Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

คำถาม..ที่ควรรู้.. คำตอบ



คำถาม..ที่ควรรู้.. คำตอบ

มีผู้ป่วยจำนวนมากที่ได้รับการตรวจรักษาจากแพทย์เรียบร้อยแล้วก็ยังไม่ทราบว่า ตนเองป่วยเป็นอะไร และต้องปฏิบัติตัวอย่างไร แต่ก็ไม่กล้าถามแพทย์ อาจเนื่องจาก ความเกรงใจ กลัวถูกดุหรือไม่รู้ว่าจะต้องถามอะไร ทำให้เกิดผลเสียในการรักษาความเจ็บป่วยที่เป็นอยู่ เพราะผลการรักษาจะดีหรือไม่นั้นจะต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของทุกฝ่ายทั้ง แพทย์ ผู้ป่วยและญาติผู้ป่วย

ถ้าทุกฝ่ายให้ความร่วมมือร่วมใจกัน ผลของการรักษาก็จะออกมาดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่ถ้าผู้ป่วยและญาติไม่รู้ข้อมูล เกี่ยวกับความเจ็บป่วยที่เป็นอยู่ก็คงไม่สามารถปฏิบัติตัวให้เหมาะสมถูกต้องได้ ดังนั้นถ้าท่านต้องการให้ผลการรักษาออกมาดี ก็เป็นหน้าที่ของท่านที่จะ...


• บอกข้อมูล ที่เกี่ยวกับความเจ็บป่วยของท่าน ที่สำคัญกับแพทย์หรือ พยาบาล

• สอบถามข้อมูล จาก แพทย์ พยาบาล หรือเจ้าหน้าที่อื่น ๆ เกี่ยวกับความเจ็บป่วยของท่าน


ข้อแนะนำเบื้องต้นต่อไปนี้ คงจะช่วยเป็นแนวทางได้ว่า ท่านควรบอกหรือถามอะไรบ้าง เมื่อท่านหรือญาติของท่าน เกิดเจ็บป่วยขึ้นมา …

1. ชื่อ - นามสกุล ของแพทย์ ผู้ที่ให้การรักษา เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านไหน

2. ป่วยเป็นโรคอะไร มีกี่โรค รักษาหายหรือไม่

3. แนวทางรักษา มีวิธีไหนบ้าง เช่น กินยา ใส่เฝือก เครื่องพยุงอื่น ๆ กายภาพบำบัด
ต้องผ่าตัดหรือไม่ ถ้าต้องผ่าตัดจะใช้วิธี ดมยาสลบ หรือ ฉีดยาชาเฉพาะที่

4. ข้อดี ข้อเสีย และ ภาวะแทรกซ้อน ถ้ารักษาตามวิธีที่แพทย์แนะนำ และถ้าไม่รักษาจะมีข้อเสียอย่างไรบ้าง

5. การปฏิบัติตัวเมื่อกลับบ้าน เช่น วิธีกินยา การทำแผล วันตัดไหม วิธีทำกายภาพบำบัด

6. แพทย์นัดมาตรวจซ้ำหรือไม่ ถ้าแพทย์นัด นัดมาตรวจวันที่เท่าไร เวลาอะไร มีใบนัดให้ด้วยหรือไม่

………………………………………..

ข้อมูลที่ผู้ป่วยและญาติ…ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ

1. มีโรคประจำตัวหรือไม่ ? ถ้ามีโรคประจำตัวมีโรคอะไรบ้าง กี่โรค เช่น โรคปอด โรคหอบหืด โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง

2. ยาที่ต้องกิน หรือ ฉีดเป็นประจำ ชื่อยาอะไร และรักษาประจำที่ไหน ?

3. เคยแพ้ยาหรือไม่ ถ้าเคยแพ้ยา ยาชื่อว่าอะไร หรือมีลักษณะอย่างไร เมื่อแพ้ยา มีอาการอย่างไรบ้างและไปรับการรักษาอาการแพ้ที่ไหน รักษาอย่างไร ?

4. การรักษาที่ได้รับครั้งก่อน รักษาอย่างไร ? รู้สึกว่าทำให้อาการของโรค ดีขึ้น เหมือนเดิมหรือแย่ลงกว่าเดิม

5. ถ้าไม่สามารถ มาตรวจซ้ำได้ตามที่แพทย์นัด กรุณาแจ้งให้แพทย์ทราบ



::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::
 

ข้อสังเกตคลินิก ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข

๑.มีป้ายชื่อสถานพยาบาลและเลขที่ใบอนุญาต ๑๑ หลัก ติดไว้หน้าคลินิก

๒.แสดงใบอนุญาต ให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล

๓.แสดงใบอนุญาต ให้ดำเนินการสถานพยาบาล

๔.แสดงหลักฐานการชำระค่าธรรมเนียมประจำปี ของปีปัจจุบัน

๕.แสดงรูปถ่ายของผู้ประกอบวิชาชีพ พร้อม ชื่อและเลขที่ใบประกอบวิชาชีพ

๖.แสดงอัตราค่ารักษาพยาบาล และ สามารถสอบถามอัตราค่ารักษาได้

๗.แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับ สิทธิผู้ป่วย ในที่เปิดเผยและเห็นง่าย

 

อ้างอิง:

คู่มือประชาชนในการเลือก คลินิก ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข

สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข

โทร02 193 7000 ต่อ 18416 - 7

www.mrd.go.th

FB@สารวัตรสถานพยาบาลOnline

https://www.facebook.com/สารวัตรสถานพยาบาล-Online-1502055683387990/

 

:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::

 

คู่มือประชาชนในการเลือก คลินิก ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=07-07-2017&group=15&gblog=80
ช่องทางร้องเรียนเกี่ยวกับ ...ยา ....หมอ ....คลินิก .....โรงพยาบาล ...
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-02-2009&group=7&gblog=18
ไปคลินิกแล้ว จะดูอย่างไรว่า ผู้ที่ตรวจรักษา เป็น หมอจริง ?
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=10-07-2020&group=7&gblog=238
แขวนป้ายแขวน ใบว. ถ้ารู้แล้วยืนยันจะเสี่ยงก็ไม่ว่ากัน
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=12-11-2015&group=7&gblog=193
ข้อแนะนำก่อนจะพบแพทย์กระดูกและข้อ
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-07-2008&group=7&gblog=3
ข้อแนะนำเมื่อต้องรับการรักษา
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=24-12-2007&group=4&gblog=2
คำถาม..ที่ควรรู้..คำตอบ
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=03-01-2008&group=4&gblog=3
เคล็ดลับ20 ประการ ที่จะช่วยคุณ "ป้องกันความผิดพลาดทางการแพทย์ในการเข้ารับบริการสุขภาพ "...
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cmu2807&month=10-2010&date=19&group=27&gblog=52
หมอคนไหนดี“ ??? .... คำถามสั้น ๆ ง่ายๆ แต่ ไม่รู้จะตอบอย่างไร ..
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=14-01-2012&group=15&gblog=42
ผลของการรักษาโรค
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cmu2807&month=01-2008&date=05&group=27&gblog=22
 
ข้อเท็จจริงในการดูแลรักษาโรคภัยไข้เจ็บโดยแพทย์
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cmu2807&month=06-2013&date=11&group=27&gblog=12
ฉลาดเลือกใช้...การแพทย์ทางเลือกโดยอ.ประมาณ เลืองวัฒนะวณิช
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-09-2011&group=7&gblog=149
หน้าที่อันพึ่งปฏิบัติของผู้ป่วย(มิย.๖๓) สิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย(สค.๕๘) สิทธิผู้ป่วย(เมย.๔๑)https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=23-12-2007&group=4&gblog=1
ความรู้เกี่ยวกับใบรับรองแพทย์
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=06-01-2008&group=4&gblog=5
 

 




 

Create Date : 03 มกราคม 2551   
Last Update : 10 กรกฎาคม 2563 21:32:15 น.   
Counter : 5844 Pageviews.  

ข้อแนะนำเมื่อต้องรับการรักษา

 

ข้อแนะนำเมื่อต้องรับการรักษา


มีผู้ป่วยจำนวนมาก ที่ได้รับการตรวจรักษาจากแพทย์เรียบร้อยแล้วแต่ยังไม่ทราบว่า ตนเองป่วยเป็นอะไร และต้องปฏิบัติตัวอย่างไร ทำให้ผลของการรักษาไม่ดีเท่าที่ควร เพราะผลการรักษาจะดีหรือไม่นั้นจะต้องอาศัยความร่วมมือของทุกฝ่ายทั้ง แพทย์ ผู้ป่วยและญาติ ถ้าทุกฝ่ายให้ความร่วมมือกัน ผลของการรักษาก็จะออกมาดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่ถ้าผู้ป่วยและญาติไม่รู้ข้อมูลเกี่ยวกับความเจ็บป่วยที่เป็นอยู่ก็คงไม่สามารถปฏิบัติตัวให้เหมาะสมถูกต้องได้

ดังนั้นถ้าท่านต้องการให้ผลการรักษาความเจ็บป่วยของตัวท่านเองออกมาดี ก็เป็นหน้าที่ของท่านที่ควรจะ

• บอกข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับความเจ็บป่วยของท่าน กับแพทย์ หรือ พยาบาล

• สอบถามข้อมูล จาก แพทย์ พยาบาล หรือ เจ้าหน้าที่อื่น ๆ เกี่ยวกับความเจ็บป่วยของท่าน



การรักษา ไม่ได้หมายความถึงแค่รับประทานยาเท่านั้น ยังมีปัจจัยอีกหลายอย่างที่เกี่ยวข้อง ซึ่งข้อแนะนำต่อไปนี้ ก็จะเพิ่มสิ่งที่มีประโยชน์ ในการดูแลรักษาความเจ็บป่วยของท่าน….

1. ร่วมตัดสินใจกับแพทย์ เกี่ยวกับแนวทางการรักษา

• ไม่ต้องกลัวที่จะถามหรือพูดคุยกับแพทย์เกี่ยวกับความกังวลใจที่มีอยู่ คุณอาจต้องจดคำถามที่อยากรู้เพื่อที่จะได้ถามแพทย์ในการพบกับ แพทย์ ในครั้งต่อไป

• ควรนำเพื่อน หรือ คนในครอบครัว ไปพบแพทย์กับคุณด้วย เพื่อจะได้ช่วยกันปรึกษา ซักถามแพทย์ หรือ ช่วยจำสิ่งที่แพทย์ได้แนะนำไว้
ตัวอย่างคำถาม เช่น

ชื่อ - นามสกุล ของแพทย์ ผู้ที่ให้การรักษา เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านไหน

ป่วยเป็นโรคอะไร มีกี่โรค รักษาหายหรือไม่

แนวทางรักษา มีวิธีไหนบ้าง ผลดี ผลเสีย ผลข้างเคียง ของ ยา หรือ การรักษาแต่ละวิธี เช่น กินยา ใส่เฝือก เครื่องพยุงอื่น ๆ กายภาพบำบัด

แพทย์แนะนำว่า ควรจะรักษาด้วยวิธีไหน ทำไมแพทย์จึงเลือกวิธีนั้น

จะต้องผ่าตัดหรือไม่ ถ้าต้องผ่าตัดจะใช้วิธี ดมยาสลบ หรือ ฉีดยาชาเฉพาะที่

ข้อดี ข้อเสีย และ ผลข้างเคียง ถ้ารักษาตามวิธีที่แพทย์แนะนำ และถ้าไม่รักษาจะมีข้อเสียอย่างไรบ้าง

การปฏิบัติตัวเมื่อกลับบ้าน เช่น วิธีกินยา การทำแผล วันตัดไหม วิธีทำกายภาพบำบัด

แพทย์นัดมาตรวจซ้ำหรือไม่ ถ้าแพทย์นัด นัดมาตรวจวันที่เท่าไร เวลาอะไร มีใบนัดให้ด้วยหรือไม่

คุณควรบอกข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้แพทย์ทราบ เช่น

ประวัติความเจ็บป่วย หรือ ปัญหาทางสุขภาพ ที่คุณเคยได้รับการรักษา

โรคประจำตัว ที่กำลังรักษาอยู่ มีโรคอะไรบ้าง เช่น โรคปอด หอบหืด เบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง

ยาที่ต้องรับประทาน หรือ ต้องฉีดเป็นประจำ ยาที่กำลังรับประทานอยู่ เป็นยาอะไรบ้าง ถ้าระบุชื่อยาได้ก็ยิ่งดี เพื่อป้องกันการทำปฏิกิริยาระหว่างยาแต่ละตัว ( ยาตีกัน ) และ รักษาประจำที่ไหน

ประวัติการแพ้ยา หรือ ปัญหาเกี่ยวกับผลข้างเคียงของยา ถ้าเคยแพ้ยา ยาชื่อว่าอะไร ยามีลักษณะอย่างไร เมื่อแพ้ยา มีอาการอย่างไรบ้างและไปรับการรักษาที่ไหน รักษาอย่างไร ต้องนอนในโรงพยาบาลหรือไม่

คุณกำลังตั้งครรภ์ หรือ ให้นมบุตร

อะไรที่คุณคิดว่าเป็นสิ่งสำคัญเกี่ยวกับการรักษา เช่น ราคา ผลข้างเคียงของยาต่อการทำงาน หรือ อยากได้ยาที่แพทย์คิดว่าดีที่สุด ซึ่งอาจมีราคาสูง หรือ อยากได้ยาที่มีจำนวนครั้งที่รับประทานยาไม่บ่อย

การรักษาที่ได้รับครั้งก่อน รักษาอย่างไร รู้สึกว่าทำให้อาการของโรค ดีขึ้น เหมือนเดิมหรือแย่ลงกว่าเดิม

2. ปฏิบัติตามแนวทางการรักษา
เมื่อคุณ เห็นด้วยกับแนวทางรักษาของแพทย์ คุณควรถาม และ บอกสิ่งที่คุณต้องการ หรือ กังวลใจอยู่

ไม่ควรหยุดยาเอง เพราะ รู้สึกว่าดีขึ้น

ไม่ควร ซื้อยาเพิ่ม แล้วนำมารับประทานต่อเอง โดยไม่ปรึกษาแพทย์

ไม่ควร เพิ่ม หรือ ลด ปริมาณยา จากที่แพทย์ได้แนะนำ

ถ้ามีข้อสงสัยเกี่ยวกับยา หรือ วิธีรักษา ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้ง

คำถามที่ควรถามเกี่ยวกับยา ที่คุณได้รับ
 
ยา ชื่ออะไร เป็นชื่อทางการค้า หรือ ชื่อทั่วไป
ยามีฤทธิ์อย่างไร ใช้เพื่อรักษาอะไร
รับประทานอย่างไร วันละกี่ครั้ง เวลาไหนบ้าง ก่อนหรือหลังอาหาร ครั้งละกี่เม็ด และ ต้องรับประทานไปนาน แค่ไหน กี่วัน กี่เดือน กี่ปี เมื่อไรจึงจะหยุดยาได้
ถ้าอาการดีขึ้น จะลดปริมาณยา หรือ หยุดยาได้หรือไม่
ผลข้างเคียงของยา ที่อาจเกิดขึ้น และ เมื่อเกิดผลข้างเคียงขึ้น ควรจะทำอย่างไร
ถ้าลืมกินยา จะเกิดอะไรขึ้น และ ควรทำอย่างไร
อะไรบ้างที่ควรหลีกเลี่ยงเมื่อรับประทานยา เช่น อาหาร เครื่องดื่ม ยาอื่น หรือ กิจกรรมในชีวิตประจำวัน

มีเอกสาร หรือ สามารถเขียนข้อมูลต่าง ๆ ให้ด้วยหรือไม่


3. คุณควรบอกข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้แพทย์ทราบ เช่น

สิ่งที่คุณกังวลเกี่ยวกับการใช้ยา หรือ การรักษาอื่น ๆ

ถ้าคุณไม่ได้รับประทานยาตามแพทย์สั่ง เช่น หยุดยาเองเมื่อรู้สึกดีขึ้น ก็ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ และสิ่งที่สำคัญก็คือ ยาที่ได้รับ ไม่ควรแบ่งให้คนอื่นรับประทาน
สังเกตปัญหา หรือ ผลข้างเคียงจากการรักษา ปัญหาที่เกิดขึ้น ภายหลังรับประทานยา ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับยา

จะรู้ได้อย่างไรว่ายาที่ได้รับนั้นใช้ได้ผล ใช้เวลานานเท่าไรจึงจะเห็นผล จะได้ไม่หยุดยาเองเพราะคิดว่ายาไม่ได้ผล เช่น ยาแก้ปวดลดการอักเสบ ถ้าได้ผลอาการปวดก็จะลดลง ซึ่งอาจต้องใช้เวลา 1-2 อาทิตย์จึงจะเห็นผล เป็นต้น



ดัดแปลงจาก Prescription Medicines and You. AHCPR Publication No. 96-0056, October 1999. https://www.ahcpr.gov/consumer/ncpiebro.htm

::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::

Ittaporn Kanacharoen
https://www.facebook.com/ittaporn/posts/3465995920127856

"หาหมอ ต้องเตรียมอะไรบ้าง?"

วันนี้ได้รับคำถามว่า
"อาหมอครับ คุณแม่ไม่สบายจะไปหาหมอ ต้องเตรียมอะไรบ้างครับ?"
♡เป็นคำถามง่ายๆ ที่ตอบยากผมตอบหลานไปแล้วนึกได้ว่า อาจมีคนอื่นอยากรู้เช่นเดียวกันจึงขอลองแชร์ เพราะมีหลายประเด็นน่าจะช่วยคุณหมอย่นเวลาได้ครับ

1. ก่อนหาหมอต้องถามตัวเองว่าใช้สิทธิ์อะไร ถ้า ไม่แน่ใจ ใครกด 1330 แล้วกดเลขบัตรประชาชน จะบอกว่าเรามีสิทธิ การรักษาฟรีที่โรงพยาบาลใด ใน 30 บาท หรือเป็นสิทธิ์ประกันสังคมที่ใด หรือสิทธิข้าราชการที่ไปได้ในโรงพยาบาลรัฐทุกที่ ถ้าเข้า 30 นั้นท่านจะได้รับการยกเว้นค่าใช้จ่าย จะได้ไปให้ถูกครับ
.
2. หากไม่เข้าตามสิทธิ์ฟรี ต้องตรวจสอบดูก่อนนะครับเพราะเอกชนนั้นมีหลายระดับหลายราคา แปลว่าต้องเตรียมงบประมาณ ทีเดียว ยกเว้นกรณี UCEP หรือฉุกเฉินวิกฤตที่จะเข้าฟรีได้ทุกที่ แต่ต้องโทรติดต่อ ก่อนนะครับว่าอาการของท่านเข้าข่ายหรือไม่ ถ้าไม่แน่ใจผมแนะนำให้ไปที่โรงพยาบาลตามสิทธิจะปลอดภัยที่สุด ไม่ต้องมาจ่ายเพิ่มภายหลัง
.
การมีประกันสุขภาพดูให้ดีนะครับ ว่าท่านประกันไว้แบบไหน บางแบบต้องจ่ายเองก่อน แล้วเบิกคืนซึ่งอาจจะได้บางส่วน บางทีน้อยมาก หากไม่ตรงเงื่อนไข ที่ท่านซื้อไว้ โปรดตรวจสอบให้ดี หลายรายใช้ไม่ได้ครับ กลายเป็นว่าเข้าเอกชนแล้วท่านต้องจ่ายเองจำนวนมาก ซึ่งไม่คุ้ม และวงเงินก็มีผล บางครั้ง เข้าเอกชน วงเงินอาจจะไม่พอในบางโรค โดยเฉพาะที่ต้องผ่าตัดครับ ขอให้ท่านพึงระมัดระวังเรื่องนี้ด้วย
.
3. กลับมาเรื่องของอาการป่วย เพื่อความรวดเร็วในการรับการรักษา ขอให้ท่าน ช่วยจดมาจากบ้านโดยเฉพาะกรณีที่ไม่ฉุกเฉิน วางแผนเขียนมาเลยครับว่า

3.1 อาการเป็นอย่างไร เป็นมานานเท่าไหร่ อะไรทำให้ดีขึ้น อะไรทำให้แย่ลง ก่อนมีอาการนั้น ได้กินอะไร ไปที่ไหน ออกกำลังอย่างไร กินยาอะไร หรือมีความผิดปกติอย่างไรนำมาก่อน เจ็บตรงไหน ปวดตรงไหน แล้วจดลงกระดาษไว้ ตอนพบหมอได้อธิบายทีเดียวครับ
.
3.2 โรคประจำตัวของท่านมีอะไรบ้าง เบาหวาน ความดัน โรคหัวใจ หรืออื่นๆ และกินยาอะไรอยู่ประจำ จดชื่อยามาเลยนะครับ ถ้าไม่แน่ใจหยิบยามาทั้งหมด เอามาโชว์คุณหมอเลยเวลาให้ยาจะได้ไม่ตีกัน
.
กรณีบางท่านมีความศรัทธาส่วนตัว ในยา สมุนไพร ยาพรายกระซิบ หรือยาน้ำ ยาต้ม บาหม้อชนิดแปลกๆ ให้เอาติดหรือจดมาให้หมอด้วยนะครับ เพราะบางตัวมีผลต่อตับ และต่อไต โดยเฉพาะยาหม้อ และยาสเตียรอยด์ จะได้ ให้คุณหมอดูทีเดียว ไม่นับรวมที่ต้องบอกว่าแพ้ยาอะไรด้วยนะครับ
.
3.3 กรณีเคยตรวจแลป ตรวจเอ็กซเรย์คลื่นหัวใจ CT MRI หรืออื่นๆที่มีผลอยู่ที่ตัว ฝากเอาติดมาด้วยนะครับ เพราะบางครั้งจะสะดวกขึ้นไม่ต้องทำใหม่ ผมมักจะแนะนำให้คนไข้ ประจำ มีกระเป๋า 1 ใบ พอรับเอกสารจากโรงพยาบาลแล้วใส่ไว้ในที่เดียวกันหมด เวลาฉุกเฉินถือใบนี้มาโรงพยาบาลจะง่ายที่สุดครับ.
.
3.4 กรณีที่คนไข้ต้องเดินทางต่างประเทศ ผมมักจะขอให้นำเอกสารสรุป ประวัติเหล่านี้สแกนและใส่ไว้ในอีเมล ของตัวเองเวลาไปมีอาการผิดปกติที่ต่างประเทศจะได้ เปิดให้คุณหมอประเทศนั้นดูได้เลย เพราะเคยมีบางครั้งแค่เจ็บหน้าอก ไปโรงพยาบาลในต่างประเทศด่วนตรวจใหม่ทั้งหมดเสียเวลาทั้งวัน เพราะเขากลัวพลาดโรคหัวใจ ทั้งๆที่เคยตรวจไปหมดแล้วที่กรุงเทพฯ ที่สำคัญเสียเงินแพงมากแถมได้ยามาขวดเดียว จะได้ไม่เสียเงินและเสียเวลาซ้ำครับ
.
3.5 กรณีเป็นเด็ก ที่ต้องมีผู้อนุญาตในการใช้สิทธิ์ต่างๆโปรดเตรียมแจ้งผู้ปกครองมาด้วยนะครับเตรียมเอกสารสำคัญ ติดตัวมาเผื่อต้องผ่าตัด หรือดำเนินการอย่างอื่นจะได้รวดเร็ว กรณีเป็นครูต้องแจ้งทางบ้านด้วย และตรวจสอบสิทธิของเด็กมาให้เรียบร้อยครับ
.
3.6 กรณีมีความผิดปกติที่เป็นพฤติกรรม เช่นแขนขากระตุกหน้ากระตุก ปากเบี้ยว ระหว่างนำส่งโรงพยาบาล ให้ถ่ายภาพหรือวีดีโอมาเลยครับ เพราะอธิบายอย่างไรก็อาจจะเข้าใจไม่ตรงกัน ใช้ภาพดีที่สุดครับ
.
3.7 กรณีพบหมดสติหรือไม่รู้ตัว ในพื้นที่ช่วยเก็บของอุปกรณ์โดยรอบตัว เป็นภาพมาด้วยครับ โดยเฉพาะขวดยาและสารเคมีต่างๆ Alcohol เหล้าเบียร์ แก้วน้ำที่กินรวมถึงอะไรที่จะมีผล ต่อการหมดสติ อย่างน้อยถ่ายรูปมาให้หน่อยครับ เวลาหมอวินิจฉัยจะได้สอดคล้องกับสถานการณ์ ถ้าเป็นงูหรือ สัตว์อื่น หรือตะขาบกัด อาจจะเอารูปหรือตัวจริงมาเลยครับ รับรองหมอไม่กลัว แถมจะดูชนิดได้แม่นยำด้วยครับ
.
3.8 กรณีเป็นคนไข้ประจำ รับยาเป็นประจำอยู่แล้ว และกรณีไม่ด่วน ขอให้ช่วยนับเม็ดยาที่เหลือมาให้ด้วย จะบอกได้ว่าคนไข้ขาดยาบ่อยหรือเปล่า ซึ่งบางทีเป็นผลให้โรคแย่ลงได้ โดยเฉพาะใน ผู้สูงวัยอาจจะลืมยา ในทางตรงกันข้ามบางครั้งกินยาเกินขนาด ให้กิน ครึ่งเม็ดกิน 1 เม็ด อันนี้ก็เป็นอันตรายได้ การนับเม็ดยามาจะบอกประสิทธิภาพการรักษาได้ครับ
.
3.9 บางครอบครัวมีอุปกรณ์วัดที่บ้านเช่นความดันโลหิตสูง เครื่องตรวจน้ำตาล เครื่องตรวจปัสสาวะ ช่วยติดผลมาให้ด้วยนะครับจะช่วยได้มากทีเดียว อย่าตรวจแล้วเก็บไว้ดูเองขอหมอดูด้วยนะครับ
.
3.10 กรณีผู้ป่วยอาการหนักที่ต้องมาโรงพยาบาล และอาจต้องนอนโรงพยาบาลนั้นขอให้เตรียมตัวเผื่อ เฝ้าไข้ด้วยครับ เพราะหลายครั้งต้องอยู่เป็นเพื่อนคนไข้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่ต้องผ่าตัดครับ
.
ทั้งหมดนี้เป็นตัวอย่างที่ต้องเตรียมตัวเพื่อเป็นคนไข้ที่พร้อมและจะทำให้ได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็ว ถูกต้องและแม่นยำ ซึ่งต้องร่วมมือกันทั้ง ผู้ป่วย ญาติ และทีมแพทย์ครับ
.
ฝากช่วยเตรียมข้อมูลมาให้พวกเราด้วยนะครับ รับรองจะดูแลได้อย่างไวและมีประสิทธิภาพมากขึ้นแน่นอน
จะให้ดีจดมาเลยนะครับ
.
ลองสรุปมาเป็นแนวทางนะครับ อาจารย์หมอท่านอื่นมีอะไรช่วยผมเติมได้เลยนะครับ ด้วยความปรารถนาดีครับ

หมออิทธพร
23.08.2563

#พบหมอแบบมืออาชีพ

ข้อสังเกตคลินิก ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข

๑.มีป้ายชื่อสถานพยาบาลและเลขที่ใบอนุญาต ๑๑ หลัก ติดไว้หน้าคลินิก

๒.แสดงใบอนุญาต ให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล

๓.แสดงใบอนุญาต ให้ดำเนินการสถานพยาบาล

๔.แสดงหลักฐานการชำระค่าธรรมเนียมประจำปี ของปีปัจจุบัน

๕.แสดงรูปถ่ายของผู้ประกอบวิชาชีพ พร้อม ชื่อและเลขที่ใบประกอบวิชาชีพ

๖.แสดงอัตราค่ารักษาพยาบาล และ สามารถสอบถามอัตราค่ารักษาได้

๗.แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับ สิทธิผู้ป่วย ในที่เปิดเผยและเห็นง่าย

 

อ้างอิง:

คู่มือประชาชนในการเลือก คลินิก ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข

สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข

โทร02 193 7000 ต่อ 18416 - 7

www.mrd.go.th

FB@สารวัตรสถานพยาบาลOnline

https://www.facebook.com/สารวัตรสถานพยาบาล-Online-1502055683387990/

 

:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::

 

คู่มือประชาชนในการเลือก คลินิก ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=07-07-2017&group=15&gblog=80
ช่องทางร้องเรียนเกี่ยวกับ ...ยา ....หมอ ....คลินิก .....โรงพยาบาล ...
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-02-2009&group=7&gblog=18
ไปคลินิกแล้ว จะดูอย่างไรว่า ผู้ที่ตรวจรักษา เป็น หมอจริง ?
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=10-07-2020&group=7&gblog=238
แขวนป้ายแขวน ใบว. ถ้ารู้แล้วยืนยันจะเสี่ยงก็ไม่ว่ากัน
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=12-11-2015&group=7&gblog=193
ข้อแนะนำก่อนจะพบแพทย์กระดูกและข้อ
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-07-2008&group=7&gblog=3
ข้อแนะนำเมื่อต้องรับการรักษา
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=24-12-2007&group=4&gblog=2
คำถาม..ที่ควรรู้..คำตอบ
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=03-01-2008&group=4&gblog=3
เคล็ดลับ20 ประการ ที่จะช่วยคุณ "ป้องกันความผิดพลาดทางการแพทย์ในการเข้ารับบริการสุขภาพ "...
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cmu2807&month=10-2010&date=19&group=27&gblog=52
หมอคนไหนดี“ ??? .... คำถามสั้น ๆ ง่ายๆ แต่ ไม่รู้จะตอบอย่างไร ..
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=14-01-2012&group=15&gblog=42
ผลของการรักษาโรค
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cmu2807&month=01-2008&date=05&group=27&gblog=22
 
ข้อเท็จจริงในการดูแลรักษาโรคภัยไข้เจ็บโดยแพทย์
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cmu2807&month=06-2013&date=11&group=27&gblog=12
ฉลาดเลือกใช้...การแพทย์ทางเลือกโดยอ.ประมาณ เลืองวัฒนะวณิช
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-09-2011&group=7&gblog=149
หน้าที่อันพึ่งปฏิบัติของผู้ป่วย(มิย.๖๓) สิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย(สค.๕๘) สิทธิผู้ป่วย(เมย.๔๑)https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=23-12-2007&group=4&gblog=1
ความรู้เกี่ยวกับใบรับรองแพทย์
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=06-01-2008&group=4&gblog=5
 

 




 

Create Date : 24 ธันวาคม 2550   
Last Update : 23 สิงหาคม 2563 21:30:13 น.   
Counter : 16846 Pageviews.  

หน้าที่อันพึ่งปฏิบัติของผู้ป่วย(มิย.๖๓) สิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย(สค.๕๘) สิทธิผู้ป่วย(เมย.๔๑)




ประกาศแพทยสภาที่ 50/2563 เรื่อง หน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วย

ด้วยกระบวนการรักษาพยาบาลภายใต้การดูแลของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมนั้น ทุกอย่างล้วนเป็นไปเพื่อมุ่งหวังให้ผู้ป่วยพ้นจากความเจ็บป่วยและทุกข์ทรมานอันเนื่องมาจากโรคภัยไข้เจ็บเป็นสำคัญ แต่นอกเหนือจากความพยายามของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและบุคลากรสาธารณสุขแล้วหนึ่งในปัจจัยสำคัญอันจะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้ คือ “การได้รับความร่วมมือจากผู้ป่วย” ซึ่งหลายประเด็นเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยอาจไม่ทันตระหนักหรือทราบมาก่อนว่า เป็นสิ่งจำเป็นและมีผลอย่างยิ่งต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 21 (1) ประกอบกับมาตรา7 (2) และ7 (4) แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 แพทยสภาจึงออกประกาศเรื่อง “หน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วย” ดังนี้

ข้อ 1 การเอาใจใส่และดูแลสุขภาพของตนเอง รวมทั้งการปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม เป็นสิ่งส าคัญที่สุดในกระบวนการรักษาพยาบาล ทั้งนี้ หากผู้ป่วยเห็นว่าไม่อาจทำตามคำแนะนำดังกล่าวได้ ผู้ป่วยควรแจ้งให้ทราบโดยทันที เพื่อหาทางออกที่ดีที่สุดร่วมกัน

ข้อ 2 ผู้ป่วยพึงเปิดเผยข้อมูลด้านสุขภาพ “ที่เป็นจริงและอยู่ในความรับรู้” ของผู้ป่วยแก่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทั้งนี้ เพื่อผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจะได้รับทราบข้อมูลด้านสุขภาพทั้งหมดอันจะเป็นประโยชน์ต่อการให้การรักษาพยาบาลและป้องกันมิให้เกิดผลเสียร้ายแรงต่อตัวผู้ป่วยเองและต่อผู้ป่วยรายอื่น รวมทั้งบุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง

ข้อ 3 ผู้ป่วยพึงปฏิบัติตามระเบียบที่สถานพยาบาลกำหนดไว้

ข้อ 4 ผู้ป่วยพึงตระหนักว่าการใช้สิทธิการรักษาพยาบาล รวมทั้งสิทธิผู้ป่วยตามที่กำหนดไว้ต้องไม่เป็นการละเมิดสิทธิของผู้ป่วยท่านอื่น

ข้อ 5 ผู้ป่วยพึงหลีกเลี่ยงการกระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและบุคลากรสาธารณสุขหากมีกรณีที่ผู้ป่วยไม่เห็นด้วยต่อการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ท่านสามารถให้คำแนะนำหรือใช้สิทธิร้องเรียนได้ตามระเบียบปฏิบัติของสถานพยาบาลนั้นๆ

ข้อ 6 ผู้ป่วยพึงตระหนักว่า ห้องฉุกเฉินเป็นสถานที่ซึ่งจัดเตรียมไว้เป็นการเฉพาะเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่ตกอยู่ใน “ภาวะเร่งด่วนและเป็นภยันตรายอันใกล้ต่อชีวิต” เป็นสำคัญ บุคลากรสาธารณสุขจะให้การรักษาตามลำดับความเร่งด่วนทางการแพทย์เป็นสำคัญ ดังนั้นพึงหลีกเลี่ยงหรืองดเว้นการกระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบของบุคลากรในห้องฉุกเฉิน

ข้อ 7 ผู้ป่วยพึงตระหนักว่า “ทรัพยากรในระบบสาธารณสุขมีราคาแพงและมีจำนวนจำกัด” ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมร่วมกับสถานพยาบาลจึงจำเป็นต้องมีมาตรการในการจัดสรรการใช้ทรัพยากรอันมีค่าอย่างระมัดระวัง การกระทำการใดๆ ของผู้ป่วยโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์อาจส่งผลให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรอันมีค่า และส่งผลเสียร้ายแรงต่อการรักษาพยาบาลของตัวผู้ป่วยเอง รวมทั้งต่อผู้ป่วยท่านอื่น

ข้อ 8 ผู้ป่วยพึงเคารพสิทธิความเป็นส่วนตัวของบุคลากรสาธารณสุขและผู้ป่วยท่านอื่นในสถานพยาบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ห้ามกระทำการถ่ายรูป บันทึกเสียงหรือภาพเคลื่อนไหวรวมทั้งกระทำการอื่นใดที่คล้ายคลึงกันนี้ โดยมิได้รับความยินยอมก่อน

ข้อ 9 ผู้ป่วยพึงตระหนักว่า “เอกสารลงนามในการให้ความยินยอมเพื่อรับการรักษาพยาบาล” เป็นเอกสารสำคัญที่ให้รายละเอียด ตลอดจนข้อจำกัดและความเสี่ยงของการรักษาพยาบาล ดังนั้นก่อนทำการลงนามในเอกสารดังกล่าว ผู้ป่วยต้องอ่านและทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ก่อน ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยหรือมีความไม่เข้าใจใด ๆ ควรสอบถามผู้เกี่ยวข้องก่อนการลงนามทุกครั้ง

ข้อ 10 ผู้ป่วยพึงตระหนักว่า การละเลยหรือไม่ปฏิบัติตามรายละเอียดข้างต้น อาจส่งผลเสียต่อการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยเอง และในบางกรณี หากเกิดความเสียหายต่อสถานพยาบาลหรือผู้ป่วยท่านอื่น ท่านอาจได้รับโทษตามที่กฎหมายบัญญัติทั้งนี้ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2563
ศาสตราจารย์เกียรติคุณสมศรี เผ่าสวัสดิ์

ขอเชิญทุกท่านศึกษารายละเอียด/ download เอกสารได้ที่เว็บไซต์แพทยสภา (https://tmc.or.th/) หรือกดที่ link ต่อไปนี้

 Infographic - หน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วย
https://tmc.or.th/Media/media-2020-06-25-09-29-53.pdf

 ประกาศแพทยสภา - หน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วย
https://tmc.or.th/Media/media-20200625153111.pdf

 ประกาศแพทยสภา - หน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วย ฉบับลงราชกิจจานุเบกษา
https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/152/T_0005.PDF


ที่มา: แพทยสภา
https://www.facebook.com/thaimedcouncil/posts/2597320040532885?__tn__=-R

หมายเหตุ ประกาศนี้เป็นเพียง " แนวทางความเข้าใจ ขอความร่วมมือ โดยไม่มีโทษใดๆ " เพียงแต่ย้ำเตือนว่า หากมีการกระทำใดในสถานพยาบาล ที่ผิดกฎหมาย เช่น ทำลายข้าวของ ตีกันในห้องฉุกเฉิน อาจถูกลงโทษได้ "ตามที่กฎหมายฉบับอื่น" บัญญัติ  

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย เรียงตามระยะเวลาที่ออกประกาศ
- สิทธิของผู้ป่วย  (๑๖ เมษายน ๒๕๔๑)
- สิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย (๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๘)
- หน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วย (๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๓)

 
***********************************************

แพทยสภายัน ประกาศ 10 ข้อหน้าที่ผู้ป่วย ไม่ใช่กฎหมาย ไม่มีผลต่อคดีทางการแพทย์
Thu, 2020-07-02 18:27 -- hfocus team
https://www.hfocus.org/content/2020/07/19680

“หมอประสิทธิ์” อุปนายกแพทยสภาคนที่ 1 แจงประกาศ 10 ข้อพึงปฏิบัติหน้าที่ผู้ป่วย แค่ขอความร่วมมือ ไม่ใช่กฎหมาย ไม่มีผลทางคดีทางการแพทย์ แต่เป็นประกาศที่ก่อประโยชน์ในการรักษาโรค เพราะไม่มีการปิดบังข้อมูลสุขภาพ

เมื่อวันที่ 2 ก.ค. ที่ อาคารสภาวิชาชีพ ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา อุปนายกแพทยสภาคนที่1 กล่าวถึงกรณีที่มีการวิพากษ์วิจารณ์การออกประกาศแพทยสภาที่ 50/2563 เรื่องหน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วย 10 ข้อว่า เป็นการมีการลงโทษ จำกัดสิทธิผู้ป่วย ทั้งที่แพทยสภาไม่ได้เป็นหน่วยงานที่มีอำนาจ ว่า หลังออกประกาศดังกล่าวอาจทำให้มีการตีความผิดไป ซึ่งต้องขอยืนยันว่าประกาศดังกล่าวไม่ใช่กฎหมาย และแพทยสภาไม่ได้มีหน้าที่ในการออกกฎหมาย แต่ที่มีการออกประกาศฉบับดังกล่าวเพื่อเป็นคำแนะนำ และขอความร่วมมือจากประชาชนในการดูแลสุขภาพ และการรักษาโรค

ยกตัวอย่างประกาศข้อที่ 2 ซึ่งระบุว่าผู้ป่วยพึงเปิดเผยข้อมูลด้านสุขภาพที่เป็นจริง นั้น ก็เพื่อประโยชน์ในการรักษาโรค และคนที่อยู่ใกล้ชิด อย่างเมื่อการระบาดโควิด-19 ที่ผ่านมา มีผู้ติดเชื้อเข้ามารับการรักษาที่รพ.ศิริราช และไม่บอกว่าไปพื้นที่เสี่ยงมา ทำให้ครั้งนั้นมีบุคลากรการแพทย์ต้องกักตัวถึง 26 คน และหรือกรณีที่เราสอบถามว่าผู้ป่วยใช้ยาอะไรอยู่หรือไม่ ก็เพื่อการพิจารณาให้การรักษาที่เหมาะสม ไม่ทำให้เกิดการตีกันของยานั้นๆ

หรือประกาศข้อที่ 10 ที่ระบุว่า ผู้ป่วยพึงตระหนักว่าการละเลยหรือไม่ปฏิบัติตามรายละเอียดข้างต้นอาจจะส่งผลต่อการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยเอง ในบางกรณี หากเกิดความเสียหายต่อสถานพยาบาลหรือผู้ป่วยท่านอื่น อาจได้รับโทษตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งในข้อนี้อาจจะทำให้เกิดการตีความและเข้าใจผิดว่าถ้าไม่ทำตามแล้วจะมีบทลงโทษ ดังนั้นตนขอสื่อสารยืนยันว่าไม่ได้หมายความเช่นนั้น แต่กรณีนี้ แพทยสภาเป็นห่วงว่าหากมีการกระทำอะไร เช่น ตีกันในรพ.แล้วทำให้เกิดความเสียหายต่อสถานพยาบาล อุปกรณ์การแพทย์ จะมีกฎหมายอื่นๆ ที่กำกับอยู่

ผู้สื่อข่าวถามว่า ขณะนี้มีภาคประชาชนมีความกังวลว่าประกาศดังกล่าวจะมีผลต่อการพิจารณาคดีความทางการแพทย์หรือไม่ ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า ยืนยันว่าประกาศฉบับนี้ไม่มีผลต่อการพิจารณาคดีความทางการแพทย์แน่นอน เพราะตัวประกาศไม่ได้ใช้คำว่า “ต้องปฏิบัติ” แต่ประกาศจะใช้คำว่า “พึงปฏิบัติ” ซึ่งหมายถึงการแนะนำ การขอความร่วมมือ ซึ่งจะทำหรือไม่ทำก็ได้ เหมือนกับที่ตอนนี้เราขอให้ทุกคนสวมหน้ากากอนามัยเมื่ออกจากบ้าน ถ้าไม่ทำก็ไม่ผิดกฎหมาย แต่ถ้าทำก็จะเป็นผลดี ในการป้องกันการติดเชื้อโควิดของคนนั้นๆ และช่วยลด หรือป้องกันการระบาดของโรคในสังคมไทย เป็นต้น

“ขอย้ำและบันทึกผ่านสื่อมวลชนว่าประกาศฉบับดังกล่าวไม่ใช่กฎหมาย ไม่มีผลต่อการพิจารณาคดีความทางการแพทย์ เป็นเพียงประกาศขอความร่วมมือจากประชาชนเพื่อให้ผลในการรักษาโรคมีประสิทธิภาพมากที่สุดเพื่อตัวผู้ป่วยเอง และเพื่อสังคม” ศ.นพ.ประสิทธิ์กล่าว.

**********************************************



คำประกาศ "สิทธิ"และ"ข้อพึงปฏิบัติ"ของผู้ป่วย ฉบับใหม่นี้ออกและรับรองโดย ๖ สภาวิชาชีพ ในวันแม่แห่งชาติ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๘

ดาว์โหลดไฟล์ pdfได้ที่ https://tmc.or.th/file_upload/files/news2_24858.PDF

FB  ittaporn kanacharoen


"ได้เวลา หมอ-คนไข้ จับมือร่วมรักษา เพื่อผลที่ดีกว่า" (High Resolution)

เรียนคุณหมอ และ คุณคนไข้ที่รัก
การรักษาจะได้ผลดี หมอต้องทราบว่าผู้ป่วยมีสิทธิ 9 ข้อ และ คนไข้ต้องร่วมมือในการรักษา โดยมีข้อพึงปฏิบัติ 7 ข้อ

ทุกอย่างต้องมีส่วนร่วมและเข้าใจกัน..ทั้งสองฝ่าย

เครดิต
https://www.facebook.com/ittaporn/media_set?set=a.964122083648598.1073743171.100001524474522&type=3&pnref=story&__mref=message

 

 
 


 
.............................................


สิทธิผู้ป่วย

แพทยสภา สภาการพยาบาล สภาเภสัชกรรม ทันตแพทยสภา กระทรวงสาธารณสุข

ร่วมกันประกาศสิทธิผู้ป่วย 16 เมษายน 2541

สิทธิ หมายถึง ความชอบธรรมที่บุคคล ใช้ยันกับผู้อื่นเพื่อคุ้มครอง หรือ รักษาผลประโยชน์ อันเป็นส่วนพึงได้ของบุคคลนั้น

สิทธิผู้ป่วย จึงหมายถึงความชอบธรรมที่ผู้ป่วยจะพึงได้รับเพื่อคุ้มครองหรือรักษาผลประโยชน์อันพึงมีพึงได้ของตนเอง โดยไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น

1. ผู้ป่วยทุกคนมีสิทธิพื้นฐานที่จะได้รับบริการด้านสุขภาพ ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
คำอธิบาย ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540
“บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานและผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ
การบริการทางสาธารณสุขของรัฐต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพโดยจะต้องส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ เอกชนมีส่วนร่วมด้วยเท่าที่จะกระทำได้
การป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตรายรัฐต้องจัดให้แก่ประชาชน โดยไม่คิดมูลค่าและทันต่อเหตุการณ์ ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ”

2. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับบริการจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ เนื่องจาก ความแตกต่างด้าน ฐานะ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา ลัทธิการเมือง เพศ อายุ และลักษณะของความเจ็บป่วย
คำอธิบาย ผู้ป่วยทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับบริการสุขภาพในมาตรฐานที่ดีที่สุดตามฐานานุรูป โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติทั้งนี้ มิได้หมายรวมถึง สิทธิอื่น ๆ ที่อยู่นอกเหนือบทบัญญัติของกฎหมาย เช่น การไม่ต้องชำระค่ารักษาพยาบาล การพักในห้องพิเศษต่าง ๆ และ บริการพิเศษอื่น ๆ เป็นต้น

3. ผู้ป่วยที่ขอรับบริการด้านสุขภาพมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลอย่างเพียงพอและชัดเจน จาก ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเลือกตัดสินใจในการยินยอมหรือไม่ยินยอม ให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพปฏิบัติต่อตน เว้นแต่เป็นการช่วยเหลือรีบด่วนหรือจำเป็น
คำอธิบาย ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพมีหน้าที่ต้องอธิบายให้ผู้ป่วยทราบถึงอาการการดำเนินโรค วิธีการรักษา ความยินยอมของผู้ป่วยนั้นจึงจะมีผลตามกฎหมายยกเว้นเป็นการช่วยเหลือในกรณีเร่งด่วนฉุกเฉิน ตามข้อ 4

4. ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะฉุกเฉินเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต มีสิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือรีบด่วน จาก ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ โดยทันทีตามความจำเป็นแก่กรณี โดยไม่คำนึงว่าผู้ป่วยจะร้องขอความช่วยเหลือหรือไม่


5. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบชื่อ สกุล และประเภทของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพที่เป็น ผู้ให้บริการแก่ตน
คำอธิบาย ในสถานพยาบาลมีผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพต่าง ๆ หลายสาขาปฏิบัติงานร่วมกันในการช่วยเหลือ ผู้ป่วย ร่วมกับ บุคลากรผู้ช่วยต่าง ๆ หลายอาชีพ ซึ่งบ่อยครั้งก่อให้เกิดความไม่แน่ใจและความไม่เข้าใจแก่ ผู้ป่วยและ ประชาชนทั่วไป การกำหนดสิทธิข้อนี้ทำให้ผู้ป่วยกล้าที่จะสอบถามข้อมูลที่จะช่วยให้เกิดความเข้าใจและสามารถตัดสินใจเพื่อคุ้มครองความปลอดกัยของตนเอง โดยเฉพาะจากผู้ให้บริการซึ่งไม่มีคุณภาพเพียงพอ

6. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะขอความเห็นจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพอื่น ที่มิได้เป็นผู้ให้บริการแก่ตน และมีสิทธิในการขอเปลี่ยนผู้ให้บริการและสถานบริการ
คำอธิบาย ปัจจุบันผู้ป่วยยังมีความเกรงใจและไม่ตระหนักถึงสิทธินี้ ทำให้เกิดความไม่เข้าใจและความขัดแย้ง ขณะเดียวกันผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพจำนวนมากก็ยังมีความรู้สึกไม่พอใจเมื่อผู้ป่วยขอความเห็นจากผู้ให้บริการ สุขภาพผู้อื่นหรือไม่ให้ความร่วมมือในการที่ผู้ป่วยจะเปลี่ยนผู้ให้บริการหรือสถานบริการ การกำหนดสิทธิผู้ป่วยนี้จึงมีประโยชน์ที่จะลดความขัดแย้งและเป็นการ รับรองสิทธิผู้ป่วยที่จะเลือกตัดสินใจด้วยตนเอง

7. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง จากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยเคร่งครัด เว้นแต่จะ ได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยหรือการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
คำอธิบาย สิทธิส่วนบุคคลที่จะได้รับการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยนี้ถือเป็นสิทธิที่ได้รับการรับรองตามกฎหมายอาญามาตรา 323 พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร พ.ศ. 2540 ข้อบังคับแพทยสภาพ.ศ. 2526 ซึ่งถือว่าสังคมได้ให้ความสำคัญกับสิทธิผู้ป่วยในข้อนี้มาก เพราะถือว่าเป็นรากฐานที่ผู้ป่วยให้ความไว้วางใจต่อแพทย์

8. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับข้อมูลอย่างครบถ้วนในการตัดสินใจเข้าร่วม หรือถอนตัวจากการเป็นผู้ถูกทดลองในการทำวิจัยของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ

9. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะของตน ที่ปรากฏในเวชระเบียนเมื่อร้องขอ ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวต้องไม่เป็นการละเมิดสิทธิส่วนตัวของบุคคลอื่น
คำอธิบาย ข้อมูลที่ปรากฏในเวชระเบียนถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเจ้าของประวัติมีสิทธิที่จะรับทราบข้อมูลนั้นได้ ทั้งนี้รวมถึงกรณีผู้ป่วยยินยอมให้เปิดเผยข้อมูลของตนต่อบุคคลที่สาม เช่นในกรณีมีการประกันชีวิตหรือสุขภาพ

10. บิดามารดาหรือผู้แทนโดยชอบธรรม อาจใช้สิทธิแทนผู้ป่วยที่เป็นเด็กอายุยังไม่เกินสิบแปดปีบริบูรณ์ ผู้บกพร่องทางกายหรือจิต ซึ่งไม่สามารถใช้สิทธิด้วยตนเอง



::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::
 

ข้อสังเกตคลินิก ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข

๑.มีป้ายชื่อสถานพยาบาลและเลขที่ใบอนุญาต ๑๑ หลัก ติดไว้หน้าคลินิก

๒.แสดงใบอนุญาต ให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล

๓.แสดงใบอนุญาต ให้ดำเนินการสถานพยาบาล

๔.แสดงหลักฐานการชำระค่าธรรมเนียมประจำปี ของปีปัจจุบัน

๕.แสดงรูปถ่ายของผู้ประกอบวิชาชีพ พร้อม ชื่อและเลขที่ใบประกอบวิชาชีพ

๖.แสดงอัตราค่ารักษาพยาบาล และ สามารถสอบถามอัตราค่ารักษาได้

๗.แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับ สิทธิผู้ป่วย ในที่เปิดเผยและเห็นง่าย

 

อ้างอิง:

คู่มือประชาชนในการเลือก คลินิก ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข

สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข

โทร02 193 7000 ต่อ 18416 - 7

www.mrd.go.th

FB@สารวัตรสถานพยาบาลOnline

https://www.facebook.com/สารวัตรสถานพยาบาล-Online-1502055683387990/

 

:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::


คู่มือประชาชนในการเลือก คลินิก ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=07-07-2017&group=15&gblog=80
ช่องทางร้องเรียนเกี่ยวกับ ...ยา ....หมอ ....คลินิก .....โรงพยาบาล ...
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-02-2009&group=7&gblog=18
ไปคลินิกแล้ว จะดูอย่างไรว่า ผู้ที่ตรวจรักษา เป็น หมอจริง ?
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=10-07-2020&group=7&gblog=238
แขวนป้ายแขวน ใบว. ถ้ารู้แล้วยืนยันจะเสี่ยงก็ไม่ว่ากัน
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=12-11-2015&group=7&gblog=193
ข้อแนะนำก่อนจะพบแพทย์กระดูกและข้อ
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-07-2008&group=7&gblog=3
ข้อแนะนำเมื่อต้องรับการรักษา
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=24-12-2007&group=4&gblog=2
คำถาม..ที่ควรรู้..คำตอบ
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=03-01-2008&group=4&gblog=3
เคล็ดลับ20 ประการ ที่จะช่วยคุณ "ป้องกันความผิดพลาดทางการแพทย์ในการเข้ารับบริการสุขภาพ "...
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cmu2807&month=10-2010&date=19&group=27&gblog=52
หมอคนไหนดี“ ??? .... คำถามสั้น ๆ ง่ายๆ แต่ ไม่รู้จะตอบอย่างไร ..
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=14-01-2012&group=15&gblog=42
ผลของการรักษาโรค
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cmu2807&month=01-2008&date=05&group=27&gblog=22
 ข้อเท็จจริงในการดูแลรักษาโรคภัยไข้เจ็บโดยแพทย์
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cmu2807&month=06-2013&date=11&group=27&gblog=12
ฉลาดเลือกใช้...การแพทย์ทางเลือกโดยอ.ประมาณ เลืองวัฒนะวณิช
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-09-2011&group=7&gblog=149
หน้าที่อันพึ่งปฏิบัติของผู้ป่วย(มิย.๖๓) สิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย(สค.๕๘) สิทธิผู้ป่วย(เมย.๔๑)
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=23-12-2007&group=4&gblog=1
ความรู้เกี่ยวกับใบรับรองแพทย์
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=06-01-2008&group=4&gblog=5
 




 

Create Date : 23 ธันวาคม 2550   
Last Update : 10 กรกฎาคม 2563 21:36:07 น.   
Counter : 18662 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 763 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]