Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ร่วมรณรงค์ " วันงดสูบบุหรี่โลก " ... ข้อมูลดี ๆ สื่อแจกฟรี มีเพียบ (พรบ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ 2560)



เริ่มมีการจัดงานครั้งแรกในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2531 เนื่องจากองค์การอนามัยโลกเล็งเห็นอันตราย­ของบุหรี่และสุขภาพของผู้สูบบุหรี่ รวมถึงผู้ที่ไม่สูบแต่ต้องมารับควันบุหรี่­ด้วย จึงจัดงานวันงดสูบบุหรี่โลก หรือชื่อในภาษาอังกฤษว่า World No Tobacco Day เพื่อกระตุ้นให้ผู้ที่สูบบุหรี่อยู่เลิกสู­บ และให้รัฐบาลชุมชนและประชากรโลกได้ตระหนัก­ถึงความสำคัญเพื่อเข้าร่วมกิจกรรม อีกทั้งยังได้ประกาศให้มีการรณรงค์เพื่อกา­รไม่สูบบุหรี่ที่ใช้ชื่อว่า World Spidemic ซึ่งสื่อถึงการสูบบุหรี่ที่เป็นเหมือนโรคร­ะบาดที่ระบาดอยู่ทั่วโลก โดยในวันงดสูบบุหรี่โลกในแต่ละปี ก็จะมีคำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกที่แตกต่างก­ันออกไป



กลยุทธ์รับมือการเลิกสูบบุหรี่
1. เลิกโดยเด็ดขาดทันทีทันใด จะเห็นผลดีกว่าการลดปริมาณ หากเราสามารถอดทนได้ใน 2-3 วันแรก โอกาสเลิกสูบบุหรี่ก็จะเป็นไปได้สูง
2. ออกกำลังกายเบาๆ อย่างน้อยวันละ 30-40 นาที เพื่อสร้างกิจกรรมระหว่างการเว้นว่างเพื่อสูบบุหรี่ แต่การออกกำลังกายกลับเป็นการกระตุ้นและ ซ่อมแซมร่างกายที่เสียหายจากบุหรี่อีกด้วย
3. หายใจช้าๆ ลึกๆ และ หลีกเลี่ยงสุรา ชา หรือกาแฟ เพราะจะทำให้เกิดอาการอยากสูบบุหรี่
4. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเดิมๆ ที่จะก่อให้เกิดการสูบบุหรี่
5. สามารถใช้หมากฝรั่งเคี้ยวระหว่างวัน เพื่อทำให้รู้สึกปากไม่ว่างได้
หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถโทรเข้าสายด่วนเลิกบุหรี่ ได้ที่ 1600









รณรงค์วันงดสูบบุหรี่โลก 2553 โดย สสส.
//youtu.be/HTmSzG9ih28

รณรงค์เรื่องของบุหรี่ สสส.
//youtu.be/hNb7wAJlksw




มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่.
www.ashthailand.or.th
https://www.smokefreezone.or.th/




สื่อรณรงค์ แจกฟรี มีเพียบ
https://www.smokefreezone.or.th/media.php?direct_id=40









**************************************************



“พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายในวันที่ 4 กรกฎาคม 2560”

ปัญหาการบริโภคยาสูบเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศ ที่ส่งผลกระทบทั้งต่อสุขภาพของประชาชน ทำให้ป่วยและเสียชีวิตก่อนเวลาอันควร โดยคนไทยเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่สูงถึงปีละกว่า 5 หมื่นคน นอกจากนี้ กลยุทธ์การตลาดบุหรี่ยังทำให้นักสูบหน้าใหม่ในกลุ่มเยาวชนเพิ่มจำนวนมากขึ้น และมีโอกาสที่จะเป็นผู้เสพติดไปตลอดชีวิต รวมทั้งความสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศ รัฐบาลต้องดูแลรักษาผู้ป่วยจากโรคเสพติดยาสูบ ทำให้สูญเสียงบประมาณไปกับการรักษาผู้ป่วย ซึ่งคิดเป็นมูลค่าความสูญเสียที่เกิดจากการสูบบุหรี่สูงถึง 74,884 ล้านบาท

กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 ขึ้น เพื่อเป็นอีกหนึ่งมาตรการที่จะช่วยป้องกันเยาวชนไม่ให้เข้าสู่วงจรร้ายของการติดบุหรี่อันเนื่องมาจากกลยุทธ์การตลาดบุหรี่ที่หลากหลายขึ้น และเป็นการคุ้มครองสิทธิของเยาวชนและสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ ซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ และที่สำคัญอีกประการคือ ประเทศไทยเข้าร่วมรัฐภาคีตามกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก (WHO-FCTC) จึงจำเป็นต้องปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับสถานการณ์เท่าทันกลยุทธ์ทางการตลาดของบริษัทบุหรี่ และแนวปฏิบัติตามกรอบอนุสัญญาดังกล่าว

ประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมการบริโภคยาสูบอยู่เดิม 2 ฉบับ คือ พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535 และพ.ร.บ.คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 ซึ่งบังคับใช้มานานกว่า 25 ปี สำหรับ พ.ร.บ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 มีมาตรการสำคัญที่ประชาชนต้องรับทราบเพื่อการปฏิบัติตามกฎหมายที่ถูกต้อง ดังนี้

1.กำหนดห้ามขายหรือให้ผลิตภัณฑ์ยาสูบแก่บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี

2.ห้ามให้บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เป็นผู้ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบ

3.ห้ามขายผลิตภัณฑ์ยาสูบใน 4 กลุ่มสถานที่
ได้แก่
วัดหรือสถานที่ปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา
สถานพยาบาลและร้านขายยา
สถานศึกษาทุกระดับ
สวนสาธารณะ สวนสัตว์ และสวนสนุก
ซึ่งหากเจ้าของพื้นที่หรือผู้ดูแลไม่แจ้งความเพื่อดำเนินคดีก็จะมีความผิดปรับ 3,000 บาท

4.กำหนดห้ามโฆษณาสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์ยาสูบในทุกรูปแบบ อาทิ พริตตี้ส่งเสริมการขายในงานคอนเสิร์ต

5.ห้ามผู้ประกอบการธุรกิจผลิตภัณฑ์ยาสูบทำกิจกรรม CSR อุปถัมภ์สนับสนุนบุคคล หรือองค์กร ที่เป็นการสร้างภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ยาสูบ

6.ห้ามตั้งวางโชว์ผลิตภัณฑ์ยาสูบหรือซองบุหรี่ ณ จุดขายปลีกที่ทำให้ผู้บริโภคหรือประชาชนมองเห็น

7.ห้ามแบ่งซองขายบุหรี่เป็นรายมวน

8.เพิ่มโทษผู้ฝ่าฝืนสูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่เป็นปรับไม่เกิน 5,000 บาท

9.กำหนดหน้าที่ให้เจ้าของสถานที่สาธารณะที่เป็นเขตปลอดบุหรี่ มีหน้าที่ต้องประชาสัมพันธ์ แจ้งเตือน ดูแลให้ไม่มีการฝ่าฝืนสูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่ หากฝ่าฝืนไม่ดำเนินการ เจ้าของสถานที่มีโทษปรับไม่เกิน 3,000 บาท


"พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560" - ราชกิจจานุเบกษา,
https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/039/27.PDF

"พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560", ศูนย์กฎหมาย กรมควบคุมโรค,
https://www.facebook.com/pg/LawcenterDDC/photos/?tab=album&album_id=1887939478120107

ไขข้อข้องใจพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560,
https://www.trc.or.th/th/ศูนย์ข้อมูล/trc-publication/trc-infographic/item/648-ไขข้อข้องใจพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ-พ-ศ-2560.html

สาระสำคัญ พรบ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560,
https://www.riskcomthai.org/2017/detail.php?id=35903&m=media&gid=1-004-004

คกก. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบระดับจังหวัด จังหวัดกำแพงเพชร
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.2676392675709725&type=3

มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่
www.ashthailand.or.th

สำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
อาคาร 11 ชั้น 5 88/21 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
โทรศัพท์ 0-2590 - 3818
https://btc.ddc.moph.go.th/th/index.php
https://ddc.moph.go.th/th/site/office/view/btc
https://www.facebook.com/Thaiantitobacco/
ดาวโหลด
https://btc.ddc.moph.go.th/th/download2.php?type=3

กรมควบคุมโรค ศูนย์กฏหมาย
พระราชบัญญัติควบคุมผลิคภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.๒๕๖๐
https://law.ddc.moph.go.th/lawbtc.php
https://btc.ddc.moph.go.th/th/laws-th.php?type=8

***********************************************







 


Create Date : 31 พฤษภาคม 2557
Last Update : 20 กุมภาพันธ์ 2563 15:03:56 น. 1 comments
Counter : 12647 Pageviews.  

 
ย้ำบุหรี่ไฟฟ้า ทำคนสูบเพิ่ม-เลิกยาก อันตรายกว่า แนะไทยคงมาตรการเป็นสินค้าผิดกฎหมาย
Mon, 2019-07-01 06:58 -- hfocus

ผอ.ศูนย์วิจัยควบคุมยาสูบ ม.แคลิฟอร์เนีย ห่วง "บุหรี่ไฟฟ้า" โหมโฆษณาฉ้อฉล อ้างปลอดภัย ช่วยเลิกบุหรี่ได้ ยันไม่จริง ซัดทำให้คนสูบเพิ่ม-เลิกยาก แถมอันตรายกว่าบุหรี่ธรรมดา ก่อโรคปอดอุดกั้น-หลอดลมอักเสบสูงกว่า 1.8 เท่า ฝุ่นผงเล็กกว่า ดูดซึมเข้าร่างกายง่ายกว่า แนะรัฐบาลไทยคงมาตรการเป็นสินค้าผิดกฎหมาย

ศ.ดร.สแตนตัน แกลนซ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและศึกษาด้านการควบคุมยาสูบ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา กล่าวในเวทีเสวนา E-Cigarette : Back to the Future ในการประชุมวิชาการบุหรี่กับสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 18 "Tobacco and Lung Health" ว่า อุตสาหกรรมยาสูบอยู่เบื้องหลังและสนับสนุนบุหรี่ไฟฟ้า โดยพยายามล็อบบี้ให้เกิดการขายบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย ซึ่งรัฐบาลพยายามระงับการขายและไม่เห็นด้วย ทั้งนี้ บุหรี่ไฟฟ้ามีหลายรูปแบบเพื่อเชิญชวนให้อยากสูบ แต่หลักการทำงานจะคล้ายกัน คือ ส่วนประกอบของบุหรี่ไฟฟ้า จะมีแบตเตอรี่ แทงค์บรรจุนิโคตินและน้ำยา และฮีทคอยล์ในการสร้างความร้อนจนเกิดไอระเหย ซึ่งต่างจากบุหรี่ธรรมดาที่ใช้ไฟจุดและความร้อนทำให้เกิดควัน

ศ.ดร.สแตนตัน กล่าวว่า ขณะนี้น่าเป็นห่วงว่า อุตสาหกรรมยาสูบกำลังพยายามโฆษณาบุหรี่ไฟฟ้าอย่างหนัก อย่างสหรัฐอเมริกามีการโฆษณาบุหรี่ไฟฟ้าแบบไร้ควัน และออกแคมเปญต่างๆ ผ่านทางเว็บไซต์และโซเชียลมีเดีย ทำให้คนเข้าถึงและตลาดเติบโตขึ้น นอกจากนี้ ยังปรับปรุงผลิตภัณฑ์เป็นแบบซอฟต์นิโคติน ทำให้เกิดการติดนิโคตินได้ง่ายขึ้น โดยที่ผ่านมามีการอวดอ้างผลวิจัยว่า บุหรี่ไฟฟ้าช่วยเลิกบุหรี่ธรรมดาได้และปลอดภัยกว่าถึง 95% ซึ่งไม่ใช่เรื่องจริง เพราะไม่ได้มีหลักฐานทางวิชาการที่ชัดเจน อีกทั้งเป็นการดำเนินการวิจัยโดยมีบริษัทบุหรี่อยู่เบื้องหลัง

อย่างกรณีที่ระบุว่าบุหรี่ไฟฟ้าให้สารพิษน้อยกว่า แม้จะน้อยกว่าจริงแต่ก็ยังเป็นสารพิษ และการรับไปนานๆ จำนวนมากก็เป็นอันตรายได้เช่นกัน ขณะที่เมื่อเปรียบเทียบฝุ่นผงที่เกิดจากบุหรี่ไฟฟ้าและบุหรี่ธรรมดา จะพบว่าบุหรี่ไฟฟ้าเกิดฝุ่นผงขนาดเล็กกว่า จึงทำให้ดูดซึมเข้าร่างกายได้มากกว่าบุหรี่ธรรมดาจึงอันตรายกว่า ส่วนการเกิดโรคต่างๆ ก็ไม่ได้ต่างกัน ทั้งโรคหัวใจ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และหลอดลมอักเสบ

"บุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าทำให้เกิดหัวใจได้เช่นกัน เพราะทำให้การขยายตัวของหลอดเลือดลดลง จึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคหัวใจขึ้นได้ ซึ่งอัตราการเกิดโรคหัวใจจากบุหรี่ไฟฟ้าถือว่าเพิ่มขึ้นมาก ยิ่งสูบทั้งบุหรี่ไฟฟ้าและบุหรี่ธรรมดา ความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจก็จะยิ่งมากขึ้น ส่วนอันตรายต่อปอดเกิดขึ้นทั้งจากน้ำยา นิโคติน สารให้กลิ่นรสต่างๆ รวมถึงโลหะหนักที่เกิดจากความร้อน จึงยิ่งอันตรายกว่าบุหรี่ธรรมดา โดยพบว่า บุหรี่ไฟฟ้าก่อให้เกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและหลอดลมอักเสบสูงกว่าบุหรี่ธรรมดา 1.8 เท่า ขณะที่การสูบทั้งบุหรี่ธรรมดาและบุหรี่ไฟฟ้าพบว่า ก่อให้เกิดโรคมะเร็งช่องปากได้" ศ.ดร.สแตนตัน กล่าว

ศ.ดร.สแตนตัน กล่าวว่า การที่บริษัทบุหรี่ผลิตบุหรี่ไฟฟ้าขึ้นโดยระบุว่า ช่วยให้เลิกบุหรี่ธรรมดาได้ ทั้งที่เป็นสินค้าหลักนั้น จึงไม่ใช่ตรรกะทางการค้า สอดคล้องกับการเก็บข้อมูลในวัยรุ่นอเมริกันที่พบว่า บุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้ช่วยให้การสูบบุหรี่ธรรมดาลดลง แต่กลับทำให้เพิ่มขึ้น และควบคุมการบริโภคยาสูบได้ยากขึ้น ซึ่งผลจากการแพร่หลายของบุหรี่ไฟฟ้า พบว่าทำให้ผู้ใหญ่ที่หยุดบุหรี่ได้ 1 คน แต่กลับมีวัยรุ่นติดบุหรี่ไฟฟ้าใหม่เพิ่มขึ้น 80 คน เพราะคนที่ติดอยู่แล้วเลิกไม่ได้ แต่มีคนกลุ่มใหม่ติดเข้ามา ทั้งยังทำให้คนที่ไม่เคยสูบบุหรี่ธรรมดา เมื่อสูบบุหรี่ไฟฟ้าแล้วก็หันเข้ามาสูบบุหรี่ธรรมดาอีก

"บุหรี่ไฟฟ้าทำให้การควบคุมยาสูบทำได้ยากขึ้น ทำให้เลิกบุหรี่ธรรมดาได้น้อยลง ขยายการระบาดของการสูบยาสูบเพิ่มขึ้น และทำให้อากาศของคนที่ไม่สูบบุหรี่มีสิ่งแปลกปลอม โดยเสนอว่ารัฐบาลไทยยังควรให้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นสิ่งผิดกฎหมาย และควรให้ความรู้ประชาชนในการหยุดสูบบุหรี่ และให้ความรู้ว่าบุหรี่ไฟฟ้ามีอันตรายมากกว่าบุหรี่ธรรมดา ทำให้หยุดสูบบุหรี่ยากขึ้น และทำให้เกิดการสูบบุหรี่ทั้งสองชนิด" ศ.ดร.สแตนตัน กล่าว

https://www.hfocus.org/content/2019/07/17318




โดย: หมอหมู วันที่: 1 กรกฎาคม 2562 เวลา:14:48:18 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 763 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]