Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

สืบเนื่องจากคำถามของ "กาแฟดำ" ในเรื่อง "หมออย่าทะเลาะกัน คนไข้จะเป็นลม" .. โดย พญ.เชิดชู


ถ้าใครยังไม่ได้อ่านว่าคุณ สุทธิชัย หยุ่น (กาแฟดำ) เขียนฯ ก็แวะไปอ่านได้เลยครับ


การเมือง : ทัศนะวิจารณ์

วันที่ 4 สิงหาคม 2553 01:00

คนป่วยคนไข้จะเป็นลม หมออย่าทะเลาะกันเอง

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์


////www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/suthichaiyoon/20100804/346269/%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%A1-%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%87.html





ตอบคำถามคุณ “กาแฟดำ”



สืบเนื่องจากบทความของ “กาแฟดำ”ในกรุงเทพธุรกิจ เรื่อง หมออย่าทะเลาะกัน คนไข้จะเป็นลม ได้ทิ้งคำถามไว้ว่า ควรจะตอบคำถาม 3 ประเด็นนี้ คือ

1. กฎหมายนี้จะทำให้มีการฟ้องร้องแพทย์และบุคลากรสาธารณสุขมากขึ้นจริงหรือไม่?

2. รัฐและคนไข้ทั่วไปจะเสียหายให้กับคนไข้ที่ “ฉวยโอกาส” จากกฎหมายใหม่นี้หรือไม่อย่างไร?

3. คนไข้โดยเฉพาะที่ใกล้ตายจะพากันแห่เข้าโรงพยาบาลเพื่อหาประโยชน์จากกฎหมายฉบ ับนี้ จนทำให้โรงพยาบาลต้องรับภาระหนักหน่วงขึ้น และคนไข้ที่จำเป็นต้องอยู่ในโรงพยาบาลจะประสบปัญหา เพราะหาเตียงนอนในโรงพยาบาลยากลำบากมากขึ้นหรือไม่?


คำตอบจากประธานเครือข่ายคบส.



1. กฎหมายนี้จะทำให้การร้องขอเงินค่าช่วยเหลือจากกองทุนมากขึ้นแน่นอน ดังนี้

1.1 ไปร้องเรียนที่คณะกรรมการ เวลาร้องก็ต้องกล่าวหาว่าใครทำให้เสียหาย ส่วนแพทย์และโรงพยาบาลก็ต้องเขียนรายงานส่งคณะกรรมการ หรืออาจต้องถูกเรียกไปให้ปากคำกับคณะกรรมการ หลังจากนั้น คณะกรรมการก็จะต้องตัดสินว่า จะให้เงินค่าช่วยเหลือและค่าชดเชยหรือไม่ ถ้าให้ จะให้เท่าไร และประชาชนที่ร้องขอเงินพอใจกับจำนวนเงินที่คณะกรรมการจะจ่ายหรือไม่ ถ้าพอใจก็รับไป

1.2 แต่ถ้าประชาชนยังได้เงินไม่มากพอตามใจที่อยากได้ ก็มีสิทธิ์ไปร้องอุทธรณ์เพื่อขอเงินเพิ่มไปยังคณะกรรมการได้อีก ถ้าคิดว่าคณะกรรมการอุทธรณ์เพิ่มให้จนพอใจแล้ว ก็รับเงินก้อนนั้นไป

1.3 ถ้าจำนวนเงินที่ได้นั้นยังไม่พอใจ ก็จะไปฟ้องศาลแพ่งได้อีก และถ้าชนะคดี ได้เงินมากกว่าที่คณะกรรมการให้ ก็เป็นอันยุติ หรือถ้ายังไม่ชนะคดี ก็อาจไปฟ้องกันจนถึงศาลฎีกา แต่ถ้ายังไม่ชนะคดี ก็ยังมีสิทธิ์กลับไปขอเงินจำนวนที่คณะกรรมการตัดสินให้ได้อีก

1.4 ถ้าฟ้องคดีชนะแล้ว ได้เงินแล้ว แต่ยังอาฆาตเคียดแค้นหมอไม่เลิกก็ยังมีสิทธิไปฟ้องศาลอาญาได้จนถึงขั้นฎีกา เพื่อเอาโทษอาญากับหมอให้ได้

1.5 ส่วนหมอนั้น ถ้าไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของคณะกรรมการ ก็ต้องไปฟ้องศาลปกครองชั้นต้น และศาลปกครอสูงสุดตามลำดับ เพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการ

1.6 เนื่องจากมาตรา 6 บอกว่า จะจ่ายเงินได้ ต้องรู้ว่าแพทย์ไม่รักษาผู้ป่วยตามมาตรฐาน แต่กรรมการไม่มีความรู้ทางการแพทย์ เท่ากับว่าแพทย์ถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม

1.7 เมื่อแพทย์ถูกกล่าวหาว่ารักษาผู้ป่วยไม่ได้มาตรฐาน แพทย์ก็จะต้องถูกสอบสวนเพิ่มขึ้นอีกจากแพทยสภา ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการประพฤติของแพทย์ให้มีจริยธรรมวิชาชีพ ซึ่งหมายความรวมถึงการประกอบวิชาชีพให้ได้มาตรฐานด้วย

1.8 ฉะนั้น โดยสรุปแล้ว ขอให้คุณสทธิชัย หยุ่น คิดเองก็แล้วกันว่า กฎหมายนี้จะทำให้การร้องเรียน/ฟ้องร้องลดลงหรือไม่



2.รัฐและคนไข้ทั่วไปจะเสียหายให้กับคนไข้ที่ “ฉวยโอกาส” จากกฎหมายใหม่นี้หรือไม่อย่างไร?

ตอบ 2.1 คนไข้ที่ใกล้ตาย ญาติอาจรีบนำไปโรงพยาบาล ให้ไปตายในโรงพยาบาล เพื่อร้องขอเงินช่วยเหลือ โดยไม่ต้องพิสูจน์ถูก/ผิด

2.2 รัฐบาลต้องหาเงินมาจ่ายให้โรงพยาบาลของรัฐมากขึ้น ไม่เช่นนั้น โรงพยาบาลของรัฐต้องล้มละลายแน่นอน เพราะมีผู้ป่วยตายในโรงพยาบาลปีละหลายแสนคน

2.3 โรงพยาบาลของรัฐบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขปัจจุบันนี้ ก็ขาดดุลและขาดสภาพคล่องทางการเงินอยู่แล้ว 505 โรงพยาบาล จากประมาณ 870โรงพยาบาล

ฉะนั้น ถ้าต้องส่งเงินเข้ากองทุนนี้ปีละประมาณ 2,000 ล้านบาท (จากการประมาณการของสวรส.) โรงพยาบาลก็คงต้องขาดเงินในการจัดซื้อยา เวชภัณฑ์ต่างๆ (ผ้าปิดแผล อุปกรณ์ห้ามเลือด เฝือก สายสวน มีด กรรไกร เข็มฉีดยา เครื่องมือผ่าตัด ฯลฯ) รวมทั้งเตียง เครื่องมือแพทย์ต่างๆ ไว้คอยดูแลผู้ป่วย ทั้งวัสดุคงทนและวัสดุสิ้นเปลือง ต้องขาดแคลนอย่างแน่นอน



ถาม 3. คนไข้โดยเฉพาะที่ใกล้ตายจะพากันแห่เข้าโรงพยาบาลเพื่อหาประโยชน์จากกฎหมายฉบับนี้ จนทำให้โรงพยาบาลต้องรับภาระหนักหน่วงขึ้น และคนไข้ที่จำเป็นต้องอยู่ในโรงพยาบาลจะประสบปัญหา เพราะหาเตียงนอนในโรงพยาบาลยากลำบากมากขึ้นหรือไม่?

ตอบ ตามปกติแล้ว ในปัจจุบันนี้ โรงพยาบาลต่างๆ โดยเฉพาะรพศ/รพท. หรือโรงพยาบาลประจำจังหวัดนั้นต่างก็ไม่มีเตียงเพียงพอที่จะรับผู้ป่วยทุกคน อยู่แล้ว ผู้ป่วยและญาติจะทราบดี เพราะประสบกับปัญหาเตียงเต็ม ต้องเอาผู้ป่วยใส่รถตระเวนไปเรื่อยๆจน กว่าจะได้เตียง บางที่ก็ต้องหาเตียงเสริมมานอนตามระเบียงบ้าง หน้าห้องส้วมบ้าง หน้าบันไดบ้าง เพราะฉะนั้น ถ้ามีพ.ร.บ.นี้ขึ้นมาจริงๆ ประชาชนอาจจะต้องนอนกับพื้น เหมือนโรงพยาบาลสนามยามศึกสงคราม และอาจต้องรับสมัครประชาชน มาเป็นแพทย์สนามแบบเสนารักษ์ หรือเป็นนางพยาบาลอาสาสมัคร เพื่อช่วยกันดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยหรือญาติของตนกันเอาเอง




ส่วนที่ “กาแฟดำ”ไม่ได้ถามในบทความนี้ ประธานคบส.(เครือข่ายคุ้มครองการบริการสาธารณสุข) ขอบอกก็คือ ผู้อยู่เบื้องหลังการเขียนและผลักดันกฎหมายนี้ เขียนล็อกสเป็คเอาไว้ในมาตรา 50 บทเฉพาะกาล มีสิทธิมานั่งบริหารกองทุน เอาเงินของประชาชน มาเป็นเบี้ยเลี้ยง เบี้ยประชุม และผลประโยชน์แอบแฝงอื่นๆอีกมากมาย


ส่วนใครจะอยู่เบื้องหลังบ้าง หวังว่า "กาแฟดำ" ผู้เฝ้าข่าวสารบ้านเมืองทั่วโลกมาตลอดเวลา คงจะพอรู้ตัวคนเหล่านี้อยู่แล้วนะคะ

ถ้ายังไม่รู้ก็ถามมาได้นะคะ ยินดีจะตอบทุกคำถาม


พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา

ประธานเครือข่ายคุ้มครองการบริการสาธารณสุข(คบส.)








Create Date : 09 สิงหาคม 2553
Last Update : 9 สิงหาคม 2553 12:36:44 น. 0 comments
Counter : 1959 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]