Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

จากไข้หวัดใหญ่ MEXICO ถึงไข้หวัดใหญ่ 2009 .... บทเรียนสาธารณสุขไทย

จากไข้หวัดใหญ่ MEXICO ถึงไข้หวัดใหญ่ 2009 บทเรียนสาธารณสุขไทย

แนวหน้า 9/05/2552


สัปดาห์ ที่ผ่านมามีภาวะโรคติดต่อที่เป็นข่าวไปทั่วโลกคือ ไข้หวัดใหญ่MEXICO จากไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ สายพันธุ์เอช 1 เอ็น 1 โดยมีกำเนิดจากเชื้อไข้หวัดของหมู ที่กลายพันธ์ โดยล่าสุดเปลี่ยนชื่อเพื่อป้องกันผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ไม่หมู เป็นไข้หวัดใหญ่ 2009

ซึ่งยังคงสร้างความหวาดระแวง ไปทั่วโลกผ่านสื่อมวลชนนานาชาติ ออกข่าวทุกวันจนแทบทุกบ้านรู้จักชื่อดี แม้อาจไม่เข้าใจรายละเอียดของโรคมากนัก

และยังมีข่าวแปลกๆตามมาหลายรูปแบบ เช่น บีบีซีรายงานว่ารัฐบาลฟิลิปปินส์ขอให้แมนนี่ ปาเกียว ฮีโร่ขวัญใจชาวฟิลิปปินส์ ที่เพิ่งสยบ ริกกี้ ฮัตตัน นักชกอังกฤษในการแข่งขันไฟต์หยุดโลก ที่นครลาสเวกัส รัฐเนวาดา อย่าเพิ่งกลับประเทศ ด้วยเกรงว่าคณะจะนำเชื้อมาแพร่กับประชาชนจำนวนมหาศาลที่มารอรับ จนต้องเลื่อนงานฉลองเข็มขัดแชมป์โลกรุ่นไลต์เวลเตอร์เวตของไอบีโอไปก่อน เป็นที่ขัดใจของแฟนคลับทั่วประเทศอย่างมาก

องค์การอนามัย โลก เปิดเผยตัวเลขล่าสุดของผู้ได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเ อ สายพันธุ์เอช 1 เอ็น 1 พุ่งแตะ 1,893 คน ใน 23 ประเทศ (8 พค.)โดยประเทศที่ยืนยันพบผู้ติดเชื้อรายใหม่มากที่สุด คือ เม็กซิโก และสหรัฐฯ

ในประเทศไทยเองแม้ว่าขณะนี้ยังไม่มีโรคนี้ปรากฏ แต่นับว่ามีความสำคัญ เพราะทำให้เกิดการเตรียมพร้อมของระบบสาธารณสุขต่อการระบาดของโรคใหญ่ๆ ที่มีโอกาสเกิดขึ้นในโลกนี้ได้ในอนาคตอย่างจริงจัง และรัฐบาลยังได้โอกาสเป็นเจ้าภาพให้กลุ่มรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน+3มาประชุ มหารือเรื่องนี้ในไทยระหว่างวันที่7-8พค.ที่ผ่านมาเพื่อแก้ปัญหานี้อีกด้วย



ศ. นพ.อมร ลีลารัศมี นายกสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย และ ประธานวิชาการของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ซึ่งเป็น 1 ใน 14 ราชวิทยาลัยฯที่ตั้งขึ้นโดยแพทยสภาได้ออกแถลงข่าวให้ความรู้นับแต่วันแรกๆ ของการระบาดโดยมีสาระสำคัญพอสรุปได้ง่ายๆ คือ


1. โรคนี้มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ที่มีการเกิดแรกเริ่มจากหมูก่อนจะกลายพันธ์มาระบาดในมนุษย์และมีรายงานครั้ง แรกใน MEXICO โดยมีหลักฐานว่ามีผู้เสียชีวิตโดยเฉพาะในกลุ่มผู้มีโรคประจำตัวและมีความต้านทานต่ำ แต่อย่างไรก็ตามผู้ที่แข็งแรงดีก็มีรายงานการเสียชีวิตด้วยเช่นกัน


2. มีการระบาดต่อเนื่องในประเทศอื่น ๆ เช่น สหรัฐอเมริกาและมีรายงานกระจายไปทั่วโลก กว่า 23 ประเทศ ทำให้เกิดความ หวาดกลัว โรคเฉพาะเมื่อสื่อมวลชน กระจายข่าวสารไปทั่วโลกยิ่งเกิดการตระหนกมากขึ้น แม้การติดเชื้อจะมีจำนวนมากแต่การเสียชีวิตเกิดขึ้นไม่มากนัก


3. สามารถใช้ยาต้านไวรัสรักษาได้หากแพทย์วินิจฉัยได้ในระยะเริ่มต้น และประเทศไทยมีการเตรียมยาพร้อมจำนวนมากโดย องค์การเภสัชกรรม ทั้งนี้ ท่านผู้อำนวยการ (นพ.วิทิต อรรถเวชกุล) ได้ให้ข้อมูลว่ามีสำรองไว้หลายแสนเม็ดเพียงพอหากเกิดการระบาดแน่นอนอุ่นใจ ได้ในระดับหนึ่ง


4. ระบบการป้องกันโรคระบาดถูกนำมาใช้ในสนามบินนานาชาติทั่วประเทศไทย โดยมีการจัดหาเครื่องสแกนอุณหภูมิเพื่อหาผู้ป่วยเป็นไข้ก่อน แล้วจึงมาแยกว่าเป็นจากเชื้อนี้หรือไม่

โดยมีการรายงานว่าสามารถตรวจแยกได้ในเวลาเพียง 4 ชั่วโมงเท่านั้นหากไม่พบหลักฐานว่าเป็นเชื้อนี้ก็สามารถกลับบ้านได้ โดยรอติดตามอาการอีก7วัน และยังไม่พบผู้ที่เป็นในขณะนี้


5. คนไทยผู้กลับมาจากพื้นที่ที่ระบาดแม้ว่าจะไม่มีไข้ ก็ต้องติดตามไป 7 วัน เช่นกัน โดยควรแยกตัวจากผู้อื่นโดยเฉพาะผู้สูงอายุและเด็ก หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวที่ภูมิคุ้มกันน้อยกว่าปกติ เช่น โรคเบาหวาน โรคไต ฯลฯ ก่อนจนแน่ใจ หากพ้น 7 วันไปแล้วถือได้ว่าปลอดภัย


6. กรณีหากคนไทยที่ต้องเดินทางไปในพื้นที่ระบาดนั้น ถึงจะสบายดีก็มีคำแนะนำให้ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล แม้ว่าจะป้องกันไข้หวัดใหญ่ 2009 ไม่ได้ แต่ทำให้ลดโอกาสการเกิดไข้หวัดปกติซึ่งเกิดได้ง่ายกว่า จะได้ไม่เกิดปัญหาโดนกักตัวจากโรคไข้หวัดใหญ่ชนิดอื่นที่มีไข้ขึ้นได้โดยไม่จำเป็น

แต่อย่างไรก็ตามคำแนะนำนี้จะเพิ่มค่าใช้จ่ายต่อผู้เดินทาง ดังนั้นควรพิจารณาเป็นรายๆ โดยปรึกษาแพทย์ เพื่อดูข้อบ่งชี้ว่าจะได้ประโยชน์คุ้มค่าหรือไม่เสียก่อน


7.
ในพื้นที่ที่มีโอกาสติดเชื้อง่ายๆ ที่สำคัญได้แก่พื้นที่ ที่มีอากาศปิด เช่น ในรถปรับอากาศ ,ในเครื่องบิน ,ในโรงภาพยนตร์ ฯลฯ ในกรณีที่มีผู้ติดเชื้ออยู่สามารถแพร่เชื้อได้ ดังนั้นหากเป็นไปได้การใช้ผ้าปิดปากและจมูก ป้องกันละอองเชื้อจากการไอ จาม จะช่วยลดอุบัติการณ์ได้ รวมถึงการล้างมือเมื่อสัมผัสพื้นที่สาธารณะต่างๆ ในที่ไม่แน่ใจความสะอาด ทั้งนี้ยังช่วยลดโรคติดต่ออื่นๆได้อย่างดีด้วย


8. กรณีมีผู้เป็นไข้ไม่ทราบสาเหตุและมีโอกาสเสี่ยง เช่น สัมผัสกับบุคคลที่เดินทางจากพื้นที่ที่มีการระบาดควรจะต้องรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้องต่อไป


บทเรียนครั้งนี้ สร้างความตื่นตัวต่อการระบาดของโรคในระดับโลก โดยเป็นครั้งแรกที่รุนแรงต่อจากการระบาดของไข้หวัดนกในปีที่ผ่านมา และส่งให้เห็นอิทธิพลของข่าวสารสุขภาพ ที่ให้ทั้งแง่บวกคือการให้ความรู้ รับรู้ และ ป้องกัน ถึงในเชิงลบ คือ การตื่นตระหนก หวาดกลัวนำไปสู่การกักกันและ ถูกรังเกียจได้ ดังเช่นในข่าวหลายกรณี


สำหรับ ทิศทางของการระบาดแม้ว่ามีผู้ให้ความเห็นว่าโรคนี้ไม่น่าจะเกิดในประเทศไทย เพราะอากาศร้อนไม่เหมาะสมนั้น ยังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์รองรับและการระบาดจากหมูสู่คน หรือคนกลับไปสู่หมูก็ยังไม่มีรายงานมาก่อน แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต



ข้อมูล เพิ่มเติมท่านศึกษาได้ที่เว็บไซด์ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ //www.rcpt.org ที่ผมได้บันทึกการบรรยายของ ศ.นพ.อมรฯ เป็นเป็นไฟล์วีดีโอคลิปขนาด 9 นาทีไว้ให้แล้วครับ


สิ่งที่แพทยสภาคาดหวัง คือ สนับสนุนประชาชนให้เห็นความสำคัญของการติดตามข่าวสารสุขภาพ รวมถึงรู้จักนำมาคิด วิเคราะห์ข้อมูล ประยุกต์เพื่อใช้ดูแลป้องกันตนเองก่อนที่จะต้องใช้บริการของรัฐที่มีอยู่จำกัด โดยพี่ๆน้องๆสื่อมวลชนจะมีบทบาทช่วยประชาชนมากในการนี้


ใน ท้ายสุดข้อที่ดีของการระบาดครั้งนี้ คือช่วยมาลดพื้นที่นำเสนอข่าวความขัดแย้ง บรรเทาความรุนแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ นับเป็นการช่วยเยียวยาจิตใจของหลากผู้คนหลายสีในสังคมยุคนี้ได้อย่างหนึ่ง ครับ



นาวาอากาศเอก(พิเศษ)นพ.อิทธพร คณะเจริญ
รองเลขาธิการแพทยสภา




เวบที่น่าสนใจ ..


เวบ ของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).. ภาพสวย ข้อมูลเพียบ มีคำถามที่พบบ่อย และ เวบบอร์ดให้สอบถามปัญหา ครบถ้วน ... เจ๋งมั๊ก ๆ

//www.flu2009thailand.com/



ศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ ภาวะฉุกเฉินทาง การแพทย์และสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข

//www.moph.go.th/flu/


สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

//beid.ddc.moph.go.th/th/index.php





( ปรับปรุงเวบลิงค์ที่น่าสนใจ )




 

Create Date : 21 พฤษภาคม 2552   
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2552 17:59:07 น.   
Counter : 2431 Pageviews.  

ไข้ปวดข้อยุงลาย ( ชิคุนกุนยา Chikungunya )

โรคชิคุนกุนยา
จาก สำนักระบาด กระทรวงสาธารณสุข

ลักษณะโรค
โรคชิคุนกุนยา เป็นโรคติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค มีอาการคล้ายไข้เดงกี แต่ต่างกันที่ไม่มีการรั่วของพลาสมาออกนอกเส้นเลือด จึงไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากจนถึงมีการช็อก

สาเหตุ
เกิดจากเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา (Chikungunya virus) ซึ่งเป็น RNA Virus จัดอยู่ใน genus alphavirus และ family Togaviridae

มียุงลาย Aedes aegypti, Ae. albopictus เป็นพาหะนำโรค

วิธีการติดต่อ
ติดต่อกันได้โดยมียุงลาย Aedes aegypti เป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ เมื่อยุงลายตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่อยู่ในระยะไข้สูง ซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือด เชื้อไวรัสจะเข้าสู่กระเพาะยุง และเพิ่มจำนวนมากขึ้น แล้วเดินทางเข้าสู่ต่อมน้ำลาย เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาไปกัดคนอื่นก็จะปล่อยเชื้อไปยังคนที่ถูกกัด ทำให้คนนั้นเกิดอาการของโรคได้

ระยะฟักตัว
โดยทั่วไปประมาณ 1-12 วัน แต่ที่พบบ่อยประมาณ 2-3 วัน

ระยะติดต่อ
ระยะไข้สูงประมาณวันที่ 2 – 4 เป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือดมาก

อาการและอาการแสดง
ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงอย่างฉับพลัน มีผื่นแดงขึ้นตามร่างกายและอาจมีอาการคันร่วมด้วย พบตาแดง (conjunctival injection) แต่ไม่ค่อยพบจุดเลือดออกในตาขาว

ส่วนใหญ่แล้วในเด็กจะมีอาการไม่รุนแรงเท่าในผู้ใหญ่

ในผู้ใหญ่อาการที่เด่นชัดคืออาการปวดข้อ ซึ่งอาจพบข้ออักเสบได้ ส่วนใหญ่จะเป็นที่ข้อเล็กๆ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า อาการปวดข้อจะพบได้หลายๆ ข้อเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆ (migratory polyarthritis)

อาการจะรุนแรงมากจนบางครั้งขยับข้อไม่ได้ อาการจะหายภายใน 1-12 สัปดาห์ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดข้อเกิดขึ้นได้อีกภายใน 2-3 สัปดาห์ต่อมา และบางรายอาการปวดข้อจะอยู่ได้นานเป็นเดือนหรือเป็นปี

ไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงถึงช็อก ซึ่งแตกต่างจากโรคไข้เลือดออก อาจพบ tourniquet test ให้ผลบวก และจุดเลือดออก (petichiae) บริเวณผิวหนังได้

ความแตกต่างระหว่างDF/DHF กับการติดเชื้อ chikungunya

ใน chikungunya มีไข้สูงเกิดขึ้นอย่างฉับพลันกว่าใน DF/DHF คนไข้จึงมาโรงพยาบาลเร็วกว่า

ระยะของไข้สั้นกว่าในเดงกี ผู้ป่วยที่มีระยะไข้สั้นเพียง 2 วัน พบใน chikungunya ได้บ่อยกว่าใน DF/DHF โดยส่วนใหญ่ไข้ลงใน 4 วัน

ถึงแม้จะพบจุดเลือดได้ที่ผิวหนัง และการทดสอบทูนิเกต์ให้ผลบวกได้ แต่ส่วนใหญ่จะพบจำนวนทั้งที่เกิดเองและจากทดสอบน้อยกว่าใน DF/DHF

ไม่พบ convalescent petechial rash ที่มีลักษณะวงขาวๆใน chikungunya

พบผื่นได้แบบ maculopapular rash และ conjunctival infection ใน chikungunya ได้บ่อยกว่าในเดงกี

พบ myalgia / arthralgia ใน chikungunya ได้บ่อยกว่าในเดงกี

ใน chikungunya เนื่องจากไข้สูงฉับพลัน พบการชักร่วมกับไข้สูงได้ถึง 15% ซึ่งสูงกว่าในเดงกีถึง 3 เท่า

ระบาดวิทยาของโรค
การติดเชื้อ Chikungunya virus เดิมมีรกรากอยู่ในทวีปอาฟริกา

ในประเทศไทยมีการตรวจพบครั้งแรกพร้อมกับที่มีไข้เลือดออกระบาดและเป็นครั้งแรกในทวีปเอเชีย เมื่อ พ.ศ. 2501 โดย Prof.W McD Hamnon แยกเชื้อชิคุนกุนยา ได้จากผู้ป่วยโรงพยาบาลเด็ก กรุงเทพมหานคร

ในทวีปอาฟริกามีหลายประเทศพบเชื้อชิคุนกุนยา มีการแพร่เชื้อ 2 วงจรคือ primate cycle (rural type) (คน-ยุง-ลิง)

ซึ่งมี Cercopithicus monkeys หรือ Barboon เป็น amplifyer host และอาจทำให้มีผู้ป่วยจากเชื้อนี้ประปราย หรืออาจมีการระบาดเล็กๆ (miniepidemics) ได้เป็นครั้งคราว เมื่อมีผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันเข้าไปในพื้นที่ที่มีเชื้อนี้อยู่ และคนอาจนำมาสู่ชุมชนเมือง โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มียุงลายชุกชุมมาก ทำให้เกิด urban cycle (คน-ยุง) จากคนไปคน โดยยุง Aedes aegypti และ Mansonia aficanus เป็นพาหะ

ในทวีปเอเซีย การแพร่เชื้อต่างจากในอาฟริกา การเกิดโรคเป็น urban cycle จากคนไปคน โดยมี Ae. aegypti เป็นพาหะที่สำคัญ

ระบาดวิทยาของโรคมีรูปแบบคล้ายคลึงกับโรคติดเชื้อที่นำโดย Ae. aegypti อื่นๆ ซึ่งอุบัติการของโรคเป็นไปตามการแพร่กระจายและความชุกชุมของยุงลาย หลังจากที่ตรวจพบครั้งแรกในประเทศไทย ก็มีรายงานจากประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชีย ได้แก่ เขมร เวียตนาม พม่า ศรีลังกา อินเดีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์

โรคนี้จะพบมากในฤดูฝน เมื่อประชากรยุงเพิ่มขึ้นและมีการติดเชื้อในยุงลายมากขึ้น พบโรคนี้ได้ในทุกกลุ่มอายุ ซึ่งต่างจากไข้เลือดออกและหัดเยอรมันที่ส่วนมากพบในผู้อายุน้อยกว่า 15 ปี

ในประเทศไทยพบมีการระบาดของโรคชิคุนกุนยา 6 ครั้ง

ในปี พ.ศ. 2531 ที่จังหวัดสุรินทร์ พ.ศ. 2534 ที่จังหวัดขอนแก่นและปราจีนบุรี ในปี พ.ศ. 2536 มีการระบาด 3 ครั้งที่จังหวัดเลย นครศรีธรรมราช และหนองคาย

การรักษา
ไม่มีการรักษาที่จำเพาะเจาะจง (specific treatment)

การรักษาเป็นการรักษาแบบประคับประคอง (supportive treatment) เช่นให้ยาลดอาการไข้ ปวดข้อ และการพักผ่อน

การเฝ้าระวังโรค Chikungunya

1. นิยามในการเฝ้าระวังโรค (Case Definition for Surveillance)
1.1 เกณฑ์ทางคลินิก (Clinical Criteria)

มีไข้สูง ร่วมกับ อาการอย่างน้อยหนึ่งอาการ ดังนี้

มีผื่น
ปวดกล้ามเนื้อ
ปวดกระดูกหรือข้อ
ปวดศีรษะ
ปวดกระบอกตา
มีเลือดออกตามผิวหนัง

1.2 เกณฑ์ทางห้องปฏิบัติการ
(Laboratory Criteria)
ทั่วไป

Complete Blood Count (CBC)
อาจมีจำนวนเม็ดเลือดขาวต่ำ
เกล็ดเลือดปกติ ซึ่งสามารถแยกจากไข้เดงกีได้
จำเพาะ

ตรวจพบแอนติบอดีจำเพาะต่อเชื้อในน้ำเหลืองคู่ (paired sera) ด้วยวิธี Haemagglutination Inhibition (HI) > 4 เท่า

หรือ ถ้าน้ำเหลืองเดี่ยวนั้น ต้องพบภูมิคุ้มกัน > 1: 1,280 หรือ
ตรวจพบภูมิคุ้มกันชนิด IgM โดยวิธี ELISA หรือ
ตรวจพบเชื้อได้จากเลือด โดยวิธี PCR หรือการแยกเชื้อ (culture)

2. ประเภทผู้ป่วย (Case Classification)
2.1 ผู้ป่วยที่สงสัย (Suspected case) หมายถึงผู้ที่มีอาการตามเกณฑ์ทางคลินิก ได้แก่ ไข้ ออกผื่น ปวดข้อ

2.2 ผู้ป่วยที่เข้าข่าย (Probable case) หมายถึง ผู้ที่มีอาการตามเกณฑ์ทางคลินิก และ มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
มีผลการตรวจเลือดทั่วไป
มีผลการเชื่อมโยงทางระบาดวิทยากับผู้ป่วยรายอื่นๆที่มีผลการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการจำเพาะ

2.3 ผู้ป่วยที่ยืนยันผล (Confirmed case) หมายถึง ผู้ที่มีอาการตามเกณฑ์ทางคลินิก และ มีผลตามเกณฑ์ทางห้องปฏิบัติการจำเพาะ

3. การรายงานผู้ป่วยตามระบบเฝ้าระวังโรค รง.506 (Reporting Criteria)

4. การสอบสวนโรค (Epidemiological Investigation)

4.1 สอบสวนเฉพาะราย (Individual Case Investigation) เมื่อมีรายงานผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้กับนิยามโรค Chikungunya ให้สอบสวนโรค ยืนยันการวินิจฉัย ค้นหาแหล่งติดเชื้อ และควบคุมโรค

4.2 สอบสวนการระบาด (Outbreak Investigation) เมื่อมีรายงานผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้กับนิยามโรค Chikungunya โดยเกิดโรคเป็นกลุ่ม (cluster) ให้สอบสวนโรค ยืนยันการวินิจฉัย/การระบาด หาสาเหตุและระบาดวิทยาของการระบาด และควบคุมโรค

ดำเนินการเฝ้าระวังและสอบสวนโรคดังนี้

เฝ้าระวังผู้ที่มีอาการไข้สูง ร่วมกับ อาการอย่างน้อยหนึ่งอาการ ดังนี้ มีผื่น ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูกหรือข้อ ปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา มีเลือดออกตามผิวหนัง

แนะนำให้ไปรับการรักษาเพื่อได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ (อาการนำของโรค Chikungunya จะคล้ายโรคไข้เลือดออกหรือโรคหัดเยอรมัน

อาจทำให้วินิจฉัยโรคผิดพลาด และไม่ทราบว่ามีโรคนี้เกิดขึ้นในพื้นที่ จึงต้องสังเกตลักษณะทางระบาดวิทยาของโรค

ที่จะพบได้ทุกกลุ่มอายุและอาการปวดข้อที่เด่นชัด ซึ่งแตกต่างจากโรคไข้เลือดออก ควรแยกโรคนี้กับโรคไข้ออกผื่นอื่น ๆ เช่น หัดเยอรมัน ซึ่งไม่เป็นทุกกลุ่มอายุ และมักจะระบาดในช่วงต้นฤดูหนาว)

รายงานผู้ป่วยให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักระบาดวิทยา และสำนักงานป้องกันควบคุมโรค ทราบ
สอบสวนโรคเพื่อหาผู้ป่วยเพิ่ม แหล่งติดเชื้อ ปัจจัยเสี่ยง ป้องกันและควบคุมโรค โดย

ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม โดยใช้นิยามผู้ป่วย

ค้นหาแหล่งติดเชื้อ จากการสอบถามประวัติเดินทางหรือการอยู่อาศัย เป็นระยะเวลาเท่ากับระยะฟักตัวของโรค ก่อนวันเริ่มป่วย

สอบสวนหาปัจจัยเสี่ยงคือ ความชุกชุมยุงลาย
ป้องกันและควบคุมโรคเช่นเดียวกับโรคไข้เลือดออก
การเก็บตัวอย่างและการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ

การตรวจเพื่อยืนยันการติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา
มีหลายวิธีดังนี้

การแยกเชื้อไวรัสจากซีรั่ม

การตรวจทางน้ำเหลืองมีการตรวจหลายวิธีเช่น ELISA, Haemagglutination–inhibition test

การแยกเชื้อไวรัส

เก็บตัวอย่างโลหิตโดยเจาะจากเส้นโลหิตดำที่แขนประมาณ 5 มิลลิลิตร ใส่ในหลอดที่ปราศจากเชื้อ ทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องประมาณ 15 – 30 นาที แช่น้ำแข็งหรือเก็บไว้ในตู้เย็นธรรมดา (ห้ามแช่แข็ง) นำส่งห้องปฏิบัติการภายใน 24 ชั่วโมง หรือในกรณีที่มีตู้แช่แข็ง -70 0C หรือ liquid nitrogen หรือ dry ice สามารถแยก serum จาก blood clot เก็บไว้เพื่อนำส่งห้องปฏิบัติการภายหลัง โดยนำส่งในน้ำแข็งแห้ง หรือใน liquid nitrogen ภายใน 2 – 3 วัน

การตรวจทางน้ำเหลือง

น้ำเหลืองประมาณ 1 – 2 มิลลิลิตร เก็บ 2 ครั้ง ห่างกัน 7-14 วัน ครั้งที่ 1 ในวันที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษา ครั้งที่ 2 ห่างจากครั้งที่ 1 ประมาณ 7-14 วัน

การเก็บตัวอย่าง
เจาะเลือดจากหลอดเลือดดำโดยวิธีการปลอดเชื้อ ประมาณ 3-5 มิลลิลิตร ใส่หลอดแก้วที่ปลอดเชื้อ ปั่นแยกเฉพาะน้ำเหลืองใส่ในหลอดที่ปลอดเชื้อ ปิดจุกและพันด้วยพาราฟิล์มหรือเทปให้แน่น ปิดฉลากเขียนชื่อนามสกุลผู้ป่วย วันที่เจาะเก็บเลือด และการตรวจทางน้ำเหลืองวิทยาที่ต้องการ จากนั้นเก็บน้ำเหลืองดังกล่าวไว้ที่ 4 องศาเซลเซียส หรือในช่องแช่แข็งของตู้เย็นรอจนได้ตัวอย่างที่ 2 แล้วจึงส่งพร้อมกัน

Cr สำนักระบาด กระทรวงสาธารณสุข
รพ.จุฬาลงการณ์


*************************************




นำมาฝาก จากเวบไทยคลินิก มีปรับเปลี่ยนนิดหน่อย ให้อ่านง่ายขึ้น ...

https://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action=display;num=1242365843;start=0




โรคชิคุนกุนยา ( chikungunya )

เป็นโรคติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา ที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค มีอาการคล้ายไข้เดงกี (ไข้เลือดออก) แต่ต่างกันที่ไม่มีการรั่วของพลาสมาออกนอกเส้นเลือด จึงไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากจนถึงมีการช็อก



สาเหตุ

เกิดจากเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา (Chikungunya virus) ซึ่งเป็น RNA Virus จัดอยู่ใน genus alphavirus และ family Togaviridae

มียุงลาย Aedes aegypti, Ae. albopictus เป็นพาหะนำโรค



วิธีการติดต่อ

ติดต่อกันได้โดยมียุงลาย Aedes aegypti เป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ เมื่อยุงลายเพศเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่อยู่ในระยะไข้สูง ซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือด เชื้อไวรัสจะเข้าสู่กระเพาะยุง และเพิ่มจำนวนมากขึ้น แล้วเดินทางเข้าสู่ต่อมน้ำลาย เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาไปกัดคนอื่นก็จะปล่อยเชื้อไปยังคนที่ถูกกัด ทำให้คนนั้นเกิดอาการของโรคได้

ระยะฟักตัว

โดยทั่วไปประมาณ 1-12 วัน แต่ที่พบบ่อยประมาณ 2-3 วัน

ระยะติดต่อ

ระยะไข้สูงประมาณวันที่ 2 – 4 เป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือดมาก



อาการและอาการแสดง

ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงอย่างฉับพลัน มีผื่นแดงขึ้นตามร่างกายและอาจมีอาการคันร่วมด้วย

พบตาแดง (conjunctival injection) แต่ไม่ค่อยพบจุดเลือดออกในตาขาว

ส่วนใหญ่แล้วในเด็กจะมีอาการไม่รุนแรงเท่าในผู้ใหญ่

ในผู้ใหญ่อาการที่เด่นชัดคืออาการปวดข้อ ซึ่งอาจพบข้ออักเสบได้ ส่วนใหญ่จะเป็นที่ข้อเล็กๆ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า อาการปวดข้อจะพบได้หลายๆ ข้อเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆ (migratory polyarthritis) อาการจะรุนแรงมากจนบางครั้งขยับข้อไม่ได้ อาการจะหายภายใน 1-12 สัปดาห์ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดข้อเกิดขึ้นได้อีกภายใน 2-3 สัปดาห์ต่อมา และบางรายอาการปวดข้อจะอยู่ได้นานเป็นเดือนหรือเป็นปี

ไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงถึงช็อก ซึ่งแตกต่างจากโรคไข้เลือดออก

อาจพบ tourniquet test (ใช้สายยางรัดแขน) ให้ผลบวก และจุดเลือดออก (petichiae) บริเวณผิวหนังได้



ความแตกต่างระหว่าง ไข้เลือดออก กับ โรคชิคุนกุนยา

1. ในโรคชิคุนกุนยา มีไข้สูงเกิดขึ้นอย่างฉับพลันกว่าใน ไข้เลือดออก คนไข้จึงมาโรงพยาบาลเร็วกว่า

2. ระยะของไข้สั้นกว่าในเลือดออก ผู้ป่วยที่มีระยะไข้สั้นเพียง 2 วัน พบใน โรคชิคุนกุนยา ได้บ่อยกว่าใน ไข้เลือดออก โดยส่วนใหญ่ไข้ลงใน 4 วัน

3. ถึงแม้จะพบจุดเลือดได้ที่ผิวหนัง และการทดสอบทูนิเกต์ให้ผลบวกได้ แต่ส่วนใหญ่จะพบจำนวนทั้งที่เกิดเองและจากทดสอบน้อยกว่าใน ไข้เลือดออก

4. ไม่พบ ผื่นที่มีลักษณะวงขาวๆใน โรคชิคุนกุนยา

5. พบผื่นได้แบบนูน โรคชิคุนกุนยาได้บ่อยกว่าในไข้เลือดดอก

6. พบ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ใน โรคชิคุนกุนยา ได้บ่อยกว่าในไข้เลือดออก

7. ใน โรคชิคุนกุนยา เนื่องจากไข้สูงฉับพลัน พบการชักร่วมกับไข้สูงได้ถึง 15% ซึ่งสูงกว่าในไข้เลือดออก ถึง 3 เท่า



ระบาดวิทยาของโรค

การติดเชื้อ ไวรัสชิคุนกุนยา เดิมมีรกรากอยู่ในทวีปอาฟริกา ในประเทศไทยมีการตรวจพบครั้งแรกพร้อมกับที่มีไข้เลือดออกระบาด และเป็นครั้งแรกในทวีปเอเชีย เมื่อ พศ. 2501 โดย Prof.W McD Hamnon แยกเชื้อชิคุนกุนยา ได้จากผู้ป่วยโรงพยาบาลเด็ก กรุงเทพมหานคร

ในทวีปเอเซีย การแพร่เชื้อต่างจากในอาฟริกา การเกิดโรคเป็น urban cycle จากคนไปคน โดยมี Ae. aegypti เป็นพาหะที่สำคัญ

ระบาดวิทยาของโรคมีรูปแบบคล้ายคลึงกับโรคติดเชื้อที่นำโดย Ae. aegypti อื่นๆ ซึ่งอุบัติการของโรคเป็นไปตามการแพร่กระจายและความชุกชุมของยุงลาย

หลังจากที่ตรวจพบครั้งแรกในประเทศไทย ก็มีรายงานจากประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชีย ได้แก่ เขมร เวียตนาม พม่า ศรีลังกา อินเดีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์

โรคนี้จะพบมากในฤดูฝน เมื่อประชากรยุงเพิ่มขึ้นและมีการติดเชื้อในยุงลายมากขึ้น

พบโรคนี้ได้ในทุกกลุ่มอายุ ซึ่งต่างจากไข้เลือดออกและหัดเยอรมันที่ส่วนมากพบในผู้อายุน้อยกว่า 15 ปี


ในประเทศไทยพบมีการระบาดของโรคชิคุนกุนยา 6 ครั้ง

พ.ศ. 2531 ที่จังหวัดสุรินทร์

พ.ศ. 2534 ที่จังหวัดขอนแก่นและปราจีนบุรี

พ.ศ. 2536 มีการระบาด 3 ครั้งที่จังหวัดเลย นครศรีธรรมราช และหนองคาย



การรักษา

ไม่มีการรักษาที่จำเพาะเจาะจง (specific treatment)

การรักษาเป็นการรักษาแบบประคับประคอง (supportive treatment) เช่นให้ยาลดอาการไข้ ปวดข้อ และการพักผ่อน



ส่งโดย: @ lovely sohee @ female





แถม ...


ความรู้ข้อแนะนำ เกี่ยวกับ เรื่อง โรคไข้ปวดข้อยุงลาย (Chikungunya , ชิคุนกุนยา ) และ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009


ศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ ภาวะฉุกเฉินทาง การแพทย์ และ สาธารณสุข

กระทรวงสาธารณสุข

https://www.moph.go.th/flu/


https://beid.ddc.moph.go.th/th/index.php?option=com_content&task=view&id=2110271&Itemid=242


https://www.thaivbd.org/cms/index.php?option=com_content&task=view&id=142&Itemid=0





โรคชิคุนกุนยา (Chikungunya)

https://www.bangkokhealth.com/index.php/2009-01-19-02-52-08/198--chikungunya

ไข้ปวดข้อยุงลาย

https://www.bangkokhealth.com/index.php/2009-01-19-03-13-27/2078-2009-03-09-10-19-44

ไข้เลือดออก ... ( นำมาฝาก ไม่ได้เขียนเอง )   

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=30-10-2015&group=4&gblog=116




******************************************

 

Chikun รึเปล่า Chikungunya ไม่น่ารักรึเปล่า
Chikungunya ไม่ใช่แค่ไข้ ปวดข้อ ผื่นขึ้น ธรรมดาๆหรือเปล่า😱😱😱

นาทีนี้ ณ จันทบุรี คงไม่มีใครไม่รู้จักเจ้า Chikungunya สินะ
ชาวบ้านแทบจะวินิจฉัยให้ตั้งแต่เดินเข้ามาตรวจ >> มีไข้ ปวดข้อ(มาก) อะหมอ น่าจะเป็นชิคุนกุนย่านะ คนแถวบ้านเป็นกันเกือบทุกบ้านแล้วจ้า!!!

ถึงตอนนี้ยอดที่รายงาน confirmed cases เกือบ 1300 รายเข้าไปแล้ว นับเป็น outbreak ที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์จันทบุรี ซึ่ง….......... ไม่ใช่ยอดจริงจ้ะ เคสตามคลินิกและ รพ.รัฐ ที่ไม่ได้ตรวจ confirm อีกเพียบ🙄

พอเคสเยอะ ก็ย่อมต้องเจอเคสรุนแรงบ้างแหละเนอะ

ก่อนหน้านี้เคยคิดว่า ชิคุน ระบาดก็ไม่ได้น่ากลัวเท่าไร supportive & symptomatic treatment กันไป ไข้เลือดออกน่ากลัวว่าเยอะ แต่…. พอได้ฟังประสบการณ์ (อาจารย์ critical care เพิ่งมารีวิวเคสให้ฟังไปวันก่อน) เจอ severe case ขึ้นมาเนี่ย บอกได้เลยว่า อืม เจอไข้เลือดออกก็ดีนะ เพราะไข้เลือดออกหนะ เพื่อนเก่า รู้จักกันดี สนิทกันมาก่อน ชิกุนเพื่อนใหม่นี้ยังไม่ค่อยสนิทเท่าไร เดาใจยังไม่ค่อยถูก

โพสต์นี้เลยตั้งใจจะมาถอดบทเรียนและแชร์องค์ความรู้ที่เราได้จากการดูคนไข้จริง

หากใครมีเคสหรือประสบการณ์ดูแลคนไข้ที่มี atypical presentation or symptoms หรือที่มีอาการรุนแรง มาแชร์กันได้จ้า จะได้เรียนรู้ร่วมกันไป

อันดับแรก เรามาทบทวนอาการทั่วๆไปกันก่อน
1️⃣ Triad of symptoms (typical presentation) :
A.ไข้สูงเฉียบพลัน (39-40 องศาเซลเซียส) ซึ่งคนไข้มักมาหาเราตั้งแต่ 1-2 วันแรกของอาการไข้ เนื่องจาก
B.ปวดข้อมาก โดยอาการปวดข้ออาจมีข้อบวมหรือไม่ก็ได้ มักเป็นตำแหน่ง peripheral joints บางคนปวดข้อนิ้วจนกำมือไม่สุด บางรายปวดข้อเท้า ปวดเอ็นข้อเท้าจนเดินกระเผลก เปเปอร์ส่วนใหญ่บอกอาการมัก symmetrical polyarthralgia or polyarthritis แต่....บ้านเรา asymmetry ก็เจอนะ แอดเคยเจอคนไข้มาวันแรก ไข้ ปวดบวมข้อเข่าข้างเดียว แต่วันถัดมาก็คือมีอาการปวดข้ออื่นๆตามมาด้วย ร่วมกับ
C. ผื่น ซึ่งมักมาพร้อมกับไข้หรืออาจพบในวันหลังๆได้ โดยลักษณะส่วนใหญ่จะเป็น erythematous MP or morbilliform rash อาจพบมีอาการคันร่วมด้วย ตำแหน่งก็พบได้ทั้ง แขน ขา ใบหน้าและลำตัว โดยไม่มี pattern การกระจายของผื่นที่แน่นอน

2️⃣ อาการไข้มักเป็น 3-5 วัน หลังจากนั้น peak ไข้จะหักลงอย่างรวดเร็ว ผื่นเป็นอยู่ 3-4 วันก็จะยุบไปเองโดยไม่ทิ้งรอย ส่วนอาการปวดข้อนั้น…. เป็นได้นานเลยแหละ มีรายงานปวดข้อเป็นๆหายๆได้ถึง 3 ปี (สงสารคนไข้เนอะ) แต่ส่วนใหญ่ก็มักจะดีขึ้นหลังจาก 1 สัปดาห์ของการติดเชื้อ

3️⃣ AFI with myalgia, arthralgia เราคงต้องแยกกับไข้เลือดออกด้วย โดยข้อสังเกตที่เราใช้แยก (คร่าวๆ) ได้แก่ อาการปวด ในไข้เลือดออก คนไข้มักปวดกล้ามเนื้อและปวดกระดูก ปวดหัว ปวดกระบอกตา ส่วนไข้ชิคุนนี่ปวดข้อเด่นๆ บางคนมีปวดกล้ามเนื้อได้ ปวดหัวไม่เด่น แต่ถ้าพบมีอาการตาแดงร่วมด้วยน่าจะคิดถึงชิคุนกุนย่ามากกว่า เนื่องจากพบมี conjunctivitis, uveitis, epislceritis ได้ ซึ่งเป็นอาการที่ไม่พบในไข้เลือดออก รวมถึงอาการ loss appetite ในไข้เลือดออกจะมีมากกว่าคนไข้ชิคุนกุนย่าที่ส่วนใหญ่จะยังทานอาหารได้

ก็เป็นอาการทั่วไปที่เราคุ้นเคยกันดี แต่อย่าลืมว่า มันมี atypical presentation ได้ด้วย
⭐️⭐️⭐️
ซึ่งเท่าที่มีการรวบรวมรายงาน atypical manifestations
1. cardiovascular symptoms (พบบ่อยสุด) : myocarditis, cardiac arrhythmia, heart failure, DCM, cardiovascular collapse
2. Neurological symptoms : encephalopathy, encephalitis, myelopathy, GBS, ADEM, etc
3. Skin : Bullous dermatosis, hemorrhagic lesion, oral and genital ulcer
4. GI : abdominal pain, pharyngitis, vomiting, diarrhea, hepatomegaly, hepatitis
5. Renal : nephritis, albuminuria, AKI
6. Hemato : bleeding or thrombosis (rare)

⭐️⭐️⭐️ Severe Chikungunya ที่พบส่วนใหญ่เป็น cardiac failure พบมี multiple organ failure, sepsis, septic shock จนกระทั่งเสียชีวิตได้

ข้อมูลจาก CDC ให้ระวังกลุ่มเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรง ในกลุ่ม neonate, elderly > 60 yr หรือมี UD DM, HT, CVD , chronic alcohol

เอาเข้าจริง severe case 3 รายที่เราเจอ --> 2 ราย อายุน้อย และไม่มีโรคประจำตัว !!!
ความ severe ที่เจอนั้น มีทั้ง cardiovascular collapse ซึ่งในสองเคส เราพบว่ามี hemoconcentration (rising Hct) ร่วมกับ hypoalbuminemia ซึ่งเข้าได้กับภาวะ Capillary leak syndrome!!! หาก resuscitate ด้วย aggressive iv fluid ที่เพียงพอ ก็ช่วย maintain BP ได้ แต่สุดท้าย คนไข้ทั้งสามรายก็มี rapidly decline ของ cardiac function เกิดมี myocarditis / cardiomyopathy ตามมาอย่างกู่ไม่กลับ
ที่น่าสนใจคือ เคสที่รุนแรงของเรานี้ มี atypical manifestation ให้เห็นคือมี Bullous dermatosis เกิดขึ้น

***** Chikungunya ก็ยังเป็น ไข้ ปวดข้อ ยุงลาย เหมือนเดิม เพิ่มเติมคืออย่าลืมมองหา atypical manifestation ที่อาจบ่งชี้ถึงความรุนแรงของเคส อาจต้อง close monitor มีการติดตามคนไข้อย่างใกล้ชิด
ที่สำคัญคือ มี co-infection กับ Dengue หรือ Zika ได้ด้วยนะจ๊ะ

อาการปวดข้อควบคุมได้ดีด้วย NSAIDs ก็จริง แต่ควรระวังการใช้ เนื่องจากทำให้บวม ทำให้ bleed และไตวายได้ ยิ่งหากยังไม่แน่ใจว่าคนไข้เป็นไข้เลือดออกหรือไม่ อาจเลี่ยงไปใช้ยาแก้ปวดกลุ่ม opioid เช่น tramadol ก็พบว่าลดอาการปวดได้ดี

สำหรับ timing ในการส่ง investigation เพื่อการวินิจฉัย ฝากไว้ในภาพด้านล่างจ้า




 

Create Date : 17 พฤษภาคม 2552   
Last Update : 24 กรกฎาคม 2563 14:59:34 น.   
Counter : 6845 Pageviews.  

อย. ประกาศคุมผลิตภัณฑ์จาก..... " สเต็มเซลล์ " ..... เป็นยาผลิตต้องขออนุญาต

//breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=375658&lang=T&cat=


อย. ประกาศคุมผลิตภัณฑ์จากสเต็มเซลล์เป็นยาผลิตต้องขออนุญาต

14:49 น.

นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ปัจจุบันได้มีการนำสเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิดและผลิตภัณฑ์จากเซลล์ต้นกำเนิด มาใช้เพื่อการบำบัด บรรเทา หรือรักษาโรค หรือความเจ็บป่วยของมนุษย์อย่างมากมาย แต่ส่วนใหญ่ยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาวิจัย ประกอบกับผู้ประกอบการ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม และนักวิชาการ ผู้ทำการศึกษาวิจัย ได้มีการดำเนินการที่แตกต่างกัน จนอาจทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยจากการใช้ ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว

สำนักงานคณะกรรมการ-อาหารและยา (อย.) จึงได้ออกประกาศสำนักงาน ฯ เรื่อง การควบคุม กำกับ ดูแลยาที่เป็นผลิตภัณฑ์เซลล์ต้นกำเนิดและผลิตภัณฑ์จากเซลล์ต้นกำเนิด เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยในการใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ซึ่งยังอยู่ในระหว่างการ ศึกษาวิจัย ให้มีคุณภาพมาตรฐานตามหลักวิชาการและจริยธรรม โดยยืนยันว่าสเต็มเซลล์และผลิตภัณฑ์จากสเต็มเซลล์ทุกชนิดที่มุ่งหมายสำหรับ ใช้ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วยของมนุษย์ หรือมุ่งหมายให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้าง หรือการกระทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายของมนุษย์ ให้จัดเป็นยา ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม

ดังนั้น การผลิต/นำเข้าสเต็มเซลล์และผลิตภัณฑ์จากสเต็มเซลล์ที่เป็นยา จะต้องขออนุญาตผลิต/นำเข้ายาแผน-ปัจจุบัน และขึ้นทะเบียนตำรับยา โดยสถานที่ผลิตต้องได้มาตรฐานตามหลักเกณฑ์และวิธีการในการผลิตยาแผนปัจจุบัน

กรณีการใช้สเต็มเซลล์หรือผลิตภัณฑ์จากสเต็มเซลล์ที่อยู่ในระหว่างการศึกษา วิจัย เช่น การรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคอัมพาต เป็นต้น ต้องขออนุญาตจาก อย.เช่นกัน โดยมีหนังสือแสดงว่าผ่านการรับรอง หรือ อนุมัติจากคณะกรรมการพิจารณาการศึกษาวิจัยในคน (Ethical Review Committee for Research in Human Subjects) และคณะกรรมการทางวิชาการ (Scientific Committee) ที่แต่งตั้งโดยกระทรวงสาธารณสุข ประกอบการพิจารณาอนุญาต

ทั้งนี้ จะต้องแสดงรายละเอียด หลักเกณฑ์และวิธีการผลิตที่ดี (GMP) ข้อกำหนดเฉพาะสำหรับผลิตภัณฑ์ และการควบคุมคุณภาพ แนบเพิ่มเติมประกอบการพิจารณาอนุญาต และต้องดำเนินการศึกษาวิจัยให้สอดคล้องตามหลักเกณฑ์การศึกษาวิจัยทางคลินิกที่ดี

เลขาธิการ ฯ กล่าวต่อไปว่า การกำกับดูแลดังกล่าวข้างต้น ไม่ใช้กับกรณีการผลิตในประเทศไทยเพื่อการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดจากไขกระดูก หรือการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต ซึ่งได้รับการยอมรับเป็นมาตรฐานการรักษาและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่ง วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2549 ที่ใช้สำหรับการรักษาโรคเลือด เป็นต้น

ทั้งนี้ ผู้ที่มิได้ขออนุญาตผลิต ขาย นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร รวมทั้งมิได้นำผลิตภัณฑ์มาขึ้นทะเบียนตำรับ หรือมิได้ขออนุญาตโฆษณา ถือเป็นการกระทำฝ่าฝืนพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม มีโทษจำคุก หรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ เลขาธิการ ฯ กล่าวในที่สุด




มาช้า ยังดีกว่า ไม่มา ::)


แถมเพิ่ม ....

จริยธรรมเกี่ยวกับ การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด

//www.tmc.or.th/detail_news.php?news_id=242&id=1&s_head=5



ช่องทางร้องเรียน เกี่ยวกับ เรื่อง ...ยา ....หมอ ....คลินิก .....โรงพยาบาล ...

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-02-2009&group=7&gblog=18




 

Create Date : 18 เมษายน 2552   
Last Update : 8 มิถุนายน 2552 17:32:04 น.   
Counter : 5779 Pageviews.  

อันตรายจากการทำแท้งไม่ปลอดภัย .. โดย ประธานราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย



อันตรายจากการทำแท้งไม่ปลอดภัย

ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ สุวชัย อินทรประเสริฐ
ประธานราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย




การทำแท้งไม่ปลอดภัย เป็นการทำแท้งเนื่องจากเกิดการตั้งครรภ์ไม่ปรารถนา หรือไม่พึงประสงค์ หรือตั้งครรภ์ไม่พร้อม ทำแท้งโดยผู้ที่ไม่มีความรู้ความ สามารถ ทำในสถานที่และเครื่องมือที่ไม่สะอาด ทำให้เกิดความไม่ปลอดภัย เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ถูก กระทำอย่างมาก



สาเหตุของการตั้งครรภ์ไม่พร้อม

(1) ร่วมเพศโดยไม่ได้คุมกำเนิด ทั้ง ๆ ที่ทราบว่าการคุมกำเนิดสามารถป้องกันการตั้งท้องได้ แต่ไม่ได้ใช้ หรือบางครั้งได้ข่าวลือที่ผิดๆ เกี่ยวกับการคุมกำเนิด จึงไม่ได้คุมกำเนิด

(2) ความล้มเหลวจากการคุมกำเนิด เช่น

ลืมทานยา เลยกำหนดไปฉีดยา ฉีดยาแล้วเลือดออกกะปริด กะปรอย จึงไม่ได้ไปฉีดต่อ ถุงยางอนามัยรั่ว เป็นต้น

รวมทั้งรายที่คุมกำเนิดอย่างถูกต้อง แต่ก็ยังไม่สามารถป้องกันได้ 100% เช่น ใส่ห่วงอนามัยแล้วก็ยังมีโอกาสล้มเหลวได้บ้าง

แม้แต่รายที่แพทย์ ทำหมันให้แล้ว ก็ยังมีโอกาสเกิดความล้มเหลวได้ถึงร้อยละ 0.2 หรือ 1 รายในการทำหมัน 500 ราย

(3) ร่วมเพศโดยไม่สมัครใจ เช่น ถูกข่มขืนกระทำชำเรา ถูกล่อลวงไปขายบริการทางเพศ เป็นต้น



เมื่อตั้งท้องโดยไม่ได้วางแผนไว้ ก็จะเกิดการไม่อยากได้ หรือไม่พร้อม ซึ่งเนื่องมาจากปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม หรือยังเป็นวัยรุ่นยังอยู่ในวัยเรียน ยังไม่ได้แต่งงาน พบว่าวัยรุ่นมีการตั้งท้องไม่พร้อมจำนวนมาก ซึ่งมักจะหาทางออกโดยการไปทำแท้ง และมักจะไปทำแท้งโดยผู้ที่ไม่ใช่แพทย์ ไม่มีความรู้ ทำโดยไม่สะอาด ซึ่งเรียกรวมกันว่า "ทำแท้งไม่ปลอดภัย" ซึ่งผิดกฎหมาย

การลักลอบทำแท้งทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอย่างมาก บางรายก็ไปซื้อยามากินเอง ซื้อยามาเหน็บช่องคลอด ยาเหล่านี้จะลักลอบซื้อขายกันใน ตลาดมืด หรือซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีราคาสูงมาก เม็ดละหลายร้อยบาท หรือบางทีหลายพันบาท ทั้งๆ ที่ราคาจริง ๆ ยาเม็ดละไม่ถึง 20 บาท




อันตรายจากการทำแท้งไม่ปลอดภัย

รายที่ไปลักลอบทำแท้งส่วนหนึ่งจะไม่เกิดผลแทรกซ้อน ก็นับว่าโชคดีไป แต่ส่วนใหญ่ผู้ที่ไปลักลอบทำแท้ง มักจะเกิดผลแทรกซ้อนตามมาหลายอย่าง ได้แก่การตกเลือด เสียเลือดมาก อักเสบติดเชื้อ มดลูกเน่า บางรายใช้เครื่องมือทำให้มดลูกทะลุ หลายรายต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล มีการติดเชื้อรุนแรงจนแพทย์ไม่สามารถช่วยได้ ต้องลงท้ายด้วยการถูกตัดมดลูกเพื่อช่วยชีวิต แต่บางรายแพทย์ช่วยไม่ทัน ก็เสียชีวิต

ในแต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตจากการทำแท้งไม่ปลอดภัยหลายสิบราย และยังมีที่ไม่เปิดเผยอีกเป็นจำนวนมาก (อัตราตาย 300-500 รายต่อการทำแท้ง 100,000 ครั้ง)

บางรายแม้จะผ่านเหตุการณ์ตอนต้นไปได้ แต่ก็จะมีการอักเสบเรื้อรังตามมา เช่น ปวดท้องน้อยเรื้อรัง ตกขาวบ่อย ๆ เมื่อพร้อมที่จะมีลูกก็มีไม่ได้ เพราะเป็นหมัน จากท่อนำไข่อักเสบติดเชื้อและอุดตัน บางรายตั้งท้องได้ ก็ยังไม่วายจะเกิดปัญหาที่รกฝังตัว ลึกในเนื้อมดลูก ทำให้มดลูกแตก ขณะที่ยังตั้งท้องไม่ครบกำหนด หรือเพิ่งจะเริ่มเจ็บครรภ์ มดลูกก็แตกเสียก่อน เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต โดยที่แพทย์ไม่สามารถช่วยได้ทัน เพราะเหตุการณ์เช่นนี้จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมาก




การป้องกันการทำแท้งไม่ปลอดภัย

ทางที่ดีที่สุดก็คือ การป้องกันการตั้งท้อง เมื่อตนเองยังไม่พร้อมที่จะมีลูก การหลี่กเลี่ยงการร่วมเพศในวัยรุ่น ที่ยังไม่แต่งงาน เป็นสิ่งที่ควรกระทำ ในกรณีที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ต้องคุมกำเนิด เช่น การใช้ถุงยางอนามัย ซึ่งนอกจากจะช่วยป้องกันการตั้งครรภ์แล้ว ยังช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อาจจะติดโรคร้าย เช่น โรคเอดส์ เป็นต้น หรือผู้หญิงอาจจะใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด กรณีนี้ไม่ได้ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แต่ก็ช่วยป้องกันการตั้งท้องได้ดี

ถ้าร่วมเพศโดยไม่ได้ป้องกัน ก็ยังมีเวลาในช่วง 3 วันหลังร่วมเพศ ถ้าใช้ยาคุมฉุกเฉินอย่างถูกต้อง ก็จะป้องกันการตั้งท้องได้มาก

เมื่อ ตั้งท้องไปแล้ว ก็ต้องหาทางออกที่ดีที่สุด ต้องรีบไปปรึกษาแพทย์ โดยทั่ว ๆ ไปการทำแท้งนั้นผิดกฎหมาย แต่บางกรณีแพทย์ก็สามารถทำแท้งหรือที่เรียกว่ายุติการตั้งครรภ์ให้ได้ โดยถูกต้องตามข้อบังคับของแพทยสภา เช่น แม่มีโรคทางร่างกาย มีความผิดปกติทางด้านจิตใจ หรือทารกมีความพิการซึ่งแพทย์ตรวจได้ หรือในกรณีที่ถูกข่มขืนกระทำชำเรา ถูกล่อลวงทางเพศไปขายบริการทางเพศ หรือตั้งครรภ์เมื่ออายุยังไม่ถึง 15 ปี ซึ่งผิดกฎหมายอาญา

ในกรณีนี้แพทย์ก็สามารถช่วยเหลือได้ โดยการทำแท้งอย่างปลอดภัย หรือส่งต่อไปรับบริการในสถานที่ ๆ ปลอดภัย ซึ่งแทบจะไม่มีอันตราย ถ้าทำในอายุครรภ์ที่เหมาะสม ใช้เทคนิคที่ถูกต้อง (อัตราตายต่ำมาก) แม้รายที่ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากผิดกฎหมาย ก็อาจจะให้คำปรึกษาหรือให้การช่วยเหลือโดยรับฝากครรภ์ต่อ ติดต่อบ้านพักฉุกเฉินให้อยู่จนคลอดแล้วค่อยกลับไปเรียนหรือประกอบอาชีพใหม่ได้



สรุป ....

จะเห็นได้ว่าการทำแท้งไม่ปลอดภัย เป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างมาก ควรหาทางป้องกันการตั้งท้องไม่พร้อม โดยการไม่ร่วมเพศถ้ายังไม่ได้แต่งงาน หรือต้องใช้การคุมกำเนิดอย่างจริงจังถูกต้อง ก็จะปลอดภัยจากปัญหาที่กล่าวมาได้




โครงการ FACT SHEET แพทยสภา:: เผยแพร่โดย สำนักงานเลขาธิการแพทยสภา

กรณีพบสถานพยาบาล หรือ คลินิกที่มีทำแท้ง ถือเป็นการผิดกฎหมาย กรุณาแจ้งได้ที่

1. ผู้อำนวยการ กองการประกอบโรคศิลปะ(นพ.ธารา ชินะกาญจน์)
โทร .02 5918844

2. รับเรื่องร้องเรียนโดย ฝ่ายจริยธรรม แพทยสภา
โทร. 02-590-1881,02-590-1888 กด 2
แฟกซ์ 02 591 8614-5
Email : tmc@tmc.or.th

3. เลขาธิการแพทยสภา (นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์)
Email : Skomrit@gmail.com

4. รองเลขาธิการแพทยสภา (นอ.(พ.)นพ.อิทธพร คณะเจริญ )
Email : ittaporn@gmail.com

เพื่อดำเนินการต่อไป




ปล.

แถมเรื่องนี้ ด้วยเลยนะครับ ..


ทำแท้ง ปัญหาที่ยังไร้ ทางออก ....

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=18-01-2009&group=4&gblog=67





 

Create Date : 24 กุมภาพันธ์ 2552   
Last Update : 24 กุมภาพันธ์ 2552 13:12:45 น.   
Counter : 2983 Pageviews.  

โรคติดเชื้อในกระแสเลือด




ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด อันตรายถึงชีวิต
6 สัญญาณเตือนอาจเกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด หากมีอาการเหล่านี้สามารถบ่งบอกถึงภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด
1. สับสน
2. มีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว
3. หายใจเหนื่อย
4. ปัสสาวะออกน้อย
5. กระสับกระส่าย
6. ตัวซีดเย็น

สาธารณสุข จังหวัดกำแพงเพชร
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1369572533544732&id=100014759945596






แพทย์เตือนติดเชื้อในกระแสเลือด อันตรายถึงชีวิต

กรมการแพทย์ โดยโรงพยาบาลราชวิถี เตือนผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือดมีความเสี่ยงที่จะมีภาวะความดันโลหิตต่ำอย่างรุนแรง นำไปสู่ภาวะอวัยวะล้มเหลวและอาจทำให้เสียชีวิตได้

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ปัจจุบันคนไทยติดเชื้อในกระแสเลือดมากกว่า 50,000 คนต่อปี โดยทั่วไปอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อไวรัส การผ่าตัด ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยเด็ก ทารกแรกเกิด หรือการใส่อุปกรณ์ต่างๆเข้าสู่ร่างกาย มีโอกาสติดเชื้อในกระแสเลือดสูง ทั้งนี้เมื่อเกิดการติดเชื้อสามารถกระจายไปทั่วร่างกายได้อย่างรวดเร็ว ทำให้อุณหภูมิในร่างกายไม่สม่ำเสมอ ระบบการเดินหายใจแย่ลง และผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำอย่างรุนแรงจากการติดเชื้อในกระแสเลือดดังกล่าว มักนำไปสู่ภาวะการทำงานของอวัยวะต่างๆ ล้มเหลว หมดสติ และอาจทำให้เสียชีวิตได้

นายแพทย์สมเกียรติ ลลิตวงศา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี กล่าวเพิ่มเติมว่า ภาวะความดันโลหิตต่ำจากการติดเชื้อในกระแสเลือด มักมีไข้สูง หนาว มือและเท้าเย็น หายใจเร็วขึ้น รู้สึกตัวน้อยลง คลื่นไส้ อาเจียน ผิวหนังอาจเกิดจุด ปัสสาวะน้อยลง เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะไม่เพียงพอ นำไปสู่ภาวะช็อก ผู้ป่วยบางรายหากยังมีความดันโลหิตต่ำ แพทย์อาจให้ยาช่วยเพิ่มความดันโลหิต และจำเป็นต้องได้รับการรักษาเพื่อกระตุ้นให้หายใจได้ปกติ อย่างไรก็ตามภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดจากเชื้อโรคบางชนิดสามารถป้องกันได้โดย การฉีดวัคซีนในเด็กให้ครบอย่างสม่ำเสมอ ส่วนผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันร่างกายบกพร่องควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ควรงดสูบบุหรี่ ห้ามใช้สารเสพติด รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ ล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ และควรระวังป้องกันตนเองเมื่อต้องอยู่ใกล้ผู้ป่วยที่เป็นโรคต่างๆ ทั้งนี้หากพบอาการผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษาทันที
*****************************************************
#โรงพยาบาลราชวิถี #กรมการแพทย์ #ติดเชื้อในกระแสเลือด

- ขอขอบคุณ -
6 กรกฎาคม 2563
ที่มา FB @ กรมการแพทย์
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1823231547819605&id=643148052494633

**************************************

นำมาฝาก จากเวบ ไทยคลินิก คุณหมอคิกคุ เขียนไว้ครบถ้วน ดีมาก ๆ เลยขอแฮบ มาไว้เลย ...

https://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=medicine;action=display;num=1233247287



คำว่า ติดเชื้อในกระแสเลือด นั้น ในภาษาไทยฟังดูธรรมดามาก เพราะว่าคนเราไม่ว่าจะป่วยเป็นหวัด ไอ เจ็บคอ หรือแม้แต่แค่ แปรงฟัน ก็สามารถตรวจพบเชื้อโรคอยู่ในกระแสเลือดได้ หลายคนเป็นไข้ไปเจาะเลือด พอผลเลือดออกมาแพทย์ก็บอกว่ามีการติดเชื้อ

ฟัง ๆ ดูแล้วจึงทำให้คำนี้ ดูเหมือนไม่มีอะไร แต่นั่นเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เนื่องจากถ้าหากดูจากที่มาของคำ ๆ นี้ จะพบว่าเป็นการแปลงมาจากภาษาอังกฤษ ในทางการแพทย์ การติดเชื้อมีแบ่งระดับความรุนแรง คร่าวๆดังนี้ครับ

1. Infection หมายถึง การติดเชื้อที่ตำแหน่งบางตำแหน่งของร่างกาย จะมีไข้หรือไม่ก็ได้

2. Bacteremia หมายถึง การตรวจพบเชื้อที่ยังมีชีวิตในร่างกาย จะเกิดจากการที่เชื้อพลัดเข้าไปในร่างกายเฉยๆ โดยยังไม่ติดเชื้อก็ได้

3. SIRS หมายถึง การตรวจพบลักษณะการอักเสบขึ้นภายในร่างกายจากเหตุต่างๆ อาจจะเกิดจากติดเชื้อหรือไม่ติดเชื้อก็ได้

4. Sepsis หมายถึง การตรวจพบลักษณะการอักเสบขึ้นภายในร่างกายที่เกิดจากการติดเชื้อ (หรือ SIRS + ตรวจพบการติดเชื้อ)

5. Septic shock หมายถึง ผู้ที่มีภาวะอักเสบจากการติดเชื้อ แถมพกด้วยความดันเลือดต่ำ (Sepsis + ความดันต่ำ)

6. MODS หมายถึง หมายถึงผู้ที่เป็น Septic shock แล้วเกิดภาวะล้มเหลวของอวัยวะต่างๆ เช่นไตวาย ตับวาย น้ำท่วมปอด หัวใจไม่ค่อยบีบตัว

หาก นับกันจริงๆ การจะบอกว่าติดเชื้อในกระแสเลือด น่าจะหมายถึง 3 ข้อหลัง แต่ในทางปฏิบัติก็ยังสามารถพบว่าบางคนรวมเอาข้อ1-3เข้ามาด้วยทั้งที่ไม่น่าจะรวมเข้ามา



*อะไรที่ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นติดเชื้อในกระแสเลือด*

เรา ได้รู้กันแล้วว่า "ติดเชื้อในกระแสเลือด" จริง ๆ แล้วเป็นเรื่องที่น่ากลัวมาก

ทีนี้มาดูกันครับว่าปัจจัยอะไรที่ทำให้เกิดความ "เสี่ยง"ต่อการเกิดติดเชื้อในกระแสเลือดกันบ้าง

- "ตัวเชื้อ"

เชื้อโรคที่จะก่อการติดเชื้อในกระแสเลือดได้ส่วนใหญ่ก็คือเชื้อที่เรียกว่า แบคทีเรีย (แม้ว่าเชื้อราหรือพยาธิจะก่อเรื่องได้ แต่ก็น้อยมาก) ซึ่งเชื้อแบคทีเรียที่จะทำอย่างนี้ได้ มักจะเป็นเชื้อในกลุ่ม"แกรมลบ" เนื่องจากเชื้อเหล่านี้มีสารที่สามารถกระตุ้นให้เกิดกระบวนการอักเสบได้มาก

- ชนิดเชื้อ ถ้าเชื้อเป็นชนิดแกรมลบ ก็มีโอกาสเกิดได้มากกว่าเชื้อชนิดบวก

- จำนวนเชื้อ ถ้ามีมาก หรือมีจนเกิดหนองโอกาสที่จะเกิดติดเชื้อในกระแสเลือดก็เพิ่มขึ้น

- การดื้อยา ถ้าเชื้อดื้อยาก็ทำให้ยาที่ให้ไม่ได้ผล โอกาสก็เพิ่มขึ้นไปอีก


- "ปัจจัยทางร่างกายของผู้ป่วย"

โดยรวมคือ ถ้าร่างกายไม่แข็งแรง เชื้อก็ก่อเรื่องได้มากขึ้น

- ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น เบาหวาน ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ที่กินยาที่มีสเตียรอยด์(ไม่ว่าจะเพื่อการรักษา หรือที่ผสมในยาโบราณยาชุด) ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ ผู้ที่ดื่มสุราบ่อย

- ผู้สูงอายุ เมื่ออายุมากระบบภูมิคุ้มกันก็เริ่มจะเสื่อมถอยลง ในที่นี้ไม่จำเป็นต้องสูงอายุจนผมขาวโพลนครับ แค่อายุสัก 40 กว่า ๆ ถึง 50 ปี ก็เริ่มจะไม่ค่อยดีแล้ว

- มีโรคประจำตัวที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อบ่อยๆ เช่น ผู้ที่ใส่สายบางอย่างไว้ในตัวเช่นท่อปัสสาวะก็เสี่ยงที่เชื้อจะไปเกาะตามสาย แล้วหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันของร่างกาย หรือ ผู้ป่วยที่ต้องนอนนานๆ ก็เสี่ยงต่อการเกิดแผลติดเชื้อกดทับ และการสำลักอาหารติดเชื้อในปอด


"เวลา"

ถ้าหากปล่อยให้เชื้อโรคอยู่ในร่างกายยิ่งนานเท่าไร ก็ยิ่งเสี่ยงต่อการเกิดติดเชื้อในกระแสเลือดมากขึ้นครับ

ดังนั้นในแง่การดูแลรักษา แพทย์จึงมักทำการรักษาการติดเชื้อต่างๆโดยหวังจะให้เกิดการหายให้เร็วที่สุด ถ้าหากผู้ป่วยมีส่วนที่เป็นแหล่งก่อเชื้อเป็นฝีเป็นหนอง แพทย์ก็มักจัดการเจาะระบายหนองออก ไม่รอให้กินยาจนหายเอง(นอกจากจะมีเหตุผลอื่นๆเช่นกลัวแผลเป็น)

ส่วนมากแล้วปัญหาเงื่อนไขเวลามักจะไม่ได้เกิดเวลามานอนในโรงพยาบาลเท่าไหร่ครับ เพราะว่าถ้าอยู่ในโรงพยาบาล แพทย์ก็สามารถติดตามและทำการปรับเปลี่ยนยาตามลักษณะอาการและการตอบสนองต่อยา ได้

ปัญหาเรื่องเวลาจึงมักจะเกิดกับผู้ที่ไม่ได้นอนโรงพยาบาลมากกว่า ... เช่นผู้ที่รับยากลับบ้านแล้วไม่ได้มาตรวจซ้ำ หรือผู้ที่ปล่อยให้มีอาการป่วยโดยที่ไม่ได้มารพ.




*การป้องกันและรักษา*

การป้องกันก็คือ จัดการป้องกันคนที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อไม่ให้เขาติดเชื้อ หากใครก็ตามมีการติดเชื้อก็ต้องรักษาให้การติดเชื้อนั้นหายให้เร็วที่สุด หากป้องกันไม่ได้ การติดเชื้อนั้นลุกลามกลายเป็นการติดเชื้อในกระแสเลือด หลักการรักษาการติดเชื้อในกระแสเลือดนั้นก็ง่ายมากครับ หาเชื้อให้เจอ แล้วถล่มเชื้อด้วยยา แล้วก็รอเวลา .....



ที่บอกว่าง่ายนั้นคือ "หลักการ" ครับ เพราะ หลักการพวกนี้แพทย์ที่ยังทำการปฏิบัติงานรักษาคนไข้จริงๆอยู่รู้กันทุก คนอยู่แล้ว

แต่ปัญหาจริง ๆ นอกตำรามันมีอีกเยอะครับ ที่ทำให้มันไม่ง่ายอย่างที่ว่าไว้



ส่งโดย: หมอ คิกคุ



.................................................................

ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ (Sepsis) ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (Septicemia)
แพทย์หญิง สลิล ศิริอุดมภาส
วว. พยาธิวิทยากายวิภาค

"""""""""""""""""
บทนำ

ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ หรือ Sepsis คือ ภาวะที่ร่างกายของเรามีปฏิกิริยาตอบ สนองต่อการติดเชื้อ หรือต่อพิษของเชื้อโรค โดยทำให้เกิดการอักเสบขึ้นทั่วทั้งร่าง กาย ซึ่งการติดเชื้อนี้ อาจเกิดขึ้นที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งของร่างกาย หรือเป็นการติดเชื้อทั่วร่างกายก็ได้

ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (โลหิต) หรือ Septicemia คือ การที่ตรวจพบว่ามีเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด และทำให้เกิดภาวะ Sepsis ขึ้นมา ดังนั้นทั้งสองภาวะจึงเป็นภาวะเกี่ยวข้องต่อเนื่องกัน และมักใช้ในความหมายเดียวกัน

คำว่า Sepsis มาจากภาษากรีกโบราณ แปลว่า เน่าเปื่อย พุพัง โดย Sir William Osler แพทย์ชาวแคนาดา เป็นคนแรกที่ค้นพบว่า บางครั้งสาเหตุการเสีย ชีวิตของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ ไม่ได้เป็นผลมาจากเชื้อโรคโดยตรง แต่มาจากปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายที่มีต่อเชื้อโรคนั่นเอง ในปี พ.ศ. 2457 Schottmueller แพทย์ชาวเยอรมันได้ให้นิยามคำว่า Septicemia คือการที่เชื้อโรคลุกลามเข้าสู่กระ แสเลือด และทำให้เกิดอาการต่างๆ หลังจากนั้น ได้มีการเปลี่ยนแปลง และเพิ่มเติมคำศัพท์ และความหมายโดยกลุ่มแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคปอด และด้านการ แพทย์ในภาวะวิกฤติ ชื่อ American College of Chest Physicians และ Society of Critical Care Medicine ให้เป็นดังที่ได้กล่าวไว้ในตอนต้นและที่จะกล่าวต่อไป

ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด พบได้ในคนทุกเชื้อชาติ แต่มักเกิดในผู้สูงอายุ เนื่องจากเป็นวัยที่มีโรคประจำตัวมากกว่าวัยอื่น และพบว่าผู้ชายมีโอกาสเกิดมากกว่าผู้หญิงเล็กน้อย

ปัจจุบัน พบการเกิดภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดมากขึ้น เนื่องจากจำนวนประชากรผู้สูงอายุมีมากขึ้น รวมทั้งผู้ที่มีโรคประจำตัวก็มีอายุยืนยาวขึ้นจากการรักษาโรคประจำตัวเหล่านี้มีประสิทธิภาพดีกว่าสมัยก่อน นอกจากนี้ ในปัจจุบัน การรักษาผู้ป่วยที่รักษาอยู่ในโรงพยาบาลก็ซับซ้อนยุ่งยาก มีการใส่เครื่องมือ และสายสวนต่างๆเข้าร่างกาย และมีการใช้ยาปฏิชีวนะพร่ำเพรื่อ ซึ่งต่างก็เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะติดเชื้อด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ โดยประมาณ 2 ใน 3 ของผู้ที่มีภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด เกิดในผู้ป่วยที่รักษาอยู่ในโรง พยาบาลนั่นเอง
"""""""""""""""""
อะไรเป็นสาเหตุของภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด?

ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดเกิดจากร่างกายติดเชื้อโรค ซึ่งเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุ ส่วนใหญ่จะเกิดจากเชื้อเพียงชนิดเดียว โดย

ประมาณ 40% เป็นแบคทีเรียชนิดแกรมลบ (Gram negative bacteria)
ประมาณ 30% เป็นแบคทีเรียชนิดแกรมบวก (Gram positive bacteria)
ประมาณ 5% เกิดจากแบคทีเรียชนิดก่อภาวะนี้ได้บ่อย (Classic pathogens เช่น H.influenzae, Neisseria meningitidis, Streptococcus pyogenes และ S.pneumoniae)
ประมาณ 6% เกิดจากเชื้อรา
และที่มีสาเหตุเกิดจากเชื้อหลายชนิด พบได้ประมาณ 16%

"""""""""""""""""
อะไรเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด?

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด คือ

การมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคของเม็ดเลือดขาวบางชนิด (เม็ดเลือดขาวมีหลายชนิด) โรคตับแข็ง โรคภูมิคุ้มกันต้านทานของร่างกายบกพร่องชนิดต่างๆ เช่น ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ซึ่งโรคประจำตัวเหล่านี้จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆที่เข้าสู่ร่างกาย รวมถึงผู้ที่ได้รับยากดระบบภูมิคุ้มกันต้านทานอยู่ เช่น ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ หรือยาเคมีบำบัดรักษาโรคมะเร็ง เป็นต้น
การทำหัตถการต่างๆที่ต้องใส่เครื่องมือเข้าไปในร่างกาย ซึ่งจะเป็นการนำเชื้อโรคให้เข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น เช่น การใส่ท่อช่วยหายใจ การใส่สายสวนปัสสาวะ การสอดใส่ท่อเข้าหลอดเลือดเพื่อให้สารน้ำต่างๆ การใส่สาย/ท่อเข้าหลอดเลือดเพื่อการรักษาบางวิธี เช่น การสวนหัวใจ หรือการมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในร่างกาย เช่น มีลิ้นหัวใจเทียม เป็นต้น
การให้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย การที่แพทย์ให้ยาปฏิชีวนะชนิดที่มีประสิทธิภาพครอบคลุมเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด (Broad-spectrum antibiotics) ในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิดนานเกินไป หรือให้ยาปฏิชีวนะหลายๆชนิดพร้อมกัน หรือให้โดยไม่จำเป็น จะทำให้ร่างกายเสี่ยงต่อการติดเชื้อรา และเกิดภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดได้ง่ายขึ้น เนื่องจากยาจะฆ่าแบคทีเรียชนิดที่อาศัยเป็นปกติในร่างกายของเรา (แบคทีเรียประจำถิ่น หรือ Normal flora) ไปด้วย ซึ่งปกติแบคทีเรียเหล่านี้จะช่วยกำจัดการเจริญเติบโตของเชื้อราบางชนิดได้
สาเหตุอื่นๆ เช่น ถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ที่เกิดแผลเป็นบริเวณกว้าง เชื้อโรคก็จะเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย และการใช้เข็มฉีดยาร่วมกันในกลุ่มผู้ติดยาเสพติด เป็นต้น

"""""""""""""""""
เชื้อโรคก่อภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างไร?

เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง เชื้อจะทำให้เกิดรอยโรค และก่อให้เกิดอาการจากอวัยวะนั้นๆเกิดการอักเสบติดเชื้อ ในกรณีที่เชื้อมีความรุนแรง หรือระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกายอ่อนแอ เชื้อโรคจะกระจายเข้าสู่กระแสเลือดได้ง่ายขึ้น ในบางครั้งเชื้ออาจไม่ได้กระจายเข้าสู่กระแสเลือด แต่อาจปล่อยพิษเข้าสู่กระแสเลือด หรืออาจไม่ได้ทั้งกระจาย หรือไม่ได้ทั้งปล่อยพิษเข้าสู่กระแสเลือดเลย แต่ส่งสัญญาณให้เกิดเป็นสารเคมีต่างๆเกิดขึ้นในร่างกายของเรา ร่างกายก็จะรับรู้และตอบสนองโดย เม็ดเลือดขาวและเซลล์บุหลอดเลือดต่างๆทั่วร่างกาย จะผลิตสารเคมีต่างๆเพื่อพยายามต่อต้านและกำจัดเชื้อโรค แต่สารเคมีเหล่านี้ก่อให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ และส่งผลให้ร่างกายเกิดกลุ่มอาการต่างๆที่เรียกว่า กลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกาย (Systemic inflammatory response syndrome หรือเรียกย่อว่า SIRS)

"""""""""""""""""
ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดมีอาการอย่างไร?

ผู้ป่วยที่มีภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดนั้น จะมีอาการที่แบ่งออกได้เป็น 3 อย่างคือ

อาการที่เกิดจากร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อการติดเชื้อ ซึ่งเรียกว่า กลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกาย หรือ SIRS ดังกล่าว ซึ่งจะมีอาการและอาการแสดงอย่างน้อย 2 อย่างขึ้นไป ได้แก่
มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส หรือมีอุณหภูมิของร่างกายต่ำกว่า 36 องศาเซลเซียส
หัวใจเต้นเร็วมากกว่า 90 ครั้งต่อนาที
หายใจเร็วมากกว่า 20 ครั้งต่อนาที หรือวัดค่าความดันคาร์บอน ไดออกไซด์ในเลือดได้มากกว่า 32 มิลลิเมตรปรอท
การตรวจเลือด พบมีเม็ดเลือดขาวมากกว่า 12,000 ตัวต่อมิลลิ ลิตร หรือน้อยกว่า 4,000 ตัวต่อมิลลิลิตร อาการที่เกิดจาก SIRS ไม่จำเป็นต้องเกิดจากการติดเชื้อเท่านั้น อาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆก็ได้ เช่น จากการเกิดตับอ่อนอักเสบ จากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือจากมีแผลไฟไหม้ที่รุนแรง แต่ถ้าพิสูจน์ได้ว่าอาการของ SIRS นี้สาเหตุมาจากการติดเชื้อ ก็จะเรียกว่าผู้ป่วยมีภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดนั่นเอง
อาการแสดงที่ผิวหนัง ซึ่งเกิดจากเชื้อโรค หรือพิษของเชื้อโรคกระจายมาตามกระแสเลือด และเข้าสู่ผิวหนัง ทำให้เกิดรอยโรคขึ้นที่ผิวหนังทั่วตัว รอยโรคนี้ บางอย่างมีลักษณะที่ไม่จำเพาะ คือเป็นตุ่มหนองธรรมดา ซึ่งเกิดได้จากเชื้อหลายชนิด แต่มีรอยโรคบางอย่างที่มีลักษณะจำเพาะ สามารถบอกถึงชนิดเชื้อที่เป็นสาเหตุได้ เช่น ผื่นชนิดเรียบเป็นจุด หรือปื้นแดงเล็กๆซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อ Neisseria meningitidis หากเป็นผื่นชนิดตุ่มน้ำ และมีเลือดออก ประกอบกับมีประวัติว่าไปกินหอยนางรมดิบมา ก็มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ Vibrio vulnificus หรือหากผิวหนังทั่วตัวกลายเป็นสีแดง ก็มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อ Staphy lococcus aureus หรือ Streptococcus pyogenes
อาการเฉพาะที่ หรือเฉพาะอวัยวะที่ติดเชื้อ ผู้ป่วยต้องมีอาการที่บ่งว่ากำลังมีการติดเชื้อที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง เช่น
หากมีอาการไอ เจ็บหน้าอกเวลาหายใจ แพทย์ฟังปอดแล้วพบเสียงผิดปกติ ก็แปล ว่าผู้ป่วยมีการติดเชื้อที่ปอด หรือที่เยื่อหุ้มปอด
หากผู้ป่วยปวดหลัง ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะขุ่น อาจเกิดจากมีการติดเชื้อที่กรวยไต
หรือหากมีอาการปวดท้อง ถ่ายเหลว/ท้องเสีย อาจเกิดจากการติดเชื้อในลำไส้ เป็นต้น

ในผู้ป่วยบางราย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีโรคเบาหวาน อาจไม่มีอาการ หรืออาจแสดงอาการไม่ชัดเจน ในกรณีนี้ ต้องอาศัยการตรวจทางห้องปฏิบัติการมาช่วยพิสูจน์การติดเชื้อในอวัยวะที่สงสัย เช่น การตรวจย้อม และ/หรือเพาะเชื้อจากสารคัดหลั่งของอวัยวะนั้นๆ เป็นต้น

"""""""""""""""""
แพทย์วินิจฉัยภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างไร?

แพทย์วินิจฉัยภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดจาก

อาศัยจากอาการ SIRS ร่วมกับการพิสูจน์ว่าผู้ป่วยกำลังมีการติดเชื้อ ซึ่งจะใช้การตรวจร่างกายร่วมกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อหาตำแหน่งที่กำลังมีการติดเชื้ออยู่ ได้แก่
การเอกซเรย์ เช่น เอกซเรย์ปอดเพื่อดูว่ามีการติดเชื้อในปอดหรือไม่
การตรวจอัลตราซาวน์ หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เช่น อัลตราซาวน์ช่องท้องเพื่อดูว่ามีฝีเกิดขึ้นในช่องท้องหรือไม่
การเจาะน้ำจากตำแหน่งต่างๆ เช่น น้ำไขสันหลัง เพื่อดูว่ามีการติดเชื้อในสมอง หรือในเยื่อหุ้มสมองหรือไม่ หรือการเจาะน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอด ในกรณีที่มีน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอด หรือการเจาะน้ำในข้อต่างๆที่มีน้ำและสงสัยว่าจะมีการติดเชื้อ เป็นต้น
การตรวจปัสสาวะ เพื่อดูว่ามีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะหรือไม่

อนึ่งเนื้อเยื่อเกี่ยวพันไปย้อมดูเชื้อโรค หรือนำไปเพาะเชื้อ และ/หรือการนำปัสสาวะไปเพาะเชื้อ เป็นต้น เมื่อหาตำแหน่งที่มีการติดเชื้อได้แล้ว ขั้นต่อไปคือ การระบุชนิดของเชื้อโรคที่ก่อเหตุ เช่น การนำเสมหะไปย้อมดูเชื้อโรค หรือนำไปเพาะเชื้อในกรณีที่เป็นปอดอักเสบ การนำฝีหนองจากบริเวณผิวหนังหรือ
การวินิจฉัยว่าผู้ป่วยมีภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด อาศัยจากอาการของ SIRS ร่วมกับการพิสูจน์ว่า พบเชื้อโรคอยู่ในกระแสเลือด ซึ่งอาจกระทำโดยการนำเลือดมาเพาะหาเชื้อ หรือการตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อในเลือดด้วยเทคนิคที่เรียกว่า พีซีอาร์ (PCR) หรือในกรณีที่มีเชื้อแบคทีเรียปริมาณมากในเลือด การนำเลือดมาป้ายบนสไลด์/Slide (แผ่นแก้วใช้ในการตรวจเลือด และสารคัดหลั่งต่างๆ) และนำไปดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ ก็สามารถตรวจเจอเชื้อแบคทีเรียได้เช่นกัน

"""""""""""""""""
ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดมีผลข้างเคียงจากโรคและความรุนแรงของโรคอย่างไร?

ผู้ป่วยที่มีภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด อาจพัฒนาเข้าสู่ภาวะอาการขั้นรุนแรง (Severe sepsis) ภาวะช็อก (Septic shock) และภาวะอวัยวะภายในต่างๆล้มเหลว (Organ dysfunction)

ภาวะอาการขั้นรุนแรง (Severe sepsis) คือ การที่ผู้ป่วยเกิดภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ร่วมกับมีภาวะอวัยวะภายในต่างๆล้มเหลว หรือมีความดันโลหิตต่ำกว่าปกติ
ภาวะช็อก (Septic shock) คือ การที่ผู้ป่วยที่มีภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดร่วมกับมีความดันโลหิตต่ำกว่าปกติ ที่ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการให้สารน้ำทางหลอดเลือด
ภาวะอวัยวะภายในต่างๆล้มเหลว (Organ dysfunction) อวัยวะที่สำคัญ คือ
ปอด การแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนระหว่างปอดกับเลือดจะน้อยลง เนื่องจากถุงลมในปอดมีน้ำคั่งมากขึ้น ทำให้ปริมาณออกซิเจนในเลือดน้อยลง ขณะมีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้น อวัยวะต่างๆจึงได้รับออกซิเจนน้อยลง ยิ่งส่งผลให้อวัยวะต่างๆรวมทั้งปอดเองล้มเหลวมากขึ้นไปอีก
หัวใจ หัวใจจะบีบตัวได้น้อยลง ความดันโลหิตก็จะยิ่งลดลง ยิ่งทำให้การส่งเลือดไปสู่อวัยวะต่างๆน้อยลงไปอีก
ไต เมื่อไตหยุดทำงาน ผู้ป่วยจะไม่มีปัสสาวะหรือมีปัสสาวะออกเพียงเล็กน้อย น้ำและของเสียในร่างกายก็จะคั่ง เกลือแร่ในร่างกายขาดสมดุล หรือในผู้ป่วยบางคนอาจมีปัสสาวะมากผิด ปกติ ทำให้ร่างกายขาดน้ำ และเกลือแร่ขาดสมดุลได้เช่นกัน
สมอง จะเกิดอาการสับสน วุ่นวาย หรือซึม จนถึงขั้นโคม่า (Coma) ในที่สุด
ตับ การทำหน้าที่ของตับในการกำจัดเม็ดเลือดแดงที่หมดอายุ จะสูญเสียไป จึงทำให้มีสารประกอบของเม็ดเลือดแดงที่หมดอายุ ที่เรียกว่า บิลิรูบิน (Bilirubin) หรือสารสีเหลือง อยู่ในเลือดมาก ทำให้มีอาการ ตัวเหลือง ตาเหลือง และตับยังจะหยุดผลิตสารเคมีที่ช่วยในการแข็ง ตัวของเลือด ทำให้เลือดไม่แข็งตัว เลือดจึงออกได้ง่าย
ระบบการแข็งตัวของเลือด นอกจากสารเคมีที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือดซึ่งผลิตจากตับจะน้อยลงแล้ว ปริมาณเกล็ดเลือดซึ่งเกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือดก็ลดลงด้วย แต่กลไกในการลดลงของปริมาณเกล็ดเลือดนั้นไม่ทราบชัดเจน ในกรณีที่อาการรุนแรง ผู้ป่วยอาจเกิดภาวะมีลิ่มเลือดกระจายในหลอดเลือดทั่วตัว ที่เรียกว่า Disseminated intravascular coagula tion (DIC หรือ ดีไอซี) คือ มีการแข็งตัวของเลือดในหลอดเลือดขนาดเล็กๆทั่วร่างกาย ทำให้สารเคมีที่ใช้ในการแข็งตัวของเลือดถูกใช้ไปจนหมด และเม็ดเลือดแดงจะถูกทำลายจากลิ่มเลือดที่แข็งตัวเหล่านี้ ผู้ป่วยจะมีเลือดออกไม่หยุดเกิดขึ้นได้ในอวัยวะสำคัญต่างๆ เช่น ปอด สมอง ลำไส้ และเป็นสาเหตุให้เสียชีวิต (ตาย) ได้ในที่สุด
ระบบฮอร์โมน ในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดจะขึ้นสูงผิดปกติ เพราะตับอ่อนจะผลิตฮอร์โมนอินซูลิน (ฮอร์โมนควบคุมระดับน้ำตาลในร่างกาย) ได้ไม่เพียงพอ ทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลด้วยยากินไม่ได้ผล ต้องให้ยาอินซูลิน (ยาฉีด) รักษาแทน หรือในผู้ ป่วยที่เคยกินยาสเตียรอยด์มาก่อน จะเกิดภาวะต่อมหมวกไตหยุดทำงาน ไม่ผลิตฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมความดันโลหิต ทำให้ความดันโลหิตยิ่งต่ำลงไปอีกได้

อนึ่ง ในด้านความรุนแรง ผู้ป่วยที่มีภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดขั้นรุนแรง จะมีอัตราการเสียชีวิตประมาณ 20 - 35% ส่วนผู้ป่วยที่มีภาวะช็อก จะมีอัตราการเสีย ชีวิตประมาณ 40 - 60% ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ผู้ป่วยพัฒนาไปสู่อาการขั้นรุนแรงและมีโอกาสเสียชีวิตสูงขึ้น คือ โรคประจำตัวที่ผู้ป่วยมีอยู่ และความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพในการรักษา โดยพบว่าเมื่อผู้ป่วยมีภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดเกิดขึ้น การให้ยาปฏิชีวนะที่ช้าไปทุกๆ 1 ชั่วโมง จะเพิ่มโอกาสการเสียชีวิตขึ้นชั่วโมงละ 7%

"""""""""""""""""
รักษาภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างไร?

แนวทางการรักษาภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด คือ ผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการรักษาในหออภิบาลผู้ป่วยหนัก (ICU, Intensive care unit) โดยการรักษาแบ่งออกได้เป็น

การให้ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ในระหว่างที่รอการเพาะเชื้อจากอวัยวะที่ติดเชื้อ หรือจากกระแสเลือด แพทย์จะเริ่มให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดโดยครอบคลุมเชื้อที่น่าจะเป็นสา เหตุ โดยพิจารณาจากอายุ โรคประจำตัวของผู้ป่วย รวมทั้งพิจารณาว่าเป็นการได้รับเชื้อจากภายในโรงพยาบาล (โรครุนแรงกว่า) หรือจากภายนอกโรงพยาบาล ซึ่งเมื่อผลการเพาะเชื้อสา มารถระบุชนิดเชื้อ และความไวของเชื้อต่อชนิดยาปฏิชีวนะได้แล้ว แพทย์ก็จะเปลี่ยนชนิดยาให้เหมาะสมต่อไป
การกำจัดต้นเหตุที่มีการติดเชื้อ และทำให้เกิดภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระ แสเลือด เช่น หากผู้ป่วยใส่สายสวนปัสสาวะอยู่แล้วมีการติดเชื้อที่กรวยไต ก็ต้องนำสายสวนปัสสาวะออก ถ้าจำเป็นต้องใส่ ก็ต้องเปลี่ยนเส้นใหม่ หรือหากมีการติดเชื้ออักเสบเป็นหนองในบริเวณไหน ก็ต้องเจาะระบายเอาหนองออก เป็นต้น
การรักษาประคับประคองตามอาการ ได้แก่ การให้ยาลดไข้ ให้ยาลดกรดที่เกิดจากร่าง กายมีภาวะเครียด (Stress) สูง เพื่อป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร (Stress ulcer) การให้สารน้ำทางหลอดเลือดให้เพียงพอ การให้ออกซิเจน การแก้ไขระดับเกลือแร่ต่างๆในเลือดที่ผิดปกติ การให้ยาอินซูลินควบคุมระดับน้ำตาล หากความดันโลหิตต่ำมากอยู่ในสภาวะช็อก ต้องให้ยากระตุ้นการบีบตัวของหลอดเลือด และยากระตุ้นการบีบตัวของหัวใจ หากมีภาวะโลหิตจางก็ต้องให้เลือด หากอวัยวะใดทำงานล้มเหลว เช่น ระบบหายใจล้มเหลวก็ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ เมื่อเกิดภาวะไตวายก็ต้องฟอกล้างไต และ/หรือเมื่อต่อมหมวกไตหยุดทำงานก็ต้องให้ฮอร์โมนสเตียรอยด์เสริม เป็นต้น

"""""""""""""""""
ดูแลตนเองและป้องกันภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างไร?

การดูแลตนเองและการป้องกันภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด คือ

ตามที่ได้กล่าวไปแล้วว่า ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดนี้มัก เกิดในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาอยู่ในโรงพยาบาลซึ่งมารักษาตัวด้วยโรคอื่นๆ ดังนั้นแพทย์จะพิจารณาอย่างรอบคอบถึงความจำเป็นในการทำหัตถการต่างๆที่อาจเป็นปัจจัยนำเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ เช่น การสอดใส่ท่อเข้าหลอดเลือดดำเพื่อให้สารน้ำ และ/หรือการใส่สายสวนปัสสาวะ
นอกจากนี้แพทย์จะเลือกใช้ยาปฏิชีวนะที่ตรงกับโรคติดเชื้อที่ผู้ป่วยกำลังเป็น และให้ในระยะเวลาที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงยาปฏิชีวนะชนิดครอบคลุมเชื้อแบคทีเรียได้หลายๆชนิด โดย เฉพาะในผู้ที่มีโรคประจำตัว เพราะอาจเป็นสาเหตุให้เชื้อราประจำถิ่นในลำไส้ แบ่งตัวเจริญเติบ โตและลุกลามเข้าสูร่างกาย จนทำให้เกิดภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดขึ้น มาได้
ในกรณีต้องการซื้อยาปฏิชีวนะกินเองเมื่อเกิดการเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆ เช่น โรคต่อมทอนซิลอักเสบ โรคอุจจาระร่วง/ท้องเสีย ควรเริ่มใช้ยาปฏิชีวนะที่ตรงกับโรค โดยปรึกษากับเภสัชกรที่ประจำร้านขายยาก่อนใช้ ไม่ควรเริ่มใช้ยาที่ประ สิทธิภาพสูงเกินไป เพราะเหตุผลเช่นที่กล่าวมาแล้ว และหากยาที่ซื้อกินเองครั้งแรกไม่ได้ผล ก็ควรรีบพบแพทย์/ไปโรงพยาบาล
ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวต่างๆเช่นที่กล่าวไว้ในข้างต้น หรือได้รับยากดภูมิคุ้มกันต้านทานโรคอยู่ ควรระมัดระวังการติดเชื้อโดย การรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่ง ชาติ) อย่างเคร่งครัด เช่น หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด กินอาหารที่ปรุงสุกใหม่เสมอ ล้างมือก่อนหยิบจับอาหาร ส่งเสริมร่างกายให้แข็งแรง เช่น ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ให้ครบถ้วนในทุกมื้ออาหาร นอกจากนั้นคือ กินยาตามแพทย์สั่งให้ถูกต้องครบ ถ้วน และควรพบแพทย์ตามนัดเสมอ

"""""""""""""""""
ควรพบแพทย์เมื่อไหร่?

ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือผู้ได้รับยากดภูมิคุ้มกันต้านทานโรค หากมีไข้สูง หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว ควรรีบพบแพทย์ภายใน 1 - 2 วันเสมอ และถ้าอาการรุนแรง ควรต้องพบแพทย์/ไปโรงพยาบาลเป็นการฉุกเฉิน

"""""""""""""""""
บรรณานุกรม

1. Robert S. Munford, sepsis and septic shock, in Harrison’s Principles of Internal Medicine, 15th edition, Braunwald , Fauci, Kasper, Hauser, Longo, Jameson (eds). McGrawHill, 2001
2. https://en.wikipedia.org/wiki/Sepsis [2014,May28].
3. https://emedicine.medscape.com/article/169640-overview [2014,May28].

Updated 2014, May 31

https://haamor.com/th/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%94/




 

Create Date : 20 กุมภาพันธ์ 2552   
Last Update : 29 เมษายน 2565 13:48:57 น.   
Counter : 21118 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]