Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

วิธีเลือกนมถั่วเหลืองให้ได้คุณค่า น่าดื่ม .. Cr. เครือข่ายคนไทยไร้พุง






มาดื่มนมถั่วเหลืองให้ได้คุณค่าที่ดีกันเถอะ

https://www.raipoong.com/content/detail.php?section=10&category=34&id=527

นมถั่วเหลืองเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่ได้รับความนิยมมานาน เนื่องจากมีสารอาหารที่ครบถ้วน อีกทั้งยังเหมาะสมสำหรับกลุ่มผู้ที่มีข้อจำกัดทางสุขภาพบางกรณี เช่น

-ผู้ที่มีภาวะทนต่อน้ำตาลแลคโตสในนมวัวไม่ได้ คือ ผู้ที่มีอาการท้องเสีย ท้องอืด ไม่สบายท้องหลังจากดื่มนมวัว 

-ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าแพ้โปรตีนนมวัว

-ผู้ที่เป็นมังสวิรัติแบบที่ไม่เลือกดื่มนมวัว

แต่เราก็มักประสบปัญหาการ “เลือกไม่ถูก” เมื่อเดินเข้าไปในร้านซูเปอร์มาเก็ตหรือร้านขายของชำที่มีนมถั่วเหลืองมากมายหลายสูตรให้เลือกดื่มกัน วันนี้เรามีเคล็ดลับจากนักกำหนดอาหารมาฝากกันว่า ควรเลือกนมถั่วเหลืองอย่างไร ให้ดีต่อสุขภาพที่สุดครับ


วิธีเลือกนมถั่วเหลือง (ที่วางขายให้เลือกละลานตาเหลือเกิน)

1.ผ่านสายตากับคำกล่าวอ้างด้านหน้ากล่องก่อนสิ่งอื่นใด ควรมองหานมถั่วเหลืองหรือเครื่องดื่มธัญพืชที่มีการระบุว่า ...

• น้ำตาลน้อย, น้ำตาลน้อยกว่าสูตรปกติ, หวานน้อย, หวานพอดี 

• มีแคลเซียม, มีแคลเซียมสูง

• มีวิตามิน, มีแร่่ธาตุ 

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการคัดกรองเบื้องต้นว่า ผลิตภัณฑ์นั้น ๆ เอาใจใส่ผู้บริโภคในการปรับเพิ่มคุณค่าสารอาหาร ก่อนที่จะหยิบมาอ่านฉลากโภชนาการดูรายละเอียดกันต่อ 

2.พลิกไปดูจำนวนหน่วยบริโภค

การอ่านฉลากโภชนาการจะทำให้เราได้ทราบข้อมูลสารอาหารต่าง ๆ ในผลิตภัณฑ์ที่เราสนใจ ข้อสำคัญคือ ด้านบนสุดของกรอบฉลากโภชนาการจะมีการระบุ “จำนวนหน่วยบริโภค” เอาไว้ เพื่อแสดงให้เราทราบว่า ผลิตภัณฑ์กล่องหรือขวดที่เราถืออยู่ “ควรแบ่งกินกี่ครั้ง” และข้อมูลสารอาหารต่าง ๆ ที่อยู่ด้านล่างลงไป เป็นข้อมูลของสารอาหาร ต่อการรับประทาน 1 ครั้ง ถ้าใครบริโภคกล่องที่เขียนว่า จำนวนหน่วยบริโภคต่อกล่อง : 4  แปลว่าแบ่งรับประทานได้ 4 ครั้ง แต่หากเราเทดื่มรวดเดียวหมด ก็ให้นำสารอาหารที่อ่านเจอคูณ 4 ไปด้วยนะครับ

3.มองหาปริมาณโปรตีน

เนื่องจากนมถั่วเหลืองหรือนมธัญพืชต่างๆ จะมีปริมาณโปรตีนที่ต่ำกว่านมวัวโดยพื้นฐานอยู่แล้ว เราจึงควรเปรียบเทียบปริมาณโปรตีนจากแต่ละยี่ห้อให้ดี คำแนะนำในการบริโภคคือ ควรมีโปรตีนตั้งแต่ 6 กรัมขึ้นไปต่อ 1 หน่วยบริโภคหรือ 1 กล่องขนาดทั่วไป (ปริมาณ 200-250 มิลลิลิตร) เทียบจากการบริโภคไข่เบอร์ 3 หนึ่งฟอง เพื่อให้ได้โปรตีนอย่างคุ้มค่า

4.อ่านน้ำตาลให้ขาด

เรารู้กันดีว่า น้ำตาลเป็นต้นเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาความอ้วนได้ กระนั้นก็อย่าถึงกับแบนน้ำตาลเลย เราสามารถบริโภคน้ำตาลได้ประมาณวันละไม่เกิน 6 ช้อนชา (24 กรัม)โดยเราสามารถทราบว่านมถั่วเหลืองแต่ละกล่อง หรือแต่ละหน่วยบริโภคมีน้ำตาลกี่ช้อนชาได้ ด้วยการอ่านปริมาณน้ำตาลเป็นกรัม จากฉลากโภชนาการและนำมาหารด้วยเลข 4 จะได้จำนวนช้อนชาของน้ำตาลต่อหน่วยบริโภคหรือกล่องนั้น ๆ (เพราะน้ำตาล 1 ช้อนชาจะหนักประมาณ 4 กรัมครับ) ยกตัวอย่าง นมถั่วเหลืองยี่ห้อหนึ่งกล่าวอ้างว่าบนฉลากว่ามีน้ำตาลน้อย แล้วอ่านพบว่ามีน้ำตาล 2 กรัม เราก็จะทราบได้ว่ามีน้ำตาลอยู่ 2 หาร 4 เท่ากับ 0.5 หรือครึ่งช้อนชาต่อการดื่ม 1 กล่องนั่นเอง เราก็สามารถดื่มได้วันละ 2 กล่องอย่างสบายใจ (แต่ก็ต้องระวังปริมาณน้ำตาลเพิ่มเติมจากเครื่องดื่มหวานอื่นๆ ด้วยนะครับ)

5.ไขมันล่ะ ต้องแคร์ไหม

หลายๆ คนก็ยังคงเกรงกลัวการกินไขมัน แต่ความจริงแล้วไขมันสามารถช่วยในการดูดซึมวิตามินหลากหลายชนิด รวมทั้งสารต้านอนุมูลอิสระที่มีบทบาทในการต้านมะเร็งได้ และยังทำให้เราอิ่มท้องได้หลังจากกินอีกด้วย อย่างไรก็ตาม เราควรดูตัวเลขปริมาณไขมันอิ่มตัวบนฉลากโภชนาการ ซึ่งไม่ควรได้รับมากจนเกินไป แต่โดยธรรมชาติแล้ว นมถั่วเหลืองจะมีปริมาณไขมันอิ่มตัวอยู่น้อยมาก (ไม่เกิน 1-2 กรัมต่อกล่อง) จึงไม่ต้องกังวลครับ

6.แคลเซียม วิตามิน ธาตุเหล็ก ต้องมี

นอกจากน้ำตาลและไขมันที่เราต้องให้ความสนใจแล้ว แร่ธาตุและวิตามินต่าง ๆ ที่ได้จากการบริโภคนมถั่วเหลืองก็เป็นสิ่งที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแคลเซียม ซึ่งเป็นสารอาหารที่ได้รับกันน้อยในแต่ละวัน หลายท่านอาจสังเกตพบว่า ทำไมบนฉลากถึงระบุปริมาณแร่ธาตุหรือวิตามินเป็น % หรือร้อยละ ความหมายคือ หากบริโภค 1 หน่วยบริโภคของเครื่องดื่มนั้นๆ แล้ว จะได้รับแร่ธาตุหรือวิตามินที่ระบุบนฉลาก คิดเป็นร้อยละ ของความต้องการต่อวัน เช่น หากพบว่ามีแคลเซียม 50% แปลว่า เมื่อดื่มนมนี้หมด 1 หน่วยบริโภค จะได้รับแคลเซียมคิดเป็น 50% หรือครึ่งนึงของความต้องการในแต่ละวัน

เมื่อเรานำข้อมูลข้างต้นมารวมกันแล้ว จะพิจารณาได้อย่างไรบ้าง มาดูตัวอย่างกันเลยครับ

หากเรากำลังซื้อนมถั่วเหลืองกล่องละ 13 บาท และพบว่า นมถั่วเหลืองยี่ห้อนี้มีขนาด 220 มิลลิลิตร ซึ่งมีรายละเอียดระบุดังนี้

- จำนวนหน่วยบริโภค คือ 1 “แปลว่า กล่องนี้บริโภคได้ 1 ครั้ง”

- มีไขมันทั้งหมด 4 กรัม ไขมันอิ่มตัว 1 กรัม ความหมายตรงตัวครับ ไม่มากเกินไป

- โปรตีน 6 กรัม ถือว่ามีปริมาณพอดีๆ ไม่มากไม่น้อยจนเกินไป ถือว่ารับได้ครับ

- น้ำตาล 14 กรัม ลองนำมาหาร 4 ดู จะคิดออกมาเป็นปริมาณน้ำตาล 3.5 ช้อนชา ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับคำแนะนำในการบริโภคน้ำตาลต่อวัน ไม่ควรเกิน 6 ช้อนชา ก็พบได้ว่า “ไม่มากเกินไป” หากดื่ม 1 กล่องนี้

- มีแคลเซียม 35% วิตามินเอ 10% วิตามินอี 20% ความหมายคือ หากดื่มนมนี้ 1 กล่อง จะได้รับแคลเซียมคิดเป็น 35% ของความต้องการต่อวัน หากเราต้องการให้ได้รับแคลเซียมครบถ้วน ก็จะเหลืออีก 65% ที่จะบริโภค หรืออีกนัยหนึ่งคือ ให้หาเครื่องดื่มหรือนมอื่น ๆ ให้ได้รับแคลเซียมรวมกันให้ได้อีก 65% 

ลองเอาข้อมูลเหล่านี้ เทียบกับนมถั่วเหลืองสัก 1-2 ยี่ห้อ หรือรสชาติ ที่เรากำลังเลือก เท่านี้เราก็จะมีแนวทางในการเลือกนมถั่วเหลืองที่ดีที่สุดและตรงตามความต้องการสำหรับเราแล้วครับผม


พศิษฐ์ คณาศิริชัยนนท์ (กอ.ช.)

ผู้ให้คำปรึกษาด้านโภชนบำบัดโรคต่างๆ 

วิทยากรด้านโภชนาการและสุขภาพ – จัดอบรม, Workshop เพื่อสุขภาพร่วมกับเครือข่ายคนไทยไร้พุง


บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน 

ในโครงการสร้างเสริมสุขภาพประชาชนวัยทำงานในองค์กร

ด้วยการวางระบบ  Intervention & Toolsเพื่อพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็น Healthy Organization  

เครือข่ายคนไทยไร้พุง ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย

สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)


********************************
แถม

ทำอย่างไรถึงจะตัวสูง ??? สูง ไม่สูง เกิดจากอะไร ???

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-08-2008&group=4&gblog=56

ทำอย่างไรถึงจะตัวสูง อาหารเสริมความสูง ?เวบดร่าม่าแอดดิก

https://drama-addict.com/?p=9106

ผ่าตัดเพิ่มความสูงทางลัดสู่ความสำเร็จหรือเจ็บปวด

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-08-2008&group=4&gblog=58

ผ่าตัดยืดกระดูกให้สูงขึ้น ดีจริงหรือ ???

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-08-2008&group=4&gblog=57

นมเพิ่มความสูงผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโคลอสตรุ้ม (Colostrum)เพิ่มความสูงได้ ไม่จริง!อย่าหลงเชื่อ!

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-08-2017&group=4&gblog=131

สารพัด " นม" ที่ควรรู้

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-12-2008&group=4&gblog=65

วิธีเลือกนมถั่วเหลืองให้ได้คุณค่าน่าดื่ม .. Cr. เครือข่ายคนไทยไร้พุง

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=30-01-2018&group=4&gblog=135

ยาเม็ดแคลเซียม

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=29-02-2008&group=4&gblog=19

กระดูกพรุนกระดูกโปร่งบาง

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=27-02-2008&group=4&gblog=15

การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก(BONE DENSITOMERY)

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=29-02-2008&group=4&gblog=16




Create Date : 30 มกราคม 2561
Last Update : 30 มกราคม 2561 20:47:22 น. 0 comments
Counter : 2905 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]