Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

โรคหน้าร้อน โรคลมแดด ท้องเสีย น้ำเกลือแร่ ORS ... (นำมาฝาก ไม่ได้เขียนเอง)






โรคหน้าร้อน ?

1. โรคทางเดินอาหาร

2. โรคพิษสุนัขบ้า

3. โรคลมแดด

4. การจมน้ำ

 

1 โรคทางเดินอาหาร

ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ โรคบิด อหิวาตกโรค และไข้ไทฟอยด์โดยพบมากที่สุด คือ โรคอุจจาระร่วง ป่วย 175,270 ราย เสียชีวิต 2 ราย

หลังสำคัญในการป้องกัน ก็คือ สุขอนามัย ที่ดี โดยยึดหลักกินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารสุกๆดิบๆ หลังเข้าห้องส้วมต้องล้างมือด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาดทุกครั้ง

สาเหตุที่ควรรับประทานอาหารขณะที่ยังร้อนอยู่ เนื่องจากถ้าปล่อยทิ้งไว้นานเกิน 2 ชั่วโมงเชื้อโรคก็จะเจริญเติบโตได้

อาหารสดก่อนนำมา ปรุง ควรล้างทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่า 2-3 ครั้ง

ส่วนผักหลังจากล้างน้ำควรแช่ในน้ำผสมเกลือ อัตราส่วน 2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 4 ลิตรหรือน้ำส้มสายชู อัตราส่วนครึ่งถ้วยตวงต่อน้ำ 4 ลิตรหรือเบคกิ้งโซดา อัตราส่วน 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 4 ลิตร ทิ้งไว้ 15-30 นาที แล้วล้างน้ำเปล่าอีก2 ครั้ง

ที่สำคัญควรล้างมือก่อนปรุงอาหาร และใช้อุปกรณ์หยิบจับอาหารหรือสวมถุงมือในการหยิบจับอาหารโดยเฉพาะอาหารที่ผู้ปรุงมักจะใช้มือสัมผัสในระหว่างการปรุง เช่น ข้าวมันไก่ ข้าวหมูแดงข้าวหมูกรอบ ขนมจีน

สำหรับอาหารที่ทำขาย หากระยะเวลาจำหน่ายนานมากควรนำมาอุ่นทุกๆ 4 ชม.

อาหารปรุงสำเร็จที่ซื้อมารับประทานหากไม่รับประทานทันทีควรเก็บในตู้ เย็นที่อุณหภูมิไม่เกิน5 องศาเซลเซียส ทั้งนี้ หากจะรับประทานอาหารที่เก็บไว้ในตู้เย็นนานเกิน4 ชั่วโมง หรือเก็บไว้ค้างคืนต้องนำมาอุ่นให้เดือดด้วยความร้อนอย่างทั่วถึงก่อน

น้ำดื่มควรต้มสุกหรือดื่มน้ำที่บรรจุขวดที่ได้มาตรฐานน้ำบริโภค

น้ำแข็งต้องเป็นน้ำแข็งที่ผลิตเพื่อการบริโภคและได้มาตรฐานรับรองเท่านั้นน้ำแข็งหลอดจะปลอดภัยกว่าน้ำแข็งป่นแต่ในช่วงนี้ควรรับประทานน้ำในขวดที่แช่เย็นโดยไม่ต้องใส่น้ำแข็งจะปลอดภัยมากกว่า

การดูแลรักษาเบื้องต้น

เมื่อเกิดโรคอุจจาระร่วงสามารถเริ่มต้นรักษาได้ที่บ้านโดยใช้กฎ 3 ข้อ ขององค์การนามัยโลก

1. ให้สารน้ำละลายเกลือแร่โอ อาร์ เอส หรือของเหลวมากกว่าปกติ เพื่อป้องกันการขาดน้ำ (สามารถทำ ORS ได้เองโดยใช้น้ำตาลทราย 2ช้อนโต๊ะ ผสมเกลือแกงครึ่งช้อนชา ลงในน้ำต้มสุก 1 ขวด (ประมาณ 750 ซีซี))

2. ให้อาหารอ่อนย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊กหรือน้ำข้าว หรือแกงจืด ไม่งดอาหาร เพื่อป้องกันการขาดสารอาหาร

3. เมื่ออาการโรคอุจจาระร่วงไม่ดีขึ้นก็ควรไปพบแพทย์

ไม่ควรซื้อยาปฏิชีวนะ หรือยาแก้ท้องเสียรับประทานเอง เพราะการถ่ายอุจจาระเป็นกลไกของร่างกายที่จะขับไล่ของเสีย สารพิษและเชื้อโรคออกจากร่างกายการรับประทานยาหยุดถ่ายหรือยาแก้ท้องเสียทำให้ลำไส้ต้องเก็บกักเชื้อโรคไว้ นานขึ้นและทำให้ท้องอืดแน่น

เมื่อใดควรไปพบแพทย์

1. ถ่ายเหลวมากกว่า ๓ ครั้ง ถ่ายเป็นมูกเลือดมีไข้

2. อาการท้องเสีย ไม่ดีขึ้นใน 24 ชั่วโมง

3. เป็นในผู้ป่วยโรคที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่นเด็กหรือผู้สูงอายุ ที่มีอาการขาดน้ำมาก ซึมลง

4. อาเจียนรุนแรง จนไม่สามารถรับประทานอาหาร หรือน้ำได้


2 โรคพิษสุนัขบ้า

ในปี 2557 มีผู้เสียชีวิต6 ราย มีพาหะหลักคือสุนัข และแมว ติดโรคจากการกัด ข่วนหรือเลียผิวหนังคนมีแผล และไม่มียารักษา แต่ก็สามารถป้องกันได้ ด้วยการนำสุนัขทุกตัวไปรับการฉีดวัคซีนและลดความเสี่ยงจากการถูกสุนัขกัดคือ อย่าไปแหย่สุนัขหากเห็นสุนัขท่าทางไม่น่าไว้วางใจก็ควรพยายามเดินเลี่ยง แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้แล้วโดนกัดวิธีที่ดูแลตนเองในเบื้องต้นก็คือล้างแผลให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ หากมียาฆ่าเชื้อเช่น ทิงเจอร์ ก็ใส่แผลได้เลยจากนั้นควรรีบไปพบแพทย์เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า

3 โรคลมแดด( อุณหพาต ,
ฮีทสโตรก) เกิดจากการที่ร่างกายได้รับความร้อนมากเกิน ทำให้ความร้อนในร่างกายสูงกว่า 40องศาเซลเซียส อาการที่พบเบื้องต้น ได้แก่ อ่อนเพลีย หน้ามืด เป็นลมหากรุนแรงอาจมีอาการตัวร้อนจัด คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้หมดสติและเสียชีวิตได้

สัญญาณสำคัญของโรคลมแดด ก็คือ ไม่มีเหงื่อออก ตัวร้อนจัดขึ้นเรื่อยๆซึ่งต่างจากการเพลียจากแดดทั่วๆ ไป ที่จะพบว่ามีเหงื่อออกด้วย

บุคคลที่เสี่ยงต่อโรคลมแดด คือ ทหาร นักกีฬา ผู้สูงอายุ เด็กคนดื่มสุราจัด โรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน

วิธีป้องกัน

ควรดื่มน้ำ 1-2 แก้วก่อนออกจากบ้าน หากอยู่ในสภาพอากาศร้อนดื่มน้ำให้ได้ชั่วโมงละ 1 ลิตร แม้ทำงานในร่มก็ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว แต่เมื่อเหงื่อออกมากและเริ่มเพลียอาจต้องดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่

สวมใส่เสื้อผ้าหลวม มีสีอ่อน ไม่หนา และระบายความร้อนได้ดี (ผ้าฝ้าย)

หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่แดดจัดเป็นเวลานาน โดยเฉพาะ การเล่นกีฬาหรือการออกกำลังกายที่เสียเหงื่อมากในช่วงอากาศร้อน พยายามอยู่ในที่ร่มอากาศถ่ายเทได้ดี เมื่อออกแดด ใช้ร่ม หรือ สวมหมวกปีกกว้าง

งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จำกัดหรืองดดื่ม เครื่องดื่มกาเฟอีนเพราะเครื่อง ดื่มเหล่านี้เพิ่มการขับน้ำทางปัสสาวะร่างกายจึงเสียน้ำและเกลือแร่มากขึ้น

วิธีรักษา

- ให้นอนราบยกเท้าสูงทั้งสองข้าง

-คลายชุดชั้นในและถอดเสื้อผ้าออกให้เหลือน้อยชิ้น

-ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นประคบตามซอกคอ ตัว รักแร้ ขาหนีบ หน้าผาก

- ใช้พัดลมช่วยเป่าระบายความร้อนหรือเทน้ำเย็นราดตัว

- ถ้าอาการไม่มากให้ดื่มน้ำเปล่าเยอะๆ และรีบส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด

 

4 การจมน้ำ การป้องกันเด็กจมน้ำ ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะตรงกับช่วงปิดเทอม ซึ่งมักจะมีข่าวว่าเด็กอายุต่ำกว่า15 ปี จมน้ำเป็นเสียชีวิตมาเป็นอันดับ 1

มาตรการที่ต้องยึดไว้ใช้ยามฉุกเฉิน คือตะโกน โยน ยื่น ได้แก่

1. ตะโกน คือ การเรียกให้คนอื่นมาช่วย และโทรแจ้งทีมแพทย์กู้ชีพ1669

2. โยนอุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ตัวเพื่อช่วยคนตกน้ำเกาะจับพยุงตัวเช่น เชือก ถังแกลลอนพลาสติกเปล่า โดยโยนครั้งละหลายๆชิ้น

3. ยื่นอุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ตัวให้คนตกน้ำจับ เช่น ไม้เสื้อ ให้คนตกน้ำจับและดึงขึ้นมาจากน้ำ โดยไม่ต้องกระโดดลงไปช่วยเพราะจากข้อมูลพบว่าเด็กมักจะจมน้ำเสียชีวิตพร้อมกันครั้งละหลายๆ คนเนื่องจากเด็กไม่รู้วิธีการเอาชีวิตรอดในน้ำและวิธีการช่วยเหลือผู้อื่นที่ถูกต้อง






ปัจจุบัน ภาวะโลกร้อนเป็นปัญหาที่ทุกคนให้ความสำคัญเพราะนับวันอุณหภูมิโลกมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ สำหรับประเทศไทยขณะนี้สภาพอากาศร้อนจัดกว่าทุกปี ทำให้ประชาชนมีความเสี่ยงในการเจ็บป่วยหลายโรคเช่น โรคในระบบทางเดินอาหารที่เกิดจากการรับประทานอาหารและน้ำที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนเข้าไปซึ่งเกิดบ่อยที่สุด แต่โรคที่มีการพูดถึงกันน้อยคนเป็นบ่อยช่วงหน้าร้อนคือ "โรคฮีทสโตรก" หรือ "โรคลมแดด" (HeatStroke) แต่บางที่ก็เรียกว่า "โรคอุณหพาต" หรือ"โรคลมเหตุร้อน" นั้นเอง

โรคลมแดด (Heatstroke หรือ Heat illness หรือ Heat-relatedillness) เป็นภาวะที่เกิดจากมีความร้อนในสิ่งแวดล้อมสูง เช่นในฤดูร้อนจัดจนร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนที่เกิดจากการใช้พลังงานของร่างกายตามปกติได้ ส่งผลให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้นกว่าปกติจึงก่อให้เกิดอาการผิดปกติขึ้น

เมื่ออุณหภูมิในสิ่งแวดล้อม (อากาศ) สูงขึ้นจะส่งผลให้ร่างกายเพิ่มอัตราการเผาผลาญพลังงาน สูงขึ้นตามไปด้วยโดยมีการศึกษาพบว่า ร่างกายจะเพิ่มการเผาผลาญพลังงานเพิ่มสูงขึ้น 10% เมื่ออุณหภูมิของอากาศเพิ่มขึ้นทุกๆ 0.6องศาเซลเซียส

 

ใครบ้างมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคลมแดด?

ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคลมแดด ได้แก่

ผู้สูงอายุ เนื่องจากมีโรคประจำตัวหลายโรคกินยาบางชนิดที่อาจก่อให้การระบายความร้อนของร่างกายลดลงรวมทั้งอวัยวะต่างๆที่ทำหน้าที่ระบายความร้อน เช่น หลอดเลือด หัวใจ และปอดยังทำงานเสื่อมลงนอกจากนั้น ผู้สูงอายุมักดื่มน้ำน้อย ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยและต้องพึ่งพาผู้อื่นในการใช้ชีวิตประจำวัน

เด็กโดยเฉพาะเด็กอ่อน และเด็กเล็กเพราะร่างกายเด็กมีการเผาผลาญพลังงานสูงกว่าในผู้ใหญ่อวัยวะต่างๆรวมทั้งที่ใช้ช่วยระบายความร้อนยังมีขนาดเล็กและเด็กยังต้องได้รับการดูแลจากผู้อื่น

โรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน เพราะผิวหนังมีไขมันมาก จึงระบายความร้อนได้ไม่ดีนอกจากนั้น มักมีโรคประจำตัว หรืออวัยวะต่างๆรวมทั้งอวัยวะที่ช่วยระบายความร้อนมีการทำงานได้น้อยกว่าเมื่อเทียบกับคนปกติ

คนมีโรคประจำตัว ที่ต้องกินยาหลายชนิดซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อระบบการระบายความร้อนของร่างกาย เช่น ยาลดความดันโลหิตบางชนิดยาลดความอ้วน ยาขับน้ำ ยาแก้ท้องผูก (ยาถ่าย) ยากันชัก และยาทางจิตเวชบางชนิด

นักกีฬาคนทำงานกลางแดด เช่น ทหาร เกษตรกร กรรมกร และผู้ที่ออกกำลังมากเกินควรโดยเฉพาะกลางแจ้ง

ติดสุราหรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ช่วงอากาศร้อน เพราะเพิ่มการขับน้ำออกจากร่างกาย

บางคน(พบได้น้อย) มีพันธุกรรมที่ทนต่อความร้อนได้น้อยกว่าคนทั่วไป

 

โรคลมแดดมีความรุนแรง และมีอาการอย่างไร?

โรคจากอากาศร้อนแบ่งตามความรุนแรงจากน้อยไปหามากได้เป็น 5 ระดับ คือ การขึ้นผื่นแดด (Heat rash) การเกิดตะคริวแดด(Heat cramp) การหมดสติชั่วคราวจากแดด/ร้อน (Heatsyncope) การหมดแรงเพราะแดด/ร้อน (Heat exhaustion) และโรคลมแดด (Heat stroke)

ผื่นแดด(Heat rash) ผิวหนังชื้นแฉะจากเหงื่อจึงเกิดผื่นคันเม็ดเล็กๆ สีออกชมพู (ผด) ซึ่งเกิดได้กับผิวหนังทุกส่วน โดยเฉพาะลำคอ ในร่มผ้า และตามข้อพับต่างๆ

ตะคริวแดด (Heat cramp) กล้ามเนื้อหดเกร็งจากการสูญเสียน้ำและเกลือแร่มากทางเหงื่อส่งผลให้เกิดอาการปวด/เจ็บกล้ามเนื้อ พบบ่อยบริเวณหน้าท้อง แขน และขา

การหมดสติชั่วคราวจากแดด/ร้อน (Heat syncope) อาการคือ อ่อนเพลีย วิง เวียนและหมดสติชั่วคราว

การหมดแรงเพราะแดด/ร้อน (Heat exhaustion) อาการคือ เหงื่อออกมาก เพลียหมดแรง กล้ามเนื้อเป็นตะคริว มีไข้ต่ำๆ ดูซีด หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว ตื้นเหนื่อย วิง เวียน สับสน

โรคลมแดด (Heatstroke) เป็นโรคที่เกิดจากการที่ร่างกายได้รับความร้อนมากเกินไปจนทำให้ความร้อนในร่างกาย(core temperature) สูงกว่า 40 องศาเซลเซียส อาการคือ เหงื่อออกน้อย ผิวหนังร้อน สั่น กล้ามเนื้อเป็นตะคริว ปวดศีรษะพูดช้า สับสน เห็นภาพหลอน หายใจเร็ว ตื้น เหนื่อย หัวใจเต้นเร็ว มีไข้สูง หมดสติช็อก โคม่า หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้เสียชีวิตได้

สัญญาณสำคัญของโรคฮีทสโตรก ก็คือ ไม่มีเหงื่อออก ตัวร้อนจัดขึ้นเรื่อยๆรู้สึกกระหายน้ำมาก วิงเวียน ปวดศีรษะ มึนงง คลื่นไส้ หายใจเร็ว อาเจียนซึ่งต่างจากการเพลียจากแดดทั่วๆ ไป ที่จะพบว่ามีเหงื่อออกด้วยหากเกิดอาการดังกล่าวจะต้องหยุดพักทันที

 

ดูแลตนเองอย่างไร?

หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่แดดจัดเป็นเวลานาน พยายามอยู่ในที่ร่มมีอากาศถ่ายเทได้ดี มีลมพัด/มีพัดลม ใช้พัดช่วย หรือใช้เครื่องปรับอากาศ

เมื่อออกแดด ใช้ร่ม หรือ สวมหมวกปีกกว้าง

สวมใส่เสื้อผ้าหลวม ผ้าที่ระบายอากาศได้ดี (ผ้าฝ้าย 100%)สีขาวหรือสีอ่อน

ดื่มน้ำ1-2 แก้ว ก่อนออกจากบ้านในวันที่มีอากาศร้อนจัดและหากต้องอยู่ท่ามกลางสภาพอากาศร้อนหรือออกกำลังกลางสภาพอากาศร้อน ควรดื่มน้ำให้ได้ชั่วโมงละ1 ลิตร แม้จะไม่รู้สึกกระหายน้ำก็ตามและแม้ว่าจะทำงานในที่ร่มก็ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้วแต่เมื่อเหงื่อออกมากและเริ่มเพลีย อาจต้องดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่ด้วยทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำ หากร่างกายได้รับน้ำปริมาณที่น้อย จะมีสีเหลืองเข้มมากขึ้น และปัสสาวะออกน้อยแสดงว่าได้รับน้ำไม่เพียงพอ

หลีกเลี่ยงการเล่นกีฬา หรือการออกกำลังกายที่เสียเหงื่อมากในช่วงอากาศร้อน

งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จำกัดหรืองดดื่ม เครื่องดื่มกาเฟอีนเพราะเครื่อง ดื่มเหล่านี้เพิ่มการขับน้ำทางปัสสาวะร่างกายจึงเสียน้ำและเกลือแร่มากขึ้น

 

การดูแลตนเองเมื่อเกิดผื่นแดด นอกเหนือจากการดูแลโดยทั่วไปดังกล่าวแล้วการดู แลตนเองเมื่อเกิดผื่นแดด คือ การอาบน้ำบ่อยขึ้น การทาแป้งและทายาบรรเทาอาการคัน เช่น น้ำยาคาลามาย (Calamine lotion) ระวังอย่าเกา เพราะแผลเกาอาจติดเชื้อได้ ดังนั้นจึงควรตัดเล็บให้สั้น

การดูแลตนเองเมื่อเกิดตะคริวแดด คือ รีบกลับเข้าพักในที่ร่ม อากาศเย็นถ่ายเทได้ดี ดื่มน้ำผลไม้ หรือน้ำเกลือแร่ พักการทำงานอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง เพราะถ้ารีบกลับไปทำงาน มักทำให้อาการรุนแรงขึ้นแต่ถ้าอยู่ในกลุ่มมีปัจจัยเสี่ยงดังได้กล่าวแล้วในหัวข้อปัจจัยเสี่ยงควรรีบพบแพทย์ตั้งแต่แรก รวมทั้งเมื่ออาการตะคริวเลวลง หรือไม่ดีขึ้นใน 1 ชั่วโมง

การดูแลตนเองเมื่อวิงเวียนจะเป็นลมจากอากาศร้อนเมื่อเริ่มมีอาการดังกล่าวแล้ว ควรรีบเข้าที่ร่ม อากาศถ่ายเทได้ดี นั่งลงหรือนอนเอนตัว ปลดเสื้อผ้าให้หลวมสบาย จิบน้ำ หรือ เครื่องดื่มเกลือแร่ช้าๆและถ้าอาการไม่ดีขึ้น หรือ เลวลง รีบไปโรงพยาบาลฉุกเฉิน

การดูแลตนเองเมื่อหมดแรงจากแดด คือ การเข้าพักในที่ร่ม อากาศเย็นถ่ายเทได้ดี ดื่มน้ำมากๆโดยเฉพาะน้ำเย็น งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และถ้าอาการไม่ดีขึ้น หรืออาการเลวลง ควรรีบไปโรงพยาบาลฉุกเฉิน

การดูแลตนเองเมื่อมีอาการลมแดด คือ การไปโรงพยาบาลฉุกเฉิน

 

การปฐมพยาบาลผู้ป่วยโรคลมแดด

หากพบผู้ที่บ่นว่าร้อน คลื่นไส้ เวียนศีรษะ มีเหงื่อออกผิดสังเกต มีอาการงงพูดช้าลง เลอะเลือน การเคลื่อนไหวช้าลง โซเซ ควรพาผู้ป่วยไปพักในที่ร่มทันทีเปิดเครื่องปรับอากาศ และใช้น้ำเย็นเช็ดตัวให้ผู้ป่วย เนื่องจากอาการในช่วงนี้จะคืบหน้าไปสู่อาการแบบรุนแรงอย่างรวดเร็ว

หากพบเจอผู้เป็นโรคลมแดดสามารถช่วยเหลือเบื้องต้นได้โดย

นำผู้มีอาการเข้าร่ม นอนราบยกเท้าสูงทั้งสองข้าง ถอดเสื้อผ้าออก

ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบตามซอกตัวคอ รักแร้ เชิงกราน ศรีษะ ร่วมกับการใช้พัดลมเป่าระบายความร้อน

เทน้ำเย็นราดลงบนตัวเพื่อลดอุณหภูมิร่างกายให้ลดต่ำลงโดยเร็วที่สุดแล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล โดยควรหาพาหนะที่ผู้ป่วยสามารถนอนได้และมีเครื่องปรับอากาศและจัดท่านนอนของผู้ป่วยให้เท้ายกสูงขึ้นกว่าศีรษะ เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้หากผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวให้จับนอนตะแคงไปด้านใดด้านหนึ่งระวังอย่าให้มีอะไรอยู่ในปากและอย่าให้ผู้ป่วยจิบน้ำซึ่งหากไม่มีรถที่ผู้ป่วยสามารถนอนไปได้ ควรเรียกรถพยาบาลเพราะการนั่งตัวตรงอาจทำให้เลือดไม่ไปเลี้ยงสมองของผู้ป่วยได้

 

.......................................










 




 

ท้องเสียต้องจิบเกลือแร่สำหรับท้องเสีย .. ห้าม!! จิบเกลือแร่สำหรับออกกำลังกายเด็ดขาด!!

ท้องเสีย ร่างกายเสียน้ำ+เกลือแร่เป็นหลัก สังเกตปริมาณโซเดียมจะสูงกว่า

ออกกำลังกาย ร่างกายเสียน้ำ+น้ำตาลเป็นหลัก สังเกตปริมาณกลูโคสจะสูงกว่

ดังนั้น ถ้าเราท้องเสียให้จิบเกลือแร่สำหรับคนท้องเสีย (ORS) ถ้าจิบเกลือแร่สำหรับออกกำลังกาย ผู้ที่ท้องเสียอาจจะท้องเสียหนักขึ้น

https://www.facebook.com/FDAThai/photos/a.986549498078879.1073741842.184587321608438/1093117937422034/?type=3&theater


.........................................




การดูแลสุขภาพ เมื่อท้องร่วง ท้องเสีย
🔹การเสียน้ำจากอาการท้องเสีย
- ร่างกายเสียน้ำและเกลือแร่ ต้องการน้ำและเกลือแร่มาทดแทน

🔹การเสียน้ำหรือเสียเหงื่อจากการออกกำลังกาย
- ร่างกายเสียน้ำและน้ำตาล ต้องการน้ำและน้ำตาลมาทดแทน

เกลือแร่ในท้องตลาดมีอยู่ 2 ประเภท คือ

1.เกลือแร่สำหรับคนที่ท้องเสีย (ORS , Oral Rehydration Salts ) : ปริมาณเกลือแร่หรือปริมาณโซเดียมสูง
ฉลากบรรจุภัณฑ์ มีเลขทะเบียนตำรับยา เช่น 2A999/99
ระบุ ใช้สำหรับผู้ที่ท้องเสีย

2.เกลือแร่สำหรับผู้ที่เสียเหงื่อจากการออกกำลังกาย (ORT ,Oral Rehydration Therapy ) : ปริมาณน้ำตาลจะสูง
ฉลากบรรจุภัณฑ์ มีเลขสารบบอาหาร
ระบุ ใช้สำหรับผู้ที่เสียเหงื่อจากการออกกำลังกาย

✅ท้องเสียต้องจิบเกลือแร่สำหรับท้องเสีย
❌ห้าม!! จิบเกลือแร่สำหรับออกกำลังกายเด็ดขาด

ที่มา : กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค
#คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#MedCMU #MedCMUในมือคุณ
#สื่อสารองค์กรMedCMU

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (official)
https://www.facebook.com/medcmuth/posts/pfbid036vHDasNtNstip5MSgkMvcf1MurG8SRwtBLTNzYuQ7vqGzh4QnuKDgSG5JeS2zBpWl


...........................



โรคหน้าฝน ... (นำมาฝาก ไม่ได้เขียนเอง)

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=03-06-2016&group=4&gblog=123

โรคหน้าหนาว ...นำมาฝาก ไม่ได้เขียนเอง

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=19-12-2017&group=4&gblog=134

โรคหน้าร้อน โรคลมแดด

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-04-2016&group=4&gblog=11



 


Create Date : 24 เมษายน 2559
Last Update : 12 มิถุนายน 2566 13:57:25 น. 2 comments
Counter : 8524 Pageviews.  

 
ขอบคุณค่ะคุณหมอหมู


โดย: อ้อมแอ้ม (คนผ่านทางมาเจอ ) วันที่: 24 เมษายน 2559 เวลา:22:16:07 น.  

 
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาทักทาย สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ


โดย: nokyungnakaa วันที่: 23 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:17:00:45 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]