Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

เตือนภัยเห็ดพิษ และข้อแนะนำในการบริโภคเห็ด ........โดย พญ. พจมาน ศิริอารยาภรณ์ สำนักระบาดวิทยา





เตือนภัยเห็ดพิษ และข้อแนะนำในการบริโภคเห็ดธรรมชาติและเห็ดป่า


ทุกปีสำนักระบาดวิทยาได้รับรายงานการป่วยและการเสียชีวิตจากเห็ดพิษ โดยเฉพาะในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมักจะได้รับรายงานมากในช่วงเริ่มต้นของฤดุฝน คือระหว่างเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน

โดยทุกเหตุการณ์ที่สัมพันธ์กับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงหรือเสียชีวิตจะเกิดจากการรับประทานเห็ดธรรมชาติและเห็ดป่า โดยเฉพาะเห็ดที่ขึ้นตามภูเขา โดยที่เห็ดพิษทำให้เกิดการเสียชีวิตแยกได้ยากจากที่ไม่มีพิษ

ในปี พ.ศ. 2553 สำนักระบาดวิทยาเริ่มได้รับรายงานการป่วยเป็นกลุ่มก้อนและการเสียชีวิตจากเห็ดพิษในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา (30 พฤษภาคม -12 มิถุนายน 2553) รวมทั้งหมด 11 เหตุการณ์ มีผู้เสียชีวิตรวมแล้ว 5 ราย เมื่อเปรียบเทียบกับปี พ.ศ. 2552 ทั้งปีที่มีรายงานเพียง 3 เหตุการณ์ และในจำนวนนี้ไม่มีผู้เสียชีวิต ส่วนปี พ.ศ. 2551 ที่มีรายงานทั้งหมด 10 เหตุการณ์ และมีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 2 ราย

จังหวัดที่มีรายงานการป่วยเป็นกลุ่มก้อนจากเห็ดพิษในปี 2553 มาจากเชียงใหม่ 5 เหตุการณ์ โดยหนึ่งในนี้เป็นกลุ่มผู้ป่วยจากประเทศพม่า (ป่วย 18 ราย เสียชีวิต 3 ราย มาจากคนละอำเภอ) อุบลราชธานี 2 เหตุการณ์ (ป่วย 3 ราย เสียชีวิต 2 ราย มาจากคนละอำเภอ) อำนาจเจริญ 2 เหตุการณ์ (ป่วย 11 ราย ไม่เสียชีวิต) และน่าน 1 เหตุการณ์ (ป่วย 2 รายไม่เสียชีวิต)

ที่น่าสนใจคือ มีถึง 4 เหตุการณ์ในจังหวัดเชียงใหม่ที่เกิดจากที่มีลักษณะคล้ายเห็ดไข่ห่าน (ซึ่งอยู่ในกลุ่มเห็ดระโงก) โดย 3 เหตุการณ์มีผู้เสียชีวิตและอีก 1 เหตุการณ์มีไตวาย ซึ่งเห็ดไข่ห่านนี้ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกเห็ดระโงก มีทั้งชนิดที่มีพิษและไม่มีพิษ สำหรับชนิดที่มีพิษเป็น Amanita virosa มีสารพิษในกลุ่ม Amatoxin ซึ่งเป็นพิษต่อตับ จากข้อมูลที่ผ่านมาผู้ที่รับประทานเห็ดไข่ห่านประมาณ 1 ดอกก็ทำให้เสียชีวิตได้

ประชาชนส่วนใหญ่รู้ว่าเห็ดไข่ห่านมีทั้งชนิดมีพิษและไม่มีพิษ แต่มีความเชื่อว่าสามารถแยกชนิดของเห็ดพิษได้โดยวิธีต่างๆที่เป็นภูมิปัญญาพื้นบ้าน แต่เป็นความเชื่อที่ผิด ในครั้งนี้ก็มี 2-3 เหตุการณ์ที่มีการทดสอบด้วยวิธีต่างๆก่อนรับประทาน

อีก 1 เหตุการณ์ในจังหวัดอุบลราชธานีที่เป็นเด็ก 1 ปี 9 เดือน ผู้ปกครองให้กินเห็ดที่ย่างสุกแล้ว เรียกเห็ดขี้กะเดือน เด็กมีอาการถ่ายเป็นน้ำ และภายหลังถ่ายเป็นเลือดแล้วเสียชีวิต ในขณะที่ตาและยายซึ่งกินด้วยกันไม่มีอาการ ซึ่งไปด้วยกันกับคำแนะนำที่ ไม่ควรให้เด็กอ่อนบริโภคเห็ดธรรมชาติและเห็ดป่า

จากข้อมูลในปีที่ผ่านๆมาพบว่าการป่วยรุนแรงหรือเสียชีวิตมักเกิดในกลุ่มเดิมๆ คือ ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ที่ไม่ไกลจากเขา (รวมทั้งชาวเขา) นอกจากนี้ยังมีกลุ่มทหารเกณฑ์ ซึ่งมักมาจากต่างพื้นที่แต่เคยกินเห็ดลักษณะนี้มาก่อน

โดยสรุป ในพื้นที่ที่มีเห็ดที่ทำให้ถึงชีวิตซึ่งเป็นชนิดที่พบบ่อยๆ เช่น จังหวัดภาคเหนือตอนบนที่มักเสียชีวิตจากเห็ดไข่ห่าน ควรให้สุขศึกษาในช่วงก่อนหน้าฝนโดยเน้นให้หลีกเลี่ยงการรับประทานเห็ดไข่ห่านไม่ว่าชนิดใดๆ โดยเน้นในพื้นที่และกลุ่มประชากรที่พบบ่อยๆ




ความเชื่อที่ผิดเกี่ยวกับการรับประทานเห็ด


เห็ดในธรรมชาติมีหลายชนิด ดังนั้นการจำแนกว่าเห็ดชนิดใดมีพิษหรือไม่มีพิษบางครั้งเป็นเรื่องยาก หลักสำคัญคือการรู้จักเห็ดชนิดนั้น ๆ เป็นอย่างดีก่อนจะเลือกมารับประทาน หากแต่ว่าชาวบ้านบางส่วนยังมีความเชื่อที่ผิดในการทดสอบความเป็นพิษของเห็ดเมา เช่น

1. เห็ดที่มีแมลงกัดกินย่อมรับประทานได้

หากแต่ว่าจากการศึกษาวิจัยในกรณีคนไข้นำเอา เห็ดไข่ห่านขาว (Amanita virosa) ที่รับประทานแล้วเสียชีวิตจากตับวาย มาทำการแยกชนิดและเพาะเชื้อเห็ดในห้องทดลอง ผลปรากฏว่ามีแมลงหวี่เกิดขึ้น บ่งชี้ว่ามีแมลงหวี่ในธรรมชาติมาไข่ไว้ในครีบของเห็ดและแมลงก็สามารถอาศัยอยู่ร่วมกับเห็ดได้

2. ถ้าเป็นเห็ดเมา หากขณะต้มหรือแกงให้ใส่ข้าวสารลงไปด้วยมันจะสุก ๆ ดิบ ๆ

3. เห็ดที่มีสีสวยมักจะเป็นเห็ดเมา

4. ถ้าน้ำต้มเห็ดถูกกับช้อนเงิน ช้อนเงินจะเปลี่ยนเป็นสีดำแสดงว่าเห็ดพิษ

5. เห็ดเมาถ้าใส่หัวหอมลงไปปรุงอาหารจะเป็นสีดำ

6. ใช้มือถูกลำต้นแล้วเป็นรอยดำแสดงว่าเห็ดนั้นมีพิษ

7. เห็ดที่ขึ้นผิดฤดูกาลมักเป็นเห็ดพิษ

ซึ่งความเชื่อดังกล่าวไม่สามารถแยกเห็ดพิษชนิดที่ทำให้เสียชีวิตออกจากเห็ดที่รับประทานได้







คำแนะนำในการบริโภคเห็ดธรรมชาติและเห็ดป่า
มีดังนี้

1. อย่าบริโภคเห็ดสด

2. หลีกเลียง เห็ดอ่อนสีน้ำตาลดอกเล็ก ๆ เพราะจำแนกยากและมีพิษมาก

3. หลีกเลียง เห็ดอ่อนสีขาว เพราะจำแนกยาก เช่น เห็ดระโงก ที่มีพิษร้ายแรง

4. ระมัดระวังการบริโภค
- เห็ดที่มีวงแหวน
- เห็ดที่มีปลอกหุ้มโคน
- เห็ดที่โคนก้านป่อง ออกเป็นกระเปาะ
- เห็ดที่มีเกล็ดบนหมวกดอก

5. หลีกเลี่ยงเห็ดผึ้ง (มีรูอยู่ใต้หมวกดอก) ชนิดที่ปากรูสีแดง และเมื่อทดลองถูที่ผิวปากรู จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน

6. หลีกเลี่ยงเห็ดที่มีรูปร่างคล้ายสมองและอานม้า

7. อย่าบริโภคเห็ดที่ขึ้นอยู่ใกล้มูลวัวควาย

8. อย่าบริโภคเห็ดธรรมชาติ และเห็ดป่าพร้อมกับการดื่มเหล้า เพราะอาจทำให้เกิดอาการแพ้

9. เด็กอ่อน คนแก่ และผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจ ปอด ไต และตับ ไม่ควรบริโภคเห็ดธรรมชาติและเห็ดป่า

10. อย่าบังคับ หรือชวนคนไม่ชอบเห็ดหรือกลัวเห็ดให้บริโภคเห็ดป่า เพราะความกลัวอาจเป็นสาเหตุทำให้ผู้นั้นป่วยได้

11. ถ้าเป็นเห็ดที่ไม่เคยพบหรือไม่แน่ใจว่าเป็นเห็ดที่รู้จักไม่ควรบริโภคเห็ดเหล่านั้นโดยเด็ดขาด เพราะอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต







เอกสารอ้างอิง

1) ราชบัณฑิตยสถาน. เห็ดกินได้และเห็ดมีพิษในประเทศไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ. 2539.

2) สมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่งประเทศไทย. เห็ดพิษ. กรุงเทพฯ. 2543.

3) ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย สวทช. ระวัง “เห็ดเมา” พิษร้ายในหน้าฝน ค้นวันที่ 12 มิถุนายน2553. จาก //www.vcharkarn.com/varticle/37619



แถม..

สถานการณ์ ผู้ป่วยอาหารเป็นพิษจากการกินเห็ด จังหวัดน่าน
วารสารคลินิก เล่ม :274
เดือน-ปี :10/2550
คอลัมน์ :นานาสาระ
นัก เขียนรับเชิญ :นพ.อภิชาติ รอดสม

//www.doctor.or.th/node/7452






Create Date : 17 มิถุนายน 2553
Last Update : 17 มิถุนายน 2553 16:30:34 น. 0 comments
Counter : 4674 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 763 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]