Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

อัมพาตเป็นแล้วรักษาหายหรือไม่

ทันโลก ทันเหตุการณ์ กับแพทยสภา ประจำวันที่ 24 พฤษภาคม 2551
//www.naewna.com/news.asp?ID=110248

อัมพาตเป็นแล้วรักษาหายหรือไม่



“อัมพาต” หมายถึงอาการอ่อนแรงของแขนหรือขาอย่างมากจนไม่สามารถขยับได้เลย

หากอ่อนแรงแต่ยังขยับได้เรียกว่า “อัมพฤกษ์”

อาการดังกล่าวบ่งบอกถึงการทำงานของระบบสั่งการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อเสียหาย ซึ่งระบบสั่งการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อนี้เริ่มต้นตั้งแต่ เซลล์สมองสั่งการบริเวณเนื้อสมองชั้นนอก (cerebral cortex) ส่งคำสั่งผ่านใยประสาท ผ่านเนื้อสมองส่วนใน (white matter) ผ่านแกนสมอง (brain stem) ในระดับต่างๆ จนถึงเซลล์ประสาทสั่งการในไขสันหลัง จากเซลล์ประสาทสั่งการในไขสันหลังส่งคำสั่งผ่านเส้นประสาทไขสันหลัง และเส้นประสาทส่วนปลายไปยังกล้ามเนื้อต่างๆ

การเกิดความผิดปกติในทางเดินคำสั่งการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อในแต่ละจุด เป็นเหตุให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงได้แตกต่างกัน เช่น

หากผิดปกติบริเวณผิวของสมอง หรือสมองชั้นนอก เนื่องจากเป็นส่วนที่เซลล์สมองอยู่เป็นบริเวณกว้าง การสูญเสียบางส่วนมักจะอ่อนแรงครึ่งซีกของร่างกายเป็นบางส่วน และอ่อนแรงของแขนและขาไม่เท่ากันที่มักเรียกว่า “อัมพฤกษ์”

หากผิดปกติบริเวณแกนสมองหรือเนื้อสมองส่วนในที่ใยประสาทสั่งการจะมารวมกันใน บริเวณเล็ก อาการอ่อนแรงมักจะรุนแรงทั้งแขนและขาที่เรียกว่า “อัมพาต”


การจะบอกว่าอาการอัมพาตนั้นจะหายหรือไม่ขึ้นอยู่กับพยาธิสภาพที่เป็นสาเหตุว ่าเป็นเช่นไร ซึ่งพอจะแบ่งได้ดังนี้

1. พยาธิสภาพแบบทำลาย (destructive lesions)

ได้แก่ การเกิดเลือดออก การเกิดก้อนเนื้องอก การเกิดการอักเสบ การขาดเลือดมาเลี้ยงบริเวณสมองหรือเส้นประสาทสั่งการโดยตรง ลักษณะพยาธิสภาพเช่นนี้มักจะคาดการณ์หรือพยากรณ์โรคว่าไม่ดี หากจุดที่เกิดทำให้เป็นอัมพาต เช่น บริเวณแกนสมอง หรือเนื้อสมองส่วนใน

2. พยาธิสภาพแบบกดเบียด (compressive lesions)

ได้แก่ ก้อนเลือด ก้อนเนื้องอก ฝีหนอง บริเวณข้างเคียงกับส่วนสมองหรือเส้นประสาทสั่งการ ทำให้เกิดการกดเบียด ซึ่งพยาธิสภาพเช่นนี้ เมื่อแก้ไขแล้วมักจะมีโอกาสฟื้นตัวหรือหายได้

3. พยาธิสภาพแบบสูญเสียหน้าที่ชั่วคราว (transient loss of function)

ได้แก่ภาวะลมชัก ภาวะสมองหรือเส้นประสาทถูกกระทบกระเทือน ทำให้สูญเสียหน้าที่ชั่วคราว


พยาธิสภาพทั้ง 3 แบบ มีโอกาสทำให้เป็นอัมพาตได้ทั้งสิ้น แต่หากเป็นแบบที่ 1 มักจะฟื้นตัวได้น้อยที่สุด ส่วนแบบที่ 2 และ 3 เมื่อแก้ไขสาเหตุแล้วมักจะฟื้นตัวได้ดี หมายถึง โอกาสกลับมามีกำลังของกล้ามเนื้อขึ้นใหม่ได้

มีคำถามเสมอว่าจะมียาอะไรหรือไม่ ที่จะทำให้อาการอัมพาตดีขึ้น?

คำตอบคือ “ยังไม่มีในปัจจุบัน” แต่มียาจำนวนมาก ที่มีกลไกทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองดีขึ้น ซึ่งก็คือทำให้ปัจจัยสภาวะแวดล้อมของสมองดี ซึ่งปัจจัยเช่นนี้ สามารถสร้างได้ด้วย การกินอาหารที่มีประโยชน์ ควบคุมเบาหวาน ควบคุมความดันโลหิต ออกกำลังกาย และมีอารมณ์ที่แจ่มใส

เมื่อปฏิบัติเช่นนี้แล้วภาวะอัมพาตนั้น หากเป็นพยาธิสภาพที่ฟื้นตัวได้ กำลังของกล้ามเนื้อจะดีขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งจะใช้เวลาฟื้นตัวเต็มที่ประมาณ 6 เดือน

เมื่อครบ 6 เดือนแล้วยังไม่เป็นปกติ โดยทั่วไปถือว่าจะเป็นการสูญเสียถาวร กำลังที่ดีขึ้นต่อไปเป็นจากการทำกายภาพบำบัดหรือฝึกการใช้กล้ามเนื้อส่วนที่ ดีอยู่ทำหน้าที่ได้ดีขึ้น

ถึงจุดนี้คงเป็นคำตอบสำหรับหลายท่านที่ถามว่ายาหม้อที่ไม่มีการแจกแจงว่ามีส่วนประกอบอะไร แต่มีราคาแพงมีประโยชน์หรือไม่


ด้วยความปรารถนาดี

นายแพทย์สุกิจ ทัศนสุนทรวงศ์

ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา




 

Create Date : 24 พฤษภาคม 2551   
Last Update : 24 พฤษภาคม 2551 12:02:23 น.   
Counter : 11098 Pageviews.  

โรคหลอดเลือดสมองที่รักษาได้ด้วยการผ่าตัด

นำมาฝากจากเวบ ไทยคลินิก ..



โรคหลอดเลือดสมองที่รักษาได้ด้วยการผ่าตัด


ทันเหตุการณ์กับแพทยสภา ประจำวันที่ 10 พฤษภาคม 2551
//www.naewna.com/news.asp?ID=108123


โรคหลอดเลือดสมองที่ก่อปัญหาต่อร่างกายเกิดได้ 2 ประการคือ ประการแรกเกิดภาวะหลอดเลือดแตกทำให้เกิดเลือดออกในสมอง ประการที่สองเกิดภาวะหลอดเลือดตีบทำให้สมองขาดเลือด

โรคหลอดเลือดสมองที่รักษาได้ด้วยการผ่าตัด ส่วนใหญ่มีสาเหตุจากภาวะหลอดเลือดแตก ซึ่งมีกลุ่มโรค 3 กลุ่มได้แก่

1.โรคหลอดเลือดแตกจากความดันโลหิตสูง(hypertensive hemorrhage) เกิดจากความดันโลหิตสูงทำให้หลอดเลือดแดงขนาดเล็กในเนื้อสมองส่วนลึกเปราะบา งและแตกออก ตำแหน่งที่พบบ่อยคือตำแหน่งเบซัลแกงเกลียน(basal ganglion) ซึ่งจะมีทางเดินของใยประสาทที่นำคำสั่งการควบคุมการเคลื่อนไหวของแขนขาด้านต รงข้ามผ่าน เมื่อเกิดภาวะหลอดเลือดแตกจะมีอาการเฉียบพลันของอาการปวดศีรษะ แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก หมดสติ อาการรุนแรงมาน้อยขึ้นกับขนาดและตำแหน่งของก้อนเลือด การผ่าตัดในกลุ่มนี้จะมีความจำเป็นในกรณีที่ก้อนเลือดมีขนาดใหญ่ทำให้มีการก ดเบียดต่อก้านสมอง หรือมีความดันภายในโพรงกะโหลกขึ้นสูง หากไม่มีภาวะดังกล่าวไม่จำเป็นต้องผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดเพียงเพื่อเอาก้อนเลือดออกเท่านั้น กรณีก้อนเลือดที่ไม่ต้องผ่าตัดสามารถสลายตัวเองได้ การรักษาต่อไปคือการให้ยาควบคุมความดันโลหิต การทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูกำลังของกล้ามเนื้อ ซึ่งมักไม่กลับมาเป็นปกติ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งและความรุนแรงของโรค

2. โรคหลอดเลือดแตกจากหลอดเลือดแดงสมองโป่งพอง(ruptured aneurysm) เกิดจากมีความผิดปกติแต่กำเนิดของผนังหลอดเลือดแดงใหญ่ของสมองมีความไม่สมบู รณ์ในผนังชั้นกลางทำให้ผนังหลอดเลือดอ่อนแอ ถึงระยะเวลาหนึ่งคือช่วงที่จะมีการแตก จะโป่งออกเป็นกระเปาะบริเวณยอดของกระเปาะจะบาง และแตกในจุดนี้ ช่วงอายุที่จะเกิดการแตกนี้พบได้ทุกอายุ ที่พบมากที่สุดคือช่วงอายุระหว่าง 40-60 ปี โรคนี้ไม่เกี่ยวข้องกับความดันโลหิตสูงแต่การมีความดันโลหิตสูง

จะเป็นปัจจัยที่ทำให้ได้ผลการรักษาไม่ดี โรคนี้ยังไม่มีวิธีการตรวจให้รู้ล่วงหน้าได้ แต่ยังโชคดีอยู่บ้างที่ยังมีกลไกของร่างกายที่ช่วยให้เมื่อมีการแตกแล้วสามา รถหยุดตัวเองชั่วคราวได้ นั่นคือการหดตัวของหลอดเลือดและการมีลิ่มเลือดปิดจุดที่แตกไว้ กลไกนี้ขึ้นกับคุณสมบัติที่ยืดหยุ่นได้ดีของหลอดเลือดแดงของแต่ละคน ซึ่งผู้ที่สูงอายุหรือผู้ที่มีความดันโลหิตสูงกลไกนี้จะไม่ดี ผู้ป่วยในกลุ่มนี้จึงมีอาการรุนแรงมากกว่าและผลการรักษาได้ผลดีน้อยกว่าผู้ท ี่อายุน้อยและไม่มีความดันโลหิตสูง

หลังจากการแตกครั้งแรกและมีกลไกในการหยุดเลือดออกชั่วคราวแล้ว ภายหลังจากนี้ไม่นานเมื่อลิ่มเลือดละลายตัวจะเกิดการแตกซ้ำซึ่งมักจะรุนแรงก ว่าครั้งแรก และมีโอกาสเสียชีวิตสูง พฤติกรรมของโรคที่เป็นเช่นนี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องวินิจฉัยให้ไ ด้ตั้งแต่การแตกครั้งแรก และทำการแก้ไขจุดที่มีหลอดเลือดโป่งพองนั้นโดยเร็ว การแก้ไขส่วนใหญ่ก็โดยการผ่าตัดเข้าไปหนีบที่โคนของจุดที่มีการโป่งพองนั้น นอกจากในบางตำแหน่งที่อยู่ลึกและการผ่าตัดประเมินแล้วมีความเสี่ยงสูงมากอาจ ใช้วิธีอุดจุดที่แตกนั้นด้วยขดลวดขนาดเล็ก หากแก้ไขได้ดีไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยสามารถที่จะเป็นปกติได้ โดยรวมแล้วมีโอกาสที่จะได้ผลดีมากกว่าร้อยละ50

ส่วนที่ไม่ได้ผลดีนั้นส่วนใหญ่เกิดจาก ตำแหน่ง รูปร่างของหลอดเลือดโป่งพองนั้น ความเสื่อมของหลอดเลือดจากความสูงอายุ ความดันโลหิตสูง และเบาหวาน และส่วนหนึ่งคือการวินิจฉัยไม่ได้ในครั้งแรกที่มีการแตกแล้วเกิดแตกซ้ำทั้งน ี้เนื่องจากอาจมีอาการน้อยมาก จนอาจไม่พบอาการผิดปกติใดๆเลย นอกจากอาการที่เป็นตอนแรก ซึ่งจะต้องได้จากคำบอกเล่าของผู้ป่วยหรือญาติ จึงมีความสำคัญที่ทุกคนควรทราบถึงอาการระยะแรกที่ว่านั้นมีอาการนั้นอย่างไร อาการที่สำคัญได้แก่

อาการปวดศีรษะเฉียบพลันชนิดที่ไม่เคยเป็นมาก่อน อาจมีหมดสติชั่วครู่ เวลาก้มศีรษะจะรู้สึกตึงก้มได้ไม่เต็มที่ มักมีอาเจียนร่วมด้วย(บางรายอาจถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคทางเดินอาหารหรืออาหาร เป็นพิษได้) มักจะเกิดเวลาใกล้สว่าง หรือขณะเข้าห้องน้ำ บางรายอาจมีประวัติว่าล้มในห้องน้ำ และสูญเสียความจำชั่วขณะจึงอาจให้ประวัติที่แท้จริงไม่ได้ และเมื่อรู้ตัวแล้วอาการปวดศีรษะนั้นอาจไม่รุนแรงได้ เมื่อมีอาการที่แพทย์สงสัยว่าจะเป็นโรคนี้ขั้นแรกจะตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเ ตอร์ของสมอง ต่อไปจึงตรวจหลอดเลือดของสมองทั้งหมด เมื่อพบแล้วจึงปรึกษาแพทย์เฉพาะทางประสาทศัลยศาสตร์เพื่อแก้ไขดังกล่าวข้างต ้นต่อไป

3.โรคหลอดเลือดแตกจากหลอดเลือดขอดจากความผิดปกติของหลอดเลือดแดงต่อกับหลอดเ ลือดดำโดยตรง(ruptured arteriovenous malformation) โรคนี้เป็นโรคที่มีความผิดปกติแต่กำเนิดเช่นกันแต่มีลักษณะที่ต่างกันที่ตำแ หน่งและลักษณะของพยาธิสภาพ โดยความผิดปกติเกิดจากการที่หลอดเลือดของเนื้อสมองส่วนของหลอดเลือดแดงมีการ ต่อกันโดยตรงกับหลอดเลือดดำทำให้หลอดเลือดดำที่ปกติจะรับเลือดดำที่ผ่านเนื้ อเยื่อแล้วทำให้ตัวหลอดเลือดดำนั้นขยายตัวด้วยเลือดแดงเหมือนเป็นเส้นเลือดข อด ความที่ผนังหลอดเลือดดำบางเมื่อรับความดันหลอดเลือดแดงที่สูงจึงแตกได้ แต่การแตกมักรุนแรงน้อยกว่าหลอดเลือดแดงโป่งพองแตก ผู้ป่วยมักจะมีปัญหาเลือดออกในเนื้อสมอง การรักษาหากแก้ไขได้ด้วยการผ่าตัดก็ควรรับการผ่าตัด หากความผิดปกติเป็นบริเวณกว้างและอยู่ในตำแหน่งสำคัญก็ไม่สามารถผ่าตัดได้ อาจใช้วิธีอุดหลอดเลือดและฉายแสงร่วมด้วย

โรคหลอดเลือดสมองที่ต้องได้รับการผ่าตัดมีเพียงส่วนน้อยของปัญหาโรคหลอดเลือ ดสมองทั้งหมดแต่ก็มีความสำคัญในการวินิจฉัยให้ได้ เพราะผลการรักษาอาจได้ผลดี หากเป็นโรคที่แก้ไขได้และมีความเสี่ยงที่จะเกิดแตกซ้ำ


นายแพทย์สุกิจ ทัศนสุนทรวงศ์
ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา




 

Create Date : 11 พฤษภาคม 2551   
Last Update : 11 พฤษภาคม 2551 19:18:26 น.   
Counter : 5681 Pageviews.  

ไทรอยด์ ( คอพอก )

คอพอก

"คอพอก" เป็นคำจำกัดความของกลุ่มโรคที่มี ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) โตผิดปกติ

ต่อมไทรอยด์ เป็นต่อมไร้ท่อ วางตัวอยู่หน้าหลอดลมที่คอ ทำหน้าที่สร้าง ฮอร์โมน"ไทรอกซีน"(Thyroxine) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สำคัญ เกี่ยวข้องกับพัฒนาการของร่างกายทุกระบบ ต่อมไทรอยด์ในคนปกติจะไม่สามารถคลำได้ แต่ถ้าสามารถ คลำหรือสังเกตได้จากการมอง แสดงว่า ต่อมไทรอยด์มีอาการโตผิดปกติหรือมีคอพอกเกิดขึ้นนั่นเอง

ก. คอพอกแบบเป็นพิษ Thyrotoxicosis(Toxic goiter)

เกิดจากต่อมไทรอยด์มีการสร้าง ฮอร์โมนไทรอกซีน มากเกินความต้องการของร่างกาย

สาเหตุ ยังไม่สามารถ หาสาเหตุที่แท้จริง อาจเกิดจากตัวต่อมไทรอยด์มีความผิดปกติเอง หรือ เกิดจากมีสารมากระตุ้นทำให้ต่อมสร้างฮอร์โมนมากเกินไปเช่น ฮอร์โมนจาก เนื้องอกของต่อมใต้สมองส่วนหน้า

อาการแสดง

มักพบในผู้หญิง มากกว่าผู้ชาย 7-8 เท่า ต่อมไทรอยด์อาจจะโตหรือไม่ก็ได้ โดยทั่วไปจะมีอาการโตเล็กน้อย

หัวใจจะถูกกระตุ้นมากที่สุด ทำให้เกิดอาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็วและแรง บางครั้งก็ไม่สม่ำเสมอ ทำให้เหนื่อยง่าย

ฮอร์โมนไทรอกซีนจะกระตุ้นเซลล์ของร่างกายให้สร้างพลังงานมากขึ้น ทำให้มีพลังงานเหลือเฟือ ผู้ป่วยจึงมักอยู่ไม่สุข ต้องทำโน่นทำนี่ ดูลุกลี้ลุกลน พูดเร็ว มักเป็นคนขี้ร้อน เหงื่อออกมาก ผู้ป่วยจึงมักชอบอากาศเย็นๆ แต่มือจะอุ่น และมักมีเหงื่อออกชุ่ม หิวบ่อย กินจุ แต่ไม่อ้วน น้ำหนักลดลง อุจจาระบ่อย


มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อต้นแขน ต้นขา ถ้าเป็นมากๆ จะก้าวขึ้นบันไดไม่ไหว
ประจำเดือน บางทีมาน้อย หรือห่างออกไป ลูกตาอาจโปนถลนออกมา อาจมองเห็นภาพซ้อนกันอยู่เสมอ

แนวทางการรักษา ปกติไทรอยด์เป็นพิษ การรักษามี 3 อย่างใหญ่ ๆ คือ

1.รับประทานยา

จะมียา 2 ประเภท คือ ยาต้านไทรอยด์ ก็คือ PTU และ methimazole กับยารักษาอาการใจสั่น ก็คือ propanolol ปกติการกินยาอาการจะไม่หายทันที ต้องใช้เวลา3-6 สัปดาห์ จึงจะดูปกติ

ข้อดีคือ สามารถปรับขนาดยาเพื่อควบคุมอาการของไทรอยด์เป็นพิษได้ ประมาณ 40 % ผู้ป่วยโรคนี้ มีโอกาสที่โรคจะสงบเองหลังจาก 2 ปีไปแล้ว ซึ่งจะมากหรือน้อย ขึ้นกับหลายปัจจัยหลายอย่าง ที่สำคัญคือ ขนาดของต่อมไทรอยด์ ถ้าขนาดโต โอกาสที่โรคจะสงบลงได้เอง จะน้อยกว่า โดยทั่วไปจึงแนะนำให้กินยาดู 2 ปี แล้วลองหยุดยาดู

ถ้ากินยาไปแล้ว 2 ปี ไม่สามารถหยุดยาได้ ก็จะมีให้เลือก 2 ประการคือ เลือกจะกินยาต่อไป ก็ไม่เสียหายอะไร โดยเฉพาะเมื่อผู้ป่วยสามารถควบคุมอาการของไทรอยด์เป็นพิษได้ ในขนาดยาต่ำ ๆ ก็ไม่มีผลข้างเคียงอะไรที่ร้ายแรง นอกจากนี้ ผู้ที่กินยาต้านไทรอยด์นานขึ้น ก็ยิ่งมีโอกาสทำให้โรคสงบได้มากและนานมากขึ้นไปด้วย หรือเลือกอย่างที่สอง คือ เลือกจะทำลายต่อมไทรอยด์ ด้วยการกินสารไอโอดีนกัมมันตรังสี


2. น้ำแร่กัมมันตรังสี(ไอโอดีน-131)

มีความปลอดภัยมาก ผลของรังสีต่อร่างกายนั้นน้อยมาก เนื่องจากไอโอดีนรังสี จะถูกต่อมไทรอยด์จับไปจนเกือบหมด ส่วนที่เหลือร่างกายได้รับรังสี เทียบเท่ากับการถ่ายภาพรังสีเพียง 4-5 ฟิล์ม เท่านั้น

มักใช้ในผู้ป่วยที่ใช้ยาไม่ได้ผล ออกฤทธิ์ช้า ในอดีตจะไม่ใช้ในคนอายุน้อยหรือผู้ที่ยังไม่มีบุตร แต่ปัจจุบันสามารถปรับใช้ในคนอายุน้อยได้ แต่ไม่แนะนำให้ใช้วิธีนี้รักษาตั้งแต่เริ่มแรก เพราะหลังใช้กัมมันตรังสีมักจะเกิดฮอร์โมนต่ำเกินไป ซึ่งทำให้จะต้องรับประทานยาทดแทนฮอร์โมน(Eltroxin) ไปตลอดชีวิต

ข้อดีคือ มีโอกาสจะหายจากไทรอยด์เป็นพิษได้ง่ายกว่า (ทำให้หายสนิทได้) และ รับประทานได้ง่ายกว่ายาต้านไทรอยด์ คือเฉลี่ย วันละ 1-2 เม็ดเท่านั้น แพทย์จะคำนวณปริมาณสารรังสี จากขนาดและการทำงานของต่อมไทรอยด์ เมื่อรับประทานแล้วก็กลับบ้านได้ หมอจะนัดมาตรวจอีกที แต่วิธีนี้มีแต่ในรพ.ใหญ่ ๆ เช่น ศิริราช, จุฬา, รามา,... เท่านั้น

ข้อเสียคือ ผู้ที่กินไปแล้วจะมีโอกาสเกิดต่อมไทรอยด์ ทำงานน้อยกว่าปกติ เพราะเนื้อต่อมถูกทำลายไปมากกว่าที่คำนวณได้ (ซึ่งการคำนวณเป็นการประมาณคร่าว ๆ ต่อมของแต่ละคนมีการทำงานมากน้อยต่างกัน) ทำให้จำเป็นต้อง รับประทานยาทดแทนฮอร์โมน (Eltroxin) เสริมเข้าไปแทน ตลอดชีวิต

3. การผ่าตัด

จะใช้ในกรณีมีข้อห้ามในการรักษาด้วยยา มีก้อนที่คอร่วมด้วย หรือ สงสัยว่าจะเป็นเนื้องอก


ภาวะไทรอยด์เป็นพิษกับการตั้งครรภ์

สำหรับภาวะ ไทรอยด์เป็นพิษ ซึ่งกำลังรักษาด้วยยานั้น ถ้าเลือก หรือ หลีกเลี่ยงได้ อย่าเพิ่งตั้งครรภ์ในช่วงที่รักษาเนื่องจาก

1.ยารักษาไทรอยด์เป็นพิษ ทั้ง 2 ตัวคือ PTU และ Methimazole ผ่านรกจากแม่ไปสู่ลูกได้

ข้อดีก็คือถ้าเด็กเป็นโรคเหมือนกัน มันก็ช่วยรักษาโรคได้ แต่ข้อเสียในกรณีที่เด็กปกติ คือ มันจะทำลาย ฮอร์โมน ไทรอยด์ ของเด็ก ทำให้เกิดภาวะ ไทรอยด์ต่ำเกิน ซึ่งจะมีผลต่อการพัฒนาการของเด็ก

2.มีรายงานว่าการกินยา methimazole จะทำให้เด็กอาจมีความผิดปกติ ของกระดูกสันหลังตั้งแต่เกิด แต่ในกรณีจำเป็นจริง ๆ ก็อาจใช้ได้ โดยให้ขนาดยาน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ และต้องระวังมากโดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนแรก และ 3 เดือนสุดท้าย ในผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาขนาดสูง อาจจำเป็นต้องผ่าตัด โดยจะทำใน ไตรมาศที่สองของการตั้งครรภ์


ข. คอพอกแบบไม่เป็นพิษ Non-thyrotoxicotic Goiter (Simple goiter)

เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์มีขนาดใหญ่ขึ้น แต่ไม่มีอาการของไทรอยด์เป็นพิษดังกล่าว

สาเหตุที่พบบ่อย คือ

1 การขาดไอโอดีน พบในผู้ป่วยที่ไม่ทานอาหารทะเล ไม่ทานเกลือไอโอดีน ปัจจุบันพบได้น้อยลง แต่ยังพบได้ตามภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชาวเขา ต่อมไทรอยด์อาจโต เล็กน้อยจนถึงใหญ่มาก ๆ ได้
อาการแสดง

ในผู้ใหญ่จะพบได้ทั้งแบบที่ต่อมไทรอยด์โตขึ้น และแบบ ต่อมไทรอยด์ขนาดปกติ แต่จะแสดงอาการขาดไทรอยด์ฮอร์โมน ได้แก่ เป็นคนเชื่องช้า เซื่องซึม ขี้หนาว พูดช้า เสียงแหบ ผิวแห้ง ผมแห้งหยาบและร่วงง่าย ท้องผูก น้ำหนักเพิ่ม

ส่วนในเด็ก อาจเกิดจากความผิดปกติ ของต่อมไทรอยด์มาแต่กำเนิด จึงสร้างฮอร์โมนออกมาน้อย ถ้าไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที ( 3 เดือนแรกเกิด ) เด็กโตขึ้น ตัวจะเตี้ยแคระ พุงป่อง สมองทึบ ปัญญาอ่อน หรือที่เรียกกันว่า"โรคเอ๋อ" ซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้ อาการที่น่าสงสัยว่าเด็กขาดฮอร์โมน ได้แก่ เฉื่อยชา เลี้ยงง่าย ไม่กวน เคลื่อนไหวช้า ดูดนมน้อย ท้องอืด ท้องผูกเสมอ พุงป่อง สะดือจุ่น กระหม่อมหลังเปิดกว้าง ตัวเหลืองนานผิดปกติ ลิ้นโตคับปาก ผมและคิ้วบาง หนังตาบวม ผิวหนังหนาซีดหยาบแห้ง เด็กเติบโตช้า แขนขาสั้น รูปร่างอ้วนเตี้ย ปัญญาอ่อน

การรักษา

รับประทานอาหารทะเล หรือ เกลือไอโอดีน ยาไทรอยด์ ในกรณีที่ก้อนมีขนาดใหญ่อาจต้องผ่าตัด

2 ร่างกายมีความต้องการฮอร์โมนมากขึ้น พบในหญิงวัยเจริญพันธุ์ (อายุ15-35ปี) และ หญิงตั้งครรภ์ ต่อมไทรอยด์จะโตขึ้นเพราะต้องสร้างฮอร์โมนให้เพียงพอกับความต้องการ มักจะไม่มีอาการอื่นนอกจากมีก้อนที่คอ

การรักษา

ในรายที่ก้อนโตเล็กน้อยอาจเฝ้าสังเกตอาการไปก่อน ในกรณีที่ก้อนมีขนาดโตขึ้น ควรพบแพทย์เพื่อพิจารณาให้ยารักษา กรณีที่ก้อนมีขนาดใหญ่อาจต้องได้รับการผ่าตัด

3 เนื้องอกของต่อมไทรอยด์ มีทั้งเนื้องอกธรรมดา และ เนื้องอกชนิดร้ายหรือมะเร็ง

ก้อนเดี่ยวของต่อมไทรอยด์ มีโอกาสเป็นมะเร็ง ประมาณ 5-10 % ส่วนภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษ มีโอกาสเป็นมะเร็งน้อยกว่า คือ ประมาณ 1 % โดยจะมีโอกาสเป็นมะเร็งสูงขึ้นในกลุ่มที่

• มีประวัติเคยได้รับการฉายรังสี บริเวณศีรษะและคอ ในวัยเด็ก (ถ้ามีก้อนจะพบมะเร็งประมาณ 30-40%)

• มีประวัติมะเร็งต่อมไทรอยด์ในครอบครัว

• ก้อนของต่อมไทรอยด์ในเพศชายมีโอกาสเป็นมะเร็งบ่อยกว่าเพศหญิง (แต่พบก้อนของต่อมไทรอยด์ในเพศหญิงได้บ่อยกว่า)

• อายุ น้อยกว่า 20 ปี หรือมากกว่า 60 ปี

• ก้อนโตเร็ว โตในข้างใดข้างหนึ่ง (ในพวกคอพอกที่เกิดจากร่างกายต้องการฮอร์โมนเพิ่มขึ้น ไทรอยด์มักโตสม่ำเสมอทั้ง 2 ข้าง) หรือ มีอาการเสียงแหบ หายใจลำบาก กลืนลำบาก

• ก้อนแข็ง ติดแน่นกับผิวหนังหรืออวัยวะข้างเคียง อาจมีต่อมน้ำเหลืองบริเวณข้างลำคอโตร่วมด้วย

การรักษา

ก็มีทั้งให้ยาร่วมกับการผ่าตัดเช่นเดียวกัน




อ้างอิง


คอพอก

//www.thaiclinic.com/goiter.html

//www.thaiclinic.com/goiter2.html


การรักษาทัยรอยด์เป็นพิษ(thyrotoxicosis)

//www.thaiclinic.com/hyperthyroid.html


ภาวะ ไทรอยด์เป็นพิษกับการตั้งครรภ์

//www.thaiclinic.com/goiterpreg.html








 

Create Date : 10 พฤษภาคม 2551   
Last Update : 22 มิถุนายน 2552 14:27:38 น.   
Counter : 10391 Pageviews.  

มาออกกำลังกายเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน


มาออกกำลังกายเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน

ดัดแปลงจาก บทความของ แพทย์หญิง ปิยะนุช รักพาณิชย์


ทำไมถึงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้

สาเหตุที่หลอดเลือดหัวใจอุดตันได้ก็เนื่องมาจากไขมันที่เรารับประทานเข้าไปจนเกินพอ ไปสะสมพอกพูนเป็นแผ่นคราบไขมันอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายซึ่งหลอดเลือดหัวใจ ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ไขมันชอบไปสะสมอยู่

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันมีหลายประการ ถ้ายิ่งมีปัจจัยเสี่ยงหลายข้อ โอกาสที่จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ก็จะเพิ่มมากขึ้น ปัจจัยเหล่านั้นได้แก่

• ปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้
อายุ เช่น ผู้ชายที่อายุมากกว่า 45 ปี และ ผู้หญิงที่อายุมากกว่า 55 ปี จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้มากขึ้น
ประวัติครอบครัว ผู้ที่มีประวัติ พ่อแม่หรือพี่น้อง เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ ก็จะมีโอกาสเป็นโรคนี้มากขึ้น

• ปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงได้
ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด สำหรับคนที่เป็นเบาหวาน
ควบคุมความดันโลหิต สำหรับคนที่มีความดันโลหิตสูง
ควบคุมระดับไขมันในเลือด สำหรับคนที่มีระดับไขมันในเลือดผิดปกติ
การออกกำลังกาย คนที่ไม่ได้ออกกำลังกายหรือขาดการใช้พลังงานในชีวิตประจำวัน ก็จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
บุหรี่ ซึ่งเป็นภัยร้ายแรงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ทั้งคนที่สูบเองและผู้อยู่ใกล้ชิดที่ได้รับควันบุหรี่


ทำอย่างไรถึงจะไม่เป็นโรคนี้

ถึงแม้ว่าปัจจัยบางอย่างจะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างเช่น อายุ หรือเกิดในครอบครัวที่เป็นโรคหัวใจ แต่ก็มี ปัจจัยอีกหลายอย่างที่สามารถควบคุมได้ ไม่ว่าจะเป็นบุหรี่ อาหาร และการออกกำลังกาย

การออกกำลังกายจะช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน แต่การออกกำลังกายเพียงอย่างเดียว โดยไม่ได้ควบคุมปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ จะไม่มีประโยชน์เท่าที่ควร ดังนั้นนอกจากการออกกำลังกายที่ถูกต้องแล้ว อย่าลืมเลิกบุหรี่ ควบคุมการบริโภคอาหารที่เหมาะสม และ ทำจิตใจให้สบายคลายเครียดกันด้วย


ออกกำลังกายแค่ไหน

การออกกำลังกายที่จะช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันนั้นคงแยกได้เป็น 2 ประเภทคือ

1. การออกกำลังกายแบบมาตรฐาน ได้แก่ การออกกำลังกายแบบแอโรบิค โดยทั่วๆไป เช่น เดิน วิ่ง

2. การทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ทำแล้วเหนื่อยพอสมควร เช่น ตัดหญ้า ถูบ้าน เป็นต้น

จากการวิจัยพบว่า ความแรงในการออกกำลังกาย ไม่ได้เป็นตัวกำหนดในการที่จะมีผลช่วย ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุตัน ตัวกำหนดที่สำคัญก็คือปริมาณพลังงานที่ใช้ในแต่ละวันมากกว่า ( พลังงานที่ใช้ในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายมีหน่วยเป็นกิโลแคลลอรี่ ) ซึ่งมีความสัมพันธ์กับ
1. น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัมของผู้ที่ทำกิจกรรมนั้นๆ
2. ชนิดของกิจกรรมที่ทำว่าใช้พลังงานเทียบได้เป็นกี่เท่าของขณะที่พัก (ดังตารางสรุปในตอนท้าย )
3. เวลาที่ใช้ในการทำกิจกรรมโดยคิดหน่วยเป็นชั่วโมง


ลองดูตัวอย่าง ว่าการคำนวณทำอย่างไร

สมมุติว่าถ้า คุณ อายุ 58 ปี หนัก 68 กิโลกรัม เดินวันละ 4.8 กิโลเมตร โดยใช้เวลาทั้งสิ้น 45 นาที ถามว่าคุณ ใช้พลังงานในการเดินทั้งหมดเท่าไร
ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนว่า การเดิน 4.8 กิโลเมตรโดยใช้เวลา 45 นาทีนั้น จะใช้พลังงานเป็น 3 เท่าของขณะที่พัก

วิธีคำนวณพลังงานที่ใช้ = น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม x พลังงานของกิจกรรมที่เทียบเป็นเท่าของขณะที่พัก x เวลาที่ใช้ในการทำกิจกรรมโดยคิดหน่วยเป็นชั่วโมง

ดังนั้น การใช้พลังงานในการเดินด้วยอัตราดังกล่าว = 68 x 3 x ¾ = 153 กิโลแคลอรี่

จากการวิจัยพบว่าการออกกำลังกาย ที่จะเป็นผลดีต่อสุขภาพ มีอายุยืน และ ลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจนั้น ควรจะออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมให้มีการใช้พลังงานอย่างน้อยวันละ 200 กิโลแคลอรี่ ทุก ๆ วัน

จะเห็นได้ว่า ที่คุณออกกำลังกายโดยการเดินวันละ 4.8 กิโลเมตร เป็นเวลา 45 นาทีนั้น ใช้พลังงานไปเพียงประมาณ 153 กิโลแคลอรี่เท่านั้น ซึ่งน้อยกว่าที่ต้องการ คืออย่างน้อย 200 กิโลแคลอรี่ ซึ่งถ้าคุณต้องการที่จะออกกำลังให้มีการใช้พลังงานมากขึ้นเป็น 200 กิโลแคลอรี่ต่อวัน ก็สามารถทำได้หลายวิธี เช่น
เพิ่มเวลาออกกำลังกายเป็น 1 ชั่วโมง โดยเดินด้วยอัตราเร็วเท่าเดิมจะใช้พลังงานเป็น 204 กิโลแคลอรี่ต่อวัน หรือ
เพิ่มความเร็วในการเดินให้ได้ 6.4 กิโลเมตรในเวลา 45 นาที ก็จะใช้พลังงานเป็น 204 กิโลแคลอรี่ต่อวัน หรือ
เพิ่มการทำงานในกิจวัตรประจำวันให้มากขึ้น เช่น ทำสวนปลูกต้นไม้รดน้ำต้นไม้วันละ 15 นาทีก็จะใช้พลังงานเพิ่มมากขึ้น วันละ 50 กิโลแคลอรี่ ซึ่งรวมกันแล้วก็ประมาณ 200 กิโลแคลอรี่ ซึ่งก็นับว่าเพียงพอ


จากการวิจัยพบว่าการออกกำลังกายที่เป็นประโยชน์นั้นควรใช้พลังงานอย่างน้อย 1,000-2,000 กิโลแคลอรี่ต่อสัปดาห์ แต่ถ้าออกกำลังกายมากเกินไปเช่นมากกว่า 3,500 กิโลแคลอรี่ต่อสัปดาห์ อาจจะมีผลเสียต่อสุขภาพได้




 

Create Date : 10 พฤษภาคม 2551   
Last Update : 10 พฤษภาคม 2551 13:57:08 น.   
Counter : 2154 Pageviews.  

การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ


การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ


 


มีคนเป็นจำนวนมากรู้ว่าการออกกำลังกายที่พอเหมาะช่วยส่งเสริมสุขภาพและช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นได้ แต่มีคนไทยไม่ถึงร้อยละ 20 ที่มีการออกกำลังกายเป็นประจำ แนวคิดในเรื่องของการป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ ยังห่างไกลจากชีวิตคนไทยมาก ส่วนใหญ่รอให้เป็นโรคก่อน แล้วค่อยมารักษา ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย เสียเวลาในการรักษามาก และ ในบางครั้งอาการก็เป็นมาก จนทำให้ผลการรักษาไม่ค่อยดีอีกด้วย



มีผู้เชี่ยวชาญ เรื่องสุขภาพกล่าวไว้ว่า การมีชีวิตที่ยืนยาวอย่างมีคุณภาพ ทำได้โดยใช้หลัก 4 อ. คือ


1. อาหาร รับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะให้ครบทั้ง 5 หมู่


2. อากาศ อยู่ในสิ่งแวดล้อม และสภาพอากาศที่บริสุทธิ์


3. ออกกำลังกาย ฝึกออกกำลังกายที่เหมาะสมกับตนเองเป็นประจำ


4. อารมณ์ ทำจิตใจให้มีอารมณ์เบิกบาน แจ่มใส ไม่เคร่งเครียดอยู่เสมอ


 


ออกกำลังกายมีประโยชน์อย่างไร


1. เพิ่มการไหลเวียนของเลือด โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ


2. ปรับระดับไขมันในเลือดให้ดีขึ้น โดยเพิ่ม ระดับไขมันที่ดี ( HDL ) และลดระดับไขมันที่ไม่ดี ( LDL )


3. ปรับระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันเลือด


4. เพิ่มความแข็งแรง และ ความทนทานของ เส้นเอ็น กล้ามเนื้อ กระดูก และข้อ


5. ควบคุมน้ำหนัก และลดไขมันในร่างกาย


6. ลดความเครียด วิตก กังวล และภาวะซึมเศร้า


7. ช่วยทำให้หลับสบายขึ้น


8. ช่วยระบบขับถ่ายดีขึ้น


9. ลดอัตราป่วยและอัตราตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หลอดเลือดสมองตีบ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน กระดูกพรุน(กระดูกโปร่งบาง)


 


การเตรียมตัวสำหรับออกกำลังกาย


1. ควรออกกำลังกายหลังรับประทานอาหารอย่างน้อย 2 ชั่วโมง


2. ดื่มน้ำให้เพียงพอ ทั้งก่อนและหลังออกกำลังกาย เพื่อทดแทนเหงื่อที่เสียไป


3. สวมใส่เสื้อผ้าหลวมๆ ไม่รัดแน่นจนเกินไป และเลือกรองเท้ากีฬา ที่มีพื้นรองเท้าหนา ประมาณ 1 เซนติเมตรเพื่อจะได้รองรับแรงกระแทกขณะเดินหรือวิ่งได้ดีขึ้น


4. ออกกำลังกายกลางแจ้งที่มีอากาศปลอดโปร่ง ระบายอากาศได้ดี และไม่ร้อนจัดจนเกินไป แต่ถ้าไม่สะดวกอาจจะออกกำลังกายในห้องปรับอากาศก็ได้


5. ควรอบอุ่นร่างกายก่อนออกกำลังกายและผ่อนคลายหลังออกกำลังกาย เพื่อยืดหยุ่นกล้ามเนื้อ แขน ขา และลำตัวทุกครั้ง โดยใช้เวลาประมาณ 5 – 10 นาที


6. ขณะที่เป็นไข้หวัด หรือ รู้สึกไม่ค่อยสบาย ควรหยุดออกกำลังกายชั่วคราว


 



สัญญาณอันตรายขณะออกกำลังกาย


การออกกำลังกายที่หักโหม ไม่ถูกวิธีอาจเกิดการบาดเจ็บ ต่อ เส้นเอ็น กล้ามเนื้อ กระดูก และข้อได้ สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน โรคข้อ โรคทางระบบประสาท เป็นต้น ควรปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกาย
ควรหยุดออกกำลังกาย และปรึกษาแพทย์ เมื่อมีอาการต่างๆ เหล่านี้ขณะออกกำลังกาย



1. คลื่นไส้ อาเจียน


2. มึนงง เวียนศีรษะ


3. ตาพร่ามัว


4. อึดอัด หายใจไม่สะดวก


5. เจ็บปวดตามตัว


6. เหนื่อยล้า ผิดปกติ


7. เสียการทรงตัว เซจะล้มลง


8. เจ็บแน่นหน้าอก




การออกกำลังกายแบบแอโรบิก


แอโรบิกเป็นการออกกำลังกายที่ใช้ออกซิเจนเป็นพลังงาน ซึ่งเป็นการออกกำลังกายที่ไม่หนัก แต่ใช้เวลานาน ๆ  ต้องเป็นการออกกำลังกายแบบต่อเนื่อง เกินกว่า 20 นาทีขึ้นไป ส่วนแอนแอโรบิกเป็นการออกกำลังกายที่ไม่ใช้ออกซิเจนเป็นพลังงาน ซึ่งสามารถออกแรงได้หนักกว่า แต่ในระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น เช่น ตอนตีแบดฯ ขณะที่เราหวดลูกเต็มที่จะเป็นช่วงที่เรียกว่าแอนแอโรบิก แต่ขณะที่วิ่งไปวิ่งมาก็เป็นช่วงแอโรบิก หรือ ถ้าเป็นการวิ่งระยะทางไกล ๆ ใช้เวลานานหลายนาที หรือ เป็นชั่วโมง ก็จะเป็น แอโรบิก แต่ถ้าเป็นวิ่ง 100 เมตร ซึ่งใช้เวลาไม่กี่วินาทีก็จะเป็น แอนแอโรบิก


ถ้าต้องการลดน้ำหนัก ก็ควรออกกำลังกายแบบแอโรบิกเพื่อเผาผลาญไขมันมาใช้เป็นพลังงาน วิธีออกกำลังกายแบบแอโรบิกมีหลายวิธี เช่น เดินเร็ว วิ่งจ๊อกกิ้ง ว่ายน้ำ กรรเชียงบก เต้นแอโรบิก หรือ ลีลาศแบบต่อเนื่อง


ควรออกกำลังกาย อาทิตย์ละ 3 - 5 ครั้ง นานประมาณ 30 - 45 นาทีต่อครั้ง และ ควรออกกำลังกายจนกระทั่งชีพจรขณะออกกำลังกายประมาณ 60-70 % ของชีพจรสูงสุด โดยมีวิธีคำนวณดังนี้


ชีพจรสูงสุด (ครั้งต่อนาที)  =  220 – อายุ (ปี)  เช่น  อายุ 20 ปี ดังนั้น ชีพจรสูงสุด = 220 - 20 = 200 ครั้ง/นาที จากนั้น ให้คูณด้วย 0.7 ( 70%ของชีพจรสูงสุด ) ดังนั้น ชีพจรขณะออกกำลังกาย = 200 x 0.7 = 140 ครั้ง/นาที


 


เราสามารถเริ่มต้นป้องกันโรคต่างๆ หลายชนิดได้ด้วยการออกกำลังกายที่พอเหมาะ เริ่มต้นเคลื่อนไหวร่างกายของคุณจากน้อย ๆ เบา ๆ แล้วค่อย ๆ เพิ่มขึ้นจนถึงเป้าหมายที่ต้องการ ถ้าคุณไม่แน่ใจจะเริ่มต้นอย่างไร ปรึกษาแพทย์ประจำตัวของคุณ แล้วคุณจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างคาดไม่ถึงจากการออกำลังกาย …






Free TextEditor




 

Create Date : 06 พฤษภาคม 2551   
Last Update : 6 พฤษภาคม 2551 17:47:50 น.   
Counter : 1848 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]