยในเมืองอู่ฮั่น มีประวัติไปตลาดสดในเมื่องอู่ฮั่นเมื่อ 5 ม.ค. 2020 แต่ไม่ได้ไปตลาดอาหารทะเลหัวหนาน จึงน่าสงสัยว่าผู้ป่วยรับเชื้อจากที่ใด ขณะนี้ผู้ป่วยหายดีแล้ว ส่วนคณะทัวร์อีก 16 คนตรวจไม่พบเชื้อ

ผู้ป่วยรายที่สองในไทยเป็น หญิงชาวจีน อายุ 74 ปีเดินทางมาไทยเมื่อ 13 ม.ค. 2020 ที่ผ่านมา ผู้ป่วยคนนี้ไม่มีความสัมพันธ์กับผู้ป่วยคนแรกเลย การตรวจเพิ่มเติมในผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยคนที่ 2 จำนวน 20 คน ไม่พบ 2019-nCoV

ประเทศที่สองคือ ญี่ปุ่น ผู้ป่วยมีอาการระหว่างอยู่ในเมืองอู่ฮั่น แต่ไม่ได้ไปตลาดอาหารทะเลที่คิดว่าเป็นแหล่งแพร่เชื้อ เขาอาจติดเชื้อจากการใกล้ชิดกับผู้ป่วยคนอื่น ซึ่งทำให้สงสัยว่า 2019-nCoV อาจมี human to human transmission

#โดยสรุป Wuhan pneumonia นี้เกิดจากการติดเชื้อ Human coronavirus สายพันใหม่ขณะนี้เรียกว่า novel coronavirus (2019-nCoV) ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีประวัติเดินทางไปตลาดอาหารทะเลหัวหนาน เมืองอู่ฮั่น คาดว่าติดเชื้อจากการสัมผัสสัตว์ แต่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าสัตว์ชนิดใดเป็นรังโรค (reservoir) ยังไม่มีการยืนยันการติดต่อจากคนสู่คน สามารถก่อโรคปอดติดเชื้อรุนแรงโดยเฉพาะผู้ป่วยสูงอายุหรือมีโรคประจำตัว ขณะนี้มีผู้ป่วยเสียชีวิต 3 ราย จากผู้ป่วยทั้งหมด 200 กว่าราย

จะมีคนไทยติดเชื้อหรือไม่?

2019-nCoV นับเป็นโรคระบาดแรกที่สร้างความตระหนกแก่โลกในปี 2020 และยังคงต้องติดตามสถานการณ์ต่อไป แต่นี่ยังนับว่าน่ากลัวน้อยหากเทียบกับเหตุการณ์ที่ coronavirus รุ่นพี่อย่าง SAR-coronavirus และ MERS-coronavirus เคยระบาดก่อนหน้านี้

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2002 เคยมีเหตุการณ์ลักษณะคล้ายกันเกิดขึ้นที่กวางตุ้ง (Guangdong) ตอนใต้ของประเทศจีน เกิดการระบาดของโรคปอดบวมที่ไม่ทราบสาเหตุเมื่อ พ.ย. 2002 ก่อนจะระบาดไปในหลายประเทศเมื่อ มี.ค. 2003 เราเรียกโรคในขณะนั้นว่า SARS ต่อมาจึงรู้ว่าเชื้อก่อโรคคือ coronavirus เรียกสายพันธุ์นั้นว่า severe acute respiratory syndrome coronavirus (SARS-CoV) ซึ่งติดต่อจากคนสู่คนผ่านทาง droplet หรือ contact transmission

ในการระบาดครั้งนั้น มีผู้ติดเชื้อ 8096 รายจาก 29 ประเทศ เสียชีวิตถึง 774 ราย คิดเป็นอัตราตาย (case fatality rate)เกือบ 10% ผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 65 ปีมีอัตราตายสูงถึง 50% คาดว่าเริ่มแรกนั้นคนติดเชื้อจากการสัมผัสสัตว์ คือ masked palm civets (Paguma larvata) และ raccoon dog (Nyctereutes procyonoides) จากตลาดขายสัตว์เมืองเซินเจิ้น (Shenzhen) แต่สัตว์ทั้งสองน่าจะเป็นเพียง incidental host เพราะไม่พบ SARS-coronavirus ในสัตว์ดังกล่าวที่อยู่ในธรรมชาติหรือโรงเลี้ยง สัตว์ที่เป็น reservoir แท้จริงของ SARS-coronavirus คือ ค้างคาว

การระบาดครั้งนี้มีบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อจนเสียชีวิตด้วย มนุษย์นับว่ารอดจากภัยพิบัติเมื่อการระบาดสิ้นสุดลงและผู้ป่วยรายสุดท้ายถูกพบเมื่อปี 2004

ต่อมาในปี 2012 เริ่มเกิดการระบาดของ Middle East respiratory syndrome (MERS) ใน ซาอุดิอาระเบีย การตรวจเสมหะพบว่าเชื้อก่อโรคคือ betacoronavirus มีพันธุกรรมใกล้เคียงกับ Bat CoVs HKU4 และ HKU5 เรียกไวรัสชนิดใหม่ว่า MERS-CoV มีการรายงานผู้ป่วยจำนวนจากหลายประเทศในตะวันออกกลาง แต่ก็มีการติดเชื้อแพร่กระจายไปยังภูมิภาคอื่นอีกหลายประเทศ นับตั้งแต่ปี 2012 ถึง พ.ย. 2019 WHO รายงานว่ามีผู้ป่วยทั้งหมด 2494 ราย จาก 27 ประเทศทั่วโลก โดยจำนวนผู้ป่วยรายใหม่เกิดน้อยลงเรื่อย ๆ มีผู้เสียชีวิต 858 ราย คิดเป็น 34%

MERS-CoV ก็เป็นไวรัสที่ติดต่อจากสัตว์สู่คนเช่นกัน ผู้ป่วยจำนวนมากในตะวันออกกลางมีประวัติสัมผัสอูฐหนอกเดียว (dromedary camel) ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม เช่น สัมผัสสิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนด้วยสารคัดหลั่งจากอูฐ นักวิทยาศาสตร์สามารถแยกเชื้อ MERS-CoV จากอูฐเป็นการยืนยันว่าอูฐสามารถนำโรค แต่จากการวิเคราะห์ base sequence ของ MERS-CoV พบว่าคล้ายกับ Bat SARS like coronavirus มาก จึงคาดว่าค้างคาวเป็น reservoir ในธรรมชาติ ส่งผ่านเชื้อไวรัสมายังอูฐหนอกเดียว ก่อนอูฐผู้รับใช้มนุษยชาติอย่างอดทนจะนำโรคสู่คนในที่สุด

โรคระบาดร้ายแรงหลายโรคเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน หลายครั้งเกิดจากคนไปสัมผัสกับสัตว์อย่างผิดธรรมชาติ เช่น จับสัตว์ป่ามาขายหรือบริโภค รุกล้ำแหล่งที่อยู่ของสัตว์ป่า ฯลฯ

หลายคนมองว่าเป็นการล้างแค้นมนุษย์ของธรรมชาติ เราทั้งหลายไม่รู้ว่าเป็นจริงหรือไม่ และไม่รู้ว่าสัตว์ทั้งหลายรู้สึกเช่นไรต่อการล้มตายของมนุษย์ มันอาจโศกเศร้า หรือไม่รู้สึกนึกคิดอะไร หรืออาจจะสาแก่ใจอยู่ก็เป็นได้


*****************************************



Infographic Thailand   22ม.ค.2563
https://www.facebook.com/infographic.thailand/photos/a.451893141520663/2777389708970983/?type=3&theater
 
จำนวนผู้ป่วยและเสียชีวิตจากไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ เพิ่มจำนวนสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
.
- 12 ธ.ค. 2019 จีนพบผู้ป่วยจากไวรัสโคโรน่า
- 13 ม.ค. พบผู้ป่วยชาวจีนในไทยเป็นรายแรก
- 17 ม.ค. พบผู้ป่วยชาวจีนในไทยรายที่ 2
ซึ่งในสัปดาห์เดียวกัน ไทยก็ยังพบผู้ป่วยชาวไทยและชาวจีนอย่างละ 1 ราย
.
20 ม.ค. 2563 จีนยืนยันว่า ไวรัสสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้
22 ม.ค จีนเผยยอดเสียชีวิตเพิ่มเป็น 9 ราย พบติดเชื้อเกิน 400 คน
.
และปัจุบันพบผู้ป่วยในเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน และ สหรัฐอีกด้วย
.
ซึ่งองค์การอนามัยกำลังโลกเตรียมพิจารณาประกาศให้การระบาดนี้ เป็นภาวะฉุกเฉินโลก
.
ดังนั้นสำหรับใครที่จะต้องเดินทาง หรืออยู่ในที่ๆมีคนพลุกพล่าน โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลต่างๆก็ขอให้ป้องกันตัวเองกันด้วยนะครับ
#InfographicThailand #NewsUpdate
.
ขอบคุณแหล่งที่มา:
https://www.bbc.com/thai/thailand-51089461
https://www.thairath.co.th/


******************************************

แนวทางการประสานงานเมื่อพบผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวน Novel coronavirus 2019 (Patient under investigation: PUI)

https://pidst.net/A791.html?fbclid=IwAR2oS0b1ou-5oWK-TPi5rAKl4vBnXbaTnPszU3I_G9HoScAUN-7WhbiWfbI
 

 

กรณีกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

1. เมื่อพบผู้ป่วยเข้านิยาม PUI ให้เจ้าหน้าที่สถานพยาบาลต่างๆ หรือ เจ้าหน้าที่ด่านควบคุมโรคฯ ณ  สนามบิน รายงานไปยัง SAT กรมควบคุมโรค (SAT DDC) ที่เบอร์โทรศัพท์ 061-6639101   


2. เมื่อ SAT DDC รับแจ้งผู้ป่วย จะดำเนินการสอบถามข้อมูลผู้ป่วยและประวัติเสี่ยง เพื่อตรวจสอบ ยืนยันว่าเข้าเกณฑ์ผู้ป่วย PUI หรือไม่ หากเข้าตามเกณฑ์ SAT DDC จะดำเนินการ ดังนี้
 

กรณีรับแจ้งจากด่านควบคุมโรค ฯ สนามบิน

     2.1. SAT DDC โทรประสานศูนย์ refer ของสถาบันบำราศนราดูร (เบอร์โทรศัพท์ 02-5903487) เพื่อให้ศูนย์ referฯ ประสานกลับไปยังด่านฯ (ด่านสวภ. 02-134-0140/ด่านดอนเมือง 02535-4211) เตรียมการส่งต่อผู้ป่วย ทั้งนี้ หลังจากด่านฯ โทรแจ้ง SAT DDC ภายใน 30 นาที หากไม่มีใคร ติดต่อกลับให้ด่าน ฯ โทรหาสถาบันบำราศนราดูรได้โดยตรง

     2.2. SAT DDC โทรแจ้ง Operation DDC (Ops) กรมควบคุมโรค เพื่อเตรียมทีม สอบสวน และให้ สป.คม.หรือ สคร.ที่เกี่ยวข้องติดตามผู้สัมผัส (High risk) หากพบว่าเป็นผู้ป่วยยืนยัน (confirmed case) ในภายหลัง

     2.3. SAT DDC ออกรหัสผู้ป่วย* (Code case) และเลขที่หนังสือนำส่งให้แก่ทีม สอบสวนโรค (Ops)

     2.4. SAT DDC โทรแจ้ง ER ของสถาบันบำราศนราดูร (เบอร์โทรศัพท์ 025903433) หลังจากทีม Ops ประสานการส่งตัวอย่างสิ่งส่งตรวจ 
 

กรณีรับแจ้งจากสถานพยาบาลต่าง ๆ หรือสสจ.

     - ดำเนินเหมือนกับกรณีของต่างจังหวัด  
 


กรณีต่างจังหวัด

1. เมื่อพบผู้ป่วยเข้านิยาม PUI ให้เจ้าหน้าที่สถานพยาบาลต่าง ๆ หรือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือ เจ้าหน้าที่ด่านควบคุมโรคฯ ณ สนามบิน (ตามแนวทางภายในจังหวัด) รายงานไปยัง SAT กรมควบคุมโรค (SAT DDC) ที่เบอร์โทรศัพท์ 061-6639101   


2. เมื่อ SAT DDC รับแจ้งผู้ป่วย จะดำเนินการสอบถามข้อมูลผู้ป่วยและประวัติเสี่ยง เพื่อตรวจสอบ ยืนยันว่าเข้าเกณฑ์ผู้ป่วย PUI หรือไม่ หากเข้าตามเกณฑ์ SAT DDC จะดำเนินการ ดังนี้

     2.1 SAT DDC ออกรหัสผู้ป่วย (Code case) ให้แก่เจ้าหน้าที่ที่โทรมาแจ้ง PUI ทันที

     2.2 SAT DDC โทรแจ้ง สคร. และ Ops DDC กรมควบคุมโรค 


3. เจ้าหน้าที่สถานพยาบาลต่าง ๆ ให้ดำเนินการ ดังนี้

     3.1 สัมภาษณ์ผู้ป่วย PUI ด้วยแบบฟอร์มสอบสวน Novel Coronavirus 1   

     3.2 ถ่ายรูปภาพถ่ายรังสีทรวงอก   

     3.3 เก็บตัวอย่างสิ่งส่งตรวจตามแนวทางการเก็บตัวอย่าง และเขียนใบนำส่ง โดยให้ระบุรหัส ผู้ป่วย (Code case) แทนการเขียนชื่อและนามสกุล

     3.4 ให้ใส่ใบนำส่งตัวอย่างมาในกล่องตัวอย่างด้วย พร้อมแบบฟอร์มสอบสวน Novel Coronavirus 1   

     3.5 ก่อนการส่งตัวอย่างต้องแจ้ง สคร.ทราบทุกครั้ง เพื่อขอเลขที่หนังสือนำส่งตัวอย่าง และส่ง แบบฟอร์ม Novel Coronavirus 1 พร้อมภาพถ่ายรังสีทรวงอก (ถ้ามี) ทาง E-mail: viralpneumoniasat@ddc.mail.go.th


4. สคร. เมื่อได้รับแจ้งผู้ป่วย PUI จาก SAT DDC ให้ติดต่อกลับไปยังเจ้าหน้าที่ผู้แจ้ง PUI เพื่อประสาน การลงพื้นที่สอบสวน เก็บตัวอย่างสิ่งส่งตรวจ และการนำส่งตัวอย่าง โดยสามารถบริหารจัดการตามระบบภายใน พื้นที่   

     4.1 แจ้งเลขที่หนังสือนำส่งตัวอย่างให้แก่เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลหรือสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดที่เป็นผู้นำส่งตัวอย่าง 

     4.2 แจ้ง SAT DDC เมื่อมีการส่งตัวอย่างออกจากพื้นที่ เพื่อให้ SAT DDC แจ้งแก่ห้องปฏิบัติการ สถาบันบำราศนราดูรเพื่อเตรียมการรับตัวอย่างต่อไป


5. ทีม Ops DDC เมื่อได้รับแจ้งจาก SAT DDC ให้พิจารณาดำเนินการลงพื้นที่สอบสวนโรคตามเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ 

     5.1 เป็นผู้ป่วยอาการรุนแรง ได้แก่ ปอดบวม ปอดอักเสบ 

     5.2 หาเชื้อสาเหตุไม่ได้ หรือ ให้ผลลบแก่เชื้อไวรัส Rp33 ร่วมกับผล CBC เข้าได้กับเชื้อไวรัส 

     5.3 เป็นกลุ่มผู้สัมผัส (High risk + Low risk) ของผู้ป่วยเข้าข่ายหรือผู้ป่วยยืนยัน ที่มีอาการเข้า ได้กับนิยามผู้ป่วย PUI ในช่วง 14 วันหลังสัมผัสผู้ป่วยยืนยันครั้งสุดท้าย 

     5.4 กรณีที่เข้ารับการรักษาในสถาบันบำราศนราดูรทุกราย  
 


หมายเหตุ
รหัสผู้ป่วย* (Code case) หรอืรหัสผู้สัมผัส (Code contact) ใช้แทนชื่อผู้ป่วย PUI หรือผู้สัมผัสที่ถูกเก็บ ตัวอย่างส่งตรวจ ลักษณะเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษผสมตัวเลข จำนวน 9-10 หลัก  


กรณีต้องการปรึกษา ติดต่อ 

เรื่อง การแจ้งผู้ป่วย PUI, ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการของผู้ป่วย PUI  ติดต่อ  SAT DDC 

     ❑  เบอร์กลาง 061-663-9101

     ❑  หน.กลุ่มภารกิจฯโทร 061-549-5938 เรื่อง การสอบสวนโรค, การติดตามผู้สัมผัส, และ การส่งตัวอย่างผู้สัมผัส ติดต่อ Operations DDC 

     ❑  เบอร์กลาง 061-663-9232  เรื่อง การดูแลรักษาผู้ป่วย ติดต่อ Case Management 

     ❑  ผู้ป่วยผู้ใหญ่  นพ.วีรวัฒน์ มโนสุทธิ 064-586-5111

     ❑ ผู้ป่วยเด็ก  พญ. จุไร วงศ์สวัสดิ์  081-826-2661

 

 

ไฟล์แนบบทความ
 Download [239 kb]

**********************************************





📌อาการและวิธีป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา
https://www.facebook.com/ThaiPBSFan/photos/a.348532055084/10163300085865085/









ในเวลาที่แอลกอฮอลล์เจลขาดตลาด และราคาพุ่งไปไกล มากๆ เภสัชขอนำเสนออีกทางเลือกหนึ่งตามWHO guidelines 2009 คือการใช้แอลกอฮอลล์60-80% มาถูมือค่ะ เนื่องจากแอลกอฮอลล์ในความเข้มข้นดังกล่าวสามารถฆ่าไวรัสได้ดีมากๆค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการนำมาถูที่มือหรือสเปรย์ลงบนพื้นผิวที่สงสัยว่าอาจปนเปื้อนละอองน้ำมูก หรือน้ำลายจากผู้ป่วย ซึ่งโคโรนาไวรัสเป็นไวรัสกลุ่มที่มีเปลือกหุ้ม (enveloped virus) ซึ่งไวต่อแอลกอฮอลล์มากๆ ตามตารางในรูปเลย วิธีถูมือด้วยแอลกอฮอลล์ก็มีมาให้แล้วค่ะ
นอกจากปิดหน้ากากอนามัยแล้ว การล้างมือบ่อยๆก็สามารถลดความเสี่ยงต่อการรับเชื้อโรคต่างๆอีกด้วยนะคะ

อ้างอิง
WHO Guidelines on Hand Hygiene in Health Care: a Summary, 2009

#แสงทองเภสัชหาดใหญ่
#โคโรนาไวรัส
#แอลกอฮอลล์ถูมือ

https://www.facebook.com/HatyaiPharmacy/photos/a.1999990180285224/2586813884936181/?type=3&theater

แถม ...
ข้อมูลสำคัญ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 และ สถานการณ์ล่าสุด ... แถม เวบน่าสนใจ    
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=25-11-2009&group=4&gblog=79
จากไข้หวัดใหญ่ MEXICO ถึงไข้หวัดใหญ่ 2009 .... บทเรียนสาธารณสุขไทย     
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=21-05-2009&group=4&gblog=76
ไวรัส อีโบล่า EBOLA ... ระบบเฝ้าระวัง ของบ้านเรา ห่วยจริงหรือ ?     
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=25-11-2014&group=4&gblog=105
ไวรัสโคโรนา2012 (MERS , เมอร์ส) นำมาฝาก (ไม่ได้เขียนเอง ^_^)    
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=19-06-2015&group=4&gblog=110

    













****************************************




เปิดราคาค่าตรวจโควิด-19 กลุ่นไหนฟรี-กลุ่มไหนต้องจ่าย

ผู้มีความเสี่ยงตามเงื่อนไข สามารถเข้ารับการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ฟรี ส่วนผู้ไม่มีความเสี่ยง แต่ต้องการตรวจหาเชื้อ ต้องจ่ายค่าตรวจเอง ในโรงพยาบาลที่ให้บริการ

วันนี้ (15 มี.ค.63) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ล่าสุดมีผู้ป่วยในไทย 82 ราย ขณะที่ ในประเทศไทยมีโรงพยาบาลที่ให้บริการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19
โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่จะต้องเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงเข้าข่าย ตามเงื่อนไขดังนี้

1. มีไข้หรือวัดอุณหภูมิร่างกายได้ตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป ร่วมกับมีอาการทางระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หายใจเร็ว หรือหายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบาก

2. มีประวัติเดินทางไปหรือกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยง หรืออาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีการรายงานการระบาดของโรค ติดเชื้อเชื้อไวรัสโควิด-19

3. มีประวัติใกล้ชิดกับนักท่องเที่ยวที่มาจากพื้นที่ที่มีการรายงานการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

4. มีประวัติใกล้ชิดหรือสัมผัสกับผู้ป่วยที่ยืนยันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19

5. เป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสกับผู้ป่วยสงสัยโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19


ขณะที่ ผู้ไม่มีความเสี่ยงเข้าข่ายตามเงื่อนไขดังกล่าว แต่มีความประสงค์ต้องการตรวจหาเชื้อ จะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง
สำหรับรายชื่อโรงพยาบาลที่ให้บริการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 และราคาสำหรับผู้ที่ไม่เข้าเกณฑ์ เช่น

- โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ผู้ที่ไม่เข้าเกณฑ์ เสียค่าใช้จ่าย ราคา 3,000 – 6,000 บาท

- โรงพยาบาลราชวิถีผู้ที่ไม่เข้าเกณฑ์ เสียค่าใช้จ่าย ราคา 3,000 – 6,000 บาท

- โรงพยาบาลรามาธิบดีผู้ที่ไม่เข้าเกณฑ์ เสียค่าใช้จ่าย ราคา 5,000 บาทขึ้นไป

- โรงพยาบาลพญาไท 2 ผู้ที่ไม่เข้าเกณฑ์ เสียค่าใช้จ่าย ราคาประมาณ 6,100 บาท,

- โรงพยาบาลแพทย์รังสิต ผู้ที่ไม่เข้าเกณฑ์ เสียค่าใช้จ่าย ราคาประมาณ 8,000 บาท

- สถาบันบำราศนราดูร ผู้ที่ไม่เข้าเกณฑ์ เสียค่าใช้จ่าย ราคาประมาณ 2,500 บาท

- โรงพยาบาลพระราม 9 ผู้ที่ไม่เข้าเกณฑ์ เสียค่าใช้จ่าย 8,000 – 10,000 บาท

- โรงพยาบาลเปาโลเมโมเรียล พระประแดง ผู้ที่ไม่เข้าเกณฑ์ เสียค่าใช้จ่าย ราคา 5,000 บาทขึ้นไป

ดูข่าวต้นฉบับ
https://today.line.me/TH/pc/article/เปิดราคาค่าตรวจโควิด+19+กลุ่นไหนฟรี+กลุ่มไหนต้องจ่าย-Zn8KrO?utm_source=likeshare

*******************************


 




 

Create Date : 21 มกราคม 2563   
Last Update : 15 มีนาคม 2563 19:54:59 น.   
Counter : 8358 Pageviews.  

ผลิตภัณฑ์พลาสติกกับอาหาร ที่มา ภญ.กิตติมา วัฒนากมลกุล Smart Consumer




ผลิตภัณฑ์พลาสติกกับอาหาร

ปัจจุบันผลิตภัณฑ์พลาสติกกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะในรูปแบบของใช้ในบ้าน เครื่องนุ่งห่ม วัสดุทางการแพทย์ วัสดุอาคาร รวมไปถึงการใช้เพื่อบรรจุอาหาร

โดยผลิตภัณฑ์พลาสติกสามารถแบ่งตามชนิดของพลาสติกได้เป็น 7 ชนิด มีการแสดงไว้บนผลิตภัณฑ์เพื่อช่วยในเรื่องการคัดแยกพลาสติกสำหรับการรีไซเคิล ลักษณะสัญลักษณ์คือ ลูกศรวิ่งวนเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า มีเลขกำกับอยู่ภายใน และมีตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ฐานของสามเหลี่ยม ซึ่งเรียกว่า “รหัสพลาสติก” กำหนดโดย NA Society of the Plastics Industry ในปี ค.ศ. 1988

รายละเอียดของผลิตภัณฑ์พลาสติกแต่ละชนิด

1. พลาสติกโพลีเอทิลีนเทอพาทาเลท (Polyethylene terephthalate) หรือที่เรียกกันโดยย่อว่า เพท (PET) แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีเนื้อใส (A-PET) และกลุ่มที่เป็นผลึกสีขาว (C-PET)

2. พลาสติกโพลีเอทิลีนชนิดความหนาแน่นสูง (High density polyethylene, HDPE)

3. พลาสติกโพลีไวนิลคลอไรด์ (Polyvinyl chloride) หรือที่เรียกกันว่า พีวีซี (PVC)

4. พลาสติกโพลีเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ (Low density polyethylene, LDPE)

5. พลาสติกโพลีโพรพิลีน (Polypropylene, PP)

6. พลาสติกโพลีสไตรีน (Polystyrene, PS) หรือที่เรียกกันว่า โฟม

7. พลาสติกชนิดอื่นๆ เช่น โพลีคาร์บอนเนต (Polycarbonate, PC)

พลาสติกเกือบทุกชนิดก่อปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากกระบวนการผลิตมีการปล่อยสารพิษเข้าไปในอากาศและน้ำทำให้เกิดภาวะมลพิษ ในกระบวนการรีไซเคิลต้องมีการเพิ่มวัตถุดิบหรือต้นทุนด้านอื่น ๆ อีกด้วย ในขณะที่หากนำไปย่อยสลายจะทำได้ยากด้วยวิธีฝังกลบ ส่วนการเผาขยะพลาสติกชนิดพีวีซี จะเป็นตัวก่อให้เกิดสารไดออกซิน ยกเว้นต้องใช้เตาเผาอุณหภูมิสูงถึง 1300 องศาเซลเซียส

จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่า การใช้พลาสติกควรเลือกให้เหมาะสมกับคุณสมบัติของพลาสติกชนิดนั้น ๆ เพื่อลดอันตายที่อาจเกิดขึ้นได้ และที่สำคัญคือควรใช้เท่าที่จำเป็น เลือกใช้วัสดุอื่นที่สามารถทดแทนได้ ตัวอย่างเช่น แก้ว หรือ ถุงพลาสติกชีวภาพ เพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมของเราด้วย

ที่มา ภญ.กิตติมา วัฒนากมลกุล. ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. ผลิตภัณฑ์พลาสติกกับอาหาร. บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน.2555. [อินเทอเน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 17 ธ.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/86/ผลิตภัณฑ์พลาสติกกับอาหาร/

===============
#Smartแน่แค่followเรา
FB: Smart Consumer
Line: @smartconsumer
IG/twitter: @smart_consumer4

แอดไลน์ Smart Consumer ง่ายๆ เพียงแค่ คลิกลิงค์ นี้ แล้วกดเพิ่มเพื่อนด้วยนะคะ https://line.me/R/ti/p/%40smartconsumer

Smart Consumer
https://www.facebook.com/smartconsumer4.0/photos/a.332188787193559/791702381242195/?type=3&theater





 




 

Create Date : 18 ธันวาคม 2562   
Last Update : 18 ธันวาคม 2562 21:23:25 น.   
Counter : 2749 Pageviews.  

เฝ้าระวังศีรษะกระแทก 72 ชั่วโมง สำหรับผู้ได้รรับการบาดเจ็บที่ศีรษะ




เฝ้าระวังศีรษะกระแทก 72 ชั่วโมง (Head Crash)

การที่ศีรษะได้รับความกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงอาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อสมองได้ ในกรณีที่ศีรษะบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยและได้รับการรักษาเบื้องต้นแล้ว แพทย์จะอนุญาตให้ผู้ป่วยกลับบ้านได้โดยยังต้องสังเกตอาการอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 72 ชั่วโมง เนื่องจากอาการบาดเจ็บที่มีต่อสมองส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นได้ทันที และภายใน 72 ชั่วโมง หรืออาจเกิดขึ้นได้หลัง 72 ชั่วโมงไปแล้ว

อาการที่มักพบจากการได้รับการบาดเจ็บที่ศีรษะ
1.บาดแผลที่หนังศีรษะ
2.กะโหลกศีรษะแตกร้าวหรือหรือยุบ
3.สมองกระทบกระเทือน
4.สมองซ้ำ
5.เลือดคั่งในสมอง

อาการผิดปกติที่พบได้บ่อย ที่บ่งชี้ว่าผู้ป่วยควรกลับไปพบแพทย์
1.ง่วงซึมมากกว่าปกติ นอนนาน ปลุกไม่ตื่น ไม่รู้ตัว หรือ หมดสติ
2.กระสับกระส่ายมาก พูดลำบาก
3.ชัก หรือเกร็งกระตุก
4.ชา หรือกำลังแขนขา ลดน้อยลงกว่าเดิม
5.ตาพร่ามัว มองเห็นไม่ชัดเจน หรือมองเห็นเป็นภาพซ้อน
6.ชีพจรเต้นช้ามาก
7.มีไข้สูง ปวดตุบๆ ในลูกตา
8.อาเจียนพุ่ง หรืออาเจียนรุนแรง
9.ปวดศีรษะอย่างรุนแรง โดยไม่ทุเลา
10.มีน้ำใส หรือน้ำใสปนเลือด ออกจากหู จมูก หรือไหลลงคอ
11.ปวดต้นคอ ขยับคอลำบาก

คำแนะนำการปฏิบัติตัวผู้ป่วยที่ได้รับการบาดเจ็บที่ศีรษะ
1.งดออกกำลังกายทุกชนิดที่มีการกระแทก เช่น ฟุตบอล วอลลเล่ย์บอล แบดมินตัน เทนนิส เป็นเวลาอย่างน้อย 3 สัปดาห์ หรือปรึกษาแพทย์หากไม่ทราบ
2.หลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ อย่างน้อย 24 ชั่วโมง
3.งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
4.งดใช้ยาทุกชนิดที่ทำให้มีอาการง่วงซึม เช่น ยานอนหลับ ยาระงับปวดรุนแรง นอกเหนือจากแพทย์สั่ง หรือปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนรับประทานยาใดๆ
5.ผู้ป่วยควรมีผู้ดูแล ที่สามารถสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ภายหลัง 24 ชั่วโมงแรก โดยประเมินความรู้สึกตัวของผู้ป่วยว่าเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ทุก 2-4 ชั่วโมง หลังจากที่ได้รับการอนุญาตให้ไปพักรักษาตัวที่บ้าน
6.หากมีอาการบวมบริเวณที่บาดเจ็บให้ประคบด้วยความเย็น ถ้าไม่ยุบบวม หรือ บวมมากขึ้นกว่าเดิมให้กลับมาพบแพทย์
.
ขอขอบคุณข้อมูลจาก คลินิกผู้ป่วยฉุกเฉิน โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์. เฝ้าระวังศีรษะกระแทก 72 ชั่วโมง (Head Crash). [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 18 พ.ย. 2562]. เข้าถึงได้จาก https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/600
.



ที่มา FB @ Smart Consumer

https://www.facebook.com/smartconsumer4.0/photos/a.332188787193559/768123626933404/?type=3&theater


**********************************************






 




 

Create Date : 26 พฤศจิกายน 2562   
Last Update : 29 พฤศจิกายน 2562 15:01:20 น.   
Counter : 4044 Pageviews.  

หอมแก้ม จับแก้ม เด็ก ... เด็ก ก็ ติดโรค ได้นะ ( เรื่องเด็กๆ by หมอแอม )


โรคระบาด ที่มากับการหอมแก้ม

ทำไมมีคนว่าแม่หวงลูกเกินไปมั้ย? ไม่ให้หอมไม่ให้อุ้มเลยหรอ?

ช่วงนี้ ทั้งโรคมือเท้าปาก เฮอร์แปงไจน่า ไข้หวัดใหญ่ RSV ระบาดหนักมาก คุณแม่หลายคนถามหมอว่า ลูกติดมาได้ยังไง ทั้งที่บางคนไม่ค่อยได้ออกนอกบ้านไปไหนเลยด้วยซ้ำ

โรคมือเท้าปาก เฮอร์แปง ไข้หวัดทั้งหวัดใหญ่หวัดธรรมดา และ RSV ติดต่อกันทางน้ำมูก น้ำลายค่ะ 🤧

บางคนจะติดจากเพื่อนที่โรงเรียน

บางคนนอนอยู่บ้าน ยังไม่ไปโรงเรียน อาจมีพี่ไปโรงเรียน กลับมาบ้านไม่ล้างมือ ไม่เปลี่ยนชุด มาหอมน้องอุ้มน้อง น้องก็ติดโรค 😷ไม่สบายได้ค่ะ

ขณะที่บางคนติดจากผู้ใหญ่อย่างเรา เช่น

-พาไปเดินเล่นในที่คนเยอะๆแออัด เช่นบางห้าง ตลาดนัด ที่ชุมชน คนข้างๆจามชิ่วมา1ที 🤧ลูกเราสูดละอองที่เค้าจามมา ..ซู้ดดด .. เชื้อเข้าปอดเรียบร้อยเลยค่ะ

-บางคนออกไปข้างนอกบ้าน เช่น ห้าง รพ หรือที่ทำงาน กลับมาบ้านก็มีเชื้อโรคติดตัว ติดมือมาด้วย
หลายครั้งผู้ใหญ่ไม่มีอาการ เพราะภูมิแข็งแรงกว่า แต่คนที่แย่คือลูกน้อยค่ะ เนื่องจากภูมิคุ้มกันเด็กเล็กยังไม่แข็งแรงเท่าเรา จึงป่วยง่ายกว่า

-เวลาเพื่อนๆที่ไปเยี่ยม โดยเฉพาะคุณแม่หลังคลอด เพื่อนๆมักจะมาขออุ้ม กอด หอม จุ๊บเบบี๋ .. ช่วงนี้เชื้อโรคเยอะมาก ทางที่ดีหลีกเลี่ยงการจูบ/หอม/อุ้มดีกว่าค่ะ เพราะเราไม่มีทางรู้เลยว่าใครป่วยไม่ป่วย หรือใครมีเชื้อโรคในน้ำลายเค้าบ้าง ถ้าเลี่ยงไม่ได้จริงๆล้างมือก่อนอุ้มก็ยังดีค่ะ เพราะเด็กแรกเกิดนี้ ภูมิคุ้มกันต่ำสุดแล้วค่ะ

-การสูบบุหรี่ในบ้าน แม้จะไม่ได้สูบให้เด็กดมโดยตรง แต่ก็ทิ้งสารพิษในบหรี่ไว้กับบ้าน ผ้าม่าน โซฟา พื้นต่างๆได้หมด รวมถึงในลมหายใจเจ้าตัวคนสูบด้วยค่ะ เมื่อไปกอดลูก หรือลูกไปเล่นบนโซฟาตัวนั้น ก็เหมือนได้รับสารพิษในบุหรี่ทางอ้อมได้ ทำให้เด็กป่วยง่าย โดยเฉพาะโรคทางเดินหายใจเช่น ปอด และเป็นทีก็เป็นรุนแรงมากขึ้นได้นะคะ

ตบท้ายด้วยของฝาก💝 วันนี้มีงานวิจัยมาเล่าให้ฟังค่ะ

มีมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา เค้าไปเก็บเชื้อโรคจากจุดต่างๆในห้องน้ำมา36จุด เช่น ลูกบิดประตู ชักโครก ก๊อกน้ำ ฯลฯ เพื่อดูว่าตรงไหนในห้องน้ำที่เชื้อโรคเยอะที่สุด

เป็นหมอคงเดาว่า ที่ชักโครก ไม่ก็ ลูกบิดประตูค่ะ (เพราะคนเข้าออก ต้องจับลูกบิดกันเยอะแน่ๆ)

แต่..ผิดค่ะ 🙅‍♀️🙅‍♀️🙅‍♀️

เชื่อไหมคะว่า ตำแหน่งที่เค้าพบเชื้อโรคเยอะที่สุดคือ "เครื่องเป่าลมร้อน"(ที่เป่ามือให้แห้ง) 🤷‍♀️

สาเหตุเพราะเครื่องนี้ต้องดูดลมเข้าไปทุกวันๆ ลมที่ว่าก็มาจากอากาศในห้องน้ำที่เต็มไปด้วยเชื้อโรค ทำให้เชื้อโรคเข้าไปสะสมในเครื่องทุกวันๆ

ไม่น่าเชื่อเลย เชื้อโรคอยู่รอบตัวเราจริงๆ ต้องระวังโดยเฉพาะช่วงที่โรคระบาดหนักแบบนี้นะคะ

คราวหน้าถ้าไปเยี่ยมเพื่อนหลังคลอด ซื้อของไปฝากก็พอค่ะ # ไม่อุ้มไม่จุ๊บเนาะ # ไม่ใช่ว่าไม่รัก แต่รักและห่วงใยจึงไม่อยากให้ป่วยนะคะ

# รักนะ แต่ไม่แสดงออก😊

# อยากเป็นกระบอกเสียงช่วยแม่ๆอีกแรงหนึ่ง ไม่ใช่แม่หวงลูกเกินจริงๆนะจ๊ะ

ปล. บ้านหมอ เวลาอุ้มเจ้าตัวเล็กออกไปข้างนอก ชอบมีคนมาจับมือจับแก้มเหมือนกันค่ะ บ้านหมอใช้วิธีนี้.. พอคนนั้นคล้อยหลังปุ๊บ รีบเอาทิชชู่เปียกแบบมีแอลกอฮอลล์เช็ดเลยค่ะ 🤣🤣 ใครว่าเว่อร์ เราไม่สน ลูกป่วยก็เราต้องดูแลนิหน่า .. เนาะ ❤

พญ. พรนิภา ศรีประเสริฐ
#เรื่องเด็กๆbyหมอแอม

ที่มา เฟสบุ๊ก เรื่องเด็กๆ by หมอแอม
https://www.facebook.com/storyofkid/photos/a.2320110811414750/2422074474551716/?type=3&theater

 




 

Create Date : 11 ตุลาคม 2562   
Last Update : 11 ตุลาคม 2562 14:31:53 น.   
Counter : 3372 Pageviews.  

วัณโรค สถานการณ์ของไทยยังรุนแรง พบผู้ป่วยรายใหม่-กลับเป็นซ้ำปีละกว่า 7 หมื่นราย

สถานการณ์วัณโรคของไทยยังรุนแรง พบผู้ป่วยรายใหม่-กลับเป็นซ้ำปีละกว่า 7 หมื่นราย

ในปี พ.ศ. 2558 องค์การสหประชาชาติ ได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (sustainable development goals : SDGs) ที่จะบรรลุในอีก 15 ปี (พ.ศ. 2573) โดยหนึ่งในเป้าหมายนั้นคือ การยุติการแพร่ระบาดของวัณโรคขนาดปัญหาและผลการควบคุมวัณโรค จากรายงานวัณโรคของโลกปี พ.ศ. 2560 (global tuberculosis report 2017) โดยองค์การอนามัยโลก คาดประมาณอุบัติการณ์ผู้ป่วยวัณโรค (รายใหม่และกลับเป็นซ้ำ) ของโลก สูงถึง 10.4 ล้านคน (140 ต่อแสนประชากร) มีจำนวนผู้ป่วยวัณโรคเสียชีวิตสูงถึง 1.7 ล้านคน

สำหรับจำนวนผู้ป่วยวัณโรคที่ติดเชื้อเอชไอวี 1.03 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 10 ของผู้ป่วยวัณโรคทั้งหมดโดยเสียชีวิตปีละ 0.4 ล้านคน

สำหรับจำนวนผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา RR/MDR-TB คาดว่าจะมี 6 แสนคน โดยพบได้ ร้อยละ 4.1 ของผู้ป่วยใหม่ และร้อยละ 19 ของผู้ป่วยที่เคยรักษามาก่อน ในจำนวนนี้เป็น MDR-TB 4.9 แสนคน

สถานการณ์วัณโรคของประเทศไทย

วัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย องค์การอนามัยโลกจัดให้ประเทศไทยเป็น 1 ใน 14 ประเทศของโลกที่มีภาระวัณโรค วัณโรคที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี และวัณโรคดื้อยาหลายขนานสูง จากการคาดประมาณขององค์การอนามัยโลก ปี 2559 ประเทศไทยมีอุบัติการณ์ผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับมาเป็นซ้ำ 119,000 ราย ผู้ป่วยวัณโรคที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี 10,000 ราย และผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา RR/MDR-TB 4,700 ราย สำนักวัณโรครายงานผลการดำเนินงานวัณโรคของประเทศไทยปี 2559 พบว่ามีผู้ป่วยขึ้นทะเบียนรักษาวัณโรค (ผู้ป่วยรายใหม่และกลับเป็นซ้ำ) 70,114 ราย ผู้ป่วยวัณโรคที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี 6,794 ราย ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 11 ของผู้ที่ได้รับการตรวจเชื้อเอชไอวี วัณโรคดื้อยาหลายขนาน 955 ราย และวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก 13 ราย โดยมีผลสำเร็จการรักษาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับเป็นซ้ำร้อยละ 82.9

ข้อมูลวัณโรค โดยสำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค

วัณโรค (Tuberculosis หรือ TB) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium tuberculosis จัดอยู่ในกลุ่ม Mycobacterium tuberculosis complex วัณโรคเกิดได้ในทุกอวัยวะของร่างกาย ส่วนใหญ่มักเกิดที่ปอด (ร้อยละ 80) ซึ่งสามารถแพร่เชื้อได้ง่าย วัณโรคนอกปอดอาจพบได้ในอวัยวะอื่นๆ ได้แก่ เยื่อหุ้มปอด ต่อมน้ำเหลือง กระดูกสันหลัง ข้อต่อ ช่องท้อง ระบบทางเดินปัสสาวะ ระบบสืบพันธุ์ ระบบประสาท เป็นต้น

การแพร่กระจายเชื้อวัณโรค

วัณโรคเป็นโรคติดต่อจากคนสู่คนผ่านทางอากาศ (airborne transmission) โดยเมื่อผู้ป่วยวัณโรคปอด หลอดลม หรือกล่องเสียง ไอ จาม พูดดังๆ ตะโกน หัวเราะหรือร้องเพลง ทำให้เกิดละอองฝอย (droplet nuclei) ฟุ้งกระจายออกมา ละอองฝอยที่มีขนาดใหญ่มากจะตกลงสู่พื้นดินและแห้งไป ละอองฝอยที่มีขนาดเล็ก 1 - 5ไมโครเมตร จะลอยและกระจายอยู่ในอากาศ ซึ่งผู้อื่นสูดหายใจเอาละอองฝอยที่มีเชื้อวัณโรคเข้าไปอนุภาคขนาดใหญ่จะติดอยู่ที่จมูกหรือลำคอ ซึ่งมักไม่ก่อให้เกิดโรค แต่อนุภาคขนาดเล็กๆ จะเข้าไปสู่ถุงลมในปอด

การติดเชื้อและการป่วยเป็นวัณโรค (TB infection and TB disease)

การติดเชื้อวัณโรค (TB infection) เกิดขึ้นเมื่อสูดหายใจเอาเชื้อวัณโรคเข้าไปถึงถุงลมในปอด เชื้อมีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนขึ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานโดยmacrophageล้อมเชื้อไว้กรณีmacrophage ไม่สามารถควบคุมเชื้อได้อย่างสมบูรณ์ทำให้มีรอยโรคในเนื้อปอดเรียกว่า primary focus หรือ Ghon’s focus มักพบบริเวณตรงกลาง (mid-zone) ซึ่งเป็นส่วนล่างของปอดกลีบบนหรือส่วนบนของปอดกลีบล่าง

ส่วนมากมักจะเป็นแห่งเดียว แต่อาจพบหลายแห่งได้ถ้าเชื้อวัณโรคแบ่งตัวในเนื้อปอดมากขึ้นอาจลุกลามไปตามหลอดน้ำเหลือง (lymphatic vessels) ไปสู่ต่อมน้ำเหลืองที่ขั้วปอด (hilar lymph node) ทำให้ต่อมน้ำเหลืองโตขึ้น สำหรับ primary focus และต่อมน้ำเหลืองที่โตขึ้นรวมเรียกว่า primary complex เชื้อจะสามารถเข้าสู่ระบบน้ำเหลือง เข้ากระแสเลือดและกระจายสู่อวัยวะต่างๆ เช่น สมอง กระดูก ไต ปอด เป็นต้น ผู้สัมผัสผู้ป่วยวัณโรค ประมาณร้อยละ 70 จะไม่ติดเชื้อวัณโรค มีเพียงประมาณร้อยละ 30 ที่ติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงโดยทั่วไปหลังติดเชื้อวัณโรค เชื้อจะไม่ลุกลามจนทำให้ป่วยเป็นโรค แม้เชื้อบางตัวยังคง มีชีวิตแต่สงบอยู่ใน scarred foci ของอวัยวะต่างๆ คนส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 90 จะไม่มีอาการผิดปกติใดๆ เลยตลอดชีวิต ซึ่งไม่ป่วยเป็นวัณโรค และไม่สามารถแพร่กระจายเชื้อให้ผู้อื่นได้ มีเพียงประมาณร้อยละ 10 ของวัณโรคระยะแฝงเท่านั้นที่จะป่วยเป็นวัณโรค โดยครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 5 จะป่วยเป็นวัณโรคภายใน 2 ปี ที่เหลืออีกร้อยละ 5 จะป่วยเป็นวัณโรคหลังจาก 2 ปีที่ติดเชื้อ เช่น ผู้ป่วยสูงอายุที่มีประวัติสัมผัสวัณโรคมานาน โดยธรรมชาติของวัณโรคผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษา ร้อยละ 50-65 จะเสียชีวิตภายใน 5 ปี

ผู้ป่วยวัณโรค (TB disease)

คือผู้ที่ติดเชื้อวัณโรคและภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่สามารถจัดการทำลายเชื้อได้ หรือเป็นผลหลังจากการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงมาแล้วหลายปี ผู้ป่วยวัณโรคจะมีอาการและอาการแสดงของวัณโรค เช่น ไอเรื้อรังมากกว่า 2 สัปดาห์ เจ็บหน้าอก ไอมีเลือดหรือเสมหะปน น้ำหนักลด ไข้ เหงื่อออกผิดปกติตอนกลางคืนอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร เป็นต้น โดยผู้ป่วยจะสามารถแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ผ่านระบบทางเดินหายใจจากการพูด คุย หรือจาม ของเหลวในร่างกายหรือเนื้อเยื่อในตำแหน่งที่เป็นโรคสามารถเก็บส่งตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการได้โดยวิธี acid fast bacilli smear (AFB smear) หรือวิธีเพาะเลี้ยงเชื้อ (culture) หากผลเป็นบวกจะยืนยันการวินิจฉัยว่าเป็น TB disease

วัณโรคเป็นได้ทุกอวัยวะ แต่ที่พบมากที่สุดคือที่ปอด (pulmonary TB) ได้ ประมาณร้อยละ 80 ของวัณโรคทั้งหมด รวมถึง endobronchial tree และสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น พยาธิสภาพในเนื้อปอด จากขนาดเล็กๆ และค่อยๆ ใหญ่ขึ้นได้ และอาจทำให้เกิดแผลโพรงในปอด ถ้ามีการทำลายเนื้อปอดมากขึ้นอาจจะทำลายเนื้อปอดรวมถึงเส้นเลือดในปอด ทำให้เกิดอาการไอเป็นเลือด แต่ถ้าภูมิต้านทานร่างกายดีแผลในปอดอาจจะหาย หรือเกิดแผลเป็นหลงเหลืออยู่ก็ได้

วัณโรคนอกปอด (extrapulmonary TB) พบได้ประมาณร้อยละ 20 แต่ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีร่วมด้วยสัดส่วนของวัณโรคนอกปอดมักจะพบมากขึ้น อวัยวะที่พบบ่อย ได้แก่ ต่อมน้ำเหลือง (พบมากที่สุด)กระดูก (มักพบที่กระดูกสันหลัง) เยื่อหุ้มปอด ระบบทางเดินปัสสาวะ ลำไส้ เยื่อหุ้มสมอง เยื่อหุ้มหัวใจ ผิวหนัง

อาการและอาการแสดงของวัณโรคปอดและนอกปอดผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อยโดยเฉพาะในระยะเริ่มแรกของโรค อย่างไรก็ตาม ควรให้คำแนะนำสำหรับประชากรทั่วไปว่าถ้ามีอาการไอ เกิน 2 สัปดาห์ ควรไปตรวจหาวัณโรค สำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี ควรไปตรวจเร็วขึ้นเมื่อมีอาการไอผิดปกติ ส่วนอาการและอาการแสดงอื่นๆ ที่อาจจะพบร่วมด้วย ได้แก่ ไข้ เหงื่อออกกลางคืนเบื่ออาหาร น้ำหนักลด เหนื่อยหอบ ส่วนอาการของวัณโรคนอกปอดขึ้นกับว่าเป็นที่อวัยวะใด

วัณโรคในเด็ก

วัณโรคในเด็กมีความสำคัญทางด้านสาธารณสุขของทุกประเทศ เพราะเป็นโรคที่มีความรุนแรงสูงและมีอัตราความพิการหรือเสียชีวิตสูง อุบัติการณ์ของวัณโรคในเด็กแปรผันตามอุบัติการณ์ของวัณโรคในผู้ใหญ่เพราะเด็กที่ป่วยเป็นวัณโรคน่าจะได้รับเชื้อโดยการติดต่อจากผู้ใหญ่ในบ้านที่ป่วยเป็นวัณโรค (source case) ที่มีการสัมผัสใกล้ชิด เด็กมักจะป่วยเป็นวัณโรคภายหลังได้รับเชื้อภายใน 1 ปี ปัจจัยที่ทำให้มีการแพร่ระบาดของวัณโรคในเด็กมากขึ้นเกิดจาก ภาวะการติดเชื้อเอชไอวี ครอบครัวฐานะความยากจน ด้อยโอกาส อยู่ในชุมชนแออัด ขาดสารอาหาร เด็กที่ติดเชื้อวัณโรคหรืออยู่ในพื้นที่ที่มีความชุกของวัณโรคสูงก็มีโอกาสป่วยเป็นวัณโรคได้ถึงแม้ว่าจะได้รับวัคซีนบีซีจีแล้วก็ตาม

วัณโรคร่วมกับการติดเชื้อเอชไอวี

การติดเชื้อเอชไอวี ทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายลดลง เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ติดเชื้อมีโอกาสเสี่ยงต่อการป่วยเป็นวัณโรคมากกว่าคนที่มีภูมิคุ้มกันปกติ ประมาณ 20-30 เท่า โดยพบว่า ผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีความเสี่ยงตลอดช่วงชีวิต (life time risk) ต่อการป่วยเป็นวัณโรค ร้อยละ 50 แต่ผู้ไม่ติดเชื้อเอชไอวี มีความเสี่ยงเพียงร้อยละ 5 – 10 โดยพบการป่วยเป็นวัณโรคได้ทุกระยะของการติดเชื้อเอชไอวีและทุกระดับ CD4 นอกจากนี้วัณโรคยังทำให้ไวรัสเอชไอวีเพิ่มจำนวนมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีดำเนินโรคเป็นโรคเอดส์เร็วขึ้น และวัณโรคเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตในผู้ติดเชื้อเอชไอวี (ประมาณร้อยละ 24) เมื่อเทียบกับโรคฉวยโอกาสอื่นๆดังนั้นการบริหารจัดการแผนงานวัณโรคและแผนงานเอดส์ ต้องบูรณาการดำเนินงานไปพร้อมๆ กันเพื่อลดปัญหาวัณโรคในผู้ติดเชื้อเอชไอวี และลดปัญหาเอชไอวีในผู้ป่วยวัณโรค

วัณโรคร่วมกับโรคเบาหวาน

เบาหวานเป็นโรคที่เกี่ยวกับระดับฮอร์โมน และความบกพร่องของภูมิคุ้มกันอีกโรคหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับวัณโรค ผู้ป่วยเบาหวานมีความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นวัณโรคมากกว่าผู้ที่ไม่ป่วยเป็นเบาหวาน 3 เท่า เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานมีระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง ดังนั้นเมื่อผู้ป่วยเบาหวานอยู่ในสถานที่ที่มีการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคสูง หรือได้รับเชื้อวัณโรคปริมาณมาก รวมทั้งผู้ที่ติดเชื้อวัณโรคแฝง จึงมีโอกาสป่วยเป็นวัณโรคระยะลุกลาม (active TB) ได้มากกว่าผู้ที่ไม่ป่วยเป็นเบาหวาน นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยวัณโรคที่มีเบาหวานเสียชีวิตในระหว่างการรักษาวัณโรคค่อนข้างมาก และมีโอกาสกลับเป็นซ้ำสูง ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานทุกรายควรได้รับการคัดกรองค้นหาวัณโรคอย่างสม่ำเสมอ และผู้ป่วยวัณโรคก็ควรตรวจหาเบาหวานด้วยเพื่อเข้าถึงการรักษาพร้อมกันทั้ง 2 โรค เพื่อให้การควบคุมวัณโรคและเบาหวานมีประสิทธิภาพ

ความเสี่ยงที่มีผลต่อวัณโรค

ความเสี่ยงที่มีผลต่อวัณโรคครอบคลุมตั้งแต่ความเสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อ การติดเชื้อ การเกิดโรค การรักษา การเสียชีวิตและการดื้อยาโดยแบ่งความเสี่ยงเป็น 5 ระดับ ดังนี้

4 ระดับที่ 1 ความเสี่ยงต่อการสัมผัสโรค (risk of exposure) สัมพันธ์กับความถี่และระยะเวลาที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย

(1) อยู่ร่วมกับผู้ป่วยในที่คับแคบ และระบายอากาศไม่ดี เช่น ในบ้าน หรือที่ทำงาน

(2) อยู่ในเมืองที่มีคนอาศัยอยู่หนาแน่น

(3) อยู่ในสถานที่เฉพาะที่สัมผัสโรคได้ง่าย เช่น เรือนจำ สถานสงเคราะห์ สถานบริการสาธารณสุข ค่ายอพยพ ค่ายทหาร

(4) อยู่ในชุมชนที่มีความชุกวัณโรคสูง

4 ระดับที่ 2 ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรค (risk of infection) ขึ้นกับ

(1) จำนวนเชื้อที่สูดเข้าสู่ร่างกาย

(2) ระยะเวลาที่สัมผัสกับผู้ป่วย

(3) ความรุนแรงของเชื้อ

(4) ภูมิต้านทานของผู้สัมผัสโรค

ผู้ป่วยวัณโรคที่อยู่ในระยะลุกลามและแพร่เชื้อ ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องจะสามารถติดเชื้อผู้อื่นได้ปีละ 10-15 คน

4 ระดับที่ 3 ความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นวัณโรค (risk of developing active disease) ประชากรทั่วไปที่ติดเชื้อวัณโรค ตลอดช่วงชีวิตมีโอกาสป่วยด้วยวัณโรคประมาณร้อยละ 10 ความเสี่ยงจะสูงสุดในช่วง2 ปีแรก สำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีร่วมด้วยจะมีโอกาสป่วยเป็นวัณโรคสูงมากถึงร้อยละ 50

4 ระดับที่ 4 ความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นวัณโรคดื้อยาหลายขนาน (risk of developing MDR-TB) ส่วนใหญ่เกิดเนื่องจากระบบการดูแลรักษาและควบคุมวัณโรคไม่มีประสิทธิภาพ

(1) การใช้ยาแนวที่หนึ่งอย่างไม่เหมาะสม

(2) ความสามารถในการวินิจฉัย MDR-TB ไม่ดีพอ

(3) ล้มเหลวต่อการรักษาด้วยสูตรยาแนวที่หนึ่ง

(4) สัมผัสกับผู้ป่วย MDR-TB

(5) เสมหะเป็นบวกเมื่อรักษาไปแล้ว 2 เดือน

(6) การควบคุมการแพร่เชื้อวัณโรคในสถานพยาบาลไม่ดีพอ

4 ระดับที่ 5 ความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต มีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

(1) อวัยวะที่เป็นวัณโรค เช่น วัณโรคเยื่อหุ้มสมอง

(2) การรักษาที่ล่าช้าหรือไม่เหมาะสม ผู้ป่วยเสมหะเป็นบวกที่ไม่รักษาจะเสียชีวิตร้อยละ 30-40 ใน 1 ปี และเสียชีวิตร้อยละ 50-65 ใน 5 ปี

(3) ภูมิคุ้มกันร่างกายที่ไม่แข็งแรง เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ที่มีภาวะขาดสารอาหาร (malnutrition) หรือผู้สูงอายุที่มีโรคร่วมการดำเนินงานเพื่อป้องกันและควบคุมปัจจัยที่เป็นความเสี่ยงในระดับต่างๆทุกระดับจึงมีความสำคัญอย่างมากต่อการที่จะบรรลุ

ข้อแตกต่างระหว่างการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงและการป่วยเป็นวัณโรค



https://www.hfocus.org/content/2019/09/17640



*******************************






 

Create Date : 01 กันยายน 2562   
Last Update : 1 กันยายน 2562 13:34:42 น.   
Counter : 2966 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]