Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

โรคพิษสุนัขบ้า


โรคพิษสุนัขบ้า

โรคพิษสุนัขบ้า หรือ โรคกลัวน้ำ เป็นโรคติดต่อที่ร้ายแรงชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ เรบีส์ ( Rabies ) ทำให้เกิดโรคได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด เช่น คน สุนัข แมว หนู ลิง ชะนี กระรอก ค้างคาว ฯลฯ โรคนี้เมื่อเป็นแล้ว จะทำให้มีอาการทางประสาท โดยเฉพาะระบบประสาทส่วนกลาง ถ้าเป็นแล้วถึงตายทุกราย ปัจจุบันยังไม่มียาที่จะรักษาได้


คนติดโรคสุนัขบ้าจากทางใดได้บ้าง?

คนเป็นโรคพิษสุนัขบ้าได้เนื่องจากรับเชื้อโรคพิษสุนัขบ้ามาจากสัตว์ที่เป็นโรคได้ 2 ทาง คือ

1. ถูกสัตว์ที่เป็นโรคกัด เชื้อไวรัสจากน้ำลายของสัตว์ ที่เป็นโรคจะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลที่ถูกกัด

2. ถูกสัตว์ที่เป็นโรคเลีย โดยปกติคนถูกสัตว์ที่เป็นโรคเลีย จะไม่ติดโรคจากสัตว์นั้น นอกเสียจากว่ามีบาดแผล รอยถลอก หรือ รอยขีดข่วนโดยบุคคลนั้นไม่ได้สังเกต ในกรณีนี้จะทำให้ ผู้ที่ถูกสัตว์ที่เป็นโรคเลีย เป็นโรคพิษสุนัขบ้าได้ รวมทั้งการถูกเลียที่ริมฝีปาก หรือนัยน์ตา ก็จะทำให้เป็นโรคนี้ได้


ถ้าถูกสัตว์กัดจะมีโอกาสเป็นโรคพิษสุนัขบ้าเพียงใด?

-ถ้าสัตว์ที่กัดไม่ได้ติดเชื้อพิษสุนัขบ้า จะไม่มีโอกาสเป็นโรค แต่ถ้าไม่แน่ใจว่าสัตว์เป็นโรคหรือไม่ ต้องคิดว่าสัตว์เป็นโรคไว้ก่อน

-ผู้ที่ถูกสุนัขหรือสัตว์ที่เป็นโรคกัด ไม่ป่วยเป็นโรคทุกราย โอกาสเป็นโรคเฉลี่ยประมาณ35% ขึ้นกับบริเวณที่ถูกกัด

ถ้าถูกกัดที่ขา โอกาสเป็นโรคประมาณ 21 %

ถ้าถูกกัดที่ใบหน้า โอกาสเป็นโรคประมาณ 88 %

ถ้าแผลตื้น แผลถลอก โอกาสเป็นโรคจะน้อยกว่า แผลลึกหลายๆแผล


ถูกสุนัขบ้ากัด นานเท่าใดจึงมีอาการ?

ระยะเวลาตั้งแต่ได้รับเชื้อจนกระทั่งปรากฏอาการของโรค (ระยะฟักตัว) จะแตกต่างกันได้มาก พบได้ตั้งแต่ 4 วันจนถึง 4 ปี แต่ส่วนมากมักมีอาการในช่วงระหว่าง สัปดาห์ที่ 3 จนถึงเดือนที่ 4

ประมาณ 70% จะเป็นโรคภายใน 3 เดือนหลังถูกกัด

ประมาณ 96% จะเป็นโรคภายใน 1 ปีหลังถูกกัด



สัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า จะมีอาการเป็นอย่างไร พบได้ สองแบบ

1. แบบดุร้าย มีอาการหงุดหงิด ไล่กัดคนและสัตว์อื่น ถ้าผูกโซ่หรือขังไว้ในกรง จะกัดโซ่หรือกรง หรือสิ่งของที่อยู่ไกล้อย่างดุร้าย บางครั้งสุนัขจะกัดจนฟันหักหรือลิ้นเป็นแผลมีเลือดออก เมื่อแสดงอาการดุร้ายได้ 2-3 วัน ก็จะอ่อนเพลียลง ขาหลังไม่มีแรง เดินโซเซและตายในที่สุด

2. แบบเซื่องซึม มีอาการปากอ้า หุบไม่ได้ ลิ้นมีสีแดงคล้ำ ห้อยออกมานอกปาก บางครั้งมีสิ่งสกปรกติดอยู่ มีอาการคล้ายกระดูกติดคอ โดยเจ้าของมักเอานิ้วล้วงออกแต่ไม่พบกระดูก สุนัขจะเอาขาหน้าตะกุยบริเวณแก้ม ปากและคอจะบวม สุนัขจะลุกนั่งและยืนเดินไปมา บ่อยๆ กินของแปลกๆ เช่น ใบไม้ ก้อนหิน หรือบางตัวก็กินปัสสาวะตัวเอง สุนัขแบบเซื่องซึมนี้จะไม่กัด ถ้าไม่ถูกรบกวน
สุนัขแบบหลังนี้ จะสังเกตอาการยากมาก ดังนั้นถ้าสุนัขตายโดยไม่ทราบสาเหตุ ก็ควรตัดหัวสุนัขส่งตรวจ


คนที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า จะมีอาการอย่างไร

ในระยะ 2-3 วันแรก อาจมีไข้ต่ำๆ ต่อไปจะมีอาการเจ็บคอ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย คันหรือปวดแสบปวดร้อนตรงบริเวณแผลที่ถูกกัด ทั้ง ๆ ที่แผลอาจหายเป็นปกติแล้ว ต่อมาจะมีอาการตื่นเต้นง่าย กระสับกระส่าย ไม่ชอบแสงสว่าง ไม่ชอบลมและเสียงดัง กลืนลำบากแม้จะเป็นของเหลวหรือน้ำ เจ็บมากเวลาจะกลืน เพราะมีการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกลืน ยังมีสติดี พูดจารู้เรื่อง ต่อมาจะเอะอะมากขึ้น และสุดท้ายมีอาการชัก เป็นอัมพาต และเสียชีวิตในที่สุด



ข้อควรปฏิบัติภายหลังจากถูกสุนัขบ้าหรือสัตว์ที่สงสัยว่าบ้า  กัด หรือ เลีย

1. รีบล้างแผลด้วยน้ำและสบู่หลายๆครั้ง พยายามล้างให้เข้าถึงรอยลึกของแผล ถ้าไม่มีสบู่ใช้ผงซักฟอกแทนก็ได้

2. ทำความสะอาดซ้ำด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์ ทิงเจอร์ไอโอดีน น้ำยาพิวิดีน หรือ ทิงเจอร์เมอไทโอเลท
ถ้าแผลฉกรรจ์มีเลือดออก ควรปล่อยให้เลือดออกระยะหนึ่งเพื่อล้างน้ำลายซึ่งอาจมีเชื้อไวรัสออก

3. ควรรีบมาพบแพทย์ เพื่อรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและวัคซีนป้องกันบาดทะยัก ทานยาปฏิชีวนะและยาแก้ปวด หากมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดแผลมาก ชา หรือ คันรอบ ๆ แผล มีไข้ขึ้น ให้รีบมาพบแพทย์

4. ถ้าสุนัขตาย ให้ตัดหัวสุนัขไปตรวจ ถ้าหากสุนัขไม่ตาย ให้ขังไว้ดูอาการ 16 วัน ขณะเดียวกันให้รีบไปฉีดวัคซีน
การรักษาทางสมุนไพรหรือแพทย์แผนโบราณ ไม่สามารถป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าได้

5. ในกรณีที่ติดตามสัตว์ที่กัดไม่ได้ เช่น เป็นสัตว์ป่าหรือเป็นสัตว์ที่กัดแล้วหนีไป ก็จำเป็นต้องได้รับการฉีดวัคซีน

6. ผู้ที่ต้องมารับการฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า คือ ผู้ที่มีแผลถลอก แผลเป็นรอยเขียวช้ำ หรือมีเลือดไหล รวมทั้งผู้ที่ถูกสุนัขเลียที่นัยน์ตา ริมฝีปาก ถ้าถูกเลียที่ผิวหนังที่ไม่มีแผล หรือเพียงแต่อุ้มสุนัข ไม่สามารถติดโรคได้
 
 
ประเด็นสำคัญคือ เมื่อถูกสัตว์เลี้ยงกัด/ข่วน ให้รีบล้างแผล สบู่และน้ำสะอาดหลายๆครั้ง ใส่ยา เช่น เบตาดีน แล้วไปพบแพทย์ทันที
( ไม่ต้องรอสังเกตอาการสัตว์ เพราะถ้ามีการติดเชื่อ แล้วรอจนสัตว์มีอาการ อาจรักษาไม่ทัน )
 

#การป้องกันไม่ให้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้า
== ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้สัตว์เลี้ยง(สุนัข/แมว)ครั้งแรก เมื่อสัตว์เลี้ยงมีอายุ 2-4 เดือนขึ้นไป
== ประชาชนที่ถูกสัตว์เลี้ยงกัด/ข่วน ให้รีบล้างแผล สบู่และน้ำสะอาดหลายๆครั้ง ใส่ยา เช่น เบตาดีน เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อเข้าสู่แผล กักหมา ไว้ดูอาการ 10 วัน หากสัตว์ตาย ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ทันที หาหมอ เพื่อรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรค และฉีดวัคซีนเป็นประจำทุกปี
== หากพบเห็นสัตว์ที่สงสัยว่าอาจเป็นโรคพิษสุนัขบ้า คือมีอาการหางตก เดินโซเซ น้ำลายย้อย ลิ้นห้อย ตาขวาง ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์หรือผู้นำชุมชนทันที
== หากประชาชนมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร 1422
Cr.สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ
อ่านเพิ่มเติม  https://goo.gl/mU1vmf
 


ควรเลือกใช้วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแบบใด

สถานเสาวภาแนะนำให้ใช้วัคซีนที่ทำจากเซลล์เพาะเลี้ยง (ฉีด 5 ครั้งเท่านั้น) เพราะมีประสิทธิภาพสูง ไม่ทำให้เกิดอาการแพ้ต่อระบบประสาท เช่น สมองอักเสบ จึงปลอดภัยกว่าวัคซีนที่ทำจากสมองแกะ สมองหนู (ชนิดฉีด 14 เข็ม)

วัคซีนธรรมดา คือ วัคซีนที่ต้องใช้เวลาในการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน โดยปกติท่านควรได้รับวัคซีนธรรมดา ซึ่ง 1 ชุดจะมี 5 เข็ม ใช้เวลาในการฉีดประมาณ 1 เดือน ซึ่งอาจจะฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือ ฉีดเข้าชั้นผิวหนัง ก็ได้



เซรุ่มป้องกันพิษสุนัขบ้าเป็นอย่างไร

เซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า หรือ วัคซีนอิมมูโนโกลบุลิน(Immunoglobulin) เป็นเซรุ่มหรือส่วนของน้ำใสของเลือดที่ได้มาจากม้า หรือคนที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามาก่อน

ซีรุ่ม (Serum) คือวัคซีนที่เป็นภูมิคุ้มกันทันทีโดยไม่ต้องใช้เวลาในการกระตุ้น ในเซรุ่มจะมีโปรตีนที่ทำหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันต่อไวรัส ที่ทำให้เกิดโรคพิษสุนัขบ้าในปริมาณที่มาก เมื่อให้เซรุ่มดังกล่าวแก่ผู้ที่ถูกสุนัขบ้ากัด ก็จะไปทำลายเชื้อพิษสุนัขบ้าในร่างกายได้ทันที ก่อนที่ไวรัสจะก่อโรคขึ้น และก่อนที่ภูมิต้านทานของร่างกายจะสร้างขึ้น

วัคซีนอิมมูโนโกลบูลิน(Immunoglobin) เป็นวัคซีนที่มีราคาแพง เพราะฉะนั้นจะใช้ต่อเมื่อ
-สงสัยว่าสัตว์เป็นโรคแน่ๆ
-โดนกัดเป็นแผลขนาดใหญ่ ซึ่งมีโอกาสได้รับเชื้อจากน้ำลายมาก
-โดนกัดอวัยวะที่สำคัญซึ่งมีเส้นประสาทไปเลี้ยงมาก เช่น หน้า ฝ่ามือ ฝ่าเท้า อวัยวะเพศ






ข้อมูล เพิ่มเติม จาก  ระบบสารสนเทศเพื่อการเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้า ( THAI RABIES NET )
 
https://www.thairabies.net/dashboard/default.aspx












เปิดพื้นที่สีแดง 22 จังหวัด โรคพิษสุนัขบ้าระบาด ล่าสุดเสียชีวิตแล้ว 3 ราย
ล่าสุดวันนี้ 12มีนาคม 2561 กรมปศุสัตว์ ออกมาประกาศพื้นที่สีแดง ซึ่งโรคพิษสุนัขบ้ากำลังระบาด เพิ่มเป็น 22 จังหวัดแล้ว ได้แก่
.ภาคเหนือ 2 จังหวัด  เชียงราย และ น่าน
.ภาคตะวันตก 2 จังหวัด   ตาก และ ประจวบคีรีขันธ์
.ภาคกลางและตะวันออก 8 จังหวัด   กทม. นนบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง สระแก้ว
.ภาคอีสาน 8 จังหวัด   นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ร้อยเอ็ด ยโสธร ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ อุบลราชธานี
.ภาคใต้ 2 จังหวัด   ตรัง และ สงขลา

.โดยล่าสุดในปี 2561 พบผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้าแล้ว 3 ราย ที่จังหวัด ตรัง สงขลา และสุรินทร์
https://www.facebook.com/WorkpointNews/photos/a.153956988306921.1073741828.153951094974177/595264910842791/?type=3&theater


****************************************
อัปเดต ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๑
ปีนี้ โรคพิษสุนัขบ้า ระบาดหนัดจริง ๆ ระมัดระวังดูแลตนเองและเด็ก ๆ ให้ดีด้วยนะครับ
จำนวนผู้เสียชีวิต ปี ๖๑ แค่ ๓ เดือน - ๗ ราย (เท่ากับ ปี ๖๐ ทั้งปี) 
จำนวนผู้เสียชีวิต  ปี๖๐ - ๗ ราย  ปี๕๙ - ๑๔ ราย  ปี๕๘ - ๕ ราย



อัปเดต 2566

ด้วยจังหวัดกำแพงเพชรได้รับแจ้งจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นว่า สถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทย ยังคงพบผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้า โดยในปี พ.ศ. 2565 จำนวน 4 ราย และ พ.ศ. 2566 จำนวน 6 ราย และยังพบผลบวกสัตว์ติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง

ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่ก่อให้เกิดผู้เสียชีวิตปรากฎว่า เมื่อถูกสุนัขหรือแมว กัด ช่วน และไม่เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า นอกจากนี้ ยังพบอีกว่าร้อยละ 50 ของผู้เสียชีวิตถูกสุนัขของตนเองกัด ข่วน ซึ่งไม่ได้เข้ารับการฉีดวัคซีนจึงทำให้ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าเสียชีวิตในที่สุด

เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ควรปฏิบัติดังนี้

👉1. โรคพิษสุนัขบ้ามีอันตรายถึงชีวิตโดยผู้ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้าจะเสียชีวิตเกือบทุกราย และสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปี เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มียาที่ใช้ในการรักษา แต่ป้องกันได้โดยการฉีดวัคน โดยสามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนได้ที่โรงพยาบาลหรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลใกล้บ้าน

👉2. การปฐมพยาบาลเบื้องต้นหากถูกสุนัขหรือแมว กัด ข่วน ให้ล้างแผลด้วยน้ำสะอาดทันทีเช็ดแผลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ และรีบไปพบแพทย์ทันที่พร้อมประวัติการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเพื่อเข้ารับการรักษาที่ถูกต้อง

👉3. หากพบว่าสุนัขหรือแมว กัด ข่วน ตนเองหรือผู้อื่น ให้นำสุนัขหรือแมวไปขังไว้เพื่อสังเกตอาการอย่างน้อย 10 วัน หรือพบสัตว์สงสัยว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้าต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์จังหวัดเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดทันที

อบต. โป่งน้ำร้อน
https://www.facebook.com/sao.pnrn/posts/pfbid0QPCpJ7nUWZyoQj2baNpsJnk5Yb88EdwDNAR4Jg73ubFWdiLFrzCp6mnbuqEdL3jMl



****************************************


เครดิต โรงพยาบาลสัตว์เศรษฐกิจสัตวแพทย์
https://www.facebook.com/setthakitanimalhospital/

******************************************
 

ปุจฉา!โรคพิษสุนัขบ้า อาเพศเหตุระบาดหนัก
20 มี.ค. 2561 05:01
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา


“โรคพิษสุนัขบ้า”...เค้าว่า กันมาอย่างนี้ไม่ทราบจริงไหม? ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์โรคติดเชื้อ โรคอุบัติใหม่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไล่เรียงสรุปข้อมูลจากข่าวตามเงื่อนเวลาไทม์ไลน์ให้เห็นภาพคร่าวๆกรณีเรื่องราวของ สตง. กับวัคซีนพิษสุนัขบ้าของ อปท.
เริ่มจาก...ปี 57 หลังรัฐประหาร สตง. ออกไล่ล่าตรวจสอบการใช้งบของ อปท. ย้อนหลังปี 56...ปลายปี 2557 สตง.ทำหนังสือเสนอแนะว่า เทศบาลตำบลสุรนารี ใช้เงินซื้อวัคซีนพิษสุนัขบ้า ไม่ตรงกับจุดประสงค์ของ พ.ร.บ.โรคพิษสุนัขบ้า 2535 ที่ให้เป็นหน้าที่กรมปศุสัตว์ ให้เรียกเงินคืน สอบวินัยย้อนหลังเทศบาล ฯลฯ

เทศบาลตำบลสุรนารีสู้ โดยยื่นต่อกรมปศุสัตว์ ให้กรมปศุสัตว์ยื่นเรื่องตีความ โดยการเรียกเงินคืนนี้ สตง.ออกหนังสือเวียนแจ้งข้อเตือนไปยัง อปท.ทั่วประเทศ อปท.เลยระงับการซื้อวัคซีนมาฉีดให้สัตว์เลี้ยงและสัตว์จรจัด และ “กรมปศุสัตว์” ยื่นตีความต่อกฤษฎีกา ลงวันที่ 29 มกราคม 2558
กฤษฎีกา 2 คณะ ตีความว่ากรมปศุสัตว์มีอำนาจ แต่กรมปศุสัตว์ก็ยังมีอำนาจมอบให้ อปท.ซื้อวัคซีนมาฉีดให้สัตว์แทนด้วย ในต้นปี 2559 แต่โรคพิษสุนัขบ้าก็เริ่มระบาดรุนแรงในระดับหนึ่งแล้วในปี 2560

ระเบียบที่กฤษฎีกาตีความว่าทำได้ สตง.ดันไม่เผยแพร่ ไม่มีหนังสือเวียนแจ้ง อปท. เหมือนตอนห้าม และ สตง.ก็บอกไปอีกว่าจะตรวจสอบเรื่องวัคซีนที่ซื้อไม่มีคุณภาพ สต๊อกแล้วเสื่อม แทนในปี 2560 โดยไม่เอ่ยถึงเรื่องที่ตัวเองไปตรวจสอบว่า อปท.ไม่มีอำนาจตอนปี 2557 สักคำ?

กระทั่งปี 2561 พิษสุนัขบ้าระบาดหนักกว่าเดิมเกินครึ่งประเทศ และ อปท.หลายแห่งก็ยังไม่กล้าซื้อวัคซีนมาฉีด ศ.นพ.ธีระวัฒน์ บอกว่า ประเด็น สตง.ห้ามพื้นที่จัดซื้อวัคซีนหมาบ้าในสัตว์และทำให้การบริหารจัดการเองในพื้นที่ไม่สามารถกระทำต่อไปได้ และสถานการณ์เลวร้ายมากขึ้น นอกจากนั้นกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยึดถือนโยบายทำงานได้ตามเป้าเสมอ ทั้งนี้ มีการรายงานตัวเลขสวยหรู ในการทำหมันฉีดวัคซีนสุนัขและการรายงานจำนวนหมาในประเทศ โดยที่จะเป็นจำนวนหมาที่ประเมินได้จากหมามีเจ้าของ

“ในขณะที่ “หมาชุมชน” มีเพิ่มขึ้นมากมาย...เหตุการณ์ลักษณะนี้ยังเกิดขึ้นในการรายงานว่าไม่มีไข้หวัดนกในสัตว์ปีก เป็นเวลามากกว่าเก้าปี ทั้งๆที่มีการระบาดมากกว่าครึ่งประเทศแล้ว และสายพันธุ์ที่ไม่รุนแรงพัฒนาขึ้นเป็นรุนแรง รวมทั้งไม่ได้มีการแจ้งเตือนกระทรวงสาธารณสุขจนกระทั่งความแตกเมื่อเดือนสิงหาคม 2560”

เมื่อมีสัตว์ในสวนสัตว์ที่โคราชป่วยตาย ได้แก่ อีเห็น ชะมด เสือปลาและอื่นๆ และลามออกไปนอกสวนสัตว์ ทำให้มีไก่ตามบ้านในหมู่บ้านในพื้นที่โคราช ล้มตายเป็นจำนวนมาก ในปีที่แล้วและกระทรวงสาธารณสุขได้ทำการสอบสวน เนื่องจากมีประชาชนและเจ้าหน้าที่สวนสัตว์สัมผัสกับสัตว์ป่วยตายเป็นจำนวนมาก

กระทั่งนำไปสู่การประชุมระหว่างกรมควบคุมโรคและกรมปศุสัตว์จึงได้มีการเปิดเผยความจริงว่ามี ไข้หวัดนกระบาดจริงในที่ต่างๆ และเป็นสายพันธุ์ที่รุนแรง แต่ข้อมูลไม่สามารถแพร่ออกสู่สาธารณชนได้
“การปกปิดข้อมูล...เป็นผลร้าย โดยที่โรงพยาบาลต่างๆจะดูแลคนป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ธรรมดาโดยไม่ได้พิจารณาถึงไข้หวัดนก และในที่สุดเชื้อไวรัสก็จะพัฒนาตัวเองไปเรื่อยๆจนกระทั่งถึงระดับสุดท้ายคือสามารถแพร่ได้จากคนสู่คน”

สำหรับสถานการณ์ของโรคพิษสุนัขบ้าในหลายปีที่ผ่านมาไม่ปรากฏในรายงานว่า มีความเสี่ยงมากจนกระทั่งความแตกในช่วงสองถึงสามปีหลังที่มีคนตายมากขึ้น มีคนถูกกัดมากขึ้น มีคนต้องการใช้วัคซีนมากขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงจำนวนหมาที่เพิ่มมากขึ้นโดยอัตโนมัติและจึงปรากฏตัวเลขที่ชัดเจนขึ้นของหัวหมาที่ต้องสงสัยและตรวจว่ามีเชื้อไวรัสอยู่ในบางพื้นที่มากกว่า 10% จนกระทั่งถึงมากกว่า 30 และ 50%

สถานการณ์ของโรคพิษสุนัขบ้าที่ลุกลามขึ้นเรื่อยๆ ภายในระยะเวลาสามถึงสี่ปีที่ผ่านมา มีปัจจัยที่เกิดขึ้นหลายประการ ยกตัวอย่างเช่น

ประการที่หนึ่ง...ความไม่รับผิดชอบของคนไทยเองในการเลี้ยงหมาปล่อยให้เพิ่มจำนวนและไม่ได้ให้การดูแลที่เหมาะสมโดยเฉพาะเรื่องของการให้วัคซีนป้องกันโรค และการคุมกำเนิด ในขณะเดียวกันผลักภาระให้ทางการหรือเจ้าหน้าที่ในการจัดหาวัคซีนและรวมถึงการทำการฉีด

“จำนวนประชากรหมาที่เพิ่มขึ้นมีปริมาณเกินกว่ากำลังของเจ้าหน้าที่ที่จะช่วยฉีด ซึ่งต้องการความร่วมมือจากชุมชนในการนำหมามาด้วย ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่เจ้าหน้าที่จะทำการตามจับเอาเอง”

ประการที่สอง...แม้ว่าชุมชนในท้องถิ่นจะช่วยตัวเองถึงในระดับหมู่บ้านโดยที่ผ่านมามีความเข้มแข็งในการจัดหาซื้อวัคซีนและทำการบริหารจัดการได้เอง แต่ในช่วงระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา กลับไม่สามารถทำได้ เพราะเกิดมีกระบวนการตีความข้อกฎหมาย แสดงถึงความลักลั่นหรือช่องโหว่ของระบบการทำงานของรัฐ

“สตง.มีอำนาจ แต่อาจทำตามตัวหนังสือ ตัวบทกฎหมาย ทั้งนี้ โดยอาจไม่ได้ประเมินถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นทั่วประเทศจนเกิดปัญหารุนแรงขึ้นตามลำดับ ทั้งนี้ ขั้นตอนการตรวจสอบ ปรึกษาหารือเกี่ยวกับตัวบทกฎหมายน่าจะต้องพิจารณาถึงสถานการณ์ที่เป็นจริงให้รอบด้าน ดังนั้น พอมองแต่งานของตนเอง และสั่งการใช้อำนาจห้ามไปยัง อปท. จึงเกิดผลกระทบต่อประชาชน”

ประการที่สาม...ปัญหาการทราบถึงสถานการณ์ที่เป็นจริงและการคาดการณ์ไปข้างหน้าในอนาคต โดยที่การประเมินความเสี่ยงในแต่ละพื้นที่ ต้องคำนึงถึงว่าจำนวนส่งตรวจมีปริมาณเพียงพอที่จะได้ข้อสรุปหรือไม่ และมิหนำซ้ำแม้เมื่อพบสุนัขบ้าตัวเดียวในพื้นที่ จะสะท้อนว่าตัวต้นตอแท้จริงอาจแพร่ไปให้ตัวอื่นๆเรียบร้อยแล้วในพื้นที่ และแต่ละตัวค่อยๆรอเวลาที่จะแสดงอาการและแพร่เชื้อต่อ ดังนั้น...ถึงแม้ว่าจะฉีดวัคซีนให้หมาทุกตัวในพื้นที่ก็ยังมีความเสี่ยงที่ต้องพิจารณาเป็นพื้นที่อันตรายต่ออย่างน้อย 6 เดือน

ในการพิจารณาความเสี่ยง และการรายงานพื้นที่เสี่ยงใหม่เป็นรายเดือนอาจจะทำให้เบาใจลงได้ แต่ทั้งนี้ พื้นที่เดิมก็ยังคงมีความเสี่ยงอยู่ และยังไม่สามารถสรุปได้ว่ามีความเสี่ยงลดลง...การประกาศพื้นที่อำเภอหรือจังหวัดว่า “เสี่ยงน้อย” มีอิทธิพลมากต่อประชาชนในพื้นที่

ทั้งนี้แม้เมื่อมีสัตว์ป่วยตาย ถ้าประชาชนรับทราบเป็นทางการว่าพื้นที่นั้น ดูจะปลอดภัยก็ยังนำสัตว์ที่ป่วยตายมาทำเป็นอาหารและปรากฏอยู่หลายหมู่บ้านในช่วงปีที่ผ่านมาที่มีการนำโค กระบือ หมาที่ป่วยตายและนำมากินเป็นอาหารโดยที่พื้นที่นั้นๆไม่ได้จัดเป็นพื้นที่เสี่ยง ดังนั้น จึงต้องทำการประเมินคนหลายร้อยคน ในหมู่บ้านหลายแห่งว่าจำเป็นต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันขนาดไหน โดยอันตรายจะตกอยู่กับผู้ที่ทำการชำแหละลอกหนังและสัมผัสกับเครื่องใน โดยที่สัตว์ที่เป็นโรคและตาย เชื้อจะไปทั่วร่างกาย

ประการที่สี่...การประเมินความเสี่ยงที่อาจต่ำกว่าความเป็นจริง ทำให้ระดับความเข้มงวดในการเฝ้าระวังลดถอยกว่าที่ควรจะเป็น และกระทบถึงจำนวนวัคซีนที่ต้องวางแผนในการใช้แต่ละปี ทั้งนี้ ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา บริษัทที่ผลิตวัคซีนขนาดใหญ่อาจมีกำลังผลิตลดลงหรือรวมทั้งอาจมีปัญหาในด้านคุณภาพและทำให้พื้นที่หลายแห่งของประเทศขาดแคลนวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์

“การขาดความเชื่อมโยงในความรู้ความเข้าใจของประชาชนในพื้นที่การประเมินสถานการณ์ในรูปแบบต่างๆ ทำให้ดูเหมือนว่าไม่มีปัญหาในหลายปีที่ผ่านมาในสัตว์ ทำให้เกิดโรคอุบัติซ้ำและเป็นที่น่าเสียดายที่โรคนี้ซึ่งเคยควบคุมได้ดีและเป็นต้นแบบให้หลายๆประเทศทั่วโลก กลับรุนแรงขึ้นมาใหม่”

ถึงตรงนี้ให้เข้าใจโดยทั่วกันว่า...การกำหนดตัวชี้วัดที่ให้พื้นที่หรือจังหวัดต้องไม่มีโรคอาจต้องเปลี่ยนแนวความคิดเป็นการดูที่ประสิทธิภาพของพื้นที่หรือจังหวัดในมาตรฐานของการเฝ้าระวังโรคอย่างเป็นระบบและได้มาตรฐานและจังหวัดใดที่สามารถสืบค้นโรคได้หมดจด ถึงแม้จะมีจำนวนมากก็ตาม และเร่งรัดจัดการควบคุมได้เร็วและมีประสิทธิภาพให้ต่อเนื่องถึงจะเป็นสิ่งที่ประเสริฐ ไม่ใช่...“การรายงานไม่มีโรคในพื้นที่”

“โรคพิษสุนัขบ้า”...ไม่ใช่โรคเดียวที่ความแตก ยังมีโรคอื่นๆอีกที่รอปะทุอยู่ เสมอเหมือนกวาดขยะซุกใต้พรม.



******************************************

 
เครดิต FB@ Infectious ง่ายนิดเดียว  14ตค61
https://www.facebook.com/Infectious1234/photos/a.133077153789653/571905913240106/?type=3&theater



 
ที่มา FB@ Ped in a Page
https://www.facebook.com/pedinapage/photos/a.788258301376585/873781059490975/?type=3&theater
 
"แนวทางการดูแลรักษาผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า ปี พ.ศ. 2561" จากสถานเสาวภา สภากาชาดไทย

ครั้งนี้เพจน้อยๆ ของเราได้รับความร่วมมือจาก ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการเรียบเรียงข้อมูลอย่างดีด้วย ขอบคุณมา ณ ที่นี้ค่า

ถ้าพูดถึงการให้วัคซีนพิษสุนัขบ้า หรือ rabies ก็จะมีทั้ง pre-exposure หรือการฉีดก่อนสัมผัสโรค และ post-exposure คือการฉีดหลังจากสัมผัสโรค

== มาที่ pre-exposure vaccination ก่อน (กรอบสีเขียวบนสุด)

สามารถฉีดได้ทุกอายุ ฉีดรอบเดียวตาม regimen ให้ครบคอร์ส ไม่ต้องฉีด RIG อีกตลอดไป (แต่จะมีฉีดวัคซีน booster ซึ่งจะกล่าวภายหลัง)

สามารถฉีดได้ทั้ง IM และ ID เลือกอย่างใดอย่างหนึ่งพอนะจ๊ะ
IM ฉีดครั้งละ 1 เข็ม ที่ day 0, 7
ID ฉีดครั้งละ 2 เข็ม ที่ day 0, 7 หรือ 21

สำหรับ immunocompromised host และกลุ่มเสียง* ในที่นี้คือ สัตวแพทย์ และคนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับปศุสัตว์ มีโอกาสสัมผัสโรคได้ พวกนี้จะฉีด regimen ต่างไปจากคน host ปกติ
จะฉีดเป็น IM หรือ ID ก็ได้ ครั้งละ 1 เข็ม ที่ day 0, 7, 21 หรือ 28

หลังจากนั้นกลุ่มที่ฉีดแล้วนี้จะนับเป็นกลุ่ม "vaccinated" (สีเขียว)
ส่วนคนที่ยังไม่เคยฉีด จะนับเป็น "non-vaccinated" (สีแดง)

== หลังจากโดนกัดแล้ว (after expose to mammals)
ทุกคนจะต้องผ่านการดูแลแผลอย่างถูกต้อง คือ :
1. ล้างแผลด้วยสบู่ + น้ำ และทำแผลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ จะเป็น povidine, alcohol หรือ chlorhexidine ก็ได้
2. Antibiotics
3. Tetanus vaccine พิจารณาตาม last dose tetanus ที่เคยได้ และจากลักษณะของแผล (clean / dirty wound)

พอหลังจากดูเรื่องแผลแล้ว ก็จะเข้าสู่โหมดการให้ post-exposure vaccination

ซึ่งการให้ post-exposure vaccination จะดูจาก 1. ลักษณะแผล (CAT 1/2/3) และ 2. ลักษณะ host

>>> ลักษณะแผล คือ
ถ้าเป็น CAT 1 คือแค่สัมผัสเฉยๆ ไม่มีแผล ไม่มีรอยข่วนรอยถลอกใดๆ (กรอบวงรีสีเขียว) ถ้าเป็นกลุ่ม CAT 1 นี้ ไม่ว่าจะเคยฉีดหรือไม่เคยฉีด ไม่ต้องทำอะไรเลย ไม่ต้องฉีดวัคซีน rabies ตามหลัง

แต่ถ้าเป็น
- CAT 2 คือมีแผลถลอก แผลรอยข่วน "ที่ไม่มีเลือดออก" หรือ กินเนื้อ mammals ที่ปรุงไม่สุก
- CAT 3 คือมีแผลที่ "มีเลือดออก" หรือ น้ำลายสัตว์สัมผัสแผล หรือ มีการสัมผัส mucosal membrane

ถ้าเป็น CAT 2 หรือ 3 นี้ จะต้องเข้าสู่การดูจาก ลักษณะของ host ก่อนเพื่อเลือก regimen วัคซีน

>>> ถ้าเป็น host ที่เป็น immunocompromised host ที่มีลักษณะดัง 5 ข้อต่อไปนี้ คือ
1) เป็นผู้ป่วย primary immunodeficiency
2) เป็นผู้ป่วย HIV infetion ที่มี CD4 level < 200
3) on prednisolone > 20 mg/day มานานมากกว่า 14 วันขึ้นไป
4) เป็นผู้ป่วย malignancy ที่กำลัง on chemo
5) เป็นผู้ป่วย post-organ transplant

ถ้าเข้า 5 ข้อนี้เมื่อไหร่
ไม่ว่าจะเป็น CAT 2 หรือ 3
ไม่ว่าจะเคยได้ pre-vaccination vaccine มาก่อนหรือไม่
** ฉีดเหมือนกัน คือ "full IM regimen + RIG" **
คือฉีด rabies vaccine ทาง IM ครั้งละ 1 เข็ม ที่ day 0, 3, 7, 14, 28
บวกกับต้องได้ RIG ทุกคน

>>> แต่ถ้าไม่เข้า 5 ข้อนี้
ค่อยแยกเป็น vaccinated หรือ non-vaccinated

** ถ้าเป็นกลุ่ม vaccinated เอาไปแค่ booster พอ ::
ดูจากว่าได้วัคซีนมาล่าสุดเมื่อไหร่

-- ได้รับวัคซีนมาไม่เกิน 6 เดือน
ฉีด IM หรือ ID ก็ได้ แค่เข็มเดียว ที่ day 0

-- ได้รับวัคซีนมาเกิน 6 เดือน
ฉีด IM ครั้งละ 1 เข็ม ที่ day 0, 3
หรือ ฉีด ID ครั้งละ 1 เข็ม ที่ day 0, 3 หรือ ID ครั้งละ 4 เข็ม ที่ day 0 รอบเดียวก็ได้

** สำหรับกลุ่ม non-vaccinated แยกตามแผล

=> CAT 2 : ฉีด full IM or ID regimen แต่ไม่ต้องฉีด RIG
IM ครั้งละ 1 เข็ม ที่ day 0, 3, 7, 14, 28 หรือ
ID ครั้งละ 2 เข็ม ที่ day 0, 3, 7, 28

=> CAT 3 : ฉีด full IM or ID regimen เหมือน CAT2 แต่ต้องฉีด RIG ด้วย

------

สำหรับ RIG (Rabies Immunoglobulin) จะมีสองแบบ คือจากม้า (ERIG) และจากคน (HRIG) โดยทั่วไปแนะนำให้ฉีดเป็นแบบ ERIG ก่อน ยกเว้นว่า ทำ skin test แล้วแพ้ หรือมีประวัติว่าเคยได้วัคซีนเซรุ่มจากม้าแล้วมีอาการแพ ้ถึงจะพิจารณาให้เป็น HRIG ได้

ส่วนการฉีด RIG "ฉีดแค่รอบแผลให้มากที่สุด" ไม่เกิน max dose คือ ERIG ไม่เกิน 40 IU/kg หรือ HRIG ไม่เกิน 20 IU/kg

------

DOSE สำหรับฉีดคือ

IM ครั้งละ 0.5 ml/dose
ID ครั้งละ 0.1 ml/dose

แนะนำเป็นฉีดที่ deltoid m. ได้ทั้งสองข้าง (เช่นถ้า ID ต้องฉีดทีละ 2 เข็ม ก็คือแขนสองข้าง) ยกเว้นว่าใน regimen ที่ฉีดทีเดียว 4 เข็ม อาจจะไปฉีดที่ anterior thigh หรือ scapular ด้วยได้

------

คำถามที่เจอบ่อยคือ "สามารถเป็น route การฉีดได้มั้ย" เช่น ตอนแรกไป รพ. นึงฉีด ID มา แต่มาอีก รพ. จะขอฉีดเป็น IM
จริงๆ ไม่แนะนำให้เปลี่ยน แต่ถ้าจำเป็นจริงๆ สามารถเปลี่ยนได้ 1 ครั้ง และหลังจากเปลี่ยนแล้วจะเปลี่ยนกลับไม่ได้อีก

อย่างในกรณีที่ฉีด ID มาตอนเข็มแรก แต่เข็ม 2 ฉีด IM ดังนั้น เข็ม 3 4 5 ต้องฉีดเป็น IM ทั้งหมด ไม่สามารถเปลี่ยนกลับได้นะจ๊ะ

-----

อ่ะอันนี้คือ full version ของ guideline
มีรายละเอียดยิบย่อยอีกมากมาย ลองไปอ่านเพิ่มเติมกันได้ค่าา

 
 
*****************************************
ลิงค์บทความ

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า... ศ.นพ. ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ดร.สุภาภรณ์ วัชรพฤษาดี

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=15-08-2012&group=4&gblog=94

โรคพิษสุนัขบ้า

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=20-03-2008&group=4&gblog=23

สุนัขจรจัดปัญหาสังคม ระดับประเทศ ...สาเหตุและแนวทางแก้ปัญหา...แถมเรื่อง ขี้หมา(คนอื่น)หน้าบ้าน(เรา)

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=03-02-2017&group=15&gblog=78

 


 


Create Date : 20 มีนาคม 2551
Last Update : 29 เมษายน 2566 14:13:28 น. 10 comments
Counter : 35805 Pageviews.  

 
คำถามที่พบบ่อย …

• ถาม ถ้าสุนัขไม่บ้า การฉีดวัคซีนให้คนที่ถูกสัตว์กัด จะมีอันตรายหรือไม่
• ตอบ ไม่มีอันตราย ถ้าฉีดวัคซีนที่ทำจากเซลล์เพาะเลี้ยง (ชนิดฉีด 5 เข็ม) เพราะวัคซีนทำมาจากเชื้อไวรัสที่ตายแล้ว ไม่สามารถทำให้เกิดโรคได้ นอกจากนั้น ยังมีภูมิคุ้มกันโรค ในกรณีที่ภายภาคหน้าได้สัมผัสกับสุนัขบ้าจริงๆ



• ถาม มีอาการแพ้จากวัคซีนที่ทำจากเซลล์เพาะเลี้ยง ชนิด 5 เข็ม หรือไม่
• ตอบ พบได้น้อยมาก และไม่รุนแรง เช่น มีไข้ต่ำๆ และปวดเมื่อยตัว คันแดงบริเวณที่ฉีดยา ผื่นแดงตามตัว สามารถบรรเทาได้ด้วยยาลดไข้ ยาแก้คัน ส่วนอาการแพ้ทางระบบประสาท เช่น สมองอักเสบนั้น ไม่เคยเกิดจากวัคซีนที่ทำจากเซลล์เพาะเลี้ยง



• ถาม หญิงมีครรภ์ ฉีดวัคซีนชนิด 5 เข็มได้หรือไม่
• ตอบ ฉีดได้ ไม่มีผลเสียต่อมารดา และทารก



• ถาม เด็กเล็ก ฉีดได้หรือไม่
• ตอบ ฉีดได้ไม่จำกัดอายุ และโปรแกรมการฉีดเหมือนผู้ใหญ่



• ถาม มีวัคซีนป้องกัน ชนิด 1 เข็มหรือไม่
• ตอบ ไม่มี ในปัจจุบันถ้าถูกสุนัขบ้ากัด ต้องฉีดวัคซีนที่ทำมาจากเซลล์เพาะเลี้ยง ชนิด 5 เข็ม


• ถาม ถ้าอยากรอดูสุนัขก่อนฉีดวัคซีนจะได้หรือไม่
• ตอบ ไม่ควร เพราะ
1. ไม่มีระยะเวลาที่แน่นอนตายตัว ว่าควรจะดูอาการสัตว์ไปนานเท่าไร จึงจะแน่นอนร้อยเปอร์เซนต์ มีผู้ป่วยหลายราย เสียชีวิตด้วยพิษสุนัขบ้า ก่อนสุนัขที่กัดจะตายไปก็มี
2. สุนัข สามารถปล่อยเชื้อไวรัสออกมาในน้ำลาย ก่อนที่สุนัขจะมีอาการได้ถึง 14 วัน ระหว่างสังเกตอาการ เชื้ออาจกำลังเจริญเติบโตที่บาดแผล การฉีดล่าช้า อาจไม่ทันการ
3. จากการศึกษาแหล่งต่างๆในประเทศไทย พบว่าสุนัขจรจัด ตรวจพบมีไวรัสพิษสุนัขบ้าอยู่ในสมองได้ ถึงร้อยละ 0.25 - 6.8 โดยที่ไม่มีอาการอะไรเลย
4. จากการตรวจสมองสุนัข ของสถานเสาวภา สุนัขที่ฉีดวัคซีนครบตลอด 2 ปี ร้อยละ 8 ยังพบว่า เป็นโรคพิษสุนัขบ้า
5. วัคซีนในปัจจุบัน มีความปลอดภัยสูง จำนวนครั้งที่ฉีดน้อย ไม่เหมือนวัคซีนรุ่นเก่า



• ถาม คนที่ถูกสุนัขที่ฉีดวัคซีนแล้วกัด จะมีโอกาสเป็นโรคพิษสุนัขบ้าหรือไม่
• ตอบ มี สถานเสาวภาพบว่า สุนัขบางตัวที่ถูกฉีดวัคซีนมาก่อนแล้ว ก็อาจจะเป็นบ้าได้



• ถาม ถ้าคนที่เคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามาก่อน แล้วถูกสุนัขกัดอีก จำเป็นต้องมาฉีดซ้ำหรือไม่
• ตอบ ต้องฉีดวัคซีนซ้ำทุกครั้ง ส่วนจำนวนเข็มที่ฉีด จะน้อยกว่าแบบปกติ ขึ้นกับระยะเวลาห่างจากครั้งก่อน

แหล่งข้อมูล : กองวิทยาศาสตร์ (สถานเสาวภา) สภากาชาดไทย


โดย: หมอหมู วันที่: 20 มีนาคม 2551 เวลา:17:45:35 น.  

 
จากเวบ หมอชาวบ้าน ...

//www.doctor.or.th/node/5488

ภาค 2 : วิชาการ

โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies)

เป็นปัญหาที่สำคัญอันหนึ่งของประเทศไทย โรคนี้อาจเป็นกับแมว วัว ควาย หรือค้างคาวได้ จากรายงานที่พบเฉลี่ยจะเกิดปีละ 200 – 300 ราย ผู้ชายพบมากกว่าผู้หญิง เด็กอายุ 6- 15 ปี พบมากที่สุด โรคนี้พบได้ตลอดปี

อาการใน สุนัข

อาการในสัตว์จะคล้ายกับอาการในคน สัตว์จะคันมากจนกัดเนื้อบริเวณที่คัน สุนัขจะกลืนน้ำลำบากเพราะกล้ามเนื้อของการกลืนจะเกิดเป็นอัมพาต ทำให้ขากรรไกรล่างห้อยลงมา ฉะนั้น ถ้าเห็นสุนัขตัวไหนคางห้อย ให้สงสัยไว้ก่อนว่าจะเป็นโรคพิษสุนัขบ้า อาการในสุนัขแบ่งเป็น

1. แบบดุร้าย พวกนี้ชอบวิ่งเตลิดเปิดเปิงไม่มีจุดหมาย ถ้าไม่ถูกคนตีตายหรือถูกรถทับตายมันก็จะกลับบ้านมานอนซมอยู่ 2-3 วันก็ตาย ถ้าขังมันไว้ มันจะกัดกรงจนปากและฟันหัก มีอาการหลังแข็ง หางตก น้ำลายไหล ลิ้นห้อย มักชอบงับลม งับแมลงวันที่บินผ่าน

2. แบบซึม มันจะเอี้ยวคอไมได้ หลังแข็ง หางตก ชอบนอนซุกในที่มืด ระยะหลังคางจะห้อย ดูคล้ายกระดูกติดคอ แต่อย่าไปช่วยล้วงคอให้มันเชียวเพราะถ้าโดนงับละก้อจะต้องรีบไปฉีดยาทันที พวกนี้จะตายภายใจ 2-3 วัน


อาการในคน

อาการ ในคนแบ่งเป็น 3 ระยะ

1. ระยะฟักตัว ไม่มี อาการ อาจกินเวลา 1-3 เดือน หลังถูกกัดถึงค่อยเกิดอาการ บางคนนานถึง 3 ปี แต่ถ้าถูกกัดที่หน้า แขน หรือบาดแผลเหวอะหวะ ระยะฟักตัวอาจสั้นแค่ 10 วัน

2. ระยะที่มีอาการทางระบบประสาท ระยะแรกมีอาการกลืนน้ำไม่ได้ หายใจลำบาก อาการสุดท้ายจะโคม่า แล้วก็ตาย

เชื้อโรคพิษสุนัขนี้เป็น เชื้อไวรัส จะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล เชื้อส่วนใหญ่จะสะสมอยู่ในต่อมน้ำลายของสุนัขแต่พบได้ที่เล็บของมันด้วย จากนั้นเชื้อไวรัสจะเข้าไปตามเส้นประสาท จนไปถึงสมอง จะมีการแบ่งตัว แล้วย้อนกลับมาตามเส้นประสาท มายังอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะที่ต่อมน้ำลาย


อาการที่สำคัญที่ใช้ในการวินิจฉัย

ก. กลืนลำบาก ผู้ป่วยอยากดื่มน้ำแต่กลืนไม่ได้ จะสำลัก

ข. ผู้ป่วยจะไวต่อการกระตุ้น เมื่อถูกโบกลมพัด ก็จะสะดุ้งผวา เกร็ง

ค. ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกตัว พูดจาโต้ตอบรู้เรื่อง

นอกจากนี้ ก็มีอาการกระสับกระส่าย และอาการคันบริเวณที่ถูกกัดหรือบริเวณใกล้เคียง



เมื่อ ถูกกัดจะทำอย่างไร

ถ้ามีบาดแผล

1. ล้างแผลด้วยน้ำและสบู่หลายๆ ครั้งทันที

2. ใช้ยาฆ่าเชื้อเช็ดแผล เช่น ทิงเจอร์ไอโดดีน หรือ 70 เปอร์เซ็นต์ แอลกอฮอล์

3. แพทย์จะไม่เย็บแผลให้ เพราะจะทำให้เชื้อเข้าร่างกายได้มากขึ้น แต่ถ้าจำเป็นเนื่องจากมีเลือดออกมาก ก็จะเย็บไว้หลวมๆ แล้วใส่ท่อระบายไว้ ถ้าแผลสกปรกมาก ควรได้รับการฉีดยาป้องกันบาดทะยักไว้ด้วย

การ ป้องกันและการรักษา

ถ้ารู้ว่าเป็นสุนัขบ้าแน่ ควรได้รับการฉีดเซรุ่มฮัยเปอร์อิมมุน (Hyperimmune serum) พร้อมทั้งฉีดวัคซีนไปด้วยกัน

การได้วัคซีน ถ้าได้อย่างเดียว ควรได้ทั้งหมด 17 เข็ม คือ ฉีดทุกวัน 14 เข็ม แล้วฉีดกระตุ้นอีก 1 เข็ม หลังจากฉีดครบเข็มสุดท้ายแล้ว ในเวลา 10, 20 และ 90 วัน

แต่ถ้าได้ เซรุ่มด้วย ควรฉีดวัคซีนไป 21 เข็ม ติดต่อกัน เนื่องจากเซรุ่มจะไปขัดขวางการสร้างภูมิคุ้มกัน (antibody) แล้วควรฉีดหลังกระตุ้นอีก 3 เข็ม หลังจากฉีดครบเข็มสุดท้ายที่ 21 แล้ว ในเวลา 10, 20 และ 90 วัน รวมเป็น 24 เข็ม

ถ้าหากว่าแผลใหญ่ หรือเป็นที่หน้า และศีรษะ แต่ไม่มีเซรุ่ม ควรฉีดวัคซีนในขนาดสูงขึ้น เช่น 5 มิลลิลิตร 21 เข็มทุกวัน แล้วฉีดกระตุ้นอีก 3 เข็ม ในวันที่ 10, 20 และ 90

ถ้า ผู้ป่วยไม่ได้มาฉีดวัคซีนสม่ำเสมอทุกวัน ก็ไม่จำเป็นต้องตั้งต้นใหม่ ไม่ว่าจะเว้นไปกี่วันก็ตาม



ขนาดของยาและชนิดของวัคซีน

ใน ประเทศไทยมีเซรุ่มที่ได้จากม้า ใช้ขนาด 40 หน่วย (unit) ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม โดยแบ่งฉีดรอบแผลครึ่งหนึ่ง และ ฉีดเข้ากล้ามอีกครึ่งหนึ่ง

สำหรับ วัคซีนที่มีใช้ในประเทศไทย คือ

1. วัคซีนจากสมองแกะ (Semple Vaccine) ของสภากาชาด และ องค์การเภสัชกรรม

2. วัคซีนจากตัวอ่อนลูกเป็ด (Duck Embryo Vaccine-DEV) ของบริษัทยา

3. วัคซีนจากสมองลูกหนู (Suckling mice brain Vaccine) ทำที่องค์การเภสัชกรรม

4. วัคซีนจากคน (Human diploid cell Vaccine) ราคาแพงมาก แต่ฉีดเพียง 6 เข็ม และให้ผลแทรกซ้อนน้อย


การ แพ้วัคซีน

ผู้ที่ฉีดวัคซีน โดยเฉพาะวัคซีนจากสมองแกะจะมีอัตราการแพ้มากกว่าชนิดอื่น อาการจะมีตั้งแต่ปวดหัว มีไข้ คลื่นไส้อาเจียน หรือชา ผู้ป่วยจะต้องบอกหมอทีฉีดยาให้รับทราบไว้ ซึ่งหมอจะได้พิจารณาหยุดฉีดหรือให้ยาอื่น เช่น พวกแอนตี้ฮีสตามีน (anti histamine) ลองดูก่อน ถ้าอาการหายไป ก็แล้วไป แต่ในบางราย ถ้าไม่สังเกตตัวเอง ฉีดไปเรื่อยๆ อาจเกิดอัมพาตได้ ถ้าคิดว่าแพ้วัคซีนนี้ เราก็อาจเปลี่ยนไปใช้วัคซีนจากตัวอ่อนลูกเป็น (DEV) แต่ถ้าไม่มีเงินซื้อเพราะราคาแพงหรืออยู่ต่างจังหวัดไม่มี ก็อาจลองใช้ยาเดิม แต่ลดขนาดลง แทนที่จะฉีด 2 มิลลิลิตร วันเว้นวัน โดยนับจำนวนมิลลิลิตรให้ครบเท่าเดิม


ปฏิกิริยาที่เกิดจาก วัคซีน ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าน มี 2 ชนิด

1. ปฏิกิริยาเฉพาะที่ บริเวณที่ฉีดมีอาการเจ็บบวมแดง คัน มักเกิดขึ้นทุกราย ไม่ว่าวัคซีนชนิดไหน พวกนี้ฉีดต่อไปได้ แต่เปลี่ยนที่ฉีด อาจย้ายจากหน้าท้องมาที่สะโพก แขน ขา ก็ได้ ไม่จำเป็นต้องฉีดรอบสะดือแห่งเดียว

2. ปฏิกิริยาทั่วไป

ก. มีอาการอัมพาตของประสาทหน้า ประสาทตา ลิ้น อาการจะหายไปใน 2 สัปดาห์

ข. มีอัมพาต ของขา แขน อ่อนแรงชั่วคราว มีไข้ อ่อนเพลีย

ค. มีไข้ ปวดต้นคอ ขาเป็นอัมพาต ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะไมได้ อาการลุกลามไปที่แขน หน้า และลิ้น พวกนี้อัตราตาย 30%

ง. อาการรวดเร็ว มีไข้ ปวดหัว ปวดคอ ปวดหลัง คอแข็ง อัตราตายสูงมาก


ของฝากชิ้นสุดท้าย

1. ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้กับสุนัขเลี้ยงของท่านทุกตัว

2. ใช้ประโยชน์จากภาควิชาความรู้ที่ได้อ่าน ในการปฏิบัติตัวให้ถูกต้องทันทีที่ถูกสุนัขกัด และมีความเข้าใจถึงอันตรายของโรค การติดต่อ ความจำเป็นที่ต้องกำจัดสุนัขที่ติดเชื้อเพื่อป้องกันการแพร่ของโรคและเข้าใจ ถึงอันตรายจากการใช้วัคซีน


โดย: หมอหมู วันที่: 29 มีนาคม 2553 เวลา:14:55:54 น.  

 



//www.doctor.or.th/node/2718

๑๖ ข้อสงสัย โรคพิษสุนัขบ้า


๑. โรคพิษสุนัขบ้า มีความเป็นมาอย่างไร
โรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคที่รู้จักกันมาตั้งแต่สมัยก่อนคริสตกาล รูปในสมัยอียิปต์โบราณแสดงให้เห็นถึงคนถูกสุนัขกัด โรคนี้พบทั่วโลก มีชื่อเรียกต่างกันตามภาษาท้องถิ่น แต่หมายถึง โรคที่เกิดจากถูกหมาบ้ากัด

โรค พิษสุนัขบ้า เป็นโรคที่พบได้ในสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดรวมทั้งค้างคาว สัตว์ที่พบว่าเป็นโรคนี้บ่อยที่สุด คือ สุนัข ทั้งสุนัขบ้า สุนัขจิ้งจอก สุนัขบ้าน รองลงมาคือ แมว แร็กคูน สกังก์ และค้างคาว

ค้างคาวที่ติดเชื้อ พิษสุนัขบ้าพบได้ทั้งในค้างคาวดูดเลือด (vampire) ซึ่งมีอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ ค้างคาวกินแมลงที่พบในอเมริกาเหนือและที่อื่นๆ ค้างคาวอาจมีการติดเชื้อและเป็นพาหะโดยไม่มีอาการป่วย สำหรับสัตว์อื่นๆ ยังถกเถียงว่า มีการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าแล้วไม่ตายหรือไม่

ปัญหา สัตว์นำโรคพิษสุนัขบ้าแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาคในประเทศไทยและในเอเชีย พบว่า สุนัขเลี้ยงและสุนัขจรจัดเป็นโรคและนำเชื้อมาสู่คนบ่อยที่สุด รองลงมาคือ แมว สำหรับหนูและค้างคาว เชื่อว่านำเชื้อโรคได้ แต่ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัด ผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้าเกือบทั้งหมดให้ประวัติว่าถูกสุนัขกัด ในยุโรปสุนัขจิ้งจอกเป็นสัตว์นำโรคพิษสุนัขบ้าที่สำคัญแต่ในระยะ ๔-๕ ปีที่ผ่านมาควบคุมได้ โดยการโปรยวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าชนิดกิน ให้สุนัขจิ้งจอกกิน

ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดาพบปัญหาโรคพิษสุนัขบ้า เพิ่มขึ้น สัตว์นำโรคที่สำคัญ คือ แร็กคูน สกังก์ และค้างคาวกินแมลง การใช้วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าผสมในอาหารที่ใช้เป็นเหยื่อล่อให้แร็กคูน กิน พบว่าให้ผลดี ในอเมริกาใต้ ปัญหาสัตว์นำเชื้อโรคนอกจากสุนัข แมว และสัตว์ป่าอื่นๆ ยังมีค้างคาวดูดเลือดแพร่เชื้อให้วัวควาย ทำความเสียหายแก่คอกปศุสัตว์


๒. โรคพิษสุนัขบ้า ติดต่ออย่างไร

การติดต่อส่วนใหญ่ติดต่อจากสัตว์ที่มีเชื้อกัด หรือเลีย หรือข่วน แล้วปล่อยเชื้อที่อยู่ในน้ำลายเข้าทางบาดแผล ในธรรมชาติการติดต่อพบจากสัตว์ไปยังสัตว์ พบบ่อยในสุนัข พบได้ในสัตว์อื่นๆ การติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าจากสัตว์มายังคนเป็นการบังเอิญ

ในธรรมชาติไมพบการติดต่อจากคนไปคน ในผู้ที่พยาบาลใกล้ชิดผู้ป่วย ยังไม่พบว่ามีผู้ติดเชื้อ แต่อย่างไรก็ดีสามารถแยกเชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้า ได้จากน้ำลายผู้ป่วย ผู้ที่มีประวัติสัมผัสใกล้ชิด มีแผลหรือรอยถลอกสัมผัสกับน้ำลายผู้ป่วยอาจติดเชื้อ การติดเชื้อจากคนไปสู่คนพบรายงานทางการแพทย์ เกิดจากการปลูกถ่ายกระจกตาที่ได้มาจากผู้บริจาคที่เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้า และมีรายงานการติดต่อทางการหายใจ ในผู้ที่เข้าไปในถ้ำที่มีค้างคาวจำนวนมากและการสูดดมเชื้อไวรัสที่นำมาปั่นศึกษาวิจัยในห้องปฏิบัติการ


๓. ทำไมชาวบ้านเรียกว่า “โรคกลัวน้ำ”

โรคพิษสุนัขบ้ามีอีกชื่อหนึ่งว่า โรคกลัวน้ำหรือภาษาอังกฤษเรียกว่า ไฮโดรโฟเบีย (hydrophobia) เนื่องจากอาการเด่นชัดของโรคนี้ที่ต่างจากโรคอื่นๆ คือ ผู้ป่วยจะมีอาการเกร็งเจ็บปวดกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกลืนของเหลวทำให้ไม่กล้า ดื่มน้ำ ไม่กล้ากลืนน้ำลาย แม้ว่าจะหิวน้ำ และจะแสดงอาการกลัวไม่กล้าดื่มน้ำ แต่อาจกินอาหารแข็งได้บ้าง

ลักษณะอาการโรคที่สำคัญ คือ ระยะแรก จะเริ่มด้วยไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ คันหรือเสียว บริเวณแผลที่เคยถูกสัตว์กัด อาการที่ชัดเจนในระยะต่อมา คือ น้ำลายและเหงื่อออกมาก กระวนกระวาย สะดุ้ง ตกใจ เมื่อมีสิ่งเร้า เช่น ลมพัด เสียงดัง มีอาการคลุ้มคลั่งสลับกับสติดีโต้ตอบได้เป็นระยะ ระยะสุดท้าย จะ ไม่รู้สึกตัว อาจชักหรือหมดสติ

ส่วนใหญ่เสียชีวิตในเวลาไม่เกิน ๗ วันหลังจากแสดงอาการ ผู้ป่วยบางรายอาจไม่แสดงอาการดุร้ายคลุ้มคลั่งชัดเจน แต่มีอาการซึม อัมพาต และเสียชีวิต อาการโรคพิษสุนัขบ้าที่พบในคนและสัตว์มี ๒ แบบ คือ แบบดุร้าย แสดงอาการชัดเจน และแบบซึม อาการไม่ชัด และเสียชีวิตในเวลารวดเร็ว


๔. ทำไมโรคนี้ถึงระบาดในฤดูร้อน ในฤดูอื่นจะมีโอกาสได้รับเชื้อโรคนี้หรือไม่

โรค พิษสุนัขบ้าในคนและสัตว์ พบได้ตลอดปี แต่จะมีผู้ถูกสุนัขกัด ต้องมาฉีดวัคซีนมากในฤดูร้อน เนื่องจากเด็กปิดภาคเรียน เที่ยวเล่นและสุนัขผสมพันธุ์เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม จะคลอดลูกอ่อนราวเดือนมีนาคม-เมษายน ในหน้าผสมพันธุ์สุนัขจะกัดกันมากกว่าฤดูอื่นจึงได้รับเชื้อ เมื่อเข้าฤดูร้อนพอดีครบระยะฟักตัว จะแสดงอาการ ลูกสุนัขจะมีโอกาสเป็นพิษสุนัขบ้ามากกว่าสุนัขโต และแม่สุนัขจะหวงลูกอ่อนกัดคนมากขึ้น


๕. ผู้ป่วยโรคนี้จะสามารถรักษาให้หายได้หรือไม่

ผู้ป่วยโรคพิษ สุนัขบ้า แสดงอาการป่วยเมื่อเชื้อไวรัสเดินทางจากบริเวณบาดแผลเข้าไปตามแขนงประสาท เข้าไปยังเซลล์ประสาท เชื้อเพิ่มจำนวนทำลายเซลล์ประสาทเมื่อแสดงอาการโรค จะไม่สามารถรักษาให้หายได้ ผู้ป่วยเสียชีวิตทุกราย ยกเว้นในรายงานผู้ป่วย ๓ ราย ที่เคยฉีดวัคซีนป้องกันมาก่อน และได้รับการดูแลเต็มที่ แม้จะไม่เสียชีวิตแต่ก็พบความพิการเป็นอัมพาต


๖. โรคนี้สามารถป้องกันได้หรือไม่

โรคพิษสุนัขบ้าสามารถป้องกันได้ วิธีที่ได้ผลที่สุด แต่ยังทำไม่สำเร็จในขณะนี้ คือ ฉีดวัคซีนให้กับสุนัขเลี้ยงทุกปี ในผู้ที่มีโอกาสถูกสัตว์ที่เป็นโรคนี้กัด ควรฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันไว้ก่อน โดยฉีดเพียง ๓ เข็ม ฉีดวัคซีนสองเข็มแรกห่างกัน ๑ เดือน และเข็มที่ ๓ เมื่อครบ ๑ ปี ถ้าถูกสัตว์สงสัยว่ามีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้ากัด ให้ฉีดกระตุ้นซ้ำ ๑ หรือ ๒ เข็มก็เพียงพอ ไม่ต้องฉีดเซรุ่ม


๗. ผู้ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้าแสดงอาการหลังถูกสัตว์กัดนานเท่าใด

ระยะ เวลาตั้งแต่ถูกสัตว์กัดจนกระทั่งแสดงอาการโรคพิษสุนัขบ้า เรียกว่า ระยะฟักตัว เร็วที่สุด คือ ๗ วัน ช้าที่สุดไม่เกิน ๑ ปี ส่วนใหญ่แสดงอาการในเวลา ๓ สัปดาห์ ถึง ๓ เดือนหลังถูกสัตว์กัด ถ้าถูกกัดบาด แผลฉกรรจ์ บริเวณใกล้ศีรษะ ใบหน้าหรือบริเวณที่มีเส้นประสาทมาก เช่น นิ้วมือ จะมีระยะฟักตัวสั้น ถ้าถูกกัดบาดแผลไม่รุนแรง บริเวณขาหรือร่างกายส่วนล่าง จะมีระยะฟักตัวยาว


๘. ถ้าโดนสุนัขหรือสัตว์อื่นกัด ควรทำอย่างไรเป็นอันดับแรก

ถ้ามี บาดแผลจากการถูกสัตว์กัด ให้บีบเลือดออกให้มากที่สุด ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด ฟองสบู่หรือผงซักฟอก ล้างหลายๆ ครั้งเพื่อให้น้ำลายและเชื้อที่ได้รับเข้าไปออกให้มากที่สุด แล้วใส่ยาฆ่าเชื้อ เช่น เบตาดีน

ถ้าแผลฉกรรจ์ หรือสงสัยว่าสัตว์เป็นโรคพิษสุนัขบ้า รีบไปพบแพทย์เร็วที่สุดเพื่อแพทย์จะได้ทำแผลและล้างแผลอย่างเหมาะสม และฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก วัคซีนและเซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในรายที่มีข้อสงสัยว่าสัตว์อาจมีเชื้อ โรคพิษสุนัขบ้า


๙. เคยได้ยินว่าการล้างแผลด้วยสบู่ทันทีที่ถูกสัตว์กัดจะฆ่าเชื้อนี้ได้ จริงหรือไม่

การล้างแผลด้วยน้ำและสบู่ทันทีจะช่วยล้างน้ำลายและ เชื้อต่าง ๆ ออกจากบาดแผลได้ แต่ฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโดยตรงคงจะมีน้อยมาก เชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้าเมื่ออยู่นอกร่างกายจะตายง่าย อย่างไรก็ดี ถ้าบาดแผลลึก แผลเหวอะหวะ ไม่สามารถล้างแผลได้เอง ควรรีบไปโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุดเพื่อล้างแผลด้วยน้ำเกลือและยาฆ่าเชื้อ


๑๐. หากโดนสัตว์กัด จำเป็นต้องนำสัตว์มาตรวจหรือไม่ และหากไม่สามารถนำสัตว์นั้นมาตรวจได้ ควรทำอย่างไร

การตรวจ สัตว์ จะมีประโยชน์ในการที่ทราบว่าสัตว์เป็นโรคหรือไม่ เพื่อวางแผนในการให้วัคซีนและเซรุ่มแก่ผู้ถูกกัด ถ้าสัตว์เคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามาก่อนและป่วยตาย จะได้ตรวจสอบคุณภาพของวัคซีน ถ้านำสัตว์มาตรวจไม่ได้ แพทย์จะตัดสินใจให้วัคซีนโดยเร็วที่สุดในรายที่สงสัยว่าสัตว์อาจมีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า ถ้ามีบาดแผลฉกรรจ์จะให้เซรุ่มร่วมด้วย

ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการไม่จำเป็นเหมือนสมัยโบราณ สมัยก่อนใช้วัคซีนจากสมองสัตว์ ต้องฉีดติดต่อกัน ๑๗-๒๑ เข็ม ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นไม่ดี อาการแทรกซ้อนพบได้บ่อยและรุนแรง ถ้าไม่จำเป็น หรือสัตว์ที่กัดไม่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า ก็จะไม่ฉีดวัคซีนให้ ในปัจจุบันวัคซีนปลอดภัย คุณภาพดี แต่มีราคาแพง ถ้าสงสัยว่าสัตว์เป็นโรคพิษสุนัขบ้า จะฉีดให้เร็วที่สุดทันที


๑๑. วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามีกี่ชนิด อะไรบ้าง

วัคซีนป้องกัน โรคพิษสุนัขบ้าของคน ขณะนี้เป็นวัคซีนบริสุทธิ์ที่ผลิตจากเซลล์เพาะเลี้ยงและไข่เป็ดฟัก มีคุณภาพสูงกว่าวัคซีนผลิตจากสมองสัตว์ที่เคยใช้ในสมัยก่อน วัคซีนจากสมองสัตว์เลิกใช้ในประเทศไทย ตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๕๓๕

วัคซีน ที่มีจำหน่ายขณะนี้มี ๔ ชนิด คือ

๑. วัคซีนฮิวแมน ดิพลอยด์ (human diploid rabies vaccine) ผลิตจากเซลล์เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อปอดคน ราคาประมาณเข็มละ ๖๖๐ บาท ฉีดทั้งชุด ๕ เข็ม

๒. วัคซีนพีซีอีซี (PCEC) ผลิตจากเซลล์เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อลูกไก่

๓. วัคซีนเวโร (vero cell rabies vaccine) ผลิตจากเซลล์เพาะเลี้ยงต่อเนื่องที่ชื่อว่า เซลล์เวโร มีต้นกำเนิดจากไตลิง

๔. วัคซีนบริสุทธิ์ผลิตจากตัวอ่อนไข่เป็ดฟัก (purified duck emberyo rabies vaccine)

วัคซีนทั้ง ๓ ชนิดหลังนี้ราคาประมาณเข็มละ ๒๒๐ บาท ฉีดทั้งชุด ๔ เข็ม สำหรับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่ฉีดในสุนัข เตรียมจากเซลล์เพาะเลี้ยง แต่มีมาตรฐานการผลิตแตกต่างจากวัคซีนที่ใช้ในคน



๑๒. เมื่อไหร่ควรฉีดวัคซีน หรือเมื่อไหร่ควรฉีดเซรุ่ม วัคซีนและเซรุ่มใช้แทนกันได้หรือไม่

วัคซีนและเซรุ่มใช้แทนกัน ไม่ได้ แต่จะให้เซรุ่มเสริมร่วมกับฉีดวัคซีนโดยฉีดวันเดียวกับวัคซีน ในผู้ที่ถูกกัดบาดแผลฉกรรจ์ ระยะฟักตัวจะสั้น วัคซีนไปกระตุ้นภูมิคุ้มกันต้องใช้เวลา ๗-๑๔ วัน จึงจะพบแอนติบอดีที่จะคุ้มกันได้ ในกรณีเช่นนี้ จะต้องฉีดเซรุ่มซึ่งมีแอนติบอดีอยู่แล้วให้เร็วที่สุด

เซรุ่มที่ใช้มี ๒ ชนิด คือ เตรียมจากเลือดม้า เรียกว่า อีริก (ERIG, Equine rabies immune globulin) และเตรียมจากเลือดคน เรียกว่า เอชริก (HRIG, Human rabies immune globulin) เตรียมโดยฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ให้ม้าหรือคนก่อนแล้วเจาะเลือดที่มีแอนติบดีมาเตรียมเซรุ่ม เพื่อนำมาใช้ในการดูแลรักษาในรายที่เคยฉีดวัคซีนมาแล้ว เมื่อฉีดวัคซีนซ้ำ จะพบแอนติบอดีได้เร็วจึงไม่จำเป็นต้องฉีดเซรุ่ม


๑๓. ถ้าหากเคยได้รับวัคซีนแล้วและถูกสัตว์กัดซ้ำอีก จำเป็นต้องฉีดวัคซีนหรือไม่

วัคซีน โรคพิษสุนัขบ้าต้องฉีดเป็นชุด ชุดละ ๕ เข็ม ในวันแรก , วันที่ ๓ , วันที ๗, วันที่ ๑๔ และวันที่ ๒๔

ถ้าถูกกัดในระหว่างฉีดวัคซีน ๕ เข็มนี้ ก็ไม่ต้องฉีดเพิ่มอีก

แต่ถ้าถูกกัดภายใน ๖ เดือน หลังฉีดเข็มสุดท้าย ควรฉีดเพิ่มเร็วที่สุดหลังถูกกัดอีก ๑ เข็ม

ถ้าเกิน ๖ เดือน ให้ฉีด ๒ เข็ม โดยฉีดเข็มแรกเร็วที่สุดถูกกัด และฉีดเพิ่มอีก ๑ เข็ม ในวันที ๓ หลังฉีดเข็มแรก ในกรณีที่เคยฉีดวัคซีนมาก่อนไม่ต้องฉีดเซรุ่ม


๑๔. ถ้าสุนัขตัวที่กัดไม่ได้เป็นโรคนี่ แต่เราไปฉีดวัคซีนจะเป็นอะไรหรือเปล่า

วัคซีน ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่ใช้ในปัจจุบัน คุณภาพดี ปลอดภัยแม้ว่าสุนัขตัวที่กัดจะไม่เป็นโรคก็ไม่เป็นไร นอกจากต้องเสียค่าใช้จ่ายในการฉีดวัคซีน นอกจากนี้ยังแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันล่วงหน้า ดังข้อ ๖


๑๕. วัคซีนที่ฉีดจะคงอยู่ในร่างกายได้นานแค่ไหน

วัคซีนโรคพิษสุนัข บ้า เป็นวัคซีนเชื้อตาย เมื่อฉีดครบชุดแล้ว ภูมิคุ้มกันจะสูงอยู่ในระยะหลังฉีด ๒ สัปดาห์ – ๓ เดือน แล้วเริ่มลดระดับลงต้องฉีดกระตุ้นอีก ๑ – ๒ เข็ม จึงจะทำให้ภูมิคุ้มกันอยู่ในระดับสูงแล้วก็จะลดลดอีก ดังนั้น ถ้าถูกกัดบ่อย ๆ ก็ต้องฉีดทุกครั้งที่ถูกกัด แต่ลดจำนวนเหลือเพียง ๑ – ๒ เข็ม และไม่ต้องฉีดเซรุ่ม


๑๖. วัคซีนและเซรุ่มนี้มีผลข้างเคียงอะไรหรือไม่ และมีข้อควรระวังอย่างไร

วัคซีน ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าชนิดบริสุทธิ์ มีผลข้างเคียงน้องมาก เช่น เจ็บบริเวณฉีด รู้สึกไม่ใคร่สบายส่วนใหญ่หายเอง ถ้าถูกสุนัขหรือสัตว์สงสัยว่าเป็นโรคนี้กัด ก็ต้องฉีดวัคซีนเร็วที่สุด ไม่มีข้อห้ามใดๆ ทั้งสิ้น สตรีตั้งครรภ์ หรือผู้ติดเชื้อเอดส์ ผู้ป่วยโรคตับแข็ง ก็ต้องฉีด โดยแพทย์ให้การดูแลเป็นพิเศษให้แน่ใจว่ามีภูมิคุ้มกันเพียงพอป้องกันโรค

ส่วนเซรุ่มอาจมีอาการแพ้ได้แต่พบไม่บ่อยนัก สำหรับเซรุ่ม ชนิดที่เตรียมจากเลือดม้า แพทย์อาจจำเป็นต้องทำการทดสอบก่อนฉีดว่ามีโอกาสแพ้หรือไม่ ส่วนเซรุ่มที่เตรียมจากเลือดคนจะใช้ได้ปลอดภัย ไม่จำเป็นทดสอบก่อนฉีด ผลข้างเคียงอาจพบได้บ้าง คือ อาการไข้ หรือเจ็บบริเวณที่ฉีดเล็กน้อย ซึ่งไม่พบอันตรายและจะหายไปได้เอง



โดย: หมอหมู วันที่: 29 มีนาคม 2553 เวลา:15:00:00 น.  

 

//www.doctor.or.th/node/1890

โรคพิษสุนัขบ้า อันตรายจากสัตว์ใกล้ตัว


เมื่อ พูดถึง "โรคพิษสุนัขบ้า" เชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าไม่ใช่มีเฉพาะในสุนัขเท่านั้น ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด ก็มีเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้า ซึ่งมีทั้งชนิดที่คนเลี้ยงไว้ใกล้ตัว และเป็นสัตว์ป่าที่อยู่ตามธรรมชาติ

สัตว์ที่คนเลี้ยงไว้ใกล้ตัว เช่น สุนัข แมว กระรอก สัตว์ป่าที่อยู่ตามธรรมชาติ เช่น ค้างคาว ชะมด หนู

ในเมืองไทยมีคนเสียชีวิตจากการรับเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าทุกฤดูกาล ที่ผ่านมาลูกสุนัขอายุต่ำกว่า ๓ เดือนสามารถทำให้คนเสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าหลายราย นอกจากนี้ แมวซึ่งเป็นสัตว์ใกล้ชิดกับคนไม่น้อยไปกว่าสุนัขก็นำเชื้อพิษสุนัขบ้าเข้า สู่ร่างกายเจ้าของที่เลี้ยงแมวเอง

ลักษณะของบาดแผลที่ถูกสุนัขกัด หรือแมวข่วนมีหลายแบบ เช่น แผลลึกมีเลือดออก แผลผิวหนังขาด แผลถลอกและ/หรือข่วนมีเลือดออก ตำแหน่งของบาดแผล เช่น นิ้วมือ ข้อมือ ฝ่ามือ คาง ปาก จมูก แก้ม แขน ลำตัว หน้าอก ข้อมือ ข้อเท้า ฝ่าเท้า น่อง เข่า สะโพก

พบว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าไม่ได้รับวัคซีนป้องกัน โรคที่ถูกต้อง หลังจากถูกกัด และ/หรือสัมผัสเชื้อ คือ

๑. ไม่ ตระหนักถึงความรุนแรงของโรคพิษสุนัขบ้า

๒. เข้าใจว่าลูกสุนัขหรือลูก แมว และ/หรือสัตว์เลี้ยงตัวเล็กๆ ไม่สามารถเป็นพาหะโรคพิษสุนัขบ้า

การ ตระหนักถึงภยันตรายจากโรคพิษสุนัขบ้า รวมถึงระมัดระวังอันตรายจากสัตว์เลี้ยงใกล้ตัว ไม่ว่าจะเป็นตัวเล็กหรือตัวใหญ่ก็ตาม เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้เชี่ยวชาญเรื่องโรคพิษสุนัขบ้า จากศูนย์ปฏิบัติการโรคทางสมอง หน่วยประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กรุณาให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า ด้วยตระหนักว่า การเรียนรู้และทำความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า คือหนทางป้องกันอันตรายและลดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน

"โรค พิษสุนัขบ้า" ทำไมบางคนเรียก "โรคกลัวน้ำ"
เหตุผลที่เรียกโรค กลัวน้ำเพราะว่า ผู้ป่วย หรือแม้กระทั่งสุนัขที่ติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า ในบางรายมีอาการกลัวน้ำและ/หรือกลัวลม อย่างไรก็ตาม การที่เราเชื่อว่าคน ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้าดังกล่าวจะต้องกลัวน้ำ อาจจะไม่ใช่เป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง ทั้งนี้เพราะว่าโรคพิษสุนัขบ้ามีกลุ่มอาการ ได้ ๓ แบบด้วยกัน

๑. แบบ เอะอะอาละวาด ผู้ป่วยจะมีอาการกลัวน้ำหรือกลัวลม

๒. ผู้ ป่วยที่มีอาการอัมพาต แขนขาอ่อนแรง โดยจะพบว่ามีอาการกลัวน้ำหรือกลัวลมได้เพียงร้อยละ ๕๐ ของผู้ป่วยเท่านั้น

๓. ผู้ ป่วยที่ไม่มีอาการเฉพาะตัวแบบที่ ๑ และแบบที่ ๒ ผู้ป่วยแบบนี้เป็นผู้ป่วยที่น่ากลัวที่สุดมีลักษณะอาการคล้ายๆ กับผู้ป่วยที่มีโรคสมองอักเสบทั่วๆ ไป ก็คือ มีอาการไม่รู้สึกตัว โคม่าและเสียชีวิตไปโดยที่แพทย์ไม่ได้นึกถึงว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้า อาจจะเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเชื้อโรคอื่น ทำให้อุบัติการณ์ของโรคพิษสุนัขบ้าดูคล้ายลดลง

อย่างไรก็ตาม โรคพิษสุนัขบ้าในสุนัขบางครั้งบางคราวอาจจะมีลักษณะไม่เหมือนกับในคนทีเดียว กล่าวคือ ในสุนัขอาการกลัวน้ำอาจจะไม่เห็นเด่นชัด เพราะฉะนั้นเวลาที่ชาวบ้านทั่วๆ ไปบอกว่า ลองเอาน้ำสาดดูสุนัขที่ติดเชื้อโรคหรือเป็นโรคนี้ ถ้าหากมีอาการกลัวน้ำก็บอกได้ชัดเจนอาจจะไม่เป็นความจริง เนื่องจากว่าสุนัขก็มีอาการคล้ายคลึงกับโรคในคนเช่นเดียวกัน และในสุนัขที่เป็นโรคบางตัวเพียงแต่กินน้ำไม่ได้ แต่ไม่ได้กลัวน้ำ เพราะฉะนั้นกรณีอย่างนี้อาจจะนำมาเป็นบรรทัดฐานในการวินิจฉัยไม่ได้ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์


สาเหตุโดยตรง ได้รับเชื้อจากสัตว์ชนิดใดบ้าง

จาก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด แต่อย่างไรก็ตามสุนัขและแมวถือว่าเป็นสัตว์นำโรคที่สำคัญ ถ้าถามว่าในหนูนำโรคได้ไหม ตอบว่านำโรคได้ แต่ว่าในหนูประสิทธิภาพในการแพร่กระจายจากหนูไปสู่เพื่อนหนูในกลุ่มเดียวกัน ค่อนข้างน้อย คือ เป็นตัวหนึ่งและมักจะเสียชีวิตเลยไม่มีการแพร่ระบาดมากนักในกลุ่มหนู


สัตว์ ชนิดใดที่มีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า และติดต่อถึงคนโดยวิธีใดมากที่สุด

สุนัข มีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้ามากที่สุด รองลงมาก็คือ แมว การติดต่อถึงคนมากที่สุดก็คือ โดยวิธีการกัด

ต้องเน้นอีกวิธีหนึ่งก็คือ การข่วน การข่วน หมายความว่า ใช้เขี้ยวข่วนก็ได้ หรือว่าในกรณีของแมวก็คือ ใช้อุ้งเท้าที่มีเล็บข่วน ทำไมถึงติดโรคได้ เพราะแมวเขาเลียอุ้งเท้าและเล็บของตัวเอง เชื้อไวรัสที่ติดอยู่ที่เท้าหรืออุ้งเล็บยังมีชีวิตได้ เพราะฉะนั้นเมื่อถูกแมวข่วนก็จะทำให้คนติดโรคจากการข่วนของแมวได้เช่นกัน

ส่วนในต่างประเทศ ในสหรัฐอเมริกา ปรากฏว่าค้างคาวกลับเป็นสัตว์ที่นำโรค ทำให้คนเสียชีวิตมากที่สุด สำหรับในประเทศไทย จากการสำรวจของศูนย์ปฏิบัติการโรคทางสมอง ซึ่งมีสัตวแพทย์บุญเลิศ ล้ำเลิศเดชา และมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านค้างคาวจากกรมป่าไม้และกรมปศุสัตว์ได้สำรวจ พบว่า ในค้างคาวไทยก็มีเชื้อโรคอยู่ในกลุ่มของไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าเช่นเดียวกัน แต่ว่าเป็นพี่น้องกันนะครับ คือว่าไม่ใช่สายพันธ์ุ Lyssa virus เบอร์ ๑ หรือ Rabies เราเรียกว่า Lisa Virus แต่ก็ทำให้เกิดอาการในคน หรือในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและก็เสียชีวิตได้เช่นเดียวกัน


การ ระบาดของโรคพิษสุนัขบ้า มักพบมากในช่วงฤดูกาลใดของปี

ต้องขอย้ำ ว่า การระบาดของโรคพิษสุนัขบ้านี้จริงๆ แล้วระบาดได้ทุกฤดูกาลและทุกเดือน ไม่เฉพาะแต่ในหน้าร้อนเท่านั้น การประชาสัมพันธ์ให้ระวังในหน้าร้อน อาจจะเป็นเพราะว่าช่วงการผสมพันธุ์ของสุนัข มักจะเกิดอยู่ในช่วงประมาณเดือนตุลาคม เดือนพฤศจิกายน เพราะฉะนั้นในช่วงที่มีการผสมพันธุ์กันนั้น สุนัขก็จะมีการต่อสู้แย่งชิง แสดงความเป็นผู้ชายของสุนัข ก็เป็นการแพร่ระบาดของโรค และหลังจากนั้นก็มีระยะฟักตัว ซึ่งระยะฟักตัวก็คล้ายกับในคน ก็คือ จะอยู่ในช่วงประมาณ ๖ เดือน แต่ว่าโดยเฉลี่ยก็จะอยู่ประมาณ ๒-๔ เดือน ดังนั้น บางครั้งอาจจะพบสุนัขเป็นโรคพิษสุนัขบ้าในช่วงหน้าร้อน ทั้งๆ ที่จริงแล้วอาจจะพบได้มากกว่านั้น ทั้งนี้ ฤดูติดสัตว์หรือว่าฤดูผสมพันธุ์ของสุนัขไม่ใช่มีแต่เฉพาะในเดือนตุลาคม เดือนพฤศจิกายน


ระยะเวลาการติดโรคและแสดงอาการหลังจากได้รับ เชื้อ ใช้เวลามากน้อยแค่ไหน

ระยะฟักตัวของคนที่เป็นโรค ก็คือไม่เกิน ๑ ปี ส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ในช่วง ๒ เดือน ในบางคนพบว่าถูกสุนัขกัดภายใน ๕ วันเท่านั้นก็เริ่มแสดงอาการ ทั้งนี้เพราะถูกสุนัขกัดเป็นแผลเหวอะหวะ และสุนัขกัดเข้าโดยตรงที่เส้นประสาทบริเวณไหปลาร้า หรือบริเวณเส้นประสาทใหญ่ ทำให้เชื้อเข้าสู่เส้นประสาทได้เลย โดยไม่จำเป็นจะต้องมีการฝังตัวอยู่ที่แผล และมีการเติบโตก่อนที่กล้ามเนื้อ และจากกล้ามเนื้อถึงจะเข้าเส้นประสาท

โรคจะเกิดเร็วหรือช้านั้น คือ ระยะฟักตัว ขึ้นอยู่กับบาดแผลว่าลึกแค่ไหน และแผลนั้นมีเชื้อไวรัสปะปนอยู่มากแค่ไหน และกลไกของตัวไวรัสเอง รวมทั้งบทบาทของภูมิคุ้มกันในร่างกาย ในขณะเดียวกัน ถ้าหากกัดเข้าโดยตรงที่เส้นประสาท ก็อาจจะทำให้ระยะฟักตัวเป็นไปได้โดยรวดเร็ว

หลังจากที่มีอาการดังกล่าวแล้ว ผู้ป่วยทุกรายจะเสียชีวิตหมด ไม่ว่าอาการแสดงนั้นจะเป็นเล็กน้อยเพียงใดก็ตาม เช่น มีอาการแค่คัน ปวดแผล หรือว่าปวดแขนขาบริเวณที่ถูกกัด หรือว่ามีไข้ มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หลังจากที่มีอาการดังกล่าว ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องมีทุกอย่าง ผู้ป่วยมักเสียชีวิตภายในระยะเวลาไม่เกิน ๑๔ วัน โดยกลุ่มอาการเอะอะอาละวาดจะ เสียชีวิตเร็วในเวลาเฉลี่ยประมาณ ๕ วัน ส่วนกลุ่มอาการที่มีลักษณะอัมพาต แขนขาอ่อนแรง จะเสียชีวิตหลังจากที่มีอาการแสดงครั้งแรก ภายในระยะเวลาเฉลี่ย ๑๓ วัน


ถูก สัตว์ที่คาดว่ามีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า จะต้องทำอะไรทันที

สิ่ง ที่ทำได้ง่ายที่สุด ก็คือ ล้างด้วยน้ำประปา ล้างด้วยน้ำก๊อก แล้วใช้สบู่ธรรมดาล้างหลายๆ ครั้งประมาณ ๕-๖ ครั้งก็ได้ เหตุผลที่ ใช้น้ำสบู่ล้างเพราะว่าตัวปลอกหุ้มไวรัสเป็นปลอกไขมัน เมื่อล้างด้วยสบู่จะทำให้ปลอกหุ้มไขมันแตกหรือละลายไป ทั้งนี้การล้างแผลดังกล่าวเป็นการช่วยทำลายเชื้อไวรัสที่มีอยู่ไปได้เป็น จำนวนมาก

มีการศึกษาในประเทศจีนเมื่อประมาณ ๑๐ กว่าปีที่แล้ว พบว่าถึงแม้จะได้รับวัคซีนที่ดี และได้รับเซรุ่ม หรืออิมมูนโกลบูลินฉีดที่แผลอย่างดีก็ตาม หากล้างแผลไม่สะอาดตั้งแต่ครั้งแรก ผู้ป่วยก็ยังเสียชีวิตได้ ในทางปฏิบัติ หลังจากล้างแผลเรียบร้อย และล้างน้ำสบู่เรียบร้อย เมื่อไปถึงสถานพยาบาล เจ้าหน้าที่ก็จะล้างแผลอีกครั้งหนึ่ง ด้วยยาฆ่าเชื้อโรคที่มีสรรพคุณในการฆ่าตัวไวรัสได้ เช่น ยาฆ่าเชื้อโรคที่อยู่ในกลุ่่มของไอโอดีน ซึ่งปกติใช้ในการทาแผลเด็กที่หกล้มถลอกปอกเปิกทั่วไปที่ไม่แสบ

และถ้าหากมีแผลเกิดขึ้น พยายามหลีกเลี่ยงไม่เย็บแผล ยกเว้นแต่ที่จำเป็นจริงๆ เพราะการเย็บแผลจะทำให้เกิดผล ๒ อย่าง คือ

๑. อาจ จะทำให้เชื้อโรคฝังตัวอยู่ และแพร่กระจายตัวไปได้เรื่อยๆ

๒. การเย็บ แผลอาจจะทำให้มีการบาดเจ็บที่เส้นประสาทส่วนปลายในบริเวณนั้น จะยิ่งทำให้ไวรัสวิ่งเข้าเส้นประสาทได้ง่ายขึ้นไปอีก


ถ้าเคยถูกสัตว์ ที่มีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า และไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคจนครบโปรแกรม ในร่างกายจะยังมีเชื้อหลงอยู่อีกหรือไม่

ไม่ควรมีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าตกค้างอีก ถ้าหากได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันถูกต้องครบถ้วน ในกรณีที่แผลลึก ไม่ว่าจะเป็นแผลเดี่ยวหรือหลายแผล ไม่ว่าจะถูกกัดที่ตำแหน่งใดของร่างกาย เช่น บริเวณใบหน้า มือ ลำตัว แขน ขา หรือ เท้าก็ตามจะต้องฉีดอิมมูนโกลบูลินที่แผล แล้วก็ฉีดวัคซีน ในกรณีนี้ก็ไม่ควรจะมีเชื้อหลงเหลืออยู่


สถานที่ใดบ้างที่รับ ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

สามารถฉีดวัคซีนป้องกันโรคได้ ที่โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกแห่งทั่วประเทศไทย สถานเสาวภา สภากาชาดไทย รับฉีดวัคซีนและอิมมูนโกลบูลินป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าได้ สำหรับสถานที่รับตรวจโรคพิษสุนัขบ้า มีกระจายอยู่ตามภูมิภาคทั่วประเทศไทย


วัคซีน มีผลข้างเคียงหรืออันตรายต่อคนที่ถูกฉีดอย่างไร

วัคซีนไม่มีผล ข้างเคียงหรืออันตรายใดๆ ทั้งสิ้น ถ้าจะมีก็จะมีบ้างเหมือนกับที่พาลูกหลานไปฉีดวัคซีนป้องกันคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก หรือคางทูมเท่านั้นเอง และหญิงตั้งครรภ์ฉีดวัคซีนนี้ได้ ไม่มีผลต่อทารกในครรภ์ ไม่ทำให้ทารกพิการ การฉีดวัคซีนทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ไม่จำเป็นต้องลดขนาดของวัคซีนลง คือ ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ใช้ปริมาณเท่ากัน


การ ฉีดวัคซีน จะต้องฉีดกี่ครั้ง แต่ละครั้งห่างกันกี่วัน
การฉีด วัคซีนมีอยู่ ๒ แบบคือ แบบมาตรฐานและแบบประหยัด

๑. แบบ มาตรฐาน

ฉีดเข้ากล้ามที่แขน ห้ามฉีดเข้าที่ก้น เพราะถ้าใครที่ก้นใหญ่หรือก้นอ้วนจะทำให้วัคซีนไปติดที่ไขมัน จะไม่ได้ผลต่อการป้องกันและรักษา การฉีดแบบมาตรฐาน เริ่มจากฉีด ๑ เข็มเข้ากล้ามที่แขน ในวันที่ ๐ ๓ ๗ ๑๔ และ ๓๐

๒. แบบ ประหยัด

แบบประหยัดนี้ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสภากาชาดไทย ร่วมกันคิดค้นขึ้นมา และครั้งแรกที่สุดนำทีมโดยศาสตราจารย์ นายแพทย์ประพันธ์ ภานุภาค และศาสตราจารย์นายแพทย์ศุภวัฒน์ ชุติวงศ์ และมีนายแพทย์เฮนรีไวลด์ และศาสตราจารย์นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา การฉีดวัคซีนแบบประหยัดนี้สามารถใช้วัคซีนเพียง ๑๐-๒๐ เปอร์เซ็นต์ของวัคซีนแบบมาตรฐาน ทำให้ประหยัดเงินได้จำนวนมาก

ซึ่งการฉีดวัคซีนแบบประหยัดโดยการฉีดเข้าในผิวหนังองค์การ อนามัยโลกรับรองตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ จนกระทั่งปัจจุบัน ซึ่งมีวิธีการฉีดจะมีสูตรที่เรียกว่า ๒ (วันที่ ๐) ๒ (วันที่ ๓) ๒ (วันที่ ๗) ๐ (วันที่ ๑๔) ๑ (วันที่ ๓๐) ๑ (วันที่ ๙๐) คือ

* ฉีด ๒ จุดเข้าในผิวหนัง ในวันที่ ๐
* ฉีด ๒ จุด ในวันที่ ๓
* อีก ๒ จุด ในวันที่ ๗
* ไม่ฉีดเลยในวันที่ ๑๔
* ฉีดอีก ๑ จุด ในวันที่ ๓๐
* และอีก ๑ จุด ในวันที่ ๙๐

ส่วนการฉีดอีก แบบ คือ แบบที่เสนอโดยกลุ่มออกเฟิร์ต คือ ฉีดแบบที่เรียกว่า ๘ (วันที่ ๐) ๐ (วันที่ ๓) ๔ (วันที่ ๗) ๐ (วันที่ ๑๔) ๑ (วันที่ ๓๐) ๑ (วันที่ ๙๐) วิธีการฉีดก็คือ

* ฉีด ๘ จุด ในวันที่ ๐
* ไม่ฉีดเลยในวัน ที่ ๓
* ฉีด ๔ จุด ในวันที่ ๗
* ไม่ฉีดเลยในวันที่ ๑๔
* ฉีด อีก ๑ จุด ในวันที่ ๓๐
* และอีก ๑ จุด ในวันที่ ๙๐

การ ฉีดแบบ ๘ จุดจะค่อนข้างลำบาก และอาจจะมีความเจ็บปวดมาก ฉีดแบบมาตรฐานของสภากาชาดไทยค่อนข้างสะดวกมากกว่า


ถ้าฉีด วัคซีนครั้งที่ ๑ และหยุดไป เลยกำหนดการฉีดครั้งที่ ๒ จะทำอย่างไร

เรื่อง นี้เป็นเรื่องสำคัญมาก การฉีดใน ๓ เข็มแรก คือ ในวันที่ ๐ ๓ และ ๗ เป็นการฉีดที่สำคัญ เพราะจะกระตุ้นให้เกิดมีภูมิคุ้มกันขึ้นในวันที่ ๑๔ ถ้าหากว่าละเลยไปใน ๓ เข็มแรก บางครั้งบางคราวภูมิคุ้มกันจะขึ้นช้า แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าหากละเลยไป หรือเลยไปแค่ ๑-๒ วันเท่านั้นก็ไม่เป็นไร ไม่ต้องเริ่มต้นฉีดเข็มที่หนึ่งใหม่ ถ้าหากเลยไปมากกว่านั้นอาจจะต้องพิจารณาเป็นรายๆ ไป และอาจจะต้องฉีดใหม่ตั้งแต่เข็มที่หนึ่งไปเลย


ค่าใช้จ่ายใน การรับบริการเป็นอย่างไร

การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าใน สถานบริการสาธารณสุขของรัฐบาล ค่าใช้จ่ายประมาณเข็มละ ๓๕๐ บาท เมื่อรวมค่าใช้จ่ายโดยประมาณจะอยู่ที่ ๗๐๐-๒,๒๐๐ บาท สำหรับการฉีดอิมมูนโกลบูลินในสถานบริการของรัฐบาลจะเสียค่าใช้จ่ายสูงถึง ประมาณ ๒,๐๐๐-๑๐,๐๐๐ บาท

( ต่อ )


โดย: หมอหมู วันที่: 29 มีนาคม 2553 เวลา:15:34:35 น.  

 

ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ทำอย่างไร

โรค พิษสุนัขบ้าเกิดได้จากโรคแพร่กระจายอยู่ในสุนัขเป็นส่วนใหญ่ ขณะนี้ประชากรสุนัขเพิ่มขึ้นจากสถิติที่เคยประเมินไว้ ว่ามี ๖ ล้านตัว (แมวประมาณ ๑ ล้านตัว) จริงๆ แล้วพบ ว่าเป็นไปไม่ได้ ควรจะมีตั้งแต่ ๑๐ ล้านตัวขึ้นไปทั่วประเทศ

ทำไมถึงเป็นไปไม่ได้ เพราะว่าทางกรมปศุสัตว์ และกระทรวงสาธารณสุข เคยพยายามที่จะฉีดวัคซีนให้ได้ถึงร้อยละ ๗๐ ของสุนัข ๖ ล้านตัวทั่วประเทศ ซึ่งมาจากประมาณการที่ว่า ถ้าฉีดได้ถึงร้อยละ ๖๐ ร้อยละ ๗๐ ของประชากรสุนัขทั่วประเทศ จะต้องไม่มีสุนัขบ้าอีกเลย หมายความว่า สุนัขตัวไหนที่เป็นบ้ากัดตัวอื่นตัวอื่นก็ไม่ตาย ตัวที่เป็นบ้าก็ตายไปเอง แต่ว่าทั้งนี้ทั้งนั้นแม้จะฉีดไปร้อยละ ๗๐ ของสุนัข ๖ ล้านตัวแล้วก็ตาม ก็ยังตรวจพบเชื้อโรคสุนัขบ้าเรื่อยๆ และคนก็ยังถูกสุนัขกัดและเสียชีวิตอยู่เรื่อย โดยล่าสุดภายในช่วง ๓ สัปดาห์ของเดือนมีนาคม มีคนเสียชีวิตอีก ๓ รายแล้ว

การป้องกันที่ดี ก็คือ จะต้องมีความรับผิดชอบในการเลี้ยงดูสุนัข ถ้าหากว่าการที่เอาข้าวไปเทให้สุนัขกินและคิดว่าได้บุญ อันนี้คงไม่พอ หมายความว่า หลังจากโปรยทานไปให้แล้วอาจจะต้องพาไปฉีดวัควีนและพาไปทำหมันด้วย เพื่อไม่ให้มีการแพร่กระจายโรคพิษสุนัขบ้า

สุนัขตกลูกได้ปีละ ๒ ครั้ง ครั้งหนึ่งจะตกลูกประมาณ ๔ ตัว ๑ ตัว จะมีลูกได้ ๘ ตัวต่อปี และถ้าหากเลี้ยงดูไม่ดี แต่ละตัวจะมีชีวิตอยู่ได้ ๒ ปี แต่ถ้าหากว่าเรายังโปรยทานอย่างนี้ทุกวัน และมากขึ้นเรื่อยๆ วงจรชีวิตของเขาก็จะยาวขึ้น และความสามารถในการออกลูกแต่ละคลอกก็จะมากขึ้น ต่อไปเราอาจจะมีสุนัข ๒๐ ล้านตัวก็ได้

ซึ่งต้องเข้าใจว่าเวลามีสุนัขมากขึ้น ถึงแม้สุนัขยังไม่บ้า แต่ถ้าสุนัขบ้าแม้แต่ตัวเดียวเข้าไปในกลุ่่มนั้น ซึ่งในกลุ่มอาจจะมี ๓๐-๔๐ ตัว ความสามารถในการทำให้เกิดโรคมีประมาณร้อยละ ๓๐-๘๐ เฉลี่ยแล้วคือร้อยละ ๕๐ ฉะนั้นในกลุ่ม ๔๐ ตัวอาจจะเกิดโรค ๒๐ ตัวก็ได้ การเลี้ยงสุนัขจะต้องมีความรับผิดชอบ ไม่ว่าจะเป็นสุนัขของตัวเอง และ/หรือสุนัขข้างถนน ไม่ใช่สักแต่ว่าเลี้ยงอย่างเดียวเท่านั้น


รู้ ได้อย่างไรว่าสุนัขตัวไหนเป็นโรคพิษสุนัขบ้า

เชื้อไวรัสจะออกมา ก่อนที่สุนัขจะมีอาการชัดเจนได้ ๑๐ วัน เพราะฉะนั้นถ้าหากถูกสุนัขกัด ไม่ต้องไปถามว่าสุนัขกัดมีเหตุผลหรือไม่มีเหตุผล และคนไม่มีทางเดาใจสุนัขได้ ถ้าหากถูกกัดโดยสุนัขข้างถนนและสุนัขวิ่งหนีไป โดยที่ไม่สามารถจับสุนัขมาตรวจได้ และสุนัขตัวนั้นก็น่าสงสัย ต้องฉีดวัคซีนไว้ก่อน เพราะฉะนั้นบอกไม่ได้ในขั้นตอนที่จะดูว่าสุนัขบ้าหรือไม่บ้า

สำหรับสุนัขบ้าสามารถสังเกตอาการผิดปกติได้คือ หลบไปซ่อนเงียบๆ ตามมุมมืด ไม่กินอาหาร แต่บางตัวจะติดคน คอยคลอเคลียผิดไปจากเดิม หลังจากนั้นประมาณ ๔๘ ชั่วโมงจะมีอาการกระสับกระส่าย และกัดคนทั่วไป ต่อมาจะเกิดอัมพาตทั้งตัว หุบปากไม่ได้ ลิ้นห้อย น้ำลายไหลยืด และตายภายใน ๒-๓ วัน อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญจะแยกอาการสุนัขป่วยจากโรคพิษสุนัขบ้าจากโรคอื่นได้ ยากมาก แม้แต่เป็นเพียงสุนัขดุก็ตาม


สุนัขที่มีเจ้าของกัด และเจ้าของบอกว่าฉีดยาแล้วควรจะทำอย่างไร

ตรงนี้สำคัญมาก เพราะถ้าเป็นสุนัขที่เจ้าของบอกว่าฉีดยาแล้ว ปกติมีข้อกำหนดขององค์การอนามัยโลกซึ่งผมเป็นผู้เสนอและรับประกาศใช้ปฏิบัติ ทั่วโลก คือ

๑. เลี้ยงสุนัขอยู่ในรั้วรอบขอบชิด ถ้าสุนัขตัวนั้นเลี้ยงดูดี ในรั้วรอบขอบชิด ไม่ใช่ตอนเช้าก็วิ่งตามนายไปส่งหน้าปากซอย กลับมาไปเล่นกับเพื่อนหมาอีก ๔ ตัว แสดงว่าเลี้ยงดูไม่ระมัดระวัง ไม่อยู่ในรั้วรอบขอบชิดแบบนี้ไม่ได้

๒. สุนัข จะต้องเคยได้รับการฉีดวัคซีน อย่างน้อยที่สุด ๒ เข็มติดต่อกัน ๒ ปี

๓. ถ้า สุนัขกัดคน จะต้องมีเหตุผล ที่น่าจะถูกกัด เช่น ไปแหย่ พยายามไปให้อาหาร ไปเหยียบหาง

๔. สุนัขที่กัดยังดูปกติร้อยเปอร์เซ็นต์

ถ้ามี ครบทั้ง ๔ ข้อนี้อาจจะเชื่อได้ว่า สามารถเฝ้าดูอาการสุนัขได้ ล้างแผลให้สะอาดเรียบร้อย และยังไม่ต้องฉีดวัคซีนป้องกัน

ถ้าหากสุนัขมีอาการแม้แต่นิดเดียวให้รีบฉีดวัคซีนทันที การเฝ้าดูอาการสุนัขสามารถเฝ้าดูไปได้ ๑๐ วัน ถ้าหากสุนัขไม่มีอาการอะไรเลยภายใน ๑๐ วันก็แสดงว่าปลอดภัย

กรณีที่ไม่แน่ใจจริงๆ คือ ฉีดวัคซีนไปก่อน ถ้าฉีดวัคซีนไปแล้ว และสุนัขก็ ดูดี แล้วก็ฉีดไป ๓ เข็ม คือวันที่ ๐ ๓ และ ๗ ถ้าวันที่ ๑๐ สุนัขปกติก็ไม่ต้องฉีดวัคซีนต่อ

การฉีด ๓ เข็มก็เท่ากับเป็นการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิต และอีก ๒๐ ปีให้หลัง ถ้าเราไม่เป็นเอดส์ตาย อีก ๒๐ ปีจริงๆ ถูกสุนัขกัด ถึงแม้จะกัดเหวอะหวะก็ตาม ก็ไม่จำเป็นต้องฉีดอิมมูนโกลบูลิน เพราะอิมมูนโกลบูลินแพง และหายาก ก็เพียงแต่ฉีดวัคซีนซ้ำ ๒ เข็มเท่านั้นเอง ภูมิคุ้มกันก็จะขึ้นมาเร็วมากเลย แทนที่จะขึ้นมาภายใน ๑๔ วัน ก็จะขึ้นมาภายในช่วง ๓ วัน ๕ วันเท่านั้นเอง ก็จะได้ช่วยประหยัดเงินและปลอดภัยได้ด้วย


เลี้ยงสุนัขอย่างไร ให้ปลอดภัย

คนที่เลี้ยงสุนัขนั้น จริงๆ แล้ว ต้องเลี้ยงเหมือนลูก คือ เรามีลูกผู้ชาย ลูกผู้หญิงก็ตาม เราพาลูกเราไปตรวจสุขภาพ ไปฉีดวัคซีน แหมต้องมีสมุดฉีดวัคซีน เลี้ยงหมาก็ต้องเลี้ยงอย่างนั้น คือ เลี้ยงแบบเป็นสมาชิกในครอบครัว แต่ไม่ใช่เลี้ยงแบบอยากจะเล่นก็เอามาเล่น เวลาไม่ชอบไม่ว่างก็โยนทิ้งปล่อยไปเล่นนอกบ้าน ไปหาอาหารกินนอกบ้าน ออกไปเที่ยวนอกบ้าน หรือ ๕ โมงเย็นกลับมากินเศษอาหารเหลือๆ นี่ไม่ใช่การเลี้ยงสุนัขที่ถูกต้อง และการที่ทำแบบนี้เป็นการสร้างปัญหาให้ประชาชนคนอื่น ไม่ใช่แต่โรคพิษสุนัขบ้าอย่างเดียว ที่เราพูดกัน สุนัขสร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจของประเทศชาติอย่างมากมาย เช่น ถ้าสุนัขไปอยู่บริเวณโรงแรมที่มีประชุมเอเปค ทำไมการประชุมเอเปคต้องขนสุนัขไปปล่อยที่อื่น ทั้งนี้ทุกคนรู้ว่าสุนัขทำให้ภาพลักษณ์ของประเทศเสียหาย ทำไมเราไม่จัดการภาพลักษณ์ตรงนี้ โดยร่วมมือกัน

๑. ใครที่เอาสุนัขไป เลี้ยง แต่ยังเลี้ยงไม่ดีก็เลี้ยงให้ถูกต้อง

๒. ควรนำสุนัขไปทำหมัน

ถ้า รู้ว่าเราสามารถเลี้ยงได้เพียง ๑-๒ ตัวก็ต้องนำสุนัขไปทำหมันตั้งแต่ตอนต้น ไม่ใช่ปล่อยให้อายุ ๖-๗ เดือนเริ่มผลิตลูกได้ พอปล่อยลูกออกมาอีก ๔ ตัว ไม่รู้จะทำอย่างไร เอาลูกสุนัขไปปล่อยวัด วัดทำอย่างไร วัดก็เอาไปเลี้ยงต่อ เลี้ยงได้ก็เลี้ยงไม่เต็มกำลัง ฉีดวัคซีนก็ฉีดไม่ได้ แล้วก็ออกลูกมาเต็มไปหมด สุดท้ายวัดนั้นก็กลายเป็นที่ครองของสุนัขไป ก็เป็นผลกระทบเป็นวงจรต่อคนทุกหมู่เหล่า

ใครก็ตามที่คิดจะเลี้ยงสุนัขข้างถนน ถ้าใจบุญสุนทานอย่างเต็มที่และอยากให้ประเทศไทยเจริญด้วย เพราะดัชนีดูว่าประเทศไหนเจริญแล้ว ก็คือ ดูจากประชากรสุนัขข้างถนน ก็ต้องไปเชิญสัตวแพทย์มาฉีดยาทำหมัน และฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า...


วัคซีน (vaccine) เป็นยาที่ประกอบด้วยเชื้อโรคที่ตายแล้ว ใช้ฉีดเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเกิดภูมิคุ้มกันโรคซึ่งเกิดจากเชื้อโรคนั้นๆ มักจะต้องใช้เวลารอให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้เต็มที่ จึงจะปลอดภัย

อิมมูนโกลบูลิน (immune globulin) เป็นยาที่ประกอบด้วยสาร (ภูมิคุ้มกันโรค) ที่สกัดจากเลือดม้าหรือเลือดคนที่มีภูมิคุ้มกันโรคเบ็ดเสร็จอยู่แล้ว ซึ่งเตรียมขึ้นโดยการฉีดวัคซีน (เชื้อโรคที่ตาย) เข้าไปในม้าหรือคน เพื่อกระตุ้้นให้สร้างภูมิคุ้มกันโรค แล้วก็นำเลือดของม้าหรือคนนั้นมาสกัดเป็นยา ใช้สำหรับฉีดเพื่อทำลายเชื้อโรคโดยตรง จึงออกฤทธิ์เร็ว เหมาะสำหรับกรณีที่ต้องการป้องกันโรคให้ทันกาลในกลุ่มที่เสี่ยงภัยสูง เช่น ถูกกัดเป็นแผลที่มีเลือดออกที่บริเวณใบหน้า ศีรษะ คอ มือและนิ้วมือ หรือถูกกัดบริเวณใดก็ได้แต่แผลลึก แผลฉีกขาดมาก หรือถูกกัดหลายแผล

ผู้ ที่ได้รับสัมผัสโรค เมื่อได้รับการฉีดวัคซีนและอิมมูนโกลบูลินภายในระยะเวลาไม่เกิน ๔๘ ชั่วโมง ก็จะมีชีวิตรอดปลอดภัยได้ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ แต่สิ่งสำคัญคือได้รับการรักษาช้าไป ไม่ล้างแผลให้สะอาด หรือว่ามีการฉีดวัคซีนแบบปล่อยปละละเลย แทนที่จะไปฉีดวัคซีนตามกำหนดเวลาที่ควรจะเป็น ก็ฉีดคลาดเคลื่อนไปบ้าง หรือฉีดไม่ครบ

หลักสำคัญก็คือ วัคซีนจะต้องสร้างภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นได้ในคนที่ฉีดวัคซีน ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ภายใน ๑๔ วัน และภูมิคุ้มกันนี้จะต้องคงอยู่อย่างน้อยที่สุด ๓๖๕ วัน เพราะฉะนั้นในช่วงแรกที่ระบบภูมิคุ้มกันยังไม่เกิดขึ้นในร่างกายจากวัคซีน ก็จะมีการฉีดอิมมูนโกลบูลินในกรณีที่แผลลึกหรือมีเลือดออก ไม่ว่าจะกี่แผลก็ตาม อิมมูนโกลบูลินก็จะไปป้องกันไวรัสในช่วง ๑๔ วันแรกที่ระบบภูมิคุ้มกันจากวัคซีนยังไม่เกิดขึ้น

สถานที่ บริการตรวจหาเชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้า

* กรุงเทพมหานคร

๑. สถาน เสาวภา สภากาชาดไทย
๒. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
๓. ศูนย์โรคพิษ สุนัขบ้า กรมปศุสัตว์ ถนนพญาไท เขตราชเทวี
๔. ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์ การแพทย์ทหาร ถนนโยธี เขตราชเทวี

* ภาคกลาง

๑. สถาบัน วิจัยไวรัส กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นนทบุรี
๒. หน่วยชันสูตรสาธารณสุข เขต จังหวัดสระบุรี
๓. สำนักงานปศุสัตว์เขต ๑ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๔. สำนัก งานปศุสัตว์เขต ๗ จังหวัดนครปฐม
๕. โรงพยาบาลสระบุรี

* ภาค ตะวันออก

๑. ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ๒ จังหวัดชลบุรี
๒. หน่วย ชันสูตรสาธารณสุขเขต จังหวัดจันทบุรี
๓. โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี
๔. สำนักงานปศุสัตว์เขต ๒ จังหวัดฉะเชิงเทรา

* ภาค เหนือ

๑. โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์
๒. ศูนย์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ ๖ จังหวัดพิษณุโลก
๓. โรงพยาบาลลำปาง จังหวัดลำปาง
๔. ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ๕ จังหวัดเชียงใหม่
๖. คณะ แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
๗. สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดชัยนาท
๘. ศูนย์ วิจัยและชันสูตรโรคสัตว์ภาคเหนือ
๙. สำนักงานปศุสัตว์เขต ๕ จังหวัดเชียงใหม่
๑๐. สำนักงานปศุสัตว์เขต ๖ จังหวัดพิษณุโลก
๑๑. สำนัก งานปศุสัตว์จังหวัดกำแพงเพชร
๑๒. สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเพชรบูรณ์

* ภาค อีสาน

๑. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
๒. ศูนย์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ จังหวัดขอนแก่น
๓. ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ๓ จังหวัดนครราชสีมา
๔. โรงพยาบาลอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
๕. โรง พยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี
๖. ศูนย์วิจัยและชันสูตร โรคสัตว์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ท่าพระ จังหวัดขอนแก่น
๗. สำนักงานปศุ สัตว์จังหวัดสกลนคร
๘. สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดบุรีรัมย์
๙. สำนัก งานปศุสัตว์เขต ๓ จังหวัดนครราชสีมา
๑๐. สำนักงานปศุสัตว์เขต ๔ จังหวัดอุดรธานี
๑๑. สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดกาฬสินธุ์
๑๒. สำนัก งานปศุสัตว์จังหวัดศรีสะเกษ
๑๓. สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดชัยภูมิ

* ภาค ใต้

๑. ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ๑ จังหวัดสงขลา
๒. โรง พยาบาลสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๓. ศูนย์วิจัยและชันสูตรโรค สัตว์ภาคใต้ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
๔. สำนักงานปศุสัตว์เขต ๘ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๕. สำนักงานปศุสัตว์เขต ๙ จังหวัดสงขลา




โดย: หมอหมู วันที่: 29 มีนาคม 2553 เวลา:15:34:44 น.  

 

//www.cueid.org/content/view/3416/1/

บัญญัติ 10 ประการ รู้ทัน!พิษสุนัขบ้า

จันทร์, 01 มีนาคม 2010



ความประมาทหรือคุณภาพ กระทั่งที่มาที่ไปของวัคซีนพิษสุนัขบ้าก็ตาม เป็นอุทาหรณ์เตือนใจถึงภัยที่ใกล้ตัว

ศาสตราจารย์นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา และ ดร.สุภาภรณ์ วัชรพฤษาดี ศูนย์ปฏิบัติการโรคทางสมองและศูนย์ความร่วมมือ องค์การอนามัยโลก ด้านไวรัสสัตว์สู่คน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า ให้ฟังว่าข้อสำคัญหลัก ต้องฟันธงไปที่สัตว์นำโรค

คุณหมอธีระวัฒน์ บอกว่า หากคิดว่าลูกสุนัขและแมว ไม่มีเชื้อพิษสุนัขบ้า แต่จริงๆแล้ว...สุนัขและแมว อายุเท่าใดก็ตาม สามารถแพร่โรคได้ แม้จะมีอายุเพียง 1 เดือนเท่านั้น



ความเข้าใจผิดข้อต่อมา หากคุณคิดว่า สุนัขและแมวเป็นโรคพิษสุนัขบ้าได้เฉพาะในหน้าร้อนเท่านั้น?

ข้อนี้ ความเป็นจริง...สุนัขและแมว เป็นโรคพิษสุนัขบ้าได้ทุกฤดูกาล

ฉะนั้น การฉีดวัคซีนในสัตว์ไม่จำเป็นต้องรอฤดูกาล และคนเมื่อถูกกัดไม่ว่าฤดูไหนก็ตามต้องได้รับการฉีดยาป้องกัน ซึ่งจะเชื่อมโยงถึงข้อเข้าใจผิดต่อมา คิดว่าหากถูกสุนัขหรือแมวกัดโดยอาการของสัตว์ปกติดี ก็ไม่น่าจะเป็นบ้า

สุนัข และแมวสามารถแพร่เชื้อโรคได้ ถึง 10 วัน ก่อนจะแสดงอาการ หากถูกสุนัขหรือแมวกัด ถ้าสัตว์ดูยังปกติอย่านิ่งนอนใจ ต้องได้รับการฉีดยาป้องกัน และจับแยกและกักขังสุนัขและแมวนั้นๆ

หากแสดงอาการผิดปกติ ต้องตัดหัวนำไปส่งตรวจทันที

ถ้าผ่าน 10 วันไปแล้วไม่มีอาการผิดปกติแสดงว่าไม่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า



ความเข้าใจ ผิดประการที่ 3 คิดว่าการฉีดวัคซีนในสุนัข–แมวจะป้องกันการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าได้ 100%

ข้อ นี้ ดร.สุภาภรณ์ บอกว่า หากสัตว์ติดเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้าแล้วและอยู่ในระยะฟักตัว การฉีดวัคซีนจะไม่ได้ผล ดังนั้น การนำสุนัขและแมวมาเลี้ยงต้องรู้ประวัติพ่อแม่ และการเลี้ยงดูที่ผ่านมาอย่างชัดเจน

หรือใครที่คิดว่าสุนัขหรือแมว ที่ได้รับวัคซีน 1 ครั้งจะมีภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิต ไม่มีโอกาสเป็นบ้า ในความเป็นจริงยังมีโอกาสเป็นบ้าได้ ที่ปฏิบัติกันสุนัขและแมวต้องได้รับวัคซีน 2 ครั้งในปีแรก และ 1 เข็มต่อปี

มิฉะนั้น ยังมีโอกาสเป็นบ้าได้เมื่อได้รับเชื้อ

ต่างกับบางประเทศที่ เจริญแล้ว สุนัข แมวหลังจากที่ได้รับการฉีดครั้งแรกแล้ว ไม่ต้องฉีดประจำทุกปี เนื่องจากโอกาสที่สุนัข แมวจะได้รับเชื้อมีน้อยมากเหลือเกิน และจะทำการฉีดกระตุ้นต่อเมื่อมีการสัมผัสโรคจริงๆเท่านั้น

แตกต่าง จากประเทศไทย เป็นประเทศที่ชุกชุมด้วยโรคพิษสุนัขบ้าในสุนัข โอกาสที่สัตว์เลี้ยงจะได้รับเชื้อค่อนข้างมีสูง



กรณีที่ห้า เข้าใจผิดคิดว่า สุนัขและแมวที่เราเลี้ยงและเคยได้รับวัคซีนมาก่อนถูกสุนัขบ้ากัด ไม่เสี่ยงต่อการติดโรค

ดร.สุภาภรณ์ ย้ำว่า ถ้าจะให้มั่นใจเต็มที่จะต้องได้รับการฉีดวัคซีนซ้ำ และกักขังดูอาการอย่างน้อย 45 วัน

แต่ถ้าสุนัข...แมวตัวนั้น ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนเมื่อถูกสุนัขบ้ากัด องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ทำลายเพราะมีโอกาสติดเชื้อสูง แต่ถ้าไม่สามารถปฏิบัติตามได้ ให้ฉีดวัคซีนทันทีและกักขังดูอาการ 6 เดือนและฉีดวัคซีนซ้ำ 1 เดือนก่อนปล่อย

ในแง่การแพร่เชื้อไวรัสพิษ สุนัขบ้า ไม่เฉพาะสุนัขและแมว เท่านั้นที่แพร่เชื้อสู่คนได้ สัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดก็เป็นโรคและแพร่โรคได้เช่นกัน

การติดเชื้อในคนและการป้องกันโรค คุณหมอธีระวัฒน์ อธิบายว่า ที่คิดกันว่าการกัดคน ทั้งๆที่ไม่ได้ถูกแหย่เป็นเครื่องแสดงว่าสุนัข แมวนั้นๆเป็นบ้า ก็เป็นความเข้าใจผิด

เพราะสุนัข แมวที่เป็นบ้า กัดคนโดยที่แหย่หรือไม่ได้แหย่ก็ได้ เมื่อถูกกัด ต้องไปรับการรักษาเช่นกัน

การข่วนด้วยเล็บ ก็ทำให้ติดโรคและตายได้ เนื่องจากสุนัข...แมวเลียอุ้งตีนและเล็บ อาจมีไวรัสจากน้ำลายติดค้างอยู่ที่เล็บ และแพร่เชื้อได้หากแผลมีเลือดออกแม้เพียงซิบๆ



กรณีถูกสุนัขกัด ความเข้าใจผิดที่ว่า...ให้รีบเอารองเท้าตบๆ หรือราดด้วยน้ำปลาจะช่วยฆ่าเชื้อได้

คุณหมอธีระวัฒน์ เน้นน้ำเสียงว่า จริงๆแล้ว...เมื่อถูกกัดต้องล้างแผลด้วยน้ำกับสบู่ เป็นเวลา 10 นาที จากนั้นพบแพทย์ทันที เพื่อล้างแผลอีกครั้ง ฆ่าเชื้อด้วยน้ำยาไอโอดีน ควรหลีกเลี่ยงการเย็บแผล

ถ้าจำเป็นเย็บได้หลวมๆ การเย็บปิดแผลจะส่งเสริมให้เชื้อเข้าเส้นประสาทได้ไวและเร็วขึ้น การปฏิบัติตามความเชื่อผิดๆเหล่านี้ ทำให้มีคนเสียชีวิตมานักต่อนัก



ที่คิดกันอีกว่า เมื่อถูกสุนัขหรือแมวที่มีเชื้อกัด จะมีโอกาสรอด...แม้ไม่ได้รับการรักษา?

ความเข้าใจผิดข้อที่ 9 นี้แทบจะไม่มีทางเป็นไปได้เลย...ถ้าคนถูกกัดแล้วมีอาการ จะเสียชีวิตทุกรายภายใน 5-11 วัน แต่คนที่รอด ไม่ได้หมายความว่าคาถาดี ทั้งนี้ เพราะไม่มีไวรัสในน้ำลายตลอดเวลา

ซึ่งพบได้ 30–80 เปอร์เซ็นต์ หรือเฉลี่ยครึ่งต่อครึ่ง



ความเข้าใจผิดข้อสุดท้าย ข้อที่ 10 คิดว่ารอให้สุนัข แมว ที่กัดแสดงอาการหรือตายก่อน จึงค่อยพาคนที่ถูกกัดไปพบแพทย์เพื่อฉีดวัคซีน คุณหมอธีระวัฒน์ และ ดร.สุภาภรณ์ ประสานเสียงบอกตรงกันว่า ข้อนี้การฉีดยาป้องกันที่ได้ผลสูงสุด อยู่ในช่วง 48 ชั่วโมงหลังถูกกัด

และถ้าแผลมีเลือดออก ไม่ว่าตำแหน่งใดของร่างกายต้องได้เซรุ่ม (อิมมูโนโกลบูลิน) ชนิดสกัดบริสุทธิ์ ฉีดที่แผล


ข้อมูลสุดท้าย ปิดท้ายด้วยเรื่องควรรู้เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า...จากการประชุมองค์การ อนามัยโลก เดือนตุลาคม 2547 และตุลาคม 2553, การประชุมนานาชาติ เดือนตุลาคมและพฤศจิกายน 2548 มีหลักฐานชัดเจนว่า

ถึงแม้จะรักษาทัน ท่วงทีก็อาจเสียชีวิตได้ (แม้ว่าจะเกิดได้น้อยมากๆก็ตาม)

ในประเทศ ไทย ศูนย์ปฏิบัติการโรคทางสมอง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในปี 2542 มีรายงาน พบผู้ป่วยตาย 2 ราย และในปี พ.ศ.2552 พบผู้ป่วย 1 ราย แม้ได้รับการรักษาด้วยวัคซีนและเซรุ่ม และมีผู้ป่วยตายในประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศอื่นๆในทำนองเดียวกัน

ด้วยเหตุผลนี้ เราจึงต้องให้ความสำคัญกับการควบคุมสัตว์นำโรค โดยเฉพาะสุนัขและแมว และคนที่มีโอกาสถูกสุนัขหรือแมวกัดบ่อยๆ ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันล่วงหน้า ซึ่งฉีดเพียง 3 เข็ม

โดยที่ แม้ว่าจะถูกกัดในอนาคต 10-20 ปีก็ตาม เพียงได้รับวัคซีนกระตุ้น 2 เข็ม โดยไม่ต้องฉีดเซรุ่มก็ปลอดภัยแล้ว

โรคพิษสุนัขบ้าในคนมีอาการซับซ้อน และไม่จำเป็นต้องมีอาการกลัวน้ำ กลัวลม หรือมีน้ำลายมาก

แต่มีอาการ คล้ายโรคทางสมองทั่วไป หรืออาการอัมพาต แขนขาอ่อนแรง ร้อยละ 10 ของผู้ป่วย อาจจะไม่มีประวัติถูกสัตว์กัด หรือถูกกัดบ่อยมากจนคิดว่าไม่สำคัญ.



ที่ มา หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ 26 กพ 2553




โดย: หมอหมู วันที่: 30 มีนาคม 2553 เวลา:14:47:58 น.  

 

ข้อมูลนี้ ทำให้รู้สึกว่าน่ากลัวมากขึ้นไปอีก ...

//www.cueid.org/content/view/3444/1/

สถานการณ์ผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้าในปีนี้อาจจะมีแนวโน้มสูงขึ้นมาก

จากปี 2551 ที่ตลอดทั้งปีมีผู้เสียชีวิตเพียง 9 ราย

เพิ่มเป็น 23 ราย ในปี 2552

และ 9 รายในช่วง 2 เดือนเศษของปีนี้

ที่น่าสังเกต คือ พื้นที่เกิดเหตุอยู่ในพื้นที่ซ้ำเดิมโดยเฉพาะ กทม. ที่ในปีนี้มีผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าแล้วถึง 5 ราย และส่วนใหญ่มาจากสุนัขที่มีเจ้าของแทบทั้งสิ้น

ในปีนี้ ข้อมูลสัตว์ต้นเหตุที่ทำให้คนเสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าเกิดจาก สุนัขมีเจ้าของ 6 ราย สุนัขจรจัด 2 ราย และ แมวจรจัด 1 ราย.



โดย: หมอหมู วันที่: 30 มีนาคม 2553 เวลา:14:51:25 น.  

 
กรมควบคุมโรค เตือนโรคพิษสุนัขบ้าพบได้ทั้งปี แนะประชาชนหากถูกสุนัข/แมว ข่วนหรือกัด รีบพบแพทย์ทันที
11 สิงหาคม 60

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เตือนโรคพิษสุนัขบ้าสามารถพบได้ทั้งปี แนะประชาชนที่ถูกสุนัข/แมวข่วนหรือกัด ควรรีบล้างแผลให้สะอาด และพบแพทย์เพื่อรับการรักษาทันที ส่วนปีนี้มีผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าแล้ว 4 ราย พร้อมขอความร่วมมือให้เจ้าของนำสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
วันนี้ (11 สิงหาคม 2560) นายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคที่สามารถพบได้ตลอดทั้งปี ซึ่งสามารถพบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยในประเทศไทพบมากในสุนัขและแมว ส่วนสถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าในปี 2560 มีรายงานผู้เสียชีวิต 4 ราย จากฉะเชิงเทรา (2 ราย) สมุทรปราการและชลบุรี จังหวัดละ 1 ราย นอกจากนี้ ยังมีการตรวจพบเชื้อพิษสุนัขบ้าได้ประปรายในบางจังหวัด

จากข้อมูลการเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ของกรมปศุสัตว์ รายงานว่าในปี 2560 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-21 กรกฎาคม 2560 ตรวจพบเชื้อพิษสุนัขบ้า จำนวน 430 ตัวอย่างจากจังหวัดที่ส่งตัวอย่างตรวจทั้งหมด 37 จังหวัด

สัตว์ที่ตรวจพบเชื้อส่วนใหญ่เป็นสุนัข ร้อยละ 90.1 และในจำนวนสัตว์ที่ตรวจพบเชื้อพบว่ามีเจ้าของถึงร้อยละ 49.6 ไม่มีเจ้าของ ร้อยละ 36.8 และไม่ทราบประวัติ ร้อยละ 13.6

อาการของโรคพิษสุนัขบ้า เริ่มจาก 2-3 วันแรกหลังจากที่ถูกข่วนหรือกัด ผู้ป่วยจะเบื่ออาหาร เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว มีไข้ อ่อนเพลีย ชา เจ็บเสียว หรือปวดบริเวณรอยแผลที่ถูกกัด คันอย่างรุนแรงที่แผลและลำตัว ต่อมาจะมีอาการกระสับกระส่าย กลัวแสง กลัวลม ไม่ชอบเสียงดัง เพ้อ กลืนลำบากโดยเฉพาะของเหลว กลัวน้ำ กล้ามเนื้อขากระตุก แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก หรืออาจชัก เกร็ง อัมพาต หมดสติ และเสียชีวิตในที่สุด

นายแพทย์เจษฎา กล่าวอีกว่า มาตรการของกระทรวงสาธารณสุข ได้เร่งสร้างพื้นที่ในชนบทและเขตเมืองทั่วประเทศให้ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า ตั้งเป้าครบ 100 เปอร์เซ็นต์ภายในปี พ.ศ. 2562 ตามโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยตามตามพระปณิธานศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี เพื่อกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปจากประเทศภายในปี พ.ศ.2563 ตามเป้าที่องค์การอนามัยโลกและองค์การควบคุมโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศกำหนด โดยร่วมมือกับกรมปศุสัตว์และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสุนัขตั้งแต่อายุ 2-4 เดือนขึ้นไปครอบคลุมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ของสุนัขที่มีในหมู่บ้าน ขึ้นทะเบียนการเลี้ยงทุกหลังคาเรือนและทำหมัน เพื่อควบคุมจำนวนสุนัขโดยเฉพาะสุนัขจรจัด และให้เจ้าของนำสุนัขไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคทุกปี นอกจากนี้ มีการกำหนดให้ วันที่ 28 กันยายน ของทุกปี เป็นวันป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโลก (World Rabies Day) เพื่อรณรงค์ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า โดยมีภาคีเครือข่าย 6 หน่วยงาน ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรมควบคุมโรค กรมปศุสัตว์ สำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และสถานเสาวภา สภากาชาดไทย

การป้องกันไม่ให้มีผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้า คือ ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้สัตว์เลี้ยง(สุนัข/แมว)ครั้งแรก เมื่อสัตว์เลี้ยงมีอายุ 2-4 เดือนขึ้นไป ประชาชนที่ถูกสัตว์เลี้ยงกัด/ข่วน ให้รีบล้างแผล สบู่และน้ำสะอาดหลายๆครั้ง ใส่ยา เช่น เบตาดีน เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อเข้าสู่แผล กักหมา ไว้ดูอาการ 10 วัน หากสัตว์ตาย ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ทันที หาหมอ เพื่อรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรค และฉีดวัคซีนเป็นประจำทุกปี รวมถึงหากพบเห็นสัตว์ที่สงสัยว่าอาจเป็นโรคพิษสุนัขบ้า คือมีอาการหางตก เดินโซเซ น้ำลายย้อย ลิ้นห้อย ตาขวาง ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์หรือผู้นำชุมชนทันที ทั้งนี้ หากประชาชนมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร 1422

***************************************
ข้อมูลจาก : สำนักโรคติดต่อทั่วไป/สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค
โทรศัพท์ 0-2590-3857 วันที่ 11 สิงหาคม 256


โดย: หมอหมู วันที่: 17 สิงหาคม 2560 เวลา:14:46:10 น.  

 
Thiravat Hemachudha
24 กันยายน เวลา 20:50 น. ·
https://www.facebook.com/thiravat.h/posts/1685826414784239

ข้อกังวลของการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในเรื่องของชนิดของวัคซีนและวิธีการฉีด

ในการให้การป้องกันผู้ ที่ถูกสัตว์ที่สงสัยว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้าไม่ว่าจะเป็นสุนัข แมวหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดคือการล้างแผลโดยน้ำและสบู่และหลังจากนั้นไปยังสถานพยาบาลเพื่อทำการล้างแผลและให้ยาเฉพาะที่ๆทำลายไวรัสได้ เช่นโพวิดีน

ในกรณีที่แผลลึกหรือแผลไม่ลึกมากก็ตามแต่มีเลือดออกต้องฉีดสารสกัดน้ำเหลืองหรือที่เรียกว่าอิมมูโนกลอบูลิน เข้าในและรอบแผลด้วย

วิธีการฉีดจะเหมือนกับที่ฉีดยาชาเวลาจะทำการเย็บแผลคือยอนเข็มเข้าไปทางด้านหนึ่งจนสุดและค่อยๆถอยเข็มพร้อมกับเดินยาไปพร้อมๆกัน โดยหลีกเลี่ยงการที่ต้องจิ้มหลายๆรู ซึ่งอาจจะทำให้เส้นประสาทบาดเจ็บ และไวรัสอาจเข้าตรงไปที่เส้นประสาท โดยไม่พักตัวในกล้ามเนื้อก่อน

สำหรับการฉีดวัคซีนนั้น วัคซีนที่ใช้อยู่ขณะนี้ มีคุณภาพและความปลอดภัยทัดเทียมกันทั้งสิ้น ทำจากเซลล์เพาะเลี้ยงและทำให้บริสุทธิ์ อาจจะมีชื่อต่างๆกันแล้วแต่บริษัทที่นำเข้า
ในกรณีที่เริ่มเข็มแรกด้วยวัคซีนชนิดหนึ่ง แต่เข็มต่อๆไปถ้าไม่สามารถหาวัคซีนชนิดแรกได้ ก็สามารถใช้วัคซีนอื่นได้อย่างปลอดภัย

ทั้งนี้เป็นหลักปฏิบัติทั่วไปเพราะชาวต่างประเทศถ้าได้วัคซีนเข็มแรกในประเทศไทยเป็นวัคซีน วีโรแรบ เมื่อกลับไปยังประเทศตนเองก็สามารถใช้วัคซีนอีกชนิดหนึ่งได้

ยกตัวอย่างเช่นเข็มแรกเป็นวีโรแรบ ต่อมาจะเป็น สปีดา และเข็มที่สาม จะเป็น วีโรแรบก็ได้

หลักที่สำคัญไม่ใช่เรื่องของชนิดของวัคซีน แต่เป็นวิธีการฉีด ถ้าเริ่มต้นด้วยการฉีดเข้าชั้นผิวหนัง ควรจะต่อไปด้วยการฉีดวิธีเดียวกัน
เช่นเดียวกับถ้าเริ่มต้นด้วยการฉีดเข้ากล้ามก็ต่อด้วยการฉีดเข้ากล้ามให้ครบ

อย่างไรก็ตามในกรณีที่เป็นนักท่องเที่ยวและได้รับเข็มแรกเป็นการฉีดเข้าชั้นผิวหนังเมื่อกลับไปประเทศตนเองซึ่งไม่ชำนาญในการฉีดก็อาจสามารถที่จะอนุโลมเป็นฉีดเข้าชั้นกล้ามเนื้อต่อไปจนครบ 

""""""""""""""""""""""""""
Drama-addict
24 กันยายน 2560
https://www.facebook.com/DramaAdd/photos/a.411063588290.186101.141108613290/10155899708853291/?type=3&theater

อันนี้น้องหมอที่ รพ แห่งนึง แถวๆภาคกลางนี่ล่ะ
บอกว่าเขากำลังจะโดนฟ้องเพราะว่า คนไข้โดนหมากัด
ก็ไปฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้ายี่ห้อ Verorab ที่ รพ อีกแห่ง
แล้วมาฉีดวัคซีนต่อที่ รพ เขา ที่ รพ เขาไม่มี Verorab
แต่มีวัคซีนอีกยี่ห้อคือ Speeda เขาก็ฉีดตัวนี้ให้คนไข้ คนไข้ไปปรึกษาหมอที่ รพ แรก เขาบอกว่าใช้แทนกันไม่ได้ เขาเลยตัดสินใจจะฟ้องหมอคนนี้เพราะเชื่อที่หมอ รพ นั้นบอก

น้องหมอคนนี้ก็ฝากจ่าโพสหน่อยเถอะว่าวัคซีนตัวนี้มันเป็นยังไงจริงๆแล้วมันใช้แทนกันได้มั้ย ตอบว่า ได้นะครับ

คือตัว Verorab กับ Speeda มันผลิตคนละวิธีกัน
คือ Verorab ผลิตด้วยการเลี้ยงเชื้อสายพันธ์ PMWI 138-1503-3M แต่ Speeda ใช้สายพันธ์ L.Pasteur PV 2061

แต่ถามว่าใช้แทนกันได้มั้ย ได้ครับผม
ในกรณีที่ฉีดวัคซีนตัวนึงมา แต่ของหมด ก็สามารถเอาอีกตัวมาฉีดต่อได้ แต่วิธีการฉีดมันต้องเหมือนกันนะ และประสิทธิภาพก็ไม่ได้แตกต่างกันเลย

ดังนัน้ฝากวอนถึงคนไข้ท่านนี้ อย่าไปเชื่อไอ้หมอคนที่บอกว่าใช้ร่วมกันไม่ได้ครับ ถ้าไม่เชื่อมีอาจารย์แพทย์ที่ชำนาญด้านนี้หลายๆท่านให้อ้างอิง อย่าฟ้องน้องมันด้วยเรื่องนี้เลยครับ คือมันไม่ได้ทำอะไรผิดเลยนะนั่น ถ้าหมอโดนฟ้องด้วยเหตุผลนี้กันเยอะๆกลัวมันจะเสียกำลังใจกันหมด

ส่วนไอ้หมอคนที่ไปเป่าหูคนไข้ให้ฟ้องเขานี่มึงเป็นเหี้ยไรมากมั้ยนิ ไอ้สัส รู้ไม่จริงก็ไปเรียนมหาลัยอีกรอบไป๊

อ้างอิง
แนวทางปฏิบัติโรคพิษสุนัขบ้า
//www.skko.moph.go.th/dward/document_file/cdc/common_form_upload_file/20140313192304_1741768127.pdf
//drug.pharmacy.psu.ac.th/Question.asp?ID=14761&gid=7


โดย: หมอหมู วันที่: 26 กันยายน 2560 เวลา:15:28:56 น.  

 
Thiravat Hemachudha https://www.thairath.co.th/content/1232184

ปุจฉา!โรคพิษสุนัขบ้า อาเพศเหตุระบาดหนัก
20 มี.ค. 2561 05:01
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา


“โรคพิษสุนัขบ้า”...เค้าว่า กันมาอย่างนี้ไม่ทราบจริงไหม? ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์โรคติดเชื้อ โรคอุบัติใหม่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไล่เรียงสรุปข้อมูลจากข่าวตามเงื่อนเวลาไทม์ไลน์ให้เห็นภาพคร่าวๆกรณีเรื่องราวของ สตง. กับวัคซีนพิษสุนัขบ้าของ อปท.
เริ่มจาก...ปี 57 หลังรัฐประหาร สตง. ออกไล่ล่าตรวจสอบการใช้งบของ อปท. ย้อนหลังปี 56...ปลายปี 2557 สตง.ทำหนังสือเสนอแนะว่า เทศบาลตำบลสุรนารี ใช้เงินซื้อวัคซีนพิษสุนัขบ้า ไม่ตรงกับจุดประสงค์ของ พ.ร.บ.โรคพิษสุนัขบ้า 2535 ที่ให้เป็นหน้าที่กรมปศุสัตว์ ให้เรียกเงินคืน สอบวินัยย้อนหลังเทศบาล ฯลฯ

เทศบาลตำบลสุรนารีสู้ โดยยื่นต่อกรมปศุสัตว์ ให้กรมปศุสัตว์ยื่นเรื่องตีความ โดยการเรียกเงินคืนนี้ สตง.ออกหนังสือเวียนแจ้งข้อเตือนไปยัง อปท.ทั่วประเทศ อปท.เลยระงับการซื้อวัคซีนมาฉีดให้สัตว์เลี้ยงและสัตว์จรจัด และ “กรมปศุสัตว์” ยื่นตีความต่อกฤษฎีกา ลงวันที่ 29 มกราคม 2558
กฤษฎีกา 2 คณะ ตีความว่ากรมปศุสัตว์มีอำนาจ แต่กรมปศุสัตว์ก็ยังมีอำนาจมอบให้ อปท.ซื้อวัคซีนมาฉีดให้สัตว์แทนด้วย ในต้นปี 2559 แต่โรคพิษสุนัขบ้าก็เริ่มระบาดรุนแรงในระดับหนึ่งแล้วในปี 2560

ระเบียบที่กฤษฎีกาตีความว่าทำได้ สตง.ดันไม่เผยแพร่ ไม่มีหนังสือเวียนแจ้ง อปท. เหมือนตอนห้าม และ สตง.ก็บอกไปอีกว่าจะตรวจสอบเรื่องวัคซีนที่ซื้อไม่มีคุณภาพ สต๊อกแล้วเสื่อม แทนในปี 2560 โดยไม่เอ่ยถึงเรื่องที่ตัวเองไปตรวจสอบว่า อปท.ไม่มีอำนาจตอนปี 2557 สักคำ?

กระทั่งปี 2561 พิษสุนัขบ้าระบาดหนักกว่าเดิมเกินครึ่งประเทศ และ อปท.หลายแห่งก็ยังไม่กล้าซื้อวัคซีนมาฉีด ศ.นพ.ธีระวัฒน์ บอกว่า ประเด็น สตง.ห้ามพื้นที่จัดซื้อวัคซีนหมาบ้าในสัตว์และทำให้การบริหารจัดการเองในพื้นที่ไม่สามารถกระทำต่อไปได้ และสถานการณ์เลวร้ายมากขึ้น นอกจากนั้นกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยึดถือนโยบายทำงานได้ตามเป้าเสมอ ทั้งนี้ มีการรายงานตัวเลขสวยหรู ในการทำหมันฉีดวัคซีนสุนัขและการรายงานจำนวนหมาในประเทศ โดยที่จะเป็นจำนวนหมาที่ประเมินได้จากหมามีเจ้าของ

“ในขณะที่ “หมาชุมชน” มีเพิ่มขึ้นมากมาย...เหตุการณ์ลักษณะนี้ยังเกิดขึ้นในการรายงานว่าไม่มีไข้หวัดนกในสัตว์ปีก เป็นเวลามากกว่าเก้าปี ทั้งๆที่มีการระบาดมากกว่าครึ่งประเทศแล้ว และสายพันธุ์ที่ไม่รุนแรงพัฒนาขึ้นเป็นรุนแรง รวมทั้งไม่ได้มีการแจ้งเตือนกระทรวงสาธารณสุขจนกระทั่งความแตกเมื่อเดือนสิงหาคม 2560”

เมื่อมีสัตว์ในสวนสัตว์ที่โคราชป่วยตาย ได้แก่ อีเห็น ชะมด เสือปลาและอื่นๆ และลามออกไปนอกสวนสัตว์ ทำให้มีไก่ตามบ้านในหมู่บ้านในพื้นที่โคราช ล้มตายเป็นจำนวนมาก ในปีที่แล้วและกระทรวงสาธารณสุขได้ทำการสอบสวน เนื่องจากมีประชาชนและเจ้าหน้าที่สวนสัตว์สัมผัสกับสัตว์ป่วยตายเป็นจำนวนมาก

กระทั่งนำไปสู่การประชุมระหว่างกรมควบคุมโรคและกรมปศุสัตว์จึงได้มีการเปิดเผยความจริงว่ามี ไข้หวัดนกระบาดจริงในที่ต่างๆ และเป็นสายพันธุ์ที่รุนแรง แต่ข้อมูลไม่สามารถแพร่ออกสู่สาธารณชนได้
“การปกปิดข้อมูล...เป็นผลร้าย โดยที่โรงพยาบาลต่างๆจะดูแลคนป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ธรรมดาโดยไม่ได้พิจารณาถึงไข้หวัดนก และในที่สุดเชื้อไวรัสก็จะพัฒนาตัวเองไปเรื่อยๆจนกระทั่งถึงระดับสุดท้ายคือสามารถแพร่ได้จากคนสู่คน”

สำหรับสถานการณ์ของโรคพิษสุนัขบ้าในหลายปีที่ผ่านมาไม่ปรากฏในรายงานว่า มีความเสี่ยงมากจนกระทั่งความแตกในช่วงสองถึงสามปีหลังที่มีคนตายมากขึ้น มีคนถูกกัดมากขึ้น มีคนต้องการใช้วัคซีนมากขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงจำนวนหมาที่เพิ่มมากขึ้นโดยอัตโนมัติและจึงปรากฏตัวเลขที่ชัดเจนขึ้นของหัวหมาที่ต้องสงสัยและตรวจว่ามีเชื้อไวรัสอยู่ในบางพื้นที่มากกว่า 10% จนกระทั่งถึงมากกว่า 30 และ 50%

สถานการณ์ของโรคพิษสุนัขบ้าที่ลุกลามขึ้นเรื่อยๆ ภายในระยะเวลาสามถึงสี่ปีที่ผ่านมา มีปัจจัยที่เกิดขึ้นหลายประการ ยกตัวอย่างเช่น

ประการที่หนึ่ง...ความไม่รับผิดชอบของคนไทยเองในการเลี้ยงหมาปล่อยให้เพิ่มจำนวนและไม่ได้ให้การดูแลที่เหมาะสมโดยเฉพาะเรื่องของการให้วัคซีนป้องกันโรค และการคุมกำเนิด ในขณะเดียวกันผลักภาระให้ทางการหรือเจ้าหน้าที่ในการจัดหาวัคซีนและรวมถึงการทำการฉีด

“จำนวนประชากรหมาที่เพิ่มขึ้นมีปริมาณเกินกว่ากำลังของเจ้าหน้าที่ที่จะช่วยฉีด ซึ่งต้องการความร่วมมือจากชุมชนในการนำหมามาด้วย ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่เจ้าหน้าที่จะทำการตามจับเอาเอง”

ประการที่สอง...แม้ว่าชุมชนในท้องถิ่นจะช่วยตัวเองถึงในระดับหมู่บ้านโดยที่ผ่านมามีความเข้มแข็งในการจัดหาซื้อวัคซีนและทำการบริหารจัดการได้เอง แต่ในช่วงระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา กลับไม่สามารถทำได้ เพราะเกิดมีกระบวนการตีความข้อกฎหมาย แสดงถึงความลักลั่นหรือช่องโหว่ของระบบการทำงานของรัฐ

“สตง.มีอำนาจ แต่อาจทำตามตัวหนังสือ ตัวบทกฎหมาย ทั้งนี้ โดยอาจไม่ได้ประเมินถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นทั่วประเทศจนเกิดปัญหารุนแรงขึ้นตามลำดับ ทั้งนี้ ขั้นตอนการตรวจสอบ ปรึกษาหารือเกี่ยวกับตัวบทกฎหมายน่าจะต้องพิจารณาถึงสถานการณ์ที่เป็นจริงให้รอบด้าน ดังนั้น พอมองแต่งานของตนเอง และสั่งการใช้อำนาจห้ามไปยัง อปท. จึงเกิดผลกระทบต่อประชาชน”

ประการที่สาม...ปัญหาการทราบถึงสถานการณ์ที่เป็นจริงและการคาดการณ์ไปข้างหน้าในอนาคต โดยที่การประเมินความเสี่ยงในแต่ละพื้นที่ ต้องคำนึงถึงว่าจำนวนส่งตรวจมีปริมาณเพียงพอที่จะได้ข้อสรุปหรือไม่ และมิหนำซ้ำแม้เมื่อพบสุนัขบ้าตัวเดียวในพื้นที่ จะสะท้อนว่าตัวต้นตอแท้จริงอาจแพร่ไปให้ตัวอื่นๆเรียบร้อยแล้วในพื้นที่ และแต่ละตัวค่อยๆรอเวลาที่จะแสดงอาการและแพร่เชื้อต่อ ดังนั้น...ถึงแม้ว่าจะฉีดวัคซีนให้หมาทุกตัวในพื้นที่ก็ยังมีความเสี่ยงที่ต้องพิจารณาเป็นพื้นที่อันตรายต่ออย่างน้อย 6 เดือน

ในการพิจารณาความเสี่ยง และการรายงานพื้นที่เสี่ยงใหม่เป็นรายเดือนอาจจะทำให้เบาใจลงได้ แต่ทั้งนี้ พื้นที่เดิมก็ยังคงมีความเสี่ยงอยู่ และยังไม่สามารถสรุปได้ว่ามีความเสี่ยงลดลง...การประกาศพื้นที่อำเภอหรือจังหวัดว่า “เสี่ยงน้อย” มีอิทธิพลมากต่อประชาชนในพื้นที่

ทั้งนี้แม้เมื่อมีสัตว์ป่วยตาย ถ้าประชาชนรับทราบเป็นทางการว่าพื้นที่นั้น ดูจะปลอดภัยก็ยังนำสัตว์ที่ป่วยตายมาทำเป็นอาหารและปรากฏอยู่หลายหมู่บ้านในช่วงปีที่ผ่านมาที่มีการนำโค กระบือ หมาที่ป่วยตายและนำมากินเป็นอาหารโดยที่พื้นที่นั้นๆไม่ได้จัดเป็นพื้นที่เสี่ยง ดังนั้น จึงต้องทำการประเมินคนหลายร้อยคน ในหมู่บ้านหลายแห่งว่าจำเป็นต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันขนาดไหน โดยอันตรายจะตกอยู่กับผู้ที่ทำการชำแหละลอกหนังและสัมผัสกับเครื่องใน โดยที่สัตว์ที่เป็นโรคและตาย เชื้อจะไปทั่วร่างกาย

ประการที่สี่...การประเมินความเสี่ยงที่อาจต่ำกว่าความเป็นจริง ทำให้ระดับความเข้มงวดในการเฝ้าระวังลดถอยกว่าที่ควรจะเป็น และกระทบถึงจำนวนวัคซีนที่ต้องวางแผนในการใช้แต่ละปี ทั้งนี้ ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา บริษัทที่ผลิตวัคซีนขนาดใหญ่อาจมีกำลังผลิตลดลงหรือรวมทั้งอาจมีปัญหาในด้านคุณภาพและทำให้พื้นที่หลายแห่งของประเทศขาดแคลนวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์

“การขาดความเชื่อมโยงในความรู้ความเข้าใจของประชาชนในพื้นที่การประเมินสถานการณ์ในรูปแบบต่างๆ ทำให้ดูเหมือนว่าไม่มีปัญหาในหลายปีที่ผ่านมาในสัตว์ ทำให้เกิดโรคอุบัติซ้ำและเป็นที่น่าเสียดายที่โรคนี้ซึ่งเคยควบคุมได้ดีและเป็นต้นแบบให้หลายๆประเทศทั่วโลก กลับรุนแรงขึ้นมาใหม่”

ถึงตรงนี้ให้เข้าใจโดยทั่วกันว่า...การกำหนดตัวชี้วัดที่ให้พื้นที่หรือจังหวัดต้องไม่มีโรคอาจต้องเปลี่ยนแนวความคิดเป็นการดูที่ประสิทธิภาพของพื้นที่หรือจังหวัดในมาตรฐานของการเฝ้าระวังโรคอย่างเป็นระบบและได้มาตรฐานและจังหวัดใดที่สามารถสืบค้นโรคได้หมดจด ถึงแม้จะมีจำนวนมากก็ตาม และเร่งรัดจัดการควบคุมได้เร็วและมีประสิทธิภาพให้ต่อเนื่องถึงจะเป็นสิ่งที่ประเสริฐ ไม่ใช่...“การรายงานไม่มีโรคในพื้นที่”

“โรคพิษสุนัขบ้า”...ไม่ใช่โรคเดียวที่ความแตก ยังมีโรคอื่นๆอีกที่รอปะทุอยู่ เสมอเหมือนกวาดขยะซุกใต้พรม.


โดย: หมอหมู วันที่: 20 มีนาคม 2561 เวลา:15:36:01 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]