Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

นักกีฬาเสียชีวิตคาสนาม เกิดจากอะไร ? .... เขียนโดย 1412 เวบไทยคลินิก



ได้อ่านจากเวบไทยคลินิก น่าจะเป็นประโยชน์และเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง

หัวข้อ 32086: นักกีฬาเสียชีวิตคาสนาม เกิดจากอะไร?

//www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action=display;num=1423544968

เมื่อ: 10กุมภาพันธ์2558  เวลา 12:09pm »

จากข่าวนักกีฬาที่เสียชีวิตในอายุน้อยๆ ที่มีมาเรื่อยๆจนล่าสุดเป็นอดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทยอายุ 38 ปี เสียชีวิตขณะเล่นฟุตบอล
ผมขอแสดงความเสียใจมา ณ ที่นี้ด้วย
สื่อต่างๆมีการนำเสนอข่าวออกไป มักจะเขียนว่าหัวใจล้มเหลว
ก็มีการวิพากษ์วิจารณ์ไปต่างๆนานา ว่าขนาดนักกีฬาแข็งแรง อย่างนักกีฬาทีมชาติ ยังเสียชีวิตได้
ที่หนักข้อจนผมต้องมาตั้งกระทู้นี้ ก็คือสื่อวิทยุ และ โทรทัศน์ มีการนำเสนอที่ไม่ถูกต้องเช่น เวลาเล่นกีฬาคุณต้องหายใจลึกๆ หรือวอร์มร่างกายก่อนจะไม่เป็นแบบนี้ ซึ่งมันไม่ได้เกี่ยวกัน

การเสียชีวิตกะทันหันขณะเล่นกีฬาเกิดจากอะไร?
เกิดจากการที่หัวใจหยุดทำงานหรือหัวใจทำงานไม่ได้ฉับพลัน ภาษาแพทย์เรียกว่า Sudden Cardiac Death
เลือดไม่สามารถถูกสูบฉีดออกไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญต่างๆได้ เช่น สมอง และ หัวใจ จึงหมดสติไปกะทันหันและจบด้วยการเสียชีวิต

ในคนอายุมากๆมีโรคต่างๆก็พอเข้าใจ แต่ นักกีฬาที่แข็งแรงทำไมถึงเกิดขึ้นได้?
ถูกแล้วครับในคนอายุมากๆโดยเฉพาะถ้ามีโรคร่วมต่างๆ
หัวใจหยุดทำงานฉับพลัน มักเกิดจาก หลอดเลือดหัวใจตันกะทันหัน หรือ heart attack และฃภาวะอื่นๆที่มีผลชักนำให้หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ หรือ ทำให้หัวใจทำงานไม่ได้

แต่ในคนอายุน้อยที่แข็งแรงดีเช่นนักกีฬาไม่ควรจะเกิดขึ้นถูกมั๊ยครับ
จึงมีการจัดกลุ่มแยกออกมา ในคนที่อายุน้อยกว่า 35 ปี
เรียกว่า Sudden Cardiac Death in the Young

ว่ากันว่า ผู้เสียชีวิตรายแรกที่ถือเป็น Sudden Cardiac Death in the Young และถูกบันทึกอย่างเป็นทางการ เกิดเมื่อราวๆ 500 ปีก่อนคริสตกาล
ซึ่งก็คือ Phidippides ทหารกรีกที่วิ่งจากเมือง Marathon กลับมายัง Athens เพื่อส่งข่าวถึงชัยชนะเหนือชาวเปอร์เซีย
เป็นระยะทาง 26.2 ไมล์ และ เสียชีวิต ซึ่งเป็นที่มาของการวิ่งมาราธอน 

แล้วมันเกิดจากอะไร?
กำลังจะเล่าแล้วครับผม 
ในคนอายุน้อยๆดูแข็งแรงดีแบบพวกเรา
เกิดได้จากหลายสาเหตุ ไล่ตามลำดับที่พบบ่อยไปนะครับ

1. หัวใจหนาผิดปกติแต่กำเนิด ภาษาแพทย์เรียกว่า Hypertrophic Cardiomyopathy (HCM)
พบได้ราวๆ 1 ใน 3 หรือ 30-40% ของการที่หัวใจหยุดทำงานฉับพลันในอายุน้อยๆ
หัวใจหยุดทำงานฉับพลันในโรคนี้ไม่ได้เกิดจากการตีบตัน ของกล้ามเนื้อหัวใจเวลาบีบตัวแรงๆเร็วๆนะครับ
แต่เกิดจากการนำไฟฟ้าของกล้ามเนื้อที่ผิดปกติ จนนำไปสู่การสั่นพริ้วของกล้ามเนื้อหัวใจ
มีโอกาสเกิดได้มากขึ้นเวลาออกกำลัง
หากชันสูตรศพผู้เสียชีวิต ก็จะทราบได้
โรคนี้สามารถใช้ชีวิตได้ปกติ โดยไม่มีอาการอะไรเลยครับ
หมอตรวจร่างกายไม่เจออะไรผิดปกติก็ยังได้ แต่คลื่นไฟฟ้่าหัวใจอาจจะตรวจพบความผิดปกติ
และการวินิจฉัยโรคนี้ ทำได้โดยอัลตราซาวด์ หรือ เครื่องตรวจแม่เหล็กไฟฟ้าหัวใจ

2. เส้นเลือดหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด
พบได้ราวๆ 20% ของการที่หัวใจหยุดทำงานฉับพลันในอายุน้อยๆ
ทางเดินของเส้นเลือดอาจไปพาดอยู่ระหว่างหลอดเลือดใหญ่
เวลาออกกำลังจะโดนกดทับจากแรงดันในหลอดเลือดใหญ่ที่ล้อมรอบอยู่
หรือ อาจจะมีหลอดเลือดหัวใจน้อยเส้นกว่าปกติ
เมื่อออกกำลังมีโอกาสที่เลือดไปเลี้ยงไม่พอเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดฉับพลันได้
ส่งผลต่อเนื่องให้การนำไฟฟ้าผิดปกติ จนอาจเกิดการสั่นพริ้ว และหัวใจทำงานไม่ได้
คนไข้กลุ่มนี้อาจจะดูแข็งแรง โดยไม่มีอาการผิดปกติใดๆก็ได้
ตรวจร่างกาย หรือ คลื่นไฟฟ้าหัวใจก็ไม่พบความผิดปกติ
แต่ส่วนหนึ่งจะมีอาการเจ็บหน้าอกนำมาก่อนให้เรารู้
การวินิจฉัยต้องฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ หรือ เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์หลอดเลือดหัวใจ

3. กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
พบได้ราวๆ 5% ของการที่หัวใจหยุดทำงานฉับพลันในอายุน้อยๆ
เมื่อหลายเดือนก่อนเราเพิ่งมีน้องอายุ 18 ปี เดินๆอยู่ก็ล้มลงหน้าห้างกลางเมือง
สุดท้ายพบว่าเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ แต่โชคดีที่ห้างนั้นตั้งอยู่ใกล้รพ.ขนาดใหญ่ 5 นาทีถึง น้องก็เลยรอด
ชื่อโรคดูไม่น่ากลัว แต่ สำหรับแพทย์แล้วน่ากลัวมากกกก 

แล้วหัวใจอักเสบเกิดขึ้นได้ยังไง?
พวกนี้เกิดจากการติดเชิ้อไวรัสก็ได้ครับ หรือ อาจจะเกิดจากปฏิกิี่ริยาการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจโดยไม่ติดเชื้อก็ได้
หัวใจหยุดทำงาน จากการนำไฟฟ้าที่ผิดปกติเช่นเดียวกับสองสาเหตุแรก

แล้วมีสาเหตุอื่นๆอีีกมั๊ย?
ที่เหลือพบได้ไม่บ่อยมากครับเช่น
4. โรคการนำไฟฟ้าหัวใจผิดปกติโดยตรง ที่เป็นแต่กำเนิด (แต่เป็นโรคทีแพทย์อาจจะนึกถึงเป็นอันดับแรกๆ เวลามีคนอายุน้อยๆเสียชีวิต)
5. หลอดเลือดใหญ่ฉีกขาดจากโรคเนื้อเยื่อผิดปกติแต่กำเนิด
6. โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันฉับพลันแบบในคนอายุมากๆ
7. การถูกกระแทกที่หน้าอกแรงๆ ภาษาแพทย์เรียกว่า commotio cordis  กระตุ้นให้เกิดการนำไฟฟ้าที่ผิดปกติได้
อย่างการกระโดดถีบยอดอกแรงๆ หรือ ขาคู่ ยิ่งถ้าหลังติดกำแพง หรือแม้กระทั่ง heart break shot หรือหมัดกระแทกเข้าที่หน้าอก อย่างแรงของ ดาเตะ ในการ์ตูนญี่ปุ่นก็เป็นไปได้นะครับ แต่หมัดนั้นต้องแรงมากๆ

Sudden Cardiac Death in the Young เจอได้บ่อยมั๊ย อย่างพวกเราที่นั่งอ่านกระทู้มีโอกาสแค่ไหน?
ไม่เยอะครับ ในเมืองไทยเรายังไม่มีตัวเลขที่ชัดเจน
ถ้าเอาตัวเลขจากต่างประเทศอย่างสหรัฐอเมริกา
โอกาสเกิดราวๆ 1 ต่อ แสนคน นับจากคนอายุน้อยที่ลงทะเบียนเป็นนักกีฬา

เราควรต้องไปตรวจอะไรบ้างเพื่อจะได้รู้ว่ามีโรคพวกนี้ซ่อนอยู่รึเปล่า?
เป็นคำถามที่ดีมากครับ
แม้ในประเทศที่พัฒนาแล้วหลายๆประเทศ ที่ร่ำรวยกว่าเรามาก ก็ไม่สามารถ screen คนไข้ทุกคนได้ ดังนั้นแนะนำว่า
1. หากเคยมีอาการหมดสติมาก่อน หรือ เจ็บหน้าอกเวลาออกกำลัง
2. สมาชิกครอบครัวมีประวัติการหมดสติหาสาเหตุไม่เจอ หรือ เสียชีวิตฉับพลัน
แนะนำให้ไปตรวจกับแพทย์อย่างละเอียด

แม้กระนั้นก็ตาม บางโรคอาจจะตรวจไม่เจอได้ครับ ไม่มีทางที่จะ screen ได้ 100%
ยกตัวอย่างเช่น กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ซึ่งไม่ได้เป็นแต่กำเนิด ตอนไปตรวจอาจจะยังไม่มีอาการอักเสบ หรือ เส้นเลือดหัวใจผิดปกติ ที่ไม่มีอาการหรือไม่แสดงให้เห็นความผิดปกติจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นต้น

ถ้าพบเห็นคนล้มลงไปแบบนี้ จะช่วยได้อย่างไร ?
โทรเรียกรถพยาบาล หรือ เบอร์แพทย์ฉุกเฉินต่างๆ เพราะการรักษาเกือบทั้งหมดต้องช๊อกไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งบ้านเรายังไม่มีเครื่อง AED ในที่สาธารณะอย่างทั่วถึง
การไปให้ถึงห้องฉุกเฉินรพ.ที่เร็วที่สุด จะช่วยคนไข้ได้ครับ

ฝากแชร์ให้คนทั่วไปที่ไม่ได้อยู่ในวงการแพทย์อ่านหน่อยนะครับ
หรือแม้พวกเราเองไม่ว่าเป็นแพทย์สาขาไหนก็อาจจะถูกถามจากคนไข้ได้เช่นกัน 

ส่งโดย: 1412
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 3656 





...............................

แถม เรื่องเครื่อง AED จากเฟส สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) EMIT_1669

https://www.facebook.com/niem1669/photos/a.184197408286083.35030.149774598395031/835895389782945/?type=1

สำหรับเครื่อง AED เป็นเครื่องมือที่ใช้ระบบปฏิบัติการแบบอิเล็กทรอนิกส์พกพา ซึ่งประชาชนทั่วไปก็สามารถใช้เครื่องนี้ได้ โดยเมื่อมีการเปิดการใช้งานของเครื่อง AEDก็จะสามารถวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เป็นอันตรายถึงชีวิต และสามารถให้การรักษาด้วยการช็อกไฟฟ้ากระตุกหัวใจได้โดยใช้กระแสไฟฟ้าหยุดรูปแบบการเต้นของหัวใจที่ผิดจังหวะ เพื่อเปิดโอกาสให้หัวใจกลับมาเต้นใหม่ในจังหวะที่ถูกต้องได้ โดยการรักษานั้นระบบอิเล็กทรอนิกส์ในเครื่องจะออกคำสั่งให้เราเป็นผู้ปฏิบัติตามได้ ที่ผ่านมาได้มีตัวอย่างการนำเครื่องAED มาใช้ในต่างประเทศและเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตให้กับผู้ป่วยฉุกเฉินในภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันได้ ไม่ว่าจะเป็นที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศญี่ปุ่น โดยในประเทศญี่ปุ่นได้มีการกระจายการติดตั้งเครื่องAED ตามที่สาธารณะต่างๆ มากถึง 380,000 เครื่อง และมีแนวโน้มการติดตั้งเพิ่มขึ้นมากที่สุดในโลก เมื่อเทียบกับสัดส่วนของประชากร และสามารถช่วยผู้ป่วยฉุกเฉินให้รอดชีวิตได้มากกว่าร้อยละ 45

โดยประชาชนทั่วไปที่ได้รับการฝึกฝนการใช้เครื่องAED จะสามารถใช้งานได้ ภายใต้คำแนะนำของผู้ปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินผ่านสายด่วน1669

- เริ่มแรกเมื่อผู้ใช้งานเปิดฝาเครื่องAED ให้ฉีกซองบรรจุอิเล็คโทรด โดยแผ่นอิเล็คโทรดจะมีอยู่2ชิ้น ซึ่งชิ้นแรกจะต้องนำไปติดบนทรวงอกตอนบนของผู้ป่วย และชิ้นที่สองจะต้องติดบนผิวทรวงอกตอนล่างของผู้ป่วย
- จากนั้นเครื่อง AED จะทำการวิเคราะห์จังหวะการเต้นของหัวใจ ซึ่งขณะนี้ห้ามผู้ที่ช่วยเหลือสัมผัสตัวผู้ป่วยเด็ดขาด
-จากนั้นเมื่อเครื่องวินิจเสร็จเสร็จแล้วจะขึ้นสัญญาณให้ทำการช็อคไฟฟ้า ให้ผู้ช่วยเหลือกดที่ปุ่มช็อคตามสัญญาณที่ปรากฏอยู่บนตัวเครื่อง และสลับกับการช่วยเหลือฟื้นคืนชีพผู้ป่วยหรือCPR อย่างต่อเนื่อง จนกว่าเจ้าหน้าที่กู้ชีพจะมาถึง โดยการช่วยเหลือควรทำภายใน 3-5 นาที จะช่วยเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของผู้ป่วยฉุกเฉินได้มากขึ้น

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ //www.thaiemsinfo.com/autopagev4/show_page.php?topic_id=525&auto_id=6&TopicPk







แถม
แผ่นพับการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน .. โหลดมาอ่าน ก็ได้ครับ เนื้อหาเข้าใจไม่ยาก แต่มันจะยากตอนที่ทำจริง เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลถึงต้องมีการซ้อมบ่อย ๆ ^_^





การช่วยเหลือผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้น และ AED เครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=07-07-2014&group=4&gblog=102

FW Mail สุขภาพที่หลายคนเข้าใจผิด(หมอแมว) แถมเรื่อง การช่วยชีวิตเบื้องต้น //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-10-2009&group=7&gblog=36

นักกีฬาเสียชีวิตคาสนามเกิดจากอะไร ? .... เขียนโดย 1412 เวบไทยคลินิก //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=10-02-2015&group=4&gblog=106






Create Date : 10 กุมภาพันธ์ 2558
Last Update : 20 สิงหาคม 2560 13:05:53 น. 0 comments
Counter : 5942 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]