Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

การแปลผลการตรวจสุขภาพประจำปี ตรวจอะไร แปลผลอย่างไร ... by drcarebear (นำมาฝาก)



https://drcarebear.exteen.com/20101115/entry


การแปลผลการตรวจสุขภาพประจำปี ตรวจอะไร แปลผลอย่างไร

posted on 15 Nov 2010 10:16

by drcarebear in Health

ช่วงนี้เข้าเทศกาลตรวจประจำปีของหลายๆท่าน หลายๆบริษัท ผลตรวจออกมาเห็นแต่ภาษาอังกฤษที่เป็นรายการแลป พร้อมกันตัวเลข หมอหมีมาสรุปรายการที่ตรวจบ่อยๆ แปลให้ว่าคืออะไรนะครับ


การแปลผลการตรวจสุขภาพประจำปี


การตรวจเลือด

Complete blood count ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด

เป็นการตรวจนับปริมาณเม็ดเลือดแดง รวมทั้งวัดปริมาตรของเม็ดเลือดแดง และรูปร่างของเม็ดเลือดแดงเพื่อบ่งชี้ภาวะของโลหิตจาง การตรวจนับเม็ดเลือดขาวเพื่อดูการติดเชื้อและภูมิต้านทานของร่างกาย และเกร็ดเลือดเพื่อดูความสามารถในการแข็งตัีวของเลือดเพื่อห้ามเลือดเมื่อเก ิดบาดแผล ได้แก่การตรวจ

Red Blood cells count เป็นการนับปริมาณเม็ดเลือดแดงรวมที่ร่างกายสร้างขึ้น จะพบว่าต่ำกว่าปกติเมื่อมีภาวโลหิตจาง

Haemoglobin ฮีโมโกลบิน ทำหน้าที่จับกับออกซิเจนเพื่อนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และจะพบว่าต่ำกว่าปกติถ้ามีโลหิตจาง

Haematocrit คือการตรวจความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงที่อยู่ในเลือดจะพบว่าต่ำกว่าปกติถ้าม ีโลหิตจาง

เม็ดเลือดขาว ทำหน้าที่ในการป้องกันการติดเชื้อโรคและสร้างภูมิต้านทานของร่างกาย โดยแบ่งเป็นชนิดย่อย ๆ ห้า ชนิด ทำหน้าที่ต่าง ๆ กัน

เกร็ดเลือด ทำหน้าที่ในการแข็งตัวของเลือดและป้องกันการเสียเลือด

Blood group หมู่เลือด ในการตรวจหมู่เลือดมีการตรวจแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือ

หมู่ ABO
หมู่ Rh

Erythrocyte Sediment Rate (ESR) เป็นอัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง ซึ่งจะช่วยบอกถึงภาวการณ์อักเสบภายในร่างกาย ทั้งที่เกิดจากการติดเชื้อโรค และการมีความผิดปกติของภูมิคุ้มกันร่างกาย

Hemoglobin Typing เป็นการตรวจเพื่อคัดกรองโรคเลือดธาลัสซีเมีย ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรมที่ำทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง ซึ่งสามารถถ่ายทอดไปยังบุตรได้ และเป็นโรคที่มีความชุกในประเทศไทยค่อนข้างมาก ดังนั้นจึงแนะนำให้ทำการตรวจเพื่อเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์ เนื่องจากโรคธาลัสซีเมียชนิดที่รุนแรงมาก อาจจะทำให้ทารกมีความพิการหรือแท้งตั้งแต่ในครรภ์ได้



โรคเบาหวาน

Glucose การตรวจวัดระัดับน้ำตาลในเลือด เพื่อทำการคัดกรองโรคเบาหวาน และกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน รวมทั้งใช้ติดตามผลการรักษาโรคเบาหวานด้วย

Hemoglobin A1C เป็นการตรวจระดับน้ำตาลสะสมในเลือด โดยจะสามารถบอกได้ถึงภาวะโดยรวมของน้ำตาลในเลือดย้อนหลังได้ในระดับเดือนที่ ผ่านมาเพื่อคัดกรองโรคเบาหวานที่แม่นยำยิ่งขึ้น และประเมินการควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวาน

การตรวจภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน สำหรับผู้ป่วยเบาหวานควรทำการตรวจเพื่อป้องกันภาวะที่เกิดขึ้นจากเบาหวานได้ แก่ การตรวจจอประสาทตา การตรวจการทำงานไต การตรวจการไหลเวียนเลือด



โรคไขมันในเลือดสูง

Total cholesterol ระัดับคอเลสเตอรอลรวมในเลือด เป็นปัจจัยที่มีความเสี่ยงในการเิกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคเส้นเลือดสมอง รวมทั้งความดันโลหิตสูง

HDL-cholesterol ไขมันชนิดดี ไขมันชนิดดี HDL ทำหน้าที่ป้องกัีน LDL และ Cholesterol ไปสะสมที่เส้นเลือดและอวัยวะภายใน สามารถทำให้เพิ่มขึ้นได้โดยการออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ และรับประทานอาหารประเภทปลาทะเลเช่น ปลาแซลมอน ปลาเทราท์

LDL-Cholesterol ไขมันชนิดไม่ดี การติดตามการควบคุมระัดับไขมันในเลือดเพื่อป้องกันความเสียงในการเกิดเส้นเล ือดหัวใจตีบ จะทำการติดตามผลของระดับ LDL ให้ลดลงในระัดับที่เหมาะสม

Triglyceride ไตรกลีเซอไรด์ ไตรกลีเซอไรด์ได้จากการสังเคราะห์ที่ตับและการรับประทานอาหารที่มีไขมัน สาเหตุที่ทำให้ไตรกลีเซอไรด์สูงได้แก่ การไม่ออกกำลังกาย น้ำหนักตัวที่เกินมาตรฐาน การรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป


โรคเก๊าท์

Uric acid ระัดับยูริคในเลือดที่สูงกว่ามาตรฐานจะทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคเำก๊ าท์ โรคนิ่วในไต สาเหตุที่ทำให้ยูริคสูงขึ้นเกิดจากการบริโภคอาหารที่มีพิวรีนสูง ได้แก สัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ ผักบางชนิด เช่น แตงกวา หน่อไม้ฝรั่ง ยอดผัก เช่นชะอม กระุถินเป็นต้น



การทำงานไต

Blood urea nitrogen BUN เป็นการวัดระดับปริมาณของเสียในร่างกายที่ตามปกติร่างกายจะสามารถขับออกไปได ้ หากมีโรคไต จะทำให้มีการคั่งของสารชนิดนี้ในร่า่งกาย แต่อาจพบว่ามีค่าสูงขึ้นเล็กน้อยได้ หากอยู่ในภาวะขาดน้ำ รัีบประทานโปรตีนมากกว่าปกติ
Creatinine เป็นสารที่บ่งถึงการทำงานของไต ซึ่งถ้าหากมีค่าสูงปกติจะแสดงถึงการทำงานของไตที่แย่ลง


การทำงานตับ

Serum glutamic oxaloacetic transaminase (SGOT/AST) เอนไซม์ที่พบได้จากเนื้อเยื่อของอวัยวะหลายชนิดได้แก่ หัวใจ กล้ามเนื้อ สมอง ตับอ่อน ม้าม และไต ซึ่งจะสูงขึ้นผิดปกติ เมื่อมีการบาดเจ็บหรือการอักเสบของอวัยวะดังกล่าว

Serum glutamic Pyruvic transaminase (SGPT/ALT) ลักษณะเดียวกับ SGOT แต่มีความจำเพาะเจาะจงกับตับมากกว่า เนื่องจากพบได้ที่ตับมากกว่าอวัยวะอื่น ๆ ดังนั้นจะพบค่าเอนไซม์นี้สูงขึ้น เมื่อมีการอักเสบของตับ หรือการทำงานของตับมากขึ้นกว่าปกติเช่น การรับประทานยาบางชนิด

Alkaline Phosphatase เอนไซม์ที่สร้างมาจากตับ กระดูก ลำไส้ และรก จะพบว่าสูงผิดปกติเมื่อมีภาวะตับอักเสบ การบาดเจ็บของกระดูก เป็นต้น



การตรวจหาไวรัสตับอักเสบ

ไวรัสตับอักเสบบี การตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ทำได้โดยการตรวจ Hepatitis B Surface Antigen (HbsAg) และทำการตรวจหาภูมิคุ้มกันเชื้อไวรัสตับอักเสบบี โดยการตรวจ Hepatits B Surface Antibody (Anti-HBs) ซึ่งถ้าทำการตรวจแล้วพบว่าเป็นพาหะสำหรับเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ต้องทำการตรวจเพิ่มเติมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคตับ เพื่อทำการรักษาและป้องกันภาวะตับแข็ง หรือตรวจหาความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งตับต่อไป สำหรับผู้ที่ไม่เป็นพาหะของเชื้อไวรัสตับอักเสบบี แต่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันควรได้รับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสต ับอักเสบบี

ไวรัสตับอักเสบเอ ไวรัสตับอักเสบเอจะสามารถติดต่อการจากการปนเปื้อนของเชื้อในอาหารทำให้เกิดภ าวะตับอักเสบ ซึ่งสามารถทำการตรวจหาภูมิคุ้มกันสำหรับเชื้อไวรัสตับอักเสบเอได้ โดยกาการตรวจ HAV IgG หากไม่มีภูมิคุ้มกันควรฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ

ไวรัสตับอักเสบซี การตรวจสำหรับไวรัสตับอักเสบซี จะเป็นการตรวจว่ามีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี หรือไม่ โดยการตรวจ Anti HCV ถ้าตรวจพบว่าผลเป็น Positive แสดงว่ามีการติดเชื้อหรือเป็นพาหะไวรัสตับอักเสบซี จำเป็นต้องพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคตับเพื่อทำการรักษาต่อไป



การตรวจหาสารบ่งมะเร็ง Tumor Marker

Alpha-fetoprotein (AFP) เป็นการตรวจเพื่อคัดกรองมะเร็งตับ ซึ่งหากพบว่าสูงกว่าค่ามาตรฐานจะต้องทำการตรวจโดยละเอียดกับแพทย์ผู้เชี่ยวช าญด้านโรคตับเพื่อยืนยันว่าเป็นมะเร็งตับ แต่อย่างไรก็ตาม ผลการตรวจ AFP อาจสูงขึ้นกว่าปกติได้เล็กน้อยในผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรัง

Carcinoembrionic Antigen (CEA) เป็นการตรวจเพื่อคัดกรองมะเร็งลำไส้ อาจพบว่าสูงขึ้นได้ในผู้ป่วยมะเร็งปอด ตับ ตับอ่อน และสามารถพบได้ในผู้ที่สูบบุหรี่จัดมาเป็นเวลานาน ภาวะตับแข็ง หากพบว่าสูงกว่าค่ามาตรฐานต้องทำการตรวจโดยละเอียดเช่นการส่องกล้องตรวจลำไส ้ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

Prostate Specific Antigen (PSA) เป็นการตรวจคัดกรองสำหรับมะเร็งต่อมลูกหมาก อาจจะพบว่าสูงกว่าปกติได้ในผู้ป่วยที่มีต่อมลูกหมากโต ควรจะทำการตรวจ PSA ในผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 50 ปีและควรทำการตรวจเป็นประจำทุกปี

CA125 เป็นการตรวจคัดกรองสำหรับมะเร็งรังไข่ และสามารถพบว่าสูงขึ้นได้ในผู้ป่วยที่มีถุงน้ำที่รังไข่ ก้อนเนื้อที่รังไข่ หรือมีการอักเสบในอุ้งเชิงกราน ซึ่งหากพบว่ามีค่าสูงกว่ามาตรฐานควรพบสูตินรีแพทย์เพื่อทำการตรวจเพิ่มเติมเ ช่น การตรวจอัลตราซาวน์ช่องท้องส่วนล่าง หรือการส่องกล้องเพื่อตรวจภายในช่องท้อง

Ca15-3 เป็นการตรวจคัดกรองสำหรับมะเร็งเต้านม อย่างไรก็ตามการตรวจมะเร็งที่ได้ผลดีและเป็นที่น่าเชื่อถือมากกว่าคือการตรว จ เอ๊กซเรย์และอัลตราซาวน์เต้านม (Mammogram)

CA19-9 เป็นการตรวจคัดกรองสำหรับมะเร็งตับอ่อนและทางเดินอาหาร หากพบว่าสูงกว่ามาตรฐานควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินอาหารเพื่อทำการตรวจเพิ่มเติม



การตรวจปัสสาวะ

การตรวจปัสสาวะเป็นการตรวจเพื่อดูการทำงานของไต และระบบทางเดินปัสสาวะ โดยก่อนตรวจควรทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศให้สะอาด และการเก็บปัสสาวะต้องเก็บปัสสาวะส่วนกลาง โดยทิ้งส่วนต้นและส่วนท้ายออกเพื่อป้องกันการปนเปื้อนและสามารถแปลผลได้อย่างถูกต้อง ในการตรวจปัสสาวะจะเริ่มตั้งแต่การตรวจสี ความใส ความเป็นกรดด่าง และการตรวจหาสารต่าง ๆ ที่จะปนมาในปัสสาวะได้แก่

- โปรตีน ถ้าพบว่ามีโปรตีนปนมาในปัสสาวะต้องทำการตรวจการทำงานไตโดยละเอียดเนื่องจากอ าจมีความผิดปกติของการทำงานไต

- น้ำตาล หากพบว่ามีน้ำตาลปนมาในปัสสาวะอาจบ่งถึงภาวะเบาหวานควรตรวจเพิ่มเติมเพื่อวิ นิจฉัยภาวะเบาหวาน

- เลือด หากพบว่ามีเลือดปน อาจเกิดจากนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ ความผิดปกติของกระเพาะปัสสาวะเช่นมีเนื้องอกหรือมีการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ จึงต้องทำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุ



การตรวจอุจจาระ

หลาย ๆ ท่านอาจจะเข้าใจว่าการตรวจอุจจาระไม่สำคัญ เพียงเข้าใจว่าทำการตรวจเพื่อหาพยาธิ หรือโรคติดเชื้อในทางเดินอาหาร แต่อันที่จริงแล้วการตรวจหาเลือดที่ปนในอุจจาระ Stool Occult Blood มีความสำคัญในการคัดกรองการเกิดมะเร็งลำไส้ โดยมีหลักฐานการวิจัยที่ยืนยันว่าการตรวจอุจจาระช่วยในการวินิจฉัยมะเร็งลำไ ส้ได้ตั้งแต่ระยะแรก และหากพบว่ามีเลือดปนในอุจจาระต้องทำการตรวจเพิ่มเติมโดยการส่องกล้องเพื่อตรวจทางเดินอาหารโดยละเอียด



พูดคุยกับ Dr.Carebear Samitivej
https://www.facebook.com/DrCarebear







แถม ..




การแปลผลการตรวจสุขภาพประจำปี 2548

https://www.dusit.ac.th/department/anamai/pla_result.html


การแปลผลการตรวจเลือด

https://www.siamhealth.net/public_html/Health/Lab_interprete/labo_main.htm




ตรวจสุขภาพประจำปี จำเป็นหรือไม่

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=09-06-2008&group=4&gblog=45

แนวทางการตรวจสุขภาพของประชาชน

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=01-07-2008&group=4&gblog=52

ตรวจร่างกายประจำปี.. สิ่งที่ได้คือความแข็งแรง หรือ ความเจ็บป่วย?? .. นำมาฝากไม่ได้เขียนเอง ..

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=11-06-2010&group=4&gblog=83

ตรวจสุขภาพประจำปี ตรวจอะไร แปลผลอย่างไร ... bydrcarebear (นำมาฝาก)

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=30-12-2011&group=4&gblog=93

ตรวจสุขภาพประจำปี ที่แท้จริงหมายถึงอะไรตรวจไปเพื่ออะไร

https://www.hitap.net/167211

ตรวจคัดกรองต่างจากตรวจวินิจฉัยอย่างไร

https://www.hitap.net/167233

ตอนที่ 1ตรวจร่ายกายเท่าที่จำเป็น สำหรับผู้หญิง

https://www.hitap.net/167411

ตอนที่ 2ตรวจร่างกายเท่าที่จำเป็น สำหรับผู้ชาย

https://www.hitap.net/167420

ตรวจอะไรได้ไม่คุ้มเสีย

https://www.hitap.net/167523

ข้อเสนอเพื่อการพัฒนาระบบการคัดกรองทางสุขภาพที่เหมาะสมสำหรับประชาชนไทย

https://www.hitap.net/research/17560

การศึกษาเพื่อพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ด้านการคัดกรองทางสุขภาพระดับประชากรในประเทศไทย

https://www.hitap.net/research/17573

เว็บไซต์ตรวจสุขภาพด้วยตนเองอย่างง่าย

https://www.mycheckup.in.th/

หนังสือเช็คระยะสุขภาพ

https://www.hitap.net/news/24143

หนังสือเช็คระยะสุขภาพ ตรวจดีได้ ตรวจร้ายเสีย

https://www.hitap.net/documents/18970

https://www.hitap.net/research/17573




Create Date : 30 ธันวาคม 2554
Last Update : 12 กันยายน 2561 13:51:55 น. 5 comments
Counter : 25420 Pageviews.  

 




การแปลผล เมื่อตรวจเลือดมาแล้ว ค่าต่างๆเรารู้อะไรบ้าง

ข้อมูลเกี่ยวกับค่าต่างๆ จากผลการตรวจเลือด

ผลการตรวจจำนวนและปริมาณสารนำอ๊อกซิเจนของเม็ดเลือดแดง
รายละเอียด Hemoglobin (ฮีโมโกบิน)
ความหมาย เป็นสารสีแดงในเม็ดเลือดมีหน้าที่ช่วยจับออกซิเจน
ค่าของ Hb ใช้บอกภาวะโลหิตจาง
ค่ามาตรฐาน M=13-18 F=12.5-16.5

รายละเอียด Hemotocrits (ความเข็มข้นเลือด)
ความหมาย เป็นเปอร์เซนต์ของเม็ดเลือดแดงอัดแน่นเทียบกับปริมาตรของเลือดทั้งหมด ค่านี้ใช้บอก
ภาวะโลหิตจางหรือข้นของเลือดปกติ
-ถ้า ต่ำกว่า 30% ถือว่า ต่ำมาก อาจจะต้องพิจารณาให้เลือดช่วยในบางราย
-ถ้า สูงมาก อาจจะต้อง ระวัง โรคที่มีการสร้างเม็ดเลือดแดงขึ้นมามากผิดปกติ
ค่ามาตรฐาน M=40-50% F=35-47%

ผลการตรวจจำนวนและชนิดเม็ดเลือดขาว
รายละเอียด White Blood Cell Count (WBC)
ปริมาณเม็ดเลือดขาวทุกชนิด ในเลือดรวมกัน
ความหมาย -ถ้า ต่ำมาก อาจจะเกิดจาก โรคที่มีภูมิต้านทานต่ำบางอย่าง หรือ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสบางประเภท หรือ โรคที่มีการสร้างเม็ดเลือดผิดปกติ
ถ้า สูงมาก อาจจะเกิดจากการติดเชื้อพวกแบคทีเรีย แต่จะต้องดูผลการนับแยกชนิดของเม็ดเลือดขาว (Differential Count)
ค่ามาตรฐาน 5 ,000-10,000 cell/dl

ผลการตรวจปริมาณเกร็ดเลือด
รายละเอียด Platelets (เกล็ดเลือด)
ความหมาย เป็นเซลเม็ดเลือดที่ช่วยในการหยุดไหลของเลือดเวลาเกิดบาดแผล
ค่ามาตรฐาน 140-450 x1000

ผลการตรวจปริมาณน้ำตาลในเลือด
รายละเอียด Fasting Blood Sugar (FBS)
ความหมาย ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด ที่เจาะหลังงดอาหารไม่น้อยกว่า 6 ชม
ค่ามาตรฐาน 70-120 mg/dl

ผลการตรวจสมรรถภาพการทำงานและการขับถ่ายของเสียของไต
รายละเอียด Blood Urea Nitrogen (BUN)
ความหมาย ใช้เพื่อดูการทำงานของไตคู่กับ Creatinine ในคนที่ไตทำงานกำจัดสารพิษ ออกจากร่างกายได้น้อยลง (ไตวาย) จะมีสารนี้สูง
ค่ามาตรฐาน 8.0-20.0 mg/dl

รายละเอียด Creatinine
ความหมาย เป็นการตรวจการทำงานของไต ในการกำจัดของเสีย ถ้าคนไข้ที่มีภาวะไตวาย จะมีค่าตัวนี้สูงกว่าปกติ
ค่ามาตรฐาน 0.8-2.0 mg/dl

ผลการตรวจปริมาณสารยูริคในเลือด(โรคข้ออักเสบชนิดเก๊าท์)
รายละเอียด Uric Acid
ความหมาย เป็นเกลือยูริคในกระแสเลือด พบสูงได้ในโรคเก๊าต์
ค่ามาตรฐาน M= 3.4-7 mg/dl F= 2.4-5.7 mg/dl

ผลการตรวจปริมาณไขมันในเลือด
รายละเอียด Cholesterol
ความหมาย เป็นไขมันในเลือด ถ้า สูงมาก จะทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดตามที่ต่างๆ เช่นสมอง หัวใจ หรือไต เป็นต้น
ค่ามาตรฐาน 150-250 mg/dl

รายละเอียด Triglyceride
ความหมาย เป็นไขมันอีกในเลือด ถ้า สูงมาก จะทำให้เกิดการอุดตันหลอดเลือด
ค่ามาตรฐาน 60-160 mg/dl

รายละเอียด High Density Lipoproteins (HDL)
ความหมาย เป็นไขมันชนิดที่มีความหนาแน่นของโมเลกุลสูง ตัวนี้ช่วยในการนำพวกไขมันที่เกิดโทษ (เช่น Cholesterol และ Triglyceride)
ไปกำจัดทิ้ง ซึ่งจะทำให้มีการ อุดตันหลอดเลือดตามอวัยวะต่างๆได้น้อยลง
ค่ามาตรฐาน 30-60 mg/dl (มากดี)

ผลการตรวจภาวะตับอักเสบ และหรือการอุดกั้นทางเดินน้ำดี
รายละเอียด AST( SGOT) และ ALT (SGPT)
ความหมาย สองตัวนี้เป็นเอนไซม์ของตับ ที่จะพบเมื่อมีการทำลายของเซลล์ตับ เช่นเกิดจากภาวะตับอักเสบจากโรคต่างๆ
ค่ามาตรฐาน 0-40 U/L 0-35 U/L

รายละเอียด Alk. Phosphatase
ความหมาย ค่าเอนไซม์ของเลือด ถ้าพบสูงมาก จะระบุว่าอาจจะมีการอุดตันของระบบทางเดินน้ำดีในตับ
ค่ามาตรฐาน 98-279 U/L

ผลการตรวจปัสสาวะ (Urine Exam)
เป็นการตรวจเบื้องต้นที่สามารถบ่งบอกถึง เบาหวาน โรคไต การติดเชื้อทั่วไป
รายละเอียด Color
ความหมาย ลักษณะสีของปัสสาวะ
ค่ามาตรฐาน สีเหลือง (Yellow)

รายละเอียด Appearance
ความหมาย ลักษณะปรากฏของปัสสาวะ
ค่ามาตรฐาน ใส ( clear )

รายละเอียด pH
ความหมาย ดูความเป็นกรด ด่าง เป็น กรดพบในภาวะอดอาหาร รับประทานโปรตีนมากไป หรือการติดเชื้อจากยาบางชนิดเป็น ด่าง พบในภาวะกินเจ หรือยาบางชนิด
ค่ามาตรฐาน 6-8

รายละเอียด Spc. Gravity (ความถ่วงจำเพาะ)
ความหมาย -ถ้า สูงเกินไป อาจจะเกิดจากร่างกายขาดน้ำ เช่นดื่มน้ำน้อย ท้องร่วงรุนแรง
-ถ้า ต่ำไป อาจจะเกิดจาก กินน้ำมากเกิน ร่างกายจึงกำจัดน้ำออกมาทางปัสสาวะเยอะหรือเป็นโรคที่ทำให้มีปัสสาวะมีน้ำออกมามากผิดปกติ เช่น โรคเบาจืด
ค่ามาตรฐาน 1.003-1.035

รายละเอียด Protein (Albumin)
ความหมาย การพบไข่ขาวในปัสสาวะแสดงถึงไตทำหน้าที่ผิดปกติ สามารถพบได้ในภาวะโรคเบาหวานหรือคนไข้โรคไต
ค่ามาตรฐาน Negative

รายละเอียด Sugar (glucose)
ความหมาย การเจอน้ำตาลในปัสสาวะแสดงว่าอาจเป็นโรคเบาหวาน (ปกติจะรายงานปริมาณมากน้อย เป็น + 1,+2,+3,+4 ตามลำดับ)
ค่ามาตรฐาน Negative

รายละเอียด Blood
ความหมาย การเจอเลือดแสดงว่ามีเลือดออกในทางเดินปัสสาวะ เช่น นิ่ว เนื้องอก กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
ค่ามาตรฐาน Negative

รายละเอียด Ketenes
ความหมาย การพบสารนี้ หมายถึง อาจเกิดจาก ภาวะอดอาหาร เบาหวาน พิษจากสุรา
ค่ามาตรฐาน Negative

รายละเอียด WBC (เม็ดเลือดขาว)
ความหมาย ในคนปกติ ไม่ควรมีเม็ดเลือดขาวในปัสสาวะเลย
- ถ้า พบมาก แสดงว่ามีการอักเสบติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ เช่นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือกรวยไตอักเสบ
ค่ามาตรฐาน 0 - 5

รายละเอียด RBC (เม็ดเลือดแดง)
ความหมาย ในคนปกติ ไม่ควรมีเม็ดเลือดขาวในปัสสาวะเลย
- ถ้าพบแสดงว่ามีเลือดออกในทางเดินปัสสาวะอาจมาจากอุบัติเหตุ (ถ้ามีประวัติบ่งชี้ว่าได้รับการกระแทกตามทางเดินปัสสาวะ) หรือมีเนื้องอกในทางเดินปัสสาวะหรือมีนิ่วในทางเดินปัสสาวะ
ค่ามาตรฐาน 0 - 5

รายละเอียด Epithelium
ความหมาย เป็นการตรวจหาเชื้อไวรัส ตับอักเสบชนิด B ว่ามีในเลือด
Negative = ไม่พบเชื้อ
Positive = พบเชื้อ
ค่ามาตรฐาน Negative

ผลการตรวจเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในเลือด (สำหรับผู้สัมผัสอาหาร)
รายละเอียด HBs Ag
ความหมาย เป็นการตรวจหาเชื้อไวรัส ตับอักเสบชนิด B ว่ามีในเลือด
Negative = ไม่พบเชื้อ
Positive = พบเชื้อ
ค่ามาตรฐาน Negative

รายละเอียด HBs Ab
ความหมาย เป็นการตรวจหาระดับ ภูมิต้านทานต่อเชื้อตับอักเสบชนิด B
Negative = ไม่มีภูมิต้านทาน
Positive = มีภูมิต้านทาน
ค่ามาตรฐาน Positive

วันนี้คุณตรวจสุขภาพประจำปีแล้วหรือยัง

หวังว่าคงไม่ได้โรคมาเพิ่มอีกนะ

ขอบคุณข้อมูลดีดีจาก //www.i-medipro.com
และ //www.dusit.ac.th


โดย: หมอหมู วันที่: 30 ธันวาคม 2554 เวลา:16:16:46 น.  

 


+++การแปลผลตรวจห้องปฏิบัติการ+++


การตรวจเลือด


กรุ๊ปเลือด (Blood Group) ปกติกรุ๊ปเลือดจะรายงานผลออกมา เป็นสองระบบคือ ABO System และ Rh System โดยจำแนกตาม Antigen บนเม็ดเลือดแดงที่มีอยู่
ในระบบ ABO จะแบ่งออกได้ สี่กรุ๊ปคือ A , B , AB และ O

Group O พบมากสุด, A กับ B พบพอๆ กัน และ AB มีน้อยที่สุด)ในระบบ Rh จะรายงานได้เป็นสองพวก
1. +ve หรือ Rh+ve คือ พวกที่มี Rh (Rhesus) Antigen บนเม็ดเลือดแดง พวกนี้พบได้มากเกือบทั้งหมดของคนไทยเป็นพวกนี้

2. -ve หรือ Rh-ve คือ พวกที่ไม่มี Rh (Rhesus) Antigen บนเม็ดเลือดแดง พวกนี้พบได้น้อยมาก คนไทยเราพบเลือดพวกนี้ แค่ 0.3%เป็นพวกที่บางครั้งเรียกว่า ผู้มีโลหิตหมู่พิเศษ จะพบได้มากขึ้นในชาวไทยซิกข์ (แต่ในคนพวกนั้น แม้ว่าจะมี Rh-ve มากกว่าคนไทยปกติ แต่ส่วนใหญ่ก็ยังคงเป็นพวก Rh +veอยู่ดี)

ตัวอย่างการรายงานกลุ่มเลือดเช่น A+ve คือ เลือดกรุ๊ป A Rh+ve ตามปกติ AB-ve อันนี้เป็น กรุ๊ป AB และ เป็นหมู่เลือดพิเศษ Rh-ve ซึ่งหายากที่สุด ปกติ AB ในคนไทยพบน้อยกว่า 5% ถ้าเป็น AB-ve นี่ พบแค่ 1.5 คน ในหมื่นคนเท่านั้น


CBC (Complet Blood Count ) เป็นการตรวจเลือดทั่วๆ ไปที่ใช้กันบ่อยที่สุด ช่วยในการวินิจฉัยโรคได้หลายอย่างๆ การรายงานจะมีค่าที่เกี่ยวข้องออกมาหลายตัว ซึ่งต้องดูประกอบไปด้วยกันหลายๆ ค่า ค่อนข้างยุ่งยากเล็กน้อย แต่ก็เป็นการตรวจ ที่สำคัญอันนึง (บางแห่งใช้เป็นการตรวจพื้นฐานก่อนรับคนไข้นอนรพ.คู่กับ การตรวจปัสสาวะ (U/A)

ค่าต่างๆ ที่รายงานใน CBC ได้แก่

Hct (Hemotocrits) หรือ เปอร์เซนต์ของเม็ดเลือดแดงอัดแน่นเทียบกับปริมาตร ของเลือดทั้งหมด ค่านี้ใช้บอกภาวะโลหิตจาง หรือ ข้น ของเลือด

ปกติ คนไทย Hct จะอยู่ประมาณ 30กว่า % ถึง 40 กว่า% ถ้าต่ำกว่า 30% ถือว่า ต่ำมาก อาจจะต้องพิจารณาให้เลือด ช่วยในบางราย ถ้าHct สูงมากอาจจะต้อง ระวังโรคที่มีการ สร้างเม็ดเลือดแดงขึ้นมามากผิดปกติ หรือพวกไข้เลือดออกในระยะช้อค ก็จะมีค่าตัวนี้สูงเนื่องจากน้ำเลือดหนีออกจากเส้นเลือด (ต้องดูค่าอื่นๆ ประกอบด้วย)

Hb (Hemoglobin) เป็นสารสีแดงในเม็ดเลือดมีหน้าที่ช่วยจับอ๊อกซิเจน ค่าของ Hb ใช้บอกภาวะโลหิตจาง เช่นเดียวกันกับ Hct

ค่าปกติของ Hb มักจะเป็น 1/3 เท่าของ Hct และหน่วยเป็น Gm% เช่น คนที่ Hct 30% จะมี Hb =10 gm% เป็นต้น



WBC (White Blood Cell Count) หรือ ปริมาณเม็ดเลือดขาวทุกชนิด ในเลือดรวมกัน ค่าปกติ จะอยู่ ประมาณ 5000-10000 cell/ml

ถ้าจำนวน WBC ต่ำมาก อาจจะเกิดจากโรคที่มีภูมิต้านทานต่ำบางอย่าง หรือ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสบางประเภท หรือ โรคที่มีการสร้างเม็ดเลือดผิดปกติ เช่น Aplastic Amemia หรือไขกระดูกฝ่อซึ่งจะทำให้มีการสร้างเม็ดเลือดทุกชนิดลดลงทั้งหมด (ทั้ง เม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง และเกร็ดเลือด ต่ำหมดทุกตัว)

ถ้าWBC มีจำนวนสูงมาก อาจจะเกิดจากการติดเชื้อพวกแบคทีเรีย แต่จะต้องดูผล การนับแยกชนิดของเม็ดเลือดขาว (Differential Count) ประกอบด้วย

แต่ถ้าจำนวน WBC สูงมากเป็นหลายๆ หมื่นเช่น สี่ห้าหมื่น หรือเป็นแสน อันนั้นจะทำให้สงสัยพวกมะเร็งเม็ดเลือดขาว แต่จะต้องหาดูพวกเซลล์เม็ดเลือดขาว ตัวอ่อนจากการแยกนับเม็ดเลือดขาว หรือเจาะไขกระดูกตรวจอีกครั้ง (มะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia) อาจจะมีจำนวนเม็ดเลือดขาวปกติ หรือ ต่ำกว่าปกติ ก็ได้เรียกว่า Aleukemic Leukemia)



Differential Count การนับแยกชนิดของเม็ดเลือดขาว จะรายงานออกมาเป็น % ของเม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆ (ดังนั้นรวมกันทั้งหมดทุกชนิดจะต้องได้ 100 (%) พอดี) ตัวสำคัญหลักๆ ดังนี้

PMN หรือ N หรือ Neu (Polymorphonuclear cell หรือ Neutrophil) ตัวนี้ ค่าปกติ ประมาณ 50-60% ถ้าสูงมาก (เช่นมากกว่า 80% ขี้นไป และโดยเฉพาะถ้า สูงและมีปริมาณWBC รวม มากกว่าหมื่น ขึ้นไป จะทำให้นึกถึงภาวะมีการติดเชื้อแบคทีเรีย

Lymp หรือ L (Lymphocyte) หรือเม็ดน้ำเหลือง พวกนี้ปกติ จะพบน้อยกว่า PMN เล็กน้อย (สองตัวนี้รวมกัน จะได้เกือบ 100 % ของเม็ดเลือดขาวทั้งหมด) ถ้าพบ Lymp ในปริมาณ สัดส่วนสูงขึ้นมามากๆ โดยเฉพาะร่วมกับ ภาวะเม็ดเลือดขาว(WBC)โดยรวมต่ำลง อาจจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัส โดยเฉพาะถ้ามี Lymp ที่รูปร่างแปลกๆและตัวโตผิดปกติ ที่เรียกกันว่า Atypical Lymphocyte จำนวนมากร่วมกับ เกล็ดเลือดต่ำ และ Hct สูง จะพบได้บ่อยในคนไข้ ไข้เลือดออก

Eosin หรือ E (Eosinophil) พวกนี้เป็นเม็ดเลือดขาว ที่ปกติไม่ค่อยพบ (อาจจะพบได้ 1-2%) แต่ถ้าพบสูงมากเช่น 5-10% หรือมากกว่า พวกนี้จะสงสัยว่าเป็น พวกโรคภูมิแพ้ หรือพยาธิในร่างกาย

นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายตัว เช่น B หรือ Basophil , M หรือ Monocyte และพวกตัวอ่อนของเม็ดเลือดขาว ซึ่งจะพบในโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว จะรายงานเมื่อพบ และต้องการการตรวจละเอียดเพิ่มต่อไป

Platelets หรือเกล็ดเลือด เป็นเซลเม็ดเลือด คล้ายเศษเม็ดเลือดแดง เป็นตัวที่ช่วยในการหยุดไหล ของเลือด เวลาเกิดบาดแผล คนปกติ จะมีจำนวนประมาณ แสนกว่าเกือบสองแสน ขึ้นไปถึงสองแสนกว่า การรายงานอาจจะรายงานเป็นจำนวน cell/ml เลยจากการนับ หรือ จากการประมาณด้วยสายตาเวลาดูสไลด์ที่ย้อมดูเม็ดเลือด แล้วประเมินปริมาณคร่าวออกมาดังนี้
- Adequate หรือเพียงพอ หรือพอดี หรือปกติ - Decrease หรือ ลดลงกว่าปกติ หรือต่ำกว่าปกติ พวกนี้มักจะพบในคนไข้ที่ติดเชื้อพวกไวรัส (เช่นไข้เลือดออก) หรือ มีการสร้างผิดปกติ หรือ โรคเกล็ดเลือดต่ำโดยไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic Thrombocytopenic Purpura (ITP) ซึ่งทำให้มีเลือดออกง่ายและเกิดจ้ำเลือได้ตามตัว พบได้บ่อยพอสมควร
- Increase พบได้ในบางภาวะเช่นมีการอักเสบรุนแรง มีเนื้องอกบางชนิดในร่างกายหรือ มีการเลือดฉับพลัน (จะมีการกระตุ้นให้ไขกระดูกเร่งสร้างเกล็ดเพื่อไปช่วยทำให้เลือดหยุด และอุดบาดแผล) นอกจากนี้ยังมีพวกที่เกล็ดเลือดสูงขึ้นมาเองโดยไม่มีสิ่งกระตุ้น ต่างๆ ก็ได้ เรียกว่า Essential Thrombocytosis

(พวกที่มีความผิดปกติ ทั้ง Decrease และ Increase นี่อาจจะต้อง นับ Platelets ให้ละเอียดแล้วรายงานเป็นตัวเลขอีกที)

RBC Morphology หรือรูปร่างของเม็ดเลือดแดง จะมีรายงานออกมาหลายรูปแบบ ตามลักษณะที่มองเห็น ซึ่งจะช่วยแยกโรคได้หลายอย่าง เช่น บอกว่าเป็น ธาลลาสซีเมียได้คร่าวๆ หรือ บอกภาวะโลหิตจาง จากการขาดเหล็กเป็นต้น และบางครั้ง อาจจะเห็นพวก มาเลเรีย อยู่ในเม็ดเลือดแดงด้วยก็ได้



การตรวจปัสสาวะ


U/A (Urinary Analysis) คือการตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะ จะมีค่าที่รายงานออกมาหลายอย่างเช่น
ลักษณะของปัสสาวะทั่วไป เช่น ความขุ่นใส สี คนปกติ ควรมีสีเหลืองอ่อนและใส ( Yellow Clear)
Sp G (Specific Gravity) = ความถ่วงจำเพาะ คนปกติจะอยู่ประมาณ 1.010 ถึง 1.020
......ถ้าสูงเกินไป อาจจะเกิดจากร่างกายขาดน้ำ เช่นดื่มน้ำน้อย ท้องร่วงรุนแรง หรือในเด็กเป็นไข้เลือดออกที่กำลังช้อค และได้น้ำชดเชย น้อยเกินไปทำให้ขาดน้ำในกระแสเลือด จะทำให้ปัสสาวะเข้มข้น
......ถ้าต่ำไป อาจจะเกิดจาก กินน้ำมากเกิน ร่างกายจึงกำจัดน้ำ ออกมาทางปัสสาวะเยอะ หรือ เป็นโรคที่ทำให้มีปัสสาวะมีน้ำออกมา มากผิดปกติ เช่น โรคเบาจืด

pH หรือ ความเป็นกรดเป็นด่างของปัสสาวะ คนปกติจะมี pHประมาณ 6-8 ค่าความเป็นกรด และด่างของปัสสาวะมีผลต่อการออกฤทธิ์ ของยาบางอย่างและการตกตะกอน ของสารบางอย่าง ในปัสสาวะทำให้เกิดนิ่วได้
Alb (Albumin) หรือ Protein คือโปรตีนไข่ขาว ปกติในปัสสาวะไม่ควรมีโปรตีนไข่ขาวนี้ หลุดออกมา แต่ถ้าไตทำงานผิดปกติ จะมีAlb ออกมาในปัสสาวะ เช่นคนไข้ โรคไตชนิด Nephrotic Syndrome หรือ ถ้าเป็นในคนท้อง ถ้าพบ Alb ก็จะต้องระวังภาวะครรภ์เป็นพิษ (ซึ่งจะพบมีอาการบวม และ ความดันสูงร่วมไปด้วย)

Sugar หรือ Glucose คนปกติ ไม่ควรมีน้ำตาลหรือกลูโคสในปัสสาวะ ถ้าตรวจพบ จะสงสัยว่าคนไข้อาจจะเป็นเบาหวาน ควรจะงดอาหารไม่น้อยกว่าหกชม. แล้วเจาะเลือด ดูน้ำตาลในเลือด(FBS )เพื่อยืนยันโรคเบาหวานต่อไป (Note ทั้ง alb และ sugar ปกติจะรายงานปริมาณมากน้อย เป็น +1,+2,+3,+4 ตามลำดับ)

WBC หรือเม็ดเลือดขาว ในคนปกติ ไม่ควรมีเม็ดเลือดขาวในปัสสาวะเลย
ถ้ามีเม็ดเลือดขาวออกมามากในปัสสาวะ แสดงว่ามีการอักเสบติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ เช่นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือกรวยไตอักเสบ (ปกติจะรายงานเป็นจำนวนเซลที่พบ ต่อพื้นที่ที่มองเห็นด้วยหัวกล้อง ขนาด X40หรือ High Dry Field (HDF)
ถ้าพวกที่พบเล็กน้อย เช่น 1-2 Cell/ HDF อาจจะไม่สำคัญเท่าไรนักแต่ถ้าพวก มีการติดเชื้ออาจจะพบหลายสิบตัว หรือเป็นร้อยๆ ซึ่งจะรายงานว่า มีจำนวนมาก (Numerous)

RBC หรือเม็ดเลือดแดง เช่นเดียวกับเม็ดเลือดขาวคือ คนปกติไม่ควรพบเม็ดเลือดแดง
ถ้าพบแสดงว่ามีเลือดออกในทางเดินปัสสาวะ อาจจะจากอุบัติเหตุ (ถ้ามีประวัติบ่งชี้ว่า ได้รับการกระแทกตามทางเดินปัสสาวะ) หรือมีเนื้องอกในทางเดินปัสสาวะ หรือมีนิ่วในทางเดินปัสสาวะ (การติดเชื้อบางครั้งก็ทำให้มีเม็ดเลือดแดงออกมา ในปัสสาวะได้แต่มักจะมี เม็ดเลือดขาวมากกว่า แต่สาเหตุที่พบบ่อยสุด ที่ทำให้พบเม็ดเลือดแดงจำนวนมากในปัสสาวะคือ นิ่ว )
(หมายเหตุ - การเก็บปัสสาวะถ้าคนไข้กำลังเป็นเม็นส์ควรหลีกเลี่ยง เพราะว่าจะมีเลือด จากเม็นส์ลงไปปนทำให้ พบเม็ดเลือดขาว และเม็ดเลือดแดง จำนวนมากในปัสสาวะได้)



Epithelial หรือเซลเยื่อบุทางเดินปัสสาวะในส่วนต่างๆ อาจจะพบได้เมื่อมีการอักเสบหรือความผิดปกติของทางเดินปัสสาวะ



นอกจากนี้อาจจะมีรายงานพวกผลึกของสารต่างๆ ที่ปนมากับปัสสาวะเช่น Calcium Oxalate หรือ Urate Crystal ซึ่งพวกนี้อาจจะตกตะกอนเป็นนิ่วต่อไปได้



HIV


HIV หรือ การตรวจเอดส์ ปกติในการตรวจทั่วไป มักเป็นการตรวจหา Antibody ของเอดส์ในเลือดด้วยวิธี Elisa หรือ RPHA ซึ่งตรวจได้ง่าย ราคาไม่แพง ทราบผลไว พวกนี้ถ้าไม่พบแอนติบอดี้ดังกล่าว ก็เชื่อได้ว่ายังไม่มีระดับ Antibody ต่อโรคนี้ในเลือด .......แต่ถ้าพบแอนติบอดี้ด้วยวิธีดังกล่าว อาจจะต้องส่งเลือดเพื่อตรวจยืนยันด้วยวิธี Western's blot ซึ่งจะยืนยัน ได้100 % ว่าเป็น HIV แน่นอน (ที่ไม่ตรวจด้วยวิธีนี้ทุกราย เพราะว่าเครื่องมือมีน้อยและค่าตรวจแพง มากจึงเอาไว้ตรวจยืนยันเท่านั้น) ........ถ้าพบว่ามี Antibody +ve ก็แสดงว่า ได้รับเชื้อโรคนี้ อาจจะมีอาการของโรคแล้ว หรือไม่ก็ได้ ........ถ้าตรวจยังไม่เจอ Antibody และ คิดว่าตัวเองมีปัจจัยเสี่ยงสูง ควรตรวจซ้ำ ทุกสามเดือน จนครบหนึ่งปีหลังจากเวลาที่คาดว่าจะได้รับเชื้อครั้งสุดท้าย ถ้าครบปีแล้ว ยังไม่พบก็มั่นใจได้ว่าไม่ได้ติดเชื้อ) ........กรณีที่เป็นการตรวจเลือดที่จะเอาให้กับคนไข้ นอกจากตรวจ Antibody แล้ว ทางรพ. จะตรวจหา Antigen ของเชื้อ HIV ด้วยเพราะว่า การตรวจหา Antibody จะตรวจพบ ได้เร็วกว่าการตรวจหา Antigen(แต่ค่าใช้จ่ายก็สูงกว่าด้วย)



VDRL

VDRL คือ เป็นการตรวจหา Antibody ของเชื้อซิฟิลิส หรือที่เรียกกันว่า ตรวจ เลือดบวก (เพราะว่าแต่ก่อนเวลารายงานผลตัวนี้ จะรายงานตามความแรง ของปฏิกริยาเป็น +1, +2, +3, +4 .......แต่ปัจจุบัน จะรายงานผลเป็น Nonreactive หรือ -ve ซึ่งแสดงว่าไม่เป็น หรือไม่พบ Antibody ของเชื้อนี้ ........กับ Reactive หรือ +ve หรือ พบ Antibody ซึ่งมักจะรายงานระดับความแรง ของปฏิกริยา ไว้ด้วยเช่น 1:1 ,1:2, 1:4 ,1:8 ,1:16 ,1:32 (ยิ่ง อันหลังๆ นี่ปฏิกริยายิ่งแรงมากตามลำดับ)

พวกนี้แม้ว่าจะพบ ว่า Reactive หรือ +ve ก็ไม่ได้บอก ว่าคนไข้จะเป็น ซิฟิลิส ทั้งหมด (โดยเฉพาะถ้าปฏิกริยาเป็นแบบอ่อนๆ) เพราะว่า มีโรคอื่นๆ ที่ทำให้ VDRL ให้ผลเป็นบวกได้เช่นกัน เช่นพวกโรคทางภูมิต้านทานของร่างกายผิดปกติ (Autoimmune Disease) เช่น SLE (โรคพุ่มพวง) ดังนั้นถ้าจะยืนยันว่าเป็น ซิฟิลิสจริง จะส่งตรวจหาเชื้อซิฟิลิสด้วยวิธี TPHA เพื่อยืนยันให้แน่นอนอีกที



ไวรัสตับอักเสบบี

HBsAg เป็นการตรวจหาเชื้อไวรัส ตับอักเสบชนิด B ว่ามีในเลือดหรือไม่
ถ้ารายงานว่า HBsAg -ve ก็คือปกติ หรือไม่มีเชื้อนี้ในเลือด
ถ้ารายงานว่า HBsAg +ve ก็คือพบว่า มีเชื้อนี้ในเลือด ซึ่งต้องดูว่าจะเป็นประเภทไหนดังต่อไปนี้
...... พวกที่มีเชื้อ และ มีอาการอักเสบฉับพลันของตับชัดเจน (เช่นมีไข้ท้องอืดตาเหลืองตัวเหลือง และมีค่าเอ็นไซม์ต่างๆของตับผิดปกติ) รวมทั้งอาจจะมีประวัติเพิ่งสัมผัสโรคมา ก็จัดเป็นพวกที่ กำลังเป็นไวรัสตับอักเสบชนิด B พวกนี้ถ้าได้รับการรักษา ด้วยการพักผ่อนให้พอเพียง ส่วนใหญ่จะหายเป็นปกติได้ และเชื้อจะหมดไปจากเลือดภายในหกเดือน และจะมีภูมิต้านทาน (HBsAb) เกิดขึ้นมาแทน และจะไม่เป็นโรคนี้อีกต่อไป แต่ถ้าหกเดือนแล้วยังไม่หาย ก็จะกลายเป็นพวกพาหะ หรือ พวกตับอักเสบเรื้อรัง ต่อไป

...... พวกที่มีเชื้อ แต่ไม่มีอาการใดๆ ทั้งสิ้น รวมทั้งผลการตรวจเอ็นไซม์ของตับปกติ พวกนี้เรียกเป็นพาหะ (Carrier) (ดูเรื่อง LFT ข้างล่างประกอบอีกที) พวกนี้ไม่มีอันตราย แต่ต้องระวังเชื้อจะติดต่อไปยัง คู่สมรสได้หรือ ถ้าเป็นหญิงก็ จะมีเชื้อผ่านไปลูกได้ และถ้ากินเหล้าหรือตรากตรำอาจจะเกิดตับอักเสบขึ้นมาภายหลังได้ แต่ก่อนพวก พาหะตับอักเสบบีนี้ จะไม่มีการรักษาเฉพาะ (มีหายไปเองได้บ้างบาวส่วน) แต่ปัจจุบัน มีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม เพื่อใช้ยาให้ภาวะนี้หายไปได้มากขึ้น ซึ่งต้องติดตามกันต่อไป

(หมายเหตุ - กรณีที่เป็นพาหะ ที่เจาะเลือดเป็นครั้งแรก โดยเฉพาะมีประวัติ คล้ายตับอักเสบมาก่อนไม่เกินหกเดือนอาจจะ ไม่ใช่พาหะก็ได้ อาจจะเป็นพวกตับอักเสบ ที่กำลังหายแต่เชื้อยังไม่หมดไป ควรรอจนครบหกเดือนแล้วเจาะซ้ำอีกครั้ง ถ้ายังพบเชื้ออยู่ จึงจัดเป็นพาหะนำเชื้อตับอักเสบ)


...... พวกที่มีเชื้อ และยังไม่มีอาการอะไร แต่อาจจะพบมีค่าเอ็นไซม์ของตับสูงผิดปกติ หรือ มีประวัติเคยเป็นตับอักเสบเป็นๆ หายๆ เรื้อรัง พวกนี้จะจัดเป็นพวกที่เป็นตับอักเสบเรื้อรัง พวกนี้มีความเสี่ยงต่อการเกิดตับอักเสบรุนแรงกลับขึ้นมาอีก หรือ เกิด ภาวะตับแข็ง ตลอดจนมะเร็งตับได้ง่ายกว่าคนปกติมาก พวกนี้ถ้าจำเป็นอาจจะต้อง รับการวินิจฉัยด้วยการเจาะเอาเนื้อตับมาตรวจ (Liver Biopsy) และพิจารณาให้ Interferon เพื่อการรักษา (ราคาแพงมาก)



HBsAb ตัวนี้เป็นการตรวจหาระดับ ภูมิต้านทานต่อเชื้อตับอักเสบชนิด B

ถ้ารายงานว่า HBsAb -ve ก็คือ ไม่มีภูมิต้านทานต่อเชื้อนี้ในเลือด และถ้าไม่มีเชื้อ (HbsAg) ด้วย และไม่เคยมีประวัติได้รับวัคซีนมาก่อน ถ้าอยากจะป้องกันโรคนี้ไว้ ก็ให้วัคซีนป้องกันตับอักเสบได้ รวมสามเข็ม จะมีผลป้องกันได้ตลอดไป

แต่ถ้าเคยมีประวัติได้รับวัคซีนนี้มาครบสามเข็มแล้ว แม้ว่าการตรวจ จะไม่พบระดับภูมิต้านทานนี้ อายุรแพทย์ และกุมารแพทย์หลายท่าน ยังคงแนะนำว่าไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนเพิ่ม เนื่องจากมีการศึกษา และรายงานว่า แม้ระดับภูมิต้านทานจะต่ำกว่า ระดับที่เราจะตรวจพบได้ แต่ก็ยังคงเพียงพอต่อการป้องกันโรค


ถ้ารายงานว่า HBsAb +ve พวกนี้ดี คือมีภูมิต้านทานต่อเชื้อนี้แล้ว และจะไม่เป็นโรคนี้อีก พวกนี้อาจจะเกิดจากเคยฉีดวัคซีนนี้ครบแล้วมาก่อน หรือเคยเป็นโรคนี้แล้วหายไปแล้ว หรือ บางคนเคยรับเชื้อและหายไปเองโดยไม่รู้สึกตัว (ผมเองก็เป็นแบบนี้ คือมีภูมิต้านทานโดยไม่รู้ตัว)



เบาหวาน

FBS (Fasting Blood Sugar) = ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด ที่เจาะหลังงดอาหารไม่น้อยกว่า 6 ชม.

คนปกติ ค่าจะอยู่ระหว่าง 60-110 mg%(บางแห่งใช้แค่ 100 ) ถ้าสูงกว่านี้เรียกว่า เป็นเบาหวาน แต่ถ้าต่ำกว่า 60 ถือว่าต่ำเกินไป(Hypoglycemia) อาจจะมีอาการหิวใจสั่นหน้ามืดเป็นลม ไปถึงชักหมดสติได้เช่นกัน เช่นคนเป็นลมเพราะอดอาหาร หรือคนเป็นเบาหวานแล้วกินยา หรือฉีดยาลดน้ำตาลมากเกินไป


Cholesterol


Cholesterol เป็นไขมันตัวนึงในเลือด (ตัวนี้ส่วนใหญ่รู้จักกันดี) ถ้าสูงมากจะทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดตามที่ต่างๆ เช่นสมอง หัวใจ หรือไต เป็นต้น คนปกติ จะไม่เกิน 200 Mg% (ตัวนี้เดิมเคยให้ถือว่าสูงเมื่อเกิน 250mg% แต่ปัจจุบันใช้ค่าที่มากกว่า 200mg% ก็ถือว่าสูงจนผิดปกติแล้ว)


ไขมันในเลือด


Triglyceride เป็นไขมันอีกตัวนึงในเลือด (แต่คนไม่ค่อยคุ้นกับตัวนี้กัน) ตัวนี้ถ้าสูงมากก็ทำให้เกิดการอุดตันหลอดเลือดในที่ต่างๆ ได้เหมือนกับ Cholesterol นอกจากนี้ยังพบขึ้นสูงได้ ในรายที่กินเหล้ามากๆ พวกนี้ถ้าสูงมากๆ อาจจะไปสะสมที่ตับ เป็น Fatty Liver และเกิดตับแข็งตามมาได้

ค่าปกติ ไม่ควรสูงเกิน 200 mg% เช่นกัน (แต่บางตำราให้แค่ 170 mg% และบางคนที่กินไขมันมากๆ อาจจะทำให้ไขมันตัวนี้ในเลือดขึ้นสูงไปได้ถึง 5-600 mg% ก็มี)

การเจาะพวกไขมันทั้งสองตัว ถ้าให้ได้ผลดีควรหลีกเลี่ยงอาหารพวกไขมันมากๆ ล่วงหน้าสามสี่วันก่อนตรวจก็จะดียิ่งขึ้น



HDL (High Density Lipoprotien) = ไขมันชนิดที่มีความหนาแน่นของโมเลกุลสูง ตัวนี้ช่วยในการนำพวกไขมันที่เกิดโทษ (เช่น Cholesterol และ Triglyceride) ไปกำจัดทิ้ง ซึ่งจะทำให้มีการอุดตันหลอดเลือดตามอวัยวะต่างๆได้น้อยลง

ตัว HDL ยิ่งมีระดับสูงยิ่งดี(ถ้าเปรียบให้เข้าใจง่ายก็คือ Cholesterol กับ Triglyceride เป็นขยะที่ต้องกำจัดทิ้ง (จริงๆ มันก็มีประโยชน์แต่ถ้ามีมากก็จะก่อให้เกิดปัญหา การอุดตันตามหลอดเลือดในอวัยวะต่างๆ) เหมือนขยะหมักหมม แต่ HDL จะเปรียบเหมือน รถขนขยะ ถ้ายิ่งมีมากยิ่งดี จะได้มาช่วยเก็บขยะไปได้มาก ทำให้แม้ขยะจะมีมาก แต่ถ้ามีรถขนขยะมากก็ช่วยบรรเทาไปได้

คนปกติ ควรมี HDL สูงมากกว่า 35 Mg% (ยิ่งมากยิ่งเสี่ยงต่อโรคไขมันอุดตัน หลอดเลือดต่างๆ น้อยลง รวมทั้งหลอดเลือดหัวใจด้วย)


โรคเก๊าต์


Uric Acid ตัวนี้เป็นเกลือยูริคในกระแสเลือด พบสูงได้ในโรคเก๊าต์ นอกจากนี้ยังพบในโรคอื่นๆอีกหลายอย่างเช่นโรคที่มีการทำลายของเม็ดเลือดมากผิดปกติ เป็นต้น คนปกติผู้ชายสูงไม่เกิน 8.5 mg% หญิงไม่เกิน 8.0mg% ( บางแห่งให้ใช้ค่าปกติ เป็นชายน้อยกว่า 8 หญิง น้อยกว่า 7)


ตรวจการทำงานของไต


Creatinine = เป็นการตรวจการทำงานของไต ในการกำจัดของเสีย ถ้าคนไข้ที่มีภาวะไตวาย จะมีค่าตัวนี้สูงกว่าปกติ คนปกติ จะสูงไม่เกิน 1.8mg% ถ้าสูงมากๆ ต้องระวังว่าเกิดภาวะไตเสื่อม หรือไตไม่ค่อยทำงานที่เรียกกันว่า ไตวาย



BUN (Blood Urea Nitrogen) = การตรวจหาสารนี้ในเลือด ใช้เพื่อดูการทำงานของไต คู่กับ Creatinine เช่นกัน ในคนที่ไตทำงานกำจัดสารพิษ ออกจากร่างกายได้น้อยลง (ไตวาย) จะมีสารนี้สูง มาก คนปกติ ไม่ควรสูงเกิน 20 mg%


ตรวจการทำงานของตับ


LFT (Liver Function Test) หรือ การตรวจการทำงานของตับ จะเป็นการตรวจหาเอ็นไซม์และสารต่างๆ ในเลือดหลายตัวเข้ามาประกอบกัน ด้วยกันเป็นชุด ประกอบด้วย


SGOT และ SGPT สองตัวนี้เป็นเอ็นไซม์ของตับ ที่จะพบเมื่อมีการทำลายของเซลล์ตับ เช่นเกิดจากภาวะตับอักเสบ จากโรคต่างๆ เป็นต้น ค่าปกติ ของสองตัวนี้ประมาณไม่เกิน 40 U/L

Alk Phosphatase = ค่าเอ็นไซม์ของเลือดอีกตัวหนึ่ง คนปกติจะมีค่า Alk Phos สูงไม่เกิน 280 Mg%
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโรคตับ คือ ถ้าตัวนี้สูงมาก จะระบุว่าอาจจะมีการอุดตัน ของระบบทางเดินน้ำดีในตับ เช่นจากภาวะตับแข็ง หรือถ้าสูงมากๆ ก็อาจจะต้องนึกถึง พวกนิ่วในท่อน้ำดี หรือ มะเร็งในตับหรือทางเดินน้ำดี


นอกจากนี้ยังพบเอ็นไซม์ตัวนี้สูงได้ ในโรคที่มีการทำลายกระดูก และมีการสร้างกระดูกขึ้นชดเชย ด้วยเช่นกัน

(ถ้าคนทีมีนิ่วอุดตันหรือมะเร็งในตับอาจจะสูงเป็นพัน เลยก็ได้)

TB (Total Bilirubin) = สารน้ำดี ทั้งหมด ในกระแสเลือด คนปกติ ค่า TB จะสูงไม่เกิน 1.5 mg% ถ้ามีมาก เรียกว่ามีภาวะ ดีซ่าน(Juandice) มีอาการตาเหลืองตัวเหลือง ซึ่งเกิดได้จากทั้งโรคจากตับ หรือนิ่วในระบบท่อน้ำดี หรือโรคที่มีการแตกตัวหรือ ทำลายเม็ดเลือดแดงมากผิดปกติก็ได้
DB (Direct Bilirubin) = สารน้ำดี ชนิดที่ได้รับการเปลี่ยนแปลง (Conjugated) ที่ตับแล้ว (เป็นพวกที่ละลายในน้ำ) คนปกติ จะมี DB ไม่เกิน 0.5 mg %

ถ้าเอาค่า DB หักออก จากค่า TB (TB- DB) จะได้เป็นค่าของ Indirected Bilirubin หรือพวกน้ำดี ซึ่งยังไม่ได้รับการเปลี่ยนแปลงที่ตับ (Unconjugated Bilirubin) ซึ่งเป็นพวกละลายในไขมัน)


การแปลผลโดยอาศัย ค่าของ TB , DB และ Indirect Bilirubin(ปกติตัวหลังไม่มีรายงาน แต่หาได้จากการคำนวนที่ เอาสองตัวแรกลบกันอย่างที่บอก) จะช่วยให้เราช่วยแยกได้ว่า ดีซ่านนั้น มีสาเหตุจากตัวตับทำงานผิดปกติเอง หรือ ตับยังทำงานได้ (เปลี่ยนแปลงน้ำดี จาก Indirect Bilirubinไปเป็น DBได้) แต่เกิดการอุดตันจากทางเดินน้ำดี หรือ จากสาเหตุอื่น ที่ทำให้มีการสร้างน้ำดีมากผิดปกติ เช่น โรคที่มีการแตกของเม็ดเลือดแดงมากผิดปกติ

Alb (Albumin) = ระดับของโปรตีนอัลบูมินในเลือด ค่าปกติ ตัวนี้อยู่ประมาณ 3.5-5 mg% ถ้ามีค่าต่ำกว่าปกติอาจจะเกิดจาก ขาดอาหารพวกโปรตีน หรือมีการสูญเสียออกทางไตไปมากในคนที่เป็นโรคไต (Nephrotic Syndrome) หรือ มีความผิดปกติเรื้อรังของตับ เช่นตับแข็ง ก็ทำให้ มีระดับอัลบูมิน ต่ำลงได้
Glob (Globumin) = โปรตีนอีกตัวหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิต้านทาน ของร่างกาย (พวกแอนติบอดี้ ต่างๆ ก็มักจะอยู่ในรูปของ Globurin )

ค่าปกติ ของ Glob ประมาณ 2.0-3.5 mg%

Glob สร้างจากเนื้อเยื่ออื่นๆ ของร่างกายไม่ใช่ที่ตับเหมือน Albumin นอกจากนี้ ในคนไข้ที่เป็นโรคตับเรื้อรัง เช่น ตับแข็ง จะพบว่ามีการกระตุ้นให้มีการสร้าง Globulin มากกว่าปกติ ทำให้ระดับของ Glob ในเลือดสูงผิดปกติ

จะสังเกตเห็นว่าในโรคตับเรื้อรัง จะมี Alb ลดลง และ Glob เพิ่มขึ้น ดังนั้นเมื่อดูสัดส่วนระหว่าง Alb/Glob จะเห็นว่า แทนที่ Alb จะมากกว่า Glob ตามปกติ คนไข้โรคตับเรื้องรัง จะพบว่า สัดส่วนจะพลิกกลับกลายเป็น Glob มากกว่า Alb

(Note - บางครั้งการรายงานผลโปรตีนอาจจะไม่รายงานค่า Glob ออกมาแต่ให้เป็น Total Protein กับ Alb ออกมา จะหาค่า Glob โดยประมาณได้จาก Total Protein - Alb)

มาจาก pantip.co.th ซึ่งคุณหมอ Jfk ได้กรุณาเขียนไว้



โดย: หมอหมู วันที่: 30 ธันวาคม 2554 เวลา:16:20:13 น.  

 


L12730443 ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการตั้งกระทู้ถามผลตรวจต่าง ๆ [สุขภาพกาย] Manowski (7 - 2 ต.ค. 55 13:50)

//www.pantip.com/cafe/lumpini/topic/L12730443/L12730443.html


ห้องสวนลุมมีกระทู้ถามผล ตรวจต่าง ๆ เช่น ผล ตรวจเลือด
ตรวจค่าต่าง ๆ ผล ultrasound ,ผล x-ray , MRI ,CT

ซึ่งอยากจะให้ผู้ตั้งกระทู้มีความเข้าใจเบื้องต้น ของหลักการวินิจฉัยโรค ซึ่งมีส่วนหลัก ๆ คือ

1.การซักประวัติ

2.การตรวจร่างกาย

และหาก ผลจากข้อ 1+2 ไม่เพียงพอก็จะมีข้อที่ 3

ข้อที่ 3.คือ การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ,x-ray , U/S ,CT ,MRI เป็นต้น

เพราะฉะนั้น การที่มีคนตั้งกระทู้ถาม เกี่ยวกับผลตรวจต่างๆ หมอส่วนใหญ่ ถึงแม้จะเป็นหมอเฉพาะทางตอนอ่านผลต่าง ๆ เช่น x-ray CT MRI แม้แต่ผล ชิ้นเนื้อ มักจะมีคำว่า clinical correlated หมายความว่า ควรจะดูอาการและประวัติคนไข้ ประกอบด้วย หมอที่มาตอบจึงแนะนำให้ถามแพทย์เจ้าของไข้เป็นหลัก

เนื่องจาก หมอที่มาอ่านกระทู้ เห็นเฉพาะข้อ 3 ขาด ข้อมูล ในข้อ 1 และ 2

ยกตัวอย่าง เช่น ผู้ป่วยหญิง 40 ปี มีอาการเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์เกือบทุกครั้ง

ผลตรวจร่างกาย พบความผิดปกติบริเวณปากมดลูก และ แพทย์ ได้ส่ง ultrasound และนัดมาทำการสืบค้นเพิ่มเติม

ผล ultrasound พบ myoma uteri ( เนื้องอก ) ขนาด 2 cm ที่มดลูก อย่างอื่นปกติ

สมมุติว่า ผู้ป่วย เอาเฉพาะผล ultrasound มาตั้งกระทู้ถาม แล้วมีคนมาตอบว่า ไม่เป็นไรเป็นแค่เนื้องอกธรรมดา ซึ่งเป็นคำตอบที่ถูกสำหรับผล ultrasound

แต่ไม่ได้ ถูกต้องในการวินิจฉัยโรค

และหาก จขกท เชื่อ ไม่ไปตามที่แพทย์เจ้าของไข้นัด ก็จะพลาดโอกาสในการรักษาโรคที่ร้ายแรงที่มีโอกาสเป็นได้เช่น มะเร็งปากมดลูก


การตั้งกระทู้ถามเฉพาะผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ จึงมีประโยชน์น้อย อาจจะพอบอกอะไรได้บ้างแต่ ไม่ได้ถูกต้องแม่นยำ



จากคุณ : Manowski
เขียนเมื่อ : 1 ต.ค. 55 20:06:31






ความคิดเห็นที่ 1

ยกตัวอย่างบ้าง

ผลเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เป็นมะเร็งปอดกระจายไปหลายตำแหน่งในปอด

ความจริง คนไข้เป็นวัณโรคปอด และมีมะเร็งปอดจริงๆจุดเดียวเป็นระยะแรกผ่าตัดหายขาด




ผลสแกนกระดูก มีการกระจายไปกระดูกหลายตำแหน่ง ความเข้มสูงขึ้น บ่งบอกว่าโรคแย่ลง

ความจริง คนไข้ได้รับการรักษาและเป็นการแสดงออกว่ามีการตอบสนองด้วยการซ่อมแซมกระดูกมากขึ้น



ผลชิ้นเนื้อ มะเร็ง........ตัดออกไม่หมด

ความจริงมีผลชิ้นเนื้อเพิ่มเติมเนื่องจากหมอผ่าตัดเกรงว่าจะตัดออกไม่หมดเลยตัดขอบเพิ่ม ผลไม่มีมะเร็งเลือที่ขอบแล้ว แสดงว่าตัดออกหมดตั้งแต่ต้น




ผลเอกซเรยคอมพิวเตอร์สมอง ปกติ

ความจริง เป็นเส้นเลือดในสมองตีบแต่ทำเอกซเรยคอมพิวเตอร์ไวน้อยกว่าสามชั่วโมง



ผลการตรวจเลือดค่าบ่งชี้มะเร็ง CEA สูงน่าจะเป็นมะเร็งตับ

ความจริง คนไข้เป็นมะเร็งปอดที่สร้าง CEA ได้



ผลเอกซเรยคอมพิวเตอร์ เปรียบเทียบกับฟิล์มก่อนหน้า โรคมะเร็งลุกลามมากขึ้น การรักษาไม่ได้ผล

ความจริง คนไข้มีการทำเอกซเรยคอมพิวเตอร์ก่อนการรักษาที่อื่นจึงไม่ได้เอามาเทียบ ผลที่ถูกต้องคือการรักษาตอบสนองดี



เอากรณีไหนอีกดีล่ะ มากมายเหลือเกิน นี่เอาแต่ของจริงมาเล่าเลยมีอีกมากมาย มีหลายครั้งขนาดเราเป็นเจ้าของไข้ยังปวดตับกับการแปลผล โดยปกติจะแจ้งผลที่น่าจะใช่ที่สุดและบอกความเป็นไปได้อื่นๆด้วย การแปลแต่ผลก็จะบอกได้แค่สิ่งที่พิมพ์ซึ่งต้องเข้าใจว่าหมอเอกซเรย์ที่อ่าน (หรือหมอที่แปลผล) โดยมากจะไม่มีข้อมูลคนไข้ที่มากพอจะต้องแปลไปตามสิ่งที่เห็น แต่การแปลผลจริงๆต้องใช้อะไรอีกมากมาย

ดังนั้นมาถามก็จะตอบให้ แต่สิ่งที่ถูกที่สุดก็ยังเป็นหมอที่เห็นคนไข้รู้ข้อมูลแม้หมอคนนั้นจะไม่ใช่เฉพาะทางในโรคเฉพาะทางของผม(หรือใคร)ก็ตาม

จากคุณ : oncodog [Bloggang]
เขียนเมื่อ : 1 ต.ค. 55 20:27:24







โดย: หมอหมู วันที่: 2 ตุลาคม 2555 เวลา:14:24:23 น.  

 
04 ตุลาคม 2555
สอนวิธีแปลผลเคมีของเลือด
//visitdrsant.blogspot.com/2012/10/blog-post_4.html

ผมอายุ 42 ปีครับ น้ำหนัก 72 กก. สูง 165 ซม. มีปัญหาปวดข้อเข่าบ่อยๆ ผลตรวจสุขภาพประจำปีอย่างที่ส่งมาให้คุณหมอนี้ คือทุกปีบริษัทก็ให้ตรวจสุขภาพประจำปี ตรวจแล้วไม่มีอะไร ก็จบกันไปปีต่อปี โดยที่ผมเองก็ไม่ได้เข้าใจอะไรมากไปกว่าที่หมอบอกว่า โอ.เค. คือผมอยากจะเข้าใจผลการตรวจให้มากกว่านี้ เบื่อที่จะถามหมอแค่ว่าปกติใช่ไหมครับหมอ แล้วหมอก็บอกว่าไม่มีอะไรนอกจากไขมันสูงเล็กน้อย แล้วก็ผ่านไปอีกหนึ่งปี ผมอยากจะรู้ปัญหาสุขภาพของผมจริงจัง ผมอยากให้คุณหมอสันต์ช่วยสอนวิธีแปลผลการตรวจเลือดนี้ให้ด้วย คือผมอยากรู้ความหมายของแต่ละค่า ว่าผมจะเอาความหมายของมันไปใช้ประโยชน์ในการดูแลตัวเองได้อย่างไรครับ

ขอบพระคุณล่วงหน้ามา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ

Blood Chemistry
FBS 108 (ไม่เกิน 125 mg/dl)
HbA1C 6.1 (ไม่เกิน 6.5%)
BUN 23 (8-24 mg/dL)
Cr 1.5 (0.7-1.2 mg/dL)
eGFR 73 (มากกว่า 90 ml/min/1.73 sqm)
Uric acid 8.4 (3.4 – 7.0)
Triglyceride 218 ( ไม่เกิน 200)
HDL-cholesterol 37 (มากกว่า 40 mg/dl )
LDL-cholesterol 133 (ไม่เกิน 130 mg/dL)
Total Cholesterol 214 (ไม่เกิน 240 mg/dL)
AST (SGOT) 55 (ไม่เกิน 40 IU/L)
ALT (SGPT) 42 (ไม่เกิน 34 IU/L)
Alkaline Phosphatase 57 (ไม่เกิน 128 mg/dL)
GTT 84 (78 U/L)
HBs Ag Negative
Anti HBs Positive <344>

……………………………

ตอบครับ

จดหมายแบบว่าส่งผลการตรวจร่างกายมาให้ช่วยดูเนี่ย มีแยะเลย ผมเคยสอนการแปลผลการตรวจนับเม็ดเลือด (CBC) ไปแล้ว เคยสอนแปลผลการวิเคราะห์ปัสสาวะ (UA) ไปแล้ว วันนี้ผมจะรวบยอดสอนการแปลผลการตรวจเคมีในเลือดให้ฟัง ท่านที่ถามมาคล้ายกันแต่ว่าผมไม่ได้ตอบก็ขอให้เอาวิธีแปลผลที่คุยกันวันนี้ไปแปลผลการตรวจของท่านเอาเองก็แล้วกัน

1.. Blood chemistry แปลตรงๆว่าเคมีของเลือด หมายถึงระดับของสารต่างๆที่อยู่ในเลือดซึ่งก่อปฏิกิริยาเคมีได้ ซึ่งการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของสารเหล่านี้ บ่งบอกไปถึงว่าจะมีโรคอะไรเกิดขึ้นในร่างกายบ้าง

2.. FBS = ย่อมาจาก fasting blood sugar แปลว่าระดับน้ำตาลในเลือดหลังการอดอาหารมาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง เป็นการตรวจสถานะของโรคเบาหวานโดยตรง คือคนปกติค่านี้จะต่ำกว่า 100 mg/dL ของคุณได้ 108 ถือว่าอยู่ในย่านใกล้จะเป็นเบาหวาน ถ้าของใครสูงเกิน 125 ก็ถือว่าเป็นเบาหวานแล้วอย่างบริบูรณ์

3.. HbA1C = ย่อมาจาก hemoglobin A1C แปลว่าระน้ำตาลสะสมเฉลี่ยสามเดือนในเม็ดเลือดแดง มีความหมายคล้ายๆกับค่า FBS คือโดยคำนิยามถ้าน้ำตาลสะสมเฉลี่ยของของใครสูงกว่า 6.5% ก็ถือว่าเป็นโรคเบาหวานไปแล้วอย่างบริบูรณ์ ค่า HbA1C นี้ดีกว่าค่า FBS ในสองประเด็น คือ

3.1 ทำให้เราตรวจคัดกรองเบาหวานได้ทุกเมื่อ โดยไม่ต้องอดอาหารมาล่วงหน้า
3.2 การที่มันสะท้อนค่าน้ำตาลในเลือดในช่วงเวลาสามเดือนย้อนหลัง จึงตัดปัญหาระดับน้ำตาลวูบวาบในช่วงหนึ่งวันก่อนการตรวจ คือคนไข้บางคนที่จะทำตัวดีเฉพาะสองสามวันก่อนไปหาหมอเพื่อให้น้ำตาลในเลือดดูดี พอคล้อยหลังหมอตรวจเสร็จก็ออกมาสั่งไอติมมากินเป็นกะละมังให้หายอยาก คนไข้แบบนี้การตรวจ HbA1C จะทำให้ทราบสถานะที่แท้จริงของเบาหวานดีกว่า

4.. BUN = ย่อมาจาก blood urea nitrogen แปลว่าไนโตรเจนในรูปของยูเรีย ตัวยูเรียนี้เป็นเศษของเหลือจากการเผาผลาญโปรตีนที่ตับ ซึ่งต้องถูกกำจัดทิ้งโดยไต การวัดระดับค่าของ BUN เป็นตัวบ่งบอกว่าเลือดไหลไปกรองที่ไตมากพอหรือไม่ ในภาวะที่เลือดไหลไป่กรองที่ไตน้อยลง เช่นในภาวะร่างกายขาดน้ำ หรือสูญเสียเลือดไปทางอื่นเช่นเลือดออกในทางเดินอาหาร หรือในภาวะช็อก ระดับของ BUN จะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ค่าปกติของ BUN คือ 8-24 ของคุณวัดได้ 23 ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ อย่างน้อยก็บ่งบอกว่าเลือดยังไหลไปกรองที่ไตดีอยู่ ร่างกายไม่ได้อยู่ในภาวะขาดน้ำ หรือเสียเลือด

5.. Cr = เขียนเต็มว่า Creatinine แปลว่าเศษเหลือจากการสลายตัวของกล้ามเนื้อ คือกล้ามเนื้อของคนเรานี้มันสลายตัวและสร้างใหม่อยู่ตลอดเวลา คนมีกล้ามมากก็สลายตัวมากสร้างมาก Cr ซึ่งเป็นเศษซากที่สลายตัวออกมาจะถูกไตขับทิ้งไป แต่ในกรณีที่ไตเสียการทำงาน เช่นเป็นโรคไตเรื้อรัง ไตจะขับ Cr ออกทิ้งไม่ทันกับที่กล้ามเนื้อสลายออกมา ทำให้ระดับ Cr ในเลือดสูงผิดปกติ ค่าปกติของมันคือ 0.7-1.2 mg/dL แต่ของคุณได้ตั้ง 1.5 ซึ่งสูงผิดปกติ แสดงว่าไตของคุณเริ่มจะทำงานไม่ดีแล้ว หรือเริ่มเป็นโรคไตเรื้อรังแล้ว ตรงนี้ “เป็นเรื่อง” ที่คุณจะต้องติดตามเจาะลึกต่อไป

6.. eGFR = เรียกสั้นๆว่า จีเอฟอาร์. ย่อมาจาก estimated glomerular filtration rate แปลว่าอัตราการไหลของเลือดผ่านตัวกรองของไตในหนึ่งนาที ค่านี้ได้จากการคำนวณเอาจาก Cr กับอายุ และชาติพันธุ์ของเจ้าตัว ห้องแล็บที่ยังไม่ทันสมัยจะไม่รายงานค่านี้ ถ้าเจ้าตัวอยากทราบค่านี้ต้องเอาค่า Cr ที่ได้ไปอาศัย GFR calculator ตามเว็บในเน็ทคำนวณให้ ค่าจีเอฟอาร์.นี้มีประโยชน์มากในแง่ที่ใช้แบ่งระดับความรุนแรงของคนที่ Cr ผิดปกติอย่างคุณนี้ว่ามีความรุนแรงเป็นโรคไตเรื้อรังระยะไหนของ 5 ระยะ กล่าวคือ

ระยะที่ 1 ตรวจพบพยาธิสภาพที่ไตแล้ว แต่ไตยังทำงานปกติ (จีเอฟอาร์ 90 มล./นาที ขึ้นไป)
ระยะที่ 2 ตรวจพบพยาธิสภาพที่ไตแล้ว และไตเริ่มทำงานผิดปกติเล็กน้อย (จีเอฟอาร์ 60-89 มล./นาที)
ระยะที่ 3 ไตทำงานผิดปกติปานกลาง ไม่ว่าจะตรวจพบพยาธิสภาพที่ไตหรือไม่ก็ตาม (จีเอฟอาร์ 30-59 มล./นาที)
ระยะที่ 4 ไตทำงานผิดปกติมาก (จีเอฟอาร์ 15-29 มล./นาที)
ระยะที่ 5. ระยะสุดท้าย (จีเอฟอาร์ต่ำกว่า 15 หรือต้องล้างไต)

จะเห็นว่าแม้คุณจะยังไม่มีพยาธิสภาพที่ไต (หรือมีแล้วก็ไม่รู้เพราะไม่ได้ตรวจ) แต่จีเอฟอาร์ของคุณคำนวณได้ 57 ซึ่งต่ำกว่า 60 จึงจัดว่าคุณเป็นโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 แล้ว ตรงนี้มีนัยสำคัญ ถ้ามีเวลาตอนท้ายค่อยคุยกันว่าควรต้องทำอะไรต่อไป ตอนนี้ขอสอนวิธีแปลผลเคมีของเลือดให้จบก่อนนะ

7.. Uric acid ก็คือกรดยูริกที่เป็นต้นเหตุของโรคเก้าท์นั่นแหละ ค่าปกติของกรดยูริกในเลือดคือ 3.4-7.0 ของคุณได้ 8.4 ก็คือสูงผิดปกติ เนื่องจากคุณไม่เคยมีอาการของเก้าท์ (เจ็บข้อ ข้อบวมแดง) จึงเรียกคนแบบคุณนี้ว่าเป็นคนที่มีกรดยูริกสูงโดยไม่มีอาการ (asymptomatic hyperuricemia) ซึ่งยังไม่ถือเป็นภาวะที่ต้องกินยารักษาเก้าท์แต่อย่างใด

8..Triglyceride คือไขมันไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเป็นไขมันก่อโรคชนิดหนึ่งในร่างกายเรา ระดับที่สูงจนต้องใช้ยาคือเกิน 200 mg/dl ของคุณได้ 218 ก็ถือว่าเป็นโรคไขมันในเลือดผิดปกติชนิดไตรกลีเซอไรด์สูง

9.. HDL-cholesterol เรียกสั้นๆว่าเอ็ช.ดี.แอล. เรียกอีกอย่างว่า “ไขมันดี” เพราะมันเป็นไขมันที่ดึงไขมันที่พอกหลอดเลือดออกไปจากหลอดเลือด ดังนั้นยิ่งมีเอ็ช.ดี.แอล.มากก็ยิ่งดี คนปกติควรมีเอ็ขดีแอล.เกิน 40 mg/dl ขึ้นไป ของคุณมี 37 ก็ถือว่าต่ำผิดปกติ หมายความว่าเป็นคนมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจขาดเลือดมาก

10.. LDL-cholesterol เรียกสั้นๆว่าแอลดีแอล. หรือเรียกอีกอย่างว่า “ไขมันเลว” เพราะมันเป็นตัวไขมันที่พอกอยู่ที่ผนังหลอดเลือดและเป็นไขมันก่อโรคโดยตรง การจะตัดสินว่าคนไข้คนไหนควรกินยาลดไขมันเมื่อไหร่ก็ตัดสินกันจากระดับแอลดีแอล.นี่แหละ โดยเทียบกับความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจหลอดเลือด (cardiac risk stratification) ที่แต่ละคนมีเป็นทุนอยู่แล้ว กล่าวคือ

ถ้ามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่ำ (low cardiac risk) เช่นอายุไม่มาก ไขมันไม่สูง ความดันไม่สูง ไม่สูบบุหรี่ ก็จะให้เริ่มทานยาลดไขมันเมื่อ LDL มากกว่า 160
ถ้ามีความเสี่ยงปานกลาง (moderate cardiac risk) เช่นมีปัจจัยเสี่ยงหลักเกินสองอย่างขึ้นไป จะให้เริ่มทานยาลดไขมันเมื่อ LDL มากกว่า 130
ถ้ามีความเสี่ยงสูง (high cardiac risk) หรือเป็นโรคหัวใจ หรือเบาหวาน หรืออัมพาตแล้ว จะให้เริ่มทานยาลดไขมันเมื่อ LDL มากกว่า 100

ในกรณีของคุณนี้ น่าเสียดายที่คุณไม่ได้บอกความดันเลือด สถานะของการสูบบุหรี่ และประวัติการตายของบรรพบุรุษมา ผมจึงประเมินระดับชั้นความเสี่ยงต่อโรคหัวใจหลอดเลือดให้คุณไม่ได้ แต่หากดูจากดัชนีมวลกายที่สูงเกินปกติ (26) น้ำตาลที่ค่อนไปทางสูง ไตรกลีเซอไรด์ที่สูงผิดปกติ และไขมันดีที่ต่ำมาก ผมเดาว่าระดับความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจหลอดเลือดของคุณต้องเป็นระดับปานกลางขึ้นไปแน่นอน นั่นหมายความว่า ณ จุดนี้ คุณต้องรีบรีดไขมันเลวออกจากตัวให้เหลือต่ำกว่า 130 ให้ได้ ถ้าทำไม่ได้ คุณก็ต้องทานยาลดไขมัน

11. Total Cholesterol หมายถึงโคเลสเตอรอลรวมในร่างกาย เป็นค่ารวมของไขมันสามอย่าง กล่าวคือ

โคเลสเตอรอลรวม = ไขมันดี (HDL) + ไขมันเลว (LDL) + หนึ่งในห้าของไขมันไตรกลีเซอไรด์

สมัยก่อนเราใช้ค่าโคเลสเตอรอลรวมตัวนี้ตัวเดียวในการประเมินไขมันในเลือด จึงได้กำหนดค่าปกติไว้ว่าถ้าสูงเกิน 240 mg/dl จึงจะถือว่าสูงและเริ่มใช้ยา แต่สมัยนี้เราไม่ค่อยจะดูค่าโคเลสเตอรอลรวมกันเท่าไหร่แล้ว เราดูเจาะลึกลงไปถึงไขมันแต่ละชนิด และตัดสินใจใช้หรือไม่ใช้ยาจากระดับไขมันเลว (LDL) โดยไม่สนใจโคเลสเตอรอลรวมแล้ว เพราะค่านี้มักชักนำให้เข้าใจผิด ยกตัวอย่างเช่นตัวคุณนี้ถ้าดูค่าโคเลสเตอรอลรวมจะเห็นว่าได้ 214 ซึ่งก็แค่สูงเกินพอดีไปบ้างแต่ไม่สูงถึงกับต้องใช้ยา แต่ว่าจริงๆแล้วเป็นความเข้าใจผิด เพราะกรณีชองคุณนี้ค่าโคเลสเตอรอลรวมดูต่ำอยู่ได้เพราะคุณมีไขมันดี (HDL) ต่ำกว่าปกติ เลยพลอยทำให้ค่าโคเลสเตอรอลรวมต่ำไปด้วย ทั้งๆที่คุณเป็นคนมีไขมันเลวอยู่ในระดับสูงถึงขั้นต้องใช้ยาแล้ว

12.. AST(SGOT) = ย่อมาจาก aspartate transaminase หรือชื่อเก่าว่า serum glutamic oxaloacetic transaminase เป็นเอ็นไซม์ที่ปกติอยู่ในเซลของตับ ซึ่งจะไม่ออกมาในเลือด หากมีเอ็นไซม์ตัวนี้ออกมาในเลือดมากก็แสดงว่าเซลตับกำลังได้รับความเสียหาย เช่นอาจจะมีตับอักเสบจากการติดเชื้อหรือจากสารพิษ หรือแม้กระทั้งจากแอลกอฮอล์ และไขมันแทรกเนื้อตับ ค่าปกติของ AST คือไม่เกิน 40 IU/L แต่ของคุณได้ 55 ก็ถือว่าสูงกว่าปกติ อาจมีเหตุอะไรสักอย่างให้เซลตับบาดเจ็บ กรณีของคุณนี้เป็นคนน้ำหนักเกิน ไขมันในเลือดสูง สาเหตุอาจเกิดจากตับอักเสบจากไขมันก็ได้ นอกจากนี้เอ็นไซม์ตัวนี้ยังมีอยู่ในอวัยวะอื่นเช่น หัวใจ ไต สมอง ด้วย จึงไม่ได้จำเพาะเจาะจงว่าถ้าเอ็นไซม์ตัวนี้สูงต้องเป็นเรื่องของตับเท่านั้น

13.. ALT (SGPT) = ย่อมาจาก alamine amintransferase หรือชื่อเก่าว่า serum glutamic pyruvic transaminase เป็นเอ็นไซม์ที่ปกติอยู่ในเซลของตับเช่นเดียวกับ AST แต่ว่ามีความจำเพาะเจาะจงกับตับมากกว่า AST เสียอีก และ ALT นี้จะออกมาในเลือดเมื่อเซลตับได้รับความเสียหายเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่มีเนื้องอกอุดตันทางเดินน้ำดี ค่าปกติของ ALT คือไม่เกิน 34 IU/L แต่ของคุณได้ 57 ก็ถือว่าสูงกว่าปกติอยู่ดี ผมว่าคุณจะต้องมีอะไรสักอย่างที่ไม่เป็นมิตรกับเซลตับ ซึ่งต้องค้นหากันต่อไปว่ามันคืออะไร

14.. Alkaline Phosphatase = เป็นเอ็นไซม์ที่อยู่ในเซลของตับ ทางเดินน้ำดี และของกระดูกเป็นส่วนใหญ่ ความหมายของเอ็นไซม์ตัวนี้หากมันสูงขึ้นคืออาจจะมีปัญหาที่ทางเดินน้ำดี ตับ หรือกระดูก ค่าปกติในผู้ชายผู้ใหญ่ไม่เกิน 128 U/L ของคุณได้ 57 ก็อยู่ในเกณฑ์ปกติ

15.. GTT = ย่อมาจาก gamma glutamyl transpeptidase เป็นเอ็นไซม์ในเซลตับและทางเดินน้ำดีเช่นเดียวกับ ALT มีความไวต่อความเสียหายของเซลตับมากกว่า แต่ขาดความจำเพาะเจาะจง หมายความว่าเมื่อ GTT สูงจะเกิดจากอะไรก็ได้ที่อาจจะไม่ใช่เรื่องของตับ เช่นอาจมีปัญหาที่ตับอ่อน ที่หัวใจ ที่ปอด หรือแม้กระทั่งเป็นเบาหวาน อ้วน หรือดื่มแอลกอฮอล์ ก็ทำให้ GTT สูงได้ สารตัวนี้จึงไม่มีประโยชน์ในการคัดกรองโรคเลย อย่างของคุณก็สูงนะครับ คือค่าปกติเขาไม่เกิน 78 U/L แต่ของคุณได้ 84 เข้าใจว่าคงเป็นเพราะคุณอ้วนนั่นละมัง

16.. HBs Ag = ย่อมาจาก hepatitis B surface antigen แปลว่าตัวไวรัสตับอักเสบบี.ซึ่งตรวจจากโมเลกุลที่ผิวของมัน ถ้าตรวจได้ผลบวกก็แปลว่ามีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี.อยู่ในตัว ของคุณตรวจได้ผลลบ ก็แปลว่าไม่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี.

17.. Anti HBs = ย่อมาจาก antibody to hepatitis B surface antigen แปลว่าภูมิต้านทานต่อไวรัสตับอักเสบบี. คุณตรวจได้ผลบวกก็แปลว่าคุณมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสบี.แล้ว ไม่ต้องไปแสวงหาการฉีดวัคซีนญ

เอาละ ได้เข้าใจความหมายของสารเคมีแค่ละตัวแล้ว คราวนี้ลองมาประเมินภาพรวมสุขภาพของคุณนะ ว่าจากผลการตรวจสุขภาพครั้งนี้ คุณมีปัญหาซึ่งผมไล่เลียงจากเรื่องใหญ่ลงไปหาเรื่องเล็ก ดังนี้

ปัญหาที่ 1. เป็นโรคไตเรื้อรัง ระยะที่ 3
ปัญหาที่ 2. ไขมันในเลือดสูงถึงระดับต้องรักษา
ปัญหาที่ 3. ใกล้จะเป็นเบาหวาน
ปัญหาที่ 4. ดัชนีมวลการสูงเกินพอดี (พูดง่ายๆว่าอ้วน)
ปัญหาที่ 5. มีเอ็นไซม์ของตับสูงโดยที่ยังไม่ทราบสาเหตุ
ปัญหาที่ 6. กรดยูริกสูงโดยไม่มีอาการ

โอ้.. อายุแค่ 42 ปีเอง ปัญหาแยะเหมือนกันนะเนี่ย แต่คุณไม่ใช่คนพิเศษที่แย่กว่าคนอื่นมากมายหรอกครับ คนไทยวัยคุณนี้ ซึ่งพวกการตลาดเขาเรียกว่า Generation X หรือเรียกสั้นๆว่า Gen X คือมีอายุประมาณสามสิบกว่าไปถึงห้าสิบ คนไทยรุ่นนี้เจาะเลือดมาดูเถอะครับ สิทธิการิยะท่านว่าจะไม่ได้ตายดี อุ๊บ..ขอโทษ ผมปากเสียอีกละ พูดใหม่ เจาะเลือดมาดูเถอะ โครงสร้างของสารเคมีในเลือดแตกต่างจากคนไทยรุ่นก่อนนั้นราวกับเป็นมนุษย์คนละพันธ์ มีงานวิจัยหลายรายการมากที่สนับสนุนคำพูดของผม รวมทั้งงานวิจัยของผมเองที่ศึกษาเคมีของเลือดคนสุขภาพดีอายุ 40+ จำนวนสามพันกว่าคนที่มาตรวจสุขภาพที่รพ.พญาไท 2 พบว่าเกินครึ่งมีไขมันในเลือดผิดปกติถึงระดับที่ต้องใช้ยา ประมาณหนึ่งในสามเป็นความดันเลือดสูง โดยที่ส่วนใหญ่ยังไม่รู้ตัว และหนึ่งในสามใกล้จะเป็นเบาหวาน และมีดัชนีมวลกายเฉลี่ยสูงเกินพอดี คือเป็นคนไทยรุ่นที่มีปัจจัยเสี่ยงที่จะเป็นโรคเรื้อรังอยู่เพียบ..บ..บ จนสามารถคาดเดาได้เลยว่าคนวัยนี้จะจบชีวิตด้วยการป่วยเป็นโรคเรื้อรังอันได้แก่โรคหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง (อัมพาต) ความดันเลือดสูง โรคไต โรคเบาหวาน เป็นต้น จนผมอยากจะเปลี่ยนชื่อรุ่นจาก Gen X เป็น Gen Sick แทน เพราะว่ายังไม่ทันแก่ก็มีโรคแพลมออกมาให้เห็นเพียบแล้ว เมื่อหลายเดือนก่อนมีหมอน้อยคนหนึ่งมาปรึกษาว่าจะไปฝึกอบรมทางด้านผ่าตัดหัวใจดีไหม อนาคตการทำมาหากินจะฝืดเคืองไหม ผมรีบตอบว่า

“เอาเลยน้อง พี่ดูไขมันในเลือดของคนไข้วัยสี่สิบห้าสิบวันนี้แล้ว เอ็งจบแล้วจะมีงานทำล้นมือไปอีกอย่างน้อยยี่สิบปี”

ขอโทษ เผลอนินทา Gen X ไปซะหลายกระบุง กลับมาที่เรื่องของคุณดีกว่า เมื่อเรียงลำดับปัญหาสุขภาพได้แล้ว ขั้นต่อไปก็ต้องวางแผนสุขภาพประจำปี ว่าปีนี้คุณต้องทำอะไรบ้าง ซึ่งกระบวนการนี้ต้องทำร่วมกันระหว่างตัวคุณในฐานะคนไข้กับหมอที่ตรวจสุขภาพประจำปีให้คุณ แต่วันนี้ผมทำให้คุณข้างเดียวก็แล้วกันนะ สิ่งที่คุณจะต้องทำในปีนี้คือ

1.. คุณต้องรีบป้องกันไตของตัวเองไม่ให้เสื่อมไปมากกว่านี้ โดย

1.1 งดยาที่มีพิษต่อไตเด็ดขาด โดยเฉพาะยาแก้ปวดแก้อักเสบ ซึ่งผมเดาว่าคุณคงจะกินแก้ปวดเข่าของคุณอยู่ ต้องเลิก หรือจำกัดให้เหลือน้อยที่สุด เพราะยานี้ทำให้ไตพัง

1.2 งดการตรวจวินิจฉัยด้วยการฉีดสารทึบรังสีอย่างสุดชีวิต เพราะการฉีดสารทึบรังสีเป็นการขย่มเนื้อไตให้พังอย่างเป็นเนื้อเป็นหนังได้มากที่สุด ถ้าหมอจะทำต้องหาทางหลีกไปทำด้วยวิธีอื่นที่ไม่มีการใช้สารทึบรังสี

1.3 อย่าให้ร่างกายขาดน้ำ เพราะร่างกายขาดน้ำเป็นตัวเร่งการเสื่อมของไต ถ้าขาดน้ำมากๆไตอาจจะพังไปเลยในชั่วข้ามวัน ให้คุณดื่มน้ำวันละอย่างน้อย 2 ลิตร ตั้งน้ำไว้ทุกหนทุกแห่ง ไม่ว่าจะเป็นห้องนอน ห้องทีวี ห้องน้ำ เลิกนิสัยดื่มน้ำจากตู้เย็น เพราะการต้องลุกเดินไปเอาน้ำจากตู้เย็นทำให้ไม่ได้ดื่มน้ำสักที

1.4 สืบค้นให้แน่ใจว่าไม่มีโรคไตที่แก้ไขได้แต่คุณยังไม่รู้ จะให้ดีไปหาหมอไตอย่างน้อยสักหนึ่งครั้ง เพราะขณะนี้คุณเป็นโรคไตเรื้อรังแล้ว ไม่ไปหาหมอไตแล้วคุณจะไปหาลิง (อุ๊บ ขอโทษ) คุณจะไปหาหมอสาขาไหนละครับ การสืบค้นที่ควรทำคืออย่างน้อยควรตรวจอุลตร้าซาวด์ไตดูว่ามีนิ่วซึ่งอาจจะเอาออกได้ง่ายๆหรือเปล่า ตรวจโปรตีน (microalbumin) ในปัสสาวะเพื่อดูว่าการทำงานของไตเสียมากหรือเปล่า คือถ้าเสียมากก็จะมีโปรตีนรั่วออกมาในปัสสาวะมาก

2.. ในประเด็นไขมันในเลือดสูง อ้วน ใกล้เป็นเบาหวาน ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องเดียวกันคือความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด การจะแก้ปัญหาเหล่านี้คุณต้องวางแผนแก้ปัญหาเป็นชุดแบบเบ็ดเสร็จ เรียกว่าต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตไปอย่างสิ้นเชิง (total lifestyle modification) อันได้แก่

2.1 คุณต้องจัดเวลาอย่างน้อย 1 ชั่วโมงต่อวันไว้ออกกำลังกาย และฝึกตัวเองทุกวันจนสามารถออกกำลังกายได้ถึงระดับมาตรฐาน คือออกกำลังกายแบบต่อเนื่อง (แอโรบิก) ได้จนถึงระดับหนักปานกลาง คือหอบแฮ่กๆจนร้องเพลงไม่ได้ นานอย่างน้อย 30 นาที สัปดาห์ละอย่างน้อย 5 วัน ควบกับการเล่นกล้ามอีกอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง

2.2 คุณต้องปรับโภชนาการของคุณไปอย่างสิ้นเชิง กล่าวคือด้านหนึ่งคุณต้องลดการบริโภคอาหารให้พลังงานลงให้เหลือสัก 1 ใน 4 ของที่เคยทานก็พอ อาหารให้พลังงานตัวเอ้สามตัวคือ
(1) น้ำตาลที่เพิ่มเข้ามาในเครื่องดื่มซอฟท์ดริ๊งค์ต่างๆ
(2) ไขมันทรานส์ หมายถึงไขมันผงที่ใช้ทำอาหารอุตสาหกรรมเช่นครีมเทียม เนยเทียม เค้ก คุ้กกี้ ขนมกรุบกรอบ ไอศกรีม เป็นต้น
(3) คาร์โบไฮเดรตที่ขัดสี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้าวขาว เส้นก๋วยเตี๋ยว เส้นหมี่ แป้ง ขนม ต่างๆ
อีกด้านหนึ่งคุณต้องเพิ่มการบริโภคผักและผลไม้ให้มากๆๆ อย่างน้อยวันหนึ่งให้ได้ 5 เสริฟวิ่ง เรียกว่าให้ทานผักและผลไม้เป็นวัว

2.3 คุณต้องจัดดุลชีวิตคุณใหม่ หมายถึงดุลระหว่างงานกับชีวิต ต้องเรียนรู้วิธีจัดการความเครียดและฝึกทำมันทุกวันจนมีทักษะที่จะลดความเครียดให้ตัวเองอย่างได้ผล

2.4 คุณต้องลดน้ำหนักตัวเองลง ถ้าสามารถลดจนดัชนีมวลกายเหลือสัก 23 ก็จะดี นั่นคือลดน้ำหนักจาก 72 กก. เหลือ 62 กก. แต่ถ้าไม่สามารถ ให้ลดลงจากเดิมสักสิบเปอร์เซ็นต์ คือเหลือ 65 กก. ก็ถือว่าพอรับได้ การลดน้ำหนักเป็นการยิงทีเดียวได้นกสามตัว คือ (1) ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด (2) รักษารักษาอาการปวดเข่า และ (3) ป้องกันโรคเก้าท์ เพราะคุณมีกรดยูริกสูงเป็นทุนอยู่แล้ว

2.5 หลังจากทำตัวดีได้ครบ 3 เดือน แล้ว คุณต้องกลับไปหาหมออีกครั้งหนึ่งเพื่อประเมินปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจหลอดเลือดซ้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องไขมัน LDL ซึ่งถ้าหากยังสูงเกิน 130 อยู่อีก คราวนี้คุณต้องทานยาลดไขมัน เพื่อป้องกันไม่ให้ภาวะไขมันในเลือดสูงชักนำคุณให้เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆถ้าประเมินแล้วพบก็แก้ไขเสียให้หมด เช่นถ้าความดันเลือดสูงก็ต้องรีบรักษา ถ้าสูบบุหรี่อยู่ต้องเลิก

3.. ในประเด็นที่มีเอ็นไซม์ของตับสูงผิดปกตินั้น สิ่งที่พึงทำคือลดสิ่งที่จะเป็นพิษต่อตับออกไปก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแอลกอฮอล์ ยาแก้ปวดพาราเซ็ตตามอลนี่ก็เป็นพิษต่อตับ แล้วเมื่อกลับไปโรงหมอในอีกสามเดือนข้างหน้า ให้คุณตรวจภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบเอ. และไวรัสตับอักเสบซี.ด้วย เพราะหากยังไม่มีภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบเอ. คุณก็ควรจะฉีดวัคซีนซะ เนื่องจากตับไม่ค่อยดีอยู่แล้ว อะไรที่จะป้องกันตับไม่ให้เสียหายมากไปกว่านี้ได้ต้องรีบทำ ในประเด็นการตรวจภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบซี.นั้น หากพบว่าคุณเคยติดเชื้อตับอักเสบซี.คุณต้องไปหาหมอตับ (hepatologist) เพราะตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสซี.อาจเป็นสาเหตุให้เอ็นไซม์สูง ที่สำคัญคือปัจจุบันนี้หมอตับอาจจะตัดสินใจใช้อินเตอร์เฟียรอนรักษาไวรัสซี.ในจังหวะที่เหมาะสม

4.. ในประเด็นกรดยูริกสูงนั้น ยังไม่ใช่วาระหลักในตอนนี้ เพราะคุณยังไม่มีอาการของโรคเก้าท์ยังไม่จำเป็นต้องใช้ยารักษา สิ่งที่พึงทำคือ

4.1 หลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารพิวรีนมาก เช่น ตับ ไต ปลาซาร์ดีน ไก่งวง ส่วนอาหารที่มีสารพิวรีนปานกลาง เช่น หน่อไม้ฝรั่ง เนื้อวัว เนื้อไก่ ปู เป็ด ถั่ว เห็น กุ้ง หมู นั้นก็ควรทานแต่พอควร ส่วนอาหารที่มีสารพิวรีนน้อยเช่น ผลไม้ ธัญพืช ไข่ นม มะเขือเทศ ผักใบเขียวนั้น ทานได้ไม่จำกัด

4.2. ถ้าอ้วน ต้องลดน้ำหนักด้วยการออกกำลังกายและปรับโภชนาการ เพราะยิ่งอ้วน ยิ่งเป็นเก้าท์มากขึ้น

4.3. ถ้าดื่มแอลกอฮอล์ ต้องเลิก เพราะแอลกอฮอล์ทั้งเป็นตัวให้พิวรีนซึ่งจะกลายเป็นกรดยูริกมากขึ้น ทั้งทำให้ไตขับกรดยูริกทิ้งได้น้อยลง

4.4. ถ้าทานยาที่ทำให้เป็นเก้าท์ง่าย ต้องเปลี่ยน ผมไม่ทราบว่าคุณทานยาอะไรอยู่บ้าง ตรงนี้คุณไปดูเอาเองก็แล้วกัน

4.5 ตอนกลับไปหาหมอสามเดือนข้างหน้า ให้ขอหมอตรวจสถานะของฮอร์โมนต่อมไทรอยด์และพาราไทรอยด์ด้วยว่าเป็นอย่างไร เพราะสาเหตุสองอย่างของเก้าท์คือโรคไฮโปไทรอยด์ และโรคไฮเปอร์พาราไทรอยด์ อย่างน้อยคุณต้องเจาะเลือดดูฮอร์โมนสองตัวนี้

ที่ผมเขียนยืดยาวเนี่ยก็เพื่อเป็นตัวอย่างให้ท่านผู้อ่านท่านอื่นได้ไอเดียว่าเมื่อเราไปตรวจสุขภาพประจำปี เราควรใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่ได้อย่างไร นั่นคือเราต้องสรุปให้ได้ว่าจากข้อมูลที่ได้มา เรามีปัญหาสุขภาพอะไรบ้าง แล้วก็จัดทำแผนว่าปีนี้เราจะทำอะไรให้สุขภาพของเราดีขึ้นบ้าง แล้วก็...ลงมือทำ

นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์

บรรณานุกรม

1. Fadem SZ, Rosenthal B. CKD-EPI and MDRD-GFR Calculator using standardized serum creatinine, age, race, gender. Accessed on October 3, 2012 at //nephron.org/cgi-bin/MDRD_GFR/cgi


โดย: หมอหมู วันที่: 18 สิงหาคม 2560 เวลา:15:34:19 น.  

 
อ่านผลตรวจเลือดด้วยตนเอง

โดย นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์

วันนี้ผมจะรวบยอดสอนการแปลผลการตรวจเคมีในเลือดให้ฟัง ท่านที่ถามมาคล้ายกันแต่ว่าผมไม่ได้ตอบก็ขอให้เอาวิธีแปลผลที่คุยกันวันนี้ไปแปลผลการตรวจของท่านเอาเองก็แล้วกัน

1.. Blood chemistry แปลตรงๆว่าเคมีของเลือด หมายถึงระดับของสารต่างๆที่อยู่ในเลือดซึ่งก่อปฏิกิริยาเคมีได้ ซึ่งการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของสารเหล่านี้ บ่งบอกไปถึงว่าจะมีโรคอะไรเกิดขึ้นในร่างกายบ้าง

2.. FBS = ย่อมาจาก fasting blood sugar แปลว่าระดับน้ำตาลในเลือดหลังการอดอาหารมาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง เป็นการตรวจสถานะของโรคเบาหวานโดยตรง คือคนปกติค่านี้จะต่ำกว่า 100 mg/dL ถ้าของใครสูงเกิน 125 ก็ถือว่าเป็นเบาหวานแล้วอย่างบริบูรณ์

3.. HbA1C = ย่อมาจาก hemoglobin A1C แปลว่าระน้ำตาลสะสมเฉลี่ยสามเดือนในเม็ดเลือดแดง มีความหมายคล้ายๆกับค่า FBS คือโดยคำนิยามถ้าน้ำตาลสะสมเฉลี่ยของของใครสูงกว่า 6.5% ก็ถือว่าเป็นโรคเบาหวานไปแล้วอย่างบริบูรณ์ ค่า HbA1C นี้ดีกว่าค่า FBS ในสองประเด็น คือ3.1 ทำให้เราตรวจคัดกรองเบาหวานได้ทุกเมื่อ โดยไม่ต้องอดอาหารมาล่วงหน้า3.2 การที่มันสะท้อนค่าน้ำตาลในเลือดในช่วงเวลาสามเดือนย้อนหลัง จึงตัดปัญหาระดับน้ำตาลวูบวาบในช่วงหนึ่งวันก่อนการตรวจ คือคนไข้บางคนที่จะทำตัวดีเฉพาะสองสามวันก่อนไปหาหมอเพื่อให้น้ำตาลในเลือดดูดี พอคล้อยหลังหมอตรวจเสร็จก็ออกมาสั่งไอติมมากินเป็นกะละมังให้หายอยาก คนไข้แบบนี้การตรวจ HbA1C จะทำให้ทราบสถานะที่แท้จริงของเบาหวานดีกว่า

4.. BUN = ย่อมาจาก blood urea nitrogen แปลว่าไนโตรเจนในรูปของยูเรีย ตัวยูเรียนี้เป็นเศษของเหลือจากการเผาผลาญโปรตีนที่ตับ ซึ่งต้องถูกกำจัดทิ้งโดยไต การวัดระดับค่าของ BUN เป็นตัวบ่งบอกว่าเลือดไหลไปกรองที่ไตมากพอหรือไม่ ในภาวะที่เลือดไหลไป่กรองที่ไตน้อยลง เช่นในภาวะร่างกายขาดน้ำ หรือสูญเสียเลือดไปทางอื่นเช่นเลือดออกในทางเดินอาหาร หรือในภาวะช็อก ระดับของ BUN จะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ค่าปกติของ BUN คือ 8-24

5.. Cr = เขียนเต็มว่า Creatinine แปลว่าเศษเหลือจากการสลายตัวของกล้ามเนื้อ คือกล้ามเนื้อของคนเรานี้มันสลายตัวและสร้างใหม่อยู่ตลอดเวลา คนมีกล้ามมากก็สลายตัวมากสร้างมาก Cr ซึ่งเป็นเศษซากที่สลายตัวออกมาจะถูกไตขับทิ้งไป แต่ในกรณีที่ไตเสียการทำงาน เช่นเป็นโรคไตเรื้อรัง ไตจะขับ Cr ออกทิ้งไม่ทันกับที่กล้ามเนื้อสลายออกมา ทำให้ระดับ Cr ในเลือดสูงผิดปกติ ค่าปกติของมันคือ 0.7-1.2 mg/dL

6.. eGFR = เรียกสั้นๆว่า จีเอฟอาร์. ย่อมาจาก estimated glomerular filtration rate แปลว่าอัตราการไหลของเลือดผ่านตัวกรองของไตในหนึ่งนาที ค่านี้ได้จากการคำนวณเอาจาก Cr กับอายุ และชาติพันธุ์ของเจ้าตัว ห้องแล็บที่ยังไม่ทันสมัยจะไม่รายงานค่านี้ ถ้าเจ้าตัวอยากทราบค่านี้ต้องเอาค่า Cr ที่ได้ไปอาศัย GFR calculator ตามเว็บในเน็ทคำนวณให้ ค่าจีเอฟอาร์.นี้มีประโยชน์มากในแง่ที่ใช้แบ่งระดับความรุนแรงของคนที่ Cr ผิดปกติอย่างคุณนี้ว่ามีความรุนแรงเป็นโรคไตเรื้อรังระยะไหนของ 5 ระยะ กล่าวคือระยะที่ 1 ตรวจพบพยาธิสภาพที่ไตแล้ว แต่ไตยังทำงานปกติ (จีเอฟอาร์ 90 มล./นาที ขึ้นไป) ระยะที่ 2 ตรวจพบพยาธิสภาพที่ไตแล้ว และไตเริ่มทำงานผิดปกติเล็กน้อย (จีเอฟอาร์ 60-89 มล./นาที) ระยะที่ 3 ไตทำงานผิดปกติปานกลาง ไม่ว่าจะตรวจพบพยาธิสภาพที่ไตหรือไม่ก็ตาม (จีเอฟอาร์ 30-59 มล./นาที)ระยะที่ 4 ไตทำงานผิดปกติมาก (จีเอฟอาร์ 15-29 มล./นาที)ระยะที่ 5. ระยะสุดท้าย (จีเอฟอาร์ต่ำกว่า 15 หรือต้องล้างไต)

7.. Uric acid ก็คือกรดยูริกที่เป็นต้นเหตุของโรคเก้าท์นั่นแหละ ค่าปกติของกรดยูริกในเลือดคือ 3.4-7.0

8..Triglyceride คือไขมันไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเป็นไขมันก่อโรคชนิดหนึ่งในร่างกายเรา ระดับที่สูงจนต้องใช้ยาคือเกิน 200 mg/dl

9.. HDL-cholesterol เรียกสั้นๆว่าเอ็ช.ดี.แอล. เรียกอีกอย่างว่า “ไขมันดี” เพราะมันเป็นไขมันที่ดึงไขมันที่พอกหลอดเลือดออกไปจากหลอดเลือด ดังนั้นยิ่งมีเอ็ช.ดี.แอล.มากก็ยิ่งดี คนปกติควรมีเอ็ขดีแอล.เกิน 40 mg/dl ขึ้นไป

10.. LDL-cholesterol เรียกสั้นๆว่าแอลดีแอล. หรือเรียกอีกอย่างว่า “ไขมันเลว” เพราะมันเป็นตัวไขมันที่พอกอยู่ที่ผนังหลอดเลือดและเป็นไขมันก่อโรคโดยตรง การจะตัดสินว่าคนไข้คนไหนควรกินยาลดไขมันเมื่อไหร่ก็ตัดสินกันจากระดับแอลดีแอล.นี่แหละ โดยเทียบกับความเสี่ยงในการเป็นโรคที่แต่ละคนมีเป็นทุนอยู่แล้ว กล่าวคือถ้ามีความเสี่ยงต่ำ จะให้เริ่มทานยาลดไขมันเมื่อ LDL มากกว่า 160ถ้ามีความเสี่ยงปานกลาง จะให้เริ่มทานยาลดไขมันเมื่อ LDL มากกว่า 130ถ้ามีความเสี่ยงสูง หรือเป็นโรคหัวใจ หรือเบาหวาน หรืออัมพาตแล้ว จะให้เริ่มทานยาลดไขมันเมื่อ LDL มากกว่า 100

11. Total Cholesterol หมายถึงโคเลสเตอรอลรวมในร่างกาย เป็นค่ารวมของไขมันสามอย่าง กล่าวคือ โคเลสเตอรอลรวม = ไขมันดี (HDL) + ไขมันเลว (LDL) + หนึ่งในห้าของไขมันไตรกลีเซอไรด์ สมัยก่อนเราใช้ค่าโคเลสเตอรอลรวมตัวนี้ตัวเดียวในการประเมินไขมันในเลือด จึงได้กำหนดค่าปกติไว้ว่าถ้าสูงเกิน 240 mg/dl จึงจะถือว่าสูงและเริ่มใช้ยา แต่สมัยนี้เราไม่ค่อยจะดูค่าโคเลสเตอรอลรวมกันเท่าไหร่แล้ว เราดูเจาะลึกลงไปถึงไขมันแต่ละชนิด และตัดสินใจใช้หรือไม่ใช้ยาจากระดับไขมันเลว (LDL) โดยไม่สนใจโคเลสเตอรอลรวมแล้ว เพราะค่านี้มักชักนำให้เข้าใจผิด ยกตัวอย่างเช่นถ้าดูค่าโคเลสเตอรอลรวมได้ 214 ซึ่งก็แค่สูงเกินพอดีไปบ้างแต่ไม่สูงถึงกับต้องใช้ยา แต่ว่าจริงๆแล้วเป็นความเข้าใจผิด เพราะค่าโคเลสเตอรอลรวมดูต่ำอยู่ได้เพราะมีไขมันดี (HDL) ต่ำกว่าปกติ เลยพลอยทำให้ค่าโคเลสเตอรอลรวมต่ำไปด้วย ทั้งๆที่เป็นคนมีไขมันเลวอยู่ในระดับสูงถึงขั้นต้องใช้ยาแล้ว

12.. AST(SGOT) = ย่อมาจาก aspartate transaminase หรือชื่อเก่าว่า serum glutamic oxaloacetic transaminase เป็นเอ็นไซม์ที่ปกติอยู่ในเซลของตับ ซึ่งจะไม่ออกมาในเลือด หากมีเอ็นไซม์ตัวนี้ออกมาในเลือดมากก็แสดงว่าเซลตับกำลังได้รับความเสียหาย เช่นอาจจะมีตับอักเสบจากการติดเชื้อหรือจากสารพิษ หรือแม้กระทั้งจากแอลกอฮอล์ และไขมันแทรกเนื้อตับ ค่าปกติของ AST คือไม่เกิน 40 IU/L

13.. ALT (SGPT) = ย่อมาจาก alamine amintransferase หรือชื่อเก่าว่า serum glutamic pyruvic transaminase เป็นเอ็นไซม์ที่ปกติอยู่ในเซลของตับเช่นเดียวกับ AST และจะออกมาในเลือดเมื่อเซลตับได้รับความเสียหายเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่มีเนื้องอกอุดตันทางเดินน้ำดี ค่าปกติของ ALT คือไม่เกิน 34 IU/L

14.. Alkaline Phosphatase = เป็นเอ็นไซม์ที่อยู่ในเซลของตับ ทางเดินน้ำดี และของกระดูกเป็นส่วนใหญ่ ความหมายของเอ็นไซม์ตัวนี้หากมันสูงขึ้นคืออาจจะมีปัญหาที่ทางเดินน้ำดี ตับ หรือกระดูก ค่าปกติในผู้ชายผู้ใหญ่ไม่เกิน 128 U/L

15.. GTT = ย่อมาจาก gamma glytamyl transpeptidase เป็นเอ็นไซม์ในเซลตับและทางเดินน้ำดีเช่นเดียวกับ ALT มีความไวต่อความเสียหายของเซลตับมากกว่า แต่ขาดความจำเพาะเจาะจง หมายความว่าเมื่อ GTT สูงจะเกิดจากอะไรก็ได้ที่อาจจะไม่ใช่เรื่องของตับ เช่นอาจมีปัญหาที่ตับอ่อน ที่หัวใจ ที่ปอด หรือแม้กระทั่งเป็นเบาหวาน อ้วน หรือดื่มแอลกอฮอล์ ก็ทำให้ GTT สูงได้ สารตัวนี้จึงไม่มีประโยชน์ในการคัดกรองโรคเลย

16.. HBs Ag = ย่อมาจาก hepatitis B surface antigen แปลว่าตัวไวรัสตับอักเสบบี.ซึ่งตรวจจากโมเลกุลที่ผิวของมัน ถ้าตรวจได้ผลบวกก็แปลว่ามีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี.อยู่ในตัว หากตรวจได้ผลลบ ก็แปลว่าไม่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี.

17.. Anti HBs = ย่อมาจาก antibody to hepatitis B surface antigen แปลว่าภูมิต้านทานต่อไวรัสตับอักเสบบี. หากตรวจได้ผลบวกก็แปลว่าคุณมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสบี.แล้ว ไม่ต้องไปแสวงหาการฉีดวัคซีน

คนไทยวัยGeneration X หรือเรียกสั้นๆว่า Gen X คือมีอายุประมาณสามสิบกว่าไปถึงห้าสิบ คนไทยรุ่นนี้เจาะเลือดมาดูเถอะครับ สิทธิการิยะท่านว่าจะไม่ได้ตายดี อุ๊บ..ขอโทษ ผมปากเสียอีกละ พูดใหม่ เจาะเลือดมาดูเถอะ โครงสร้างของสารเคมีในเลือดแตกต่างจากคนไทยรุ่นก่อนนั้นราวกับเป็นมนุษย์คนละพันธ์

มีงานวิจัยหลายรายการมากที่สนับสนุนคำพูดของผม รวมทั้งงานวิจัยของผมเองที่ศึกษาเคมีของเลือดคนสุขภาพดีอายุ 40+ จำนวนสามพันกว่าคนที่มาตรวจสุขภาพที่รพ.พญาไท 2 พบว่าเกินครึ่งมีไขมันในเลือดผิดปกติถึงระดับที่ต้องใช้ยา ประมาณหนึ่งในสามเป็นความดันเลือดสูง โดยที่ส่วนใหญ่ยังไม่รู้ตัว และหนึ่งในสามใกล้จะเป็นเบาหวาน และมีดัชนีมวลกายเฉลี่ยสูงเกินพอดี คือเป็นคนไทยรุ่นที่มีปัจจัยเสี่ยงที่จะเป็นโรคเรื้อรังอยู่เพียบ..บ..บ จนสามารถคาดเดาได้เลยว่าคนวัยนี้จะจบชีวิตด้วยการป่วยเป็นโรคเรื้อรังอันได้แก่โรคหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง (อัมพาต) ความดันเลือดสูง โรคไต โรคเบาหวาน เป็นต้น จนผมอยากจะเปลี่ยนชื่อรุ่นจาก Gen X เป็น Gen Sick แทน เพราะว่ายังไม่ทันแก่ก็มีโรคแพลมออกมาให้เห็นเพียบแล้ว

เมื่อหลายเดือนก่อนมีหมอน้อยคนหนึ่งมาปรึกษาว่าจะไปฝึกอบรมทางด้านผ่าตัดหัวใจดีไหม อนาคตการทำมาหากินจะฝืดเคืองไหม ผมรีบตอบว่า “เอาเลยน้อง พี่ดูไขมันในเลือดของคนไข้วัยสี่สิบห้าสิบวันนี้แล้ว เอ็งจบแล้วจะมีงานทำล้นมือไปอีกอย่างน้อยยี่สิบปี”

คัดย่อจาก บทความเรื่องสอนวิธีแปลผลเคมีของเลือด เมื่อ วันที่ 4 ตุลาคม 2555

เขียนเผยแพร่ใน บล็อค DrSant
บทความสุขภาพ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์


โดย: หมอหมู วันที่: 23 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา:15:31:23 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]