Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

iinfographic 9 ข้อควรรู้เรื่องเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติมีสิทธิทุกที่ ( UCEP )


9 ข้อควรรู้เรื่องเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติมีสิทธิทุกที่ ( UCEP , ยูเซ็ป )
























“ เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่” (Universal Coverage for Emergency Patients : UCEP) กำหนดให้ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ได้ทุกแห่ง เพื่อให้ได้รับการดูแลรักษาอย่างทันท่วงที โดยไม่ต้องสำรองจ่ายเงินในระยะ 72 ชั่วโมงแรก
ศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต โทร. 02 872 1669
ศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิฯ ยังได้จัดทำข้อมูลเผยแพร่ในชื่อชุด 9 ข้อควรรู้ก่อนใช้สิทธิ์ UCEP ให้ประชาชนไว้ใช้ศึกษาก่อนเพื่อทำความเข้าใจก่อนใช้สิทธิ UCEP ซึ่งชุดข้อมูลมีรายละเอียดดังนี้

1. UCEP คืออะไร UCEP คือ นโยบายรัฐบาล “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่” Universal Coverage for Emergency Patients (UCEP) กรณีเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชนนอกคู่สัญญา 3 กองทุน(กองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า, กองทุนประกันสังคม กองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ) และในอนาคตจะขยายไปยังกองทุนต่างๆ เพื่อให้เกิดความครอบคลุม ไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตอันจะทําให้ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตได้รับ การคุ้มครองสิทธิในการเข้าถึงบริการ อย่างปลอดภัยโดยไม่มีเงื่อนไขในการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาล เพื่อให้ไม่เป็นอุปสรรคและความเสี่ยงของการดูแลรักษา โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายภายใน 72 ชั่วโมงหรือพ้นภาวะวิกฤต

2. ใครบ้างที่ใช้สิทธินี้ได้ ผู้ที่จะใช้สิทธินี้ได้ต้อง เป็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชน ในพื้นที่ที่อยู่ใกล้และเป็นโรงพยาบาลเอกชนนอกคู่สัญญากับกองทุนที่ผู้ป่วยมีสิทธิ

3. เจ็บป่วยฉุกเฉินแค่ไหนถึงจะใช้สิทธิ UCEP ได้ ผู้ที่จะใช้สิทธินี้ได้ต้องเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ตามหลักเกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน ที่ กพฉ.ประกาศกำหนด และ รายละเอียดเกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ที่ สพฉ. กำหนดกรณีกลุ่มอาการฉุกเฉินวิกฤต คือ หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง หายใจติดขัดมีเสียงดัง ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น หรือมีอาการชักร่วม เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัด แบบปัจจุบันทันด่วน หรือชักต่อเนื่องไม่หยุด หรือมีอาการอื่นร่วม ที่มีผลต่อการหายใจระบบการไหลเวียนโลหิตและระบบสมองที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต

4. ขั้นตอนในการใช่สิทธิ UCEP เป็นอย่างไร ประชาชนทุกคนควรตรวจสอบสิทธิพื้นฐานการรักษาพยาบาลของตนเองในเบื้องต้นว่าเป็นสิทธิอะไร และกรณีเข้าเกณฑ์ฉุกเฉินวิกฤตและเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชนในพื้นที่ ที่อยู่ใกล้ และเป็นโรงพยาบาลนอกคู่สัญญากับกองทุนที่ผู้ป่วยมีสิทธิให้แจ้ง รพ.ให้รับทราบว่าขอใช้สิทธิ UCEP ซึ่งไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายภายใน 72 ชั่วโมงหรือพ้นภาวะวิกฤต

5. ในกรณีที่มีข้อถกเถียงเรื่องอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินว่าเข้าขั้นวิกฤตหรือไม่นั้นจะดำเนินการอย่างไร ในกรณีนี้ โรงพยาบาลเป็นผู้คัดแยกผู้ป่วยตามแนวทางทีสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติกำหนด(Preauthorization)ในกรณีมีปัญหาในการคัดแยกให้ปรึกษา ศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (ศคส.สพฉ.) ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

6. รูปแบบการทำงานของ ศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิฯ ประชาชนสามารถแจ้งเรื่องผ่านได้ทางไหน ติดต่อได้ที่ 02 872 1669

7. หากมีข้อโต้แย้งเรื่องการเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตจะใช้เวลานานหรือไม่ในการพิจารณาให้ผู้ป่วยได้รับการรักษา ทางศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิฯ ร่วมกับวิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย จะประเมินภาวะฉุกเฉินของผู้ป่วยภายใน 15 นาที โดยคำวินิจฉัยของศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติให้ถือเป็นที่สุด

8. เมื่อรักษาครบ 72 ชั่วโมงแล้ว กระบวนการขั้นตอนส่งต่อผู้ป่วยไปรับการรักษาต่อในโรงพยาบาลจะดำเนินการอย่างไร ศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิฯ รับทราบว่ามีผู้ป่วยวิกฤตเข้าระบบ เมื่อโรงพยาบาลเอกชนมีการประเมินและบันทึกการประเมินผู้ป่วยในระบบโปรแกรม Preauthorization และ ศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (ศคส.สพฉ.) จะแจ้งต่อให้กองทุนเจ้าของสิทธิทราบโดยเร็ว เพื่อให้กองทุนเจ้าของสิทธิดำเนินการประสานไปยังโรงพยาบาลต้นสังกัดของผู้ป่วย เพื่อเตรียมการรับย้ายผู้ป่วยเข้าสู่ระบบปกติให้ได้ทันภายใน 72 ชั่วโมงหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลเอกชน เมื่อครบ 72 ชั่วโมงแล้วหรือพ้นภาวะวิกฤตแล้ว

9. หากประสานไปยังโรงพยาบาลต้นทางที่ผู้ป่วยมีสิทธิในการรักษาพยาบาลอยู่แล้วรพ.แจ้งว่าไม่มีเตียงรองรับผู้ป่วย จะมีการดำเนินการเช่นไร และหากมีค่าใช้จ่ายใครจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายนั้น ศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิ์ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (ศคส.สพฉ.) จะแจ้งไปยังกองทุนต่างๆเพื่อให้ดำเนินการตามเงื่อนไขของแต่ละกองทุน



สำหรับกลุ่มอาการฉุกเฉินวิกฤต หลักๆ มี 6 กลุ่ม คือ
1.หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ
2.หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง หายใจติดขัดมีเสียงดัง
3.ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น หรือมีอาการชักร่วม
4. เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง
5.แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัด แบบปัจจุบันทันด่วน หรือชักต่อเนื่องไม่หยุด
 6. หรือมีอาการอื่นร่วม ที่มีผลต่อการหายใจระบบการไหลเวียนโลหิต และระบบสมองที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต

“อยากให้ประชาชนจำ 6 อาการเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตไว้ให้แม่น และหากพบเห็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต  ตาม 6 อาการเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต ให้รีบโทรสายด่วน 1669 เพื่อเข้าให้การช่วยเหลือนำส่งโรงพยาบาลที่เหมาะสมทันที  ทั้งนี้หากประชาชนท่านใดยังมีความไม่เข้าใจในการดำเนินการตามนโนบาย UCEP นี้ก็สามารถโทรเข้ามาสอบถามได้ที่เบอร์ 02- 872- 1669
...............................

จะใช้สิทธิ “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่” ฟรีใน 72 ชั่วโมงแรกต้องรู้อะไรบ้าง?

     1. “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่” Universal Coverage for Emergency Patients (UCEP) คืออะไร คือนโยบายของรัฐบาล ที่เพิ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2560 ที่ผ่านมา เกี่ยวกับการช่วยเหลือประชาชนในการใช้สิทธิรักษาพยาบาล กรณี เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต ฟรีใน 72 ชั่วโมงแรก ผู้ป่วยสามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด โดยไม่มีการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาล เพื่อให้ไม่เป็นอุปสรรคและความเสี่ยงของการดูแลรักษา โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายภายใน 72 ชั่วโมงหรือพ้นภาวะวิกฤต

     2.ใครบ้างที่สามารถใช้สิทธิ “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่” นี้ได้ ต้อง เป็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชน ในพื้นที่ที่อยู่ใกล้และเป็นโรงพยาบาลเอกชนนอกคู่สัญญากับกองทุนที่ผู้ป่วยมีสิทธิ์ โดยเริ่มที่สามกองทุนก่อน คือ กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(บัตรทอง),กองทุนประกันสังคม ,กองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ

     3. เจ็บป่วยฉุกเฉินแค่ไหนถึงจะใช้สิทธิ UCEP ได้ ผู้ที่จะใช้สิทธินี้ได้ต้องเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ตามหลักเกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน ที่ กพฉ.ประกาศกำหนด และ รายละเอียดเกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ที่ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ(สพฉ.) กำหนดกรณีกลุ่มอาการฉุกเฉินวิกฤต คือ หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง หายใจติดขัดมีเสียงดัง ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น หรือมีอาการชักร่วม เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัด แบบปัจจุบันทันด่วน หรือชักต่อเนื่องไม่หยุด หรือมีอาการอื่นร่วม ที่มีผลต่อการหายใจระบบการไหลเวียนโลหิตและระบบสมองที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต

     4. เมื่อรักษาตัวครบ 72 ชั่วโมงแล้ว จะมีขึ้นตอนการส่งตัวผู้ป่วยอย่างไร เมื่อผู้ป่วยเข้ารับการรักษา เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต ก็จะมีการแจ้งเข้าระบบ ของ ศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (ศคส.สพฉ.) และเมื่อทางโรงพยาบาลเอกชนประเมินอาการผู้ป่วย ก็จะแจ้ง กลับไปยังสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เพื่อที่จะให้แจ้ง กองทุนเจ้าของสิทธิดำเนินการประสานไปยังโรงพยาบาลต้นสังกัดของผู้ป่วย เพื่อเตรียมการรับย้ายผู้ป่วยเข้าสู่ระบบปกติให้ได้ทันภายใน 72 ชั่วโมงหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลเอกชน เมื่อครบ 72 ชั่วโมงแล้วหรือพ้นภาวะวิกฤตแล้ว

     ทั้งนี้ ประชาชนที่มีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ศูนย์ประสานงานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วย ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ โทร. 0 2872 1669 หรือสายด่วน สปสช.1330

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.)
โทรศัพท์ : 0-2872-1669
https://www.niems.go.th


:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::

แถม เรื่องที่เกี่ยวข้อง ..

infographic9 ข้อควรรู้เรื่องเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติมีสิทธิทุกที่

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=06-06-2017&group=7&gblog=216

นพ.ธีระ วรธนารัตน์ : เจ็บป่วยฉุกเฉินเมื่อนโยบายยังไม่ชัด ต้องคิดก่อนเข้า

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=21-02-2017&group=7&gblog=212

เจ็บป่วยฉุกเฉินมาตรฐานเดียว นโยบายดีแต่การปฏิบัติล้มเหลว ?...

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=14-10-2014&group=7&gblog=185

 

สพฉ. จับมือ สธ.พัฒนาการให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉินตามนโยบาย เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ดีทุกสิทธิ์

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=02-04-2015&group=7&gblog=186

คำแนะนำเพื่อหลีกเลี่ยงค่ารักษาโรงพยาบาลเอกชนแสนแพง... ( นำมาฝาก )

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=28-05-2015&group=7&gblog=189

โรงพยาบาลเอกชน "แพง" ..ข้อมูลที่ยังไม่รู้ หรือว่า แกล้งไม่รู้ ? ( ฟังความอีกข้าง ^_^ )

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=08-06-2015&group=7&gblog=190

ตรวจสอบค่ารักษาพยาบาล Online ได้ที่https://www.hospitalprice.org หรือ สายด่วนสุขภาพ 02 193 7999

***********************************

 

สบส.ส่งหนังสือเวียนแจ้งบังคับใช้ ‘รพ.’ ใดเก็บเงิน ‘ผู้ป่วยฉุกเฉิน’ มีโทษตามกฎหมายทันที
มติชนออนไลน์ วันที่ 22 มกราคม 2560 - 16:23 น.
https://www.matichon.co.th/news/436676


เมื่อวันที่ 22 มกราคม นพ.วิศิษฎ์ ตั้งนภากร อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวว่า พ.ร.บ. สถานพยาบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559 ได้ประกาศในราช
กิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2559 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2559 เป็นต้นมา เจตนารมณ์กฎหมายฉบับนี้ เพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐาน ความปลอดภัยของระบบบริการสุขภาพ
ครอบคลุมสถานพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน อย่างไรก็ตาม ตามกฎหมายฉบับนี้ นอกจากจะกำหนดให้สถานพยาบาลทุกแห่งต้องแสดงชื่อ รายการผู้ประกอบวิชาชีพ อัตราค่ารักษาพยาบาล ค่าบริการทางการแพทย์ และค่าบริการอื่นแล้ว ยังต้องแสดงค่ายาเวชภัณฑ์ และห้ามเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเกินอัตราที่แสดง และ มีการเพิ่มหลักเกณฑ์การดำเนินการของสถานพยาบาลสำหรับผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษาพยาบาลฉุกเฉิน ตามกฎหมายว่าด้วยการแพทย์ฉุกเฉินอีกด้วย โดยสบส. ได้แจ้งเวียนให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด(สสจ.)ทั่วประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อปฏิบัติเป็นแนวเดียวกัน

ทพ.อาคม ประดิษฐสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กล่าวว่ากฎหมายฉบับนี้ยังได้ปรับปรุงเงื่อนไขการอนุญาตการโฆษณาสถานพยาบาลให้รัดกุมขึ้น โดยกำหนดให้ การโฆษณาทุกชนิดในเขตกรุงเทพมหานคร จะต้องขออนุญาตจาก สบส. และในส่วนภูมิภาค ให้ขออนุญาตที่ สสจ. และได้เพิ่มโทษการโฆษณาโอ้อวดให้หนักขึ้นจากเดิมซึ่งมีแค่โทษปรับอย่างเดียว แต่ กฎหมายฉบับนี้เพิ่มโทษจำคุก 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ปรับอีกวันละไม่เกิน 1 หมื่นบาทจนกว่าจะระงับการโฆษณา ในกรณีที่ลักลอบโฆษณา มีโทษปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาทและให้ปรับอีกวันละไม่เกิน 1 หมื่นบาท จนกว่าจะระงับการโฆษณา กรณีโฆษณาที่มีการเผยแพร่ก่อนกฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ให้ดำเนินการขออนุญาตกับ สบส. หรือสสจ.ในพื้นที่ ภายใน 90 วัน หลังจากประกาศที่ออกตามมาตรา 38 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดย พ.ร.บ.ฉบับนี้ใช้บังคับ และเมื่อยื่นขออนุญาตแล้วอนุโลมให้โฆษณาต่อไปได้จนกว่าจะได้รับแจ้งผลการพิจารณา

ทพ.อาคม กล่าวอีกว่า สำหรับบทลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืน ได้เพิ่มโทษหนักขึ้นกว่าเดิม เพื่อป้องปรามการกระทำผิด เช่น
ารลักลอบเปิดสถานพยาบาลโดยมิได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกจากเดิมไม่เกิน 3 ปี เพิ่มเป็น 5 ปี หรือปรับเพิ่มจากเดิมไม่เกิน 6 หมื่นบาท เป็น 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
กรณีการเก็บค่ารักษาพยาบาล ยา และเวชภัณฑ์เกินกว่าที่แสดงไว้ที่ป้าย ก็มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จากเดิมมีโทษปรับอย่างเดียวไม่เกิน 2 หมื่นบาท
นอกจากนี้ กฎหมายยังครอบคลุมโทษถึงผู้กระทำความผิดที่เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลที่รับผิดชอบการดำเนินงานของนิติบุคคล จนเป็นเหตุให้เกิดการกระทำผิด จะต้องร่วมรับผิดชอบในความผิดนั้นด้วย

 

************************************



 

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1739258779468254&set=a.115271105200371.14950.100001524474522&type=3&theater

สิทธิฉุกเฉิน ข้าราชการ เบิกได้หรือไม่ หลังถาม 1669 ดูตามนี้ครับ

ตามที่กรมบัญชีกลาง ได้ซ้อมความเข้าใจกรณีการเบิกค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินในสถานพยาบาลของเอกชน ตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค0416.4/ว76 ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2561 จึงได้จัดทำ infographic เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาใบประเมินการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน สำหรับส่วนราชการและผู้มีสิทธิได้เข้าใจตรงกัน


สามารถ Download รูปได้ ตามที่ https://bit.ly/2HFiVLE  

เพิ่มเติม จากเฟส สวัสดิการข้าราชการ
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=895367507296123&id=546972928802251

สวัสดิการข้าราชการ ได้เพิ่มรูปภาพใหม่ 8 ภาพ

ตามที่กรมบัญชีกลางได้แจ้งประกาศหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน ในสถานพยาบาลของเอกชน ตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0416.4/ว 333 ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2560 โดยได้กำหนดให้ผู้มีสิทธิที่เป็นผู้ป่วยฉุกเฉินต้องผ่านระบบการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน ตามเกณฑ์การคัดแยกที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติกำหนด และเมื่อผลการพิจารณาว่าเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วนและผู้ป่วยฉุกเฉินไม่รุนแรง ผู้มีสิทธิสามารถยื่นขอใช้สิทธิเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลจากทางราชการได้ แต่เนื่องจากส่วนราชการและผู้มีสิทธิ ได้มีการสอบถามเกี่ยวกับวิธีการพิจารณาว่า กรณีดังกล่าวเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน หรือผู้ป่วยฉุกเฉินไม่รุนแรง และต้องแนบใบประเมินทุกครั้งหรือไม่ กรมบัญชีกลางจึงได้เวียนซ้อมความเข้าใจให้ส่วนราชการและผู้มีสิทธิทราบ โดยพิจารณา ดังนี้
1. การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล ต้องแนบ “ใบประเมินคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน” ทุกครั้ง
2. ใบประเมินคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน ต้องพิจารณาดังนี้
1 หัวข้อ 2.3 ผลการประเมินจะต้องปรากฏข้อความว่า “ไม่เข้าเกณฑ์”
2 หัวข้อ 2.1 การประเมินโดยแพทย์ผู้ให้การรักษา โดยพิจารณาจากรหัส ESI หากผลการประเมินเป็น “ผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน” หรือ “ผู้ป่วยฉุกเฉินไม่รุนแรง” จะปรากฏข้อความว่า “xxเร่งด่วนx” หรือ “xxไม่รุนแรงx” ตามลำดับ ถ้าหากผลการประเมินเป็น “xxอื่นๆx” หรือ “xxทั่วไปx” กรณีดังกล่าวไม่ถือเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินตามประกาศกระทรวงการคลังฯ และไม่สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลจากทางราชการได้

*********************************************





หากเจ็บป่วยฉุกเฉิน ไม่ว่าจะหมดสติ หยุดหายใจ หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง หายใจติดขัด เจ็บหน้าอก หรือแขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก แบบปัจจุบันทันด่วน สามารถโทร 1669 ได้ฝ่ายที่รับผิดชอบจะช่วยคัดกรองและพาเข้าโรงพยาบาลใกล้ที่สุด ไม่มีค่าใช้จ่ายใน 72 ชั่วโมงแรก อาการดีขึ้นแล้วค่อยย้ายออก ระบบนี้เรียกสั้นๆว่า ยูเซ็ป
ถ้าไม่แน่ใจเรื่องสิทธิ์ โทรสายด่วน สปสช.1330 และ 028721669 ได้ครับ อย่างไรก็ตาม หวังว่าทุกคนจะดูแลสุขภาพ ออกกำลังสม่ำเสมอ จะได้ไม่เจ็บป่วยเป็นดีที่ส
ุดครับ

https://www.facebook.com/prayutofficial/photos/a.467755783720042/491660507996236/?type=3&theater

 




Create Date : 06 มิถุนายน 2560
Last Update : 23 มิถุนายน 2562 20:25:15 น. 4 comments
Counter : 20984 Pageviews.  

 
เรืออากาศเอก นพ.อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ได้สรุปผลการปฏิบัติงานของศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (ศคส.สพฉ.) หรือ UCEP Coordination Center ตั้งแต่วันที่1-30 เมษายน พบสถิติผู้ขอใช้สิทธิทั้งสิ้น 3,024ราย โดยเป็นผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ 1,216 คน คิดเป็นร้อยละ 40.21และไม่เข้าเกณฑ์ 1,808 คน คิดเป็นร้อยละ 59.79 ซึ่งเมื่อนำมาจำแนกตามสิทธิการรักษาพยาบาลพบว่าเป็นผู้ป่วยที่ใช้สิทธิการรักษาจากหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า1,796 คน สิทธิสวัสดิการพยาบาลข้าราชการ 485 คน สิทธิประกันสังคม 655 คน และสิทธิกองทุนอื่นๆ อีก 88 คน นอกจากนี้แล้ว 5 อันดับจังหวัดที่มีการขอใช้บริการมากที่สุดมีดังนี้ 1.กรุงเทพมหานคร 2,023 คน2. สมุทรปราการ 113 คน 3. ชลบุรี 77 คน4. พิษณุโลก 122 คน5. นนทบุรี 65 คน

//www.niems.go.th/th/View/ContentDetails.aspx?CateId=108&ContentId=25600508110115912


โดย: หมอหมู วันที่: 7 มิถุนายน 2560 เวลา:13:10:32 น.  

 
นพ.ภูมินทร์ ศิลาพันธ์ รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน (สพฉ.) กล่าวถึงสถิติการประสานงาน ของศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ศูนย์นเรนทร สพฉ. ประจำเดือนพฤษภาคม 2560 มีจำนวนผู้ป่วยฉุกเฉินตามนโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่ (UCEP) 72 ชั่วโมง” สะสม 2,841 คน เข้าเกณฑ์ 1,132 คน ไม่เข้าเกณฑ์ 1,709 คน

ในจำนวนที่เข้าเกณฑ์ แบ่งเป็น เข้าเกณฑ์สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า 744 คน สิทธิประกันสังคม 126 คน สิทธิข้าราชการ 209 คน และสิทธิกองทุนอื่นๆ 52 คน ขณะที่เรื่องร้องเรียน สะสมมีจำนวน 3 ราย ร้องเรียนทางโทรศัพท์ 1 ราย ทางอีเมล์ 2 ราย โดยในเดือนพฤษภาคมมีการคอนเฟอเรนซ์ 3 สาย ปรึกษาแพทย์เวรสพฉ.จำนวน 16 กรณี

//www.niems.go.th/th/View/ContentDetails.aspx?CateId=108&ContentId=25600605092304691


โดย: หมอหมู วันที่: 7 มิถุนายน 2560 เวลา:13:11:31 น.  

 
สพฉ.ชื่นชมนโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ มีสิทธิทุกที่” ประสบผลสำเร็จ และลดปัญหาความแออัดของผู้ป่วยที่ห้องฉุกเฉิน

นายแพทย์สัญชัย ชาสมบัติ ผู้ช่วยเลขาธิการและโฆษกสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติกล่าวว่า การดำเนินงานตามนโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ มีสิทธิทุกที่”(Universal Coverage for Emergency Patients : UCEP) ที่ให้ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติทุกสิทธิ เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดโดยไม่ต้องสำรองจ่ายในระยะ 72 ชั่วโมงแรก ในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมาหลังประกาศนโยบายฯ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน จนถึง 31 กรกฎาคม2560 พบว่า ประสบความสำเร็จด้วยดี และยังสามารถแบ่งเบาปัญหาความแออัดของผู้ป่วยที่ห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลรัฐได้

นายแพทย์สัญชัย กล่าวต่อไปว่า มีผู้ขอใช้บริการแล้ว จำนวน 10,554 ราย เข้าเกณฑ์ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติจำนวน 4,654ราย คิดเป็น 44% ของผู้ของใช้บริการทั้งหมด ที่โรงพยาบาลเอกชน จำนวน 264 แห่ง ใน 62 จังหวัด

กลุ่มผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ พบว่า มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจำนวน3,001ราย สิทธิสวัสดิการข้าราชการฯ จำนวน 884ราย สิทธิประกันสังคม จำนวน 568 ราย ที่เหลือเป็นสิทธิอื่นๆ

โดยกลุ่มอาการเจ็บป่วยส่วนใหญ่ได้แก่ หายใจติดขัดลำบาก (19.75%), อัมพาต แขนขาอ่อนแรง (14.31%), เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน (13.79%)และ หมดสติ ไม่รู้สึกตัว (11.22%) ตามลำดับ

นายแพทย์สัญชัย ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า อาการเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติที่จะเข้าเกณฑ์การใช้สิทธิ UCEP ได้ คือ มีการกู้ชีพหรือประคองชีพด้วยมาตรการอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น ใส่เครื่องช่วยหายใจ ให้ยาควบคุมความดันและการเต้นของหัวใจ หรือมีความเสี่ยงสูงที่จะต้องมีการกู้ชีพหรือประคองชีพ โดยแบ่งเป็น 6 กลุ่มอาการเจ็บป่วยหลักที่จะนำมาสู่ภาวะฉุกเฉินวิกฤติ คือ1) หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ2) หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง หายใจติดขัดมีเสียงดัง3) ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น หรือมีอาการชักร่วม4) เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง5) แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วน หรือชักต่อเนื่องไม่หยุด และ6) มีอาการอื่นร่วมที่มีผลต่อการหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิต และระบบสมองที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต

ทั้งนี้ ความสำเร็จจากการดำเนินงานดังกล่าวต้องขอขอบคุณและขอชื่นชมโรงพยาบาลเอกชน ที่ให้ความร่วมมือต่อนโยบายดังกล่าวเป็นอย่างดี ซึ่งโดยปกติแล้วผู้ป่วยตามสิทธิต่างๆ จะต้องเข้ารับบริการในโรงพยาบาลตามสิทธิ ที่ส่วนใหญ่เป็นโรงพยาบาลรัฐ นโยบายนี้ทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตรอดจากภาวะฉุกเฉินวิกฤติ ช่วยให้เข้าถึงบริการได้อย่างรวดเร็ว และช่วยลดความแออัดในการรับบริการที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลรัฐต่างๆ ลงได้อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นที่สามารถพัฒนาเพิ่มเติมได้ เช่น การสร้างความเข้าใจในคำนิยามต่างๆ ให้ตรงกัน และการกำหนดอัตราเรียกเก็บค่าบริการให้สอดคล้องกับต้นทุน เป็นต้น

นายแพทย์สัญชัย กล่าวทิ้งท้ายว่า หากประชาชนมีการเจ็บป่วยฉุกเฉินสามารถเรียกใช้บริการแพทย์ฉุกเฉิน ได้ที่สายด่วน1669 ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง โดยมีศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการประจำอยู่ทุกจังหวัดทั่วประเทศ

| วันที่ 06/08/2560
//www.thaiemsinfo.com/autopagev4/show_page.php?topic_id=875&auto_id=8&TopicPk


โดย: หมอหมู วันที่: 7 สิงหาคม 2560 เวลา:18:52:08 น.  

 
เผย 6 เดือน มีผู้ขอใช้สิทธิเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ 12,000 ราย เข้าเกณฑ์ 5,700 ราย
Wed, 2017-10-04 16:22 -- hfocus

https://www.hfocus.org/content/2017/10/14652

สพฉ.จัดประชุมติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงาน และรับฟังความคิดเห็นในโครงการ UCEP ระบุตัวเลขผู้ขอใช้สิทธิตลอด 6 เดือนมีมากกว่า 12,000 ราย ผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ประมาณ 5,700 กว่าราย ที่เหลือไม่เข้าเกณฑ์ หรือประมาณ 40% ย้ำโครงการนี้มีขึ้นสำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติเท่านั้น

เมื่อเร็วๆ นี้ ที่โรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ท จังหวัดปทุมธานี สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) จัดประชุมติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงาน และรับฟังความคิดเห็นในโครงการ UCEP ตามนโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ มีสิทธิทุกที่”

เรืออากาศเอก นพ.อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า จากนโยบายของรัฐบาลที่เรียกว่า ฉุกเฉินวิกฤติมีสิทธิทุกที่ หรือ UCEP ที่ได้มีการริเริ่มโครงการนี้มาตั้งแต่ วันที่ 1 เม.ย.2560 โดยวัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อช่วยผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ เวลาที่จะต้องไปรักษาในโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน ในส่วนของโรงพยาบาลของรัฐอาจไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่ในส่วนของโรงพยาบาลเอกชน อาจต้องเสียค่าใช้จ่ายตรงนี้ ฉะนั้น นโยบายนี้จึงมาปิดช่องว่างดังกล่าว เพื่อที่ผู้ป่วยจะได้ไม่ต้องเสียเงิน

“การรักษาตามโครงการฉุกเฉินวิกฤติมีสิทธิทุกที่ หรือ UCEP โดยไม่เสียเงิน ได้กำหนดเงื่อนไข และหลักเกณฑ์การใช้การบริการ เพราะโครงการนี้ไม่ได้มาแทน รูปแบบของการจ่ายเงินแบบเดิม เพียงแต่มาเสริมมาปิดช่องว่างที่ไม่คลอบคลุม วิธีการก็คือ ในกรณีถ้ามีการเจ็บป่วยฉุกเฉินเกิดขึ้น แนะนำให้โทร 1669 ทาง 1669 ก็จะได้ช่วยประเมิน หรือว่าช่วยส่งบุคลากร หรือส่งทีม เข้ามาประเมินแล้วส่งเข้าไปทำการรักษายังโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ถ้าเข้าไปยังสถานพยาบาลของรัฐก็จะเข้าสู่กระบวนการกองทุนแบบเดิม เช่น ประกันสังคม สิทธิข้าราชการ สิทธิบัตรทอง ถ้าไปยังโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งอยู่นอกคู่สัญญา ในกรณีที่เกิดภาวะฉุกเฉิน ต้องอยู่ในระดับที่เรียกว่าฉุกเฉินวิกฤติเท่านั้น ถ้าฉุกเฉินธรรมดา ฉุกเฉินไม่รุนแรง หรือแบบทั่วไปไม่สามารถใช้สิทธินี้ได้” เรืออากาศเอก นพ.อัจฉริยะ กล่าว

เลขาธิการ สพฉ. กล่าวอีกว่า กรณีฉุกเฉินวิกฤติ ในความหมายคือ ผู้ป่วยอาจมีความเสี่ยงถึงตายได้ทันที เช่น ภาวะหัวใจหยุดเต้น เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรง หรือว่ามีอาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรง หรือว่ามีอาการตกเลือด หรือเสียเลือดอย่างรุนแรง ถ้าไม่ได้ช่วยก็จะเสียชีวิตทันที หรือที่เกิดจากสภาวะระบบประสาท ยกตัวอย่างเช่น ปากเบี้ยว แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีกเฉียบพลัน เป็นต้น โดยเรื่องนี้ต้องอธิบายเพิ่มเติมว่า ในบางโรค เช่น หลอดเลือดสมองตีบนั้น ถ้าทำการดูแลภายใน 4 ชั่วโมง ถือว่ามีประโยชน์ในการรักษา แต่ถ้าเหตุเกิดขึ้นมากกว่า 4 ชั่วโมงไปแล้ว และผู้ป่วยรู้สึกตัวดี ถือว่าพ้นไปในภาวะฉุกเฉินวิกฤติ ถือว่าเป็นภาวะฉุกเฉินไม่รุนแรง ซึ่งตรงนี้อาจจะใช้สิทธิ UCEP ไม่ได้

“กรณีการใช้สิทธิ UCEP ไม่ได้ ยังหมายรวมถึงกรณีเจ็บป่วยอยู่ภายในโรงพยาบาลอยู่แล้ว แล้วเกิดอาการแย่ลง ตรงนี้ว่าไปตามสิทธิการรักษาตามปกติ รวมถึงการส่งต่อระหว่างโรงพยาบาล เช่น โรงพยาบาล ก. ไปโรงพยาบาล ข.จะใช้สิทธิตรงนี้ไม่ได้เช่นกัน เว้นแต่ว่า การส่งนั้นโรงพยาบาล ก.เป็นโรงพยาบาลเอกชน แล้ว มีการเข้ากระบวนการ UCEP แล้ว แต่ว่าโรงพยาบาลก.รักษาไม่ได้ แล้วส่งไปยัง โรงพยาบาล ข.ตรงนี้ถือเป็นอีกกรณีนึง”

เรืออากาศเอก นพ.อัจฉริยะ กล่าวว่า ตามหลักการเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินวิกฤติขึ้น ให้รีบเข้าโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ๆก่อน ซึ่งจะเป็นโรงพยาบาลรัฐ หรือเอกชนก็ได้ ถ้าเป็นโรงพยาบาลรัฐ ก็ให้เข้าสู่กระบวนการการจ่ายเงิน หรือการเรียกเก็บตามแบบกองทุน ตามสิทธิที่มีอยู่ แต่ถ้าเข้าโรงพยาบาลเอกชนด้วยเหตุจำเป็นเพราะไม่มีทางเลือก กองทุนนี้ก็จะเข้าไปคุ้มครอง การคุ้มครองกรณีถ้าเข้าเกณฑ์ และเงื่อนไข ผู้ป่วยฉุกเฉินสามารถเข้าไปรับบริการ โดยอยู่ได้ไม่เกิน 72 ชั่วโมง ความหมายคือ ถ้ามีการเข้าไปรักษายังโรงพยาบาลเอกชนเป็นแห่งแรก เมื่อผู้ป่วยพ้นวิกฤติภาวะฉุกเฉินแล้ว ก็ต้องย้ายเข้าโรงพยาบาลของรัฐ หรือว่า ไปตามสิทธิที่มีอยู่เช่น ประกัน สังคม บัตรทอง สิทธิข้าราชการ แต่ถ้าไม่สามารถย้ายได้ เหตุผลเพราะว่าไม่มีเตียงรองรับ หรืออาการแย่ลงจนไม่สามารถย้ายได้ กองทุนก็จะเข้ามาตามจ่าย ซึ่งตรงนี้ จะเข้าเงื่อนไขพิเศษเกิดขึ้นตามมาในภายหลัง

เลขาธิการ สพฉ. กล่าวอีกว่า กรณีผู้ป่วยและสถานพยาบาล เกิดข้อพิพาท หรือมีความเข้าใจไม่ตรงกัน หรือมีจุดที่ไม่สามารถตกลงกันได้ เกี่ยวกับ กรณีการใช้สิทธิ UCEP ทาง สพฉ.จะนำเรื่องร้องเรียนนี้ เข้าที่ประชุมคณะกรรมการฯ เพื่อทำการพิจารณาตัดสิน ว่าสิ่งที่ทางโรงพยาบาล และ ผู้ป่วยเอง มีความคิดหรือแนวทางเกี่ยวกับโครงการนี้ถูกต้องหรือไม่

ทั้งนี้ในช่วง 6-7 เดือนที่ผ่านมา คือตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา มีจำนวนผู้ป่วยที่เข้าเข้าไปรักษายังโรงพยาบาลเอกชน และมีการคีย์ข้อมูลเข้ามาเพื่อขอประเมินว่าเข้าเกณฑ์หรือไม่แล้ว ประมาณ 12,000 ราย ผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ประมาณ 5,700 กว่าราย ที่เหลือไม่เข้าเกณฑ์ หรือประมาณ 40%

“เมื่อมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้สิทธิ UCEP ผมไม่แนะนำให้โทรไปที่ 1669 เพื่อไปถามเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพราะเบอร์นี้ไว้สำรองสำหรับผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินเท่านั้น แต่ถ้าอยากรู้เกี่ยวกับสิทธิที่ว่านี้ แนะนำให้โทรไปที่เบอร์ 02 872 1669 ซึ่งเป็นศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ ที่คอยให้บริการถามตอบให้ความรู้ หรือ รับเรื่องร้องเรียนได้ตลอด 24 ชั่วโมง” เรืออากาศเอก นพ.อัจฉริยะ กล่าว


น.ส.ปาริฉัตร จันทร์อำไพ ผู้อำนวยการกลุ่มงานมาตรฐานทางการแพทย์ สำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า ในส่วนการใช้สิทธิตามโรงพยาบาลเอกชน กรณีผู้ประกันตน ไม่ยอมย้ายไปตามโรงพยาบาลบำบัด หลังพ้นวิกฤติแล้ว หรือ เกินกว่า 72 ชั่วโมง โดยนับรวมวันเสาร์และอาทิตย์ ให้เรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากผู้ประกันตน ถ้ามีโรงพยาบาลรับรองสิทธิ ก็ให้รับผิดชอบในส่วนของค่าใช้จ่ายไป ส่วนกรณีผู้ป่วยไม่มีรายชื่อหรือไม่มีบัตรผู้ประกันตน รวมไปถึง ผู้ทุพลภาพ เมื่อมารักษาตัวที่โรงพยาบาล ก็ให้เข้าสู่ระบบหาเตียงของโรงพยาบาลรัฐได้เลย หากต้องเสียค่าใช้จ่ายโดยเฉพาะในโรงพยาบาลเอกชน ก็ให้มีการสำรองจ่ายไปก่อน แล้วมาทำเรื่องเบิกกับประกันสังคม

ด้าน พญ.พนมวัลย์ บุณยมานพ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการและชดเชยค่าบริการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)กล่าวว่า หลังคณะรัฐมนตรีเห็นชอบหลักเกณฑ์ ข้อบังคับคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่าด้วยการใช้สิทธิรับบริการสาธารณสุข กรณีมีเหตุสมควร กรณีอุบัติเหตุ หรือกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน พ.ศ.2560 สปสช.มีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้อง ของการเบิกจ่าย ตามสิทธิ บัตร ทอง ประกันสังคม รวมถึงสิทธิข้าราชการ รัฐวิสาหกิจหรือไม่ ที่ผ่านมายอมรับว่า การเบิกจ่ายในส่วนนี้อาจเกิดความล่าช้า เนื่องจากติดเงื่อนไขบางประการ อย่างไรก้อดี เราได้ดำเนินการ ปรับปรุงระบบให้การเบิกจ่ายมี ประสิทธิภาพมากขึ้น


โดย: หมอหมู วันที่: 5 ตุลาคม 2560 เวลา:14:23:23 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]