Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

หน้ากากอนามัย วิธีการใส่ที่ถูกต้อง



 

หน้ากากอนามัย วิธีการใส่ที่ถูกต้อง


1. ใส่ตามที่ผู้ผลิตระบุ
- ส่วนมากเอาด้าน สีเข้ม ออก
- เหตุผลคือ รอยพับของผ้าด้านที่ไม่มีสี มักจะพับในแบบที่สามารถกักเอาน้ำลายที่เกิดจากการไอจามได้
- สีที่พื้นผิว ด้านที่มีสี ในบางยี่ห้อสาก บางยี่ห้อกันน้ำ เวลาไอจาม ถ้าเอาด้านนี้เข้า น้ำจะไหลเปื้อนซึมออกมาข้างนอกง่าย แถมใส่แล้วเจ็บหน้า
- ถ้าเป็นสีขาวล้วนให้สังเกต ที่จุดเชื่อมของสายคาดหูกับตัวหน้ากากอนามัย ให้หันด้านที่เป็นปมออกด้านนอก (ถ้า ปม อยู่ด้านในจะขูดผิวหน้าเป็นรอยได้ )

2. ใส่สลับฝั่ง การกรองต่างกันไหม
- ไม่ควรต่างกันเลย เพราะ ตัวชั้นกรองอยู่ตรงกลาง ไม่ได้อยู่ฝั่งสีหรือไม่สี
ดังนั้น คนที่ป่วย หรือ ไม่ป่วย ... ก็ใส่เหมือนกันไป

3. ข้อสำคัญกว่าใส่ข้างไหน
- กดลวดที่อยู่ด้านบนให้แนบชิดจมูกด้วย ลมจะได้ไม่รั่ว ไม่งั้นใส่แล้วไม่ป้องกันอยู่ดี
- เวลาถอดออก ควรล้างมือ เพราะมือไปจับหน้ากากที่ถือว่าต้องกรองเชื้อโรค(แม้ว่าชั้นกรองจะอยู่ตรงกลางก็ตาม)
- ควรใช้วันเดียวทิ้ง ไม่ให้สะสมโรค

เครดิต FB @ความรู้สนุกๆแบบหมอแมว




















..................

เรื่องเกี่ยวเนื่อง ..

มา " ล้างมือ " กันเถอะ ...

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=10-10-2008&group=4&gblog=60

..........................
 
มีการส่งต่อ ภาพความเข้าใจผิด .. เยอะกว่าที่คิด ..ถึงแม้ว่า จะไม่ได้ผิดอะไรมากมาย แต่อยากชี้แจงทำความเข้าใจให้ถูก ..
 
เอาเป็นว่า " ป่วย ไม่ป่วย ก็ใส่เหมือนกัน คือ เอาด้านที่มีสี ออกด้านนอก "
 












เข้าสู่ฤดูกาลระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่
ป้องกันการแพร่เชื้อด้วยการสวม #หน้ากากอนามัย
และป้องกันตัวเอง (ร่วมกับการล้างมือบ่อยๆ)

#ปิด ปากจมูกเมื่อป่วย สวมหน้ากากอนามัย
#ล้าง มือบ่อย ๆ
#เลี่ยง การอยู่ในสถานที่คนมาอยู่รวมกันจำนวนมาก
#หยุด งาน หยุดเรียน หยุดกิจกรรมกับผู้อื่น เมื่อป่วย

ด้วยความห่วงใยจาก
วิทย์สนุกรอบตัวและ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

ที่มา https://www.facebook.com/witsanook/photos/a.327375767415926.1073741828.327302010756635/873167002836797/?type=3&theater


การสวมหน้ากากอนามัย ลดการกระจายตัวของโรค แต่ไม่ช่วยป้องกันการติดโรคนัก

จากการศึกษาหนึ่ง สรุปว่า การสวมหน้ากากอนามัยเพียงอย่างเดียว ไม่ได้ช่วยให้อัตราการติดโรคลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ต้องมีการใช้ร่วมกับการมีสุขอนามัยที่ดี เช่นการล้างมือสม่ำเสมอด้วย


Aiello, A. E., et al. (2012, January 25). Facemasks, hand hygiene, and influenza among young adults: A randomized intervention trial. PLOS ONE, 7(1).
https://l.facebook.com/l.php?u=http%3A%2F%2Fjournals.plos.org%2Fplosone%2Farticle%3Fid%3D10.1371%252Fjournal.pone.0029744&h=ATNQocaSH78utTiFwDCtROYjV2A12xaF-CLBUsbo35OFmW0bDlqlpqyRdPGZjK1EnWBVexHH8xejBnCsc9Qc7H2BmUyqfnmuXZBWMl0Fqq7y8FRXDkAhRUQM6W9IAdtTMlJfiAzJK20





 








 




 

Create Date : 19 มิถุนายน 2558   
Last Update : 4 มีนาคม 2563 14:05:37 น.   
Counter : 55237 Pageviews.  

ไวรัสโคโรนา2012 (MERS , เมอร์ส) นำมาฝาก (ไม่ได้เขียนเอง ^_^)



สธ.พบผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลางรายที่ 2 ของประเทศไทย เป็นชาวโอมาน
แหล่งที่มา : สำนักข่าว
วันที่ข่าว : 24 มกราคม 2559
กระทรวงสาธารณสุข พบผู้ป่วยยืนยันโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลางหรือโรคเมอร์ส รายที่ 2 ของประเทศไทย เป็นชายชาวโอมาน ขณะนี้รักษาตัวในห้องแยกโรคที่สถาบันบำราศนราดูร มีผู้สัมผัสผู้ป่วยรายนี้ทั้งหมด 252 คน เสี่ยงสูง 37 คน ทั้งหมดยังไม่ใช่ผู้ป่วย ยังไม่แพร่โรค ขณะนี้ทราบชื่อและที่อยู่ และดำเนินการติดตามทั้งหมด ประชาชนอย่าตื่นตระหนก ยึดมาตรการ กินร้อน ใช้ช้อนกลาง หมั่นล้างมือ หากกลับจากพื้นที่เสี่ยงโรคระบาด มีไข้ ไอ รีบพบแพทย์ทันที พร้อมแจ้งประวัติการเดินทาง สงสัยโทร สายด่วน 1422

ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข อธิบดีกรมควบคุมโรค อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ผู้แทนโรงพยาบาลบำรุงราษฏร์ แถลงข่าว การดำเนินการเฝ้าระวัง คัดกรองผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือโรคเมอร์ส ว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินการเฝ้าระวังคัดกรองอย่างเข้มงวดต่อเนื่อง โดยในวันนี้ได้พบผู้ป่วยยืนยันโรครายที่ 2 ของประเทศไทย ผู้ป่วยเป็นชาย อายุ 71 ปี ชาวโอมาน เดินทางเข้าประเทศไทย วันที่ 22 มกราคม 2559 เนื่องจากรักษาที่โรงพยาบาลที่โอมาน ด้วยอาการไข้ ไอ มาประมาณ 1 สัปดาห์ อาการไม่ดีขึ้น จึงเดินทางมาประเทศไทย โรงพยาบาลได้รับตัวในห้องแยกโรค พร้อมส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการหาเชื้อเมอร์ส ที่โรงพยาบาลบำรุงราษฏร์ และโรงพยาบาลจุฬาฯ ได้ผลบวก

ต่อมาในวันที่ 23 มกราคม 2559 เวลา 18.20 น. ได้ส่งต่อมารักษาที่สถาบันบำราศนราดูร พร้อมส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการหาเชื้อเมอร์ส ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ผลบวกเช่นกัน อาการผู้ป่วยในเช้าวันนี้ ผู้ป่วยรู้สึกตัวดี มีอาการเหนื่อย ได้รับออกซิเจนและยาบรรเทาอาการ เนื่องจากมีอาการอักเสบที่ปอด รับประทานอาหารได้ ยังนอนพักรักษาตัวที่ห้องแยกโรค สิ่งที่กระทรวงสาธารณสุข ต้องดำเนินการต่อคือ การติดตามผู้สัมผัสผู้ป่วยรายนี้ ประกอบด้วย ญาติที่เดินทางมาพร้อม 1 คน (เสี่ยงสูง) ลูกเรือและผู้โดยสารบนเครื่องบน 218 คนที่ยังอยู่ในประเทศไทย (จากทั้งหมด 239 คน เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 23 คน เสี่ยงต่ำ 195 คน) คนขับรถแท็กซี่ 1 คน (เสี่ยงสูง) พนักงานโรงแรม 1 คน และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล 30 คน (เสี่ยงสูง 11 คน)

โดยผู้สัมผัสทั้งหมดนี้ จะนำเข้าระบบเฝ้าระวังติดตามอาการจนครบ 14 วัน จนพ้นระยะฟักตัวของโรค ในจำนวนมีผู้สัมผัสเสี่ยงสูงจำนวน 37 คน ประกอบด้วยญาติ 1คน ผู้โดยสารบนเครื่องบิน 23 คน คนขับรถแท็กซี่ 1 คน พนักงานโรงแรม 1 คน เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล 11 คน จะรับไว้ในสถานที่ที่เตรียมไว้ เพื่อติดตามอาการอย่างใกล้ชิด ที่เหลือเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ ซึ่งจะแนะนำให้แยกตัวเอง ลดการสังคมกับผู้อื่น มีระบบติดตามจากเจ้าหน้าที่

ด้านนายแพทย์โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ผู้ป่วยรายนี้ เป็นรายที่ 2 ของประเทศไทย เรามีประสบการณ์ในการทำงาน ทำให้ผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูงน้อยลง ระบบตรวจจับได้เร็วขึ้นใช้เวลาเพียง10ชั่วโมงเท่านั้น มีระบบการประสานงานที่ดีทั้งโรงพยาบาลรัฐ เอกชน ด่านควบคุมโรค ตรวจคนเข้าเมือง ทำให้ทราบชื่อ ที่อยู่ผู้สัมผัสและติดตามผู้สัมผัสผู้ป่วยได้ทั้งหมด พร้อมให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้ผู้ป่วยอยู่ในโรงพยาบาลที่มีระบบควบคุมป้องกัน เชื้อโรคไม่สามารถออกมานอกโรงพยาบาลได้ ขอประชาชนอย่าตื่นตระหนก ขอให้ประชาชนใช้มาตรการ กินร้อน ใช้ช้อนกลาง หมั่นล้างมือ หากเดินทางไปประเทศการระบาดของโรคเมอร์ส กลับมาภายใน 14 วัน หากมีไข้ ไอ ขอให้รีบพบแพทย์ทันที พร้อมแจ้งประวัติการเดินทาง มีข้อสงสัย โทรปรึกษา สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422





องค์ความรู้ เรื่อง โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ 2012
(Middle East Respiratory Syndrome: MERS) หรือโรคเมอร์ส
กรมควบคุมโรค วันที่ 6 มิถุนายน 2558

1. ลักษณะโรค : โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ 2012 หรือกลุ่มอาการทางเดินหายใจตะวันออกกลาง Middle East Respiratory Syndrome: MERS หรือโรคเมอร์ส เป็นเชื้อสายพันธุ์หนึ่งในกลุ่มไวรัสโคโรนา (MERS Corona Virus :MERS CoV) ขณะนี้ พบว่า การระบาดส่วนใหญ่อยู่ในประเทศแถบตะวันออกกลาง
ล่าสุด มีการระบาดที่เกาหลีใต้ ซึ่งมีรายงานการติดเชื้อจากคนสู่คนในวงจำกัด ซึ่งพบในกลุ่มผู้ป่วยด้วยกันหลายกลุ่ม ได้แก่ ผู้ดูแลใกล้ชิด สมาชิกครอบครัวเดียวกัน บุคลากรทางการแพทย์ แต่ยังไม่มีการแพร่กระจายของเชื้อในวงกว้าง

ตั้งแต่ ช่วงกลางเดือนมีนาคม 2557 พบจำนวนผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้น โดยบางรายไม่มีรายงานการยืนยันทางห้องปฏิบัติการ และในบางรายมีประวัติสัมผัสกับสัตว์ และดื่มน้ำนมดิบจากสัตว์โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากอูฐ
อูฐจึงเป็นสัตว์รังโรคหลักที่อาจนำเชื้อมาสู่คนได้ ขณะนี้ข้อมูลจากองค์การอนามัยโรค แจ้งว่าเป็นการติดเชื้อระหว่างสัตว์สู่คน สำหรับการแพร่เชื้อระหว่างคนสู่คนสามารถแพร่ผ่านทางเสมหะของผู้ป่วยจากการไอ เป็นต้น และมักเกิดจากการสัมผัสอย่างใกล้ชิดกับผู้ป่วยโดยมิได้มีการป้องกันตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงพยาบาล

ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ MERS CoV มักมีอาการไข้ ไอ นอกจากนี้ ในผู้ป่วยบางราย จะมีอาการในระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ ท้องร่วง ร่วมด้วย บางรายที่มีอาการรุนแรงจะมี หายใจหอบ และหายใจลำบาก ปอดบวม

รายงานจำนวนผู้ป่วยที่เสียชีวิต ร้อยละ 36

2. สถานการณ์ :
ทั่วโลก
ณ วันที่ 6 มิถุนายน 2558 องค์การอนามัยโลก รายงานพบผู้ป่วยยืนยัน จำนวน 1,190 ราย เสียชีวิต 444 ราย คิดเป็นร้อยละ 37.31 ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 66) อายุเฉลี่ย 49 ปี โดยพบรายงานผู้ป่วยทั้งหมดจาก 25 ประเทศ ดังต่อไปนี้
- กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง 10 ประเทศ ได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อียิปต์ อิหร่าน จอร์แดน คูเวต เลบานอน กาตาร์ โอมาน และเยเมน
- กลุ่มประเทศยุโรป 8 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรีย ฝรั่งเศส เยอรมัน กรีซ อิตาลี เนเธอร์แลนด์ ตุรกี และอังกฤษ
- กลุ่มประเทศแอฟริกา 2 ประเทศ ได้แก่ อัลจีเรีย และตูนีเซีย
- กลุ่มประเทศอเมริกาเหนือ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา
- กลุ่มประเทศเอเชีย 3 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ และจีนแผ่นดินใหญ่

โดยผู้ป่วยส่วนมาก (ร้อยละ 85 ) เป็นผู้ป่วยที่มาจากประเทศซาอุดิอาระเบีย
ทั้งนี้ในปี 2558 พบผู้ป่วยโรคเมอร์ส ใน 10 ประเทศ ได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อิหร่าน โอมาน กาตาร์ จอร์แดน เยอรมัน จีน ฟิลิปปินส์ และเกาหลีใต้
และรายงานการระบาดในประเทศเกาหลีใต้ ณ วันที่ 5 มิถุนายน ๒๕๕๘ องค์การอนามัยโลกได้รายงานอย่างเป็นทางการ พบผู้ป่วยที่ประเทศเกาหลีใต้ จำนวน 36 ราย ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นผู้ที่มีประวัติสัมผัสเชื้อในประเทศเกาหลีใต้ และเดินทางผ่านฮ่องกงไปยังประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ 1 ราย และมีผู้เสียชีวิต 3 ราย ซึ่งจากจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นทั้งหมด เป็นการติดเชื้อที่เกิดขึ้นในสถานพยาบาล และการติดเชื้อในบ้าน และองค์การอนามัยโลกรายงานข้อมูลเพิ่มเติมว่าพบการติดเชื้อของผู้ป่วยในรุ่นที่ 3 แล้ว
ประเทศไทย ยังไม่พบรายงานผู้ป่วยโรคนี้ในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังคงมีความเสี่ยง จากผู้เดินทางไปมาระหว่างประเทศที่มีการระบาด ประกอบกับประชาชนชาวไทยเดินทางไปแสวงบุญในประเทศแถบตะวันออกกลาง และมีนักท่องเที่ยวจากประเทศแถบตะวันออกกลางที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย

3. เชื้อก่อโรค : เชื้อไวรัสโคโรนา (MERS CoV)

4. อาการของโรค : ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ MERS CoV บางรายไม่มีอาการ ในรายที่มีอาการบางรายมีอาการทางระบบทางเดินหายใจเล็กน้อย เช่น ไข้ ไอ นอกจากนี้ ในผู้ป่วยบางราย จะมีอาการในระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ ท้องร่วง ร่วมด้วย และบางรายอาจมีอาการทางระบบทางเดินหายใจรุนแรง และถึงแก่ชีวิตได้
ผู้ป่วยที่อาการรุนแรงอาจทำให้เกิดระบบทางเดินหายใจล้มเหลว จึงควรได้รับการดูแลในห้องดูแลผู้ป่วยภาวะวิกฤติ
(intensive care unit) โดยทั่วไปผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง หายใจหอบ และหายใจลำบาก ปอดบวม ซึ่งในจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด พบว่าจะมีรายงานจำนวนผู้ป่วยที่เสียชีวิต ร้อยละ 36 ส่วนในผู้ที่มีโรคประจำตัวซึ่งทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือ ลดน้อยลง การแสดงของโรคอาจมีความแตกต่างออกไป

5. ระยะฟักตัวของโรค : มีระยะฟักตัว 2-14 วัน
(//www.who.int/csr/disease/coronavirus_infections/MERS_CoV_RA_20140424.pdf?ua=1)

6. วิธีการแพร่โรค :
ตั้งแต่ ช่วงกลางเดือนมีนาคม 2014 พบจำนวนผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยบางรายไม่มีรายงานการยืนยันทางห้องปฏิบัติการ และในบางรายมีประวัติสัมผัสกับสัตว์ และดื่มน้ำนมดิบจากสัตว์โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากอูฐ อูฐจึงเป็นสัตว์รังโรคหลักที่อาจนำเชื้อมาสู่คนได้
ขณะนี้ข้อมูลจากองค์การอนามัยโรค แจ้งว่าเป็นการติดเชื้อระหว่างสัตว์สู่คน สำหรับการแพร่เชื้อระหว่างคนสู่คนสามารถแพร่ผ่านทางเสมหะของผู้ป่วยจากการไอ เป็นต้น และมักเกิดจากการสัมผัสอย่างใกล้ชิดกับผู้ป่วยโดยมิได้มีการป้องกันตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงพยาบาล

สรุปการติดต่อผ่านทาง
การสัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรง
ติดต่อผ่านละอองน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย การไอ หรือจาม
มือที่สัมผัสของใช้ร่วมกับผู้ป่วย
การสัมผัสกับอูฐที่มีเชื้อ

ข้อมูลจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ระบุว่า ไวรัสเมอร์สเป็นเชื้อโรคที่มีอัตราการแพร่กระจายไม่ได้สูงมากนัก คือ ผู้ป่วย 1 คน สามารถแพร่เชื้อให้กับผู้อื่นได้ 0.60-0.69 คน ในขณะที่อัตราการแพร่กระจายของโรคอื่น ๆ มีมากกว่า
ผู้ป่วยโรคหัด 1 คน สามารถแพร่กระจายเชื้อต่อได้อีก 12-18 คน
ผู้ป่วยคางทูม 1 คน สามารถแพร่กระจายเชื้อต่อได้อีก 4-7 คน
ผู้ป่วยเอชไอวี 1 คน สามารถแพร่กระจายเชื้อต่อได้อีก 2-5 คน
ผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา 1 คน สามารถแพร่กระจายเชื้อต่อได้อีก 1.5-2.5 คน

ดังนั้น โอกาสที่โคโรน่าไวรัสจะแพร่กระจายเป็นกลุ่มก้อนในชุมชนจึงมีน้อย ยกเว้นคนนั้นจะมีความเสี่ยงจริง ๆ เช่น เป็นผู้ที่สัมผัสกับผู้ป่วย หรือมีร่างกายไม่แข็งแรง
ศ. นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ให้ข้อมูลว่า แม้ไวรัสเมอร์สจะเป็นไวรัสกลุ่มเดียวกับซาร์ส แต่โอกาสการแพร่ระบาดจากคนสู่คนน้อยกว่าโรคซาร์ส 5 เท่า ทำให้การแพร่ระบาดส่วนใหญ่จึงยังจำกัดอยู่ในพื้นที่ตะวันออกกลาง โอกาสแพร่ระบาดไปทั่วโลกน้อย ต่างจากโรคซาร์สที่มีโอกาสสามารถแพร่ไปทั่วโลกได้มากกว่า
ทั้ง นี้ปัจจุบันยังไม่พบว่าเชื้อไวรัสตัวนี้มีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม หรือกลายพันธุ์แต่อย่างใด และแม้ว่าโรคนี้จะมีอัตราการแพร่ระบาดจากคนสู่คนต่ำ แต่สำหรับการระบาดที่เกาหลีใต้ ถือเป็นการแพร่กระจายแบบสุดยอด หรือ ซูเปอร์ สเพรด (Super spread) คือ แพร่ระบาดเร็วและจำนวนมาก จากคนเกาหลีที่ติดเชื้อจากพื้นที่ตะวันออกกลางเข้ามาในประเทศ และมีผู้ติดเชื้อต่อไปอีกถึง 30 คนในระยะเวลาเพียง 2 สัปดาห์ สาเหตุของการแพร่ระบาดเร็วคาดว่ามาจากความไม่รู้ ทำให้ไม่มีการระมัดระวังตัว โอกาสแพร่กระจายเป็นจำนวนมากจึงสูง

7. การรักษา : เป็นการรักษาตามอาการแบบประคับประคอง ยังไม่มีวัคซีน และยารักษาที่จำเพาะ
เนื่องจากยังไม่มียารักษา จึงทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตถึงร้อยละ 40 ต่างจากโรคซาร์สที่แม้จะแพร่ระบาดได้ง่ายกว่าไวรัสเมอร์ส แต่อัตราการเสียชีวิตมีเพียงร้อยละ 9.6 เท่านั้น

8. การป้องกัน :
• สำหรับผู้เดินทาง/นักท่องเที่ยว
จากข้อมูลที่มีในปัจจุบัน พบว่ากลุ่มเสี่ยงที่จะมีอาการป่วยรุนแรง ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคปอดเรื้อรัง โรคไตวาย หรือผู้ที่ภูมิต้านทานต่ำ ควรระมัดระวังเป็นพิเศษหากท่านเดินทางเข้าในประเทศที่มีการระบาด และเข้าเยี่ยมชมฟาร์ม หรือสถานที่เก็บผลผลิตทางการเกษตร และหรือในพื้นที่ตลาดที่มีอูฐอยู่ และควรปฏิบัติตน ดังนี้
- หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจ หรือผู้ที่มีอาการไอ หรือจาม
- ผู้มีโรคประจำตัวที่เสี่ยงต่อการป่วย อาจพิจารณาสวมหน้ากากป้องกันโรค และเปลี่ยนบ่อยๆ เมื่อเข้าไปในสถานที่ที่มีคนอยู่รวมกันมากๆ
- ควรล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วยหรือสิ่งแวดล้อมที่ผู้ป่วยสัมผัส
- หลีกเลี่ยงการเข้าไปสัมผัสกับฟาร์มสัตว์ หรือสัตว์ป่าต่างๆ หรือดื่มนมสัตว์ โดยเฉพาะอูฐ ซึ่งอาจเป็นแหล่งรังโรคของเชื้อได้
- ถ้ามีอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ (มีอาการรุนแรงที่ส่งกระทบต่อกิจวัตรประจำวันปกติ) ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสคลุกคลีกับบุคคลอื่นเพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ เมื่อไอ หรือจามควรใช้กระดาษชำระปิดปาก และจมูกทุกครั้ง และทิ้งกระดาษชำระที่ใช้แล้วลงในถังขยะที่ปิดมิดชิด และล้างมือให้สะอาด กรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติได้ ควรไอหรือจามลงบนเสื้อผ้าบริเวณต้นแขน ไม่ควรจามรดมือและรีบไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่

ทำอย่างไรถ้าจำเป็นต้องเดินทางไปในพื้นที่ที่มีไวรัสเมอร์สแพร่ระบาด
ตรวจสอบประวัติการฉีดวัคซีนของตัวเอง
งดการสัมผัสกับอูฐ หรือดื่มนมอูฐดิบ หากเดินทางไปยังประเทศในตะวันออกกลาง
สวมใส่หน้ากากอนามัย
หลีกเลี่ยงไปในสถานที่แออัด มีคนรวมกลุ่มกันเป็นจำนวนมา
หมั่นรักษาความสะอาดอยู่เสมอ ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำสบู่ หรือแอลกอฮอล์ล้างมือ
ไม่ควรสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดผู้ป่วย หรือต้องสงสัยป่วยด้วยโรคนี
หากเดินทางกลับประเทศไทยแล้ว ภายใน 14 วัน มีอาการเป็นไข้ เป็นหวัด หอบ หายใจลำบาก ให้รีบไปพบแพทย์โดยทันที
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้องค์การอนามัยโลก (WHO) ยังไม่มีคำสั่งห้ามเดินทางไปยังประเทศที่มีการแพร่ระบาด ดังนั้นต้องคอยติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

หากใครมีประวัติเพิ่งเดินทางกลับมาจากประเทศที่มีการแพร่ระบาด แล้วมีอาการไอ เป็นหวัด ให้ใส่หน้ากากอนามัย และพักผ่อนอยู่ที่บ้าน หากอาการไม่ดีขึ้นใน 2 วัน ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา พร้อมแจ้งประวัติการเดินทางไปต่างประเทศด้วย แต่ถ้าผู้ป่วยมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ไตวาย โรคปอดเรื้อรัง และภูมิต้านทานโรคต่ำ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที ไม่ต้องรอถึง 2 วัน เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงกว่า นอกจากนี้ยังสามารถโทร. 1422 ปรึกษาสายด่วนกรมควบคุมโรค ตลอด 24 ชั่วโมง หรือที่เว็บไซต์สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค beid.ddc.moph.go.th

• สำหรับประชาชนทั่วไป
- หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจ หรือผู้ที่มีอาการไอ หรือจาม
- ควรล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วยหรือสิ่งแวดล้อมที่ผู้ป่วยสัมผัส
- เมื่อเข้าเยี่ยมชมฟาร์ม หรือพื้นที่โรงเก็บผลผลิตทางการเกษตร ควรรักษาสุขอนามัย ทั่วไป เช่น ล้างมือเป็นประจำ ก่อน และหลังการสัมผัสสัตว์ หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่วย และรับประทานอาหารที่ถูกสุขอนามัย

• สำหรับสถานพยาบาล
เนื่องจาก พบรายงานการแพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาล (Hospital Setting) สู่บุคคลในครอบครัว ได้แก่ ญาติที่ไปเยี่ยม และให้การดูแลผู้ป่วย ผู้ที่มารับการรักษาให้หอผู้ป่วยเดียวกัน และผู้สัมผัสใกล้ชิด (Family cluster and closed contact cluster)

เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ และการแยกผู้ป่วย (Isolation Precautions) องค์การอนามัยโลกแนะนำการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ และแยกผู้ป่วย โดยใช้หลักการของ Standard precautions รวมถึง Hand hygiene, Respiratory hygiene and coughetiquette, Safe injection practices และข้อปฏิบัติอื่นๆ โดยพบว่า โรคติดเชื้อ ทางเดินหายใจโดยทั่วไป ใช้ droplet precautions และ contact precautions

สำหรับโรค MERS ส่วนใหญ่เป็น droplet transmission ถ้าไอ จาม ในระยะ 1 เมตร สามารถ แพร่กระจายเชื้อได้ อย่างไรก็ตาม airborne transmission มีความเป็นไปได้ ขณะนี้พบว่าอัตราตายของโรคเมอร์ส ค่อนข้างสูง (ร้อยละ 30 - 50) ดังนั้น องค์การอนามัยโลก และศูนย์ป้องกัน และควบคุมโรคแห่งชาติประเทศ สหรัฐอเมริกา (US CDC) จึงแนะนำให้ ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแบบ Airborne precautions โดยเฉพาะ ผู้ป่วยที่มีอาการปอดบวม หรือไอมาก รวมทั้งหัตถการที่ก่อให้เกิดฝอยละอองขนาดเล็ก เช่น การใส่ท่อช่วย หายใจ การดูดเสมหะ การเก็บเสมหะ การพ่นยา เป็นต้น

หากมีข้อสงสัย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่
โทร. 025903159 หรือ หาข้อมูล และคำแนะนำเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ //beid.ddc.moph.go.th/
***************************************************
ที่มา : องค์การอนามัยโลก และศูนย์ป้องกันควบคุมโรคแห่งชาติสหรัฐอเมริกา

.....................
สนใจ แนะนำอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ..

สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่
//beid.ddc.moph.go.th/beid_2014/

โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือ โรคเมอร์ส สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่
//beid.ddc.moph.go.th/beid_2014/node/271

แนะนำ ดาวโหลดเอกสาร ..
- องค์ความรู้ เรื่อง โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (Middle East Respiratory Syndrome; MERS) หรือโรคเมอร์ส : กรมควบคุมโรค ณ วันที่ 6 มิถุนายน 2558
//beid.ddc.moph.go.th/beid_2014/sites/all/modules/pubdlcnt/pubdlcnt.php?file=%2Fbeid_2014%2Fsites%2Fdefault%2Ffiles%2Ffact_sheet_mers_6_june_15.pdf&nid=271

-คำถามที่พบบ่อย เรื่องโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (Middle East Respiratory Syndrome ; MERS) หรือ โรคเมอร์ส : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ 15 มิถุนายน 2558
//beid.ddc.moph.go.th/beid_2014/sites/all/modules/pubdlcnt/pubdlcnt.php?file=%2Fbeid_2014%2Fsites%2Fdefault%2Ffiles%2FFAQ_WHO_15June15.pdf&nid=271

ข่าวเมอร์ส...โคโรนา อีกโรคสัตว์สู่คน ... โดย ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 17 มิ.ย. 2558 //www.thairath.co.th/content/505372

ท่านใดสนใจเรื่องนี้ แนะนำให้ แอด หรือ ติดตาม เฟสของ ศ.นพ.ธีรวัฒน์ เหมะจุฑา .. อาจารย์จะมีข้อมูลวิชาการอัพเดตตลอดครับ ไม่ตกข่าวแน่นอน ^_^
FB @Thiravat Hemachudha
https://www.facebook.com/thiravat.hemachudha



...........................




ภายหลังจากที่มีการเปิดเผยข้อมูลว่าพบผู้ติดเชื้อโรคไวรัสเมอร์ส ในประเทศไทยในวันนี้นะคะ วันนี้สพฉ.ขอนำหลักการป้องกันตนเองจากไวรัสเมอร์สง่ายๆ มาฝากเพื่อนสมาชิกค่ะ

1. หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัส ตา จมูก ปาก ใบหน้า
2. ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ และควรรับประทานอาหารที่ร้อน และใช้ช้อนกลาง
3. สวมหน้ากากอนามัยหากจำเป็นต้องไปสถานที่ที่ผู้คนจำนวนมากหรือแออัด
4. ใช้ผ้าหรือกระดาษปิดปากเมื่อจามหรือไอ
5. หมั่นออกกำลังกาย รักษาสุขภาพให้แข็งแรง และพักผ่อนให้เพียงพอ

ส่วนอาการของผู้ติดเชื้อไวรัสเมอร์ส จะมีอาการดังนี้ มักพบตั้งแต่ไม่มีอาการแสดงออกจนกระทั่งมีอาการรุนแรงแล้ว โดยเริ่มแรกอาจมีอาการไอ มีไข้ หายใจลำบาก หรือบางคนที่มีภูมิต้านทานค่อนข้างแข็งแรงอาจมีอาการคล้ายคนเป็นไข้หวัดธรรมดาและจะหายเป็นปกติในเวลาไม่นาน ทว่าสำหรับคนที่ร่างกายอ่อนแอหรือมีโรคประจำตัวแทรกซ้อนอยู่อาการก็จะรุนแรง โดยอาจมีไข้สูงและมีอาการเกี่ยวกับทางเดินอาหารร่วมด้วย เช่น ท้องเสีย ปวดมวนท้อง คลื่นไส้อาเจียน และในผู้ป่วยที่อาการรุนแรงมาก ๆ อาจมีภาวะปอดบวมหรือไตวายร่วมด้วย



แถม ..

ไวรัส อีโบล่า EBOLA ... ระบบเฝ้าระวังของบ้านเรา ห่วยจริงหรือ ? //www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=25-11-2014&group=4&gblog=105




 

Create Date : 19 มิถุนายน 2558   
Last Update : 26 มกราคม 2559 14:48:53 น.   
Counter : 4850 Pageviews.  

เด็กจมน้ำ .. ตะโกน โยน ยื่น - คู่มือการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด





ข้อมูลข่าวสาร เอกสารเผยแผ่ เกี่ยวกับ การป้องกันการจมน้ำในเด็ก สำนักโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข
https://www.thaincd.com/2016/mission4?tid=37

ปิดเทอมฤดูร้อน 75 วัน พบเด็กจมน้ำเสียชีวิต 127 คน
(วันที่ 1 มีนาคม – 14 พฤษภาคม 2560)
https://www.thaincd.com/2016/media-detail.php?id=12640&gid=1-015-009

ริมปิง บ้านเรา ..ป้องกัน อุบัติเหตุจมน้ำเสียชีวิต   
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.461096180680581.1073741852.146082892181913&type=3






“ 5 มีนาคม ร่วมรณรงค์ป้องกันเด็กจมน้ำ”
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1243133159033647&set=pcb.1243133419033621&type=3

วันนี้ (3 มีนาคม 2559) ที่กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค เป็นประธานแถลงข่าวรณรงค์ป้องกันเด็กจมน้ำ “ปิดล็อค...เด็กจมน้ำตายต้องเท่ากับศูนย์” พร้อมเปิดกิจกรรมรณรงค์และเยี่ยมชมจุดสาธิตมาตรการการดำเนินงานป้องกันเด็กจมน้ำ
จากรายงานองค์การอนามัยโลกพบว่า ในทุกๆปีมีเด็กทั่วโลก (อายุต่ำกว่า 15 ปี) เสียชีวิตจากการจมน้ำ 140,219 คน โดยเสียชีวิตเป็นอันดับ 3 รองจากโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบและเอดส์
สำหรับสถานการณ์ของประเทศไทยพบว่า การจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี ซึ่งมีจำนวนการเสียชีวิตสูงมากกว่าโรคติดต่อนำโดยแมลงและไข้เลือดออก ถึง 14 เท่าตัว
จากข้อมูลของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าทุกๆ 8 ชั่วโมง จะมีเด็กจมน้ำเสียชีวิต 1 คน โดยเฉลี่ยทุกๆ 1 เดือนประเทศไทยสูญเสียเด็กจากการจมน้ำเสียชีวิตมากกว่า 90 คน ซึ่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (ปี 2549-2558) ประเทศไทยสูญเสียเด็กไปแล้วถึง 10,923 คน
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค วิเคราะห์ข้อมูลความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากจมน้ำ พบว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2554 – 2558) กลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี พบจมน้ำเสียชีวิตสูงเฉลี่ยถึงปีละ 192 คน คิดเป็นร้อยละ 21 ของกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีทั้งหมด ส่วนภาชนะที่มักพบว่าเด็กกลุ่มนี้จมน้ำบ่อย ได้แก่ ถังน้ำ ถังสี กะละมัง กระติกน้ำ โอ่ง และอ่างอาบน้ำในห้องน้ำ ภายในบ้านและในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หรือแม้แต่สระว่ายน้ำภายในบ้านของตนเอง ซึ่งพบว่าเด็กเล็กมักจะจมน้ำในภาชนะที่มีน้ำเล็กน้อยประมาณ 1-2 นิ้วเท่านั้น สาเหตุมักเกิดจากผู้ดูแลเด็กทำกิจกรรมบางอย่างเพียงระยะเวลาสั้นๆ เช่น เข้าห้องน้ำ ทำกับข้าว คุยโทรศัพท์ เปิด-ปิดประตูบ้าน เพียงระยะเวลาไม่กี่นาที ประกอบกับขาดการจัดการแหล่งน้ำเสี่ยงในบ้าน ซึ่งไม่คิดว่าแหล่งน้ำดังกล่าวจะเป็นอันตรายเพราะมีระดับน้ำเพียงเล็กน้อย โดยกลุ่มเด็กเล็ก มักเดินตามเป็ดหรือสุนัข และพลัดตกลงไปในน้ำในบ่อน้ำ รอบๆบ้านได้ โดยเฉพาะช่วงนี้เป็นช่วงปิดเทอมผู้ปกครองส่วนใหญ่จะให้พี่ดูแลน้องหรือผู้สูงอายุดูแลเด็ก จากข้อมูลย้อนหลังในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พบว่าในช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อน (มีนาคม - พฤษภาคม) เป็นช่วงที่มีเด็กจมน้ำเสียชีวิตสูงสุด ในบางปีมีจำนวนสูงเกือบ 400 คน ส่วนเดือนที่จมน้ำเสียชีวิตสูงที่สุดคือเมษายน เฉลี่ย 134 คน โดยช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อนในปี 2558 ที่ผ่านมา มีข้อมูลผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำ 250 คน จึงขอให้ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กให้ความระมัดระวังและร่วมมือกันป้องกันไม่ ให้เด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำ
การจมน้ำเป็นสิ่งที่สามารถป้องกันได้ เด็กไทยจึงไม่ควรเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ดังนั้น กรมควบคุมโรค จึงได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่า ภายในปี 2565 “เด็กจมน้ำเสียชีวิตต้องเท่ากับศูนย์” โดยได้กำหนดกลยุทธ์ “ทีมผู้ก่อการดี” ดำเนินงานแบบสหสาขา ครอบคลุมทุกมาตรการ และใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ เพื่อกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนเกิดการตื่นตัว และร่วมกันปกป้องคุ้มครองสิทธิเด็กไทย ไม่เฉพาะช่วงปิดเทอม แต่ต้องดำเนินงานตลอดทั้งปี โดยปีที่ผ่านมามีทีมผู้ก่อการดีทั้งสิ้น 335 ทีม

สำหรับมาตรการป้อง**การป้องกัน**เน้นใน 2 กลุ่มสำคัญ ได้แก่
1.มาตรการป้องกันการจมน้ำในเด็กเล็ก (อายุต่ำกว่า 5 ปี) คือ “เทน้ำ กั้นคอก ปิดฝา เฝ้าดูตลอดเวลา” ดังนี้
เทน้ำ ทิ้งหลังใช้งาน ฝัง/กลบหลุมหรือร่องน้ำที่ไม่ได้ใช้งาน
กั้นคอก จัดให้มีสถานที่เล่นที่ปลอดภัยสำหรับเด็กซึ่งห่างไกลจากแหล่งน้ำ โดยมีลักษณะแบบคอกกั้นเด็ก มีรั้วล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน ในทุกครัวเรือนที่มีเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปีควรใช้คอกกั้นเด็ก เพราะนอกจากจะช่วยป้องกันเด็กเล็กจมน้ำแล้ว ยังช่วยป้องกันการบาดเจ็บจากสาเหตุอื่นๆ เช่น รถทับ ไฟฟ้าช็อต พลัดตกหกล้ม โดยเฉพาะเมื่อผู้ปกครองทำกิจกรรมอื่นๆชั่วคราว ซึ่งคอกกั้นเด็กสามารถทำได้เองง่าย เช่น ไม้ไผ่ ท่อพีวีซี เป็นต้น
ปิดฝา ภาชนะใส่น้ำ กะละมัง โอ่งน้ำ ตุ่มน้ำ
เฝ้าดูตลอดเวลา ไม่ปล่อยให้เด็กอยู่ตามลำพังแม้เพียงชั่วขณะ ที่สำคัญเปลี่ยนความคิดว่าคอกกั้นเด็กคือที่ขังเด็ก เพราะเราไม่ได้นำเด็กไว้บริเวณพื้นที่ดังกล่าวตลอดเวลา เพียงแค่ไม่กี่นาทีที่เราติดภารกิจ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเสี้ยวนาทีชีวิตของลูกหลาน

2.มาตรการป้องกันการจมน้ำในเด็กโต (อายุมากกว่า 5 ปี) คือ“ลอยตัว ชูชีพ ช่วยเหลือ ปฐมพยาบาล” ดังนี้
ลอยตัว สอนให้เด็กรู้วิธีการเอาชีวิตรอดในน้ำเมื่อตกน้ำ โดยการลอยตัวเปล่าหรือลอยตัวโดยใช้อุปกรณ์ช่วย,
ชูชีพ สอนให้ประชาชนและเด็กรู้จักกฎความปลอดภัยทางน้ำ เช่น ไม่ปล่อยให้เด็กอยู่ใกล้แหล่งน้ำตามลำพัง ไม่ว่ายน้ำคนเดียว ไม่แกล้งจมน้ำ ไม่ดื่มสุรา รวมถึงการใช้ชูชีพทุกครั้งที่เดินทางทางน้ำ,
ช่วยเหลือ สอนให้เด็กรู้จักวิธีการช่วยเหลือที่ถูกต้อง โดยการ “ตะโกน โยน ยื่น” (ตะโกน : เรียกให้ผู้ใหญ่มาช่วย และโทร 1669, โยน : อุปกรณ์เพื่อช่วยเหลือคนตกน้ำ เช่น ขวดน้ำพลาสติก ห่วงชูชีพ อุปกรณ์ที่ผูกเชือก, ยื่น : ไม้ เสื้อ กางเกง เข็มขัด เพื่อช่วยเหลือคนตกน้ำ),
ปฐมพยาบาล สอนและฝึกปฏิบัติให้ประชาชนและเด็กรู้วิธีการปฐมพยาบาลคนจมน้ำที่ถูกต้อง โดยห้ามจับเด็กอุ้มพาดบ่า แล้วกระแทกเพื่อเอาน้ำออก

จากการสำรวจพฤติกรรมการใช้เสื้อชูชีพของสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค พบว่า ประชาชนทุกกลุ่มอายุใช้เสื้อชูชีพ ขณะเดินทางหรือทำกิจกรรมทางน้ำ ร้อยละ 15.7 ซึ่งมีการใส่ถูกต้องเพียงร้อยละ 4.2 ส่วนเด็กมีการใช้เสื้อชูชีพ ขณะเดินทางหรือทำกิจกรรมทางน้ำ ร้อยละ 18.0 ซึ่งใส่ถูกต้องเพียงร้อยละ 6.0 ผลการสำรวจพบว่าประชาชนยังมีความเข้าใจไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ชูชีพ นั่นคือ ชูชีพที่ทุกคนเข้าใจเห็นทั่วไปตามเรือคือ เสื้อพยุงตัว ซึ่งออกแบบมาให้ใส่สบาย และเคลื่อนไหวได้คล่องตัว แต่จะไม่ช่วยพลิกตัวผู้สวมใส่ให้หน้าหงายขึ้นเหนือน้ำ ดังนั้นเวลาใช้จึงต้องตีขาช่วย และหากคนที่ใส่ หมดสติ ก็จมน้ำเสียชีวิตได้ ส่วนเสื้อชูชีพจะถูกออกแบบให้พลิกตัวผู้ประสบภัยให้หงายหน้าขึ้นเหนือน้ำ ทำให้คนที่หมดสติไม่จมน้ำ แต่จะเทอะทะ และทำให้เคลื่อนไหวลำบาก

ในโอกาสวันรณรงค์ป้องกันเด็กจมน้ำในปี 2559 นี้ ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 5 มีนาคม 2559 (วันเสาร์แรกของเดือนมีนาคม) กรมควบคุมโรค จัดทำเพลงเพื่อป้องกันการจมน้ำในเด็กเล็ก โดยเน้นสอนให้เด็กกลุ่มนี้รู้จักแหล่งน้ำเสี่ยง เช่นถังน้ำ อ่างน้ำ ตุ่มน้ำ และสอนเด็กไม่ให้เข้าไป “อย่าใกล้ อย่าเก็บ อย่าก้ม”
อย่าใกล้... เมื่อเจอแหล่งน้ำ อย่าเข้าใกล้ เพราะอาจลื่นพลัดตกลงในน้ำ
อย่าเก็บ...เมื่อเห็นสิ่งของตกลงไปในน้ำ อย่าเก็บเองต้องให้ผู้ใหญ่ช่วยเก็บให้
อย่าก้ม... อย่าก้มหรือชะโงก ลงไปในโอ่งน้ำ ตุ่มน้ำ ถังน้ำ เพราะอาจหัวทิ่มลงไปในภาชนะ
และจัดประกวดคลิปวีดิโอเต้นประกอบเพลงสำหรับเด็กเล็ก ซึ่งสามารถดูรายละเอียดและดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่เว็บไซด์สำนักโรคไม่ติดต่อ https://www.thaincd.com หรือ https://www.facebook.com/thaincd และสามารถส่งคลิปเข้าร่วมประกวด ตั้งแต่วันนี้จนถึง 29 เมษายน 2559 สอบถามโทร 0 2590 3967, 0 2951 0402
*******************************************************
ข้อมูลจาก : สำนักโรคไม่ติดต่อ / สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค วันที่ 3 มีนาคม 2559
เผยแพร่ : กลุ่มสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น
https://www.dpc6pr.com




 

“เด็กจมน้ำ” ภัยใกล้ตัว ช่วงปิดเทอม
---------------
พบข้อมูลสำคัญ ยันจำนวนเด็กจมน้ำ เพิ่มสูง “เด็กจมน้ำ” สถิติตายสูงสุดในช่วงปิดเทอม (มีค.-พค.)
คิดเป็น 1 ใน 3 ของจำนวนการเสียชีวิตของทั้งปี หาก“ว่ายน้ำเป็น” โอกาสรอดถึง 4 เท่า

เด็กอายุ 1-5 ปี ว่ายน้ำไม่เป็น ร้อยละ 95.7 ว่ายน้ำพอได้แต่ต้องมีคนช่วย ร้อยละ 2.7 ว่ายน้ำเป็น ร้อยละ 1.6
เด็กอายุ 6-9 ปี ว่ายน้ำไม่เป็น ร้อยละ 75.2 ว่ายน้ำพอได้แต่ต้องมีคนช่วย ร้อยละ 9.5 ว่ายน้ำเป็น ร้อยละ 15.4
เด็กอายุ 6-9 ปี ว่ายน้ำไม่เป็น ร้อยละ 46.6 ว่ายน้ำพอได้แต่ต้องมีคนช่วย ร้อยละ 8.5 ว่ายน้ำเป็น ร้อยละ 44.9
---------------
ข้อมูลจาก : รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ.2551-2552
ที่มา : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) https://goo.gl/FeS0VG
ดาวน์โหลดงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ได้ที่ https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/2976


"""""""""""""""""""""""""""""""""""





💦"ปิดเทอม" "สงกรานต์" เล่นน้ำ...ปลอดภัย💦
เล่นน้ำ พกขวดไปด้วย ช่วยได้
(* ขวดน้ำ/แกลลอนพลาสติกเปล่าใช้สะพายแล่ง หากหมดแรงให้นำมากอด แนบหน้าอกและลอยตัว..รอการช่วยเหลือ)
https://www.thaincd.com/2016/media-detail.php?id=13484&gid=1-015-009


ที่มา https://www.facebook.com/thaincd/photos/a.150996435004008/1700370453399924/?type=3&theater

 

การป้องกันเด็กจมน้ำ ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะตรงกับช่วงปิดเทอม ซึ่งมักจะมีข่าวว่าเด็กอายุต่ำกว่า15 ปี จมน้ำเป็นเสียชีวิตมาเป็นอันดับ 1

มาตรการที่ต้องยึดไว้ใช้ยามฉุกเฉิน คือตะโกน โยน ยื่นได้แก่

1. ตะโกน คือ การเรียกให้คนอื่นมาช่วย และโทรแจ้งทีมแพทย์กู้ชีพ1669

2. โยนอุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ตัวเพื่อช่วยคนตกน้ำเกาะจับพยุงตัวเช่น เชือก ถังแกลลอนพลาสติกเปล่า โดยโยนครั้งละหลายๆชิ้น

3. ยื่นอุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ตัวให้คนตกน้ำจับ เช่น ไม้เสื้อ ให้คนตกน้ำจับและดึงขึ้นมาจากน้ำ โดยไม่ต้องกระโดดลงไปช่วยเพราะจากข้อมูลพบว่าเด็กมักจะจมน้ำเสียชีวิตพร้อมกันครั้งละหลายๆ คนเนื่องจากเด็กไม่รู้วิธีการเอาชีวิตรอดในน้ำและวิธีการช่วยเหลือผู้อื่นที่ถูกต้อง


การช่วยเหลือ ผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้น สำหรับประชาชนทั่วไป ... จาก เฟสผู้พลาดพลั้งแห่งวันศุกร์   
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=07-07-2014&group=4&gblog=102

โรคหน้าร้อน โรคลมแดด    
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-04-2015&group=4&gblog=107

.........................

 

รู้ไว้เลย คนกำลังจมน้ำไม่เหมือนในหนังในละคร

https://likedee.com/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%A2-%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3/

หลายๆคนคงคิดใช่มั้ยครับ ว่าถ้าหากคนกำลังจมน้ำเขาคงตะเกียกตะกายฟาดแขนสะบัดขาให้น้ำกระจาย โบกมือขอความช่วยเหลือตะโกนเรียกคนแถวนั้น และแน่นอนว่าในภาพยนตร์หรือละครก็เป็นแบบนี้เช่นกัน

ประเด็นคือมันนำมาซึ่งปัญหาได้เพราะคนอาจมองข้ามวินาทีสำคัญไป

 แน่นอนว่าเมื่อคนรู้ตัวว่าว่ายน้ำไม่เป็นหรือเป็นตะคริว สิ่งแรกที่เขาทำหลังจากรู้ตัวว่า “กำลัง” จะจมน้ำ ก็อาจจะเป็นการตะเกียกตะกายที่ยังคงเห็นได้ชัดเจน แต่เมื่อเวลาผ่านไปอาการจมน้ำกลับกลายเป็นอีกแบบโดยสิ้นเชิง

 อาการของคนจมน้ำถูกแสดงออกมาในรูปแบบที่เรียกว่า การตอบสนองต่อการจมน้ำโดยสัญชาตญาณ (InstinctiveDrowning Response) ซึ่งถูกอธิบายโดย Dr. Francesco A. Pia

 อาการดังกล่าวคือการที่ผู้จมน้ำจะพยายามเอาปากและจมูกขึ้นฮุบอากาศเหนือน้ำในลักษณะขึ้นๆลงๆทำให้อากาศที่ได้น้อยลงๆเรื่อยๆและไม่พอ จนท้ายที่สุดความต้องการอากาศจะอยู่เหนือความต้องการร้องขอความช่วยเหลือหรือตะโกนโวยวายเพราะฉะนั้นสิ่งที่เขาทำก็คือการเอาหัวขึ้นฮุบอากาศเท่านั้นไม่ใช่การตะโกนขอความช่วยเหลือใดๆ

 นอกจากนี้คนที่กำลังจมน้ำอาจไม่โบกมือตะเกียกตะกายด้วย แขนทั้งสองข้างของเขาจะพยายาม “ดึง”ตัวเองขึ้นจากน้ำโดยเอามือพยายามคว้าน้ำแล้วดึงตัวเองขึ้นในลักษณะคล้ายการปีนบันไดลิงซึ่งอาการนี้จะทำโดยสัญชาตญาณของร่างกายและผู้ที่จมน้ำมักไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่ากำลังทำอะไร และในรายที่ร้ายแรงขาของเขาอาจจะปล่อยนิ่ง ไม่มีการถีบตัวขึ้นเลยสักนิดด้วย

 และอาการ “ดึง” น้ำนี้มักจะเป็นอาการที่คร่าชีวิตของคนที่ลงไปช่วยคนจมน้ำด้วยเนื่องจากผู้จมน้ำจะดึงทุกอย่างโดยสัญชาตญาณและดึงแม้กระทั่งคนที่ช่วยลงมาใต้น้ำ

 ซึ่งเมื่อมองอาการนี้โดยภาพรวมแล้วอาจเหมือนเป็นเพียงแค่คนที่กำลังเล่นน้ำทำหัวผลุบโผล่เท่านั้นทั้งๆที่จริงๆแล้วอีกแค่20-60วินาทีหลังจากนั้นเขาก็จะจมหายลงไปใต้น้ำแล้ว

วิธีที่ดีที่สุดที่จะเช็คว่าคนๆนั้นจมน้ำหรือไม่ก็คือการเดินเข้าไปถามเลยครับ ว่าโอเครึเปล่า? ถ้าเขาเล่นอยู่ที่ผิวน้ำจริงๆแน่นอนว่าเขาก็ต้องตอบมาว่าไม่ได้เป็นอะไร หรือโผล่หน้าขึ้นมามองงงๆแต่ถ้าหากเขาทำท่านิ่งต่อไป และดูแทบจะไม่เห็นเราที่เข้าไปถามด้วยซ้ำแสดงว่าเขาอาจจะกำลังตกอยู่ในอันตรายก็ได้ครับ

............................

 

 

หนังสือ หลักสูตร+คู่มือว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด (Survival Swimming Curriculum) 2552
จัดทำ และเผยแพร่ โดย กระทรวงสาธารณสุข

เนื้อหาหลักสูตร แบ่งออกเป็น 3 หน่วยการเรียนคือ
หน่วยการเรียนที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยทางน้ำ (Water Safety Knowledge) ใช้เวลาเรียน 1 ชั่วโมง
เป็นการให้ความรู้และสอนให้เด็กรู้จัก
1) แหล่งน้ำเสี่ยงทั้งในบ้าน รอบบ้าน ละแวกบ้าน และในชุมชน
2) สภาพแหล่งน้ำ เช่น น้ำลึก น้ำตื้น น้ำวน ปรากฏการณ์ Rip Current
3) วิธีการลงและขึ้นแหล่งน้ำด้วยความปลอดภัย
4) ทักษะความปลอดภัยในกิจกรรมทางน้ำ (การปฏิบัติตามระเบียบการใช้สระว่ายน้ำ และกฎแห่งความปลอดภัยทั่วไป)
5) ความปลอดภัยในการเดินทางทางน้ำ

หน่วยการเรียนที่ 2 การเอาชีวิตรอดและพื้นฐานการว่ายน้ำ (Swim and Survive) ใช้เวลาเรียน 10 ชั่วโมง
เป็นการสอนให้เด็กมีทักษะ
1) การเอาชีวิตรอดในน้ำ โดยการลอยตัวทั้งการลอยตัวแบบนอนคว่ำ (ท่าปลาดาว ท่าแมงกะพรุน) การลอยตัวแบบนอนหงาย (แม่ชีลอยน้ำ) และการลอยตัวแบบลำตัวตั้ง (การลอยคอ การลอยตัวแบบลูกหมาตกน้ำ) การทำท่าผีจีน (Kangaroo jump) การใช้อุปกรณ์ช่วยในการเอาชีวิตรอด เช่น ขวดน้ำดื่มพลาสติก รองเท้าแตะฟองน้ำ การเคลื่อนที่ไปจับอุปกรณ์ลอยน้ำในน้ำลึก และการเลือกใช้เสื้อชูชีพ
2) พื้นฐานการว่ายน้ำ ได้แก่การสร้างความคุ้นเคยกับน้ำ การหายใจในการว่ายน้ำ (Bobbing or Proper Breathing) การเคลื่อนที่ไปในน้ำ การกระโดดพุ่งหลาว และการเตะเท้าคว่ำแล้วพลิกหงายแล้วพลิกคว่ำสลับกัน

หน่วยการเรียนที่ 3 การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ (Water Rescue) ใช้เวลาเรียน 3 ชั่วโมง
เป็นการสอนให้เด็กรู้จักการร้องขอความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ การช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำด้วยการโยนอุปกรณ์ เช่น ขวดน้ำดื่มพลาสติก ถังแกลลอน เสื้อชูชีพ และการช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำด้วยการยื่นอุปกรณ์ เช่น Kick board ท่อ PVC ไม้พลอง กิ่งไม้ หรือ Swimming Noodle

ดาวน์โหลดหนังสือได้ที่ ..
https://www.thaincd.com/drowning/video-view.php?id=432
https://www.mediafire.com/view/1glgek0if4k4w2i/หลักสูตร+คู่มือว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด_(Survival_Swimming_Curriculum)_2552.pdf

 

 

..........................


“เอาชีวิตรอดได้ ช่วยเป็น พื้นที่เล่นปลอดภัย เด็กไม่จมน้ำ”
รณรงค์ป้องกันเด็กจมน้ำ ปี 2563 🏊‍♂️🏊‍♀️

อ่านต่อที่... https://bit.ly/2T0bDsp
สธ. ร่วมกับภาคีเครือข่าย รณรงค์ป้องกันเด็กจมน้ำ ปี 2563 “เอาชีวิตรอดได้ ช่วยเป็น พื้นที่เล่นปลอดภัย เด็กไม่จมน้ำ”

21 กุมภาพันธ์ 2563
108 View

กระทรวงสาธารณสุข จัดกิจกรรมวันรณรงค์ป้องกันเด็กจมน้ำ ปี 2563 ภายใต้แนวคิด “เอาชีวิตรอดได้ ช่วยเป็น พื้นที่เล่นปลอดภัย เด็กไม่จมน้ำ” หวังเด็กไทยมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ มีทักษะการเอาชีวิตรอดเมื่อตกน้ำ ช่วยเหลือคนตกน้ำอย่างถูกต้อง และมีพื้นที่เล่นน้ำที่ปลอดภัยแก่เด็กแต่ละวัย พร้อมจัดการแข่งขันการโยนเชือกช่วยคนตกน้ำครั้งแรกของประเทศไทย

วันนี้ (21 กุมภาพันธ์ 2562) ที่สระว่ายน้ำองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรีดร.นายแพทย์ปรีชา เปรมปรี รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยพันตำรวจเอกธงชัย เย็นประเสริฐ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี และ ผศ.ดร.อิทธิกร ขำเดช นายกสมาคมเพื่อช่วยชีวิตทางน้ำ ร่วมแถลงข่าวกิจกรรมวันรณรงค์ป้องกันเด็กจมน้ำ ปี 2563 ภายใต้แนวคิด “เอาชีวิตรอดได้ ช่วยเป็น พื้นที่เล่นปลอดภัย เด็กไม่จมน้ำ” หรือ “Safety Zone...Safety Skills” Stop Drowning !!

ดร.นายแพทย์ปรีชา กล่าวว่า การจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี ซึ่งมากกว่าการเสียชีวิตจากสาเหตุอื่นๆ ทั้งโรคติดเชื้อและโรคไม่ติดเชื้อ โดย 10 ปีที่ผ่านมา (ปี 2553-2562) เด็กไทยเสียชีวิตจากการจมน้ำไปแล้ว 8,394 ราย หรือเฉลี่ยปีละ 839 ราย หรือวันละ 2 ราย และล่าสุดในปี 2562 มีเด็กจมน้ำเสียชีวิต 550 ราย ช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อน (มี.ค.-พ.ค.) เป็นช่วงที่เกิดเหตุจมน้ำสูงสุด ร้อยละ 36.2 ของการจมน้ำเสียชีวิตทั้งปี ทั้งนี้ เกือบครึ่งหนึ่งของเด็กที่จมน้ำจะเสียชีวิต ณ จุดเกิดเหตุ เพราะตั้งแต่เด็กตกลงไปในน้ำจนจมอยู่ใต้น้ำจะใช้เวลาเพียง 4 นาที ก็ทำให้สมองขาดออกซิเจนและเสียชีวิตได้ และพบว่าการจมน้ำของเด็ก โดยเฉพาะอายุ 5-14 ปี ส่วนใหญ่เกิดจากการชวนกันไปเล่นน้ำ และเมื่อเพื่อนคนหนึ่งตกน้ำ เพื่อนคนที่ว่ายน้ำเป็น มักจะกระโดดลงน้ำไปช่วย ทำให้บ่อยครั้ง มักพบเด็กจมน้ำพร้อมกันครั้งละหลายๆ คน

กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค ได้ดำเนินงานป้องกันการจมน้ำมาอย่างต่อเนื่อง (ตั้งแต่ปลายปี 2549) ทำให้จำนวนการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กค่อยๆ ลดลงอย่างชัดเจน จากเดิมเสียชีวิตเฉลี่ยปีละ 1,500 คน ปัจจุบันในปี 2562 มีเด็กจมน้ำเสียชีวิต 550 คน (ลดลงถึงร้อยละ 63.3) ซึ่งที่ผ่านมากรมควบคุมโรคได้ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายต่างๆ ทั้งภาครัฐ ท้องถิ่น เอกชน และจิตอาสา ดำเนินงานป้องกันการจมน้ำในมาตรการต่างๆ ทั้งกลยุทธ์ผู้ก่อการดี (MERIT MAKER) การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในสถานบริการสาธารณสุข การจัดการแหล่งน้ำเสี่ยงในชุมชนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพื่อให้เกิดความปลอดภัย การสอนหลักสูตรว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด การรณรงค์และสื่อสารประชาสัมพันธ์ การผลักดันให้เกิดกฎหมายและข้อบังคับต่างๆ เป็นต้น

ดร.นายแพทย์ปรีชา กล่าวอีกว่า กระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้วันเสาร์แรกของเดือนมีนาคมของทุกปี เป็นวันรณรงค์ป้องกันเด็กจมน้ำ โดยในปี 2563 นี้ตรงกับวันเสาร์ที่ 7 มีนาคม และได้กำหนดกิจกรรมรณรงค์ภายใต้แนวคิด “เอาชีวิตรอดได้ ช่วยเป็น พื้นที่เล่นปลอดภัย เด็กไม่จมน้ำ” ดังนี้ 1.เอาชีวิตรอดได้ คือเมื่อตกน้ำ อย่าตกใจ ตั้งสติ ลอยตัวเปล่าหรือลอยตัวโดยใช้อุปกรณ์ที่ลอยน้ำได้เพื่อรอคนมาช่วย 2.ช่วยเป็น คือช่วยให้ถูกวิธี ไม่กระโดดลงไปช่วย แต่ให้ช่วยด้วยวิธีที่ปลอดภัยคือ “ตะโกน โยน ยื่น” และ 3.พื้นที่เล่นปลอดภัย คือครอบครัว ชุมชน และผู้ประกอบการ ร่วมกันจัดพื้นที่เล่นและพื้นที่เล่นน้ำที่ปลอดภัยให้แก่เด็กแต่ละวัย ทั้งนี้ ในปีนี้กรมควบคุมโรค ได้ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี และสมาคมเพื่อช่วยชีวิตทางน้ำ จัดกิจกรรมแข่งขันการโยนเชือกช่วยคนตกน้ำครั้งแรกของประเทศไทย ชิงถ้วยรางวัลจากนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และเงินรางวัลรวม 20,000 บาท โดยมีทีมเข้าร่วมแข่งขัน 76 ทีมจากจังหวัดต่างๆ แบ่งเป็นประเภทอายุ 6-9 ปี จำนวน 32 ทีม และประเภทอายุ 10-14 ปี จำนวน 44 ทีม

ด้านพันตำรวจเอกธงชัย กล่าวว่าปัจจุบันจังหวัดนนทบุรีมีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ประมาณ 1.8 แสนคน หรือประมาณร้อยละ 15 ของทุกกลุ่มอายุ โดยจังหวัดนนทบุรีมีเด็กจมน้ำเสียชีวิตในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2558-2562) ถึง 29 ราย เฉลี่ยปีละเกือบ 6 ราย โดยช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อนปีที่แล้ว มีเด็กวัยเรียนจมน้ำเสียชีวิตถึง 3 ราย (อายุ 6, 11, 12 ปี) อย่างไรก็ตาม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี มีนโยบายสำคัญที่จะดำเนินการให้มีความครอบคลุมในเรื่องดังกล่าว โดยจะให้เด็กอายุ 6 ปีขึ้นไป สามารถว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดได้ โดยเด็กวัยเรียนทุกคนจะต้องมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ มีทักษะการเอาชีวิตรอดเมื่อตกน้ำ และเมื่อเห็นคนตกน้ำสามารถช่วยเหลือได้อย่างถูกต้อง โดยไม่กระโดดลงไปช่วยเพราะอาจถูกกอดรัดจนจมน้ำเสียชีวิตพร้อมกันได้ ซึ่งเชื่อมั่นว่าหน่วยงานภาคท้องถิ่นทุกแห่งให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ และสามารถสนับสนุนการดำเนินงานได้ ทั้งการพัฒนาครูผู้สอน การให้เด็กเข้าถึงสระ การจัดพื้นที่เล่นของเด็กให้มีความปลอดภัย และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมบริเวณแหล่งน้ำต่างๆ ทั้งแหล่งน้ำตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นเองและที่เราขุดขึ้นมาสำหรับกักเก็บน้ำ ให้มีความปลอดภัย

ส่วน ผศ.ดร.อิทธิกร กล่าวว่า การโยนเชือกช่วยคนตกน้ำ เป็นการแข่งขันที่มีการแข่งขันกันในระดับสากล มีกติกาประกอบด้วย ผู้เข้าแข่งขัน 2 คน หนึ่งคนเป็นผู้โยนเชือกช่วย และอีกหนึ่งคนเป็นผู้ประสบภัยทางน้ำอยู่ในน้ำ ระยะทางในการแข่งขันคือ 12.5 เมตร ซึ่งมีรายละเอียดของกติกาค่อนข้างมาก และในการแข่งขันครั้งนี้เป็นการแข่งขันของเด็กอายุ 6-14 ปี จึงใช้ระยะทางเพียง 10 เมตร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการเผยแพร่ให้เด็กรู้วิธีการช่วยคนตกน้ำที่ถูกต้อง โดยไม่กระโดดลงไปช่วย ซึ่งเป็นการแข่งขันของเด็กและเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ดังนั้นกติกาบางข้ออาจจะมีการปรับเปลี่ยน เพื่อให้เกิดความเหมาะสม ซึ่งอาจไม่เข้มข้นมากเท่ากับการแข่งขันในระดับโลกอย่างไรก็ตาม ทางสมาคมเพื่อช่วยชีวิตทางน้ำของประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกของสมาคมด้านความปลอดภัยทางน้ำระดับโลก มีแผนที่จะจัดการแข่งขันโยนเชือกช่วยคนตกน้ำสำหรับประชาชนทั่วไป ตามกติกาการแข่งขันระดับสากล และเพื่อคัดเลือกนักกีฬาสำหรับส่งเข้าแข่งขันในระดับโลก ต่อไป

*********** ข้อมูลจาก:กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค/วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563


***********************************************************








 

Create Date : 26 เมษายน 2558   
Last Update : 2 มีนาคม 2565 14:30:28 น.   
Counter : 15347 Pageviews.  

นักกีฬาเสียชีวิตคาสนาม เกิดจากอะไร ? .... เขียนโดย 1412 เวบไทยคลินิก



ได้อ่านจากเวบไทยคลินิก น่าจะเป็นประโยชน์และเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง

หัวข้อ 32086: นักกีฬาเสียชีวิตคาสนาม เกิดจากอะไร?

//www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action=display;num=1423544968

เมื่อ: 10กุมภาพันธ์2558  เวลา 12:09pm »

จากข่าวนักกีฬาที่เสียชีวิตในอายุน้อยๆ ที่มีมาเรื่อยๆจนล่าสุดเป็นอดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทยอายุ 38 ปี เสียชีวิตขณะเล่นฟุตบอล
ผมขอแสดงความเสียใจมา ณ ที่นี้ด้วย
สื่อต่างๆมีการนำเสนอข่าวออกไป มักจะเขียนว่าหัวใจล้มเหลว
ก็มีการวิพากษ์วิจารณ์ไปต่างๆนานา ว่าขนาดนักกีฬาแข็งแรง อย่างนักกีฬาทีมชาติ ยังเสียชีวิตได้
ที่หนักข้อจนผมต้องมาตั้งกระทู้นี้ ก็คือสื่อวิทยุ และ โทรทัศน์ มีการนำเสนอที่ไม่ถูกต้องเช่น เวลาเล่นกีฬาคุณต้องหายใจลึกๆ หรือวอร์มร่างกายก่อนจะไม่เป็นแบบนี้ ซึ่งมันไม่ได้เกี่ยวกัน

การเสียชีวิตกะทันหันขณะเล่นกีฬาเกิดจากอะไร?
เกิดจากการที่หัวใจหยุดทำงานหรือหัวใจทำงานไม่ได้ฉับพลัน ภาษาแพทย์เรียกว่า Sudden Cardiac Death
เลือดไม่สามารถถูกสูบฉีดออกไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญต่างๆได้ เช่น สมอง และ หัวใจ จึงหมดสติไปกะทันหันและจบด้วยการเสียชีวิต

ในคนอายุมากๆมีโรคต่างๆก็พอเข้าใจ แต่ นักกีฬาที่แข็งแรงทำไมถึงเกิดขึ้นได้?
ถูกแล้วครับในคนอายุมากๆโดยเฉพาะถ้ามีโรคร่วมต่างๆ
หัวใจหยุดทำงานฉับพลัน มักเกิดจาก หลอดเลือดหัวใจตันกะทันหัน หรือ heart attack และฃภาวะอื่นๆที่มีผลชักนำให้หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ หรือ ทำให้หัวใจทำงานไม่ได้

แต่ในคนอายุน้อยที่แข็งแรงดีเช่นนักกีฬาไม่ควรจะเกิดขึ้นถูกมั๊ยครับ
จึงมีการจัดกลุ่มแยกออกมา ในคนที่อายุน้อยกว่า 35 ปี
เรียกว่า Sudden Cardiac Death in the Young

ว่ากันว่า ผู้เสียชีวิตรายแรกที่ถือเป็น Sudden Cardiac Death in the Young และถูกบันทึกอย่างเป็นทางการ เกิดเมื่อราวๆ 500 ปีก่อนคริสตกาล
ซึ่งก็คือ Phidippides ทหารกรีกที่วิ่งจากเมือง Marathon กลับมายัง Athens เพื่อส่งข่าวถึงชัยชนะเหนือชาวเปอร์เซีย
เป็นระยะทาง 26.2 ไมล์ และ เสียชีวิต ซึ่งเป็นที่มาของการวิ่งมาราธอน 

แล้วมันเกิดจากอะไร?
กำลังจะเล่าแล้วครับผม 
ในคนอายุน้อยๆดูแข็งแรงดีแบบพวกเรา
เกิดได้จากหลายสาเหตุ ไล่ตามลำดับที่พบบ่อยไปนะครับ

1. หัวใจหนาผิดปกติแต่กำเนิด ภาษาแพทย์เรียกว่า Hypertrophic Cardiomyopathy (HCM)
พบได้ราวๆ 1 ใน 3 หรือ 30-40% ของการที่หัวใจหยุดทำงานฉับพลันในอายุน้อยๆ
หัวใจหยุดทำงานฉับพลันในโรคนี้ไม่ได้เกิดจากการตีบตัน ของกล้ามเนื้อหัวใจเวลาบีบตัวแรงๆเร็วๆนะครับ
แต่เกิดจากการนำไฟฟ้าของกล้ามเนื้อที่ผิดปกติ จนนำไปสู่การสั่นพริ้วของกล้ามเนื้อหัวใจ
มีโอกาสเกิดได้มากขึ้นเวลาออกกำลัง
หากชันสูตรศพผู้เสียชีวิต ก็จะทราบได้
โรคนี้สามารถใช้ชีวิตได้ปกติ โดยไม่มีอาการอะไรเลยครับ
หมอตรวจร่างกายไม่เจออะไรผิดปกติก็ยังได้ แต่คลื่นไฟฟ้่าหัวใจอาจจะตรวจพบความผิดปกติ
และการวินิจฉัยโรคนี้ ทำได้โดยอัลตราซาวด์ หรือ เครื่องตรวจแม่เหล็กไฟฟ้าหัวใจ

2. เส้นเลือดหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด
พบได้ราวๆ 20% ของการที่หัวใจหยุดทำงานฉับพลันในอายุน้อยๆ
ทางเดินของเส้นเลือดอาจไปพาดอยู่ระหว่างหลอดเลือดใหญ่
เวลาออกกำลังจะโดนกดทับจากแรงดันในหลอดเลือดใหญ่ที่ล้อมรอบอยู่
หรือ อาจจะมีหลอดเลือดหัวใจน้อยเส้นกว่าปกติ
เมื่อออกกำลังมีโอกาสที่เลือดไปเลี้ยงไม่พอเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดฉับพลันได้
ส่งผลต่อเนื่องให้การนำไฟฟ้าผิดปกติ จนอาจเกิดการสั่นพริ้ว และหัวใจทำงานไม่ได้
คนไข้กลุ่มนี้อาจจะดูแข็งแรง โดยไม่มีอาการผิดปกติใดๆก็ได้
ตรวจร่างกาย หรือ คลื่นไฟฟ้าหัวใจก็ไม่พบความผิดปกติ
แต่ส่วนหนึ่งจะมีอาการเจ็บหน้าอกนำมาก่อนให้เรารู้
การวินิจฉัยต้องฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ หรือ เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์หลอดเลือดหัวใจ

3. กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
พบได้ราวๆ 5% ของการที่หัวใจหยุดทำงานฉับพลันในอายุน้อยๆ
เมื่อหลายเดือนก่อนเราเพิ่งมีน้องอายุ 18 ปี เดินๆอยู่ก็ล้มลงหน้าห้างกลางเมือง
สุดท้ายพบว่าเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ แต่โชคดีที่ห้างนั้นตั้งอยู่ใกล้รพ.ขนาดใหญ่ 5 นาทีถึง น้องก็เลยรอด
ชื่อโรคดูไม่น่ากลัว แต่ สำหรับแพทย์แล้วน่ากลัวมากกกก 

แล้วหัวใจอักเสบเกิดขึ้นได้ยังไง?
พวกนี้เกิดจากการติดเชิ้อไวรัสก็ได้ครับ หรือ อาจจะเกิดจากปฏิกิี่ริยาการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจโดยไม่ติดเชื้อก็ได้
หัวใจหยุดทำงาน จากการนำไฟฟ้าที่ผิดปกติเช่นเดียวกับสองสาเหตุแรก

แล้วมีสาเหตุอื่นๆอีีกมั๊ย?
ที่เหลือพบได้ไม่บ่อยมากครับเช่น
4. โรคการนำไฟฟ้าหัวใจผิดปกติโดยตรง ที่เป็นแต่กำเนิด (แต่เป็นโรคทีแพทย์อาจจะนึกถึงเป็นอันดับแรกๆ เวลามีคนอายุน้อยๆเสียชีวิต)
5. หลอดเลือดใหญ่ฉีกขาดจากโรคเนื้อเยื่อผิดปกติแต่กำเนิด
6. โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันฉับพลันแบบในคนอายุมากๆ
7. การถูกกระแทกที่หน้าอกแรงๆ ภาษาแพทย์เรียกว่า commotio cordis  กระตุ้นให้เกิดการนำไฟฟ้าที่ผิดปกติได้
อย่างการกระโดดถีบยอดอกแรงๆ หรือ ขาคู่ ยิ่งถ้าหลังติดกำแพง หรือแม้กระทั่ง heart break shot หรือหมัดกระแทกเข้าที่หน้าอก อย่างแรงของ ดาเตะ ในการ์ตูนญี่ปุ่นก็เป็นไปได้นะครับ แต่หมัดนั้นต้องแรงมากๆ

Sudden Cardiac Death in the Young เจอได้บ่อยมั๊ย อย่างพวกเราที่นั่งอ่านกระทู้มีโอกาสแค่ไหน?
ไม่เยอะครับ ในเมืองไทยเรายังไม่มีตัวเลขที่ชัดเจน
ถ้าเอาตัวเลขจากต่างประเทศอย่างสหรัฐอเมริกา
โอกาสเกิดราวๆ 1 ต่อ แสนคน นับจากคนอายุน้อยที่ลงทะเบียนเป็นนักกีฬา

เราควรต้องไปตรวจอะไรบ้างเพื่อจะได้รู้ว่ามีโรคพวกนี้ซ่อนอยู่รึเปล่า?
เป็นคำถามที่ดีมากครับ
แม้ในประเทศที่พัฒนาแล้วหลายๆประเทศ ที่ร่ำรวยกว่าเรามาก ก็ไม่สามารถ screen คนไข้ทุกคนได้ ดังนั้นแนะนำว่า
1. หากเคยมีอาการหมดสติมาก่อน หรือ เจ็บหน้าอกเวลาออกกำลัง
2. สมาชิกครอบครัวมีประวัติการหมดสติหาสาเหตุไม่เจอ หรือ เสียชีวิตฉับพลัน
แนะนำให้ไปตรวจกับแพทย์อย่างละเอียด

แม้กระนั้นก็ตาม บางโรคอาจจะตรวจไม่เจอได้ครับ ไม่มีทางที่จะ screen ได้ 100%
ยกตัวอย่างเช่น กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ซึ่งไม่ได้เป็นแต่กำเนิด ตอนไปตรวจอาจจะยังไม่มีอาการอักเสบ หรือ เส้นเลือดหัวใจผิดปกติ ที่ไม่มีอาการหรือไม่แสดงให้เห็นความผิดปกติจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นต้น

ถ้าพบเห็นคนล้มลงไปแบบนี้ จะช่วยได้อย่างไร ?
โทรเรียกรถพยาบาล หรือ เบอร์แพทย์ฉุกเฉินต่างๆ เพราะการรักษาเกือบทั้งหมดต้องช๊อกไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งบ้านเรายังไม่มีเครื่อง AED ในที่สาธารณะอย่างทั่วถึง
การไปให้ถึงห้องฉุกเฉินรพ.ที่เร็วที่สุด จะช่วยคนไข้ได้ครับ

ฝากแชร์ให้คนทั่วไปที่ไม่ได้อยู่ในวงการแพทย์อ่านหน่อยนะครับ
หรือแม้พวกเราเองไม่ว่าเป็นแพทย์สาขาไหนก็อาจจะถูกถามจากคนไข้ได้เช่นกัน 

ส่งโดย: 1412
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 3656 





...............................

แถม เรื่องเครื่อง AED จากเฟส สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) EMIT_1669

https://www.facebook.com/niem1669/photos/a.184197408286083.35030.149774598395031/835895389782945/?type=1

สำหรับเครื่อง AED เป็นเครื่องมือที่ใช้ระบบปฏิบัติการแบบอิเล็กทรอนิกส์พกพา ซึ่งประชาชนทั่วไปก็สามารถใช้เครื่องนี้ได้ โดยเมื่อมีการเปิดการใช้งานของเครื่อง AEDก็จะสามารถวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เป็นอันตรายถึงชีวิต และสามารถให้การรักษาด้วยการช็อกไฟฟ้ากระตุกหัวใจได้โดยใช้กระแสไฟฟ้าหยุดรูปแบบการเต้นของหัวใจที่ผิดจังหวะ เพื่อเปิดโอกาสให้หัวใจกลับมาเต้นใหม่ในจังหวะที่ถูกต้องได้ โดยการรักษานั้นระบบอิเล็กทรอนิกส์ในเครื่องจะออกคำสั่งให้เราเป็นผู้ปฏิบัติตามได้ ที่ผ่านมาได้มีตัวอย่างการนำเครื่องAED มาใช้ในต่างประเทศและเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตให้กับผู้ป่วยฉุกเฉินในภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันได้ ไม่ว่าจะเป็นที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศญี่ปุ่น โดยในประเทศญี่ปุ่นได้มีการกระจายการติดตั้งเครื่องAED ตามที่สาธารณะต่างๆ มากถึง 380,000 เครื่อง และมีแนวโน้มการติดตั้งเพิ่มขึ้นมากที่สุดในโลก เมื่อเทียบกับสัดส่วนของประชากร และสามารถช่วยผู้ป่วยฉุกเฉินให้รอดชีวิตได้มากกว่าร้อยละ 45

โดยประชาชนทั่วไปที่ได้รับการฝึกฝนการใช้เครื่องAED จะสามารถใช้งานได้ ภายใต้คำแนะนำของผู้ปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินผ่านสายด่วน1669

- เริ่มแรกเมื่อผู้ใช้งานเปิดฝาเครื่องAED ให้ฉีกซองบรรจุอิเล็คโทรด โดยแผ่นอิเล็คโทรดจะมีอยู่2ชิ้น ซึ่งชิ้นแรกจะต้องนำไปติดบนทรวงอกตอนบนของผู้ป่วย และชิ้นที่สองจะต้องติดบนผิวทรวงอกตอนล่างของผู้ป่วย
- จากนั้นเครื่อง AED จะทำการวิเคราะห์จังหวะการเต้นของหัวใจ ซึ่งขณะนี้ห้ามผู้ที่ช่วยเหลือสัมผัสตัวผู้ป่วยเด็ดขาด
-จากนั้นเมื่อเครื่องวินิจเสร็จเสร็จแล้วจะขึ้นสัญญาณให้ทำการช็อคไฟฟ้า ให้ผู้ช่วยเหลือกดที่ปุ่มช็อคตามสัญญาณที่ปรากฏอยู่บนตัวเครื่อง และสลับกับการช่วยเหลือฟื้นคืนชีพผู้ป่วยหรือCPR อย่างต่อเนื่อง จนกว่าเจ้าหน้าที่กู้ชีพจะมาถึง โดยการช่วยเหลือควรทำภายใน 3-5 นาที จะช่วยเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของผู้ป่วยฉุกเฉินได้มากขึ้น

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ //www.thaiemsinfo.com/autopagev4/show_page.php?topic_id=525&auto_id=6&TopicPk







แถม
แผ่นพับการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน .. โหลดมาอ่าน ก็ได้ครับ เนื้อหาเข้าใจไม่ยาก แต่มันจะยากตอนที่ทำจริง เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลถึงต้องมีการซ้อมบ่อย ๆ ^_^





การช่วยเหลือผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้น และ AED เครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=07-07-2014&group=4&gblog=102

FW Mail สุขภาพที่หลายคนเข้าใจผิด(หมอแมว) แถมเรื่อง การช่วยชีวิตเบื้องต้น //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-10-2009&group=7&gblog=36

นักกีฬาเสียชีวิตคาสนามเกิดจากอะไร ? .... เขียนโดย 1412 เวบไทยคลินิก //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=10-02-2015&group=4&gblog=106






 

Create Date : 10 กุมภาพันธ์ 2558   
Last Update : 20 สิงหาคม 2560 13:05:53 น.   
Counter : 6241 Pageviews.  

ไวรัส อีโบล่า EBOLA ... ระบบเฝ้าระวัง ของบ้านเรา ห่วยจริงหรือ ?

จากข่าวที่ มีผู้ต้องสงสัยติดเชื้อไวรัส “อีโบลา”  เดินทางเข้าประเทศไทย แล้ว ไม่ไปรายงานตัวเพื่อตรวจสอบร่างกายทุกวัน ตามนัด .. ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับ ระบบเฝ้าระวังโรค ของกระทรวงสาธารณสุขว่า ไม่ได้มาตรฐาน ห่วย แย่ ฯลฯ  
https://www.thairath.co.th/content/465145

https://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1416809966


ผมไม่ได้เก่งเรื่องระบาดวิทยา แต่ผมก็เห็นว่า ระบบที่ดำเนินการอยู่นี้ เหมาะสมอยู่แล้ว  และ ไม่ใช่ว่า เป็นระบบที่ เราคิดกันขึ้นมาเอง แต่เป็นระบบเฝ้าระวังที่เป็นมาตรฐานทั่วโลก .. 

จึงอยากให้ค่อย ๆ คิดพิจารณา บนพื้นฐานของความรู้ทางวิชาการ ก่อนที่จะตัดสิน ก่อนที่จะต่อว่า ..

ท่านใดที่สนใจ อยากให้ดาวน์โหลด มาลองอ่านดู ไม่กี่นาที ก็อ่านจบแล้ว ถ้ามีข้อเสนอแนะอะไรเพิ่มเติม ก็แนะนำได้เลยนะครับ ..

สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่
https://beid.ddc.moph.go.th/beid_2014/th/home

ที่อยู่: ชั้น 1,4 อาคาร 8 (ตึกสถาบันราชประชาสมาสัย) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ จ.นนทบุรี 11000 เบอร์โทรศัพท์: 0 2590 3159 โทรสาร: 0 2590 3397
อีเมล์: thaieid@gmail.com
Facebook: https://www.facebook.com/THAIBEID

..................

ดาวน์โหลดเอกสาร ได้ที่ ...

หนังสือ แนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวน ป้องกันและควบคุมโรค Ebola ประเทศไทย 2557 สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
https://www.mediafire.com/view/wnw6rwlc8vu3kvz/Guidline_ebola_2.pdf
 

แนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวน ป้องกันและควบคุมโรค Ebola ประเทศไทย 2557 โดย : สำนักระบาดวิทยา 

https://beid.ddc.moph.go.th/th_2011/news.php?g=1&items=1764

ข่าวเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา  โดย : สำนักสารนิเทศ สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข
https://beid.ddc.moph.go.th/th_2011/news.php?g=1&items=1697

ข้อมูลโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาสำหรับประชาชนทั่วไป
https://beid.ddc.moph.go.th/th_2011/news.php?g=1&items=1745

ข้อมูลโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา สำหรับเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุข
https://beid.ddc.moph.go.th/th_2011/news.php?g=1&items=1744


ถ้าใช้เฟสบุ๊ด แนะนำให้ แอด หรือ ติดตาม เฟสของ ศ.นพ.ธีรวัฒน์ เหมะจุฑา .. อาจารย์จะมีข้อมูลวิชาการอัพเดตตลอดครับ สงสัยอะไรถามได้เลย ^_^
https://www.facebook.com/thiravat.hemachudha


ภาพบางส่วนจากหนังสือแนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวน ป้องกันและควบคุมโรค Ebola ประเทศไทย 2557 สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
https://www.mediafire.com/view/wnw6rwlc8vu3kvz/Guidline_ebola_2.pdf
















เพิ่มเติมความเห็น ของสมาชิกพันทิบ สมาชิกหมายเลข 1901725
จากกระทู้   https://pantip.com/topic/32900224
 
เรียน สมาชิกทุกท่าน

    สำหรับชาวเซียร์รา รีโอน ที่มีข่าวทางสื่อต่างๆ จริงๆ แล้วเค้าไม่ใช่ผู้ป่วยหรือไม่ใช่ผู้ติดเชื้อไวรัสอีโบลาค่ะ เค้าเป็นผู้เดินทางมาจากพื้นที่ระบาดของโรคฯ สำหรับชาวต่างชาติที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือในระเทศที่มีการติดเชื้อดังกล่าว ที่เข้ามาพักอาศัยและทำธุรกิจอยู่ในประเทศไทย ทางกระทรวงสาธารณสุขมีมาตรการเฝ้าระวัง

-    ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๒๓ ผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ที่ประเทศไทยได้ประกาศเป็นเขตติดโรค ซึ่งรวมทั้ง ผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา จะต้องมาแสดงตน และสำแดงเอกสารสุขภาพตามที่กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขกำหนด  ที่ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ณ สนามบิน หรือ จุดผ่านแดนต่างๆ ก่อนที่จะผ่านกระบวนการตรวจคนเข้าเมืองของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

-    ผู้ที่เดินทางมาจากเขตติดโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา จะได้จัดการตรวจวัดอุณหภูมิ และบันทึกข้อมูลของผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ระบาดทุกคน และติดตามสอบถามอาการต่อเนื่องทุกวันจนกว่าจะพ้นระยะพักตัวของโรค

-    กรมควบคุมโรค ได้เสนอให้โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา เป็นโรคติดต่ออันตรายให้ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา เล่ม131 ตอนพิเศษ 154 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2557 หรือ พ.ร.บ. โรคติดต่อ การประกาศให้เป็นโรคติดต่ออันตราย จะทำให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินการป้องกันควบคุมโรคได้อย่างเข้มข้น ซึ่งมาตรการการคัดกรองผู้เดินทางทั้งจุดผ่านแดนทางบก ท่าเรือ และท่าอากาศยาน  เป็นการเสริมมาตรการป้องกันควบคุมโรคให้เข้มงวดมากกว่าเดิม ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะไม่มีผลกระทบต่อต่อการเดินทางและการค้าระหว่างประเทศ แต่มีผลดีต่อประชาชนโดยรวม มาตรการทางกฎหมายตาม พ.ร.บ. โรคติดต่อ ๒๕๒๓ ที่ดำเนินการ เช่น

1) การดำเนินการตามมาตรการป้องกันและควบคุม ณ ช่องทางเข้าออกประเทศ  โดยเจ้าพนักงานสาธารณสุขประจำด่านฯ สามารถตรวจตรายานพาหนะ ผู้เดินทาง สิ่งของหรือสัตว์ที่มากับพาหนะ รวมทั้งควบคุม การกำจัดสิ่งอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพในพาหนะ เป็นต้น ในกรณีที่มีโรคติดต่ออันตราย หรือโรคติดต่อต้องแจ้งความเกิดขึ้นหรือมีเหตุสงสัยว่าได้มีโรคติดต่อดังกล่าวเกิดขึ้น ให้บุคคลต่างๆ เช่น เจ้าบ้าน เจ้าของพาหนะ ผู้ให้การดูแลรักษา แจ้งต่อเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ และ

2) มาตรการการตรวจคัดกรอง กักกัน และรักษา โดยให้เจ้าพนักงานสาธารณสุขมีอำนาจดำเนินการให้คนหรือสัตว์ซึ่งป่วยหรือมีเหตุสงสัยว่าป่วยเป็นโรคติดต่ออันตราย เป็นผู้สัมผัสโรค หรือเป็นพาหะของโรคติดต่ออันตราย มารับการตรวจ การชันสูตรทางแพทย์ หรือการรักษา หรือคุมไว้สังเกต ณ สถานที่ซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด และให้มีอำนาจแยกกักผู้นั้นไปรับการรักษาในสถานพยาบาลหรือในที่เอกเทศ จนกว่าจะได้รับการตรวจและการชันสูตรทางแพทย์ว่าพ้นระยะติดต่อของโรคหรือหมดเหตุสงสัย เป็นต้น

-    จากการการดำเนินการคัดกรองผู้เดินทาง และการติดตามอาการผู้เดินทางเป็นเวลา 21 วัน ซึ่งได้ดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน 2557 ถึง 22 พฤศจิกายน 2557 ได้ทำการคัดกรองและติดตามอาการผู้เดินทางทั้งหมด 3,143 ราย (ประเทศกินี 890 ราย, ประเทศไลบีเรีย 121 ราย, ประเทศเซียร์ราลีโอน 91 ราย, ประเทศไนจีเรีย 1,614 ราย, ประเทศดีอาร์คองโก 240 ราย, ประเทศเซเนกัล 166 ราย, ประทศมาลี 17 ราย และ อื่นๆ 4 ราย)

-    ซึ่งที่ผ่านมาได้รับความร่วมมือจากผู้เดินทางเป็นอย่างดี กรมควบคุมโรค ยังได้จัดทำคำแนะนำสุขภาพแจกให้กับผู้เดินทางจากพื้นที่ที่มีการระบาด (Health Beware card) พร้อมกับคำชี้แจงกฎหมายควบคุมโรคของไทยสำหรับกรณีการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา (Health Regulation Regarding Ebola outbreak) ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศส เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับผู้เดินทางจากประเทศที่กำลังมีการระบาดอีกด้วย

-    สำหรับผู้ที่เดินทางมาจาก 3 ประเทศที่มีการระบาดหนักของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา คือ ไลบีเรีย กินี และ เซียร์รา ลีโอน กรมควบคุมโรคได้เพิ่มความเข้มงวดในการคัดกรอง และติดตามผู้เดินทางตามมาตรการทางสาธารณสุข โดยจะมีเจ้าหน้าที่ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ โดยสำนักโรคติดต่อทั่วไป และสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 กรุงเทพฯ ไปส่งผู้เดินทางทั้ง 3 ประเทศ ถึงที่พัก รวมทั้งติดตามโทรสอบถามอาการเจ็บป่วยทุกวัน มีการติดตามไปเยี่ยมและวัดอุณหภูมิกายหรือวัดไข้ ทุกวันจันทร์และวันศุกร์ จนกว่าจะครบ 21 วัน หลังเดินทางมาจากพื้นที่ระบาด หรือ เดินทางออกนอกประเทศ (ในกรณีที่ไม่ครบ 21 วัน)

-    ในกรณีผู้เดินทางมาจากประเทศระบาดอื่นๆ เช่น ไนจีเรีย ดีอาร์คองโก หลังเดินทางมาถึงประเทศไทยผู้เดินทางจะต้องโทรมาแจ้งที่อยู่ที่ชัดเจนและเบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อสะดวก สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 กด 9 ช่วงเวลา 08.00 - 17.00 น. ไม่เว้นวันหยุดราชการ ซึ่งเจ้าหน้าที่สายด่วนฯ 1422 จะส่งต่อข้อมูลให้สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ผู้เดินทางอาศัยอยู่ไปติดตามต่อไป ค่ะ

สมาชิกหมายเลข 1901725



 

องค์การอนามัยโลกเผยยอดเหยื่อ “อีโบลา” พุ่งเฉียด 11,000 ศพ ติดเชื้อทะลุ 26,000 ราย ชี้ ยังเจอ “เคสใหม่” ต่อเนื่อง

1 พฤษภาคม 2558 06:27 น.(แก้ไขล่าสุด 1 พฤษภาคม 2558 10:54 น.)
https://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000049718



18 กรกฎาคม 2562  เรื่องเล่าเช้านี้

*องค์การอนามัยโลก* ประกาศให้*อีโบลา* ที่กำลังแพร่ระบาดในสาธารณรัฐ*คองโก* เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (Public Health Emergency of International Concern) คำนิยามที่ใช้ไม่บ่อยครั้งนักและมักใช้เฉพาะกับ*โรคระบาด* ซึ่งก่อนหน้านี้ทางหน่วยงานด้านสาธารณสุขของสหประชาชาติเคยใช้เพียง 4 ครั้ง ได้แก่ ไวรัส H1N1 หรือ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ระบาด, การแพร่ระบาดของโรคโปลิโอในปี 2014,การแพร่ระบาดของ*อีโบลา* ในหลายพื้นที่ของแอฟริกาตะวันตกตั้งแต่ปี 2014 ถึง 2016 และการระบาดของไวรัสซิกาในปี 2016

โดยขณะนี้พบผู้เสียชีวิตจาก*อีโบลา* แล้วมากกว่า 1,600 คน นับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคมเป็นต้นมา ไวรัส*อีโบลา* เริ่มแพร่ระบาดในจังหวัดนอร์ทคิวู ของ สาธารณรัฐ*คองโก* ก่อนแผ่ลามไปยังจังหวัดอิตูรีที่อยู่ติดกัน

*อีโบลา* เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งในกลุ่มโรคไข้เลือดออก เชื่อกันว่าแพร่ระบาดจากสัตว์ โดยเฉพาะค้างคาว และลิง ทั้งนี้อีโบล่าแพร่จากคนสู่คนโดยการสัมผัสกับเลือด น้ำลาย น้ำมูก เหงื่อ อสุจิ และสารคัด
หลั่งอื่นๆ จากร่างกายของผู้ติดเชื้อ  
การฟักตัวของเชื้อใช้วลา 2 วัน ถึง 3 สัปดาห์ ผู้ติดเชื้อจะมีอาการไข้สูงเฉียบพลัน อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อทั้งตัว เจ็บคอ ตามมาด้วยอาการท้องเสีย อาเจียน มีผื่นนูน มีเลือดออก ตามเยื่อบุของร่างกาย เช่น เยื่อบุตา ช่องปาก และอวัยวะภายใน มีอาการผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง การทำงานของตับและไตล้มเหลว ผู้ติดเชื้อมีโอกาสเสียชีวิตสูงมากกว่า 50% เพราะอาการในระยะเริ่มต้นเหมือนโรคอื่นๆ ทั่วไป เช่น มาเลเรีย ไข้เลือดออกจากไวรัสชนิดอื่น ไข้หวัด ท้องร่วง กว่าจะรู้ชัดว่าติดเชื้ออีโบล่าก็สายเกินไปแล้ว

https://morning-news.bectero.com/international/18-Jul-2019/147701?fbclid=IwAR18lDcjWsUGVBjb-oUSPT1dFaql7hqRpvGV1rN5wx88HDHO2s9bqsBRRqs

อายุรศาสตร์ ง่ายนิดเดียว
 
ข่าวการประกาศระดับความฉุกเฉินขององค์การอนามัยโลก เกี่ยวกับการระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลาที่ตอนนี้กำลังเป็นข่าว
 
1. ประเทศคองโก มีการระบาดของอีโบลาเป็นประจำ ตามพื้นที่การระบาด ความยากจน ขาดแคลนทรัพยากร ทำให้การระบาดเป็นวงกว้างทุกครั้ง
 
2. การระบาดครั้งนี้เริ่มตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2561 และมีการระบาดต่อเนื่องมาตลอด ไม่รุนแรงนัก
 
3. มีการประชุมเพื่อปรับกลยุทธและแก้ไขมาตรการการรับมือให้ทันสมัยตลอดเวลาจากองค์กรนานาชาติต่าง ๆ นำโดยองค์การอนามัยโลกและสหประชาชาติ
 
4. เนื่องจากรายงานผู้ป่วยที่ยืนยันการป่วยเพิ่มสูงถึงกว่า 2,500 รายทั้ง ๆ ที่มีมาตรการออกมาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ไม่ทันสถานการณ์
 
5. WHO จึงประกาศ emergency level 3 หรือ L3 เพื่อให้ประเทศคองโก ประเทศรอบข้าง และประเทศอื่น ๆ ในโลกได้เตรียมตัว การประกาศนี้จะต้องมีการประชุมร่วมกับรัฐบาลคองโก เพราะการประกาศจะกระทบต่อความมั่นคงและเสถียรภาพของประเทศ ทั้งภายในและจากภายนอกประเทศ
 
6. การประกาศระดับสาม คือมีภัยคุกคามเร่งด่วน ต้องแก้ไขด่วนที่สุด เพราะเริ่มคุกคามมนุษยชาติแล้ว และจะลุกลามหากไม่แก้ไข ต้องระดมทรัพยากรและสรรพกำลัง เงินทุน เพื่อมาป้องกันโรคหรือภาวะต่าง ๆ (เป็นลักษณะประกาศสากลของ IASC inter-agency standing committee)
 
7. ในอดีต เช่น ภาวะสงครามในซีเรีย พายุไต้ฝุ่นพัดถล่มพม่า ต้องให้การช่วยเหลือและขอร้องนานาชาติให้มาร่วมมือกัน เพื่อโลกของเรา
 
8. มาตรการออกมาเพื่อจัดตั้งและบริหารเงิน บุคลากร ยา วัคซีน การร่วมมือในหน่วยงานต่าง ๆ ของคองโก ส่วนประเทศเพื่อนบ้าน ต้องเฝ้าระวังชายแดน ควบคุมการเล็ดลอดทางพรมแดน จัดการสอดส่องหาผู้ที่สัมผัสโรคแล้วจัดการดูแลเพื่อควบคุมพื้นที่การระบาด
 
9. สำหรับประเทศอื่น ๆ ให้เตรียมมาตรการรับมือหากมีผู้ป่วยสงสัยหรือสัมผัสโรค เฝ้าระวังทางเข้าออกประเทศโดยเฉพาะสนามบินและสายการบิน และขอให้ร่วมให้การช่วยเหลือคองโกโดยด่วน
 
10. ยังไม่ได้หมายความว่าระบาดไปทั่วโลก ตอนนี้เป็นการระบาดในประเทศคองโกเป็นหลักและบริเวณรอบข้างบางส่วนเท่านั้น
 
ที่มา WHO and United Nations
 
https://www.facebook.com/medicine4layman/photos/a.1454742078175154/2304314866551200/?type=3&theater

*******************************************
 

ไทยเข้ม 3 มาตรการ หลัง WHO ประกาศ ‘อีโบลา’ เป็นสถานการณ์ฉุกเฉินระหว่างประเทศ



*******************************************






ไวรัสโคโรนา2012(MERS , เมอร์ส) นำมาฝาก (ไม่ได้เขียนเอง ^_^) https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=19-06-2015&group=4&gblog=110




 

Create Date : 25 พฤศจิกายน 2557   
Last Update : 5 มิถุนายน 2563 20:51:04 น.   
Counter : 4124 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 763 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]