Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ประโยชน์ 6 ข้อที่ควรตรวจ HIV





ประโยชน์ 6 ข้อที่ควรตรวจ HIV
//www.hfocus.org/content/2014/10/8333

กระทรวงสาธารณสุขและภาคีเครือข่ายด้านเอดส์ กำหนดให้วันที่ 1 กรกฎาคมทุกปีเป็นวันรณรงค์ตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี (Voluntary Counselling and Testing Day : VCT Day) เพื่อให้ประชาชนตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี

ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขร
ะบุว่า ขณะนี้ ไทยมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีประมาณ 500,000 คน ในจำนวนนี้ มีเพียงครึ่งหนึ่งหรือ 250,000 รายเท่านั้นที่ทราบผลเลือดและเข้าสู่ระบบการรักษาแล้ว โดยกระทรวงสาธารณสุขได้จัดระบบบริการด้านเอชไอวี/เอดส์ไว้อย่างครบถ้วน ตั้งแต่ระบบบริการปรึกษา การตรวจวินิจฉัย การรักษาด้วยยาต้านไวรัส ครอบคลุมในโรงพยาบาลทั่วประเทศ ตั้งแต่โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลศูนย์ จึงเป็นที่น่าเสียดายสำหรับผู้ที่ยังไม่ตรวจเลือดและไม่ได้เข้าสู่ระบบการรักษา

ซึ่ง “ประโยชน์ 6 ข้อที่ควรตรวจเอชไอวี” เป็นประเด็นรณรงค์ในปี 2557 นี้ โดยมีความหมายว่า การตรวจเอชไอวีจะทำให้

1.สามารถเข้ารับการรักษาได้ทันที ไม่ต้องรอให้แสดงอาการ

2.ได้รับการรักษา จะทำให้มีสุขภาพที่แข็งแรง สามารถทำงานได้อย่างปกติ

3.สามารถวางแผนป้องกันคู่ของตนเองติดเชื้อ และชวนคู่ไปตรวจเลือดได้

4.สามารถวางแผนป้องกันการติดเชื้อไปสู่ลูกได้

5.สามารถป้องกันตนเองไม่ให้ติดเชื้อเอชไอวีได้

6.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเอชไอวี/เอดส์ และการป้องกันตนเองได้อย่างถูกต้อง

กระทรวงสาธารณสุขระบุว่า ประชาชนสามารถไปรับการตรวจเลือดเอชไอวี ได้ที่โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกแห่ง ฟรี ปีละ 2 ครั้ง

ทั้งนี้ การทราบผลการตรวจเลือดจะช่ว
ยให้ผู้ที่ไม่ติดเชื้อเกิดความตระหนักในการป้องกันตนเอง ส่วนผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี ก็จะป้องกันไม่ถ่ายทอดเชื้อไปให้ผู้อื่น ขณะเดียวกันจะได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะช่วยลดการป่วยจากโรคฉวยโอกาส เช่น วัณโรค และลดการเสียชีวิตลง เป็นไปตามยุทธศาสตร์ของกระทรวงสาธารณสุขที่มุ่งสู่เป้าหมายที่เป็นศูนย์ (Getting to Zero) คือลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ ลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากเอดส์ และลดการรังเกียจตีตราเรื่องเอดส์

ขอบคุณภาพจาก สายด่วนปรึกษาเอดส์และท้องไม่พร้อม 1663

- See more at: //www.hfocus.org/content/2014/10/8333#sthash.EDOD3iVX.dpuf





 

Create Date : 22 ตุลาคม 2557   
Last Update : 22 ตุลาคม 2557 14:55:57 น.   
Counter : 2738 Pageviews.  

โรคตาแดง ... (นำมาฝาก ไม่ได้เขียนเอง)







ตาแดง

โรคตาแดงมีสาเหตุจากอะไร?

สามารถแยกสาเหตุตาแดงออกเป็น3 กลุ่มใหญ่ๆคือ

1. ตาแดงจากเชื้อไวรัสมักจะไม่ค่อยมีขี้ตา แต่มีน้ำตาไหล เคืองตามาก อาจมีต่อมน้ำเลืองที่หน้าหูโตมักเริ่มเป็นที่ตาใดตาหนึ่งก่อน และลามไปเป็นทั้งสองตาอย่างรวดเร็วมีประวัติติดต่อกันในคนหมู่มากหรือจากที่ทำงาน โรงเรียน หรือในครอบครัวมักจะหายได้เองใน 1-2 สัปดาห์

2. ตาแดงจากเชื้อแบคทีเรียจะมีขี้ตาเป็นสีเขียวหรือสีเหลือง อาจเป็นตาเดียวหรือสองตาก็ได้ติดต่อกันได้เช่นกัน แต่จะระบาดน้อยกว่าตาแดงจากเชื้อไวรัส

3.ตาแดงจากสาเหตุอื่นเช่น การพักผ่อนไม่เพียงพอ การสัมผัสกับฝุ่นละออง โรคภูมิแพ้ จะมีอาการคันตามากน้ำตาไหล อาจมีขี้ตาขาวหรือเหนียว หนังตาบวม มักมีประวัติเป็นๆ หายๆอาจมีสาเหตุของการแพ้ชัดเจนหรือมีอาการแพ้ของร่างกายส่วนอื่น เช่น หอบหืดร่วมด้วยเป็นต้น

จะพูดถึงเฉพาะ‘โรคตาแดงจากติดเชื้อไวรัส เท่า นั้น เพราะพบได้บ่อยและช่วงนี้ กำลังแพร่ระบาด

ตาแดงจากไวรัส

ปัจจุบันมักเรียกการอักเสบของเยื่อตาที่เกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่ม อะดีโนไวรัส(Adenovirus)และ เอนเทโรไวรัส (Enterovirus) ว่า “โรคตาแดง” หรือ “ตาแดงชนิดติดต่อ”เนื่องจากโรคนี้ติดต่อไปยังผู้อื่นได้ง่ายมักจะมีการระบาดเป็นครั้งคราว เมื่อระบาดแต่ละครั้ง มีผู้คนติดโรคมากมายแต่เดิมทีโรคนี้มักเป็นในหน้าฝน หน้าน้ำท่วม เพราะทำให้เชื้อโรคกระจายได้ง่ายแต่ในระยะหลัง โรคนี้พบได้ตลอดปี เป็นแบบประปรายตลอดปี

เมื่อได้รับเชื้ออาจเกิดอาการตาแดงในวันรุ่งขึ้นไปจนถึง 2 สัปดาห์ก็ได้ โดยเริ่มรู้สึกระคายเคืองในตา น้ำตาไหลตาแดง มีความรู้สึกคล้ายมีผงหรือเม็ดทรายอยู่ในตา มักเป็นข้างเดียวก่อนถ้าไม่ระวังอาจลามไปตาอีกข้างในเวลาต่อมา ซึ่งพบเป็น 2ข้างได้ถึง 2 ใน 3 ของผู้ป่วยโดยทั่วไปมักจะมีน้ำตาออกมาเป็นน้ำใสๆหรือเป็นเมือกเล็กน้อย อาจมีหนังตาบวมแดงบริเวณเยื่อตาอาจพบเป็นตุ่มเล็กๆ กระจายไปทั่ว

ความผิดปกติทั้งหมดของโรคตาแดงจากเชื้อไวรัสจะอยู่ที่หนังตาและเยื่อตาเท่านั้น ส่วนของตาดำจะยังปกติดีจึงไม่มีผลต่อการมองเห็น โดยผู้ป่วยโรคนี้จะยังมองเห็นได้ปกติลักษณะที่สำคัญอีกประการของโรคตาแดงจากเชื้อไวรัสนี้มักจะพบการอักเสบและเจ็บบริเวณต่อมน้ำเหลืองหน้าหูด้วย


ติดต่อได้อย่างไร? ป้องกันได้อย่างไร?

“โรคตาแดง” นั้นเกิดจากการที่ดวงตามีการสัมผัสกับเชื้อโรคซึ่งอาจเกิดจากการเอามือไปสัมผัสกับเชื้อโรคตามโต๊ะ เก้าอี้ หรือสิ่งของที่ใช้ร่วมกันกับคนเป็นตาแดงที่ใช้มือสัมผัสตาแดงของตนแล้วยังไม่ได้ล้างมือแล้วมาสัมผัสตาตัวเองต่อไม่ได้เกิดจากการจ้องมองตากันแล้วเชื้อโรคกระโดดก็ใส่ดวงตาแต่อย่างใดและไม่จำเป็นต้องไปแลบลิ้นใส่คนที่เป็นตาแดงด้วย

การดูแลป้องกันจึงควรแยกผู้ป่วยออกจากกลุ่มโดยเฉพาะผู้ที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เช่น ในค่ายทหาร โรงงานอุตสาหกรรมที่ทำงานที่มีคนอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก โรงเรียน โดยเฉพาะโรงเรียนที่มีนักเรียนอยู่ประจำ

ป้องกันและควบคุมโรคนี้ให้อยู่ในเขตจำกัด โดยการดูแลอนามัยส่วนบุคคลให้ดี (รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน/สุขบัญญัติแห่งชาติ)หมั่นล้างมือ รักษาความสะอาดผ้าเช็ดหน้า (ควรใช้ทิชชู่สะอาดดีกว่าใช้ผ้า เช็ดหน้าเพราะดูแลการติดต่อได้ดีกว่า) เสื้อผ้า และไม่คลุกคลีกับผู้ป่วย

การรักษา

การรักษาตาแดงจากติดเชื้อไวรัสเนื่องจากเกิดจากเชื้อไวรัส จึงไม่มียาอะไรที่ฆ่าเชื้อไวรัสโดยตรงยาที่ใช้หยอดตาส่วนมาก คือใช้ยาหยอดปฏิชีวนะป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียและอาจใช้น้ำตาเทียมร่วมกับยาลดอาการระคายเคือง รับประทานยาแก้ปวด เช่น ยาพาราเซตามอลถ้ามีอาการเจ็บตา เคืองตา

การใช้ผ้าชุบน้ำเย็น(รักษาความสะอาดทั้งผ้าและน้ำเสมอ) ประคบ จะช่วยให้อาการระ คายเคืองตาน้อยลงผู้ป่วยบางรายมีอาการเจ็บตาเคืองตามาก แพทย์อาจสั่งยาหยอดตาประเภทมียาสเตียรอยด์ร่วมกับยาปฏิชีวนะให้ชั่วคราว(อย่าซื้อยาเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เพราะยามีผลข้างเคียงสูง เช่นเพิ่มโอกาสติดเชื้อแบคทีเรียในลูกตาและโรคต้อหิน เมื่อใช้ไม่ถูกต้อง)

ถ้ามีขี้ตา ให้ใช้สำลีชุบน้ำสะอาด เช่น น้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว เช็ดบริเวณเปลือกตาให้สะอาด ใส่แว่นกันแดด เพื่อลดอาการเคืองแสง ไม่ควรใช้ผ้าปิดตาเพราะจะยิ่งทำให้การติดเชื้อเป็นมากขึ้น งดใส่คอนแทคเลนส์จนกว่าจะหายอักเสบ พักผ่อนให้เต็มที่แม้จะไม่มีข้อห้ามในการใช้สายตาระหว่างที่เป็นตาแดงแต่การใช้สายตามากๆทำให้เคืองตา น้ำตาไหลมากขึ้น จึงควรลดการใช้สายตาลงบ้างหลีกเลี่ยงการใช้ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าห่ม ร่วมกับผู้อื่น

โดยทั่วไปโรคตาแดงจากติดเชื้อไวรัสจะหายได้เองใน1-2 สัปดาห์โดยที่สายตาจะกลับ มาปกติเหมือนเดิม


สรุป

สำหรับผู้ที่ยังไม่เป็น การป้องกันโรคตาแดง

1. ไม่ใช้มือสัมผัสตา

2. ไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ร่วมกันเช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว แว่นตา เครื่องสำอาง

3. ไม่สัมผัสมือหรือตาผู้ป่วย

4. หมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้งที่เผลอถูกตารวมทั้งก่อนและหลังหยอดตา

สำหรับ ผู้ที่เป็นโรคตาแดงแล้วสิ่งที่ควรปฏิบัติ ( การดูแลตนเอง และ การป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อ)

1. ล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะหลังสัมผัสน้ำตาขี้ตา รวมทั้งก่อนและหลังหยอดยา

2. พักผ่อนให้เพียงพอ

3. ควรใส่แว่นกันแดดเพื่อลดการระคายเคืองแสง งดใส่คอนแทคเลนส์จนกว่าตาจะหายอักเสบ

- ไม่แนะนำให้ใช้ผ้าปิดตาเพราะจะยิ่งทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตได้มากขึ้น

4. ใช้กระดาษ หรือสำลีเช็ดขี้ตา แล้วทิ้งในถังขยะที่มิดชิด ไม่แนะนำให้ใช้ผ้าเช็ดหน้าเพราะจะเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค

5. เปลี่ยนปลอกหมอนทุกวัน

6. หากเป็นโรคตาแดงแล้วสิ่งสำคัญที่สุดคือผู้ป่วยควรหยุดเรียน หรือหยุดงานรักษาตัวอยู่ที่บ้านอย่างน้อย 3 วันเพื่อป้องกันไม่ให้โรคตาแดงลุกลามหรือติดต่อสู่คนอื่น

7. หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้อื่นเป็นเวลา 7วันหลังมีอาการเพื่อลดการแพร่เชื้อ

8. ไม่ใช้ของใช้ร่วมกับผู้อื่น

ควรพบแพทย์เมื่อไร?

- เมื่อเป็นตาแดง ควรพบแพทย์เสมอ (เมื่อไม่มีจักษุแพทย์พบแพทย์ทั่วไปก่อนก็ได้)

- ควรรีบพบแพทย์ เมื่อ การมองเห็นผิดปกติ ตามัวเห็นภาพไม่ชัด มีขี้ตามากขี้ตาข้นมากเป็นหนอง มีไข้ หรือ เคืองตามาก

 โรคตาแดงจากไวรัส (Viral conjunctivitis)   ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง สกาวรัตน์ คุณาวิศรุต  วว. จักษุวิทยา
https://haamor.com/th/%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%AA/

การป้องกันและดูแลโรคตาแดง
https://www.dpc6pr.com/index.php?show=news&file=detail&id=646

โรคตาแดง วิธีรักษาโรคตาแดง
https://health.kapook.com/view4052.html

โรคตาแดง
https://www.chulalongkornhospital.go.th/chulahospital/index.php?option=com_content&task=view&id=42









.......................


ใครๆ ก็เคยตาแดงกันทั้งนั้น จำเป็นต้องรีบไปพบหมอหรือไม่? หรือนัยหนึ่งตาแดงเป็นโรคอันตรายหรือไม่? ควรรีบพบหมอในกรณีใดบ้าง?

"ตาแดง" ( Red eye )

โดย ศ.พญ.สกาวรัตน์ คุณาวิศรุต

ตาแดงเป็นอาการที่สำคัญอันหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยมาพบจักษุแพทย์ เกิดจากหลายสาเหตุ พบตาแดงได้ในหลายๆ โรคตา มีทั้งตาแดงที่อาจหายได้เอง หรือรักษาง่ายไม่ยุ่งยาก ตลอดจนเป็นโรคตาที่ร้ายแรง หากรักษาไม่ทันหรือไม่ถูกต้อง ทำให้ตาบอดได้ เป็นภาวะตาแดงที่ต้องพบหมอทันที
ตาแดงไม่ใช่โรค แต่เป็นอาการแสดงที่ออกมาในลักษณะที่เห็นคือ ตาขาว (sclera) ที่คลุมด้วยเยื่อบุตา (conjunctiva) บางๆ มีสีแดงกว่าปกติที่เคยหรือแดงมากกว่าคนอื่น หรือแดงมากกว่าตาอีกข้าง เกิดจากหลอดเลือดบริเวณนั้นขยายตัว ปัจจุบันที่นำมาใช้กันที่เรียกกันว่า “ โรคตาแดง ” นั้น หมายถึง เยื่อบุตาแดง เกิดจากการอักเสบของเยื่อบุตาจากเชื้อไวรัสที่มักจะมีการระบาดเป็นช่วงๆ ด้วยเหตุที่เป็นกันในคนหมู่มาก พบได้บ่อยจนเรียกกันติดปากว่า โรคตาแดง ในความเป็นจริงนั้น ตาแดงเป็นอาการแสดงที่พบได้ในหลายสภาวะ หลายโรค

ตาแดงที่เกิดจากสภาวะหรือโรคตาที่ไม่รุนแรงที่พบบ่อย ได้แก่


1. เลือดออกใต้เยื่อบุตา (subconjunctival haemorrhage) มักจะแดงเป็นปื้นใหญ่ๆ หรือเป็นหย่อมๆ ซึ่งสังเกตได้ง่ายว่าเป็นเลือด มีมากน้อยได้ มักเกิดจากอุบัติเหตุ ถูกกระแทกบริเวณเบ้าตา เปลือกตามักจะเขียวช้ำ แดงมากน้อยขึ้นอยู่กับขนาดหลอดเลือด เยื่อบุตาที่ฉีกขาด ภาวะนี้มักจะไม่มีอันตราย เลือดจะค่อยๆ แห้ง หายไปได้เอง แต่ควรตรวจตาว่ามีรอยช้ำหรือฉีกขาดของดวงตา เบ้าตา หรือไม่เสมอที่มีอันตรายมากกว่า ลำพังเลือดที่ออกไม่มีอันตราย ในบางรายการมีเลือดออกนี้อาจไม่มีประวัติอุบัติเหตุชัดเจน เพียง ไอ จาม กลั้นหายใจ เบ่ง ขยี้ตาก็อาจทำให้เกิดได้

2. เยื่อบุตาอักเสบ เป็นได้ทั้งติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัสและภูมิแพ้ พบได้บ่อยและมีการระบาดเป็นพักๆ ในรายที่เกิดจากเชื้อไวรัส ส่วนมากไม่รุนแรง รักษาได้ไม่ยาก ยกเว้นการติดเชื้อแบคทีเรียจากเชื้อหนองใน (gonorrhea) ซึ่งปัจจุบันพบน้อยลงมาก

3. เยื่อบุตาแดงจากมีการอักเสบรอบข้าง เช่น เปลือกตาอักเสบ กุ้งยิง ถุงน้ำตาอักเสบ ตลอดจน ต้อลม ต้อเนื้อ

4. ตาแห้ง ฟิล์มน้ำตาผิดปกติ ทำให้ผิวตาแห้ง เยื่อบุตาแดงได้

5. ตาแดง จากการหยอดยาบางชนิด เช่น ยาชาหยอดตา ยาขยายม่านตา ยารักษาต้อหิน กลุ่มนี้มักจะหายได้เอง เป็นต้น




ตาแดงที่เป็นอาการแสดงของโรคตาที่ร้ายแรงที่อาจนำไปสู่ตามัว ตาบอดที่พบบ่อย ได้แก่

1. การอักเสบ ตลอดจนมีแผลเปื่อย (ulcer) ที่กระจกตา (corneal ulcer) เกิดได้จากการติดเชื้อทั้งแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อไวรัส ในภาวะต่างๆ เช่น การใส่คอนแทคเลนส์ ผงเข้าตา ใบไม้ กิ่งไม้บาดตา เป็นต้น การอักเสบของกระจกตา หากรักษาไม่ถูกต้องทำให้ตาบอดได้

2. ม่านตาอักเสบ ม่านตาเป็นส่วนสำคัญ หล่อเลี้ยงลูกตาภายใน อาจมีการอักเสบจากหลายสาเหตุ ซึ่งหากเพิกเฉย มีการอักเสบซ้ำๆ มักลงเอยด้วยต้อหิน ต้อกระจก ทำให้ตาบอดในที่สุด

3. ต้อหินเฉียบพลัน เป็นต้น



อย่างไรก็ตาม เมื่อเป็นตาแดงจะทราบได้อย่างไรว่าเป็นชนิดรุนแรงหรือไม่รุนแรง มีข้อสังเกตง่ายๆ ดังนี้

1. มีประวัติ บุคคลในครอบครัวหรือคนใกล้ตัวเป็นก่อน น่าจะเป็นตาแดงจากเชื้อไวรัส ซึ่งไม่รุนแรงนัก ติดต่อกันได้ง่าย อาจปรึกษาหมอเพื่อยืนยันและแนะนำการปฏิบัติตนที่เหมาะสม

2. นอกจากตาแดงแล้ว มีอาการแพ้แสง (photophobia) ตาสู้แสงไม่ได้ ตาพร่ามัว ปวดตา ควรปรึกษาหมอทันที น่าจะเป็นจากโรคภายในดวงตาที่ร้ายแรง

3. ตาแดงเรื่อๆ แดงไม่มาก แดงมากบริเวณรอบๆ ตาดำ ไกลออกไปแดงน้อยลง เข้าลักษณะที่เรียกว่า ciliary injection *** บ่งถึงมีการอักเสบภายในที่รุนแรง ควรรีบปรึกษาหมอ

4. ตาแดงเข้ม แดงมากบริเวณร่อง (fornix) ซึ่งเป็นบริเวณที่เยื่อบุตา ที่บุใต้เปลือกตาพับลงมาทาบกับตาขาว และเมื่อใกล้ตาดำแดงน้อยลง เข้าลักษณะที่เรียก conjunctival injection เป็นลักษณะที่ไม่รุนแรง

5. ตาแดงที่ไม่มีขี้ตาเลย แต่เจ็บเคืองตามาก มักจะเป็นตาแดงจากโรคที่อันตราย ในทางตรงข้าม ตาแดง ที่มีขี้ตามักเป็นเพียงเยื่อบุตาอักเสบ ซึ่งส่วนมากไม่ค่อยมีอันตราย ยกเว้น กระจกตาอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย ก็จะอันตรายแต่มีขี้ตาเยอะได้เช่นกัน

credit รูปจาก usercontent2.hubstatic.com, s-media-cache-ak0.pinimg.com

................................







 

Create Date : 16 กันยายน 2557   
Last Update : 12 ตุลาคม 2560 0:53:45 น.   
Counter : 16403 Pageviews.  

ร่วมรณรงค์ " วันงดสูบบุหรี่โลก " ... ข้อมูลดี ๆ สื่อแจกฟรี มีเพียบ (พรบ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ 2560)



เริ่มมีการจัดงานครั้งแรกในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2531 เนื่องจากองค์การอนามัยโลกเล็งเห็นอันตราย­ของบุหรี่และสุขภาพของผู้สูบบุหรี่ รวมถึงผู้ที่ไม่สูบแต่ต้องมารับควันบุหรี่­ด้วย จึงจัดงานวันงดสูบบุหรี่โลก หรือชื่อในภาษาอังกฤษว่า World No Tobacco Day เพื่อกระตุ้นให้ผู้ที่สูบบุหรี่อยู่เลิกสู­บ และให้รัฐบาลชุมชนและประชากรโลกได้ตระหนัก­ถึงความสำคัญเพื่อเข้าร่วมกิจกรรม อีกทั้งยังได้ประกาศให้มีการรณรงค์เพื่อกา­รไม่สูบบุหรี่ที่ใช้ชื่อว่า World Spidemic ซึ่งสื่อถึงการสูบบุหรี่ที่เป็นเหมือนโรคร­ะบาดที่ระบาดอยู่ทั่วโลก โดยในวันงดสูบบุหรี่โลกในแต่ละปี ก็จะมีคำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกที่แตกต่างก­ันออกไป



กลยุทธ์รับมือการเลิกสูบบุหรี่
1. เลิกโดยเด็ดขาดทันทีทันใด จะเห็นผลดีกว่าการลดปริมาณ หากเราสามารถอดทนได้ใน 2-3 วันแรก โอกาสเลิกสูบบุหรี่ก็จะเป็นไปได้สูง
2. ออกกำลังกายเบาๆ อย่างน้อยวันละ 30-40 นาที เพื่อสร้างกิจกรรมระหว่างการเว้นว่างเพื่อสูบบุหรี่ แต่การออกกำลังกายกลับเป็นการกระตุ้นและ ซ่อมแซมร่างกายที่เสียหายจากบุหรี่อีกด้วย
3. หายใจช้าๆ ลึกๆ และ หลีกเลี่ยงสุรา ชา หรือกาแฟ เพราะจะทำให้เกิดอาการอยากสูบบุหรี่
4. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเดิมๆ ที่จะก่อให้เกิดการสูบบุหรี่
5. สามารถใช้หมากฝรั่งเคี้ยวระหว่างวัน เพื่อทำให้รู้สึกปากไม่ว่างได้
หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถโทรเข้าสายด่วนเลิกบุหรี่ ได้ที่ 1600









รณรงค์วันงดสูบบุหรี่โลก 2553 โดย สสส.
//youtu.be/HTmSzG9ih28

รณรงค์เรื่องของบุหรี่ สสส.
//youtu.be/hNb7wAJlksw




มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่.
www.ashthailand.or.th
https://www.smokefreezone.or.th/




สื่อรณรงค์ แจกฟรี มีเพียบ
https://www.smokefreezone.or.th/media.php?direct_id=40









**************************************************



“พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายในวันที่ 4 กรกฎาคม 2560”

ปัญหาการบริโภคยาสูบเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศ ที่ส่งผลกระทบทั้งต่อสุขภาพของประชาชน ทำให้ป่วยและเสียชีวิตก่อนเวลาอันควร โดยคนไทยเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่สูงถึงปีละกว่า 5 หมื่นคน นอกจากนี้ กลยุทธ์การตลาดบุหรี่ยังทำให้นักสูบหน้าใหม่ในกลุ่มเยาวชนเพิ่มจำนวนมากขึ้น และมีโอกาสที่จะเป็นผู้เสพติดไปตลอดชีวิต รวมทั้งความสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศ รัฐบาลต้องดูแลรักษาผู้ป่วยจากโรคเสพติดยาสูบ ทำให้สูญเสียงบประมาณไปกับการรักษาผู้ป่วย ซึ่งคิดเป็นมูลค่าความสูญเสียที่เกิดจากการสูบบุหรี่สูงถึง 74,884 ล้านบาท

กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 ขึ้น เพื่อเป็นอีกหนึ่งมาตรการที่จะช่วยป้องกันเยาวชนไม่ให้เข้าสู่วงจรร้ายของการติดบุหรี่อันเนื่องมาจากกลยุทธ์การตลาดบุหรี่ที่หลากหลายขึ้น และเป็นการคุ้มครองสิทธิของเยาวชนและสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ ซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ และที่สำคัญอีกประการคือ ประเทศไทยเข้าร่วมรัฐภาคีตามกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก (WHO-FCTC) จึงจำเป็นต้องปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับสถานการณ์เท่าทันกลยุทธ์ทางการตลาดของบริษัทบุหรี่ และแนวปฏิบัติตามกรอบอนุสัญญาดังกล่าว

ประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมการบริโภคยาสูบอยู่เดิม 2 ฉบับ คือ พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535 และพ.ร.บ.คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 ซึ่งบังคับใช้มานานกว่า 25 ปี สำหรับ พ.ร.บ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 มีมาตรการสำคัญที่ประชาชนต้องรับทราบเพื่อการปฏิบัติตามกฎหมายที่ถูกต้อง ดังนี้

1.กำหนดห้ามขายหรือให้ผลิตภัณฑ์ยาสูบแก่บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี

2.ห้ามให้บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เป็นผู้ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบ

3.ห้ามขายผลิตภัณฑ์ยาสูบใน 4 กลุ่มสถานที่
ได้แก่
วัดหรือสถานที่ปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา
สถานพยาบาลและร้านขายยา
สถานศึกษาทุกระดับ
สวนสาธารณะ สวนสัตว์ และสวนสนุก
ซึ่งหากเจ้าของพื้นที่หรือผู้ดูแลไม่แจ้งความเพื่อดำเนินคดีก็จะมีความผิดปรับ 3,000 บาท

4.กำหนดห้ามโฆษณาสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์ยาสูบในทุกรูปแบบ อาทิ พริตตี้ส่งเสริมการขายในงานคอนเสิร์ต

5.ห้ามผู้ประกอบการธุรกิจผลิตภัณฑ์ยาสูบทำกิจกรรม CSR อุปถัมภ์สนับสนุนบุคคล หรือองค์กร ที่เป็นการสร้างภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ยาสูบ

6.ห้ามตั้งวางโชว์ผลิตภัณฑ์ยาสูบหรือซองบุหรี่ ณ จุดขายปลีกที่ทำให้ผู้บริโภคหรือประชาชนมองเห็น

7.ห้ามแบ่งซองขายบุหรี่เป็นรายมวน

8.เพิ่มโทษผู้ฝ่าฝืนสูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่เป็นปรับไม่เกิน 5,000 บาท

9.กำหนดหน้าที่ให้เจ้าของสถานที่สาธารณะที่เป็นเขตปลอดบุหรี่ มีหน้าที่ต้องประชาสัมพันธ์ แจ้งเตือน ดูแลให้ไม่มีการฝ่าฝืนสูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่ หากฝ่าฝืนไม่ดำเนินการ เจ้าของสถานที่มีโทษปรับไม่เกิน 3,000 บาท


"พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560" - ราชกิจจานุเบกษา,
https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/039/27.PDF

"พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560", ศูนย์กฎหมาย กรมควบคุมโรค,
https://www.facebook.com/pg/LawcenterDDC/photos/?tab=album&album_id=1887939478120107

ไขข้อข้องใจพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560,
https://www.trc.or.th/th/ศูนย์ข้อมูล/trc-publication/trc-infographic/item/648-ไขข้อข้องใจพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ-พ-ศ-2560.html

สาระสำคัญ พรบ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560,
https://www.riskcomthai.org/2017/detail.php?id=35903&m=media&gid=1-004-004

คกก. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบระดับจังหวัด จังหวัดกำแพงเพชร
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.2676392675709725&type=3

มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่
www.ashthailand.or.th

สำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
อาคาร 11 ชั้น 5 88/21 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
โทรศัพท์ 0-2590 - 3818
https://btc.ddc.moph.go.th/th/index.php
https://ddc.moph.go.th/th/site/office/view/btc
https://www.facebook.com/Thaiantitobacco/
ดาวโหลด
https://btc.ddc.moph.go.th/th/download2.php?type=3

กรมควบคุมโรค ศูนย์กฏหมาย
พระราชบัญญัติควบคุมผลิคภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.๒๕๖๐
https://law.ddc.moph.go.th/lawbtc.php
https://btc.ddc.moph.go.th/th/laws-th.php?type=8

***********************************************







 




 

Create Date : 31 พฤษภาคม 2557   
Last Update : 20 กุมภาพันธ์ 2563 15:03:56 น.   
Counter : 12619 Pageviews.  

ครรภ์เป็นพิษ นำมาฝากจาก พญ. ชัญวลี ศรีสุโข แพทยสภา กรมการแพทย์

 

ครรภ์เป็นพิษ
------------------

ข้อมูลจากโรงพยาบาลรัฐพบว่า มารดาเสียชีวิตจำนวน108, 99, 93, 97, 89 ราย ในปีพ.ศ. 2547-2551 สาเหตุการตายที่ติดอันดับหนึ่งถึงสามในแต่ละปีได้แก่ ตกเลือด, ติดเชื้อ, และครรภ์เป็นพิษ

ครรภ์เป็นพิษคืออะไร มีวิธีป้องกันอย่างไรมาติดตามกันเลยค่ะ
ครรภ์เป็นพิษคือ กลุ่มอาการ 3 อย่างที่ตรวจพบในคนตั้งครรภ์ ได้แก่ ความดันโลหิตสูง, บวมตามแขนขาใบหน้า, มีไข่ขาวออกมาในน้ำปัสสาวะ ซึ่งจะหายก็เมื่อคลอดลูกและเอารกออก

สาเหตุที่ทำให้เกิดครรภ์เป็นพิษ แม้ไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง แต่ปัจจุบันเชื่อเรื่อง ความผิดปกติของการพัฒนาระบบเส้นเลือดของรกตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์อ่อนๆ ทำให้รกบางส่วนมีเลือดไปเลี้ยงน้อย, ขาดออกซิเจน, ขาดเลือด, และปล่อยสารเคมีออกมา สารเคมีเหล่านี้ทำให้เส้นเลือดของแม่หดตัว, มีน้ำรั่ว, เม็ดเลือดแตกฯลฯ ส่งผลให้เกิดความดันโลหิตสูง, บวมตามแขนขาใบหน้า, มีไข่ขาวออกมาในน้ำปัสสาวะ และอาการอื่นๆของครรภ์เป็นพิษ


ปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดครรภ์เป็นพิษ

1. ตั้งครรภ์ที่หนึ่ง(ครรภ์แรก) หรือตั้งครรภ์หลังแต่เป็นครรภ์แรกของสามีคนใหม่

2. มารดาอายุน้อยกว่า20 มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นกว่าคนทั่วไปเล็กน้อย มารดาอายุ 35ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงสูงขึ้นมากกว่าคนทั่วไป
3.มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับความเสื่อมของเส้นเลือดเช่น โรคความดันโลหิตสูง,เบาหวาน, โรคไต, โรคภูมิต้านทานร่างกายบกพร่องเช่น โรคเอส แอล อี, โรคเกล็ดเลือดต่ำ, โรคปวดหัวไมเกรนฯ

4. มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ก่อนการตั้งครรภ์

5. มีประวัติครอบครัว เป็นโรคความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, โรคไต

6.ตั้งครรภ์แฝด, ตั้งครรภ์รกผิดปกติ เช่น ครรภ์ไข่ปลาอุก, ตั้งครรภ์ทารกผิดปกติ เช่นทารกบวมน้ำจากโรคเลือดธาลัสซีเมีย

7. เครียดจัด โดยเชื่อว่าภาวะเครียดร่างกายจะปล่อยสารแคททีโคลามีน(Catecholamine)ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เส้นเลือดหดตัว ทำให้ความดันโลหิตสูง

8. อยู่ในสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ได้รับสารพิษ เช่นได้รับสารตะกั่วจากสิ่งแวดล้อม

9.เกี่ยวกับฤดู โดยหากเป็นคนอาศัยในเขตร้อน ครรภ์เป็นพิษมักจะเป็นในฤดูหนาว

10. ขาดสารอาหารที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ งานวิจัยบางชิ้นสนับสนุนว่าการ
รับประทานสารอาหารที่มีแร่ธาตุหรือวิตามินต่อไปนี้ ช่วยลดการเกิดครรภ์เป็นพิษ วิตามินซี, วิตามินอี, ซิลีเนียม, วิตามินบี6, แคลเซียม, แมกนีเซียม, ธาตุสังกะสี, โอเมก้า3 ซึ่งพบมากในพืชผักใบเขียว นม ผลไม้สด ธัญพืช ถั่ว อาหารทะเล เช่นกุ้งหอย ปู ปลาทะเลเช่นแซลมอน ปลาทูน่าฯลฯ

11. เคยตั้งครรภ์ที่เป็นครรภ์เป็นพิษ โดยพบว่าหากท้องที่แล้วตั้งครรภ์เป็นพิษชนิดไม่รุนแรง คุณมีโอกาสเกิดครรภ์เป็นพิษในท้องนี้ซ้ำร้อยละ5-7, หากท้องที่แล้วตั้งครรภ์เป็นพิษอย่างรุนแรง คุณมีโอกาสเกิดครรภ์เป็นพิษในท้องนี้ซ้ำร้อยละ60-80



อันตรายของครรภ์เป็นพิษ

หากเป็นครรภ์เป็นพิษอย่างรุนแรงจนอาจก่อให้เกิดอาการชัก(Eclampsia) ,ภาวะเลือดไม่แข็งตัว, เลือดออกในสมอง , การทำงานของตับผิดปกติ, เลือดไม่ไปเลี้ยงทารกฯลฯ จนมารดาและเด็กเสียชีวิตได้ โดยมารดาครรภ์เป็นพิษอย่างรุนแรงมีโอกาสเสียชีวิตร้อยละ1-10



การป้องกันครรภ์เป็นพิษด้วยตัวของคุณเอง

1. หากท้องที่แล้วคุณเคยตั้งครรภ์ที่เป็นครรภ์เป็นพิษอย่างไม่รุนแรง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนปล่อยให้ตั้งครรภ์ หากเคยตั้งครรภ์เป็นพิษอย่างรุนแรง ไม่ควรเสี่ยงท้องอีกต่อไป

2. ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดครรภ์เป็นพิษควรไปพบแพทย์เพื่อเตรียมตัวก่อนการตั้งครรภ์ หากตั้งครรภ์ควรฝากครรภ์ก่อนสามเดือนของการตั้งครรภ์ และฝากครรภ์ตามแพทย์นัดอย่างต่อเนื่อง

3. รับประทานอาหารให้สมดุล และรับประทานสารอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ และขณะตั้งครรภ์

4. หากเครียด ควรหาวิธีลดความเครียด เพราะความเครียดเป็นบ่อเกิดของครรภ์เป็นพิษ

5. สังเกตอาการเตือนของครรภ์เป็นพิษ หากตั้งครรภ์และมีอาการต่อไปนี้ควรไปพบแพทย์ก่อนกำหนดนัด

- น้ำหนักขึ้นเร็วคือมากกว่า 1กิโลกรัมต่อ1สัปดาห์ ดังนั้นหญิงมีครรภ์ทุกคนควรชั่งน้ำหนักทุกสัปดาห์

- บวมกดบุ๋มที่หลังเท้าจนตาตุ่มที่ข้อเท้าหายไป, หรือบวมกดบุ๋มที่หน้าแข้ง ,หรือบวมที่แขนและมือจนกำมือได้ไม่แน่น, หรือบวมที่หนังตา

- ลูกไม่ดิ้นหลังจากเคยดิ้นมาก่อน

- จุกแน่นหน้าอก(ครรภ์เป็นพิษอย่างรุนแรงร้อยละ10ทำให้มีเลือดออกในตับ จะเกิดอาการจุกแน่นหน้าอก)

- ปวดศีรษะมาก

-ปัสสาวะออกน้อย คือน้อยกว่า 20ซีซีต่อชั่วโมง หรือ400ซีซีต่อวัน

- ชัก หากไม่ทราบสาเหตุให้สันนิษฐานว่าเป็นครรภ์เป็นพิษอย่างรุนแรง และรีบไปโรงพยาบาล


----------------------------
ด้วยความรักและปรารถนาดี
จาก พญ. ชัญวลี ศรีสุโข โฆษกแพทยสภา
(chanwalee@srisukho.com)
-----------------------------


แถม ...


โชคดีที่ไม่เรียนวิชาสูติศาสตร์    
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-02-2009&group=7&gblog=14

มดลูกเกือบแตก    
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=07-02-2009&group=7&gblog=15

มดลูกแตก ..... ( ความรู้ ประกอบการติดตามข่าว )    
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-02-2009&group=4&gblog=68

โรคน้ำคร่ำอุดตันในกระแสเลือด .... ( ความรู้ ประกอบ การติดตามข่าว )    
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-02-2009&group=4&gblog=69




 
#ทุกการคลอดมีความเสี่ยง ณ วันนี้ยังมีแม่ที่ต้องเสียชีวิตจากการคลอดลูกในทุกประเทศทั่วโลก ไม่ว่าประเทศนั้นจะมีความเจริญทางการแพทย์มากเพียงใดก็ตาม

ข้อมูลล่าสุด ประเทศไทยมีการคลอดปีละกว่า 700,000 คน แต่มีแม่ผู้โชคร้ายที่เสียชีวิตจากการคลอดราว 100 คน สาเหตุหลักๆ 5 อันดับแรก คือ ตกเลือดหลังคลอด ติดเชื้อในกระแสเลือด ครรภ์เป็นพิษ ภาวะแทรกซ้อนของโรคทางอายุรกรรม และน้ำคร่ำอุดหลอดเลือดที่ปอด

ซึ่งอาการเหล่านั้นบางอย่างก็สามารถวินิจฉัยได้ล่วงหน้า ป้องกันจากหนักเป็นเบาได้ แต่บางอาการเป็นเรื่องของโชคชะตา!!

เริ่มจาก..ตกเลือดหลังคลอด เป็นสาเหตุการตาย 1 ใน 3 ของการตายทั้งหมดของแม่ เกิดจากมดลูกไม่แข็งตัว มีการฉีกขาดของช่องคลอดมาก มดลูกแตก รกค้าง มารดามีเลือดแข็งตัวผิดปกติ และการท้องนอกมดลูก ฯลฯ ภาวะเหล่านี้หากมีการฝากท้องที่ดี อาจสามารถป้องกันอันตรายได้บางส่วน เช่น ตรวจพบท้องนอกมดลูกระยะเริ่มแรกซึ่งยังไม่ตกเลือดในช่องท้อง

ตามมาด้วยการติดเชื้อในกระแสเลือด เกิดจากการติดเชื้อโรค ไวรัส แบคทีเรีย ฯลฯ ในแม่ที่ภูมิต้านทานบกพร่อง หรือจากการดูแลหลังคลอดที่ไม่ถูกสุขลักษณะ และการติดเชื้อจากการทำแท้ง

สำหรับกรณีครรภ์เป็นพิษนั้น นับว่าอันตรายมาก หากเป็นชนิดรุนแรงความดันโลหิตสูงมาก การรักษามีเพียงทางเดียวคือ ต้องให้เด็กคลอดโดยเร็วที่สุด ไมเช่นนั้นอาจสูญเสียทั้งแม่และลูก

ส่วนภาวะแทรกซ้อนของโรคทางอายุรกรรม คือปัญหาด้านสุขภาพของแม่จากโรคต่างๆ ที่มีอยู่ก่อนการตั้งครรภ์ เช่น ความดันโลหิตสูง หอบหืด ลมชัก โรคปอด ไต ตับ มะเร็ง ลิ้นหัวใจรั่ว ลิ้นหัวใจตีบ สามารถส่งผลให้เสียชีวิตได้ ทั้งในช่วงก่อนคลอด ระหว่างคลอด และ หลังคลอด ในบางกรณีเช่นโรคหัวใจ การไม่ตั้งครรภ์เลยจะเป็นการปลอดภัยที่สุด

และอันดับสุดท้าย คือ น้ำคร่ำอุดหลอดเลือดที่ปอด เป็นภาวะซึ่งหมอไม่สามารถจะทำนายล่วงหน้าได้เลยว่าจะเกิดกับใคร หากเกิดขึ้นแล้วมีโอกาสเสียชีวิตสูง

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว อดคิดไม่ได้ว่ากว่าจะเป็นแม่คนได้นี่ มันช่างเสี่ยงอันตรายเหลือเกิน แต่แม่ก็ยังช่วยลดโอกาสเสี่ยงเหล่านี้ได้ ด้วยการเตรียมตัวก่อนการตั้งครรภ์ ฝากครรภ์โดยเร็ว คือ ฝากครรภ์ทันทีเมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ และควรฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 3 เดือน ฝากครรภ์สม่ำเสมอ ไปตามหมอนัด ปฎิบัติตามคำแนะนำของหมอ ดูแลตัวเองให้ดี นับลูกดิ้น สังเกตอาการผิดปกติของตัวเอง และควรคลอดลูกในสถานพยาบาลที่มีบุคลากรที่มีเครื่องมือพร้อม สามารถผ่าตัดได้ หรือส่งต่อได้อย่างรวดเร็ว

สุดท้าย..แม้จะทำทุกอย่างครบแล้ว แต่คงต้องขอให้เผื่อใจไว้สักนิด เพราะทุกการคลอดคือความเสี่ยง มนุษย์ยังแพ้ธรรมชาติ ยังไม่มีวิทยาการใดที่จะสามารถป้องกันได้ 100 เปอร์เซ็นต์

คำกล่าวทิ้งท้ายจาก ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย....“แม้ว่าเราจะดูแลคนไข้อย่างดีที่สุดแล้วก็ตามอาจมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นได้เสมอ แต่พวกเราก็ไม่ได้ย่อท้อหรือยอมแพ้ จะยังคงทำหน้าที่ให้ดีที่สุด เพื่อคนไข้ทุกคน”

https://www.facebook.com/thaimedcouncil/photos/a.1532498987015001/2101297303468497/?type=3&theater




ภาวะร้ายใกล้ตัว หญิงตั้งครรภ์สู่ภาวะครรภ์เป็นพิษ

กรมการแพทย์เผย ภาวะครรภ์เป็นพิษ มีผลต่อมารดาและเด็กในครรภ์ เสี่ยงถึงขั้นเสียชีวิต ควรฝากครรภ์ตั้งแต่ระยะแรกของการตั้งครรภ์ พบแพทย์สม่ำเสมอ หมั่นดูแลสุขภาพและสังเกตอาการต่างๆ เพื่อป้องกัน

นายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ และโฆษกกรมการแพทย์ กล่าวว่า ภาวะครรภ์เป็นพิษ เป็นภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นในหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งมักจะมีอาการในช่วงอายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์ขึ้นไป โดยระดับของภาวะครรภ์เป็นพิษแบ่งเป็น 3 ระดับ 1.ระดับไม่รุนแรง มารดาจะมีความดันโลหิตขึ้นสูง มีอาการบวมปานกลาง และตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ ไม่มีภาวะแทรกซ้อน 2.ระดับรุนแรง มารดาจะมีอาการปวดศีรษะมาก ตามัว จุกเสียดแน่นบริเวณลิ้นปี่ เกล็ดเลือดต่ำ มีภาวะเม็ดเลือดแตก บางรายอาจรุนแรงถึงขั้นมีภาวะน้ำท่วมปอดหรือมีเลือดออกในสมอง 3.ระดับรุนแรงเกิดอาการชัก เป็นระยะที่รุนแรงที่สุดและมักเกิดตามหลังครรภ์เป็นพิษรุนแรง ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกวิธีจากแพทย์ ผู้ป่วยจะมีอาการชัก เกร็ง หรือหมดสติ อาจทำให้แม่และเด็กในครรภ์ได้รับความเสี่ยงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ส่วนสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงของภาวะครรภ์เป็นพิษ อาจเกิดได้จากหลายปัจจัยร่วมกัน เช่น ระบบภูมิคุ้มกันเกิดความผิดปกติ หลอดเลือดบริเวณรกมีความผิดปกติ กรรมพันธุ์ มีโรคประจำตัวเรื้อรังก่อนตั้งครรภ์ เป็นต้น

นายแพทย์สมเกียรติ ลลิตวงศา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี กล่าวเสริมว่า ภาวะครรภ์เป็นพิษที่อยู่ในระดับรุนแรง ทำให้มีผลแทรกซ้อนต่อมารดาและเด็กในครรภ์ มารดาอาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิต สาเหตุมักเกิดจากมีเลือดออกในสมองหรืออวัยวะต่างๆ เกิดอาการชัก มีภาวะน้ำท่วมปอด อาจต้องยุติการตั้งครรภ์เพื่อป้องกันมารดาเสียชีวิต และสำหรับเด็กในครรภ์ อาจทำให้เด็กเสียชีวิตได้เช่นกัน หรือทารกเติบโตช้าผิดปกติ มีภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด และที่พบบ่อยคือการคลอดก่อนกำหนด ดังนั้นในระหว่างตั้งครรภ์ควรหมั่นดูแลสุขภาพและสังเกตอาการต่างๆ ถ้ามีภาวะความดันโลหิตขึ้นสูงมากผิดปกติ ปวดศีรษะมาก ตามัว หรือมีสิ่งผิดปกติอื่นๆ ให้รีบพบแพทย์ทันที เนื่องจากการตรวจพบตั้งแต่เริ่มแรก สามารถให้การดูแลรักษาอย่างปลอดภัยได้ ดังนั้นแนะนำว่าควรฝากครรภ์ตั้งแต่ระยะแรกของการตั้งครรภ์ พบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ งดทำงานหนัก พักผ่อนให้มาก หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง ดื่มน้ำสะอาดให้มาก เลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน สำหรับภาวะครรภ์เป็นพิษจะมีอาการดีขึ้นหลังจากการคลอด แต่ยังมีโอกาสชักได้อยู่ในระยะ 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด โดยในช่วงหลังคลอดมารดาอาจยังมีภาวะความดันโลหิตสูง แต่หากเกิน 12 สัปดาห์ไปแล้ว ยังคงมีภาวะความดันโลหิตสูงอยู่ มารดาอาจจะเป็นภาวะความดันโลหิตสูงชนิดเรื้อรังได้ ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างต่อเนื่อง
*******************************************
#กรมการแพทย์ #โรงพยาบาลราชวิถี #ภาวะครรภ์เป็นพิษ
-ขอขอบคุณ –
6 พฤศจิกายน 2562 


https://www.facebook.com/643148052494633/photos/a.643156795827092/1580327015443394/?type=3&theater

 




 

Create Date : 11 มิถุนายน 2556   
Last Update : 6 พฤศจิกายน 2562 15:17:53 น.   
Counter : 5099 Pageviews.  

วิธีเลือกร้านอาหารขณะเดินทาง .. จากเวบ หมอชาวบ้าน



วิธีเลือกร้านอาหารขณะเดินทาง

//www.doctor.or.th/article/detail/3203


ข้อมูลสื่อ

163-009
นิตยสารหมอชาวบ้าน 163
พฤศจิกายน 1992
รู้ก่อนกิน
นพ.วีระวัฒน์ พันธ์ครุฑ



“ไหน แวะร้านไหนดี” คนขับรถ ถามเพื่อนร่วมทาง

“เอาร้านโน้นสิ คนเยอะดี สงสัยอร่อย” นั่นคือ คำตอบที่ได้รับ

บทสนทนาข้างต้นนี้เป็นตัวอย่างของวิธีการหนึ่งในการเลือกร้านอาหารที่จะเข้าไปบริโภคของคนทั่วไป ซึ่งก็ถือได้ว่าเป็นวิธีที่มีความเหมาะสมในระดับหนึ่ง เพราะร้านที่คนเข้าไปใช้บริการกันมากมักเป็นร้านที่อาหารอร่อย ราคาไม่แพงเกินไป นอกจากนั้นอาจมีข้อดีอย่างอื่นอีก เช่น บริการดี รวดเร็วทันใจ สถานที่สะอาด บรรยากาศดี ห้องน้ำห้องส้วมสะอาด แต่อย่างไรก็ดี ร้านอาหารที่ขายดี ลูกค้าแยะ ก็ใช่ว่าจะเป็นร้านที่จะพึงเข้าไปบริโภคได้เสมอไป

ในเรื่องของการบริโภคนั้น คงต้องยอมรับว่าการทำอาหารกินเองหรือกินข้าวในบ้านเป็นวิธีที่ปลอดภัย และสะอาดถูกหลักอนามัยมากที่สุด แต่ในสภาพปัจจุบันที่คนต้องทำงานแข่งกับเวลา โดยเฉพาะคนในเมืองหลวง การกินอาหารนอกบ้านจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ หากเป็นร้านอาหารที่เราเคยรู้จักมาก่อน หรือเป็นย่านที่คุ้นเคยก็คงจะไม่มีปัญหาอะไร

แต่ในกรณีที่เดินทางไปต่างจังหวัดหรือต่างถิ่น การเลือกร้านอาหารนั้นโดยทั่วไปคนจำนวนมากมักยึดถือเรื่อง “ความอร่อย” หรือรสชาติเป็นเกณฑ์ ส่วนปัจจัยอื่นๆ เช่น ราคา ความสะอาด ก็เป็นปัจจัยที่พิจารณาประกอบรองๆลงมา ซึ่งบางครั้งก็อาจต้องประสบปัญหาท้องเสีย หรือเดือดร้อนจากอาหารเป็นพิษ ทำให้การเดินทางไม่ราบรื่นและอาจเสียงานเสียการตามที่ตั้งใจไว้ จึงมีข้อคิดบางประการในการเลือกร้านอาหารต่างถิ่นมาเสนอให้ทราบกัน


1. ให้ดูสภาพความสะอาดของสถานที่ บริเวณที่ปรุงอาหาร การจัดเก็บอาหาร สภาพภาชนะถ้วยชาม การแต่งเนื้อแต่งตัวของผู้ปรุงอาหารเป็นสำคัญ ถึงแม้ว่าอาหารร้านนั้นอาจจะมีรสชาติธรรมดาๆ แต่ก็ยังดีกว่ากินของอร่อยที่เป็นพิษเป็นภัยกับเราเข้าไป เคยมีคนกล่าวว่า “เวลาไปกินอาหารตามร้าน อย่าเข้าไปดูบริเวณที่ปรุงอาหาร หรือที่ล้างถ้วยล้างชาม เพราะจะกินไม่ลง” ทั้งที่จริงแล้วข้อนี้บางทีก็จำเป็นต้องสังเกตให้ดี เพราะแม้อาหารที่ปรุงจะสะอาด แต่ถ้วยชามสกปรกก็คงไม่ไหวเหมือนกัน


2. ป้ายรับรองคุณภาพต่างๆ เช่น เชลล์ชวนชิม แม่ช้อยนางรำ อาจพอเป็นการรับรองได้คร่าวๆ ถึงความอร่อยของอาหารร้านนั้น แต่บางครั้งก็ไม่แน่เหมือนกัน เพราะบางแหล่ง เช่น แถวหนองมน จังหวัดชลบุรี จะพบว่า แทบทุกร้านมีป้ายรับประกันคุณภาพเหมือนกันหมด ฉะนั้นถ้าจะดูให้ครบถ้วนสมบูรณ์จริงๆ ควรเป็นร้านที่ได้รับการรับรองว่าเป็นร้านอาหารถูกสุขลักษณะของกรมอนามัยดูจะปลอดภัยที่สุด


3. เลือกสั่งอาหารที่ปรุงเสร็จใหม่ๆ หลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงค้างคืน หรืออาหารที่ไม่มีภาชนะปกปิด มีฝุ่นหรือแมลงวันตอม และควรหลีกเลี่ยงอาหารบางประเภท เช่น

- อาหารพวกยำ พล่าทั้งหลาย เพราะมีโอกาสปนเปื้อนสูง

- อาหารทะเลที่อาจปรุงไม่สุก เช่น หอยแครงลวก ยำหอยนางรม อาหารสุกๆดิบๆทุกอย่าง

- อาหารที่รสจัดมากๆ เช่น ลาบ เสือร้องไห้ ซึ่งมีรสเผ็ดมาก อาจทำให้บางท่านที่กระเพาะไม่ค่อยดีหรือมีโรคกระเพาะประจำตัวเดือดร้อนได้


4. น้ำแข็งเปล่าก็ควรระวัง เพราะบางครั้งอาจผลิตจากน้ำประปาซึ่งไม่ได้ผ่านการกรองเชื้อโรคบางชนิดที่เป็นสาเหตุของอาการท้องเสีย ท้องร่วง ถ้าเป็นไปได้ควรบริโภคน้ำบรรจุขวดสำเร็จ และควรเลือกดูชนิดที่ข้างขวดมีเครื่องหมาย อย. รับรองคุณภาพ


5. อาหารบางประเภทที่เติมผงชูรสมากเกินไป เช่น ต้มยำ ทอดมัน ผู้เขียนเคยมีอาการอึดอัดแน่นหน้าอก ชาร้าวไปทั่วบริเวณหัวไหล่และต้นคอเพราะกินทอดมันที่เติมผงชูรสมากเกินไป ดังนั้น ใครที่แพ้ผงชูรสจึงควรบอกทางร้านให้งดเติมผงชูรสลงในอาหาร


6. คนขับรถไม่ควรกินอาหารให้อิ่มจนเกินไป เพราะอาจง่วงนอน ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้


7. บางครั้งยอมกินอาหารที่มีราคาแพงสักนิดแต่สะอาดปลอดภัยจะดีกว่าที่ต้องเสี่ยงกับอาการท้องเสียหรือเจ็บป่วยในขณะเดินทาง โดยเฉพาะถ้าท่านมีเด็กเดินทางไปด้วยยิ่งจำเป็น บางพื้นที่มีปัญหาเรื่องอหิวาต์ หรืออุจจาระร่วงอย่างแรง เกิดขึ้นอยู่เสมอ เช่น จังหวัด 3 ส. (สมุทรปราการ สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม) หรือจังหวัดที่อยู่ริมทะเลยิ่งมีโอกาสเสี่ยงสูง ถ้ากินอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะเข้าไป


8. บางครั้งเราอาจมีปัญหาเรื่องมีเวลาจำกัด เวลาเร่งรัด ไม่สามารถขับรถตระเวนหาร้านอาหารที่ถูกใจ สะอาดถูกหลักอนามัยได้ การจอดรถแวะถามคนท้องถิ่นแถวนั้นหรือถามตำรวจคงจะช่วยให้ประหยัดเวลาได้มาก อีกทั้งจะได้กินอาหารอร่อย และสะอาดถูกหลักอนามัยด้วย


9. ปัญหาอีกประการหนึ่งที่อาจประสบคือ เรื่องราคา โดยเฉพาะพ่อค้าบางคนมองออกว่าท่านเป็นคนต่างถิ่น เป็นขาจร ไม่ใช่ลูกค้าประจำ จึงอาจถูกโก่งราคา หรือขายแพงกว่าที่ควรจะเป็น ถ้าเป็นไปได้จึงควรเลือกร้านที่มีรายการอาหารบอกราคาไว้เรียบร้อยแล้วจะดีกว่า


10. อาหารประเภทจานเดียว เช่น เกี๋ยวเตี๋ยว ผัดไทย อาจเป็นทางออกที่ดีทางหนึ่งสำหรับท่านที่มีเวลาไม่มากนัก แถมยังราคาไม่แพงจนเกินไป และค่อนข้างสะอาด เพราะปรุงเสร็จใหม่ๆ



ไม่ยากเลยใช่มั้ยครับ หากคุณระมัดระวังได้ตามข้อแนะนำ ไม่ว่าจะเป็นโรคท้องร่วงหรือท้องเสีย ก็ไม่มีสิทธิ์มาเดินพาเหรดรบกวนเวลาท่องเที่ยวของคุณแน่ๆ.




ปล. เที่ยวสนุก กินอร่อย เดินทางปลอดภัย นะครับ








 

Create Date : 12 เมษายน 2556   
Last Update : 12 เมษายน 2556 2:24:48 น.   
Counter : 2078 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 763 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]