 |
 |
|
การป้องกันอันตรายจากรังสี
การป้องกันอันตรายจากรังสี
เมื่อผู้ป่วยมารับการตรวจทางรังสี (เอกซเรย์) มักจะมีความกังวลอยู่เสมอว่าจะมีอันตรายจากรังสีเกิดขึ้นหรือไม่ จึงควรทราบเกี่ยวกับรังสีเพื่อให้มีความเข้าใจและลดความวิตกกังวลเกินกว่าเหตุ รวมทั้งรู้วิธีปฏิบัติตัวเพื่อให้ปลอดภัย
อันตรายจากรังสีมีอะไรบ้าง
ผลของรังสีที่มีต่อร่างกายแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ
1. ผลที่เกิดกับร่างกาย หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นกับส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าการรับรังสี นั้นเป็นแบบเฉียบพลันหรือเรื้อรัง และปริมาณรังสีมากน้อยแค่ไหน
1.1 ผลของการรับรังสีแบบเฉียบพลัน มักเกิดจากอุบัติเหตุ ทำให้ได้รับรังสีปริมาณมากทันที ถ้ามากกว่า 50 เร็ม จะมีอาการป่วยเนื่องจากรังสี ถ้ามากกว่า 400 เร็ม อาจทำให้ตายได้ อาการป่วยเนื่องจากรังสี แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะเตือน จะมีอาการหลังจากถูกรังสีไม่กี่ชั่วโมง เช่น คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย หายใจขัด ผิวหนังแดง
ระยะแอบแฝง เป็นระยะที่สงบไม่แสดงออก สำหรับช่วงเวลากำหนดไม่ได้ ขึ้นอยู่กับปริมาณรังสีที่ได้รับ
ระยะเจ็บป่วย เป็นอาการต่อจากระยะแอบแฝง เช่น ไข้ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด เลือดออก ผมร่วง หมดสติ
1.2 ส่วนการรับรังสีเรื้อรัง จะได้รับรังสีในปริมาณต่ำ ๆ แต่ได้รับรังสีสะสมอยู่เรื่อย ๆ เช่น ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับรังสี อาจมีผลทำให้อายุเฉลี่ยสั้นกว่าปกติ เป็นมะเร็ง ต้อกระจก เป็นต้น
2. ผลที่เกิดกับพันธุกรรม หมายถึงผลที่เกิดขึ้นในเซลล์สืบพันธุ์ อาจทำให้เป็นหมัน หรือเกิดการผ่าเหล่า ซึ่งมีผลกระทบทำให้เกิดความผิดปกติปรากฏ ถึงรุ่นลูกหลานได้
ระดับรังสีเท่าไรจึงจะถือว่าปลอดภัย
คำว่า "ปลอดภัย" หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในร่างกายที่เกิดขึ้นเนื่องจากรังสีนั้น ไม่สามารถตรวจพบได้
คณะกรรมาธิการว่าด้วยการป้องกันรังสีระหว่างประเทศ กำหนดค่าปริมาณ รังสีสูงสุดที่ยอมรับได้ โดยหมายความว่าถ้าได้รับปริมาณรังสีน้อยกว่าค่าปริมาณ รังสีสูงสุดที่ยอมรับได้ ถือว่าปลอดภัย ตัวอย่างเช่น
ค่าปริมาณ รังสีสูงสุดที่ยอมรับได้ ของ อวัยวะสืบพันธุ์ เลนส์ตา หรือไขกระดูก เท่ากับ 5 เร็ม ต่อ ปี
ค่าปริมาณ รังสีสูงสุดที่ยอมรับได้ ของ มือ แขน ขา เท่ากับ 75 เร็ม ต่อ ปี
ค่าปริมาณ รังสีสูงสุดที่ยอมรับได้ ของ ผิวหนัง ต่อมทัยรอยด์ เท่ากับ 30 เร็ม ต่อ ปี
ค่าปริมาณ รังสีสูงสุดที่ยอมรับได้ ของ บุคคลทั่วไปไม่ควรเกิน 0.5 เร็ม ต่อ ปี หรือ 0.01 เร็ม ต่อ สัปดาห์
ค่าปริมาณ รังสีสูงสุดที่ยอมรับได้ ของ สตรีมีครรภ์ไม่ควรเกิน 0.5 เร็ม ในระหว่างตั้งครรภ์
สำหรับผู้ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับรังสีไม่ควรเกิน 0.1 เร็มต่อสัปดาห์ หรือ 5 เร็มต่อปี แต่ถ้าได้รับรังสีเกิน 5 เร็มใน ปีหนึ่งแล้วในปีถัดไปจะต้องให้ได้รับรังสีน้อยลง แต่ปริมาณรังสีที่สะสมในช่วงอายุ ต้องไม่เกินตามสูตร 5 (N-18) โดย N เป็นอายุของบุคคลที่ได้รับรังสี เช่น บุคคลที่อายุ 30 ปี รังสีสะสมที่ในช่วงขณะนั้นจะได้ 5(30-18) = 60 เร็ม
สำหรับการตรวจทางรังสีนั้น จะไม่ให้รังสีเกินค่าที่กำหนด ถึงแม้ว่าผู้ป่วยบางรายอาจต้องได้รับรังสีมาก เช่น มากกว่า 0.5 เร็ม ต่อ ปี ในปีนี้ แต่เมื่อหายป่วยก็ไม่ได้รับรังสีอีก ดังนั้นผลเสียก็จะไม่เกิดขึ้น เนื่องจากร่างกาย (เซลล์) มีเวลาฟื้นตัวกลับมา
ผู้มารับการตรวจทางรังสีวินิจฉัยควรปฏิบัติตัวอย่างไร
ดังกล่าวแล้วข้างต้น จะเห็นว่าการตรวจทางรังสีมีความปลอดภัยในระดับหนึ่ง แต่มนุษย์เรายังได้รับรังสีมาจากด้านอื่น ๆ อีก ดังนั้นควรจะพยายามให้ได้รับรังสีน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในการตรวจแต่ละครั้งย่อมเป็นการดีที่สุด ในทางปฏิบัติแล้วรังสีแพทย์และ เจ้าหน้าที่รังสีจะยึดหลักใช้รังสีน้อยที่สุด ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตัวผู้ป่วย และผู้เกี่ยวข้องก็มีข้อปฏิบัติเพื่อจะลดปริมาณรังสีที่มีจำเป็น ลงได้ ดังนี้
1. ปฏิบัติตามตำแนะนำของรังสีแพทย์และเจ้าหน้าที่รังสีอย่างเคร่งครัด เช่น การถ่ายภาพปอด ต้องเปลี่ยนเสื้อ ถอดสร้อยหรือโลหะทุกชนิดที่อยู่ในบริเวณหน้าอกออกให้หมดเพื่อจะได้ไม่ต้องถ่ายซ้ำใหม่
การตรวจพิเศษ เช่น การฉีดสีตรวจไต ถ้าไม่รับประทานยาระบาย อาจมีอุจจาระบังส่วนของไต ทำให้มองเห็นไตไม่ชัด ต้องถ่ายภาพใหม่
การจัดท่าทางของร่างกายขณะถ่ายภาพ จะมีเจ้าหน้าที่แนะนำให้ ก็ควรอยู่ในท่านั้น
กลั้นหายใจขณะถ่ายภาพเอกซเรย์ด้วย เพื่อที่ภาพจะได้ชัดเจน ไม่ไหว
2. สตรีวัยเจริญพันธุ์ ถ้าต้องทำการตรวจทางเอกซเรย์ของท้องน้อย ควรทำภายใน 10 วัน หลังจากมีประจำเดือน (นับจากวันที่ 1 ของรอบประจำเดือน) ถือเป็นช่วงที่ไม่มีไข่ตก
3. ผู้ที่ตั้งครรภ์หรือสงสัยว่าจะตั้งครรภ์ ควรหลีกเลี่ยงการเอกซเรย์ช่วงท้อง ถ้าจำเป็นควรใช้อัลตราซาวด์ แทน การเอกซเรย์ส่วนอื่น ๆ ของร่างกายถ้าจำเป็น ต้องใช้เสื้อตะกั่วปิดบริเวณท้องเสมอ
4. กรณีที่ผู้ป่วยเป็นเด็ก หรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้เอง ต้องมีผู้ช่วยเป็นญาติหรือบุคลากรทางการแพทย์ฝ่ายอื่น ควรปฏิบัติดังนี้
สวมเสื้อตะถั่ว ถุงมือตะกั่วทุกครั้งที่เข้าช่วย
ถ้าเป็นไปได้ให้อยู่ห่างจากแนวรังสีอย่างน้อง 2 เมตร กรณีนี้รวมถึงการถ่ายเอกซเรย์ตามหอผู้ป่วยด้วย
5. ผู้ป่วยเด็กที่ต้องเอกซเรย์บ่อย ๆ ควรจะใช้ตะกั่วปิดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์
6. ผู้ที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการตรวจเอกซเรย์ ไม่ควรเข้ามาในแผนกโดยไม่จำเป็น
โดยสรุปแล้ว ปัจจัยสำคัญมีอยู่ 3 ประการ คือ เวลา ระยะทาง และวัสดุป้องกันรังสี ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยต้องใช้เวลาน้อยที่สุด อยู่ห่างที่สุดเท่าที่จะทำได้ และ ต้องใส่เสื้อตะกั่วป้องกันรังสีเสมอ
Create Date : 16 กุมภาพันธ์ 2551 |
Last Update : 16 กุมภาพันธ์ 2551 19:55:06 น. |
|
2 comments
|
Counter : 9485 Pageviews. |
|
 |
|
|
โดย: หมอหมู วันที่: 1 กรกฎาคม 2551 เวลา:19:55:18 น. |
|
|
|
โดย: มะกลึ้งมะดึง (มะกลึ้งมะดึง ) วันที่: 14 ตุลาคม 2552 เวลา:0:27:39 น. |
|
|
|
| |
|
 |
หมอหมู |
|
 |
|
Location :
กำแพงเพชร Thailand
[Profile ทั้งหมด]
|
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 763 คน [?]

|
ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ
ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )
หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป ) นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ
ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ
นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )
ปล.
ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com
ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..
|
|
|
จำไม่ได้ว่า นำมาจาบที่ไหน .. ถ้าใครทราบ กรุณาแจ้งผมด้วยนะครับ ..
มารู้จักการตรวจทางรังสีวิทยากันเถอะ
การถ่ายภาพเอ็กซเรย์ทั่วไป (General X-RAY)
- เป็นการใช้รังสีเอ็กซเรย์ถ่ายภาพอวัยวะลงบนแผ่นฟิล์มโดยตรง (รังสีเอ็กซเรย์ได้ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2438 โดยนักฟิสิกส์ ชาวเยอรมัน ชื่อ W.C. Roentgen ) ซึ่งการตรวจที่คนทั่วไปคุ้นเคยเป็นอย่างดี คือการเอ็กซเรย์ปอด และการเอ็กซเรย์กระดูก เป็นต้น
การเอ็กซเรย์เต้านม (MAMMOGRAM)
-โดยต้องมีการบีบเต้านมให้แบบลงในการถ่ายภาพลงบนฟิล์ม เพื่อดูว่ามีลักษณะของเนื้องอกหรือมะเร็งหรือไม่
การถ่ายภาพเอ็กเรย์ร่วมกับการใช้สารทึบรังสี (Spacial X-RAY)
การเอ็กเรย์ระบบทางเดินอาหาร แบ่งเป็น
1 . การตรวจทางเดินอาหารส่วนต้น ได้แก่ หลังโคนลิ้น หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และ ลำไส้เล็ก โดยการกินสารทึบรังสี ( บางคนเรียกว่าการกลืนแป้ง) ซึ่งสามารถดูถึงหน้าที่การทำงานเช่น การกลืน หรือการบีบตัว ว่า มีความผิดปกติหรือไม่ และดูถึงลักษณะของผิวภายใน เช่น มีแผล ก้อนเนื้องอก หรือการอุดตันหรือไม่
2 . การตรวจลำไส้ใหญ่ โดยการสวนสารทึบรังสีเข้าทางทวารหนัก (คนทั่วไปเรียกว่าการสวนแป้ง) เพื่อดูหน้าที่ เช่น มีการบีบรัดตัวที่ผิดปกติหรือไม่ และ ลักษณะของผิวภายในว่ามีแผล ก้อนเนื้องอก หรือการอุดตันหรือไม่
การตรวจการทำงานของไต และระบบขับถ่ายปัสสาวะ
โดยการฉีดสารทึบรังสีเข้าสู่เส้นเลือดดำ เพื่อให้สารทึบรังสีถูกขับออกทางไตเข้าสู่กรวยไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ ว่าไตยังคงมีการทำ งานในการขับถ่ายปัสสาวะหรือไม่ มีการอุดตันที่เกิดจากสาเหตุนิ่วหรือสาเหตุอื่นๆ หรือไม่ นอกจากนี้ยังมีการตรวจท่อปัสสาวะ โดยทำการถ่ายภาพเอ็กซเรย์ขณะกำลังปัสสาวะ ซึ่งอาจจะทำการตรวจดูท่อไต โดยการฉีดสารทึบรังสีเข้าไปในท่อไตโดยตรง ผ่านสายสวนท่อไตที่ใส่โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางระบบขับถ่ายปัสสาวะ
การเอ็กซเรย์เส้นเลือดแดงโดยการฉีดสารทึบรังสี ผ่านทางสายสวนเส้นเลือดแดงบริเวณขา หนีบข้างใดข้างหนึ่ง แล้ววางปลายสายไว้ บริเวณของเส้นเลือดแดงที่ต้องการตรวจ เช่น การตรวจดูเส้นเลือดแดงใหญ่ที่ออกจากหัวใจ และ เส้นเลือดแดงที่ไปเลี้ยงอวัยวะ ต่างๆ เช่น สมอง หัวใจ ตับ และ ไต เป็นต้น เพื่อดูว่า มีความผิดปกติอย่างไร หรือเพื่อการวางแผนการผ่าตัด
การตรวจช่องไขสันหลัง โดยการฉีดสารทึบรังสีเข้าไปในช่องไขสันหลัง เพื่อดูว่ามีความผิดปกติของตัวไขสันหลังหรือไม่ แต่การตรวจชนิดนี้ปัจจุบันนิยมใช้น้อยลง เนื่องมาจากว่ามีการตรวจ ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งให้รายละเอียดได้ดีกว่า เข้ามาทดแทน
การตรวจอัลตร้าซาวด์(ULTRASOUND)
- เป็นการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงในการตรวจโดยอาศัยหลักการดูดซับ และ สะท้อนของคลื่นเสียวที่แตกต่างกัน ระหว่างอวัยวะแต่ละชนิด และระหว่างเนื้อเยื่อปกติกับเนื้อเยื่อผิดปกติ ผ่านคอมพิวเตอร์เพื่อวิเคราะห์และสร้างภาพปรากฏบนจอ และบันทึกภาพลงบนกระดาษ แผ่นฟิล์ม หรือวีดีโอเทปต่อไป
- การตรวจวิธีนี้ใช้ได้ดีกับอวัยวะที่มีลักษณะ เป็นก้อนแข็ง เช่น ตับ ไต ม้มา ตับอ่อน มดลูก และรังไข่ ต่อมลูกหมาก เป็นต้น และ สามารถ ตรวจกับอวัยวะที่บรรจุของเหลวอยู่ภายในได้เช่น หัวใจ ถุงน้ำดี กระเพาะปัสสาวะ ตรวจเด็กในครรภ์ เป็นต้น
- เนื่องจากคลื่นเสียงส่งผ่านอากาศและกระดูกได้ไม่ดี เพราะฉะนั้นอวัยวะที่อยู่ใต่ต่อ ระหว่างระบบทางเดินอาหารซึ่ง มีแกสอยู่ภายใน และ กระดูกจึงไม่สามารถตรวจถูกได้
- การตรวจนี้สามารถใช้ตรวจดูสมองเด็กแรกเกิดที่กระหม่อมหน้ายังไม่ปิด และขนาดศรีษะไม่โตมาก และ สามารถตรวจดูภาวะหนาตัว ของกล้ามเนื้อหูรูดกระเพาะอาหารส่วนปลายซึ่งทำให้เกิดการอุดตัน และเด็กเกิดอาการอาเจียนหลังกินนมได้
- ในปัจจุบันมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ทำให้มามารถสร้างภาพสี และดูการเต้นตามชีพจรของระบบเส้นเลือดได้ เพื่อสามารถตรวจ ระบบเส้นเลือดได้งาย และสามารถดูการไหลเวียนของเส้นเลือดในอวัยวะต่างๆ หรือก้อนเนื้องอกได้
การตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (COMPUTERD TOMOGRAPHY - CT SCAN)
- เป็นการตรวจโดยใช้รังสีเอ็กซเรย์ผ่านตัวผู้ป่วยบริเวณที่จะทำการตรวจ แล้ใช้ตัวตรวจจับปริมาณรังสีแทนที่ฟิล์ม ซึ่งอวัยวะแต่ละชนิด หรือ ระหว่างเนื้อเยื่อปกติกับเนื้อเยื่อผิดปกติ มีการดูดซับปริมาณรังสีแตกต่างกัน โดยผ่านคอมพิวเตอร์เพื่อรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ และสร้างเป็นภาพปรากฎบนจอและบันทึกเป็นฟิล์มต่อไป
- ภาพที่ได้จากการตรวจชนิดนี้จะเห็นเป็นลักษณะตัดขวาง ซึ่งสามารถเห็นรายละเอียดและตำแหน่งของอวัยวะ และความผิด ปรกติต่าง ซึ่งสามารถทำการตรวจอวัยวะ ได้ทุกส่วนของร่างกาย
การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MAGNETIC RESONANCE IMAGEING-MRI)
- เป็นการตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ผ่านตัวผู้ป่วยในบริเวณที่จะทำการตรวจ แล้วใช้คอมพิวเตอร์รวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์การปลดปลอยพลังงานของเนื้อเยื่อที่ทำการตรวจ ซึ่งถูกกระตุ้นโดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในรูปของสัญญาณไฟฟ้า แล้วนำมาสร้างภาพปรากฎบนจอเพื่อ การบันทึกลงบนฟิล์มต่อไป
- ภาพที่ได้จาการตรวจด้วยวิธีนี้ จะเป็นภาพตัดขวางทั้งในแนวนอนและแนวตั้ง และ แนวขวาง ซึ่งสามารถเห็นได้ทั้ง 3 มิติ ซึ่งสามรถใช้ตรวจอวัยวะได้ทุกส่วนของร่างกาย
การตรวจด้วยสารรังสีนิวเคลียร์ (RADIOSOTOPE IMGING)
- เป็นการเลือกใช้สารรังสีนิวเคลียร์ที่เหมาะสมต่อการตรวจสำหรับอวัยวะ แต่ละชนิดปริมาณเล็กน้อย ในการกินหรือ ฉีดเข้าเส้นเลือดดำ แล้วทิ้งระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้สารรังสีนิวเคลียร์ไปสะสมในบริเวณอวัยวะที่ต้องการตรวจ เพื่อดูวามีการ สะสมปกติ หรือผิดปกติ (มากหรือน้อยกว่าปกติ) ซึ่งสามารถตรวจได้ทุกส่วนของร่างกาย
สำหรับข้อบ่งชี้สำหรับการตรวจในแต่ละชนิดว่าจะเหมาะสมสำหรับคนแต่ละคน ในแต่ละกรณีของความเจ็บป่วย สภาพของร่างกาย ในขณะที่จะต้องทำการตรวจ และเรื่องความเสี่ยง หรือ ประวัติการแพ้ของสารทึบรังสีที่ต้องใช้ ในวิธีการเอ็กซเรย์บางชนิด คงต้องขึ้นอยู่ กับความจำเป็น ของแพทย์ผู้ทำการตรวจดูแลรักษา และรังสีแพทย์ว่าจะเลือกใช้วิธีการตรวจใด