Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

โรคหลอดเลือดสมองที่รักษาได้ด้วยการผ่าตัด

นำมาฝากจากเวบ ไทยคลินิก ..



โรคหลอดเลือดสมองที่รักษาได้ด้วยการผ่าตัด


ทันเหตุการณ์กับแพทยสภา ประจำวันที่ 10 พฤษภาคม 2551
//www.naewna.com/news.asp?ID=108123


โรคหลอดเลือดสมองที่ก่อปัญหาต่อร่างกายเกิดได้ 2 ประการคือ ประการแรกเกิดภาวะหลอดเลือดแตกทำให้เกิดเลือดออกในสมอง ประการที่สองเกิดภาวะหลอดเลือดตีบทำให้สมองขาดเลือด

โรคหลอดเลือดสมองที่รักษาได้ด้วยการผ่าตัด ส่วนใหญ่มีสาเหตุจากภาวะหลอดเลือดแตก ซึ่งมีกลุ่มโรค 3 กลุ่มได้แก่

1.โรคหลอดเลือดแตกจากความดันโลหิตสูง(hypertensive hemorrhage) เกิดจากความดันโลหิตสูงทำให้หลอดเลือดแดงขนาดเล็กในเนื้อสมองส่วนลึกเปราะบา งและแตกออก ตำแหน่งที่พบบ่อยคือตำแหน่งเบซัลแกงเกลียน(basal ganglion) ซึ่งจะมีทางเดินของใยประสาทที่นำคำสั่งการควบคุมการเคลื่อนไหวของแขนขาด้านต รงข้ามผ่าน เมื่อเกิดภาวะหลอดเลือดแตกจะมีอาการเฉียบพลันของอาการปวดศีรษะ แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก หมดสติ อาการรุนแรงมาน้อยขึ้นกับขนาดและตำแหน่งของก้อนเลือด การผ่าตัดในกลุ่มนี้จะมีความจำเป็นในกรณีที่ก้อนเลือดมีขนาดใหญ่ทำให้มีการก ดเบียดต่อก้านสมอง หรือมีความดันภายในโพรงกะโหลกขึ้นสูง หากไม่มีภาวะดังกล่าวไม่จำเป็นต้องผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดเพียงเพื่อเอาก้อนเลือดออกเท่านั้น กรณีก้อนเลือดที่ไม่ต้องผ่าตัดสามารถสลายตัวเองได้ การรักษาต่อไปคือการให้ยาควบคุมความดันโลหิต การทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูกำลังของกล้ามเนื้อ ซึ่งมักไม่กลับมาเป็นปกติ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งและความรุนแรงของโรค

2. โรคหลอดเลือดแตกจากหลอดเลือดแดงสมองโป่งพอง(ruptured aneurysm) เกิดจากมีความผิดปกติแต่กำเนิดของผนังหลอดเลือดแดงใหญ่ของสมองมีความไม่สมบู รณ์ในผนังชั้นกลางทำให้ผนังหลอดเลือดอ่อนแอ ถึงระยะเวลาหนึ่งคือช่วงที่จะมีการแตก จะโป่งออกเป็นกระเปาะบริเวณยอดของกระเปาะจะบาง และแตกในจุดนี้ ช่วงอายุที่จะเกิดการแตกนี้พบได้ทุกอายุ ที่พบมากที่สุดคือช่วงอายุระหว่าง 40-60 ปี โรคนี้ไม่เกี่ยวข้องกับความดันโลหิตสูงแต่การมีความดันโลหิตสูง

จะเป็นปัจจัยที่ทำให้ได้ผลการรักษาไม่ดี โรคนี้ยังไม่มีวิธีการตรวจให้รู้ล่วงหน้าได้ แต่ยังโชคดีอยู่บ้างที่ยังมีกลไกของร่างกายที่ช่วยให้เมื่อมีการแตกแล้วสามา รถหยุดตัวเองชั่วคราวได้ นั่นคือการหดตัวของหลอดเลือดและการมีลิ่มเลือดปิดจุดที่แตกไว้ กลไกนี้ขึ้นกับคุณสมบัติที่ยืดหยุ่นได้ดีของหลอดเลือดแดงของแต่ละคน ซึ่งผู้ที่สูงอายุหรือผู้ที่มีความดันโลหิตสูงกลไกนี้จะไม่ดี ผู้ป่วยในกลุ่มนี้จึงมีอาการรุนแรงมากกว่าและผลการรักษาได้ผลดีน้อยกว่าผู้ท ี่อายุน้อยและไม่มีความดันโลหิตสูง

หลังจากการแตกครั้งแรกและมีกลไกในการหยุดเลือดออกชั่วคราวแล้ว ภายหลังจากนี้ไม่นานเมื่อลิ่มเลือดละลายตัวจะเกิดการแตกซ้ำซึ่งมักจะรุนแรงก ว่าครั้งแรก และมีโอกาสเสียชีวิตสูง พฤติกรรมของโรคที่เป็นเช่นนี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องวินิจฉัยให้ไ ด้ตั้งแต่การแตกครั้งแรก และทำการแก้ไขจุดที่มีหลอดเลือดโป่งพองนั้นโดยเร็ว การแก้ไขส่วนใหญ่ก็โดยการผ่าตัดเข้าไปหนีบที่โคนของจุดที่มีการโป่งพองนั้น นอกจากในบางตำแหน่งที่อยู่ลึกและการผ่าตัดประเมินแล้วมีความเสี่ยงสูงมากอาจ ใช้วิธีอุดจุดที่แตกนั้นด้วยขดลวดขนาดเล็ก หากแก้ไขได้ดีไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยสามารถที่จะเป็นปกติได้ โดยรวมแล้วมีโอกาสที่จะได้ผลดีมากกว่าร้อยละ50

ส่วนที่ไม่ได้ผลดีนั้นส่วนใหญ่เกิดจาก ตำแหน่ง รูปร่างของหลอดเลือดโป่งพองนั้น ความเสื่อมของหลอดเลือดจากความสูงอายุ ความดันโลหิตสูง และเบาหวาน และส่วนหนึ่งคือการวินิจฉัยไม่ได้ในครั้งแรกที่มีการแตกแล้วเกิดแตกซ้ำทั้งน ี้เนื่องจากอาจมีอาการน้อยมาก จนอาจไม่พบอาการผิดปกติใดๆเลย นอกจากอาการที่เป็นตอนแรก ซึ่งจะต้องได้จากคำบอกเล่าของผู้ป่วยหรือญาติ จึงมีความสำคัญที่ทุกคนควรทราบถึงอาการระยะแรกที่ว่านั้นมีอาการนั้นอย่างไร อาการที่สำคัญได้แก่

อาการปวดศีรษะเฉียบพลันชนิดที่ไม่เคยเป็นมาก่อน อาจมีหมดสติชั่วครู่ เวลาก้มศีรษะจะรู้สึกตึงก้มได้ไม่เต็มที่ มักมีอาเจียนร่วมด้วย(บางรายอาจถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคทางเดินอาหารหรืออาหาร เป็นพิษได้) มักจะเกิดเวลาใกล้สว่าง หรือขณะเข้าห้องน้ำ บางรายอาจมีประวัติว่าล้มในห้องน้ำ และสูญเสียความจำชั่วขณะจึงอาจให้ประวัติที่แท้จริงไม่ได้ และเมื่อรู้ตัวแล้วอาการปวดศีรษะนั้นอาจไม่รุนแรงได้ เมื่อมีอาการที่แพทย์สงสัยว่าจะเป็นโรคนี้ขั้นแรกจะตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเ ตอร์ของสมอง ต่อไปจึงตรวจหลอดเลือดของสมองทั้งหมด เมื่อพบแล้วจึงปรึกษาแพทย์เฉพาะทางประสาทศัลยศาสตร์เพื่อแก้ไขดังกล่าวข้างต ้นต่อไป

3.โรคหลอดเลือดแตกจากหลอดเลือดขอดจากความผิดปกติของหลอดเลือดแดงต่อกับหลอดเ ลือดดำโดยตรง(ruptured arteriovenous malformation) โรคนี้เป็นโรคที่มีความผิดปกติแต่กำเนิดเช่นกันแต่มีลักษณะที่ต่างกันที่ตำแ หน่งและลักษณะของพยาธิสภาพ โดยความผิดปกติเกิดจากการที่หลอดเลือดของเนื้อสมองส่วนของหลอดเลือดแดงมีการ ต่อกันโดยตรงกับหลอดเลือดดำทำให้หลอดเลือดดำที่ปกติจะรับเลือดดำที่ผ่านเนื้ อเยื่อแล้วทำให้ตัวหลอดเลือดดำนั้นขยายตัวด้วยเลือดแดงเหมือนเป็นเส้นเลือดข อด ความที่ผนังหลอดเลือดดำบางเมื่อรับความดันหลอดเลือดแดงที่สูงจึงแตกได้ แต่การแตกมักรุนแรงน้อยกว่าหลอดเลือดแดงโป่งพองแตก ผู้ป่วยมักจะมีปัญหาเลือดออกในเนื้อสมอง การรักษาหากแก้ไขได้ด้วยการผ่าตัดก็ควรรับการผ่าตัด หากความผิดปกติเป็นบริเวณกว้างและอยู่ในตำแหน่งสำคัญก็ไม่สามารถผ่าตัดได้ อาจใช้วิธีอุดหลอดเลือดและฉายแสงร่วมด้วย

โรคหลอดเลือดสมองที่ต้องได้รับการผ่าตัดมีเพียงส่วนน้อยของปัญหาโรคหลอดเลือ ดสมองทั้งหมดแต่ก็มีความสำคัญในการวินิจฉัยให้ได้ เพราะผลการรักษาอาจได้ผลดี หากเป็นโรคที่แก้ไขได้และมีความเสี่ยงที่จะเกิดแตกซ้ำ


นายแพทย์สุกิจ ทัศนสุนทรวงศ์
ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา




Create Date : 11 พฤษภาคม 2551
Last Update : 11 พฤษภาคม 2551 19:18:26 น. 1 comments
Counter : 5691 Pageviews.  

 
รวบรวมบทความเกี่ยวกับเรื่องสมอง ..


โรคเส้นเลือดสมองตีบ

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-03-2008&group=4&gblog=21


อัมพาตเป็นแล้วรักษาหายหรือไม่

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-05-2008&group=4&gblog=39


โรคหลอดเลือดสมองที่รักษาได้ด้วยการผ่าตัด

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=11-05-2008&group=4&gblog=37


การดูแลผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว ป้องกันแผลกดทับ

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=01-07-2008&group=4&gblog=51


โรคอัลไซเมอร์ ( Alzheimer’s disease )

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=12-06-2008&group=4&gblog=46


ภาวะสมองตาย : ระยะสุดท้ายของชีวิตที่จะต่อชีวิตผู้อื่นได้

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=17-07-2008&group=4&gblog=53



โดย: หมอหมู วันที่: 6 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:16:26:08 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]