Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

องค์กรที่ให้บริการปรึกษาและทำงานด้านเอดส์



ผมเก็บไว้นานแล้ว ไม่แน่ใจว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง แล้วนะครับ .....

องค์กรที่ให้บริการปรึกษาและทำงานด้านเอดส์

• การส่งต่อเพื่อรับการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องแก่ผู้ติดเชื้อและครอบครัว

1. ศูนย์ปรึกษาสุขภาพแอคเซส
บริการ
1. บริการปรึกษาทางโทรศัพท์ 245-0004-5 ทุกวัน 16.00 - 21.00 น.
2. การปรึกษาที่ศูนย์ โดยมีการนัดหมายล่วงหน้า และจะให้ความช่วยเหลือหรือส่งต่อหน่วยงาน ต่าง ๆ
3. เยี่ยมบ้าน
4. บริการตรวจสุขภาพ และให้คำแนะนำการดูแลรักษาสุขภาพ
คลินิคแอคเซส : วันอาทิตย์ 13.00 - 19.00 น.

2. มูลนิธิดวงประทีป
บริการ
1. บริการปรึกษาทุกวัน 08.00 - 17.00 น.
2. เยี่ยมบ้าน
3. ประสานงานกับโรงพยาบาลกรณีส่งต่อคนไข้ (รพ. บำราศนราดูร, ราชวิถี)
4. กองทุนสงเคราะห์อาชีพ
ติดต่อ
คุณนิตยา พร้อมพอชื่นบุญ
34/4 มูลนิธิดวงประทีป ถ. อาจณรงค์ คลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทร. 249 - 3553, 249 - 4880, 249 - 8842, 671- 4045-8, Fax 5254

3. ศูนย์ตรวจและป้องกันโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องเพื่อชุมชน (ACT CENTER)
บริการ
1. ตรวจเลือด HIV ฟรี (เวลา 13.00 - 17.00 น.)
2. บริการปรึกษาก่อนแต่งงานและหลังตรวจเลือด (เวลา 13.00 - 17.00 น.)
3. คลินิกรักษาโรคทั่วไป (เวลา 17.30 - 09.30 น.)
4. กองทุนสงเคราะห์
- ด้านอาชีพ ขึ้นอยู่กับความถนัดของแต่ละบุคคล อุปกรณ์ทุนหมุนเวียน ไม่เกิน 6,000 บาท
- ให้นมเด็กในช่วง 6 เดือนแรก
5. เยี่ยมบ้าน
6. ประสานงานกับโรงพยาบาลกรณีส่งต่อคนไข้ (รพ.จุฬา)
ติดต่อ
คุณสุพจน์ บุญเต็ม
แฟลต 14 ชั้นล่าง ถ. อาจณรงค์ คลองเตย กทม. 10110 โทร. 249 - 5250
หรือสาขาเชียงใหม่ ติดต่อ คุณปราโมทย์ หรือคุณหมอพล (053) 214 - 648

4. CHRITIAN OUTREACH (คริสเตียนเอาท์รีช)
บริการ
1. เยี่ยมบ้าน
2. นมผงสำหรับเด็ก (ตามพัฒนาการของเด็กจนถึงขวบครึ่ง)
3. ประสานงานกับกรมสวัสดิการแรงงาน และกรมประชาสงเคราะห์
ติดต่อ
คุณมยุรี บุญยสมภพ
808 ซ. วิจิตรชัย ถ. ประชาอุทิศ ห้วยขวาง กทม. 10310
โทร. 276 - 8660, 691 - 0348

5. ศูนย์บรรเทาใจ
บริการ
1. บริการปรึกษาทางโทรศัพท์ ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
2. บ้านพักชั่วคราว (ระยะเวลาขึ้นอยู่กับประเด็นของปัญหา)
3. กองทุนส่วนตัว
ติดต่อ
คุณวิบูลชัย วันอังคาร - เสาร์ 09.00 - 17.00 น.
124/96 หมู่ 4 ซ. เรวดี 24 ต.ตลาดขวัญ อ. เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทร. 580 - 7032 Fax 580 - 7549

6. บ้านพักใจ
บริการ
1. บ้านพักชั่วคราว
- คนที่มาโรงพยาบาลหรือพบแพทย์ กำหนดให้ 7 วัน
- คนที่อยู่ระยะยาว มี 3 เดือน, 5 เดือน, 1 ปี โดยต้องให้เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือน เป็นค่าเช่า
2. บริการปรึกษาทางโทรศัพท์ และพบที่ศูนย์ จันทร์ - ศุกร์ (08.00 - 16.00 น. )
ติดต่อ
- คุณคมคาย ตู้ ปณ. กลาง 2878 บางรัก กรุงเทพฯ 10500
โทร. 243 - 2381, 234 - 8258
- บ้านพักใจ จ. อุดรธารี ติดต่อ คุณรัตกุล ตู้ ปณ. 2 อ. เมือง จ. อุดรธารี
โทร. 234 - 2381, 234 - 8258
- บ้านพักใจ จ. หนองคาย ติดต่อ คุณสายสุนี ตู้ ปณ. 31 อ. เมือง จ. หนองคาย
โทร. (042) 412 - 349

7. บ้านพักฉุกเฉิน
บริการ
1. ที่พักสำหรับหญิงที่ประสบปัญหาครอบครัวและที่อื่น ๆ
2. ฝึกอาชีพ
3. บริการนอกสถานที่ (จะมีโต๊ะบริการที่หมอชิต และหัวลำโพง)
ติดต่อ
- นักสังคมสงเคราะห์
501/1 หมู่ 3 ถ.เดชุตุงคะ แขวงทุ่งสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ 10210
โทร. 566-1564
- สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี โทร. 566 - 2288

8. โครงการธรรมรักษ์นิเวศ (บ้านพักผู้ป่วยระยะสุดท้าย)
บริการ
1. บ้านพักผู้ป่วย
2. สถานพยาบาล
3. กิจกรรมอื่น ๆ สำหรับผู้ที่ติดเชื้อ เช่น สวดมนต์ เดินจงกรม โยคะ ออกกำลังกายต่าง ๆ
เงื่อนไขของผู้เข้ารับบริการ
1. ต้องมีใบรับรองจากทางโรงพยาบาลว่าป่วยจริง
2. สำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประชาชน
3. ที่อยู่ที่แน่นอน และสามารถติดต่อได้
โครงการธรรมรักษ์นิเวศจะพิจารณาผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในจำนวนที่จำกัด เนื่องจากมีเพียง 15 - 16 เตียง
โดยพิจารณาจากการเรียงคิวไว้ในการขอเข้ารับบริการรักษา หรือในกรณีที่ป่วยหนักมากจะดูว่า ขณะนั้นมีเตียงว่างอยู่หรือไม่ และมีการประสานงานกับ โรงพยาบาลพบุรี และ โรงพยาบาลอนันทมหิดล หลังจากดูแลรักษา ถ้ามีผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นจะให้กลับบ้านได้ หรือในกรณีของผู้ป่วยที่ไม่มีญาติ และมีความ ประสงค์ จะอยู่ต่อก็จะให้เป็นอาสาสมัคร พร้อมกับประเมินพฤติกรรมเป็นรายเดือนไปว่า มีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใดในการให้อยู่ต่อ
ติดต่อ
โครงการธรรมรักษ์นิเวศ วัดพระบาทน้ำพุ ตู้ ปณ. 83 อ. เมือง จ. ลพบุรี
โทร. (01) 942 - 5479 (ฝ่ายเลขา)
(01) 353 - 3154 (ฝ่ายโรงพยาบาล)
(01) 495 - 3838 (ฝ่ายธุรการ) Fax (036) 413 - 805

9. สวนสันติธรรม
บริการ
1. บ้านพักผู้ป่วยระยะสุดท้าย (ทั้งชายและหญิง)
2. ประสานงานกับโรงพยาบาลบำราศนราดูร, โรงพยาบาลจุฬาฯ
ติดต่อ
คุณกมล สีชมพู
48 หมู่ 9 ต.ลำลูกกา จ. ปทุมธานี 12150
โทร. 563 - 1202

10. COMUNITA IN CONTRO (คอมมูนนิต้า อิน คอนโทรล)
บริการ
เป็นที่ดักและให้การช่วยเหลือผู้ติดเชื้อที่ติดยาเสพติด (เฉพาะเพศชายเท่านั้น)
ติดต่อจันทร์ - เสาร์ เวลาเช้า 08.00 - 12.00 น. เวลาบ่าย 15.30 - 18.30 น.
ติดต่อ โดยตรงที่ศูนย์ ใกล้ส่วนสันติธรรม โทร. 563 - 1006 - 09

11. ศูนย์พัฒนาสุขภาพและอนามัย
บริการ
1. บริการปรึกษา วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.00 - 18.00 น.
2. ฝึกอาชีพ
3. เยี่ยมบ้าน
4. ประสานงานกับโรงพยาบาลเพื่อส่งต่อคนไข้
ติดต่อ
คุณประภัทรภร แซ่เจี่ยม
100/11 ถ. ดำรงลัทธพิพัฒน์ เคหะคลองเตย 4 กรุงเทพฯ 10110
โทร. 671 - 5313

12. บ้านพระคุณ
บริการ
1. ให้ความช่วยเหลือด้านอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่พัก แก่หญิงที่ตั้งครรภ์นอกสมรส สามีทอดทิ้ง, ผู้ไม่ต้องการเปิดเผยการตั้งครรภ์ จำนวนจำกัด (ไม่เกิน 7 คน)
2. ประสานงานกับโรงพยาบาลนพรัตน์เพื่อส่งต่อคนไข้
ติดต่อ
คุณสุดใจ นาคเพียร, คุณจิราภรณ์ เผือกหลวง, คุณขวัญทอง ชัยสิทธิ์ ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง
34/294 หมู่บ้านโอสถิต 5 ลาดพร้าว 53 โชคชัย 4 บางกะปิ กทม. 10310
โทร. 538 - 8875

• กรณีที่เด็กเกิดจากแม่ติดเชื้อและถูกทอดทิ้ง
บ้านธารน้ำใจ
- เป็นสถานที่เลี้ยงดูทารกที่คลอดจากมารดาที่ติดเชื้อเอดส์ และถูกทอดทิ้งไว้ตามโรงพยาบาลต่าง ๆ
- ดูแลให้ความอบอุ่นแก่ทารกที่คลอดจากแม่ที่ติดเชื้อเอดส์แล้วทอดทิ้ง
- จัดหาครอบครัวให้แก่เด็กที่ไม่ติดเชื้อจากแม่ หลังจากอายุ 18 เดือนแล้ว และผลการตรวจเลือดยืนยันว่าไม่ติดเชื้อจากมารดา
- เพื่อแบ่งเบาภาระการเลี้ยงดูทารก เนื่องจากโรงพยาบาลต่าง ๆ มีทารกที่ถูกทิ้งไว้เป็นจำนวนมาก และไม่สามารถดูแลให้ความอบอุ่นได้เพียงพอ
บ้านธารน้ำใจดำเนินการโดยสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน (PDA) ซึ่งจะสนับสนุนด้านสื่อเกี่ยวกับเอดส์ กามโรค และไวรัสตับอักเสบบีในราคา 200 บาท โดยทราบผลทันที มีบริการปรึกษาทั้งก่อนตรวจ และหลังตรวจเลือดและส่งต่อผู้ใช้บริการ ให้กับคลินิกนิรนามสภากาชาดไทย (PDA) มีคุณมัชัย วีรไวทยะ เป็นประธาน ได้รับความร่วมมือจากกรมประชาสงเคราะห์ และสภากาชาดไทย
ติดต่อ
เลขที่ 8 สุขุมวิท 12 กทม. 229 - 4611 - 2
หมายเหตุ
กรณีจะต้องส่งต่อผู้รับบริการเพื่อเข้ารับบริการของบ้านธารน้ำใจ กรุณาติดต่อ บ้านราชวิถี กรมประชาสงเคราะห์
กรณีตั้งครรภ์และติดเชื้อ HIV สามารถส่งต่อไปยังแผนกสูตินรีเวช ของโรงพยาบาลรัฐบาล และเอกชน ตามความสะดวก และความพร้อมของผู้บริการ
กรณีตั้งครรภ์ ติดเชื้อ HIV และมีความต้องการทำแท้ง นัดหมายให้ผู้รับบริการมาพบเจ้าหน้าที่เพื่อรับบริการปรึกษาโดยตรงที่ศูนย์ก่อน กรณีแม่ที่ติดเชื้อและมีบุตรระหว่างแรกเกิด - 5 ขวบ ต้องการพาบุตรไปตรวจ HIV หรือตรวจรักษาสามารถพาไปยังสถานพยาบาลต่าง ๆ ได้ดังต่อไปนี้
1. โรงพยาบาลศิริราช ชั้น 3 ซึ่งกรณีนี้แม่ที่ติดเชื้อสามารถที่จะรับการตรวจสุขภาพหรือรักษาพยาบาลได้ในขณะเดียวกัน ที่คลินิก 447 ชั้น 4 ตึกผู้ป่วยนอก ซึ่งจะสะดวกมากถ้าแม่ที่ติดเชื้อ จะทำการติดต่อและทำบัตรที่
2. โรงพยาบาลเด็ก ชั้น 2 ตึกผู้ป่วยนอกเฉพาะวันอังคาร - พุธ เวลา 13.00 - 16.00 น.
3. โรงพยาบาลจุฬาฯ ชั้น 9 ตึกผู้ป่วยนอก วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.00 - 12.00 น.
(เด็กจะสามารถตรวจเลือดเพื่อดูว่าติดเชื้อจากแม่ได้ หลังจากเด็กอายุ 1 ปี ครึ่งไปแล้ว)

• กรณีให้คำปรึกษาด้านอื่น ๆ
มีศูนย์ที่ให้บริการปรึกษาทางโทรศัพท์ ในกรณีที่มีปัญหาทางด้านจิตเวช คิดฆ่าตัวตาย เศร้า เหงา ปัญหาคู่สมรส ปัญหาวัยรุ่น ดังนี้

1. สมาริตันส์
บริการ
จันทร์ - พฤหัสบดี เวลา 14.00 - 22.00 น.
ศุกร์ - เสาร์ เวลา 14.00 - 07.00 น.
ติดต่อ
สมาริตันส์ มีองค์กรแม่อยู่ที่ประเทศอังกฤษ ตั้งมาได้ 42 ปี และมีสาขาอื่น ๆ อยู่ทั่วโลก สำหรับในประเทศไทยตั้งมาได้ 17 ปี นายแพทย์อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม เป็นนายกสมาคมร่วมมือก่อตั้งองค์กรกับชาวต่างชาติ สมาริตันส์ในประเทศไทย มีสาขาอยู่ที่เชียงใหม่แห่งหนึ่ง ลักษณะการให้บริการปรึกษาจะเน้นปัญหา การฆ่าตัวตาย ให้บริการ วันอังคาร พุธ เสาร์ เวลา 18.00 - 22.00 น.

2. ศูนย์ฮอทไลน์
บริการ
จันทร์ - ศุกร์ เวลา 12.00 - 19.00 น.
เฉพาะวันเสาร์ เวลา 10.00 - 19.00 น.
ติดต่อ
67/55 ถ.สุขาภิบาล 1 บึ่งกุ่ม กรุงเพทฯ 10240
โทร. 375 - 4955, 377 - 0073
ฮอทไลน์ มีคุณอรอนงค์ อินทรวิจิตร เป็นผู้อำนวยการ มีสาขาต่างจังหวัดที่เชียงใหม่ หาดใหญ่ ของแก่น
“บ้านพักของวันพรุ่งนี้” โดยรับผู้หญิง เด็ก แม่และเด็กที่มีปัญหาถูกล่อลวง ข่มขืน การอพยพใช้แรงงาน ปัญหาผู้ติดเชื้อเข้าอยู่ มีการประสานงานกับกรมประชาสงเคราะห์ จังหวัดในการให้งานทำกับผู้ที่เข้าไปใช้บริการ เช่น เย็บผ้า งานฝีมือ และมีการจัดหาตลาดให้

3. ศูนย์โฮปไลน์
บริการ
จันทร์ - ศุกร์ เวลา 12.00 - 20.00 น.
เฉพาะวันเสาร์ เวลา 10.00 - 19.00 น.
ติดต่อ
67/55 ถ.สุขาภิบาล 1 บึ่งกุ่ม กรุงเทพฯ 10240
โทร. 375 - 4955, 377 - 0073
โฮปไลน์ มีอาจารย์ อนุกูล เป็นที่ปรึกษา เกิดขึ้นโดยการรวบรวมนักศึกษาที่จบทางด้านจิตวิทยา มาเป็นเจ้าหน้าที่ อาสาสมัคร โดยมีการอบรมกับจิตแพทย์ คือ นายแพทย์ประยุกต์ เสรีเสถียร จากโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา

4. สายด่วนวัยรุ่น
บริการ
จันทร์ - ศุกร์ เวลา 09.00 - 21.00 น.
ติดต่อ
โทร. 275 - 6993 - 9
สายด่วนวัยรุ่น เป็นองค์การเยาวชนไทย เพื่อพระคริส มีอาจารย์นิติเชต สุดุดีวงษ์ เป็นผู้อำนวยการ มีเจ้าหน้าที่ให้บริการปรึกษา นอกจากนี้มีการส่งต่อกับหน่วยงานอื่น ๆ เช่น กามโรค ACT CENTER คลินิกนิรนาม
5. ศูนย์ปรึกษาสุขภาพจิต (โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา)
บริการ
จันทร์ - ศุกร์ เวลา 18.30 - 13.00 -06.00 น.
ติดต่อ
โทร. 437 - 7061

• กองทุนสงเคราะห์สำหรับผู้ติดเชื้อและครอบครัว

1. ทุนประกอบอาชีพ (ทุนประกอบอาชีพของรัฐบาล) กรมสวัสดีการและคุ้มครองแรงงาน
บริการ
ช่วยเหลือครอบครัวผู้ใช้งาน โดยมีเงื่อนไขดังนี้ คือ
1. ตรวจเลือดที่โรงพยาบาลพบว่ามีเชื้อ
2. เขียนแบบฟอร์มขอทุนด้วยตนเอง
3. ให้ทางโรงพยาบาลยืนยันเกี่ยวกับผลเลือด
ติดต่อ
กรมประชาสงเคราะห์
โทร. 2230-01689, 221 - 6871
กรณีต่างจังหวัด สำนักคุ้มครองแรงงานและสวัสดีภาพจังหวัด
โทร. 281 - 0969, 281 - 3199 ต่อ 6301 - 8 ในวันเวลาราชการ
2. บริการฝึกอาชีพและแหล่งงาน
2.1 สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ถนนมิตรไมตรี ดินแดง กทม. 10400 โทร. 245 - 1704
โดยผู้ขอใช้บริการต้องมีอายุระหว่าง 15 - 25 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษากรณีต้องการอาชีพสามารถติดต่อได้โดยตรงที่สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานกลาง ในวัน เวลาราชการ
2.2 กองการจัดหางาน (กระทรวงแรงงาน) ถนนมิตรไมตรี ดินแดน กทม. 10400 โทร. 246 - 2992 หรือที่หน่วยงานใหญ่ โทร. 245 - 1823 ในวันเวลาราชการ นอกจากนี้ยังมีบริการอยู่ตามเขตต่าง ๆ โดยทั่วไป


• กรณีปัญหาทางกฎหมาย การละเมิดสิทธิ์

1. ศูนย์คุ้มครองสิทธิ์ด้านเอดส์
บริการ สำหรับผู้ติดเชื้อเอดส์ และครอบครัวที่ถูกละเมิดสิทธิสำหรับประชาชนทั่วไปที่ได้รับความเดือดร้อนจากผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยเอดส์
ติดต่อ คุณศิริพรรณ ปฏิมานุเกษม โทร. 245 - 8700, 246 - 8701

2. เพื่อนหญิง
บริการ ให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมาย สำหรับหญิงที่ถูกข่มขืน ถูกทารุณกรรมและปัญหาครอบครัว
ติดต่อ โทร. 270 - 0928 จันทร์ - ศุกร์ เวลา 09.00 - 17.00 น.

3. มูลนิธิผู้หญิง
บริการ ให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมาย สำหรับหญิงที่ถูกข่มขืน ถูกทารุณกรรมและปัญหาโสเภณี
ติดต่อ 433 - 5149 จันทร์ - ศุกร์ เวลา 09.00 - 17.00 น.

4. ศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก
บริการ
1. ให้การช่วยเหลือเด็กที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิด - 18 ปี สำหรับเด็กที่ถูกทารุณกรรม ถูกล่วงเกินทางเพศ การใช้
แรงงานเด็ก โสเภณีเด็ก และกรณีอื่น ๆ
2. บ้านพักมีการตรวจสุขภาพและร่างกายทั่วไป ประสานงานกับโรงพยาบาลศิริราช
3. อาชีพ
4. ฟื้นฟูสภาพจิตใจ
ติดต่อ
ฝ่ายช่วยเหลือ 184/16 ถนนจรัลสนิทวงศ์ 122 แขวงท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ 10110
โทรสาร 4122 - 9833

*************************


1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์และท้องไม่พร้อม
https://www.facebook.com/1663telephonecsg/


เปิดศูนย์ “1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์” หวังคนเข้าถึงบริการด้านเอชไอวี/เอดส์ มากขึ้น

28 Jul 2012

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย และมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ เปิดศูนย์ “1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์” วันที่ 31 พฤษภาคม 2555 ณ ที่ทำการศูนย์ “1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์” มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายวิทยา บุรณศิริ ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน

นายวิทยา บุรณศิริ กล่าวว่า การมีศูนย์ “1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์” นี้ นับว่าเป็นสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพของประชาชนที่รัฐบาลเห็นความสำคัญและจัดบริการให้เพื่อคลี่คลายสถานการณ์ปัญหาเรื่องเอชไอวี/เอดส์ เพราะเมื่อประชาชนเข้าถึงบริการปรึกษาและได้รับการรักษาโดยเร็วก็จะช่วยให้เกิดการป้องกันซึ่งจะช่วยลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ ในขณะเดียวกันผู้ที่ติดเชื้อแล้วก็จะเข้าถึงบริการรักษาได้อย่างทันท่วงที ไม่เจ็บป่วย ไม่เสียชีวิต

ดังนั้น ศูนย์ “1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์” จึงถือเป็นช่องทางสำคัญที่จะช่วยให้ประชาชนเข้าถึงบริการตรวจรักษาเรื่องเอชไอวี/เอดส์ได้เร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ในการคลี่คลายปัญหาเอดส์ให้ลุล่วงและสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน หน่วยบริการต่างๆ ทั้งในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและกระทรวงสาธารณสุขจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องประสานความร่วมมือ รับช่วงต่อจากศูนย์ “1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์” ในการให้บริการประชาชน และพัฒนาระบบการรับและส่งต่อผู้รับบริการที่ได้รับการปรึกษาจากศูนย์ 1663 แล้วให้มีความสะดวกรวดเร็วในการเข้าถึงการตรวจรักษา รวมถึงพัฒนาบุคลากรในหน่วยงานให้มีความรู้ ความเข้าใจ ให้บริการด้วยความเป็นมิตรและรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้รับบริการเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการด้วยความสะดวกรวดเร็วและสบายใจ

นายแพทย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ศูนย์ “1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์” เกิดขึ้นจากแนวคิดและความร่วมมือขององค์กร หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงคนทำงานด้านเอดส์ ที่ต้องการให้ประชาชนข้าถึงบริการปรึกษาเรื่องเอชไอวี/เอดส์เพื่อลดปัญหาดังกล่าวในระดับประเทศ ทั้งนี้ สถานการณ์เรื่องเอดส์ในประเทศไทยพบว่า ไทยมีผู้ติดเชื้อที่ยังมีชีวิตอยู่ราว 500,000 ราย แต่มีเพียง 2 แสนรายเท่านั้นที่เข้าถึงบริการด้านสาธารณสุข ในขณะที่อีก 3 แสนรายที่ยังไม่เข้าสู่ระบบการรักษานั้นมีทั้งกลุ่มคนที่ไม่ทราบว่าตัวเองมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี กลุ่มคนที่อาจจะประเมินได้ว่าตัวเองมีความเสี่ยงแต่ไม่กล้าไปรับบริการปรึกษาและตรวจเลือดที่หน่วยบริการ และกลุ่มคนที่อาจจะทราบผลเลือดของตัวเองแล้วแต่ไม่มีข้อมูลเรื่องการดูแลรักษา ดังนั้น การมีศูนย์ “1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์” จึงจะช่วยให้ประชาชนทั้งสามกลุ่มมีทางออกในการจัดการปัญหาและวางแผนดูแลสุขภาพของตัวเองได้ไม่ว่าจะติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่ก็ตาม

ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ประพันธ์ ภานุภาค ประธานกรรมการศูนย์ “1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์” ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ศูนย์ “1663” เปิดให้บริการทุกวันตั้งแต่ 10.00 -20.00 น.เป็นบริการไม่ถามชื่อ และเมื่อผู้รับบริการได้รับการปรึกษาและมีความประสงค์จะตรวจเลือดเพื่อหาการติดเชื้อเอชไอวีก็สามารถนำรหัสที่ได้จากศูนย์ 1663 ไปรับบริการยังหน่วยบริการได้โดยที่หน่วยบริการจะประเมินความพร้อมเบื้องต้นต่อจากที่ศูนย์ 1663 อีกครั้ง ซึ่งในอนาคตทางศูนย์จะประสาน ช่วยลดความซ้ำซ้อนในการให้บริการปรึกษาเพื่อเพิ่มความสะดวกให้แก่ผู้รับบริการและเจ้าหน้าที่ในหน่วยบริการซึ่งทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการเรื่องการตรวจรักษาเอชไอวี/เอดส์มากขึ้น


https://www.thaiplus.net/?q=node/30

..............................................

เอดส์ ( AIDS)

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=26-03-2008&group=4&gblog=27

ข้อควรรู้ก่อนการตรวจโรคเอดส์

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=26-03-2008&group=4&gblog=26

แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับโรคเอดส์ ... ของแพทย์ ... แต่ ประชาชน ก็ควรรู้

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=09-09-2012&group=4&gblog=96

องค์กรที่ให้บริการปรึกษาและทำงานด้านเอดส์

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=26-03-2008&group=4&gblog=28





 

Create Date : 26 มีนาคม 2551   
Last Update : 18 เมษายน 2561 22:42:56 น.   
Counter : 4377 Pageviews.  

เอดส์ ( AIDS )

 

เอดส์ ( AIDS )

AIDS เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากเชื้อไวรัส HIV (human immunodefficiency virus) ซึ่งจะทำลายระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกายอ่อนแอลงเนื่องจากภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้นเหตุให้เกิดการติดเชื้อ และโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา ผู้ป่วยที่เป็นโรคเอดส์ จึงไม่ได้เสียชีวิตจากโรคเอดส์ แต่จะเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนและการติดเชื้อ

เนื่องจากไวรัสเอดส์ มิได้ทำให้เกิดโรคกับคนโดยตรง แต่จะทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่องเสียหายไป อาการของผู้ป่วยเอดส์จึงไม่มีอาการเฉพาะ ที่จะบอกได้ว่าเป็นโรคเอดส์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าเชื้อโรค ที่ฉวยโอกาสทำให้เกิดโรคในผู้ป่วยเอดส์นั้นเป็นเชื้ออะไร ดังนั้นผู้ป่วยเอดส์จึงมีอาการได้มากมายหลายระบบ เช่น ไข้ ผื่นขึ้นตามตัว ปอดอักเสบ ท้องเสียเรื้อรัง ผอมลงและน้ำหนักตัวลออย่างรวดเร็ว หรือมะเร็งบางชนิด อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างก็ได้

จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า เมื่อใดก็ตามที่เราได้รับเชื้อไวรัส HIV เชื้อไวรัสตัวนี้ก็จะอยู่ในร่างกาย ของเราไปตลอดชีวิต ในปัจจุบันยังไม่สามารถค้นพบวิธีกำจัดเชื้อไวรัสและยังคงไม่สามารถรักษาคนไข้โรคเอดส์ให้หายขาดได้



อาการและอาการแสดง การติดเชื้อ HIV แบ่งได้เป็น 2 ระยะ

ระยะแรก หลังจากได้รับเชื้อ ไวรัสเพิ่มจำนวนตรวจพบได้หลังติดเชื้อประมาณ 2 - 6 สัปดาห์ ผู้ติดเชื้อ ส่วนใหญ่มักจะยังไม่แสดงอาการของโรค แต่บางรายก็มีอาการไข้ อ่อนเพลีย หรือมีอาการทางประสาท

ระยะสอง เมื่อติดตามผู้ติดเชื้อประมาณ 5 ปี พบว่า แบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่ม คือ

1. กลุ่มที่ไม่อาการ พบได้ร้อยละ 45 -70
ผู้ที่ติดเชื้อร้อยละ 25 จะแสดงอาการโรคเอดส์อย่างชัดเจนในเวลา 5 ปี

2. กลุ่มที่มีอาการต่อมน้ำเหลืองโต

3. กลุ่มมีอาการสัมพันธ์กับโรคเอดส์ กลุ่มนี้จะมีอาการที่บ่งถึงการเพิ่มจำนวนของไวรัส และการติดเชื้อที่ระบบต่าง ๆ อาการที่พบเช่นไข้เรื้อรัง น้ำหนักตัวลดอย่างรวดเร็ว ต่อมน้ำเหลืองโต อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ เหงื่อออกมากตอนกลางคืน อาจพบอาการท้องร่วงเรื้อรัง หรือมีผื่นคัน

4. กลุ่มที่มีอาการชัดเจนสามารถวินิจฉัยได้ว่าเป็นเอดส์ ผู้ป่วยจะมีอาการทั่วไปเช่นเดียวกับกลุ่ม 3 แต่จะมีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องอย่างมาก แม้รักษาโรคเดิมหายก็มีโอกาสติดเชื้อใหม่หรือเป็นมะเร็งเกิดขึ้นอีก ผู้ป่วยเอดส์ร้อยละ 50 จะเสียชีวิตภายใน 1 ปี ร้อยละ 75 เสียชีวิตภายใน 3 ปี และ เกือบทั้งหมดเสียชีวิตภายในเวลา 5 ปี

5. กลุ่มที่มีอาการทางประสาท



การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

1. ตรวจหาภูมิคุ้มกัน หรือ แอนติบอดี้ (Antibodies) ต่อเชื้อ HIV เป็นวิธีที่นิยมใช้โดยทั่วไป

หลังจากได้รับเชื้อไวรัส ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกัน (แอนติบอดี้) ต่อเชื้อไวรัสนั้น ซึ่งจะเริ่มตรวจพบแอนติบอดี้หลังการติดเชื้อ 3 สัปดาห์ จนถึง 3 เดือน ( โดยปกติร่างกายจะเริ่มสร้าง Antibody หลังจากได้รับเชื้อไปราว 2 สัปดาห์ ระยะ 2-6 สัปดาห์จึงไม่ใช่ระยะฟักตัวของเชื้อ แต่เป็นระยะนับตั้งแต่ได้รับเชื้อ จนถึงระยะที่เชื้อแบ่งตัวออกมาอย่างมากมายในเลือด และเกิดอาการคล้าย ๆ ไข้หวัด ที่เรียกว่า Acute HIV symptoms ถ้าจะเรียกจริง ๆ ต้องเรียกว่าเป็น Window period ซึ่งเป็นระยะที่อาจไม่สามารถตรวจได้ว่า ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาแล้ว )

2. ตรวจหา ชิ้นส่วนของ HIVหรือ แอนติเจน (Antigen)

หลังจากได้รับเชื้อประมาณ 2 - 6 สัปดาห์ เชื้อไวรัสจะเพิ่มจำนวนในเซลส์อย่างมาก จนกระทั่งมีปริมาณมากพอที่จะสามารถแยกเชื้อไวรัสหรือตรวจพบแอนติเจนได้

วิธีการตรวจซึ่งถือว่าเป็นการตรวจมาตรฐาน สำหรับ HIV คือวิธี ELISA ซึ่งให้ผลดีมาก มี Sensitivity มากกว่า 99.5% แต่ Specificity ไม่ดีนัก

ดังนั้นหากผล ELISA test เป็นบวกหรือไม่แน่ใจควรได้รับการยืนยันโดยวิธี WESTERN BLOT ซึ่งจะให้ผลที่เชื่อถือได้มากกว่า

หากไม่สามารถยืนยันได้โดย WESTERN BLOT ( ผลเป็น INDETERMINATE ) ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจต่อไปโดยวิธี POLYMERASE CHAIN REACTION (PCR) นอกจากนั้นควรตรวจซ้ำใหม่โดย WESTERN BLOT อีก 1 เดือนถัดไป

อย่างไรก็ตาม antibodies ต่อเชื้อ HIV จะตรวจพบได้ในกระแสเลือดหลัง ติดเชื้อแล้วประมาณ 3 สัปดาห์ ถึง 3 เดือน ดังนั้นในรายที่สงสัยควรตรวจซ้ำหลังจากนั้น อีก 3 เดือน หาก ELISA test ครั้งแรกเป็นผลลบ

การตรวจ PCR แม้จะได้ผลเร็วกว่า Anti-HIV แต่ข้อด้อยของ PCR ก็คือ

1. การตรวจให้ผลบวก ต้องยืนยันซ้ำเสมอ เพราะการตรวจไวมาก อาจมีสิ่งที่เรียกว่า "ผลบวกลวง" ได้

การตรวจแม้จะทำให้ทราบผลได้เร็วกว่า เพราะ PCR จะตรวจพบ HIV antigen ก่อนที่ร่างกายจะสร้าง Antibody เพียงพอที่จะตรวจพบได้โดยการตรวจ Anti-HIV แต่ก็ทราบผลก่อนล่วงหน้าเพียง 2-5 สัปดาห์ ซึ่งระยะเวลาแค่นี้ไม่ได้มีความแตกต่างในแง่ของภูมิคุ้มกัน และการรักษาเลย

2. การตรวจ PCR ของ HIV ทำขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ในการตรวจหาเชื้อ HIV ก่อนที่ร่างกายจะสร้าง Anti-HIV จึงมีประโยชน์ในการตรวจผู้ที่จะบริจาคเลือด เพราะจะทำให้ทราบว่ามีเชื้อหรือไม่ก่อนที่ร่างกายจะสร้าง Anti-HIV เพราะมีคนจำนวนไม่น้อยที่ไปบริจาคเลือดหลังจากได้รับเชื้อ แต่ร่างกายยังไม่สร้าง Anti-HIV ( ช่วง 2-5 สัปดาห์หลังได้รับเชื้อ ) ถ้าธนาคารเลือดไม่ทราบแล้วนำไปให้ผู้ป่วยก็จะเป็นผลเสียร้ายแรง จุดประสงค์นี้ไม่ควรนำมาประยุกต์ใช้พร่ำเพรื่อเช่นการตรวจหาการติดเชื้อทั่ว ๆ ไป เพราะเป็นการสิ้นเปลืองแรงงาน เงิน และไม่ได้ประโยชน์ใด ๆ ในการรักษาด้วย การรู้ก่อน 2-3 สัปดาห์ ไม่ได้ทำให้การรักษาเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด



การติดต่อ

ไวรัสเอดส์ พบได้ในปริมาณสูงในเลือด, น้ำอสุจิ, น้ำหลั่งในช่องคลอด และน้ำหลั่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ในร่างกาย เช่น น้ำไขสันหลัง, น้ำในช่องปอด, น้ำในช่องท้อง, น้ำในช่องเยื่อหัวใจ นอกจากนี้ไวรัสเอดส์ยังพบได้อีกแต่ ในปริมาณน้อยในสิ่งเหล่านี้ เช่น น้ำนม, น้ำมูก, น้ำตา, น้ำลาย, เสมหะ. เหงื่อ, อุจจาระและปัสสาวะ
ดังนั้นไวรัสติดต่อโดย

1. การมีเพศสัมพันธ์กับผู้มีเชื้อไวรัสเอดส์

2. การใช้เข็มหรือของมีคมอื่นใดร่วมกับผู้มีเชื้อไวรัสเอดส์ รวมทั้งการรับเลือดจากผู้มีเชื้อไวรัสเอดส์

3. ทารกติดเชื้อไวรัสเอดส์จากมารดาซึ่งอาจเกิดขึ้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์ หรือระหว่างคลอด หรือดื่มนมมารดา ซึ่งอาจเกิดขึ้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์ หรือระหว่างคลอด หรือดื่มนมมารดาที่มีเชื้อไวรัสเอดส์



การป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอดส์

1. งดการสำส่อนทางเพศ

2. หากมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ไม่ใช้คู่ครองของตนเอง ต้องใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง

3. สตรีติดเชื้อไวรัสเอดส์ ควรขอคำแนะนำก่อนการตั้งครรภ์

4. หลักเลี่ยงการรับเลือดโดยไม่จำเป็นหากมีความจำเป็น ต้องเป็นเลือดที่ผ่านการทดสอบว่าปราศจากเชื้อไวรัสเอดส์แล้วเท่านั้น และจะปลอดภัยยิ่งขึ้น หากได้รับเลือดจากผู้ป่วยที่ไม่มีประวัติสำส่อนทางเพศ หรือติดยาเสพติด

5. หลีกเลี่ยงการใช้ของมีคมร่วมกัน เช่น เข็มฉีดยา มีดโกน รวมทั้งการฝังเข็ม และเจาะหู สักยันต์


แม้ว่าโรคเอดส์ จะเป็นโรคอันตรายร้ายแรง แต่เชื้อไวรัสเอดส์จะไม่ติดต่อจาก การรับประทานอาหารร่วมกัน การสัมผัส กอดรัด จับมือ นั่งใกล้ พูดคุยกับผู้ป่วยเป็นโรคเอดส์ หรือ การใช้ของใช้ที่ไม่มีคมร่วมกัน เช่น หวี เสื้อผ้า หรือการใช้ห้องน้ำ ห้องส้วม อีกทั้งเชื้อไวรัสเอดส์จะไม่ติด ต่อโดยผ่านแมลง เช่น ยุงหรือหมัด
ดังนั้นผู้ป่วยโรคเอดส์ จึงสามารถอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคมอย่างปกติ



การรักษาโรคเอดส์ในปัจจุบัน

ในปัจจุบัน ยาที่ใช้ยับยั้งไวรัสโรคเอดส์ (หรือ HIV) แบ่งได้เป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ คือ

กลุ่มแรก จะเป็นสารประกอบ ที่มีรูปร่างคล้ายกับวัตถุดิบตามธรรมชาติที่ไวรัส HIV ใช้ในการสร้างสารพันธุกรรมเพื่อการเจริญเติบโต แต่สารประกอบดังกล่าว จะมีพิษต่อไวรัส เช่นยาAZT ( Zidovudine )

กลุ่มที่สอง จะขัดขวางการทำงานของเอ็นไซม์โปรตีเอส จึงมีชื่อเรียกกันอย่างกว้างๆว่า "protease inhibitor"

ปัจจุบันได้มีการใช้ยาสองประเภทนี้ ควบคู่กัน ในการรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ระยะรุนแรง จากการทดลองในผู้ป่วยประมาณ 1,000 คน พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับยา ทั้งสองประเภทพร้อม ๆ กัน จะมีชีวิตยืนยาวกว่าผู้ป่วยที่ได้รับยา AZT เพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม เอดส์ยังเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด การให้ยาถือว่าเป็นเพียงการยืดเวลาให้กับผู้ป่วยเท่านั้น

ถึงแม้ว่าในขณะนี้จะค้นพบ วิธีชะลอการดำเนินของโรคให้ช้าลง โดยยา anti-virus เช่น AZT และ DDI ก็ตาม แต่ก็ยังไม่มีวิธีใด ที่ได้รับการรับรองว่าสามารถรักษาได้ผล 100% ดังนั้นในขณะนี้ การรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ จึงมุ่งเน้นไปที่จะพยายามลดความเสี่ยงต่างๆ ที่จะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน หรือ การติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้น



คำแนะนำการดูแลตนเอง

1. หลีกเลี่ยงการเป็นกามโรค และระวังไม่ให้ได้รับเชื้อเพิ่มมากขึ้น

2. หลีกเลี่ยงการรับเชื้อไวรัส เชื้อราในระบบทางเดินหายใจ ซึ่งอาจทำให้เชื้อเอดส์ในร่างกายทวีจำนวนมากขึ้นและป่วยเร็วขึ้น เช่น
• ไม่อยู่ในที่อับทึบ แออัด
• ไม่เลี้ยงสัตว์ทุกชนิดภายในบ้าน ใต้ถุนบ้าน ใกล้บ้าน
• ไม่เข้าไปทำความสะอาดสัตว์ เล้าหมู เป็ด ไก่
• ไม่ควรเข้าไปเยี่ยมคนป่วยในโรงพยาบาลหรือเข้าไปใกล้ผู้ป่วยโรคติดต่อ

3. รับประทานอาหารที่สะอาดและ มีประโยชน์ หมั่นกินอาหารโปรตีน โดยเฉพาะไข่ นม และผัก ผลไม้ทุกวัน หลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงจากเนื้อสัตว์ดิบบางชนิด เช่น แหนมสด ลาบสด ลู่ ปลาร้า ไข่ลวก หากจะกินต้องทำให้สุกทุกครั้ง

4. งดการกินอาหารหมักดอง หรือใช้เครื่องปรุงที่ทำจากการหมักดอง เช่น ซอสต่าง ๆ ซีอิ้ว

5. งดสูบบุหรี่ งดดื่มเหล้าเบียร์ งดยาเสพติด

6. หมั่นออกกำลังกาย คลายความเครียด ทำสมาธิ

7. หลีกเหลี่ยงการตั้งครรภ์

8. หมั่นรักษาสุขภาพในช่องปากและฟัน
• แปรงฟันหลังอาหารทุกมื้อ
• กลั้วคอ บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ
• ถ้ามีอาการของโรคเหงือกและฟันผุ ต้องรีบรักษา
• ตรวจสุขภาพฟันและช่องปากกับทันตแพทย์ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

9. หลีกเหลี่ยงการใช้ยาที่กดภูมิต้านทาน ทั้งยาแผนปัจจุบัน ยาหม้อ ยาจีน ยาชุด ยาสมุนไพร

10. ควรหลีกเลี่ยงแสงแดดจัด ด้วยการแต่งกายที่ปกปิดผิวหนังให้มิดชิด

11. ควรรับการตรวจสุขภาพทุกเดือน



หมายเหตุ ..

บทความนี้ ผมเก็บไว้นานแล้ว ข้อมูลต่าง ๆโดยเฉพาะ การรักษาก็เปลี่ยนไปพอสมควร ถือว่าเป็นแค่ความรู้เบื้องต้นเท่านั้นนะครับ ..


..............................................

เอดส์ ( AIDS)

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=26-03-2008&group=4&gblog=27

 

ข้อควรรู้ก่อนการตรวจโรคเอดส์

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=26-03-2008&group=4&gblog=26

 

แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับโรคเอดส์ ... ของแพทย์ ... แต่ ประชาชน ก็ควรรู้

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=09-09-2012&group=4&gblog=96

 

องค์กรที่ให้บริการปรึกษาและทำงานด้านเอดส์

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=26-03-2008&group=4&gblog=28



*******************************************


ปี 62 คนกรุงติดเชื้อเอชไอวี เกือบ 8 หมื่นคน -รายใหม่เกินครึ่ง อายุน้อยกว่า 25 ปี

เขียนวันที่
วันอังคาร ที่ 27 สิงหาคม 2562 เวลา 11:09 น.
เขียนโดย
Thaireform
329 Shares
Share
Tweet

ปี 62 กรุงเทพฯ มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีเกือบ 8 หมื่นคน รายใหม่ 1,190 คน ในจำนวนนี้ 52.8% อายุน้อยกว่า 25 ปี รองผู้ว่ากทม. เผยแผนเฝ้าระวัง พบผู้รับยาต้าน-กดไวรัสสำเร็จ ยังไม่บรรลุเป้า 90% ชูพัฒนาระบบ BSMS มาดูแล

HIV270862

วันที่ 27 ส.ค. 2562 กรุงเทพมหานคร จัดประชุมแนวทางการรายงานเฝ้าระวังการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ผ่านระบบ Bangkok Smart Monitoring System:BSMS รุ่นที่ 1 ณ โรงแรมนารายณ์ กรุงเทพฯ

พล.ต.ท.โสภณ พิสุทธิวงษ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า กรุงเทพฯ ได้ลงนามปฏิญญาเพื่อยุติปัญหาเอดส์ Fast-Track Citis 90-90-90 ในวันเอดส์โลก 1 ธ.ค. 2557 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และได้มีการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในพื้นที่กรุงเทพฯ มาอย่างต่อเนื่อง และประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการดำเนินงานภายในปี 2563

การขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ประกอบด้วย 90% ของผู้ติดเชื้อเอชไอวี ทราบว่า ตนเองติดเชื้อ ซึ่งปัจจุบันทำได้ 92% ส่วน 90% ที่สอง คือ 90% ของผู้ทราบว่าตนเองติดเชื้อแล้วได้รับยาต้านไวรัส ปัจจุบันทำได้ 78% และ 90% ที่สาม คือ 90% ของผู้ได้รับยาต้านไวรัสสามารถกดไวรัสได้สำเร็จ ปัจจุบันทำได้ 76%

รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวต่อว่า จากผลการดำเนินงานดังกล่าว พบช่องว่างในการดำเนินงานที่สำคัญ ณ ปัจจุบัน อยู่ที่ 90% ที่สอง และ 90% ที่สาม ซึ่งถือเป็นปัญหาหลักของกรุงเทพฯ ในเวลานี้ ที่ยังไม่บรรลุเป้าหมายเพื่อยุติเอดส์ได้ ระบบรายงานการเฝ้าระวังสถานการณ์การติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ระบบรายงานการติดตามข้อมูล จึงถือเป็นส่วนสำคัญในการสนองตอบต่อการดำเนินงาน

ด้วยเหตุนี้กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สำนักอนามัย จึงได้พัฒนาระบบการรายงานเฝ้าระวังการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ตามพ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ผ่านระบบ Bangkok Smart Monitoring System:BSMS โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการรายงาน เพื่อลดภาระงานที่มีอยู่ในปัจจุบัน และนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายที่วางไว้

ผู้สื่อข่าวรายงานข้อมูลของกรุงเทพมหานคร พบว่า ปัจจุบันกรุงเทพฯ มีประชากรในพื้นที่ 5,676,648 คน เป็นเพศชาย 2,679,453 คน เพศหญิง 2,997,195 คน โดยในปี 2562 คาดการณ์ว่า จากจำนวนประชากรในพื้นที่ทั้งหมด มีกลุ่มประชากรเข้าถึงยากและเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสติดเชื้อเอชไอวีมากกว่ากลุ่มประชากรอื่น ได้แก่ ชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย 78,045 คน (กลุ่มเสี่ยงสูง 43,879 คน กลุ่มเสี่ยงต่ำ 34,166 คน ) ชายขายบริการทางเพศ 6,404 คน กลุ่มสาวประเภทสอง 32,380 คน พนักงานบริการทางเพศหญิง 21,778 คน ผู้ใช้สารเสพติดชนิดฉีด 3,189 คน

นอกจากนี้กรงุเทพฯ ยังคาดประมาณว่า มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีชีวิตอยู่ในปี 2562 จำนวน 77,558 คน เป็นรายใหม่ 1,190 คน ในจำนวนรายใหม่เป็นกลุ่มเยาวชนที่มีอายุน้อยกว่า 25 ปี 628 คน (52.8%) และมีผู้เสียชีวิตภายในปี 2562 จำนวน 1,877 คน ขณะที่ข้อมูลจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระบุในปี 2561 มีผู้ทราบสถานะการติดเชื้อเอชไอวีและมีชีวิตอยู่ 70,747 คน ได้รับยาต้านไวรัสและมีชีวิตอยู่ 55,123 คน และมีผลตรวจพบว่า ปริมาณไวรัสในกระแสเลือดน้อยกว่า 1,000 copies/mL 41,893 คน

ส่วนการเฝ้าระวังความชุกการติดเชื้อเอชไอวี พื้นที่กรุงเทพฯ ปี 2561 พบว่า กลุ่มพนักงานบริการทางเพศหญิงในสถานบริการ ติดเชื้อเอชไอวี 0.2% กลุ่มชายตรวจรักษากามโรค 6% กลุ่มผู้ใช้สารเสพติดชนิดฉีด 16.6% กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ ตัวแทนของกลุ่มประชากรทั่วไป 0.8% .

ภาพประกอบ:เว็บไซต์ M Thai

# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/




 

Create Date : 26 มีนาคม 2551   
Last Update : 5 กุมภาพันธ์ 2563 15:25:13 น.   
Counter : 12913 Pageviews.  

ข้อควรรู้ก่อนการตรวจโรคเอดส์


ข้อควรรู้ก่อนการตรวจโรคเอดส์

ดัดแปลงจากบทความของ นพ.รุ่งโรจน์ ตรีนิติ www.clinicrak.com


การติดเชื้อ เอดส์ หรือ เอชไอวี (HIV) เริ่มด้วย การรับเชื้อปริมาณที่พอเพียงเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งเข้าสู่ร่างกายได้ 3 ทาง คือ

1. เชื้อเข้ากระแสเลือดโดยตรง เช่น การฉีดยาเข้าเส้นเลือดโดยใช้เข็มร่วมกัน อุบัติเหตุเข็มตำ การรับเลือดที่ปนเปื้อนเชื้อ

2. เชื้อเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังที่มีรอยฉีกขาดหรือแผลเปิดหรือเยื่อบุช่องปาก ช่องทวาร อวัยวะเพศ โดยเชื้อปนเปื้อนกับของเหลวจากร่างกาย เช่น การมีสัมพันธ์ทางเพศกับผู้ติดเชื้อ บุคลากรสัมผัสกับน้ำคัดหลั่งที่มีเชื้อของผู้ป่วย

3. การถ่ายทอดจากแม่ที่ติดเชื้อไปสู่ทารกระหว่างตั้งครรภ์ ขณะคลอด หรือ การดื่มนมแม่ ช่วงระยะเวลาจากรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายจนเชื้อไวรัสออกสู่กระแสเลือด ใช้ระยะเวลาประมาณ 2-6 สัปดาห์

ช่วงนี้ถ้าจะตรวจหาว่ามีเชื้อเอดส์หรือไม่ก็สามารถตรวจได้โดยตรวจ แอนติเจน ( ตัวเชื้อ ) กว่าร่างกายจะสร้างแอนติเจนบอดี ( ภูมิคุ้มกัน ) ก็ใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์ถึง 3 เดือน

ดังนั้นถ้าจะตรวจแอนติเจนบอดี ( ภูมิคุ้มกัน )ได้ อย่างเร็วที่สุดก็ 3 สัปดาห์ (ก็ไม่ได้ หมายความว่าทุกคนจะมีแอนติเจนบอดี ( ภูมิคุ้มกัน )ขึ้นเร็วอย่างนี้เสมอไป และผู้ป่วยทุกรายที่ติดเชื้อ( 99%) จะใช้เวลาไม่เกิน 6 เดือน ต้องตรวจพบแอนติบอดีได้แน่นอน


ตรวจเลือดเอดส์มีกี่แบบ

1. การตรวจหาแอนติเจนบอดี ( ภูมิคุ้มกัน )ต่อ เอดส์ หรือ เอชไอวี (HIV) (Anti-เอดส์ หรือ เอชไอวี (HIV) antibody)

1.1 ELISA : เป็นการ "ตรวจคัดกรอง" (screening test) ที่นิยมใช้กันแพร่หลาย ทำได้ง่าย ไม่แพง มีความไวมาก ความแม่นยำเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ ถ้าตรวจแล้วให้ผลบวกสองครั้ง จากน้ำยาของต่างบริษัท ก็ค่อนข้างมั่นใจได้

1.2 Western blot assay : เป็นการ "ตรวจยืนยัน" การติดเชื้อ เอดส์ หรือ เอชไอวี (HIV) ที่นิยมมากที่สุด เพราะมีความไว และความแม่นยำสูงกว่าวิธี ELISA แต่ราคาแพงกว่า ใช้เวลามากกว่า ทำยากกว่า

1.3 Indirect immunofluorescent assay (IFA) : คล้าย Western blot มีความไวและความแม่นยำพอๆกัน

1.4 Radioimmunoprecipitation assay (RIPA) :ให้ผลไวกว่า Western blot แต่ทำยากมักใช้ในงานวิจัยเท่านั้น

2. การตรวจหาแอนติเจน(ตัวเชื้อ) ส่วนใหญ่จะเป็นการตรวจหา p24 antigen ในเลือดด้วยวิธี ELISA สามารถตรวจหาตัวเชื้อ ในช่วงที่แอนติเจนบอดี ( ภูมิคุ้มกัน )ยังไม่ขึ้น ( window period ) แต่ก็มีข้อเสียคือความไวยังน้อย (คือตรวจไม่ค่อยพบ )

3. การเพาะเชื้อไวรัส ทำยาก ราคาแพง ความไวน้อย แต่ถ้าให้ผลบวก ก็ถือว่าแม่นยำที่สุด

4. การตรวจหา DNA ของไวรัส วิธีนี้คือการหาโดยอาศัยการเพิ่มปริมาณ DNA เรียกว่า PCR (Polymerase chain reaction) ตรวจได้แม้จะมีปริมาณ DNA เพียงน้อยนิด (มีความไวสูง) ถือเป็นวิธีการ "ตรวจยืนยัน" ที่แน่นอนที่สุด



การตรวจเลือดมีขั้นตอนอย่างไร

ปกติเมื่อไปตรวจเลือดเอดส์ เขาก็จะตรวจแบบ "ตรวจขั้นต้น" หรือที่เรียก " ตรวจคัดกรอง " ใช้วิธี ELISA โดยตรวจแอนติเจนบอดี ( ภูมิคุ้มกัน ) ถ้าให้ ผลบวก ก็จะตรวจยืนยันโดยวิธี western blot assay จึงจะบอกได้ว่า "เลือดเอดส์ให้ผลบวก" การตรวจคัดกรองใช้เวลาประมาณ 30 นาที – 2 ชม.แต่ถ้าตรวจยืนยันด้วยวิธี western blot ก็แล้วแต่สถานที่ บางแห่ง 7 วันก็รู้ผล บางแห่ง ก็นัดเป็นเดือนก็มี



เลือดบวก แปลว่าอะไร

ผลบวก หมายถึงว่า "มี" หรือ "พบเชื้อ" หรือ "พบร่องรอยการติดเชื้อ” ถ้าผลเลือดบวกเอดส์ ก็แปลว่า เคยได้รับเชื้อโรคเอดส์ มาแล้วแต่ไม่ได้หมายความว่ากำลังเป็น โรคเอดส์ (ที่แสดงอาการแล้ว) ในขณะนั้น

ผลบวกปลอม พบได้ แต่น้อยมาก ซึ่งอาจพบจากแอนติเจนบอดี( ภูมิคุ้มกัน )ต่อกล้ามเนื้อเรียบ ต่อไวรัสชนิดอื่น

ผลลบปลอมมีไหม ? (ติดเชื้อ แต่ผลตรวจเป็นลบ) ก็มีครับ แต่น้อยมากเช่นกัน มักพบในผู้เพิ่งรับเชื้อมา แล้วร่างกายยังไม่สร้าง แอนติเจนบอดี ( ภูมิคุ้มกัน ) เมื่อตรวจแล้วภูมิคุ้มกันยังไม่ขึ้น ทำให้ได้ผลเป็น ลบ เรียกระยะนี้ว่า Window period ดังนั้นถ้าตรวจแล้วผลเลือดเป็น ลบ แต่มีเหตุควรสงสัย ควรจะตรวจซ้ำอีก 3-6 เดือนต่อมา ถ้าได้เป็น ผลลบอีก จึงจะแน่ใจว่า ไม่ติดเชื้อ



"ติดเชื้อ" กับ "เป็นเอดส์" เหมือนกันไหม

"ติดเชื้อ" หมายถึงรับเชื้อมาแล้ว มีเชื้อในร่างกาย ตรวจเลือดเอดส์ก็ให้ผลบวก แต่ยังไม่มีอาการ บางคนกินยายับยั้งเชื้อเอดส์และรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ก็มีชีวิตเหมือนคนปกติ (ดูหน้าตาก็ไม่รู้) เพียงแต่มีเลือดเอดส์เป็นบวกเท่านั้น

"เป็นเอดส์" หมายถึงเกิดมีอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ แสดงออกทางร่างกายแล้ว เป็นผลจากที่ภูมิต้านทานของร่างกายลดลง จนไม่สามารถต่อต้านเชื้อโรคต่างๆได้ อาการที่อาจพบได้เช่น ต่อมน้ำเหลืองโตทั่วตัว เป็นเชื้อราในปาก เป็นงูสวัด ท้องเสียบ่อยๆ น้ำหนักลด จนกระทั่งกลายเป็นเอดส์เต็มขึ้น เช่น เชื้อราขึ้นสมอง ปอดอักเสบรุนแรง เป็นมะเร็ง

หลังรับเชื้อมาแล้ว…. เวลาผ่านไป 1 - 2 ปี มีไม่ถึง 5 % ที่เป็นเอดส์ เวลาผ่านไป 3 ปี ที่กลายเป็นเอดส์ มี 20 %

เวลาผ่านไป 6 ปี ที่กลายเป็นเอดส์ มี 50 % เวลาผ่านไป 16 ปี ที่กลายเป็นเอดส์ มี 65 - 100 %

เฉลี่ย นับจากรับเชื้อจนเป็นเอดส์ ประมาณ 7 - 11 ปี



ต้องเตรียมตัวก่อนตรวจอย่างไร ต้องอดอาหารไหม

ไม่ต้องเตรียมตัวใดๆทั้งสิ้น แต่ต้องเตรียมเงินกับเตรียมใจ เพราะผลการตรวจเลือดเอดส์ไม่เหมือนการตรวจเลือดอย่างอื่น ถ้าผลเป็นบวก คนที่มีภาวะจิตใจไม่เข้มแข็งอาจหวั่นไหว หมดหวังท้อแท้ หรือตัดสินใจผิดๆ อาจเป็นที่รังเกียจ อาจถึงกับถูกไล่ออกจากงาน บริษัทประกันบางแห่งอาจไม่รับประกัน ถ้าไม่บอกผลตรวจเอดส์หรือ ถ้าได้ผลบวก

ดังนั้นก่อนไปตรวจเลือดจึงต้องเตรียมจิตใจให้ดีว่า ถ้าผลเลือดเป็นบวก เราจะรับสภาพได้ไหม จะเกิดอะไรขึ้น จะวางแผนรับมืออย่างไร ถ้ามีแฟน มีภรรยา เราจะทำอย่างไร จะมีบุตรไหม จะบอกกับใครบ้าง จะต้องดูแลตนเองอย่างไร

..................................................



ประโยชน์ 6 ข้อที่ควรตรวจ HIV
https://www.hfocus.org/content/2014/10/8333
กระทรวงสาธารณสุขและภาคีเครือข่ายด้านเอดส์กำหนดให้วันที่ 1 กรกฎาคมทุกปีเป็นวันรณรงค์ตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี (Voluntary Counselling and Testing Day : VCT Day) เพื่อให้ประชาชนตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขระบุว่า ขณะนี้ ไทยมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีประมาณ 500,000 คน ในจำนวนนี้ มีเพียงครึ่งหนึ่งหรือ 250,000 รายเท่านั้นที่ทราบผลเลือดและเข้าสู่ระบบการรักษาแล้ว โดยกระทรวงสาธารณสุขได้จัดระบบบริการด้านเอชไอวี/เอดส์ไว้อย่างครบถ้วน ตั้งแต่ระบบบริการปรึกษา การตรวจวินิจฉัย การรักษาด้วยยาต้านไวรัส ครอบคลุมในโรงพยาบาลทั่วประเทศ ตั้งแต่โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลศูนย์ จึงเป็นที่น่าเสียดายสำหรับผู้ที่ยังไม่ตรวจเลือดและไม่ได้เข้าสู่ระบบการรักษา

ซึ่ง “ประโยชน์ 6 ข้อที่ควรตรวจเอชไอวี” เป็นประเด็นรณรงค์ในปี 2557 นี้ โดยมีความหมายว่า การตรวจเอชไอวีจะทำให้

1.สามารถเข้ารับการรักษาได้ทันที ไม่ต้องรอให้แสดงอาการ

2.ได้รับการรักษา จะทำให้มีสุขภาพที่แข็งแรง สามารถทำงานได้อย่างปกติ

3.สามารถวางแผนป้องกันคู่ของตนเองติดเชื้อ และชวนคู่ไปตรวจเลือดได้

4.สามารถวางแผนป้องกันการติดเชื้อไปสู่ลูกได้

5.สามารถป้องกันตนเองไม่ให้ติดเชื้อเอชไอวีได้

6.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเอชไอวี/เอดส์ และการป้องกันตนเองได้อย่างถูกต้อง

กระทรวงสาธารณสุขระบุว่า ประชาชนสามารถไปรับการตรวจเลือดเอชไอวี ได้ที่โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกแห่ง ฟรี ปีละ 2 ครั้ง ทั้งนี้ การทราบผลการตรวจเลือดจะช่วยให้ผู้ที่ไม่ติดเชื้อเกิดความตระหนักในการป้องกันตนเอง ส่วนผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี ก็จะป้องกันไม่ถ่ายทอดเชื้อไปให้ผู้อื่น ขณะเดียวกันจะได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะช่วยลดการป่วยจากโรคฉวยโอกาส เช่น วัณโรค และลดการเสียชีวิตลง เป็นไปตามยุทธศาสตร์ของกระทรวงสาธารณสุขที่มุ่งสู่เป้าหมายที่เป็นศูนย์ (Getting to Zero) คือลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ ลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากเอดส์ และลดการรังเกียจตีตราเรื่องเอดส์

ขอบคุณภาพจาก สายด่วนปรึกษาเอดส์และท้องไม่พร้อม 1663



..............................................



ชวนกลุ่มเสี่ยงตรวจหาเชื้อเอชไอวี รู้ผลในวันเดียว เริ่ม 1 ก.ค. 58
https://hfocus.org/content/2015/07/10294

กระทรวงสาธารณสุข รณรงค์ 1 กรกฎาคม เป็นวันณรงค์เพื่อตรวจหาการติดเชื้อเอช ไอวี หรือ VCT Day รู้ผลตรวจได้ภายในวันเดียว ที่โรงพยาบาลในสังกัดทุกแห่ง ทั่วประเทศ โดยใช้บัตรประชาชนเพียงใบเดียว สามารถตรวจเลือดฟรีทุกสิทธิการรักษา เพื่อให้ผู้ติดเชื้อได้รับการรักษาเร็ว ลดการเกิดโรคแทรกซ้อนและเสียชีวิต ลดการถ่ายทอดเชื้อให้แก่คู่นอน เพื่อลดผู้ติดเชื้อรายใหม่ โดยเฉพาะผู้ที่เคยมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย ไม่ว่ากับใคร แม้เพียงครั้งเดียวในชีวิต และผู้ที่เคยใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น ประชาชนสามารถตรวจฟรี ปีละ 2 ครั้ง และปรึกษาปัญหาเอดส์ทางสายด่วนบริการปรึกษาเรื่องเอดส์ หมายเลข 1663




นพ.ธีรวัฒน์ วลัยเสถียร ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 นครราชสีมา กล่าวว่า ปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อเอชไอวี ในประเทศไทย ประมาณ 500,000 คน จึงได้กำหนดให้วันที่ 1 กรกฎาคม เป็นวันรณรงค์เพื่อตรวจหาการติดเชื้อเอช ไอวี หรือ VCT Day ซึ่งจะรณรงค์ตลอดทั้งกรกฎาคม เพื่อสร้างความตระหนักให้ประชาชนทุกคนรู้ถึงความสำคัญ และประโยชน์ของการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี โดยเฉพาะผู้ที่เคยมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย ไม่ว่ากับใคร แม้เพียงครั้งเดียวในชีวิต ผู้ที่เคยใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น ซึ่งการตรวจแต่เนิ่นๆ และตรวจเป็นประจำจะทำให้รู้สถานะการติดเชื้อของตนเอง

ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 นครราชสีมา กล่าวต่อไปว่า ขอเชิญชวน ประชาชนเข้ารับการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี โดยเฉพาะผู้ที่เคยมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย ไม่ว่ากับใคร แม้เพียงครั้งเดียวในชีวิต ผู้ที่เคยใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น สามารถเข้ารับบริการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีฟรี ปีละ 2 ครั้ง ทุกสิทธิ์การรักษา หากทราบผลว่าตนเองไม่ติดเชื้อ จะได้ป้องกันตนเองไม่ให้ติดเชื้อตลอดไป แต่หากพบว่าตนเองติดเชื้อเอชไอวี จะได้เข้ารับการรักษาโดยการรับประทานยาต้านไวรัสอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดอัตราการป่วยและเสียชีวิต การเข้ารับการรักษาแต่เนิ่นๆ จะทำให้ผู้ติดเชื้อมีสุขภาพที่แข็งแรง สามารถทำงานหาเลี้ยงตนเองและครอบครัว ได้ หากมีข้อสงสัย สามารถปรึกษาปัญหาเอดส์ทางสายด่วนบริการปรึกษาเรื่องเอดส์ทางหมายเลข 1663
 
“เอดส์: รู้เร็ว ตรวจฟรี รักษาฟรี ต่ำกว่า 18 ปี ตรวจได้ไม่ต้องขอผู้ปกครอง”

************************





Strong ไปกับสคร.4 ตอน รณรงค์ตรวจเอชไอวี
1 กรกฎาคม 2562
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2769645119774762&set=a.111601272245840&type=3&theater

“Know You Status: เอชไอวี ตรวจฟรี ตรวจเร็ว
เอชไอวี รักษาเร็ว รักษาฟรี”

สคร.4 สระบุรี เชิญชวนประชาชนผู้มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเอชไอวีและประชาชนทั่วไปเข้ารับการตรวจและทราบสถานะการติดเชื้อของตนเองเร็ว เพื่อให้เข้าสู่การรักษาระยะเริ่มแรกและต่อเนื่อง เนื่องในวันที่ 1 กรกฎาคม ของทุกปี กำหนดให้เป็นวันรณรงค์ตรวจเอชไอวี (VCT Day)ทั้งนี้ปี 2562 กำหนดจัดกิจกรรมรณรงค์ภายใต้แนวคิด “Know Your Status : เอชไอวี
ตรวจฟรี ตรวจเร็ว เอชไอวี รักษาเร็ว รักษาฟรี” โดยรณรงค์ตลอดทั้งเดือน

แพทย์หญิงวรยา เหลืองอ่อน ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่4 จังหวัดสระบุรี (สคร.4 จ.สระบุรี) กล่าวถึงสถานการณ์การติดเชื้อเอชไอวี ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 4 ปี พ.ศ. 2561 ผู้ติดเชื้อสะสมที่ยังคงมีชีวิตอยู่ 41,598 ราย ผู้ชาย 23,756 ราย ผู้หญิง 17,842 รายทั้งหมดรับยาต้านไวรัสฯ 35,478 ราย หรือร้อยละ 85.29 ตลอดทั้งปี
มี 63,022 ราย ที่เข้ารับคำปรึกษาก่อนตรวจหาการติดเชื้อฯ ณ หน่วยบริการสาธารณสุขทั้งรัฐและเอกชน ยินยอมตรวจเลือดด้วยความสมัครใจ 57,543 ราย คิดเป็นร้อยละ 91.31 พบการติดเชื้อฯ 2,696 ราย (ร้อยละ 4.69) ในจำนวนที่ตรวจพบการติดเชื้อทั้งหมดเป็นผู้ชาย 1,828 ราย หญิง 868 ราย

แพทย์หญิงวรยา กล่าวต่อว่า ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการรับเชื้อเอชไอวีควรได้รับการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี เพื่อทราบสถานะของตนเอง นำไปสู่บริการป้องกันและดูแลรักษา โดยกระทรวงสาธารณสุขได้จัดบริการสุขภาพให้กับประชาชนทั้งตรวจฟรีและรักษาฟรี มีประเด็นสื่อสาร ปี 2562 คือ “Know Your Status : เอชไอวี ตรวจฟรี ตรวจเร็ว เอชไอวี รักษาเร็ว รักษาฟรี” สำหรับคนไทยทุกคน ที่มีบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก สามารถตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีได้ฟรี ปีละ 2 ครั้ง ทุกโรงพยาบาลที่ให้บริการภายใต้หลักประกันสุขภาพแห่งชาติทุกกลุ่มวัย รวมถึงผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี สามารถรับบริการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีโดยความสมัครใจ ไม่จำเป็นต้องขอความยินยอมจากผู้ปกครอง ปัจจุบันการตรวจสามารถรู้ผลภายในวันเดียว ควรตรวจหาเชื้อเอชไอวีหลังจากมีพฤติกรรมเสี่ยงประมาณ 1 เดือน เมื่อทราบว่าไม่มีการติดเชื้อไอวี จะได้รับการปรึกษาเรื่องการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อ
ทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ หากพบการติดเชื้อเอชไอวีทางโรงพยาบาลจะนำเข้าสู่กระบวนการรักษาโดยเร็ว สามารถรักษาฟรีในโรงพยาบาลที่ระบุตามสิทธิ

เนื่องจากเอชไอวีเป็นเชื้อไวรัสที่ทำลายระบบภูมิคุ้มกันของคน เป็นสาเหตุให้เกิดอาการภูมิคุ้มกันบกพร่องและป่วยเป็นเอดส์ (AIDS) ซึ่งพบวมากที่สุดในเลือด น้ำอสุจิ และน้ำในช่องคลอด ทั้งชายหญิงล้วนเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีทั้งนั้น หากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยรวมทั้งการใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่นด้วย พฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใส่ถุงยางอนามัย ถุงยางอนามัยแตก รั่ว หลุด คู่นอนเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เคยติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีคู่เพศสัมพันธ์มากกว่า 1 คน ดื่มเหล้าหรือใช้สารเสพติด ติดต่อได้ ๓ ทาง ได้แก่
1) ร่วมเพศทางการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยกับผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี
2) ร่วมเลือด การติดต่อทางเลือด
การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ที่มีเชื้อเอชไอวีหรือการได้รับเลือดจากผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี
3) ร่วมครรภ์ การติดต่อจากมารดา
สู่ทารก ในระหว่างตั้งครรภ์ ระหว่างคลอด และการให้นมบุตร
สำหรับการตรวจเลือด
สามารถตรวจได้โดย 1) การตรวจแบบรู้ผลในวันเดียว สามารถเริ่มการรักษาและการป้องกันได้เร็ว 2) การตรวจแบบนิรนาม สามารถตรวจโดยใช้รหัส ไม่ต้องแจ้งชื่อ – ที่อยู่ ข้อมูลความลับ ลดความกังวลใจ 3) ตรวจพร้อมคู่ โดยจะได้รับการปรึกษาที่สร้างความเข้าใจระหว่างคู่ ส่งเสริมการป้องกันได้ง่ายและรู้เทคนิควิธีการป้องกันที่ถูกต้องเหมาะสม

สคร.4 สระบุรี จึงขอเชิญชวนประชาชนให้เข้าใจและเห็นความสำคัญของการรู้สถานะ การติดเชื้อของตนเอง สามารถดูแลสุขภาพและวางแผนการดำเนินชีวิต ภายใต้แนวคิดรณรงค์ “Know Your Status: เอชไอวี ตรวจฟรี รักษาเร็ว เอชไอวี รักษาเร็ว รักษาฟรี” รับคำปรึกษาฟรีได้ที่ สายด่วนปรึกษาเอดส์และท้องไม่พร้อม 1663

หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422

กลุ่มสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ Facebook : https://www.facebook.com/ dpc4saraburi

..............................................

เอดส์ ( AIDS)

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=26-03-2008&group=4&gblog=27

 

ข้อควรรู้ก่อนการตรวจโรคเอดส์

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=26-03-2008&group=4&gblog=26

 

แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับโรคเอดส์ ... ของแพทย์ ... แต่ ประชาชน ก็ควรรู้

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=09-09-2012&group=4&gblog=96

 

องค์กรที่ให้บริการปรึกษาและทำงานด้านเอดส์

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=26-03-2008&group=4&gblog=28




 

Create Date : 26 มีนาคม 2551   
Last Update : 1 กรกฎาคม 2562 15:03:29 น.   
Counter : 29285 Pageviews.  

เป็นเบาหวานทำไมต้องตัดขาตัดเท้า? การป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เท้า ในผู้ป่วยเบาหวาน (นำมาฝาก)

 


เป็นเบาหวานทำไมต้องตัดเท้า?
ผู้ป่วยโรคเบาหวาน 100 คน จะเกิดแผลที่เท้า 10 คน  และ 4 คน ที่จะต้องถูกตัดขา และ 1-2  คนที่ได้รับการผ่าตัดครั้งแรก จะต้องผ่าตัดครั้งที่สองอีกภายใน 5 ปีต่อมา

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดแผลในผู้ป่วยเบาหวานมีอะไรบ้าง
- ผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นมามากกว่า 10 ปี พบว่าหากเป็นเบาหวานนาน 25 ปีขึ้นไป มีโอกาสต้องถูกตัดขาสูงถึงร้อยละ 11
- เป็นชาย เสี่ยงกว่าเพศหญิง
- อายุที่เกิดมักจะเกิน 65 ปี
- คุมเบาหวานไม่ดี น้ำตาลสูงทำให้เม็ดเลือดขาวทำงานไม่ดี
- การสูบบุหรี่
- มีโรคแทรกซ้อนทางตา ไต หัวใจ

โดยปกติเมื่อเป็นแผลและเกิดการติดเชื้อ ร่างกายจะมีเม็ดเลือดขาวคอยไปกำจัดแบคทีเรียที่เข้ามาในร่างกาย แต่เพราะเส้นเลือดที่ขาจะยาวกว่าเส้นเลือดที่แขน ทำให้โอกาสที่เส้นเลือดจะผิดปกติมีมากกว่า เมื่อเส้นเลือดตีบตัน เลือดที่ไปเลี้ยงปลายขาก็จะน้อยลง ถ้าเกิดเป็นแผลแม้จะเป็นเพียงแผลเล็กๆ แต่ถ้าเกิดการติดเชื้อจะทำให้แผลเน่าเร็วขึ้น เพราะเม็ดเลือดขาวไม่สามารถเข้าไปกำจัดเชื้อแบคทีเรียได้ เมื่อผู้ป่วยเบาหวานเกิดแผลที่เท้า แผลจึงมักหายยากและเรื้อรัง ลุกลามได้ง่าย จึงเป็นต้นเหตุในการตัดขา ซึ่งพบสูงถึง 15-40 เท่าของผู้ที่ไม่เป็นเบาหวาน

สาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานเกิดแผลที่เท้าได้ง่าย
1.การเสื่อมของเส้นประสาทส่วนปลายซึ่งรับความรู้สึก ทำให้ไม่รู้สึกเจ็บปวดเมื่อเหยียบวัตถุมีคม หรือโดนวัตถุที่มีอุณหภูมิสูงหรือการกดรัดที่เท้า จึงเกิดแผลโดยไม่รู้ตัว
2.โรคหลอดเลือดส่วนปลายตีบตัน เมื่อมีการอุดตันของเส้นเลือดทำให้เลือดไปเนื้อเยื่อลดลง ลักษณะเท้าจะมีสีคล้ำ เท้าเย็น เดินแล้วปวดเท้า คลำชีพขจรหลังเท้าไม่ได้ แผลหายช้า มีเนื้อตายเกิดแผลที่เท้า (การสูบบุหรี่ ทำให้หลอดเลือดตีบมากขึ้น)
3.การติดเชื้อง่าย ถ้าควบคุมเบาหวานไม่ดี ระดับน้ำตาลสูง จะทำให้ความสามารถของเม็ดเลือดขาวในการกำจัดเชื้อโรคลดลง
4.ภาวะเส้นประสาทอัตโนมัติเสื่อม ทำให้ไม่มีเหงื่อออกผิวหนัง ผิวหนังแห้ง คัน หากเกาอาจมีแผลแตกและติดเชื้อได้ง่าย

สัญญาณที่แสดงว่าอาจจะมีโรคแทรกซ้อนที่เท้า
- ขน ที่เท้าหรือขา จะน้อย
- สีของผิวเปลี่ยนไปเช่นคล้ำขึ้น หรือ ซีด
- อุณหภูมิของผิวหนัง ร้อนขึ้น หรือ เย็นลง อุณหภูมิเท้าสองข้างไม่เท่ากัน
- เท้าบวม คลำชีพขจรที่หลังเท้าไม่ได้
- ปวดขา เวลาเดินได้ซักระยะหนึ่ง ต้องหยุดพัก เมื่อเส้นเลือดตีบมากขึ้น ผู้ป่วยจะเริ่มเดินได้น้อยลง
- แผลที่เท้าหายช้า
- เล็บหนาตัว เล็บขบและมีเชื้อราที่เล็บ

โดยทั่วไปในคนที่เป็นเบาหวานแล้วมีแผลเกิดขึ้น แพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกายโดยยังทำการตรวจพิเศษอีกอย่างหนึ่งควบคู่ไปด้วย นั่นคือ ตรวจวัดความดันของหลอดเลือดที่ขาเทียบกับที่แขนหรือที่เรียกว่า ABI ซึ่งจะเป็นการคัดกรองผู้ป่วยว่ามีภาวะหลอดเลือดส่วนปลายตีบตันหรือไม่ โดยค่าปกติจะอยู่ที่ 0.9-1.4ซึ่งหากพบว่าค่า ABI ต่ำกว่า 0.9 แสดงว่าผู้ป่วยอาจจะมีภาวะหลอดเลือดตีบตันเกิดขึ้นแต่ถ้าต่ำกว่า 0.4 หมายความว่าโอกาสที่ผู้ป่วย จะต้องถูกตัดขานั้นค่อนข้างสูง



การป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เท้า ในผู้ป่วยเบาหวาน

•    ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ ใกล้เคียงกับปกติ ซึ่งจะช่วยให้เส้นประสาทรับความรู้สึกและระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น

•    ลดน้ำหนักตัว เพราะยิ่งมีน้ำหนักตัวมากเกินก็จะยิ่งมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนมากขึ้น

•    งดบุหรี่ เพราะบุหรี่จะทำให้การไหลเวียนของเลือดไม่ดี ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนมากขึ้น

•    เพิ่มการไหลเวียนของเลือดที่เท้า ด้วยการบริหาร
- บริหารขา ยืนเกาะขอบโต๊ะ แกว่งขาไปด้านหน้า ค้างไว้ นับ 1-10 แล้วแกว่งไปด้านหลังค้างไว้ นับ 1-10 ทำ 10 ครั้ง
- บริหารน่อง นั่งเก้าอี้ กระดกปลายเท้าขึ้นจนรู้สึกน่องตึง นับ 1-10 แล้วเหยียดปลายเท้าลง นับ 1-10 ทำ 10 ครั้ง
- บริหารเท้า ด้วยการ ขยับหมุนข้อเท้า และ งอเหยียดนิ้วเท้า บ่อย ๆ

•    ไม่ควรนั่งพับเพียบ คุกเข่า นั่งยอง ๆ หรือ ไขว่ห้าง เพราะเส้นเลือดที่อยู่ในข้อพับถูกกด ทำให้เลือดไปเลี้ยงเท้าได้ไม่ดี

•    หมั่นสังเกตเล็บเท้า และผิวหนังของเท้า เป็นประจำทุกวัน อาจใช้กระจกส่องบริเวณส้นเท้า ฝ่าเท้าก็จะทำให้มองเห็นได้ง่ายและทั่วทั้งเท้า ถ้าไม่แน่ใจว่ามองเห็นได้ทั่วหรือไม่ ก็ให้สมาชิกในครอบครัวช่วยดูให้ ถ้าพบว่าผิวหนังผิดปกติ เช่น มีสีแดง มีรอยฟกช้ำ รอยแผล ผิวหนังบวม  ผิวหนังนูนแข็ง หรือ ตาปลา  ไม่ควรรักษาเอง ควรไปพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์ตรวจ บางครั้งอาจต้องผ่าตัดหรือถ่ายภาพรังสี ดูว่ามีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในแผลด้วยหรือไม่

•    ล้างเท้าด้วยสบู่อ่อน ๆ และ น้ำอุ่น ในตอนเช้าและก่อนนอน แล้วเช็ดเท้าให้แห้งโดยเฉพาะ ง่ามนิ้วเท้า และ ส้นเท้า อาจทาแป้งเพื่อป้องกันความชื้น ถ้าผิวแห้งมากก็ทาครีมบำรุงผิว แต่ไม่ควรทาครีมในง่ามนิ้วเท้าเพราะจะทำให้ผิวหนังเปียกชื้นและเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

•    ตัดเล็บเท้าบ่อย ๆ ใช้ตะไบขอบเล็บให้เรียบ ไม่คม  พยายามตัดเล็บในแนวตรง ไม่ควรตัดเล็บเป็นแนวโค้งเข้าไปลึก ๆ  ถ้าเล็บแข็งและตัดยาก อาจแช่ในอ่างน้ำอุ่นก่อนประมาณ 15 - 20 นาที จะช่วยทำให้เล็บนิ่มลงและตัดง่ายขึ้น

•    ไม่ควรเดินเท้าเปล่า แม้ว่าจะอยู่ในบ้าน ควรใส่รองเท้าแตะ ที่มีพื้นแข็งเพื่อป้องกันการเกิดแผล

•    เลือกรองเท้าที่เหมาะสม เช่น ขนาดพอดี ไม่หลวมหรือคับเกินไป ปลายรองเท้ากว้าง พอให้นิ้วเท้าขยับเคลื่อนไหวได้

•    ไม่ควรสวมรองเท้าคู่เดียวตลอดทุกวัน ควรจะมีอีกคู่ ใส่สลับกัน ทุก 2-3 วัน เพื่อลดความอับชื้น

•    ควรเปลี่ยนรองเท้าในช่วงเวลาแต่ละวัน เช่นช่วงเช้าใส่รองเท้าคู่ที่หนึ่งไปทำงาน เวลาเที่ยงให้เปลี่ยนใส่รองเท้าคู่ที่สอง ในช่วงเย็นก็เปลี่ยนเป็นรองเท้าใส่ในบ้าน เพื่อช่วยให้เท้าไม่ถูกกดหรือรัดในตำแหน่งเดิมเป็นเวลานานและเกิดแผลกดทับ

•    ควรใส่รองเท้าไม่มีส้น หรือ ส้นสูงไม่เกิน 1 นิ้ว เพราะถ้าใส่ส้นสูงเกินไป ก็จะทำให้น้ำหนักไปลงที่ปลายเท้ามากขึ้น

•    ควรใช้รองเท้าที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ หรือ รองเท้าที่ระบายอากาศได้ดี เช่น รองเท้าผ้าใบ รองเท้าหนังสัตว์

•    ควรใส่ถุงเท้าอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการเสียดสีกับรองเท้า ถุงเท้าที่ทำจากผ้าฝ้ายจะนุ่มและระบายอากาศได้ดี

•    ตรวจสอบรองเท้าก่อนสวมใส่ ว่ามีสิ่งแปลกปลอมอยู่หรือไม่

•    ผู้ที่มีรูปเท้า นิ้วเท้า ผิดปกติ ควรใส่รองเท้าที่ออกแบบและตัดเฉพาะคน (custom-designed shoes) ตามลักษณะเท้า


...........................................



6 วิธี ดูแลเท้าสกัดแผล “เบาหวาน”
หมอแนะ 6 วิธีดูแลสุขภาพเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ป้องกันการเกิดแผลแบบไม่รู้ตัว เหตุเลือดเลี้ยงน้อย ปลายประสาทเสื่อม ชี้หากลุกลามอาจถูกตัดขา

นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานมักพบภาวะแทรกซ้อนตามระบบและอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย การตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาและวินิจฉัยภาวะแทรกซ้อนต่างๆ จึงเป็นเรื่องสำคัญในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานตั้งแต่ระยะแรก ก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจนเป็นเหตุให้สูญเสียอวัยวะต่างๆ โดยผู้ป่วยควรสังเกตความผิดปกติของอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะเท้า เพราะเมื่อเป็นเบาหวานมานานจะทำให้เส้นเลือดส่วนปลายที่มาเลี้ยงขาและเท้าตีบ ร่วมกับมีการเสื่อมของเส้นประสาทส่วนปลาย ทำให้มีโอกาสเกิดแผลที่เท้าได้ง่าย

เนื่องจากผู้ป่วยจะไม่รู้สึกเจ็บปวดที่บริเวณแผล จึงมีโอกาสเกิดการลุกลามและเรื้อรังของแผล นำไปสู่การตัดขาในที่สุด ทั้งนี้ ร้อยละ 15 ของผู้ป่วยเบาหวานมีประสบการณ์การเกิดแผลที่เท้า จำนวนนี้ร้อยละ 14-24 ต้องถูกตัดขา ดังนั้น การป้องกันการเกิดแผลที่เท้าจะช่วยลดอัตราการตัดขา ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต ลดภาระครอบครัว และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลระยะยาว

นพ.สุพรรณกล่าวว่า ผู้ป่วยเบาหวานชายมีความเสี่ยงเกิดแผลที่เท้ามากกว่าผู้หญิง โดยปัจจัยเสี่ยงมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ระยะเวลาการเป็นเบาหวานนานกว่า 15 ปี ควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดได้ไม่ดี ทำให้ความสามารถของเม็ดเลือดขาวกำจัดเชื้อโรคลดลง เกิดการติดเชื้อได้ง่าย รวมถึงภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ได้แก่ ภาวะทางหัวใจ ทางสายตามีปัญหาการมองเห็น และทางไต มีความผิดปกติของเส้นประสาทและเส้นเลือดส่วนปลาย ได้แก่ การชาปลายมือ ปลายเท้า ทำให้ประสาทสัมผัสการป้องกันการเกิดแผลเสียไป เท้าผิดรูป ทำให้การลงนํ้าหนักที่เท้าผิดปกติ การสูบบุหรี่มีผลทำให้เกิดหลอดเลือดอุดตัน เคยมีประวัติการเกิดแผลที่เท้ามาก่อน พบว่า มากกว่าร้อยละ 50 ของผู้ป่วยเบาหวานที่เคยมีแผลที่เท้ามาก่อน มีโอกาสการเกิดแผลที่ตำแหน่งเดิมภายในระยะเวลา 2-5 ปี

“วิธีดูแลเท้า คือ
1. อย่าเดินเท้าเปล่า เพราะถ้าเหยียบถูกของมีคม
หนามแหลมหรือของร้อน จะเป็นแผลแบบไม่รู้ตัว

2. การตัดเล็บเท้า ควรตัดออกตรงๆ อย่าตัดโค้งหรือตัดถูกเนื้อ

3. ถ้าเป็นหูดตาปลา หรือตุ่มน้ำที่เท้า ไม่ควรทำเอง ทั้งแกะ ตัดออก ใช้เข็มบ่งตุ่มพอง ใช้ทิงเจอร์ไอโอดีนหรือไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ชะแผล ควรล้างแผลด้วยน้ำสะอาดกับสบู่ ปิดแผลด้วยผ้าก๊อซและพลาสเตอร์อย่างนิ่ม อย่าปิดด้วยพลาสเตอร์ธรรมดา

4. ล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่ หลังจากทำกิจกรรมทุกครั้ง
โดยต้องเช็ดให้แห้งโดยเฉพาะตรงซอกเท้าและห้ามถูแรงๆ

5. อย่าสวมรองเท้าหรือถุงเท้ารัดแน่นเกินไป

6. หากพบอาการผิดปกติบริเวณเท้า เช่น สีของเท้าเปลี่ยนแปลง รู้สึกเจ็บปวด ไม่สบายเท้า ผิวหนังที่เท้าแตก หรือมีนํ้าเหลืองไหล เท้าบวม ควรรีบพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยโดยเร็วที่สุด เพราะหากรักษาช้าและไม่ถูกวิธีอาจถึงขั้นต้องตัดขาทิ้ง” อธิบดีกรมแพทย์กล่าว

ที่มา : ASTVผู้จัดการออนไลน์

*****************************

ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทส่วนปลายจากโรคเบาหวาน หรือบางคนอาจเรียก “เบาหวานลงเท้า” ภาษาทางการแพทย์เรียก  diabetic polyneuropathy มีอาการแสดงได้หลากหลาย

ในระยะแรก บางรายจะมาด้วยอาการปวดแสบปวดร้อนเหมือน โดนนํ้าร้อนลวกบริเวณเท้าทั้งสองข้าง หรือ บางรายอาจมีอาการปวดแปลบ ๆ คล้ายเข็มตำบริเวณเท้าหรือเหมือนโดนไฟฟ้าช็อต ส่วนใหญ่มักมีอาการตอนกลางคืน ทำให้นอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิท ถ้าเป็นรุนแรงก็อาจมีอาการทั้งกลางวันและกลางคืน ทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง บางรายกลายเป็นโรคซึมเศร้า

อาการเหล่านี้สามารถรักษาหรือบรรเทาได้ด้วยการใช้ยาร่วมกับการควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือด

อย่างไรก็ตาม อาการ “เบาหวานลงเท้า” ที่พบบ่อยกว่า คือ อาการชา โดยเริ่มที่บริเวณเท้าทั้งสองข้างก่อน แล้วค่อย ๆ ลุกลามไปยังมือทั้งสองข้าง อย่างช้า ๆ ค่อยเป็นค่อยไป ความรุนแรงของอาการชามีตั้งแต่อาการน้อยมาก ๆ คือ ไม่รู้สึกว่าชา ต้องอาศัยการตรวจจากแพทย์ ไปจนถึงอาการรุนแรง คือ ชามากจนไม่รู้สึกสัมผัส ซึ่งในบางรายอาจมีปัญหาต่อการเดินและการทรงตัว ทำให้หกล้มได้ง่าย

     ผู้ช่วยศาสตราจารย์แพทย์หญิงระวีวรรณ เลิศวัฒนารักษ์ สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ผู้ให้ข้อมูลบทความนี้จะกล่าวเฉพาะอาการเท้าชา ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังที่เกิดในผู้เป็นเบาหวานได้บ่อยโดยเฉพาะเมื่อเป็นเบาหวานมานาน ๆ และควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดได้ไม่ดีนัก เกิดขึ้นจากระบบประสาทส่วนปลายเสื่อม ทำให้สูญเสียประสาทรับความรู้สึก ลักษณะอาการเท้าชาที่เกิดจากโรคเบาหวาน มักจะมีอาการชาหรือคล้ายเป็นเหน็บและความรู้สึกสัมผัสลดลง ทำให้เมื่อเท้าสัมผัสของมีคม จะไม่รู้สึกเจ็บ

อาการเท้าชาที่เกิดขึ้นมักจะมีอาการทั้งสองข้างพร้อม ๆ กัน และเริ่มชาจากปลายนิ้วเท้าก่อน แล้วเริ่มชาไล่ขึ้นไปบริเวณหลังเท้าและขาทั้งสองข้าง ในกรณีรุนแรงจะมีระบบประสาทอัตโนมัติเสื่อมร่วมด้วย ทำให้ผิวหนังบริเวณเท้าทั้งสองข้างแห้ง ปริแตกได้ง่าย เสี่ยงต่อการเกิดแผลเรื้อรัง ถ้ามีระบบประสาทส่วนปลายเสื่อมอยู่นาน ๆ ทำให้กล้ามเนื้อเล็ก ๆ บางมัดบริเวณเท้าฝ่อลง เกิดเท้าบิดผิดรูป ซึ่งจะส่งผลต่อนํ้าหนักที่กดทับบริเวณฝ่าเท้าเวลาเดิน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดแผลเรื้อรังที่เท้าและเพิ่มความเสี่ยงต่อการถูกตัดนิ้วเท้าหรือขา โดยเฉพาะถ้ามีความผิดปกติของหลอดเลือดส่วนปลายร่วมด้วย

ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดอาการชา หรือ ระบบประสาทส่วนปลายเสื่อม ได้แก่ ระยะเวลาที่เป็นเบาหวาน การควบคุมระดับนํ้าตาลที่ไม่ดี การสูบบุหรี่ ระดับไขมันในเลือดสูง และ โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น

     ดังนั้นการรักษาที่สำคัญคือ การควบคุมระดับนํ้าตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ได้แก่ ควบคุมความดันโลหิตและระดับไขมันให้อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องการ งดการสูบบุหรี่ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ในรายที่มีอาการชามาก ๆ แล้ว การรักษามักไม่ได้ผลดี

การรับประทานวิตามินบีมัก ไม่ช่วย ทำให้อาการชาดีขึ้น เพราะอาการชาไม่ได้เกิดจากการขาดวิตามิน

ยารักษาปลายประสาทอักเสบบางชนิดอาจช่วยให้อาการดีขึ้นได้บ้างแต่ไม่สามารถทำให้อาการชาหายไปได้ ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแล เพื่อพิจารณาให้ยาตามความเหมาะสม

ส่วนยาสมุนไพร อาหารเสริม ยาลูกกลอน ยังไม่มีข้อมูลทางการแพทย์ยืนยันถึงประสิทธิภาพในการลดอาการดังกล่าว

นอกจากการรับประทานยาตามแพทย์สั่งแล้วนั้น เมื่อมีอาการเท้าชา อาจเกิดแผลโดยไม่รู้สึกตัวได้ ดังนั้นควรทำความสะอาดเท้าด้วยนํ้าสะอาดและสบู่อ่อน วันละสองครั้ง ตอนเช้าและก่อนนอนทุกวัน ทำความสะอาดทุกครั้งที่เท้าเปื้อนสิ่งสกปรก เช็ดเท้าให้แห้งทันทีรวมทั้งบริเวณซอกนิ้วเท้า

ตรวจเท้าก่อนนอน สำรวจเท้าอย่างละเอียดทุกวัน เพื่อดูว่ามีแผลขนาดเล็ก ๆ หนังด้านแข็ง ตาปลา รอยแตกหรือการติดเชื้อราเกิดขึ้นหรือไม่

ตรวจสอบรองเท้าก่อนการสวมใส่เสมอเพื่อดูว่ามีสิ่งแปลกปลอมซ่อนอยู่ภายในซึ่งอาจทำอันตรายต่อเท้าและเกิดแผลได้

สวมถุงเท้าก่อนใส่รองเท้า เลือกใส่รองเท้าที่มีขนาดพอดี เหมาะสมกับรูปเท้าและทำจากวัสดุที่นุ่ม ควรเป็นรองเท้าหุ้มส้น ไม่มีตะเข็บหรือมีตะเข็บน้อย และมีเชือกผูก เพื่อให้ปรับความพอดีกับเท้าได้

หลีกเลี่ยงการสวมรองเท้าที่ทำด้วยยางหรือพลาสติกและรองเท้าแตะประเภทที่ใช้นิ้วเท้าคีบสายรองเท้า เนื่องจากทำให้มีโอกาสเกิดการเสียดสีเป็นแผลได้ง่าย

ห้ามแช่เท้าในนํ้าร้อน หรือใช้อุปกรณ์ให้ความร้อนวางที่เท้า

ดูแลเท้า  เล็บเท้า และตัดเล็บเท้าโดยผู้ชำนาญอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันเล็บขบ การอักเสบของนิ้วเท้า ห้ามตัดตาปลาหรือหนังด้านแข็งด้วยตนเอง

           การรักษาระบบประสาทส่วนปลายเสื่อมจากโรคเบาหวานที่เป็นมานานแล้วมักได้ผลการรักษาไม่ดี ดังนั้นการป้องกันไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อนชนิดนี้ หรือ กรณีเกิดโรคแทรกซ้อนขึ้นแล้ว การให้การรักษาตั้งแต่ระยะแรกมักจะให้ผลการรักษาที่ดีกว่า โดยพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอเพื่อตรวจประเมินระดับความรู้สึกที่เท้าโดยใช้เครื่องมือการตรวจที่ได้มาตรฐาน (monofilament test) อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ควบคุมระดับนํ้าตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ตามแพทย์แนะนำ รวมทั้งควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าวข้างต้น และหากพบมีแผล แม้เพียงเล็กน้อย ให้ทำความสะอาดแผลทันที ในกรณีแผลไม่ดีขึ้นหรือไม่แน่ใจ ให้รีบพบแพทย์เพื่อให้การรักษาที่ถูกต้องตั้งแต่เนิ่น ๆ

     ข้อมูลจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์แพทย์หญิงระวีวรรณ เลิศวัฒนารักษ์ สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย 



.........................................

โรคเบาหวาน (DiabetesMillitus)

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=22-03-2008&group=4&gblog=24

 

ตาปลา

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=09-06-2008&group=4&gblog=44

 

รองเท้าใครคิดว่าไม่สำคัญ

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=09-06-2008&group=4&gblog=41

 

โรคนิ้วหัวแม่เท้าเกออกด้านนอก (โรคฮัลลักซ์ วัลกัส ,Hallux Valgus )

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-07-2008&group=5&gblog=35

 

เล็บขบ ( IngrowingNail )

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=09-06-2008&group=4&gblog=42

 

เลือดออกไต้เล็บ (ห้อเลือด )

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=09-06-2008&group=4&gblog=43






 

Create Date : 22 มีนาคม 2551   
Last Update : 27 สิงหาคม 2564 1:42:31 น.   
Counter : 11941 Pageviews.  

โรคเบาหวาน (Diabetes Millitus) ... ( นำมาฝาก ไม่ได้เขียนเอง )

โรคเบาหวาน คือ โรคที่เซลล์ร่างกายมีความผิดปกติในขบวนการเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงาน โดยขบวนการนี้เกี่ยวข้องกับอินซูลินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สร้างจากตับอ่อนเพื่อใช้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เมื่อน้ำตาลไม่ได้ถูกใช้จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นกว่าระดับปกติ โรคเบาหวานแบ่งเป็น 4 ชนิด ตามสาเหตุของการเกิดโรค  

1.   โรคเบาหวานชนิดที่ 1 (type 1 diabetes mellitus, T1DM) เกิดจากเซลล์ตับอ่อนถูกทำลายจากภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ขาดอินซูลิน มักพบในเด็ก

2.   โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (type 2 diabetes mellitus, T1DM) เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด ร้อยละ 95 ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด เกิดจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน มักพบในผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วนร่วมด้วย  

3.   โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (gestational diabetes mellitus, GDM) เป็นโรคเบาหวานที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ มักเกิดเมื่อไตรมาส 2-3 ของการตั้งครรภ์

4.   โรคเบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะ (specific types of diabetes due to other causes) มีได้หลายสาเหตุ เช่น โรคทางพันธุกรรม โรคของตับอ่อน โรคทางต่อมไร้ท่อ ยาบางชนิด เป็นต้น

การวินิจฉัยเบาหวาน ทำได้โดยวิธีใดวิธีหนึ่งใน 4 วิธี ดังต่อไปนี้

1.   มีอาการโรคเบาหวานชัดเจน ได้แก่ หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อยและปริมาณมาก น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่มีสาเหตุ ร่วมกับตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเวลาใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องอดอาหาร ถ้ามีค่า ≥200 มก./ดล.

2.   ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (อย่างน้อย 8 ชั่วโมง) ≥ 126 มก./ดล. 

3.   การตรวจความทนต่อกลูโคส โดยให้รับประทานกลูโคส 75 กรัม แล้วตรวจระดับน้ำตาลในเลือดที่ 2 ชั่วโมง ถ้ามีค่า ≥ 200 มก./ดล.

4.   การตรวจระดับน้ำตาลสะสม (A1C) ≥ 6.5% โดยวิธีการตรวจและห้องปฏิบัติการต้องได้รับการรับรองตามมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งยังมีน้อยในประเทศไทย ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้ใช้วิธีนี้

ตามแนวทางเวชปฏิบัติของสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2560 กล่าวว่าการวินิจฉัยโรคเบาหวานตามข้อที่ 2-4 ต้องมีการตรวจยืนยันอีกครั้งโดยใช้ตัวอย่างเลือดอันใหม่ ด้วยวิธีเดียวกันหรือต่างกันในวันถัดไป อย่างไรก็ตามแนวทางเวชปฏิบัติของสมาคมโรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2562 ได้มีการเปลี่ยนแปลงว่า สามารถตรวจยืนยันอีกครั้งโดยใช้ตัวอย่างเลือดอันเดิมหรืออันใหม่ก็ได้ เพื่อให้การวินิจฉัยโรคเบาหวาน

         เมื่อได้รับการวินิจฉัยโรคเบาหวานควรได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนระยะยาวจากเบาหวาน ทำได้โดยการควบคุมระดับน้ำตาล ในปัจจุบันระดับน้ำตาลที่เป็นเป้าหมายจะมีค่าที่เหมาะในผู้ป่วยแต่ละราย โดยขึ้นกับอายุ ระยะเวลาที่เป็นเบาหวาน การมีโรคแทรกซ้อน ความเจ็บป่วยและโรคร่วม รวมถึงประวัติการเกิดน้ำตาลในเลือดต่ำ ถ้าเป็นเบาหวานมาไม่นาน ไม่มีภาวะแทรกซ้อนหรือโรคร่วม ควรควบคุมระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงค่าปกติ หรือระดับ A1C < 6.5% (ถ้าเป็นไปได้) หรือ < 7% ในขณะผู้ที่เป็นเบาหวานมานานและมีภาวะแทรกซ้อน หรือโรคร่วมหลายโรคที่รุนแรง เป้าหมายของระดับ A1C ประมาณ 7-8% ส่วนในผู้ที่อายุมากกว่า 65 ปี ถ้าไม่มีโรคร่วม ควรควบคุมให้เป้าหมายของ A1C < 7% ถ้ามีโรคร่วมแต่ยังช่วยเหลือตัวเองได้ เป้าหมายของ A1C ควรอยู่ที่ 7-7.5% ถ้าเป็นผู้สูงอายุที่มีเปราะบาง อาจให้เป้าหมาย A1C สูงได้ถึง 8.5% ดังนั้นการตั้งเป้าหมาย A1C

 บทความจาก ผศ.พญ. พิมพ์ใจ อันทานนท์ สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย



 

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย


https://www.dmthai.org/index.php/knowledge/for-normal-person/health-information-and-articles/health-information-and-articles-old-3/846-2019-04-20-01-49-18?fbclid=IwAR1JUxMGqz4mX5Z1tn6hRjIwEE4AGhjsDZ8z34lBY5l0qZtqneQYy1WWGAs

****************************************

เป็นเบาหวานตั้งครรภ์ ได้หรือไม่?
คำตอบคือ ได้แน่นอน ถ้ามีการเตรียมตัวที่ดี

การตั้งครรภ์โดยไม่มีการเตรียมตัวจะส่งผลไม่ดีต่อแม่ทำให้มีความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังจากเบาหวาน โดยถ้ามีเบาหวานขึ้นตาจะทำให้โรคแย่ลง และผลไม่ดีต่อทารกในครรภ์เพราะทำให้ทารกในครรภ์พิการหรือมีน้ำหนักตัวมากทำให้คลอดยาก

แต่ถ้าผู้เป็นเบาหวานมีการเตรียมตัวที่ดีก่อนการตั้งครรภ์และดูแลให้ระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามเกณฑ์ขณะตั้งครรภ์ จะส่งผลให้ทั้งแม่และทารกในครรภ์มีสุขภาพที่ดีแข็งแรง และคลอดปลอดภัย

โดยการเตรียมตัวก่อนการตั้งครรภ์สำหรับผู้เป็นเบาหวานได้แก่

1. ผู้เป็นเบาหวานในวัยเจริญพันธ์ควรได้รับการคุมกำเนิดอย่างเหมาะสม และเมื่อต้องการจะตั้งครรภ์ต้องปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลก่อนเสมอ

2. ควบคุมระดับฮีโมโกลบินเอวันซีให้น้อยกว่า 6.5%

3. ได้รับการประเมินหาาภาวะแทรกซ้อนที่ตาโดยการตรวจจอประสาทตาและที่ไตโดยการตรวจปัสสาวะ ถ้ามีความผิดปกติให้การรักษาอย่างเหมาะสมก่อนจึงจะตั้งครรภ์

4. หยุดยาบางชนิดที่ได้รับอยู่ เช่นยาลดไขมันในกลุ่มสแตติน และยาลดความดันเลือดในกลุ่ม ACEI หรือ ARB ส่วนยาเบาหวานนั้นให้ปรึกษาแพทย์ผู้ดูแล

บทความจาก ผศ. พญ. อภิรดี ศรีวิจิตรกมล

https://www.dmthai.org/index.php/knowledge/for-normal-person/health-information-and-articles/health-information-and-articles-old-3/854-2019-05-25-09-47-54



****************************************



โรคเบาหวาน (Diabetes Millitus)

ร่างกายของคนเรามีความสามารถในการรักษาสภาวะต่าง ๆ ภายในร่างกายให้สมดุลย์อยู่เสมอ ระดับน้ำตาลก็เช่นกัน ถ้าน้ำตาลในร่างกายอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถไปใช้ได้เป็นพลังงานได้ตามปกติ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินขีดความสามารถที่ร่างกายจะกักเก็บไว้ได้ น้ำตาลก็จะถูกขับออกมากับปัสสาวะ หรือที่เราเรียกว่า เบาหวาน

ในคนปกติ ระดับน้ำตาลในเลือดประมาณ 60-120 มิลลิกรัมเปอร์เซนต์ และ ในปัสสาวะไม่ควรมีน้ำตาล


อาการของโรค
ถ่ายปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำบ่อย ทานอาหารเยอะแต่น้ำหนักลดลง อ่อนเพลีย คันตามผิวหนัง เป็นแผล หรือ ฝีแล้วหายยาก ตามัวพร่า ชาตามปลายมือและเท้า

โรคแทรกซ้อนที่สำคัญ

- หลอดเลือดตีบแข็ง โรคหัวใจ ความรู้สึกทางเพศเสื่อม วัณโรค ความดันโลหิตสูง ประสาทตาพิการ ไตวาย

- การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างดี จะช่วยเลื่อนเวลาของโรคแทรกซ้อนที่น่ากลัวได้


อาการของ น้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำ

- ถ้าน้ำตาลในเลือดสูง มีอาการหน้ามืด ใจสั่น เป็นลม เวียนศีรษะมีอาการคล้ายเป็นลม ให้รีบหาแพทย์ ทันที

- ถ้าน้ำตาลในเลือดต่ำ อาการจะเกิดอย่างกระทันหันเหมือนน้ำตาลในเลือดสูงหน้ามืด ใจสั่น เป็นลม เวียนศีรษะ เหงื่อออกมาก ตัวเย็น ให้รับประทานน้ำหวาน ลูกอม หรือขนมหวานทันที จะช่วยให้อาการดีขึ้น


การควบคุมอาหารสำคัญอย่างไร

การควบคุมอาหารมีความสำคัญในการักษาเบาหวานมาก ถ้าควบคุมอาหารอย่างถูกต้องและเหมาะสม จะช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่สูง และช่วยลดอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากโรคเบาหวาน การรักษาโรคเบาหวานให้ได้ผลนั้นจำเป็นต้องควบคุมอาหารอย่างสม่ำเสมอแม้ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาด้วยการกินยาหรือฉีดอินซูลินแล้วก็ตาม ก็จำเป็นต้องควบคุมอาหารร่วมด้วย


จุดมุ่งหมายของการควบคุมอาหาร

1. ให้ผู้ป่วยสามารถรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงระดับปกติ

2. ควบคุมน้ำหนักของผู้ป่วยให้อยู่ในเกณฑ์ที่ควรเป็น

3. ป้องกันอาการหมดสติ เนื่องจากภาวะเป็นกรดในเลือดสูง เป็นผลสืบเนื่องจากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง

4. ป้องกันอาการหมดสติ อันเนื่องจากผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ

5. ลดอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่เกิดจากโรคเบาหวาน

6. ช่วยให้ผู้ป่วยมีสุขภาพแข็งแรง สามารถดำรงชีวิตและทำงานต่าง ๆ ได้เป็นคนปกติ


ผู้ป่วยเบาหวานจะรับประทานอาหารอย่างไร

1. ทานอาหารครบ 5 หมู่ ประกอบด้วย เนื้อสัตว์ ข้าวหรือแป้งอื่น ๆ ไขมัน ผักผลไม้

2. ทานข้าวเป็นประจำตามที่กำหนด ตรงเวลา และไม่ควรงดอาหารมื้อหนึ่งมื้อใด โดยเฉพาะผู้ได้รับการรักษาด้วยการฉีดอินซูลิน เพราะอาจมีผลให้น้ำตาลในเลือดต่ำจนหมดสติได้

3. ทานผักให้มาก โดยเฉพาะผักประเภทใบ และถั่วสด เช่น ผักคะน้า ผักบุ้ง ถั่วแขก ถั่วฝักยาว ฯลฯ

4. ตักข้าวตามจำนวนที่กำหนด ไม่ควรเติมอีกถ้าไม่อิ่มให้ทานผักเพิ่มลดอาหารประเภทแป้ง

5. หลีกเลี่ยงผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน ขนุน น้อยหน่า ลำใย ละมุด อ้อย ลูกเกด ลำใยแห้ง ผลไม้กระป๋อง

6. ทานผลไม้ที่หวานน้อย ในจำนวนจำกัด เช่น แตงโม 10 ชิ้น มะละกอ 6 ชิ้น มะม่วงสุก,ดิบ 1/2 ผล มังคุด 2 ผล เงาะ 5 ผล แอปเปิ้ล 1 ผล องุ่นสด 8 เม็ด สับปะรด 6 ชิ้น ชมพู่ 3 ผล ฝรั่ง 1/4 ผลใหญ่ ส้มโอ 2 กลีบ ส้มเขียวหวาน1ผล

7. งดของหวานและขนมที่ใส่น้ำตาล เช่น ทองหยิบ ฝอยทอง สังขยา ขนมหม้อแกง กะละแม ข้าวเหนียวแดง เม็ดขนุน มะพร้าวแก้ว อาหารเชื่อมทุกชนิด เช่น ลูกตาลเชื่อม กล้วยเชื่อม มันเชื่อม มะตูมเชื่อม พุทราจีนเชื่อม ไอศกรีม

8. หลีกเลี่ยงการทานไขมันสัตว์ น้ำมันหมู เนย เนื้อติดมัน หมูสามชั้น ครีม กะทิ หนังไก่ ข้าวขาหมู เครื่องในสัตว์

9. ใช้น้ำมันพืชเช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำ น้ำมันฝ้าย น้ำมันข้าวโพด แต่ไม่ควรใช้ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม

10. หลีกเลี่ยงอาหารทอดที่มีน้ำมันมาก เช่นปาท่องโก๋ แฮ่กิ้น ข้าวเกรียบทอด ข้าวตังทอด มันทอด ฯลฯ

11. เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอร์ เช่น เบียร์ เหล้า ไวน์ ผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่ควรดื่มเพราะมีปริมาณน้ำตาลสูง


อาหารที่ผู้ป่วยควรรับประทานและไม่ควรรับประทาน

1. นมสด เป็นอาหารที่มีประโยชน์ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรเลือกดื่มชนิดนมจืด ไม่เติมน้ำตาลหรือชนิดไม่ปรุงแต่ง

น้ำนมผสมคืนรูป เป็นนมผงที่นำมาผสมกับน้ำเช่น นมสดตราหมี นมบลูซิลของโฟร์โมสต์ ควรเลือก ชนิดจืด

นมสดระเหย หรือนมข้นจืด มีลักษณะข้นเท่านมสดธรรมดา ในประเทศไทยให้นมผงที่ไม่มีไขมันผสมกับเนยหรือน้ำมันพืช และเติมน้ำครึ่งหนึ่งของนมธรรมดา เช่น นมข้นจืด ตราดอกมะลิ ตราดอกคารเนชั่น ไม่ควรใช้มากนัก

นมเปรี้ยว โยเกิตร์ มีทั้งชนิดปรุงแต่งด้วยน้ำเชื่อม ผลไม้ และ ชนิดไม่ปรุงแต่ง ผู้ป่วยควรเลือกชนิดที่ไม่ปรุงแต่งรส

นมข้นหวาน ผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่ควรใช้นมชนิดนี้ เพราะจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง

น้ำนมถั่วเหลืองสำเร็จรูป เช่น นมถั่วเหลืองเกษตร โบมัน แล็คตาซอย ไวตามิลค์ จะเติมน้ำตาลลงไปด้วยทำให้มีรสหวาน ไม่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยอาจดื่มน้ำนมถั่วเหลืองได้ แต่ต้องเป็นแบบไม่เติมน้ำตาล

2. ผัก ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรรับประทานผักมาก ๆ เพราะใยอาหารในผักจะช่วยให้น้ำตาลถูกดูดซึมได้น้อยลง จึงช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่สูงทั้งยังไม่ให้ท้องผูกอีกด้วย ผักรับประทานเท่าใดก็ได้เพราะให้แรงงานน้อยมากได้แก่ หน่อไม้ ผักกวางตุ้ง มะเขือเทศ ผักกาดขาว ถั่วงอก ผักคะน้า พริก ตำลึง กะหล่ำดอก ถั่วพลู คึ่นช่าย มะเขือต่าง ๆ กะหล่ำปลี ชะอม น้ำเต้า มะระ บวบ ผักโขม ยอดฟักทอง ใบกุยช่าย แตงกวา ผักบุ้ง ต้นหอม ฯลฯ

ไม่ควรทาน ผักที่มีคาร์โบไฮเดรทมาก เช่น ฟักทอง แครอท สะเดา สะตอ มะรุม ลูกเนียง ถั่วลันเตา

3. ผลไม้ จะมีน้ำตาลอยู่โดยธรรมชาติจะแตกต่างกันตามชนิดของผลไม้ ควรเลือกชนิดที่ไม่มีรสหวานมาก

4. ธัญญพืช และเผือกมันต่าง ๆ เป็นอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรทมาก ไม่ควรรับประทานมากเกินไป อาหารจำพวกนี้ ได้แก่ ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ ขนมจีน วุ้นเส้น ขนมปัง เผือกมันต่าง ๆ แต่ ข้าวซ้อมมือ รับประทานได้เพราะมีใยอาหารมาก
วุ้นเส้น เป็นอาหารที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานคิดว่ารับประทานได้โดยไม่จำกัด เพราะเป็นโปรตีนจากถั่ว แต่ที่จริง วุ้นเส้นเป็นอาหารจำพวกแป้งเช่นเดียวกับข้าวหรือก๋วยเตี๋ยว ดังนั้นจึงต้องจำกัดการรับประทานวุ้นเส้นเช่นเดียวกัน

5. เนื้อสัตว์ ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรทานเนื้อให้เพียงพอกับร่างกายประมาณ 3-4 ช้อนกินข้าวหรือประมาณครึ่งขีดต่อมื้อ เนื้อสัตว์เหล่านี้จะเป็น ปลา กุ้งหอ เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อไก่ เต้าหู้หรือเมล็ดถั่วแห้ง หากรับประทานมากเกินไปโปรตีนจะเปลี่ยนแปลงเป็นรูปของไขมัน ทำให้อ้วนได้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรกินเนื้อสัตว์ไม่ติดมันและไม่ทานเครื่องในบ่อยเกินไป

6. ไข่ เป็นอาหารที่มีประโยชน์มาก ผู้ป่วยไม่ควรงด ควรรับประทานไข่เป็ดหรือไข่ไก่ ประมาณสัปดาห์ละ 3-4 ฟอง สำหรับผู้ป่วยที่โคเลสเตอรอลในเลือดสูงอาจกินสัปดาห์ละ 2 ฟอง แต่ถ้ารับประทาน เพียงไข่ขาว ก็รับประทานได้ทุกวัน

7. น้ำตาลเทียมหรือขันฑสกร ไม่ห้ามในผู้ป่วยโรคเบาหวานแต่ควรรับประทานพอควร

8. อาหารที่มีใยสูง จะช่วยลดไขมันในเลือดและน้ำตาลได้ เช่น ถั่วฝักยาว ถั่วแขก ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วดำ ขี้เหล็ก ยอด-มะกอก ใบแค เม็ดแมงลัก ฝรั่ง ข้าวซ้อมมือ และผักต่าง ๆ ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรรับประทานอาหารเหล่านี้ให้มากขึ้น

อาหารที่ผู้ป่วยรับประทานได้โดยไม่จำกัด
เช่น น้ำส้มสายชู น้ำปลา เกลือ มัสตาด มะนาว พริกไทย เครื่องเทศ เครื่องดื่มประเภทกาแฟ ชา ที่ไม่ได้ใส่น้ำตาล


ตัวอย่างอาหารโรคเบาหวาน

อาหารเช้า ข้าวต้มไก่ ไข่ลวก มะละกอสุก (หรือน้ำส้มคั้น 1 แก้ว)
อาหารกลางวัน ก๋วยเตี๋ยวราดหน้าผักคะน้าหมู (ไม่ติดมัน) สับปะรด 1 จาน (9 ชิ้นขนาดคำ)
อาหารว่าง นมสดจืดเดนมาร์ค 1 แก้ว
อาหารเย็น ข้าวสวย แกงส้มผักรวมมิตรกุ้ง ปลาสลิดเค็ม ผักบุ้งไฟแดง แตงโม


ข้อควรปฏิบัติทั่วไป สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

1.รับประทานอาหารให้ถูกต้องตามที่กำหนดให้ และรู้จักวิธีใช้อาหารที่สามารถทดแทนกันได้ ระวังอย่าให้อ้วน

2.ใช้อินซูลิน หรือรับประทานยาเม็ดให้ถูกต้องตามเวลา

3. ระวังรักษาสุขภาพอย่าตรากตรำเกินไป

4. รักษาร่างกายให้สะอาด และระวังอย่าให้เกิดบาดแผล

5. หมั่นตรวจน้ำตาลในปัสสาวะ

6. ออกกำลังกายแต่พอควรสม่ำเสมอ

7. ถ้ามีอาการอ่อนเพลีย ตกใจ หวิวใจสั่น เหงื่อออก หรือมีอาการปวดศีรษะตามัว ให้รับประทานน้ำหวาน หรือน้ำตาลเข้าทันที ทั้งนี้เนื่องจากรับประทานอาหารไม่เพียงพอกับยา แต่ ถ้าได้รับประทานอาหารที่น้ำตาล มากเกินไปและได้อินซูลินหรือยาน้อย ผู้ป่วยจะมีอาการง่วง ผิวหนังร้อนผ่าว คลื่นไส้ อาเจียน หายใจมีกลิ่นคล้ายผลไม้ ถ้าทิ้งไว้อาจ ทำให้ไม่รู้สึกตัวและเสียชีวิตได้ ต้องรีบตามแพทย์ทันที

8. ผู้ป่วยควรมีบัตรบ่งชี้ว่าเป็นโรคเบาหวาน และกำลังรักษาด้วยยาชนิดใดอยู่เสมอ และควรมีขนมติดตัวไว้ด้วย

9. อย่าวิตกกังวลหรือเครียดมากเกินไป


หมายเหตุ .. บทความนี้ ผมไม่ได้เขียนขึ้นเอง แต่จำไม่ได้ว่า นำมาจากไหน ถ้าใครทราบ หรือ เห็นจากที่ไหน กรุณาแจ้งให้ผมทราบด้วย ขอบคุณครับ



********************************************



ต้นหนานเฉาเหว่ย มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าต้นป่าช้าเหงา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gymnanthemum extensum จัดเป็นสมุนไพรจีน ใบมีรสขมจัด ซึ่งในขณะนี้กำลังเป็นที่นิยมในประชาชนที่มีความเชื่อว่า ใบหนานเฉาเหว่ยนั้นสามารถรักษา โรคเบาหวาน โรคเกาต์ และโรคมะเร็งได้ ซึ่งไม่เป็นความจริง เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีงานวิจัยใดที่สามารถสรุปและยืนยันได้ว่า ใบหนานเฉาเหว่ยนั้น สามารถรักษาโรคดังกล่าวได้ และยังไม่มีรายงานความปลอดภัยและผลข้างเคียงที่แน่ชัดที่อาจเกิดขึ้นได้

อย่าหลงเชื่อคำกล่าวอ้างสรรพคุณของสมุนไพรต่างๆนะ เพราะแทนที่จะหายจากโรค แต่อาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้เลย ดังนั้นก่อนจะ แชร์ หรือเชื่ออะไรควรเช็กให้มั่นใจก่อนว่าข้อมูลเหล่านั้นมีความน่าเชื่อถือหรือไม่ โดยสามารถมา เช็กให้ชัวร์กับ อย. กันก่อนนะ
https://oryor.com/%E0%B8%AD%E0%B8%A2/detail/media_printing/1732?fbclid=IwAR2ap8bcCUcf2cDPUew1np6F00V0oX2G1Xuzs0WkaKawkFvS_3IYJ0rCYnE

สมุนไพร หนานเฉาเหว่ย (ป่าช้าเหงา) .. ดี จริงหรือ ?    
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=30-12-2018&group=27&gblog=49


 




 

Create Date : 22 มีนาคม 2551   
Last Update : 27 พฤศจิกายน 2562 20:29:28 น.   
Counter : 8373 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]