Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

คำถามที่ควรถามแพทย์ของท่านก่อนที่จะผ่าตัด



คำถามที่ควรถามแพทย์ของท่านก่อนที่จะผ่าตัด

1.การผ่าตัดแบบไหนที่แพทย์แนะนำ
2.ทำไมถึงจะต้องผ่า
3.มีทางเลือกอื่นอีกหรือไม่ นอกจากการผ่าตัด
4.ข้อดีของการรักษาด้วยการผ่าตัด
5.การผ่าตัดมีความเสี่ยงอะไรบ้าง
6.จะเกิดอะไรขึ้นถ้าไม่ผ่าตัด
7.สามารถปรึกษาขอความเห็นจากแพทย์ท่านอื่นได้ที่ไหน
8.แพทย์เคยผ่าตัดด้วยวิธีนี้มามากน้อยแค่ไหน
9.การผ่าตัดทำที่ไหน
10.จะให้ยาระงับความรู้สึกแบบไหน
11.ใช้เวลานานเท่าไรจึงจะหาย
12.การผ่าตัดมีค่าใช้จ่ายประมาณเท่าไร




คำถามเหล่านี้ไม่แนะนำสำหรับกรณีที่เป็นการผ่าตัดฉุกเฉิน เป็นข้อแนะนำสำหรับการผ่าตัดที่รอได้ เพราะ ท่านจะมีเวลาพอในการซักถามแพทย์ที่จะทำการผ่าตัดท่าน ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถตัดสินใจได้อย่างดีที่สุด

คำถามสำคัญที่สุดก็คือ ทำไมถึงต้องรักษาด้วยการผ่าตัด และ มีวิธีรักษาด้วยวิธีอื่นหรือไม่ เพราะการผ่าตัด และการรักษาวิธีอื่น ๆ ก็มีทั้งข้อเสีย (ความเสี่ยง) และ ข้อดี (ประโยชน์) ควรเลือกวิธีรักษาที่มีข้อดีมากกว่าข้อเสีย

แพทย์ของท่านควรยินดีที่จะตอบคำถามของท่าน ถ้าท่านไม่เข้าใจคำตอบ ให้ซักถามแพทย์เพื่ออธิบาย เพิ่มเติมจนเข้าใจดี ผู้ป่วยที่มีข้อมูลเกี่ยวกับการรักษา มีแนวโน้มที่จะพึงพอใจกับผลของการรักษาที่เกิดขึ้น



1.การผ่าตัดแบบไหนที่แพทย์แนะนำ


ถามแพทย์เพื่อให้อธิบายเกี่ยวกับการผ่าตัด เช่น มีสิ่งใดบ้างที่ต้องเย็บซ่อม หรือ ตัดออก และทำไม่ต้องทำเช่นนั้น ขอให้แพทย์วาดรูปหรืออธิบายขั้นตอนเกี่ยวกับการผ่าตัด มีวิธีผ่าตัดวิธีอื่นอีกหรือไม่ และทำไมแพทย์ถึงเลือกผ่าด้วยวิธีนี้


2.ทำไมคุณถึงจำเป็นต้องผ่า

มีหลายเหตุผลที่จะต้องทำการรักษาด้วยการผ่าตัด เช่น เพื่อช่วยลดหรือป้องกันอาการปวด เพื่อลดปัญหาหรือช่วยให้การทำงานของอวัยวะดีขึ้น เพื่อให้ได้การวินิจฉัยโรคที่แน่นอน เพื่อช่วยรักษาชีวิต เป็นต้น คุณต้องแน่ใจว่าเหตุผลของการผ่าตัดคืออะไร เหมาะสมกับโรคที่คุณเป็นอยู่หรือไม่


3.มีทางเลือกอื่นอีกหรือไม่ นอกจากการผ่าตัด

บางครั้งการผ่าตัดก็ไม่ได้เป็นคำตอบเดียวสำหรับโรคที่เป็น การรักษาด้วยยา หรือ วิธีที่ไม่ผ่าตัด เช่น การเปลี่ยนอาหาร หรือ การออกกำลังกาย อาจช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้นได้ ถามแพทย์ถึงข้อดี ข้อเสีย ของการรักษาด้วยวิธีอื่น คุณควรจะรู้ให้มากที่สุดเกี่ยวกับประโยชน์และความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น เพื่อการตัดสินใจที่ดีที่สุด

ทางเลือกหนึ่งคือการรอดูอาการ ซึ่งแพทย์และคุณอาจรอดูว่าปัญหาที่เป็นอยู่จะดีขึ้นหรือแย่ลง ถ้าแย่ลง คุณอาจเลือกถูกที่ผ่าตัด แต่ถ้าคุณดีขึ้น คุณก็อาจจะเลื่อนการผ่าตัดไปได้ บางทีอาจตลอดชีวิต


4.ข้อดีของการรักษาด้วยการผ่าตัด

ถามแพทย์ว่าคุณจะได้ประโยชน์อะไรจากการผ่าตัด เช่น การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมอาจจะทำให้คุณกลับมาเดินได้อีกครั้ง

ถามว่าประโยชน์นั้นจะอยู่นานเท่าไร สำหรับการผ่าตัดบางอย่าง อาจได้ประโยชน์อยู่ไม่นานนักและต้องการ การผ่าตัดครั้งที่สองในเวลาต่อมา

เมื่อถามถึงประโยชน์ที่จะได้รับ ในความเป็นจริงบางครั้งผู้ป่วยก็คาดหวังมากเกินไป ทำให้ไม่พึงพอใจผลที่เกิดขึ้น

ถามแพทย์ของท่านถ้ามีข้อมูลสาธารณเกี่ยวกับผลของการรักษาด้วยวิธีนั้น ว่ามีหรือไม่ หาได้ที่ไหน


5.การผ่าตัดมีความเสี่ยงอะไรบ้าง

การผ่าตัดทุกอย่างก็มีความเสี่ยงทั้งนั้น นี่คือเหตุผลที่คุณจะต้องชั่งน้ำหนักระหว่างประโยชน์ที่จะได้กับความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อน หรือ ผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้น

ภาวะแทรกซ้อน สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาของการผ่าตัด ซึ่งไม่สามารถบอกได้แน่นอน เช่น การติดเชื้อ การเสียเลือดมากเกินไป ปฏิกิริยาต่อยาระงับความรู้สึก หรือ อุบัติเหตุ ผู้ป่วยบางรายก็จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากโรคอื่น ๆ ที่เป็นอยู่

ผลข้างเคียงจากการผ่าตัด ซึ่ง เป็นสิ่งที่พอบอกได้ว่า จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง เช่น การบวม การปวดบริเวณผ่าตัด เวียนศีรษะคลื่นใส้จากยาแก้ปวด เป็นต้น

ถามแพทย์เกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนและผลข้างเคียงจากการผ่าตัด อาการปวดหลังการผ่าตัดเกิดขึ้นแน่นอน ถามว่าจะปวดมากน้อยขนาดไหน และ แพทย์และพยาบาลจะทำอย่างไรที่จะลดอาการปวดนั้น


6.จะเกิดอะไรขึ้นถ้าไม่ผ่าตัด

จากการที่คุณได้ทราบถึงประโยชน์และความเสี่ยงของการผ่าตัด คุณอาจตัดสินใจที่จะไม่ผ่าตัด ถามแพทย์ว่าอะไรที่คุณจะได้หรือจะเสีย ถ้ายังไม่ผ่าตัดในตอนนี้ เช่น ปวดมากขึ้น มีภาวะแทรกซ้อน หรือ โอกาสที่อาจจะหายเอง


7.สามารถปรึกษาขอความเห็นจากแพทย์ท่านอื่นได้ที่ไหน

การที่ได้รับความเห็นจากแพทย์ท่านอื่นที่คุณจะแน่ใจได้ว่าการผ่าตัดเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดของคุณ คุณควรถามบริษัทประกันของคุณเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการปรึกษาแพทย์ท่านอื่น ถ้าคุณมีแพทย์ท่านอื่นให้ปรึกษา ก็ควรนำเอกสารบันทึกต่าง ๆ จากแพทย์คนแรก เพื่อที่จะได้ไม่ต้องทำการตรวจผลต่าง ๆ ซ้ำ


8.แพทย์เคยผ่าตัดด้วยวิธีนี้มามากน้อยแค่ไหน

ทางหนึ่งที่จะลดความเสี่ยงของการผ่าตัด ก็คือการเลือกแพทย์ที่ได้รับการฝึกเกี่ยวกับการผ่าตัดวิธีนั้นและ มีประสบการณ์ในการทำผ่าตัดวิธีนั้น คุณสามารถถามแพทย์เกี่ยวกับผลของความสำเร็จและภาวะแทรกซ้อน เกี่ยวกับการผ่าตัด ถ้าทำได้คุณควรซักถามแพทย์ที่รักษาคุณเป็นประจำเกี่ยวกับความเชี่ยวชาญของแพทย์ที่จะผ่าตัด


9.การผ่าตัดทำที่ไหน

แพทย์ส่วนใหญ่จะทำงานในโรงพยาบาล 1-2 แห่ง ถามแพทย์ว่าการผ่าตัดจะทำที่ไหน เพราะบางทีผลของการผ่าตัดในโรงพยาบาลที่ต่างกัน ก็อาจไม่เหมือนกัน

ปัจจุบัน การผ่าตัดสามารถทำได้ทั้งวิธีที่ต้องนอนพักในโรงพยาบาล และ ทำแบบผู้ป่วยนอก (ไม่ต้องนอนในโรงพยาบาล) ซึ่งการผ่าตัดแบบผู้ป่วยนอกจะเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าเพราะคุณไม่ต้องเสียค่าห้องพัก คุณควรถามแพทย์ว่าสามารถผ่าตัดแบบผู้ป่วยนอกได้หรือไม่ เพราะอะไร


10.จะให้ยาระงับความรู้สึกแบบไหน

การให้ยาระงับความรู้สึกจะทำให้ไม่เกิดอาการปวดที่ไม่จำเป็น แพทย์ของคุณจะบอกคุณได้ว่าแบบไหน ที่เป็นการให้ยาระงับความรู้สึกที่เรียกว่า แบบเฉพาะที่ แบบเฉพาะบริเวณ ? เฉพาะส่วน? หรือ แบบยาสลบทั่วไป ?

แบบเฉพาะที่ จะหมดความรู้สึกเฉพาะจุดที่ฉีดยา ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เช่น การถอนฟัน ก็จะชาเฉพาะฟัน และ เหงือกรอบ ๆ

แบบเฉพาะส่วน จะหมดความรู้สึกในบริเวณกว้างออกไป ใน 3-4 ชั่วโมง เช่น ส่วนล่างของร่างกาย ในกรณีบล๊อกหลัง

แบบทั่วไป คุณจะหมดความรู้สึกทั้งร่างกาย ตลอดการผ่าตัด โดยที่คุณจะไม่รู้สึกตัวเลย

การให้ยาระงับความรู้สึก ค่อนข้างจะปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยส่วนใหญ่ และจะทำโดยวิสัญญีแพทย์ (หมอดมยา) หรือ วิสัญญีพยาบาล (พยาบาลดมยา) ซึ่งจะมีความเชี่ยวชาญและได้รับการฝึกสอนที่จะให้ยาระงับความรู้สึก

ถ้าคุณตัดสินใจที่จะผ่าตัด หาวิธีที่จะได้พบผู้ที่จะให้ยาระงับความรู้สึกกับคุณ และหาข้อมูลว่าเขามีความเชี่ยวชาญทางไหน ถามถึงผลข้างเคียงและความเสี่ยงของการให้ยาระงับความรู้สึกในกรณีของคุณ ต้องแน่ใจว่าคุณได้บอกเขาเกี่ยวกับโรคที่คุณเป็นอยู่ รวมถึง การแพ้ยาและ ยาที่คุณกินอยู่ เพราะอาจมีผลต่อการให้ยาระงับความรู้สึก


11.ใช้เวลานานเท่าไรจึงจะหาย

แพทย์สามารถบอกคุณได้ว่า คุณจะรู้สึกอย่างไร และ อะไรที่คุณจะทำได้ หรือ ห้ามทำ ในช่วงวัน สัปดาห์ หรือ เดือน แรก ๆ หลังผ่าตัด และคุณจะต้องอยู่ใน รพ.นานเท่าไร

สอบถามถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ ต่าง ๆ ที่จะช่วยเหลือคุณเมื่อกลับไปอยู่ที่บ้าน การที่ได้รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นจะช่วยให้คุณรู้สึกสบายใจขึ้นเมื่อต้องกลับบ้าน

ถามว่าเมื่อไรที่คุณสามารถกลับไปเล่นกีฬา หรือ กลับไปทำงานได้เหมือนปกติ คุณคงไม่ต้องการทำอะไรที่จะทำให้คุณหายช้าลง การยกของหนัก 5 กิโลกรัมอาจดูเหมือนว่า "ไม่หนัก" แต่ หลังผ่าตัด มันอาจหนักเกินไปก็ได้ คุณควรทำตามคำแนะนำของแพทย์เพื่อจะได้แน่ใจว่าคุณจะหายดีเร็วที่สุดที่จะเป็นไปได้


12.การผ่าตัดมีค่าใช้จ่ายประมาณเท่าไร

ระบบประกันสุขภาพสำหรับการผ่าตัด อาจไม่ครอบคลุมทั้งหมด บางส่วนคุณอาจต้องจ่ายเอง ก่อนผ่าตัดควรถามบริษัทประกันของคุณว่าอะไรบ้างที่จะจ่ายให้ และคุณต้องจ่ายเองเท่าไร

ถามแพทย์เกี่ยวกับ "ค่าดูแลของแพทย์" ว่ารวมอะไรบ้าง ค่าดูแลของแพทย์โดยทั่วไปจะรวมถึงการเยี่ยมหลังผ่าตัดด้วย คุณต้องเสียค่าใช้จ่ายให้กับ รพ.เกี่ยวกับการดูแลทั้งผู้ป่วยใน และผู้ป่วยนอก รวมถึงวิสัญญีแพทย์ และ การดูแลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผ่าตัด


ดัดแปลงจาก :

Questions To Ask Your Doctor Before You Have Surgery.

Consumer brochure. AHCPR Publication No. 95-0027. Agency for Health Care Policy and Research, Rockville, MD.

https://www.ahcpr.gov/consumer/surgery.htm

ควรบอก หรือ ถามอะไร แพทย์ก่อนที่จะผ่าตัด ???

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=14-01-2008&group=4&gblog=7

คำถามที่ควรถามแพทย์ของท่านก่อนที่จะผ่าตัด

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=12-01-2008&group=4&gblog=6

ผ่าตัด เสี่ยงหรือเปล่าครับหมอ ???.... " หมอรับรองหรือเปล่าว่าจะหาย ???"

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-09-2009&group=7&gblog=35

ข้อดี ข้อเสีย ของ การดมยา และการบล็อกหลัง

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-06-2008&group=6&gblog=17

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยที่จะมารับยาสลบ

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-06-2008&group=6&gblog=18




Create Date : 12 มกราคม 2551
Last Update : 22 มกราคม 2562 21:52:57 น. 5 comments
Counter : 20146 Pageviews.  

 
แวะมาเยี่ยมหมอหมูค่ะ สบายดีนะคะ.....


โดย: Suessapple วันที่: 12 มกราคม 2551 เวลา:21:10:31 น.  

 
สวัสดีค่ะคุณหมอ แวะเข้ามาครั้งแรก
ขออนุญาตแอ๊ดชื่อในบล๊อกนะคะเผื่อจะเข้ามา update ข้อมูลบ่อยๆค่ะ


โดย: เพชร (eyewitness ) วันที่: 12 มกราคม 2551 เวลา:22:03:58 น.  

 

สบายดีครับ คุณ Suessapple ผมยังอ้วนท้วนสมบูรณ์ เหมือนเดิม ...ไม่มีผอม ...


ยินดีครับ ..คุณเพชร..


ขอบคุณทั้งสองท่านเลยนะครับ


โดย: หมอหมู วันที่: 14 มกราคม 2551 เวลา:17:49:54 น.  

 
เข้ามาขอบคุณที่คุณหมอแวะไปตอบกระทู้ค่ะ


โดย: ครูป้อม (pawalai ) วันที่: 24 มิถุนายน 2553 เวลา:18:54:51 น.  

 
คุณหมอเลิกเล่นบล็อกแล้ว


โดย: หอมกร วันที่: 29 ตุลาคม 2567 เวลา:7:41:51 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ให้ทิปเจ้าของ Blog [?]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 763 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]