Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ทำไมหมอไม่ชอบให้โรงพยาบาลรัฐบาลขาดทุน? ... พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา



ปัดฝุ่น “30 บาทรักษาทุกโรค” อย่างไร?
ทำไมหมอไม่ชอบให้โรงพยาบาลรัฐบาลขาดทุน?

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย
(สผพท.)
5 พ.ค. 54

ได้อ่านบทความเรื่อง “ปัดฝุ่น “30 บาทรักษาทุกโรค” จะดีไหมในนสพ.กรุงเทพธุรกิจ หน้า 8 วันที่ 5 พ.ค. 54 แล้วก็ต้องเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ทันที เนื่องจากผู้เขียนได้อ้างความเห็นที่(เขียนว่า)น่าสนใจว่า “ ได้ใจประชาชน แต่บุคลากรทางการแพทย์ไม่ชอบ โยงไปถึงงบต่างๆที่ลงไปสู่ประชาชน เช่นงบปสปสช. งบกองทุนสุขภาพประจำตำบล เพราะทำให้รพ.เขาขาดทุน ซึ่งถือเป็นนโยบายที่ประสบความสำเร็จสูง การนำมาปัดฝุ่นคงเป็นการอยากตามรอยความสำเร็จในครั้งอดีต”


ในฐานะที่ผู้เขียนเรื่องนี้ เป็นบุคลากรทางการแพทย์ ก็อยากจะบอกว่า ทำไมบุคลากรทางการแพทย์ไม่ชอบการ “ขาดทุน”


ความจริงแล้ว โรงพยาบาลเอกชนหลายแห่ง เลิกรับรักษาผู้ป่วยในระบบ 30 บาท เพราะมันขาดทุนจริงๆ คือสปสช.จ่ายเงินค่ารักษาผู้ป่วยไม่คุ้มกับต้นทุน ผู้ดำเนินการหรือผู้บริหารโรงพยาบาลก็อยู่ไม่ได้ จะไปขึ้นราคากับผู้ป่วยอื่นเอามา “โปะ” ให้โครงการ 30 บาทก็ไม่ได้ จะบริหารโรงพยาบาลให้ขาดทุนไปเรื่อยๆก็คงถูกฟ้องล้มละลายขายทอดตลาดไปอย่างแน่นอน เขาก็บอกเลิกรักษา 30 บาทไป

แต่โรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุขนั้น ถูกกำหนดให้ต้อง “รับรักษาผู้ป่วย 30 บาท” อย่างไม่มีข้อยกเว้น โดยไม่สามารถของบประมาณในการ “ดำเนินการรักษาผู้ป่วยเพิ่มเติมได้”

ประชาชนส่วนมากไม่เข้าใจว่า “ โรงพยาบาลขาดทุนแล้วหมอจะต้องเดือดร้อนทำไม มีหน้าที่รักษาผู้ป่วยก็รักษาไปสิ” “ขาดทุนก็ไปขอเงินรัฐบาลมาเพิ่มสิ”


ผู้เขียนก็จะอธิบายว่า ปัจจุบัน โรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุขได้รับงบประมาณค่ารักษาผู้ป่วยจากสปสช. โดยงบประมาณที่ให้มานี้ โรงพยาบาลต้องเอาไปใช้จ่ายดังนี้คือ

1. เป็นค่าซื้อยาจากบริษัทยาต่างๆ เอามาไว้จ่ายให้ผู้ป่วย

2. เป็นค่าซื้อเวชภัณฑ์ ครุภัณฑ์ เครื่องมือในการตรวจรักษาผู้ป่วย

3. เป็นค่าพัฒนา ปรับปรุง ซ่อมแซม อาคารสถานที่ ห้อง เตียง เครื่องมือแพทย์ ห้องผ่าตัด และเทคโนโลยีที่ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของโรค

4. เป็นเงินเดือนและค่าตอบแทนบุคลากร ประมาณ 40-60% ของเงินเดือนทั้งหมด



ทำไมหมอไม่ชอบให้โรงพยาบาลรัฐบาลขาดทุน?


โรงพยาบาลขาดทุนหมายความว่า โรงพยาบาลมีรายจ่ายมากกว่ารายได้ ได้อธิบายแล้วว่ารายจ่ายของโรงพยาบาลมีอะไรบ้าง?




ต่อไปนี้ ก็จะอธิบายว่าโรงพยาบาลมีรายได้จากอะไรบ้าง?

รายได้ของโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขในปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่ได้จากสปสช. ที่ได้รับค่ารักษาประชาชนตามอัตราค่าเหมาจ่ายรายหัวที่สปสช.ขอมาจากงบประมาณแผ่นดิน เพื่อเอามาจ่ายให้แก่โรงพยาบาลที่รับรักษาผู้ป่วยตามระบบบัตรทอง

ซึ่งพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้กำหนดว่า สปสช.มีหน้าที่ “จ่ายค่าบริการสาธารณสุข” ให้แก่โรงพยาบาล โดยได้รับงบประมาณค่ารักษาเป็น “เงินเหมาจ่ายรายหัว” ของประชาชน แต่สปสช.ไม่ได้ “จ่ายเงินค่ารักษาผู้ป่วย”ตามจำนวนที่มารักษาในโรงพยาบาลอย่างตรงไปตรงมา เท่ากับงบประมาณเหมาจ่ายรายหัวที่ได้รับจากสำนักงบประมาณ

สปสช.กลับมาทำการบริหารจัดการเอง จัดระเบียบการเบิกจ่ายยาเอง ตั้งราคากลางของการรักษาโดยไม่ได้ทำการวิจัยอย่างถูกต้องว่า ราคาต้นทุนที่แท้จริงในการรักษาแต่ละโรคควรจะอยู่ที่ใด

และเมื่อสปสช.ตั้งราคากลางไว้แล้ว สปสช.ก็ไม่จ่ายครบตามราคากลางที่กำหนดไว้ เช่นตั้งราคากลางไว้ที่ 70 บาท ในขณะที่ต้นทุนค่ารักษาอาจจะอยู่ที่ 100 บาท แต่พอถึงเวลาจ่าย สปสช.ก็อาจจะจ่ายเพียง 50 บาท โดยอ้างว่าเงินหมดแล้ว



การกระทำของสปสช.แบบนี้ จึงทำให้โรงพยาบาลมีรายได้น้อยกว่ารายจ่าย ที่เรียกว่า “ขาดทุน”




( ในขณะที่โรงพยาบาลที่รับรักษาผู้ป่วยขาดทุน แต่สปสช.กลับแบ่งเอาเงินเหมาจ่ายรายหัวในการรักษาผู้ป่วยนี้ ไปทำโครงการพิเศษ ที่เรียกว่า Vertical Program โดยสปสช.ประกาศให้โรงพยาบาลที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการ มาทำสัญญารับงบประมาณ ในการทำตามโครงการเหล่านี้ เช่นโครงการผ่าตัดหัวใจ ล้านดวง โครงการผ่าต้อกระจกล้านตา โครงการศูนย์แพทย์ชุมชนโครงการ Excellent Center ต่างๆ เช่นศูนย์โรคหัวใจ ฯลฯ แล้วก็ไปโฆษณาประชาสัมพันธ์ว่า เป็นผลงานของสปสช.

ทั้งๆที่สปสช.ไม่ได้ทำงานรักษาผู้ป่วยเลย และยังยักยอกเงินเหมาจ่ายรายหัวไปทำโครงการเพิ่มเติม รวมทั้งเอาไปจ่ายค่าตอบแทนพิเศษแก่แพทย์ในโครงการต่างๆเหล่านี้ ทั้งๆที่การทำโครงการเหล่านี้ ก็ไม่ใช่หน้าที่ของสปสช.ตามที่กำหนดไว้ในพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติแต่อย่างใดทั้งสิ้น)


คำถามต่อไปก็คือ เมื่อโรงพยาบาลขาดทุนแล้ว จะเกิดผลกระทบอะไรบ้าง?


1. ไม่มีเงินซื้อยามาที่มีประสิทธิผลและเหมาะสมไว้สำหรับจ่ายให้ผู้ป่วย

2. ไม่มีเงินซื้อเวชภัณฑ์ ครุภัณฑ์ เครื่องมือในการตรวจรักษาผู้ป่วย

3. ไม่มีเงินสำหรับการพัฒนา ปรับปรุง ซ่อมแซม อาคารสถานที่ ห้องผ่าตัด เตียง เครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัยมีประสิทธิภาพสูง และเทคโนโลยีที่ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของโรค

4. สำหรับเงินเดือนบุคลากรที่เป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราวนั้น ก็จะได้รับเหมือนเดิม แต่ค่าตอบแทนการตรวจรักษาผู้ป่วยนอกเวลาราชการ อาจจะไม่มีเงินจ่ายให้ได้



การที่โรงพยาบาลขาดเงินในการดำเนินงานตามเหตุผลที่กล่าวแล้ว แพทย์จะอึดอัดคับข้องใจ เนื่องจากแพทย์ไม่สามารถที่จะสั่งจ่ายยาที่เหมาะสมหรือดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละคน อาจทำให้ผู้ป่วยไม่หายจากอาการเจ็บป่วยในเวลาที่ควรจะเป็น อาจเสี่ยงต่ออาการทรุดหนัก แทรกซ้อน หรือเสียชีวิต

ทั้งนี้เนื่องจากงบประมาณจำกัดดังกล่าว ทำให้ผู้บริหารกองทุนต่างๆ ออกระเบียบห้ามจ่ายยาบางขนิด ห้ามรักษาหลายโรค

ถ้าแพทย์รักษาไปตามดุลพินิจตามมาตรฐานการแพทย์ไปแล้ว โดยการรักษาหรือสั่งจ่ายยานอกเหนือจากที่สปสช.กำหนด โรงพยาบาลก็จะเบิกเงินจากสปสช.ไม่ได้ โรงพยาบาลก็จะยิ่งขาดทุน ผู้อำนวยการก็จะมา “ว่ากล่าวตักเตือน” ไม่ให้แพทย์ใช้ดุลพินิจของตนในการรักษาผู้ป่วย แพทย์ก็จะห่วงว่าผู้ป่วยจะไม่ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุดเท่าที่ศักยภาพการแพทย์ปัจจุบันจะทำได้



แต่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ทราบว่า สปสช.มีข้อจำกัดมากมายในการรักษาผู้ป่วย ใช้ยาบางอย่างไม่ได้ รักษาบางโรคไม่ได้ เนื่องจากสปสช.พูดความเท็จในการกล่าวโฆษณาว่า 30 บาทรักษาทุกโรค แต่ไม่อนุญาตให้หมอรักษาโดยอิสระตามดุลพินิจ เพราะมีข้อห้ามข้อจำกัดมากมายดังกล่าว


แต่ความเท็จที่สปสช.พูดบ่อยๆ อาจทำให้ประชาชนเชื่อว่ามันเป็นความจริง ทำให้ประชาชนเทิดทูนบูชาสปสช.และนักการเมืองที่ทำให้เกิดระบบ 30 บาท แต่แพทย์ผู้รู้ความจริง ก็พยายามมาบอกกับประชาชนว่า ระบบนี้มีข้อจำกัดมากมายในการรักษาและการใช้ยา


ประชาชนอาจเข้าใจว่า ถ้าโรงพยาบาลได้กำไร หมอก็คงได้เงินโบนัสหรือเงินปันผล หรือเงินเดือน 2 ขั้น หรือประชาชนอาจคิดว่าถ้าโรงพยาบาลขาดทุน หมออาจจะไม่ได้รับเงินเดือน/ค่าตอบแทน


ซึ่งความเข้าใจหรือความคิดเช่นนั้น ไม่เป็นความจริง

แต่ความจริงก็คือ ไม่ว่าโรงพยาบาลจะได้กำไรหรือขาดทุน บุคลากรทางการแพทย์ก็ยังคงได้เงินเดือนเหมือนเดิม เหมือนข้าราชการอื่นๆ


แต่ถ้าโรงพยาบาลขาดทุน จะทำให้ ประชาชนไม่ได้รับยาที่เหมาะสมกับโรค ได้รับการตรวจโรคจากเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ล้าสมัย ไม่มีตึก ไม่มีเตียงนอนเมื่อจำเป็น ต้องตระเวนหาโรงพยาบาลที่มีตียงให้นอน ฯลฯ

และอาการเจ็บป่วยที่ควรจะหายในเร็ววัน อาจจะมีโรคแทรกซ้อน ทรุดหนัก พิการ หรือเสียชีวิต


ทั้งนี้หมอทุกคนอยากรักษาประชาชนให้หายเจ็บป่วย ไม่อยากเลี้ยงไข้ ไม่อยากให้อาการทรุดและไม่อยากให้ผู้ป่วยของตนตายโดยไม่สมควรตาย


ฉะนั้น หมอจึงไม่อยากให้โรงพยาบาลขาดทุน เพื่อจะได้มี “เงินทุน” มาดูแลรักษาประชาชนให้ดีที่สุดตามมาตรฐานทางการแพทย์ที่ทันสมัย ทันโรคและทันโลก


อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ผู้อ่านก็คงจะอยากถามว่า แล้วจะเสนอให้ “ปัดฝุ่นระบบ 30 บาท” อย่างไร?


ปัญหาในระบบ 30บาท นอกจากขาดเงินที่ทำให้ขาดทุกสิ่งทุกอย่างในการดำเนินการ รักษาผู้ป่วยแล้ว โรงพยาบาลยังขาดคนทำงานในอัตราส่วนที่เหมะสมกับผู้ป่วย ในขณะที่ประชาชนใช้บริการเพิ่มมากขึ้นทุกวัน เพราะประชาชนได้รับบริการฟรีโดยไม่ต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการดูแลสุขภาพ และป้องกันโรคเลย


คำตอบจึงอยู่ที่ จะต้องมีการ “ปฏิรูประบบบริการทางการแพทย์และการประกันสุขภาพ” เพื่อให้มีการแก้ปัญหาทั้งหมดที่เห็นและเป็นอยู่ให้หมดไป โดยตั้งกรรมการปฏิรูปจากบุคลากรจากหลายกลุ่ม

อย่าผูกขาดการปฏิรูประบบการแพทย์และสาธารณสุขไว้กับกลุ่มของ “ผู้เขียนพ.ร.บ.เพื่อมาบริหารกองทุนอิสระ”แบบเดิม ที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนมากมาย เช่น เขียนพ.ร.บ.สสส. สปสช. สช. สวรส. ก็ตั้งตัวเองและพวกพ้องมาเป็นกรรมการ เลขาธิการ ที่ปรึกษา ผู้อำนวยการ ฯลฯ ทุกองค์กร







Create Date : 06 พฤษภาคม 2554
Last Update : 6 พฤษภาคม 2554 0:37:20 น. 2 comments
Counter : 2530 Pageviews.  

 
เรามาทักทายนะจ่ะ อิอิ จะผิดไหมถ้าเรานั้นจะรักคนเล่นบล็อกทุกคนเลย อิอิ


โดย: ตะวันเจ้าเอย วันที่: 6 พฤษภาคม 2554 เวลา:16:50:42 น.  

 
แวะมาทักทาย EIS BIO SCAN Morpheus Morpheus8 ยกกระชับ ICELAB ลดร่องแก้ม Harmonyca ฟิลเลอร์ ดูดไขมัน P-SHOT สมรรถภาพทางเพศ ฉีดฟิลเลอร์น้องชาย ฟิลเลอร์น้องชาย Ultherapy Prime Profhilo ฉีดฟิลเลอร์น้องสาว ฟิลเลอร์น้องสาว เลเซอร์ขนน้องสาว เลเซอร์ขนหน้า ฉีดฟิลเลอร์คาง ฟิลเลอร์คาง ฉีดฟิลเลอร์ขมับ ฟิลเลอร์ขมับ เลเซอร์บิกินี่ Thermage FLX BLUE Tip Thermage FLX Ultraformer III Ultraforme Ultraformer MPT Ultraformer ฉีดโบลดกราม โบลดกราม Radiesse ร้อยไหม เลเซอร์ขนบราซิลเลี่ยน บราซิลเลี่ยน เลเซอร์ขนขา เลเซอร์ขน ฟิลเลอร์หน้าผาก O-Shot Aviclear Aviclear Laser IV DRIP ดริปวิตามิน ฉีดโบรักแร้ โบรักแร้ ปลูกผม LLLT ปลูกผมด้วยแสงเลเซอร์ ปลูกผม ผมบาง ปลูกผมเทคนิคแขนกล รักษาผมร่วง ผมร่วง Hair Restart ผมร่วง ผมบาง ปลูกผม ปลูกผมถาวร ปลูกผม ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา ฟิลเลอร์ใต้ตา เสริมจมูก ยกคิ้ว เสริมหน้าอก ยกกระชับ Ulthera อัลเทอร่า Thermage Thermage FLX ฉีดฟิลเลอร์ปาก ฟิลเลอร์ปาก โบลดริ้วรอย ฉีดโบลดริ้วรอย สลายไขมันด้วยความเย็น Coolsculpting Elite Coolsculpting Sculptra ฟิลเลอร์ ปลูกผม ปลูกผม FUE Pico Pico Majesty Pico Majesty Laser ฟิลเลอร์ร่องแก้ม ฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้ม Radiesse ฟิลเลอร์ โบลดริ้วรอย โบลดริ้วรอย Oligio เลเซอร์ขน วีเนียร์ AviClear Laser AviClear เลเซอร์รักษาสิว ปลูกผมเทคนิคแขนกล ปลูกผม เลเซอร์รักษาสิว Accure Laser Accure เลเซอร์หนวด เลเซอร์เครา Emface Skinvive Oligio เลเซอร์รักแร้ เลเซอร์ขนรักแร้ กำจัดขนถาวร กำจัดขน เลเซอร์ขน เลเซอร์ขน กำจัดขน ฟิลเลอร์ ฟิลเลอร์ ฟิลเลอร์ ฉีดฟิลเลอร์คาง ฟิลเลอร์คาง ฟิลเลอร์ ฉีดฟิลเลอร์ Reepot Laser Reepot Sculptra Hifu ยกกระชับ ยกกระชับหน้า Ulthera ยกกระชับ ฉีดฟิลเลอร์ ฟิลเลอร์ ฉีดฟิลเลอร์ ฟิลเลอร์ Radiesse Radiesse Radiesse Radiesse ให้ใจ สุขภาพ


โดย: น้องเมย์น่ารัก วันที่: 18 พฤศจิกายน 2567 เวลา:11:14:20 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 763 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]