 |
 |
|
36 โรคพบบ่อยในโรงเรียน วิเคราะห์ตู้ยาโรงเรียน ส่งเสริมการใช้ยาอย่างเหมาะสม

มูลนิธิเพื่อการวิจัยและพัฒนา ระบบยา (วพย.) จึงได้จัดทำ 'คู่มือตู้ยาโรงเรียนและ แนวทางการรักษาโรคที่พบบ่อย' โดยรวบรวม 36 โรคที่พบบ่อยในโรงเรียน เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลรักษาการเจ็บป่วยเบื้องต้นของ 36 โรคที่พบบ่อย ๆ ซึ่งได้แก่
ไข้หวัด (Common cold/Upper respiratory tract infection)
มีไข้เป็นพัก ๆ ครั่นเนื้อครั่นตัว อ่อนเพลีย ปวดหนักศีรษะเล็กน้อย คัดจมูก น้ำมูกใส จาม คอแห้งหรือเจ็บคอเล็กน้อย ไอแห้ง ๆ ไอมีเสมหะสีขาวเล็กน้อย ในเด็กโตหรือผู้ใหญ่อาจไม่มีไข้ มีเพียงคัดจมูกน้ำมูกใส
ไข้หวัด ใหญ่ (Influenza/Flu)
มักเกิดขึ้นทันทีทันใด มีอาการไข้สูง หนาว ๆ ร้อน ๆ ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อมาก ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ขมในคอ อาจมีอาการเจ็บคอ คัดจมูก น้ำมูกใส ไอแห้ง ๆ จุกแน่นท้อง
โดยช่วงที่มีการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ H1N1 ผู้ที่มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ (Influenza-like symptom) คือ ผู้ป่วยที่มีอาการไข้มากกว่า 38 องศาเซลเซียส มีอาการไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก ปวดเมื่อย อาเจียน ท้องเสีย และ
ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ เด็กอ้วน เด็กเล็ก (อายุน้อยกว่า 2 ปี ) เด็กมีโรคประจำตัวเป็นหอบหืด โรคหัวใจ โรคตับ โรคไต โรคเบาหวาน หรือโรคที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ (เช่น เอดส์ มะเร็ง เอสแอลอี) โรคทาลัสซีเมีย โรคที่มีความผิดปรกติทางระบบประสาท โรคลมชัก หรือเด็กที่กำลังกินยาแอสไพรินรักษาโรคอื่น
กลุ่มเสี่ยงควรได้รับการดูแล อาการอย่างใกล้ชิดและส่งต่อสถานพยาบาลเมื่ออาการไข้ไม่ดีขึ้นหลังจากติดตาม อาการนาน 2 วัน
นอกจากนี้ในเด็กเล็กหรือผู้ที่มีร่างกายอ่อนแออาจมีอาการมากควรส่งต่อสถาน พยาบาลเมื่ออาเจียนหรือท้องเสียร่วมด้วย กินไม่ได้หรือกินได้น้อยกว่าปรกติอย่างชัดเจนหรือมีภาวะขาดน้ำ เด็กที่มีโรคประจำตัวเป็นหอบหืด และมีอาการไอเหนื่อยหรือหอบมากควรส่งโรงพยาบาลด่วน เมื่อมีอาการซึมผิดปรกติหรือชัก ปวดหัวมาก หนาวสั่นมาก อาเจียนหรือท้องเสียมาก ปวดท้องมาก ซีดเหลือง กินไม่ได้ หรือกินได้น้อยกว่าปรกติอย่างชัดเจน หรือมีภาวะขาดน้ำ มีอาการไอ เหนื่อยหรือหอบมาก
ไข้ เลือดออก (Dengue hemorrhagic fever/DHF)
แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่
ระยะที่ 1 ระยะไข้สูง ผู้ป่วยจะมีไข้สูงซึ่งเกิดขึ้นเฉียบพลัน มีไข้สูงลอยตลอดเวลา กินยาลดไข้ก็มักจะไม่ลด หน้าแดง ตาแดง ปวดศีรษะ กระหายน้ำ ซึม เบื่ออาหาร อาเจียน บางรายอาจปวดท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่หรือใต้ชายโครงขวาประมาณวันที่ 3 ของไข้อาจมีผื่นแดงหรือไม่ก็คันขึ้นตามแขนขาและลำตัว
ระยะที่ 2 ระยะช็อกและมีเลือดออก อาการเกิดขึ้นในวันที่ 3-7 ของโรค ซึ่งถือว่าเป็นช่วงวิกฤต อาการไข้จะเริ่มลดลงแต่อาจมีอาการทรุดหนัก ปวดท้อง อาเจียนบ่อยขึ้น ซึมมากขึ้น กระสับกระส่าย ตัวเย็น มือเท้าเย็น เหงื่อออก ปัสสาวะออกน้อย อาจมีอาการเลือดออกตามผิวหนัง เลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือดสด ๆ หรือเป็นสีกาแฟ ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดสด ๆ หรือเป็นสีน้ำมันดิบ ๆ ถ้าเลือดออกมักทำให้เกิดภาวะช็อกรุนแรงและผู้ป่วยอาจเสียชีวิตในเวลาอันรวด เร็ว ระยะที่ 2 นี้กินเวลาประมาณ 2-3 วัน หากผ่านช่วงวิกฤตไปได้ก็จะเข้าสู่ระยะที่ 3 (ระยะหายเป็นปกติ)
หูชั้นกลาง อักเสบ (Otitis media)
ปวดในรูหู หูอื้อ มีไข้สูงหนาวสั่น บางรายอาจมีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน คลื่นไส้อาเจียน หรือท้องเดิน
เหงือก อักเสบ (Gingivitis) (รำมะนาด หรือโรคปริทนต์)
พบได้ในเด็กและผู้ใหญ่ เกิดจากการรักษาความสะอาดในช่องปากไม่ดี เกิดการสะสมของแผ่นคราบฟันและหินปูน ซึ่งทำให้มีเชื้อแบคทีเรียจำนวนมาก ก่อให้เกิดการอักเสบบวมและอาจมีหนอง ขอบเหงือกส่วนที่ติดกับฟันจะมีอาการบวมแดง มีเลือดออกง่ายเวลาแปรงฟัน
ต่อมาเหงือกจะร่น และเมื่อเป็นรุนแรงจะมีไข้ ปวดเหงือก เลือดออกที่เหงือก มีกลิ่นปาก
คอหอยอักเสบ/ทอนซิล อักเสบ (Pharygitis/Tonsilitis)
คอหอยอักเสบ/ทอนซิลอักเสบจากไวรัส อาจมีไข้หรือไม่มีก็ได้ ผนังคอหอยอาจมีลักษณะแดงเพียงเล็กน้อย ทอนซิลแดง โตเล็กน้อย อาจพบมีน้ำมูกใส ตาแดง คอหอยอักเสบ/ทอนซิลอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย
อาจมีอาการไข้หวัด หรือไข้หวัดใหญ่นำมาก่อน 1-3 วัน มักจะมีไข้ ผนังคอหอยหรือเพดานอ่อนมีลักษณะแดงจัดและบวม ทอนซิลบวมโต มีสีแดงจัด มักมีแผ่นหรือจุดหนองขาว ๆ เหลือง ๆ อยู่บนทอนซิล อาจพบต่อมน้ำเหลืองที่ข้างคอด้านหน้า หรือใต้ขากรรไกรบวมโตและเจ็บ
ไข้หวัดที่มี ภาวะแทรกซ้อน
ได้แก่ ไข้หวัดที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนทำให้มีอาการไข้นานเกิน 4 วัน มีน้ำมูก/เสมหะข้นสีเหลืองหรือเขียวนำมาก่อนและอาจมีอาการอื่น ๆ ที่เกิดจากการลุกลามของเชื้อแบคทีเรียไปยังบริเวณใกล้เคียงทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา มักเกิดขึ้นเมื่อมีสุขภาพอ่อนแอ พักผ่อนไม่เพียงพอ ตรากตรำทำงานหนักหรือไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้องตั้งแต่แรกเริ่มเป็นไข้หวัด
ไซนัสอักเสบ (Sinusitis)
ไซนัส คือ โพรงอากาศเล็ก ๆ ในกะโหลกศีรษะที่อยู่รอบ ๆ จมูก และมีทางเชื่อมมาเปิดที่โพรงจมูกหลายจุด เป็นช่องทางปรกติในการระบายเมือกเพื่อให้ความชื้นและชะล้างโพรงจมูก แต่ถ้ารูเปิดเหล่านี้ถูกอุดกั้น เช่น เป็นหวัดติดเชื้อแบคทีเรีย เมือกในโพรงไซนัสจะไม่ถูกระบายและเอื้อให้เกิดการลุกลามของเชื้อจากโพรงจมูก เข้าไปในไซนัส
ไซนัสอักเสบมักพบเป็นภาวะแทรกซ้อนของไข้หวัด โดยเฉพาะในเด็กซึ่งมักเป็นไข้หวัดได้บ่อย ไซนัสอักเสบมีทั้งชนิดเฉียบพลัน กึ่งเฉียบพลัน และเรื้อรัง ในที่นี้ขอกล่าวถึงเฉพาะไซนัสอักเสบเฉียบพลัน ซึ่งมักเป็นภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนต้น และหวัดภูมิแพ้
หลอดลม อักเสบ (Bronchitis)
ผู้ป่วยมักมีอาการเป็นไข้หวัด เจ็บคอนำมาก่อน จากนั้นมีอาการไอบ่อย ระยะแรกจะไอแห้ง ๆ แล้วไอมีเสมหะเล็กน้อยสีขาว ภายใน 2-3 ชั่วโมง หรือ 2-3 วัน ต่อมาจะมีเสมหะปริมาณมากขึ้น อาจมีลักษณะเป็นสีขาว (หากเกิดจากไวรัสหรือการระคายเคือง) หรือกลายเป็นเสมหะข้นสีเขียวหรือเหลือง (ถ้ามีการติดเชื้อแบคทีเรีย) ผู้ป่วยอาจไม่มีไข้หรือมีไข้ต่ำ ๆ อยู่นาน 3-5 วัน อาจมีเสียงแหบ เจ็บคอ หรือเจ็บหน้าอกเวลาไอ
ปอด อักเสบ/ปอดบวม (Pneumonia)
มักมีอาการไข้ (เฉียบพลันหรือตลอดเวลา) ไอ (ตอนแรกไอแห้ง ๆ ต่อมามีเสมหะสีขาวหรือขุ่นข้นออกเป็นสีเหลืองเขียว) เจ็บหน้าอก และหอบเหนื่อย ส่วนใหญ่มักมีอาการติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนต้นหรือไข้หวัดนำมาก่อน
ฝี แผลพุพอง แผลอักเสบ (Abscess, Impetigo & Ecthyma, Infected wound)
โรคติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง คือ การอักเสบของผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งอาจแสดงอาการได้หลายแบบ ในที่นี้กล่าวถึง ฝี แผลพุพอง และแผลอักเสบ ซึ่งเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในคนทุกวัย โดยเฉพาะในเด็กนักเรียนซึ่งอาจเล่นซุกซนและดูแลความสะอาดร่างกายไม่ทั่วถึง
อีสุก อีใส/ไข้สุกใส/โรคสุกใส (Chicken pox)
เกิดจากเชื้อไวรัส
มีไข้ต่ำ ๆ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยตามตัว มีตุ่มนูนและตุ่มน้ำใสขึ้นตามตัว มักมีอาการคัน ภายใน 1 วัน จะกลายเป็นตุ่มขุ่น ๆ ตุ่มจะแตกง่ายและฝ่อหายไปกลายเป็นสะเก็ด ตุ่มจะขึ้นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อาจขึ้นในปาก ตรงเพดาน ปาก ลิ้น คอหอย ในเด็กโตและผู้ใหญ่มักมีอาการมากกว่าและหายช้ากว่าเด็กเล็ก
มือ เท้า ปาก (Hand Foot an Mouth disease)
แรกเริ่มผู้ป่วยจะมีอาการไข้ และอาจมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหารร่วมด้วย หลังจากนั้น 1-2 วัน จะมีน้ำมูก เจ็บปาก เจ็บคอ ไม่อยากกินอาหาร ในช่องปากจะพบมีจุดนูนแดง ๆ หรือมีตุ่มน้ำใสขึ้นตามเยื่อบุปาก ลิ้นและเหงือก ซึ่งต่อมาจะแตกกลายเป็นแผลตื้น ๆ เจ็บมาก
ขณะเดียวกันก็มีผื่นขึ้นที่มือและเท้า ตรงฝ่ามือ ฝ่าเท้า ซอกนิ้วมือ ตอนแรกจะเป็นจุดแดงราบก่อน แล้วกลายเป็นตุ่มน้ำตามมา
มักมีอาการไข้ประมาณ 3-4 วัน แผลในปากหายภายใน 7 วัน ตุ่มที่มือและเท้าหายภายใน 10 วัน
ส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง ส่วนน้อยที่มีอาการรุนแรง อาจมีอาการปวดศีรษะมาก อาเจียน ซึม ไม่ค่อยรู้ตัว ชัก แขนขาอ่อนแรง หรือหายใจหอบ
หัด (Measles/Rubeola)
เกิดจากเชื้อไวรัส ระยะแรกอาการคล้ายไข้หวัด แต่ไข้จะสูงอยู่ตลอดเวลา และมีอาการไข้สูงขึ้นทันทีทันใด ซึม เบื่ออาหาร น้ำมูกใส ไอแห้ง ๆ น้ำตาไหล ตาแดง อาจมีอาการถ่ายเหลวบ่อยครั้งเหมือนท้องเดิน
ลักษณะเฉพาะของโรค คือ ผื่นขึ้นหลังจากมีไข้ 3-4 วัน เป็นผื่นราบสีแดง ขึ้นทั้งตัว หลังจากผื่นขึ้นไข้ก็จะหายลง และอาการอื่น ๆ ก็ทุเลา
หัด เยอรมัน (German Measles/Rubella)
ระยะแรกมีอาการไม่สบายเพียงเล็กน้อย เช่น ไข้ต่ำ ๆ ปวดศีรษะ ปวดตา เจ็บคอ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ หรืออาจมีอาการไข้หวัด (1) เป็นอยู่ 1-5 วัน จะมีผื่นขึ้นทั่วตัวคล้ายหัด แต่ผื่นจะเล็กกว่า และผื่นจะจางหายไปภายในเวลา 3 วัน
ลักษณะเฉพาะของโรคนี้คือ มีต่อมน้ำเหลืองโตตรงหลังหู หลังคอ ท้ายทอย และข้างคอทั้ง 2 ข้าง
การบาด เจ็บที่ตับหรืออวัยวะอื่นภายในช่องท้อง (Blunt abdominal trauma) เป็นภาวะอันตราย ร้ายแรงพบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุมีโอกาสเกิดขึ้นได้ในโรงเรียน เช่น การถูกแรงกระแทกบริเวณหน้าท้องขณะเล่นกีฬา เล่นเครื่องเล่นต่าง ๆ ถูกของหนัก ๆ หล่นทับบริเวณท้อง ควรส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดโดยด่วน งดให้อาหารและน้ำจนกว่าจะได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์
อาหารไม่ย่อย (Dyspepsia)
มีอาการไม่สบายท้องตรงยอดอกหรือใต้ลิ้นปี่ เกิดขึ้นระหว่างหรือหลังกินอาหาร อาจมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างร่วมกัน จุกเสียด แน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ มีลมในท้อง เรอบ่อย แสบท้อง เรอเปรี้ยว คลื่นไส้ หรืออาเจียนเล็กน้อย ไม่มีอาการผิดปรกติเกี่ยวกับการขับถ่าย
กระเพาะอาหารอักเสบ (Gastritis)
โรคนี้ พบได้ในคนทั่วไป พบมากในผู้ที่กินยาแอสไพรินหรือยาแก้ปวดเป็นประจำ เช่น เด็กที่เป็นโรคหัวใจ โรคข้ออักเสบ โดยจะมีอาการปวดจุกแน่นตรงใต้ลิ้นปี่ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร บางรายอาจมีอาการท้องเดินร่วมด้วย
ท้องเดิน (Diarrhea/Gastroenterities)
ปวดท้อง ถ่ายเป็นน้ำหรือถ่ายเหลวบ่อยครั้ง อาจถ่ายเป็นมูกหรือมูกเลือด หรือบางรายอาจมีไข้ คลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่เป็น หากถ่ายหลายครั้งอาจมีภาวะแทรกซ้อนคือภาวะขาดน้ำ ซึ่งภาวะขาดน้ำมี 3 ระดับ ได้แก่
1. ภาวะขาดน้ำเล็กน้อย จะมีอาการกระหายน้ำ อ่อนเพลียเล็กน้อย แต่หน้าตาแจ่มใส เดินได้ ชีพจรและความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปรกติ
2. ภาวะขาดน้ำปานกลาง เพลียมาก เดินแทบไม่ไหว แต่ยังนั่งได้ รู้สึกตัวดี ตาเริ่มลึก ปากแห้ง ผิวหนังเหี่ยว ขาดความยืดหยุ่น ชีพจรเบาเร็ว ความดันโลหิตต่ำ
3. ภาวะขาดน้ำรุนแรง อ่อนเพลียมาก ลุกนั่งไม่ได้ ต้องนอน ไม่ค่อยรู้สึกตัว มีอาการช็อก (กระสับกระส่าย ตัวเย็น มือเท้าเย็น ชีพจรเบาเร็ว ความดันโลหิตต่ำ ปัสสาวะออกน้อยหรือไม่ออกเลย) ตาลึกมาก ผิวหนังเหี่ยว ปากและลิ้นแห้ง
ปวดประจำเดือน (Dysmenorrhea)
จะเริ่มมีอาการก่อนมีประจำเดือนไม่กี่ชั่วโมง และเป็นอยู่ตลอดช่วง 2-3 วันแรกของการมีประจำเดือน โดยมีอาการปวดบิดเป็นพัก ๆ ที่ท้องน้อย อาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน อารมณ์หงุดหงิดร่วมด้วย ถ้าปวดรุนแรงอาจมีอาการเหงื่อออก ตัวเย็น มือเท้าเย็นได้
กระเพาะ ปัสสาวะอักเสบ (Cystitis)
อาการปัสสาวะกะปริบกะปรอย (ออกทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง) รู้สึกปวดขัดหรือแสบร้อนเวลาปัสสาวะ อาจมีอาการปวดที่ท้องน้อยร่วมด้วย ปัสสาวะอาจมีกลิ่นเหม็น ขุ่น หรือมีเลือดปน
ไส้ติ่ง อักเสบ (Appendicitis)
มีอาการปวดเจ็บตรงท้องน้อยข้างขวาควรนึกถึงโรคนี้ไว้ก่อนเสมอ
ระยะแรก ๆ จะกดถูกบริเวณท้องน้อยข้างขวาแล้วมีอาการเจ็บ กระเทือน ถูกเจ็บ เดินตัวงอ อาการปวดท้องจะต่อเนื่องและปวดแรงขึ้น นานเกิน 6 ชั่วโมงขึ้นไปมักมีอาการเบื่ออาหาร อาเจียน ครั่นเนื้อครั่นตัว มีไข้ต่ำ ๆ หรืออาจไม่มีไข้ก็ได้
ปวด ศีรษะจากความเครียด (Tension-type headache)
ปวดตื้อ ๆ หนัก ๆ ที่ขมับ หน้าผาก กลางศีรษะ หรือท้ายทอยทั้ง 2 ข้าง หรือทั่วศีรษะ หรือปวดศีรษะคล้ายกับเข็มรัดแน่น นาน 30 นาที ถึง 1 สัปดาห์ อาการปวดคงที่ไม่รุนแรง มีบ้างที่อาจรุนแรงจนเป็นอุปสรรคต่อกิจวัตรประจำวัน
ไมเกรน (Migraine)
มักมีอาการกำเริบเป็นครั้งคราว ส่วนใหญ่ปวดแบบตุบ ๆ (เข้ากับจังหวะการเต้นของหัวใจ) ที่ขมับข้างใดข้างหนึ่ง อาจปวดสลับข้างกันในแต่ละครั้ง หรืออาจปวดพร้อมกัน 2 ข้างก็ได้ ปวดมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวร่างกาย ถูกแสง เสียง หรือกลิ่น อาจมีตาพร่ามัว เจ็บหนังศีรษะ มีเส้นพองที่ขมับ
บางคนอาจมีอาการที่เป็นสัญญาณบอกเหตุก่อนที่จะมีอาการปวดศีรษะ ได้แก่ มองเห็นแสงระยิบระยับ เห็นภาพหยักเบี้ยว เห็นภาพเล็กหรือใหญ่เกินจริง เห็นดวงมืดในลานสายตา
สายตา สั้น (Myopia)
มักเห็นอาการได้ชัดตอนอยู่ที่โรงเรียน มีอาการมองไกล ๆ (เช่น มองกระดานดำ ดูโทรทัศน์) เห็นไม่ชัด ต้องคอยหยีตา แต่มองใกล้ ๆ หรืออ่านหนังสือได้ชัดเจน อาจมีอาการปวดศีรษะ ปวดกระบอกตาร่วมด้วย
การบาดเจ็บที่ศีรษะ (Head injury)
อาจเป็นแผลเพียงเล็กน้อย หัวโน หรือฟกช้ำที่หนังศีรษะ หรืออาจรุนแรง กะโหลกร้าว กระทบกระเทือนต่อสมอง มีเลือดออกในสมอง ซึ่งอาจแสดงอาการได้หลายลักษณะ เช่น หมดสติไปชั่วครู่ งง เวียนศีรษะ ปวดศีรษะรุนแรง อาเจียนพุ่ง มีน้ำหรือเลือดออกจากปาก จมูกหรือหู เพ้อ ชัก อัมพาตครึ่งซีก ปากเบี้ยว กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง
ข้อเคล็ด/ข้อแพลง (Sprain)
ปวดเจ็บที่ข้อหลังได้รับบาดเจ็บทันที โดยเจ็บมากเวลาเคลื่อนไหวข้อ หรือใช้นิ้วกดถูก ข้อจะบวม แดง ร้อน อาจพบรอยเขียวคล้ำหรือฟกช้ำ
กระดูกหัก (Fracture/Broken bones)
บริเวณที่หักมีลักษณะบวม เขียวช้ำ เจ็บปวด ซึ่งจะเป็นมากเวลาเคลื่อนไหว หรือใช้มือกดถูกอาจรู้สึกเคลื่อนไหว หรือใช้มือกดถูกอาจรู้สึกเคลื่อนไหวส่วนนั้นลำบาก พบลักษณะผิดรูปผิดร่าง เช่น แขนขาโก่งงอ หรือสั้นยาวไม่เท่ากัน จับกระดูกดูอาจรู้สึกกรอบแกรบ
เวียนศีรษะ เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องเล่น (Motion sickness)
วิงเวียนศีรษะ ตื้อ ๆ หรือโหวง ๆ รู้สึกโคลงเคลง สิ่งรอบข้างหมุน
เป็นลม (Syncope) เป็นลมธรรมดา
มักมีอาการเป็นลมขณะอยู่ในท่ายืน อยู่ดี ๆ ก็รู้สึกใจหวิว แขนขาอ่อนแรง ทรงตัวไม่ไหว ทรุดลงนอนกับพื้น หมดสติอยู่ครู่หนึ่งประมาณ 1-2 นาที แล้วฟื้นคืนสติได้เอง อาจมีอาการเตือนล่วงหน้า เช่น ศีรษะเบาหวิว ตัวโคลงเคลง มองเห็นภาพเป็นจุดดำ ตามัว มีเสียงดังในหู คลื่นไส้
ผื่นลม พิษ (Urticaria)
มีผื่นเป็นวงนูนแดง รูปร่างและขนาดต่าง ๆ กัน ขอบแดง คันมาก เกิดขึ้นที่หน้า แขนขา ลำตัว หรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกายก็ได้ บางคนมีไข้ขึ้นเล็กน้อย ร้อนผ่าวตามร่างกาย
สัตว์ กัด แมลงต่อย
มีรอยถูกสัตว์กัด อาจถลอก หรือมีเลือดออก บวม ช้ำ ปวด อาจมีอาการแพ้คันเป็นผื่นลมพิษ หรือมีอาการแพ้รุนแรงได้ อาการในระบบอื่น ๆ เช่น หากถูกงูพิษต่อระบบประสาทกัดจะมีอาการง่วงซึม หนังตาตก แขนขาอ่อนแรง หายใจลำบาก หากถูกงูที่มีพิษต่อระบบเลือดกัด อาจมีอาการเลือดออกตามร่างกาย ไตวายได้
สิ่งแปลกปลอมเข้าตา
เคืองตา ปวดตา น้ำตาไหล ตาแดง
โรคหิด (Scabies) หิดเป็นโรคผิว หนังอักเสบที่เกิดจากตัวหิด ลักษณะอาการมีตุ่มน้ำใสและตุ่มหนอง คัน ขึ้นกระจายเหมือนกันทั้ง 2 ข้างของร่างกาย มักพบที่ง่ามนิ้วมือ นิ้วเท้า มือ ข้อศอก รักแร้ รอบหัวนม รอบสะดือ ก้น ข้อเท้า อวัยวะเพศ มักมีอาการคันมากโดยเฉพาะเวลากลางคืน อาจเกาะจนมีอาการอักเสบติดเชื้อแบคทีเรีย เป็นตุ่มหนองหรือน้ำเหลืองไหล
โรคเหา (Head louse)
มีอาการคันศีรษะมากโดยเฉพาะเวลากลางคืน พบตัวเหาและไข่เหาเป็นจุดขาว ๆ ติดอยู่บริเวณโคนพบและเส้นผม พบมากบริเวณเหนือใบหูและท้ายทอย
โรคพยาธิ (Parasitosis)
ปวดท้อง อาเจียน เป็นลมพิษเรื้อรัง ผอมแห้งแรงน้อย ขาดอาหาร การวินิจฉัยอาการที่แน่ชัดคือ สังเกตเห็นตัวพยาธิที่ถ่ายหรืออาเจียนออกมา หรือตรวจพบไข่พยาธิในอุจจาระ
นอกจากแนวทาง การวินิจฉัย 36 โรคที่พบบ่อยแล้ว สิ่งสำคัญอีกเรื่องหนึ่งในการดูแลส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการของเด็กคือ การสนับสนุนให้เด็กได้รับประทานอาหารเช้า
โดยนายแพทย์สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย ได้เปิดเผยว่า อาหารเช้าเป็นมื้อที่สำคัญที่สุด โดยเฉพาะในช่วงระยะเวลาระหว่างอาหารเย็นถึงเช้า แม้จะเป็นช่วงที่นอนหลับพักผ่อน ร่างกายยังคงเผาผลาญสารอาหารตามปรกติ ทำให้ปริมาณน้ำตาลในเลือดต่ำลง
หากเด็กไม่กินอาหารเช้าเพิ่มเข้าไปร่างกายจะไปดึงสารอาหารสะสมสำรองในยามจำ เป็นมาใช้แทน ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย หงุดหงิด อารมณ์เสีย ซึ่งส่งผลโดยตรงในด้านการเรียน ด้านอารมณ์ สมอง และความจำของเด็ก เพราะเด็กไม่มีสมาธิในการเรียน และอาจถึงขั้นหน้ามืดเป็นลมได้เนื่องจากสมองได้รับน้ำตาลกลูโคสไปหล่อเลี้ยง ไม่พอ
เด็ก ถือเป็นกำลังและเป็นอนาคตของชาติที่จะเติบโตต่อไป เราจึงมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างพื้นฐานความรู้ ปลูกฝังคุณธรรม ให้การดูแลเอาใจใส่สุขภาพของพวกเขาเริ่มแต่วัยเรียนเพื่อให้พวกเขาเติบโต เป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพแข็งแรงและเป็นคนที่ดีของสังคมต่อไป
สนับสนุนเนื้อหาโดย วงการยา ฉบับ 139
//www.medicthai.com/admin/news_cpe_detail.php?id=545

Create Date : 21 เมษายน 2553 |
Last Update : 21 เมษายน 2553 16:31:43 น. |
|
0 comments
|
Counter : 22468 Pageviews. |
|
 |
|
|
| |
|
 |
หมอหมู |
|
 |
|
Location :
กำแพงเพชร Thailand
[Profile ทั้งหมด]
|
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 763 คน [?]

|
ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ
ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )
หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป ) นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ
ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ
นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )
ปล.
ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com
ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..
|
|
|