Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ระบบบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขไทย “ลงทุนน้อยแต่หวังผลเกินจริง” ..รักษาฟรี ไม่พอใจแถมเงินกลับบ้าน




ระบบบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขไทย “ลงทุนน้อยแต่หวังผลเกินจริง”

ของถูกๆดีๆมีที่กระทรวงสาธารณสุขแห่งประเทศไทย

รักษาฟรี ไม่พอใจแถมเงินกลับบ้าน


.... พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา

ประธานสหพันธ์ผู้ปฎิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย(สผพท)

President of Healthcare Workforce of Thailand(FHWT)




จากสถิติของWorld Bank //www.worldbank.org ประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายในด้านการดูแลรักษาสุขภาพเของประชาชนแต่ละคนพียง 136 เหรียญสหรัฐ ในขณะที่ค่าใช้จ่ายด้านนี้โดยเฉลี่ยทั่วโลกต่อประชาชน 1คนเหมือนกัน คือ 802 เหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น พบว่าสิงคโปร์มีค่าใช้จ่ายนี้ 1,148 เหรียญ มาเลเซีย 309 เหรียญ จีน 108 เหรียญ ญี่ปุ่น 2,751 เหรียญ ออสเตรเลีย 3,968 เหรียญ สหรัฐ 7.285 เหรียญ

ถ้าเปรียบเทียบจำนวนประชากรทั้งโลกที่มี 6,619 ล้านคนประเทศไทยมีประชากร 66.9ล้านคน คิดเป็น 1% ของประชากรทั้งโลก แต่ประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสุขภาพเพียง 0.17% ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประชากรโลก

เมื่อคิดอัตราค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพเปรียบเทียบกับรายได้มวลรวมของประเทศ พบว่า ประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพเพียง 3.7% สิงคโปร์ 3.7% มาเลเซีย 4.4%จีน 4.6%ญี่ปุ่นเท่ากับ 8.0% ออสเตรเลีย 8.9% สหรัฐ 18.7%

แต่ถ้าเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสุขภาพของรัฐบาลแล้ว จะพบว่า รัฐบาลไทยมีภาระค่าใช้จ่ายด้านนี้สูงถึง 11.3% ของค่าใช้จ่าย(งบประมาณ)ของประเทศ ในขณะที่ มาเลเซียมีอัตราภาระเดียวกันนี้เพียง 7.0% สิงคโปร์ 5.4% มาเลเซีย 7.0% จีน 9.9% ญี่ปุ่น 11.9 อเมริกา 14.8




จะเห็นได้ว่า ประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพต่อประชาชน 1 คนต่ำมาก แต่ต้องใช้เงินงบประมาณแผ่นดินในอัตราส่วนที่สูงกว่าหลายๆประเทศ ทั้งนี้ เพราะนโยบายประชานิยม ที่ทำให้ประชาชน 47 ล้านคน มีสิทธิในการมารับการรักษาพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพ โดยไม่มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง

และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่มีค่าใช้จ่ายในการบริหารสำนักงานกองทุนในราคาสูง แต่งบประมาณที่ไปส่งให้โรงพยาบาลที่ต้องรักษาผู้ป่วยนั้น เหลือ*เพียง 600 บาทต่อคนต่อปี คิดแล้วน้อยกว่า 20 เหรียญสหรัฐต่อคนต่อปี

จึงไม่น่าแปลกใจเลย ที่โรงพยาบาลของรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข ที่เป็นแหล่งที่ต้องรับผิดชอบดูแลรักษาประชาชน 47 ล้านคน จะมีสภาพการเงินติดลบทางบัญชี ถึง 2 ใน 3 *ของจำนวนโรงพยาบาลทั้งหมด และมีโรงพยาบาลจำนวน 300 กว่าแห่งที่ขาดสภาพคล่องทางการเงิน*


นอกจากงบประมาณแผ่นดินจะตกไปถึงโรงพยาบาลเป็นส่วนน้อยแล้ว ยังพบว่าการรักษาผู้ป่วยของโรงพยาบาลเหล่านี้ ถูกจำกัดด้วยบัญชียาหลักแห่งชาติ และสปสช.เองก็กำหนดรายการยามาด้วยในรายการที่เป็นโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงบางโรค เช่น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ทั้งๆที่สปสช.มิได้เป็นผู้เชี่ยวชาญในการรักษาโรคเหล่านั้น ทำให้มีข้อจำกัดในการที่แพทย์ไม่สามารถสั่งยาที่เหมาะสมให้ผู้ป่วยได้ เพราะถ้าสั่งยาอื่น ก็ไม่สามารถเบิกเงินค่ารักษาผู้ป่วยจากสปสช.ได้ และยังมีกำหนดกฎเกณฑ์อื่นๆอีกมากมาย ที่ผิดเพี้ยนไปจากที่พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติบัญญัติไว้ เช่น การที่สปสช.ไปซื้อเครื่องมือและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์เอง ทั้งๆที่ไม่ใช่หน้าที่ของสปสช. และการบริหารงานที่อาจผิดกฎหมายอื่นๆอีกมากมาย

เนื่องจากงบประมาณที่โรงพยาบาลได้รับมีจำนวนน้อยกว่าภาระงานจริง ทำให้ประชาชนไม่ได้รับยาที่เหมาะสมที่สุด และผลการรักษาของประชาชนในกลุ่มบัตรทอง มี *อัตราป่วยตายสูงที่สุด (ตายจากการเจ็บป่วย) สูงกว่าระบบประกันสังคม และระบบสวัสดิการข้าราชการ อย่างเห็นได้ชัด

นอกจากความขาดแคลนด้านงบประมาณแล้ว โรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขยังขาดบุคลากรในปริมาณที่เหมาะสมกับจำนวนผู้ป่วย เห็นได้ชัดเจนว่าพยาบาลติองทำงานควบเวร 16 ชั่วโมง แพทย์ต้องทำงานติดต่อกันมกากว่า 32 ชั่วโมง โดยไม่ได้พักผ่อนนอนหลับอย่างเต็มที่ เพราะแพทย์มีหน้าที่เวรที่ต้องตื่นตลอดในห้องฉุกเฉิน และยังมีเวรที่หลับๆตื่นๆสำหรับดูแลรักษาผู้ป่วยที่นอนในโรงพยาบาลอีก ถ้าถูกตามไปดูผู้ป่วยตลอดทั้งคืน ก็ไม่ได้นอนหลับเลย และเมื่อหมดหน้าที่แพทย์เวรแล้ว ก็ยังไม่สามารถกลับไปพักผ่อนได้ ต้องทำหน้าที่แพทย์ประจำในเวลาราชการต่อไปอีก จนหมดเวลาราชการจึงจะไปพักผ่อนนอนหลับได้

พบว่า สัดส่วนแพทย์ต่อประชาชนของสวีเดน(ที่ชอบเอามาอ้างกันมาก) นั้น มีแพทย์ 1 คนต่อประชากร 322 คน แต่ แพทย์ไทยในโรงพยาบาลอำเภอมีแพทย์ 1 คน ต่อประชาชน 30,000 คน

พยาบาลของสวีเดนมี1 คนต่อประชาชน 121 คน แต่ ประเทศไทยมีพยาบาล 1 คนต่อประชาชน 651 คน

ทั้งนี้ ไม่ต้องกล่าวถึงบุคลากรทุกประเภทในโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข ที่ต้องเปิดทำการตลอด 24 ชั่วโมงทุกวันตลอดปี แต่ไม่สามารถบรรจุ บุคลากรเข้าทำงานได้ เพราะข้อจำกัดของ กพ. โรงพยาบาลจึงต้องเจียดเงินในลิ้นชักของโรงพยาบาล มาจ้างบุคลากรต่างๆ มาช่วยทำงานดูแลรักษาประชาชนเพิ่มเติม แต่ก็ยังไม่มีจำนวนที่เหมาะสมอยู่ดี

การที่โรงพยาบาลต้องควักเงินของโรงพยาบาล ที่มีน้อยอยู่แล้ว บางโรงพยาบาลอยู่ในสภาวะที่ขาดสภาพคล่องทางการเงิน ทำให้โรงพยาบาล ไม่สามารถที่จะซื้อยา หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยได้

จึงไม่แปลกอะไร ที่เราจะเห็นโรงพยาบาลของรัฐบาลทุกระดับ พยายามจัดงานต่างๆในการระดมทุนหรือขอบริจาคจากประชาชน เพื่อหารายได้มาดำเนินงานรักษาผู้ป่วยอยู่เป็นนิจศีล โรงพยาบาลรัฐบาลขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียงในระดับสูงสิบอันดับแรกของประเทศ เช่นโรงเรียนแพทย์ต่างๆ ก็หาเงินบริจาคได้มาก แต่โรงพยาบาลเล็กๆ ก็ขาดเงินทำงานอยู่ร่ำไป

การขาดเงินทำงานของโรงพยาบาล ประกอบกับรัฐบาลไม่ได้จัดสรรเงินในการพัฒนาโรงพยาบาลเลย เพราะภาระค่าใช้จ่ายงบประมาณให้สปสช.สูงถึงปีละ 120,000 ล้านบาท ทำให้กระทรวงสาธารณสุขไม่มีเงินมาซ่อมแซม ปรับปรุง และพัฒนาโรงพยาบาลรวมทั้งไม่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีและเครื่องมือทางการแพทย์มานับ 10 ปีแล้ว

โดยสรุป โรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข อยู่ในสภาพขาดแคลนองค์ประกอบที่จะทำงานดูแลรักษาประชาชนทั้ง คน เงิน และของ

แต่บุคลากรของกระทรวงสาธารณสุขก็ยังก้มหน้าก้มตา ทำงานตามหน้าที่ในวิชาชีพ ที่ได้รับการปลูกฝัง ให้มีมาตรฐาน มีจรรยาบรรณ มีคุณธรรม จริยธรรม ทั้งนี้ เพื่อช่วยดูแลรักษาประชาชนอย่างเต็มกำลังความสามารถ ยอมทำงานยาวนานติดต่อกันเกินมาตรฐานที่ควรทำ หาเตียงเสริม หาเงินบริจาค และพยายามทำหน้าที่ของตนเองอย่างดีที่สุดเท่าที่จะทำได้

แต่การทำงานที่ยาวนานติดต่อกันเกินมาตรฐานของวิชาชีพนี้ทั่วโลก อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อความผิดพลาด และผลเสียต่อผู้ป่วยได้ง่าย

บุคลากรที่ทนภาระงานไม่ได้ หรือมีความจำเป็นทางครอบครัว ก็เลือกการลาออกไปหาโอกาสในการทำงานในสภาพที่ดีกว่านี้ บุคลากรที่ยังเหลืออยู่ก็ยิ่งมีภาระเพิ่มขึ้น

แต่แทนที่รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุข จะหาทางป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนในการไปโรงพยาบาล กลับรอให้เกิดความเสียหาย พิการ ตาย แล้วจึงจะให้ค่าช่วยเหลือและชดเชย

แทนที่ประชาชนจะไปเรียกร้องให้รัฐบาล ให้จัดการบริการทางการแพทย์ให้เหมาะสม กลับพอใจที่จะเสี่ยงอันตราย แล้วมาขอเงินชดเชยหลังจากพิการหรือตายไปแล้ว

การเขียนพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุขนั้น เขียนหลักการและเหตุผลให้ดูดี แต่ซ่อนความนัยไว้มาก การอ้างว่าไม่เพ่งโทษบุคคล ก็ไม่จริง การอ้างว่าไม่พิสูจน์ถูก/ผิด ก็ไม่จริง การอ้างว่า การร้องเรียนฟ้องร้องจะลดลงก็ไม่จริง

และที่สำคัญคือ บทเฉพาะกาล 120 วัน เขียนล็อคสเปคไว้เลยว่า ใครจะมานั่งบริหารกองทุนในระยะแรก เพื่อเตรียมวางตัวคนมาบริหารกองทุนระยะยาว และเตรียมงาบ งบประมาณมากมายมหาศาล

เหมือนการเขียนพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แล้วมานั่งเป็นเลขาธิการ และวางตัวทายาทคนต่อไป

ผลักดันร่างพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ แล้วมาเป็นเลขาธิการเอง

ชงเอง กินเอง และหากองทุนใหม่เพื่อกินต่อไป

ปปช.สมควรมาตรวจสอบผลประโยชน์ทับซ้อนของคนกลุ่มนี้ด้วย

สำหรับรัฐบาลนี้ มองดูคนที่มาเป็นรัฐมนตรีแต่ละคน ก็ดูภายนอกอาจ smart แต่ดูแนวคิดและการทำงานแล้ว หากึ๋นไม่เจอเลย

หรือผู้เขียนจะมองคนผิดไป?

*ข้อมูลจากการสัมมนา “แปดปีภายใต้หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 12 มีค. 2553 จัดโดยแพทยสภา








ปล. เชิญชวนให้อ่านบทความ ๓ ตอนนี้ .. ซึ่งอาจเป็นทางเลือกทางรอด ???

ปีกสองข้างของการบริการสุขภาพและการสาธารณสุขไทย ปัญหาที่ท้าทาย .. โดย .. นพ.อุสาห์ พฤฒิจิระวงศ์

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-07-2010&group=7&gblog=65

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-07-2010&group=7&gblog=67

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-07-2010&group=7&gblog=68



ผมชอบที่ นพ.อุสาห์ สรุปไว้ อ่านแล้ว " ใช่เลย " ..


วิธีการที่บริหารจัดการ เพื่อแก้ปัญหาปกป้องดูแลประชาชน ไม่ให้ได้รับความเสียหาย และ ดูแลผู้ที่ประสบความเสียหาย จากการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข ที่บกพร่องนั้น ประกอบด้วย

๑.การปกป้องไม่ให้ประชาชนได้รับความเสียหาย

๒.การจัดการแก้ไข การบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข ที่บกพร่อง

๓.การดูแลประชาชน ผู้ที่ประสบความเสียหายจาก การบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข ที่บกพร่อง

๔.การดูแลประชาชน ผู้ที่ประสบความเสียหายจาก การบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข ที่ไม่บกพร่อง

เป็นหน้าที่ของรัฐบาล ที่จะดำเนินการจัดตั้งกระบวนการใหม่ให้แก่องค์กรของรัฐที่มีอยู่ ทำหน้าที่ทั้ง๔ข้อดังกล่าว

จึงไม่ใช่สิ่งที่ แพทย์และบุคลากรผู้ปฏิบัติหน้าที่ กับ ประชาชน ที่จะต้องออกมาทะเลาะกัน

และไม่ใช่หน้าที่ของ เอ็นจีโอ ที่จะมาเสนอกฎหมายที่มีผลกระทบต่อผู้เกี่ยวข้องในวงกว้าง แล้วตนเองไปนั่งควบคุมกำกับการใช้เงินกองทุน ที่มาจากภาษีประชาชนและเงินของผู้ที่ถูกระบุในกฎหมาย









Create Date : 11 สิงหาคม 2553
Last Update : 11 สิงหาคม 2553 10:37:15 น. 2 comments
Counter : 2476 Pageviews.  

 
"อบอุ่นรัก ใดเล่า เท่าอกแม่
รักแน่แท้ แม่ให้ ด้วยใจมั่น
ใครรักเรา เท่าไร ไม่มีวัน
จะเทียบทัน รักแท้ แม่ให้เรา"


โดย: panwat วันที่: 11 สิงหาคม 2553 เวลา:11:07:35 น.  

 
ใครสนใจก็ลองแวะไปโหลดมาอ่านกันนะครับ ...

ร่างใหม่ จาก สภาทนายความ
//www.mediafire.com/?4lyz3rpl37pa8xc

เปรียบเทียบ ๓ ร่าง พรบฯ
//www.mediafire.com/?slodsosamvks28e

รวมบทความ พรบฯ
//www.mediafire.com/?p7r6az6gk19ot



โดย: หมอหมู วันที่: 14 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:2:21:06 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 763 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]