Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

โรคหรือสภาพร่างกายหรือสภาพจิตใจ ซึ่ง ไม่สามารถจะรับราชการทหาร (คัดเลือกทหาร) ตามมาตรา 41







ช่วงที่มีการคัดเลือกทหารฯ จะมีคนมาขอใบรับรองแพทย์ เพื่อจะได้ไม่ต้องเกณฑ์ทหาร ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด

เพราะ แพทย์ที่จะตัดสินว่า ได้ หรือ ไม่ได้ นั้น ก็คือ " แพทย์ที่รับผิดชอบ ณ สถานที่คัดเลือกฯ  หรือแพทย์ที่อยู่ใน โรงพยาบาลสังกัด กองทัพบก ทั้ง ๒๐ แห่ง เท่านั้น "

แพทย์ท่านอื่นถึงแม้ ออกใบรับรองแพทย์ ให้ได้ แต่ก็เป็นเพียงหลักฐานประกอบเท่านั้น ไม่สามารถระบุว่า ไม่เหมาะกับการเป็นทหาร ..

 

การตรวจโรคทหารกองเกินก่อนการตรวจเลือกทหารฯ


https://sassadee.rta.mi.th/
https://www.facebook.com/sassadee.tdc/
https://www.sussadeechiangmai.com/

                   ขอให้ทหารกองเกินที่จะต้องเข้ารับการตรวจเลือกทหารฯ ใน เดือน เมษายน ที่สงสัยว่าตนเองมีโรคที่น่าจะขัดต่อการรับราชการทหารกองประจำการ ไปเข้ารับการตรวจโรคก่อนการตรวจเลือก  ณ  โรงพยาบาลทหารตามที่กองทัพบกกำหนด ไว้  จำนวน  ๒๐  แห่ง ตั้งแต่ ๑ ตุลาคม - ๒๐ กุมภาพันธ์ ซึ่งโรงพยาบาลจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคไว้เป็นการเฉพาะ และทำให้ทหารกองเกิน ทราบล่วงหน้าก่อนวันทำการตรวจเลือกว่าเป็นโรคที่ขัดต่อการรับราชการทหารหรือไม่    

โรคที่ควรไปเข้ารับการตรวจ  ได้แก่ โรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของ  ตา , หู , โรคหัวใจและหลอดเลือด  ,  โรคเลือดและอวัยวะสร้างเลือด  ,  โรคของระบบหายใจ  ,  โรคของระบบปัสสาวะ ,  โรคหรือความผิดปกติของกระดูก ,  ข้อ  และกล้ามเนื้อ  ,  โรคของต่อมไร้ท่อ   และภาวะผิดปกติของเมตะบอลิสัม ,โรคติดเชื้อ ,  โรคทางประสาทวิทยา ,  โรคทางจิตเวช และโรคอื่น ๆ  เช่น  ตับแข็ง  เป็นต้น

สามารถขอรับการตรวจโรคจากโรงพยาบาลที่กำหนด โดยไม่จำกัดภูมิลำเนาทหาร

เอกสารและหลักฐานที่ใช้

1. หมายเรียกเข้ารับราชการทหาร (แบบ สด.35)
2. ใบสำคัญ (แบบ สด.9)
3. วุฒิการศึกษา ที่ลงวันจบการศึกษาก่อนวันตรวจเลือกฯ (ใช้สำหรับ ลดวันรับราชการ ทั้งในกรณีที่สมัคร และจับสลาก)
(วุฒิการศึกษาต้องเป็นภาษาไทย หรือได้รับการแปลจากมหาวิทยาลัย โดยมีการระบุวันที่จบการศึกษา ชัดเจน)
4. บัตรประชาชน
5. ใบรับรองแพทย์ โดย รพ.ของรัฐหรือ รพ.ทหาร  (ในกรณีที่ได้ทำการตรวจโรคก่อนการตรวจเลือกฯ)
6. หลักฐานอื่นๆ (ถ้ามี) เช่น หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว – ชื่อสกุล ฉบับจริงพร้อมสำเนา

****ให้ไปแสดงตนต่อคณะกรรมการตรวจเลือกฯ ณ อำเภอภูมิลำเนาทหาร ตามที่หมายเรียก(แบบ สด.35) ได้กำหนดไว้ โดยพร้อมเพรียงกัน หากไม่ไปแสดงตนต่อคณะกรรมการตรวจเลือกฯ ท่านจะมีความผิดตาม พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ.2497 และถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย
 

ระยะเวลาเปิดให้บริการ
เปิดให้บริการวัน จันทร์ ถึง วันศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดที่ทางราชการกำหนด) ตั้งแต่เวลา 08:00 - 12:00 น.
สามารถเข้าตรวจได้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม - 20 กุมภาพันธ์ โดย ต้องออกค่าใช้จ่ายในการตรวจโรคเอง ไม่เสียค่าธรรมเนียมพิเศษ (ยกเว้นกรณีที่ต้องตรวจพิเศษเพิ่มเติม)

ให้นำใบสำคัญความเห็นแพทย์ ไปแสดงต่อคณะกรรมการตรวจเลือกในวันตรวจเลือกฯ  เพราะ คณะกรรมการตรวจเลือกฯ จะพิจารณาหลักฐานใบสำคัญความเห็นแพทย์ที่ปรากฏในบัญชีรายชื่อทหารกองเกินที่เข้ารับการตรวจโรคฯ ซึ่งได้รับรายงานจากกรมแพทย์ทหารบก เท่านั้น

.................................

ประชาสัมพันธ์ การตรวจโรคทหารกองเกินก่อนการตรวจโรคทหาร 2561

ทหารกองเกินซึ่งอยู่ในกำหนดเรียกมาเข้ารับการตรวจเลือกฯ ใน เม.ย.61 ผู้ใดที่เห็นว่าตนเองมีโรคหรือสภาพร่างกาย หรือสภาพจิตใจที่ไม่สามารถรับราชการทหารได้ ให้ไปขอรับการตรวจโรคก่อนการ ตรวจเลือกฯ (การเกณฑ์ทหาร) ได้ที่โรงพยาบาลในสังกัดกองทัพบกกำหนด ทั้ง 20 แห่งทั่วประเทศ กำหนดห้วงการตรวจตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.60 จนถึงวันที่ 20 ก.พ.61 เมื่อพ้นห้วงเวลาที่กำหนดจะไม่สามารถดำเนินการตรวจโรคฯ ให้ได้ หากมีปัญหาหรือข้อสงสัย สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
1. กองการสัสดี หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน เลขที่ 2 ถนนเจริญกรุง แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทร.0 2223 3259 หรือตรวจดูได้ที่เว็บไซต์
https://sassadee.rta.mi.th/
2. แผนกสรรพกำลังกองทัพภาคที่ 1 – 4
3. ฝ่ายสรรพกำลังมณฑลทหารบก ทุก มณฑลทหารบก
4. สำนักงานสัสดีกรุงเทพมหานคร/สำนักงานสัสดีจังหวัดทุกจังหวัด
5. หน่วยสัสดีเขต/หน่วยสัสดีอำเภอทุกอำเภอ


หมายเหตุ หากพ้นห้วงเวลาที่กำหนด จะดำเนินการตรวจโรคก่อนการตรวจเลือกฯ ให้ไม่ได้ แต่ทหารกองเกินสามารถนำผลการตรวจโรค ของแพทย์จากโรงพยาบาลทหารหรือโรงพยาบาลอื่นไปแสดงต่อกรรมการแพทย์ในวันตรวจเลือกฯ ได้ 

เครดิต  pattama  ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐฯ สายด่วน 1111
https://pantip.com/topic/36260081
MasterPhat Patumwan  https://www.facebook.com/MasterPhat

................................

สถานที่เข้ารับการตรวจ คือ โรงพยาบาลทหารสังกัดกองทัพบก 20 แห่ง
    ส่วนกลาง
        รพ.พระมงกุฎเกล้า (กรุงเทพฯ)
        รพ.อานันทมหิดล (ลพบุรี)
        รพ.ค่ายธนะรัชต์ (ประจวบ คีรีขันธ์)
        รพ.โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ฯ (นครนายก)
    ทภ.๑
        รพ.ค่ายจักรพงษ์ (ปราจีนบุรี)
        รพ.ค่ายสุรสีห์ (กาญจนบุรี)
        รพ.ค่ายอดิศร (สระบุรี)
        รพ.ค่ายนวมินทราชินี (ชลบุรี)
    ทภ.๒
        รพ.ค่ายสุรนารี (นครราชสีมา)
        รพ.ค่ายสรรพสิทธิประสงค์ (อุบลราชธานี)
        รพ.ค่ายประจักษ์ศิลปาคม (อุดรธานี)
        รพ.ค่ายวีรวัฒน์โยธิน (สุรินทร์)
        รพ.ค่ายกฤษณ์สีวะรา (สกลนคร)
    ทภ.๓
        รพ.ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พิษณุโลก)
        รพ.ค่ายจิรประวัติ (นครสวรรค์)
        รพ.ค่ายสุรศักดิ์มนตรี (ลำปาง)
        รพ.ค่ายกาวิละ (เชียงใหม่)
    ทภ.๔
        รพ.ค่ายวชิราวุธ (นครศรีธรรมราช)
        รพ.ค่ายเสนาณรงต์ (สงขลา)
        รพ.ค่ายอิงคยุทธบริหาร (ปัตตานี)
หมายเหตุ : สามารถขอรับการตรวจโรคจากโรงพยาบาลที่กำหนด โดยไม่จำกัดภูมิลำเนาทหาร

เอกสารและหลักฐาน
    บัตรประจำตัวประชาชน
    ใบสำคัญ (แบบ สด.9)
    หมายเรียกเข้ารับราชการทหาร (แบบ สด.35)

ระยะเวลาเปิดให้บริการ
    เปิดให้บริการวัน จันทร์ ถึง วันศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดที่ทางราชการกำหนด) ตั้งแต่เวลา 08:00 - 12:00 น.

ขั้นตอนการดำเนินงาน
    1. ประเภท การตรวจสอบเอกสาร
           - ผู้เข้ารับบริการลงทะเบียน/เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสาร
    2. ประเภท การพิจารณา
           - ผู้เข้ารับบริการเข้ารับการคัดกรองและตรวจร่างกายโดยแพทย์
    3. ประเภท การลงนาม/คณะกรรมการมีมติ
           - แพทย์ออกใบสำคัญความเห็น

ค่าธรรมเนียม
    ไม่เสียค่าธรรมเนียม(ยกเว้นกรณีที่ต้องตรวจพิเศษเพิ่มเติม)

กำหนดช่วงการตรวจ
ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม - 20 กุมภาพันธ์


เอกสารที่ต้องนำไปแสดงต่อคณะกรรมการแพทย์ตรวจสอบ (ใช้ยื่นในวันเข้ารับการตรวจเลือกเข้าเป็นทหารเกณฑ์)
    - บัตรประจำตัวประชาชน(ฉบับจริง 1 ฉบับ/สำเนา 1 ฉบับ)(ผู้รับบริการต้องรับรองสำเนาถูกต้องเอกสารทุกหน้า)
    - ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อ(ฉบับจริง 1 ฉบับ/สำเนา 1 ฉบับ)(ผู้รับบริการต้องรับรองสำเนาถูกต้องเอกสารทุกหน้า)
    - ใบสำคัญทหารกองเกิน (แบบ สด.9)(ฉบับจริง 1 ฉบับ/สำเนา 1 ฉบับ)(ผู้รับบริการต้องรับรองสำเนาถูกต้องเอกสารทุกหน้า)
    - หมายเรียกเข้ารับราชการทหาร (แบบ สด.35) (ฉบับจริง 1 ฉบับ/สำเนา 1 ฉบับ)(ผู้รับบริการต้องรับรองสำเนาถูกต้องเอกสารทุกหน้า)
    - ใบรับรองแพทย์ที่ไม่ใช่จาก รพ.ทหารมาแสดงในวันตรวจเลือก ให้ตรวจสอบเอกสารเพิ่มเติม(ถ้ามี) ดังนี้
           1) ใบรับรองแพทย์จาก รพ.อื่น
           2) ใบสรุปประวัติ พ.ผู้รักษา หรือ สำเนาเวชระเบียนโดยรับรองสำเนาทุกหน้า อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้ง 2 อย่าง
           3) มีเอกสารรับรองจากผู้อำนวยการ รพ. หรือ สถาบันฯและโทรศัพท์ติดต่อกลับ(ฉบับจริง 1 ฉบับ/สำเนา 1 ฉบับ)(ผู้รับบริการต้องรับรองสำเนาถูกต้องเอกสารทุกหน้า)  

เครดิต  Benjawan  ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐฯ สายด่วน 1111

https://pantip.com/topic/36821889/comment1-2
.................................


นำมาให้ดูกันชัด ๆ ว่า ตามกฏหมาย แบบไหน ถึงจะไม่ต้องรับราชการทหาร ..
 

เครดิตภาพและข้อความ .. https://men.kapook.com/view86086.html

 เมื่อชายไทยเข้ารับการตรวจเลือกทหาร จะถูกจัดออกเป็น 4 จำพวกตามผลการตรวจร่างกาย คือ

คนจำพวกที่ 1 ได้แก่ คนที่มีร่างกายสมบูรณ์ดี ไม่มีอวัยวะพิการหรือผิดส่วนแต่อย่างใด มีความสูงตั้งแต่ 146 ซม. ขึ้นไป ขนาดรอบตัวตั้งแต่ 76 ซม. ขึ้นไป

คนจำพวกที่ 2 คือ คนซึ่งมีร่างกายที่เห็นได้ชัดว่าไม่สมบูรณ์ดีเหมือนคนจำพวกที่ 1 แต่ไม่ถึงทุพพลภาพ

คนจำพวกที่ 3 คือ คนซึ่งมีร่างกายยังไม่แข็งแรงพอที่จะรับราชการทหารในขณะนั้นได้เพราะป่วย ซึ่งจะบำบัดให้หายภายใน 30 วันไม่ได้

คนจำพวกที่ 4 คือ คนพิการทุพพลภาพ ซึ่งมีโรค หรือสภาพร่างกาย หรือสภาพจิตใจที่ไม่สามารถจะรับราชการทหารได้


          โดยคนจำพวกที่ 4 นี่เอง ที่ระบุไว้ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 74 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 41 และมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 ว่า ไม่สามารถรับราชการทหารได้ ซึ่งต้องบุคคลที่มีโรคดังต่อไปนี้

สรุป การกำหนดความพิการทุพพลภาพหรือโรค ซึ่ง ไม่สามารถจะรับราชการทหารได้

พระราชบัญญัติรับราชการทหารพ.ศ. ๒๔๙๗

กฎกระทรวง ฉบับที่ ๗๔ (พ.ศ.๒๕๔๐) และ ฉบับที่ ๗๖ (พ.ศ. ๒๕๕๕)

 

ข้อ2 โรคหรือสภาพร่างกายหรือสภาพจิตใจซึ่งจะไม่สามารถจะรับราชการทหารได้ตามมาตรา 41คือ

(1) โรคหรือความผิดปกติของตา

(ก)ตาข้างหนึ่งข้างใดบอด คือเมื่อรักษาและแก้สายตาด้วยแว่นแล้วการมองเห็นยังอยู่ในระดับต่ำกว่า20 หรือลานสายตาโดยเฉลี่ยแคบกว่า10 องศา

(ข)สายตาไม่ปกติ คือเมื่อรักษาและแก้สายตาด้วยแว่นแล้วการมองเห็นยังอยู่ในระดับ 6/24 หรือต่ำกว่าทั้งสองข้าง

(ค)สายตาสั้นมากกว่า 8 ไดออปเตอร์หรือสายตายาวมากกว่า 5 ไดออปเตอร์ทั้งสองข้าง

(ง)ต้อแก้วตาทั้งสองข้าง (Bilateral Cataract)

(
จ)ต้อหิน (Glaucoma)

(
ฉ)โรคขั้วประสานตาเสื่อมทั้ง 2 ข้าง(Optic Atrophy)

(
ช)กระจกตาอักเสบเรื้อรังหรือขุ่นทั้งสองข้าง

 

(ซ)ประสาทการเคลื่อนไหวลูกตาไม่ทำงาน สูญเสียอย่างถาวร (Cranial nerve 3rd, 4th, 6th)



(2) โรคหรือความผิดปกติของหู

(ก)หูหนวกทั้งสองข้าง คือต้องใช้เสียงในช่วงคลื่นความถี่ 500-2,000 รอบต่อวินาทีหรือเกินกว่า 55 เดซิเบล จึงจะได้ยินทั้งสองข้าง

(ข)หูชั้นกลางอักเสบเรื้อรังทั้งสองข้าง

(ค)เยื่อแก้วหูทะลุทั้งสองข้าง


(3) โรคของหัวใจและหลอดเลือด

(ก)หัวใจหรือหลอดเลือดพิการอย่างถาวร จนอาจเกิดอันตรายร้ายแรง

(ข)ลิ้นหัวใจพิการ

(ค)การเต้นของหัวใจผิดปกติอย่างถาวร จนอาจเกิดอันตรายร้ายแรง

(ง)โรคของกล้ามเนื้อหัวใจชนิดที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้และอาจเป็นอันตราย

(จ)หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง

(ฉ)หลอดเลือดภายในกะโหลกศีรษะโป่งพองหรือผิดปกติชนิดที่อาจเป็นอันตราย



(4) โรคเลือดและอวัยวะสร้างเลือด

(ก)โรคเลือดหรืออวัยวะสร้างเลือดผิดปกติอย่างรุนแรงและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

(ข)ภาวะม้ามโต (Hypersplenism) ที่รักษาไม่หายและอาจเป็นอันตราย



(5) โรคระบบหายใจ

(ก)โรคหืด (Asthma) ที่ได้รับการวินิจฉัยตามเกณฑ์การวินิจฉัย

 

(ข) โรคทางปอดที่มีอาการไอหอบเหนื่อย และมีการสูญเสียการทำงานของระบบทางเดินหายใจโดยตรวจสอบสมรรถภาพปอดได้ค่า ForcedExpiratory Volume in One Second หรือ Forced Vital Capacity ต่ำกว่าร้อยละ ๖๐ของค่ามาตรฐานตามเกณฑ์

 

(ค) โรคความดันเลือดในปอดสูง (Pulmonary Hypertension) ซึ่งวินิจฉัยโดยการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiogram)หรือโดยการใส่สายวัดความดันเลือดในปอด

 

(ง) โรคถุงน้ำในปอด (Lung Cyst) ที่ตรวจวินิจฉัยได้โดยภาพถ่ายรังสีทรวงอกหรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ปอด

 

(จ) โรคหยุดการหายใจขณะนอนหลับ(Obstructive Sleep Apnea) ซึ่งวินิจฉัยด้วยการตรวจการนอนหลับ(Polysomnography)”



(6) โรคของระบบปัสสาวะ

(ก)ไตอักเสบเรื้อรัง

(ข)กลุ่มอาการไตพิการ (Nephrotic Syndrome)

(
ค)ไตวายเรื้อรัง

(ง)ไตพองเป็นถุงน้ำแต่กำเนิด (PolycysticKidney)



(7) โรคหรือความผิดปกติของกระดูกข้อ และกล้ามเนื้อ

ก)โรคข้อหรือความผิดปกติของข้อ ดังต่อไปนี้

๑) ข้ออักเสบเรื้อรัง (Chronic Arthritis)

๒) ข้อเสื่อมเรื้อรัง (Chronic Osteoarthritis)

๓) โรคข้อและกระดูกสันหลังอักเสบเรื้อรัง(Spondyloarthropathy)



(ข)แขน ขา มือ เท้า นิ้ว อย่างใดอย่างหนึ่งผิดปกติ ดังต่อไปนี้

 1. แขนขา มือ หรือเท้า ด้วนหรือพิการถึงแม้ว่าจะรักษาด้วยวิธีใหม่ที่สุดแล้วก็ยังใช้การไม่ได้

2. นิ้วหัวแม่มือด้วนจนถึงข้อปลายนิ้วหรือพิการถึงขั้นใช้การไม่ได้

3. นิ้วชี้ของมือด้วนตั้งแต่ข้อปลายนิ้ว

4. นิ้วมือในมือข้างเดียวกันตั้งแต่สองนิ้วขึ้นไปด้วนจนถึงข้อปลายนิ้วหรือพิการถึงขั้นใช้การไม่ได้

5. นิ้วหัวแม่เท้าด้วนจนถึงข้อปลายนิ้วหรือพิการถึงขั้นใช้การไม่ได้

6. นิ้วเท้าในเท้าข้างเดียวกันตั้งแต่สองนิ้วขึ้นไปด้วนจนถึงข้อปลายนิ้วหรือพิการถึงขั้นใช้การไม่ได้

7. นิ้วเท้าในเท้าแต่ละข้างตั้งแต่หนึ่งนิ้วขึ้นไปด้วนจนถึงข้อปลายนิ้วหรือพิการถึงขั้นใช้การไม่ได้

8. นิ้วเท้าในเท้าข้างใดข้างหนึ่งตั้งแต่หนึ่งนิ้วขึ้นไปด้วนจนถึงข้อโคนนิ้วหรือพิการถึงขั้นใช้การไม่ได้

(ค)คอเอียงหรือแข็งทื่อชนิดถาวร

 

(ง) กระดูกสันหลังโก่งหรือคดหรือแอ่นจนเห็นได้ชัดหรือแข้งทื่อชนิดถาวร

(จ)กล้ามเนื้อเหี่ยวลีบหรือหดสั้น (Atrophy orContracture) จนเป็นผลให้อวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใดใช้การไม่ได้

 

 

(8) โรคของต่อมไร้ท่อและภาวะผิดปกติของเมตาบอลิซึม

(ก)ภาวะต่อมธัยรอยด์ทำงานน้อยไปอย่างถาวร

(ข)ภาวะต่อมพาราธัยรอยด์ทำงานน้อยไปอย่างถาวร

(ค)ภาวะต่อมใต้สมองผิดปกติอย่างถาวร

(ง)เบาหวาน

(จ)ภาวะอ้วน (Obesity) ซึ่งมีดัชนีความหนาของร่างกาย(BMI : Body Mass Index) ตั้งแต่35 กิโลกรัมต่อตารางเมตรขึ้นไป

(ฉ)โรคหรือความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึมของแร่ธาตุ สารอาหาร ดุลย์สารน้ำอีเล็คโทรลัยท์และกรดด่างตลอดจนเมตาบอลิซึมอื่นๆชนิดถาวรและอาจเป็นอันตราย

 

(ช)ภาวะต่อมธัยรอยด์ทำงานมากผิดปกติ (Hyperthyroidism



(9) โรคติดเชื้อ

(ก)โรคเรื้อรัง

(ข)โรคเท้าช้าง

(ค)โรคติดเชื้อเรื้อรังระยะแสดงอาการรุนแรง ซึ่งไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้


(10) โรคทางประสาทวิทยา

(ก)จิตเจริญล่าช้า (Mental Retardation) ที่มีระดับเชาว์ปัญญา69 หรือต่ำกว่านั้น

(ข)ใบ้ (Mutism) หรือพูดไม่เป็นภาษาหรือฟังภาษาไม่รู้เรื่อง(Aphasia) ชนิดถาวร

(ค)ลมชัก (Epilepsy) หรือโรคที่ทำให้มีอาการชัก(Seizures) อย่างถาวร

(ง)อัมพาต (Paralysis) ของแขนขา หรือเท้า ชนิดถาวร

(จ)สมองเสื่อม (Dementia)

(
ฉ)โรคหรือความผิดปกติของสมองหรือไขสันหลังที่ทำให้เกิดความผิดปกติอย่างมากในการเคลื่อนไหวของแขนหรือขาอย่างถาวร

(ช)กล้ามเนื้อหมดกำลังอย่างหนัก (MyastheniaGravis)


 

(11) โรคทางจิตเวช

(ก)โรคจิตที่มีอาการรุนแรงหรือเรื้อรัง

๑) โรคจิตเภท (Schizophrenia)

๒) โรคจิตกลุ่มหลงผิด (Resistant Delusional Disorder, Induced Delusional Disorder)

๓) โรคสคิซโซแอฟแฟ็คทีป (Schizoaffective Disorder)

๔) โรคจิตที่เกิดจากโรคทางกาย (Other Mental Disorder due to Brain Damage and Dysfunction)

๕) โรคจิตอื่น ๆ (UnspecifiedNonorganic Psychosis)

 

(ข)โรคอารมณ์แปรปรวนที่มีอาการรุนแรงหรือเรื้อรัง

๑) โรคอารมณ์แปรปรวน (Manic Episode, Bipolar Affective Disorder)

๒) โรคอารมณ์แปรปรวนที่เกิดจากโรคทางกาย (Other Mental Disorderdue to Brain Damage and Dysfunction andto Physical Disorder)

๓) โรคอารมณ์แปรปรวนอื่น ๆ (Other Mood (Affective) Disorder, Unspecified Mood Disorder)

๔) โรคซึมเศร้า (DepressiveDisorder, Recurrent Depressive Disorder)

 

(ค) โรคพัฒนาการทางจิตเวช

๑) จิตเจริญล่าช้าที่มีระดับเชาว์ปัญญา ๗๐หรือต่ำกว่า (Mental Retardation)

๒)โรคหรือความผิดปกติในการพัฒนาการของทักษะทางสังคมและภาษา (Pervasive Developmental Disorder)” 
 

(12) โรคอื่นๆ

(ก)กระเทย (Hermaphrodism)

(
ข)มะเร็ง (Malignant Neoplasm)

(
ค)ตับอักเสบเรื้อรัง (Chronic Hepatitis)

(ง)ตับแข็ง (Cirrhosis of liver)

(
จ)คนเผือก (Albinos)

(
ฉ)โรคลูปัสอิริธิมาโตซัสทั่วร่างกาย (SLE: Systemic Lupus Erythematosous)

(
ช)กายแข็งทั่วร่างกาย (Systemic Sclerosis)

(
ซ)รูปวิปริตต่างๆได้แก่

(1) จมูกโหว่
(2)เพดานโหว่หรือสูงหรือลิ้นไก่สั้นพูดไม่ชัด


(ฌ)โรคผิวหนังลอกหลุดตัวผิดปกติแต่กำเนิดชนิดเด็กดักแด้ (Lamellar Ichthyosis & Congenital IchthyosiformErythroderma)

 


ข้อมูลเพิ่มเติม

กองการสัสดี หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน
เลขที่ 2 ถนนเจริญกรุง แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
โทร. 0-2223-3259, โทรทหาร 91980

https://sassadee.rta.mi.th/
 

การเกณฑ์ทหารในประเทศไทย

https://goo.gl/346W6o

**********************************************

ขั้นตอนการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกองประจำการมีดังนี้

     ขั้นตอนที่ 1 เมื่อทหารกองเกินมา ณ สถานที่ตรวจเลือกให้เข้าแถวรวมอยู่ตามป้ายตำบลที่ปักไว้ครั้นถึงเวลา 07.00น. จะมีพิธีเชิญธงชาติขึ้นสู่ยอดเสา โดยประธานกรรมการนำคณะกรรมการตรวจเลือกและเจ้าหน้าที่ทั้งหมดมาเข้าแถวณ หลังเสาธง จัดให้มีเจ้าหน้าที่เชิญธงชาติ เมื่อธงชาติขึ้นสู่ยอดเสาแล้วประธานกรรมการจะกล่าวถึงความสำคัญในการเข้ารับราชการทหารเพื่อชี้แจงให้ทหารกองเกินได้ตระหนักถึงความสำคัญ ในการรับราชการทหาร เพื่อชี้แจงให้ทหารกองเกินได้ตระหนักถึงความจำเป็นในการรับราชการทหารผลเสียหายในการหลีกเลี่ยงขัดขืน ต่อจากนั้น กรรมการสัสดีจังหวัดจะชี้แจงวิธีปฏิบัติในการร้องขอเข้ากองประจำการ(สมัคร)รวมทั้งการยกเว้นผ่อนผันตลอดจนการขอสิทธิลดวันรับราชการและเหตุต่าง ๆ ที่ควรทราบต่อจากนั้นจะเริ่มทำการตรวจเลือก ดังนี้

-เจ้าหน้าที่โต๊ะที่ 1 มีหน้าที่เรียกชื่อตรวจบัตรประจำตัวประชาชนและหมายเรียกเพื่อมิให้เปลี่ยนตัวและผิดคน

-เจ้าหน้าที่โต๊ะที่ 2 มีหน้าที่ตรวจร่างกายและแบ่งคนเป็นจำพวกกล่าวคือเมื่อตรวจร่างกายแล้ว จะแบ่งคนออกเป็น 4 จำพวก คือ

     จำพวกที่ 1 ได้แก่ คนซึ่งร่างกายสมบูรณ์ดีไม่มีอวัยวะพิการหรือผิดส่วนแต่อย่างใด

     จำพวกที่ 2 ได้แก่ คนซึ่งมีร่างกายที่เห็นได้ชัดว่าไม่สมบูรณ์ดีเหมือนคนจำพวกที่ 1 แต่ไม่ถึงกับทุพพลภาพ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 47 (พ.ศ. 2517)ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2497 เช่น ตาเหล่อ ช่องหูมีหนองเรื้อรังและทั้งแก้วหูทะเลคอพอก มือหรือแขนลีบหรือบิดเก ไส้เลื่อนลงถุง

     จำพวกที่ 3 ได้แก่ คนซึ่งมีร่างกายยังไม่แข็งแรงพอที่จะรับราชการทหารทหารในขณะนั้นได้เพราะป่วย  ซึ่งจะบำบัดให้หายไม่ได้ภายในกำหนด 30 วัน  กรณีนี้ให้เรียกมาตรวจเลือกในคราวถัดไปเมื่อคณะกรรมการตรวจเลือกได้ตรวจเลือกแล้วยังคงเป็นคนจำพวกที่ 3 อยู่รวม 3 ครั้ง ให้งดเรียก (การนับครั้งจะนับครั้งให้เฉพาะที่ได้ตัวมาตรวจเลือกถ้าตัวไม่มาตรวจเลือกไม่นับครั้งให้)

     จำพวกที่ 4 ได้แก่ คนพิการทุพพลภาพ หรือมีโรคซึ่งไม่สามารถรับราชการได้ตามกฎกระทรวงฉบับที่74 (พ.ศ.2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2497  เช่น ต้อหินหูหนวกทั้งสองข้าง ลิ้นหัวใจพิการ หืด เบาหวาน กระเทย โรคจิต ใบ้ คนเผือกฯลฯ (ปลดพ้นราชการทหารประเภทที่ 2 ตามกฎหมาย)  

เมื่อตรวจร่างกายกำหนดคนเป็นจำพวกแล้ว

คนจำพวกที่ 1 เจ้าหน้าที่จะนำตัวไปยังโต๊ะที่ 3 เพื่อทำการวัดขนาด

ส่วนคนจำพวกที่ 2, 3 และ 4 ให้ไปรอที่โต๊ะประธานกรรมการเพื่อตรวจสอบปล่อยตัว

-เจ้าหน้าที่โต๊ะที่ 3 มีหน้าที่ วัดขนาด โดยกระทำ ดังนี้ ให้ผู้ที่เข้ารับการตรวจเลือกยืนตั้งตัวตรงส้นเท้าชิดกันขนาดสูงให้วัด ตั้งแต่ตรงส้นเท้าจนสุดศีรษะ ขนาดรอบตัวให้คล้องแถบเมตรรอยตัวให้ริมล่างของแถลงได้ระดับ ราวนมโดยรอบวัดเมื่อหายใจออกเต็มที่หนึ่งครั้งและหายใจเข้าเต็มที่หนึ่งครั้ง เมื่อวัดขนาดแล้วจะแบ่งทหารกองเกินเป็น 3 กลุ่มดังนี้

     กลุ่มที่ 1 เรียกว่า คนได้ขนาดคือ มีขนาดสูงตั้งแต่ 1 เมตร60 เซนติเมตร ขึ้นไป และมีขนาดรอบตัวตั้งแต่ 76 เซนติเมตรขึ้นไป

     กลุ่มที่ 2 เรียกว่า คนขนาดถัดรอง คือ มีขนาดสูงตั้งแต่ 1เมตร 59 เซนติเมตร ลงมาถึง 1 เมตร 46 เซนติเมตร และมีขนาดรอบตัวตั้งแต่ 76 เซนติเมตรขึ้นไป คนขนาดถัดรองนี้ หากมีคนขนาดสูงกว่าและได้ขนาดพอ (คนได้ขนาด)คณะกรรมการตรวจเลือกจะคัดออก  ปล่อยตัวไปโดยไม่ต้องจับสลาก

     กลุ่มที่ 3 เรียกว่า คนไม่ได้ขนาดคือ มีขนาดสูงไม่ถึง 1 เมตร46 เซนติเมตร หรือขนาดรอบตัวไม่ถึง 76 เซนติเมตร อย่างใดอย่างหนึ่ง  คนไม่ได้ขนาดนี้คณะกรรมการตรวจเลือกจะคัดออก ปล่อยตัวไปโดยไม่ต้องจับสลากแต่อย่างใด  เมื่อได้วัดขนาดและแบ่งคนเป็นกลุ่มต่างๆ แล้ว ต่อไปก็จะเป็นวิธีการคัดเลือกผู้ที่จะต้องจับสลาก(แดง- เป็นทหาร , ดำ - ปล่อย) ต่อไป

วิธีคัดเลือกนั้นผู้ซึ่งอยู่ในข่ายที่จะส่งเข้าเป็นทหารได้ คือคนจำพวกที่ 1 , คนจำพวกที่ 2 และคนผ่อนผัน ที่มีขนาดสูงตั้งแต่ 1 เมตร 46เซนติเมตร และมีขนาดรอบตัว 76 เซนติเมตร ขึ้นไป โดยมีวิธีคัดเลือกดังนี้

                   -เลือกคนจำพวกที่ 1 ซึ่งมีขนาดสูงตั้งแต่ 1 เมตร 60 เซนติเมตร ขึ้นไปก่อนถ้ามีจำนวนมากกว่าที่ทางราชการต้องการ ก็ให้จับสลาก

                   -ถ้าคนจำพวกที่ 1 ซึ่งมีขนาดสูงตั้งแต่ 1 เมตร 60 เซนติเมตร ขึ้นไป มีไม่พอกับจำนวนที่ทางราชการต้องการก็ให้เลือกคนที่มีขนาดสูงถัดรองลงมา (159 ซม., 158 ซม.) ตามลำดับจนพอกับจำนวนที่ต้องการ

                   -ถ้าคนจำพวกที่ 1 (คนที่มีขนาดสูง 1 เมตร 60 เซนติเมตร ขึ้นไป และคนขนาดถัดรอง)มีไม่พอกับจำนวนที่ต้องการก็ให้เลือกคนจำพวกที่ 2 ถ้ายังไม่พออีก ก็ให้เลือกจากคนที่จะได้รับการผ่อนผัน

4.โต๊ะประธานกรรมการ  มีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องปล่อยตัวคนจำพวกที่4 , 3 คนไม่ได้ขนาด, คนผ่อนผัน, คนจำพวกที่ 2 คนขนาดถัดรอง (ถ้ามีคนได้ขนาดพอ) และคนได้ขนาด (กรณีที่มีคนร้องขอหรือสมัครเป็นทหารพอกับจำนวนที่ต้องการแล้วไม่ต้องจับสลาก) พร้อมกับมอบใบรับรองผลการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกองประจำการ (แบบ สด.43 ให้รับไปในวันตรวจเลือก)

     ขั้นตอนที่ 2 ซึ่งได้แก่การจับสลากซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญในขั้นตอนนี้เจ้าหน้าที่จะเรียกชื่อคำจำพวกที่ 1 ซึ่งอยู่ในข่ายที่จะต้องจับสลาก (คัดเลือกแล้ว) มารวมเป็นตำบล ๆ เพื่อดำเนินการจับสลากโดยมีสลากสีแดงและสลากสีดำรวมกันเท่ากับคนที่ตองจับสลากสลากสีแดงให้มีเท่ากับจำนวนคนที่ต้องส่งเข้ากองประจำการ โดยหักคนหลีกเลี่ยงขัดขืนและคนร้องขอเข้ากองประจำการ(สมัคร) ออก นอกนั้นเหลือเป็นสลากสีดำ   การที่จะกำหนดให้ตำบลใดจับสลากก่อนหลังนั้น จะกระทำโดยวิธีให้ผู้แทนของแต่ละตำบลซึ่งอาจจะเป็นกำนันผู้ใหญ่บ้าน เทศมนตรี หรือผู้แทนทหารกองเกินของตำบลนั้น ๆ มาจับสลาก

     -ผู้ที่จับสลากดำ ประธานกรรมการตรวจเลือกจะมอบใบรับรองผลการตรวจเลือกฯ (แบบ สด.43) ให้รับไปในวันตรวจเลือกและปล่อยตัวไป

     -ผู้ที่จับสลากแดง ประธานกรรมการตรวจเลือกจะมอบใบรับรองผลการตรวจเลือกฯ (แบบ สด.43) ให้รับไปในวันตรวจเลือกและนำตัวรับราชการทหาร (แบบ สด.40) จากเจ้าหน้าที่ของอำเภอเพื่อให้ไปรายงานตัวเข้ารับราชการกองประจำการตามกำหนดในหมายนัดของนายอำเภอต่อไป

     สำหรับผู้ที่จับสลากแดงโดยปกติจะต้องเป็นทหารมี กำหนด 2 ปีแต่ถ้าเป็นผู้มีคุณวุฒิพิเศษแล้วกฎหมายยังเปิดโอกาสให้สิทธิในการลดวันรับราชการได้ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 24(พ.ศ.2508) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2497 ทั้งนี้การขอสิทธิลดวันรับราชการทหารต้องนำหลักฐานแสดงคุณวุฒิพิเศษไปยื่นต่อคณะกรรมการตรวจเลือกในวันตรวจเลือกโดยทำคำร้องไว้  พร้อมทั้งขอใบรับหลักฐานจากเจ้าหน้าที่ด้วย

หมายเหตุ : กรณีต้องการยื่นวุฒิการศึกษาเพื่อใช้สิทธิในการลดวันรับราชการทหาร จะต้องเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาก่อนวันที่จะทำการเข้ารับการตรวจเลือก หากทางสถานศึกษาไม่สามารถออกใบสำเร็จการศึกษาได้ทันในวันตรวจเลือก ผู้เข้ารับการตรวจเลือกจะต้องขอหนังสือรับรองการสำเร็จการศึกษาจากทางสถานศึกษามายื่นในวันตรวจเลือกครับ

Punyapat
 
ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐฯ สายด่วน 1111


**********************************************

การตรวจเลือกทหาร ***กำหนดคนเป็น 4 จำพวก
จำพวกที่ 1 ร่างกายสมบูรณ์ดี ไม่มีอวัยวะพิการหรือผิดส่วนแต่อย่างใด มีขนาดสูงตั้งแต่ 146 ซม. ขึ้นไป มีขนาดรอบตัวตั้งแต่ 76 ซม. ขึ้นไป

จำพวกที่ 2 เห็นได้ชัดว่า ร่างกายไม่สมบูรณ์ดี แต่ไม่ถึงทุพพลภาพ

จำพวกที่ 3 ร่างกายไม่แข็งแรงพอหรือป่วย ซึ่งบำบัดให้หายใน 30 วันไม่ได้

จำพวกที่ 4 พิการทุพพลภาพ มีโรคที่ไม่สามารถรับราชการทหารได้

*** ณ วันที่ตรวจเลือกทหาร

จำพวกที่ 1 เข้ารับการคัดเลือกตามปกติ

จำพวกที่ 2 เมื่อคนจำพวกที่ 1 มีจำนวนเพียงพอต่อการคัดเลือก คณะกรรมการพิจารณาปล่อยตัว และไม่ต้องมาเข้ารับการตรวจเลือกทหารอีก
กรณีคนจำพวกที่ 1 มีจำนวนไม่เพียงพอต่อการคัดเลือก ให้เรียกคนจำพวกที่ 2 เข้ารับการคัดเลือก เมื่อสิ้นสุดการคัดเลือก หากไม่ได้รับการคัดเลือก ไม่ต้องมาเข้ารับการตรวจเลือกทหารอีก

จำพวกที่ 3 คณะกรรมการพิจารณาปล่อยตัว และต้องมาเข้ารับการตรวจเลือกทหารอีกในปีถัดไป หากเป็นคนจำพวก 3 ในการตรวจเลือกทหาร 3 ปีติดต่อกัน ให้ยกเลิกไม่ต้องมาเข้ารับการตรวจเลือกทหารอีก

จำพวกที่ 4 คณะกรรมการพิจารณาปล่อยตัว และไม่ต้องมาเข้ารับการตรวจเลือกทหารอีก

คณะกรรมการ ณ วันที่ตรวจเลือกทหาร เป็นผู้ตัดสินคัดแยก คนจำพวก 1 , 2 , 3 และ 4 โดยการพิจารณาของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด ณ วันที่ตรวจเลือกทหาร ซึ่งสามารถสอบถามหรือร้องเรียนได้ตามสิทธิที่กฎหมายกำหนด

ยกตัวอย่าง กรณีผ่าตัดกระดูกดามเหล็ก
- ไม่เกิน 1 ปี ให้เป็นบุคคลจำพวก 3
- เกิน 1 ปี และมีปัญหาแทรกซ้อน เช่น ข้อติดขัด, กระดูกผิดรูป, การเคลื่อนไหวไม่สะดวกจนทำงานไม่ถนัด ให้เป็นบุคคลจำพวก 2

เรียบเรียง จากเนื้อหาบางส่วนของเอกสาร คำอธิบายและกฎหมายเกี่ยวกับการตรวจเลือกทหาร รพ.ค่ายกาวิละ พ.ศ.2562
สนใจ อ่านเพิ่มเติม ใช้คำค้นหา " คำอธิบายและกฎหมายเกี่ยวกับการตรวจเลือกทหาร รพ.ค่ายกาวิละ" หรือ ดาวน์โหลดได้ที่ลิงก์ https://www.fortkawila.com/home/wp-content/uploads/2018/09/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3-%E0%B8%A3%E0%B8%9E.%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%B0-2562.pdf


...........................................................

การขอยกเว้นตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกองประจำการ
1 ตุลาคม 2019
https://fortkawilahospital.rta.mi.th/web/?p=5119



ตรวจโรคก่อนคัดเลือก ปี66
5 กันยายน 2022
https://fortkawilahospital.rta.mi.th/web/?p=6097





หมายเหตุ  ....  การออกใบรับรองแพทย์ เป็น " เท็จ " ผิดทั้งหมอที่ออก และ ผู้ที่นำไปใช้ ติดคุกได้เลยนะครับ

ความรู้เกี่ยวกับ ใบรับรองแพทย์
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=06-01-2008&group=4&gblog=5


Create Date : 10 เมษายน 2552
Last Update : 23 ตุลาคม 2565 16:00:58 น. 5 comments
Counter : 70286 Pageviews.  

 

ได้ความรู้จาก " จ่าหมาน " ตอบไว้ในห้องสวนลุม .. นำมาฝาก สำหรับ แพทย์ นะครับ ..




๔.การผ่อนผันการให้แก่แพทย์ที่ถูกเป็นทหารเข้ารับราชการทหารกองประจำการ จะผ่อนผันให้แก่แพทย์ซึ่งเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะแผน ปัจจุบันชั้น ๑ สาขาเวชกรรมซึ่งจบการศึกษาแล้ว และต้องรับราชการชดใช้ทุนให้แก่ทางราชการ

เมื่อถูกเข้ากองประจำการจะผ่อนผันให้รับราชการในกองประจำการน้อยกว่าที่ กฎหมายกำหนดโดยให้ลาพักรอการปลด เพื่อไปรับราชการชดใช้ทุนตามสัญญา ดังนี้

๔.๑ ผู้ที่สำเร็จการฝึกวิชาทหารชั้นปีที่ ๑ หรือ ชั้นปีที่ ๒ จากกรมการรักษาดินแดน เมื่อขึ้นทะเบียนกองประจำการแล้วให้ลาพักรอการปลดเพื่อไปรับราชการชดใช้ทุน แก่ทางราชการตามส่วนราชการต้นสังกัด โดยขออนุมัติต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

แต่ถ้ายังไม่ได้รับการฝึกวิชาทหาร ให้ทำการฝึกวิชาทหารตามระเบียบเป็นเวลา ๘ สัปดาห์ก่อน

๔.๒ ให้กระทรวงหรือทบวงต้นสังกัดที่แพทย์ผู้นั้นรับราชการอยู่ จัดทำบัญชีรายชื่อเฉพาะแพทย์ที่จบการศึกษาแล้ว และจะต้องรับราชการชดใช้ทุนแก่ทางราชการต่อกระทรวงกลาโหมเป็นปี ๆ ก่อนวันตรวจเลือกไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน

ถ้าผู้ใดถูกเข้าเป็นทหารกองประจำการก็ให้ส่งบัญชีรายชื่อต่อกระทรวงกลาโหม อีกครั้งหนึ่ง เมื่อเสร็จการตรวจเลือกของผู้นั้นแล้ว เพื่อดำเนินการตามข้อ ๔.๑


แก้ไข เมื่อ 16 ก.ค. 53 08:31:42

จาก คุณ : จ่าหมาน




โดย: หมอหมู วันที่: 17 กรกฎาคม 2553 เวลา:17:09:48 น.  

 
สำหรับ แพทย์ และ การเกณฑ์ทหาร ..

จากกระทรวงกลาโหม //www.mod.go.th/misc/officer1.htm

๔.การผ่อนผันการให้แก่แพทย์ที่ถูกเป็นทหารเข้ารับราชการทหารกองประจำการจะผ่อนผันให้แก่แพทย์ซึ่งเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันชั้น ๑ สาขาเวชกรรมซึ่งจบการศึกษาแล้ว และต้องรับราชการชดใช้ทุนให้แก่ทางราชการ เมื่อถูกเข้ากองประจำการจะผ่อนผันให้รับราชการในกองประจำการ น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดโดยให้ลาพักรอการปลด เพื่อไปรับราชการชดใช้ทุนตามสัญญา ดังนี้

๔.๑ ผู้ที่สำเร็จการฝึกวิชาทหารชั้นปีที่ ๑ หรือ ชั้นปีที่ ๒ จากกรมการรักษาดินแดน เมื่อขึ้นทะเบียนกองประจำการแล้วให้ลาพักรอการปลด เพื่อไปรับราชการชดใช้ทุนแก่ทางราชการตามส่วนราชการต้นสังกัด โดยขออนุมัติต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แต่ถ้ายังไม่ได้รับการฝึกวิชาทหาร ให้ทำการฝึกวิชาทหารตามระเบียบเป็นเวลา ๘ สัปดาห์ก่อน

๔.๒ ให้กระทรวงหรือทบวงต้นสังกัดที่แพทย์ผู้นั้นรับราชการอยู่ จัดทำบัญชีรายชื่อเฉพาะแพทย์ที่จบการศึกษาแล้ว และจะต้องรับราชการ ชดใช้ทุนแก่ทางราชการต่อกระทรวงกลาโหมเป็นปี ๆ ก่อนวันตรวจเลือกไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน ถ้าผู้ใดถูกเข้าเป็นทหารกองประจำการก็ให้ส่งบัญชีรายชื่อ ต่อกระทรวงกลาโหมอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเสร็จการตรวจเลือกของผู้นั้นแล้ว เพื่อดำเนินการตามข้อ ๔.๑

ดังนั้นสรุปหลงจบก็ต้องเกณฑ์ไม่มีการยกเว้น แต่ถ้าโดนก็ดูว่าหากเรียน รด 1-2 ปี ไม่ต้องฝึก หากไม่เคยเรียนต้องฝึกวิชาทหาร 8 สัปดาห์

จาก oncodog



โดย: หมอหมู วันที่: 7 พฤษภาคม 2556 เวลา:0:34:32 น.  

 
กระทู้ จากห้องสวนลุม
เครดิต vandalism
//pantip.com/topic/31890285

ขอถือโอกาสนี้ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคประจำตัว กับการเกณฑ์ทหารนะครับ

คำเตือน!!! กระทู้ยาว... ไม่เหมาะสำหรับคนไม่ชอบอ่าน

จากข่าวหลายๆ ปีที่ผ่านมา เกี่ยวกับเรื่องบุคคลดัง กับการเป็นทหาร เวลาผมอ่านกระทู้มักจะพบว่ามีหลายท่านยังเข้าใจผิดเกี่ยวกับขั้นตอนการคัดเลือกทหารกองเกิน (ในที่นี้ผมจะขอเรียกภาษาชาวบ้านว่าเกณฑ์ทหาร) อยู่ ในฐานะที่ผมได้คลุกคลีกับเรื่องนี้อยู่บ้าง ผมขอใช้จังหวะที่กำลังมีกระแสอยู่นี้ ประชาสัมพันธ์ความรู้ เผื่อใครที่จะมาเกณฑ์ปีถัดๆ ไป หรือมีญาติพี่ น้อง เพื่อนพ้อง จะต้องมาเกณฑ์ จะได้ทราบสิทธิ์ของตนเอง ไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพนะครับ


อนึ่ง ขอดักคอไว้ก่อน ว่ากระทู้นี้จะไม่พูดถึงความเหมาะสมของระบบทหารเกณฑ์นะครับ ในประเด็นนั้นท่านสามารถแสดงความเห็นได้ที่กระทู้นี้ครับ และขอแจ้งก่อนว่า กระทู้นี้ ผมเขียนขึ้นมาด้วยตัวของผมคนเดียว โดยกองทัพไม่มีส่วนรู้เห็นนะครับ


เข้าเรื่องนะครับ

ต้องเข้าใจก่อนว่ารัฐธรรมนูญกำหนดให้ ชายไทยทุกนายต้องเป็นทหาร แต่น่าเสียดาย (หรือเปล่า?) ที่กองทัพไม่มีงบประมาณมากพอจะฝึกทุกคน แบบประเทศร่ำรวยอื่นๆ ได้ จึงต้องมีการคัดเลือกทหารเกิดขึ้นครับ

ซึ่งการคัดเลือกทหารกองเกินนั้น ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีข่าวคราวการทุจริตมาโดยตลอด ตั้งแต่ริเริ่มการเกณฑ์ทหารเลยก็ว่าได้ สาเหตุจากทั้งคนกลุ่มหนึ่งที่ไม่อยากเป็นทหารเอง และจากทหารบางนายเอง ที่หาลู่ทางทุจริต ฉ้อราษฎร์บังหลวง แลกกับเงินมหาศาลโดยมิชอบ ซึ่งกองทัพก็ได้พยายามงัดมาตรการใหม่ๆ มาควบคุมทุกปี จนทำให้ปัจจุบันทำได้ยากขึ้นมาก จากเดิมเมื่อหลายสิบปีก่อน คนเพียงคนเดียวในคณะกรรมการก็สามารถคัดคนออกโดยมิชอบได้

ปัจจุบัน มีการตรวจสอบซับซ้อนหลายชั้น ต้องอาศัยคนหลายคนร่วมมือกันหากคิดจะทุจริต จึงทำได้ยากมาก เพราะคณะกรรมการเองเวลาจะมาเกณฑ์ แต่ละคนมาจากหลายหน่วยงานทหาร โดยที่ไม่รู้จักกันมาก่อน... แต่ไม่ใช่ว่าเป็นไปไม่ได้นะครับ เพราะไม่มีระบบใดในโลกนี้ ที่จะกำจัดคนชั่ว ไม่ให้ทุจริตได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ต้องอาศัยพวกท่านทุกๆ คน คอยช่วยสอดส่อง และรายงานเมื่อพบการกระทำผิดนะครับ

กระบวนการเกณฑ์นั้น หลังจากการเรียกชื่อแล้ว ทหารกองเกินที่มาเกณฑ์ทั้งหมดที่มารายงานตัว (ในที่นี้ขอเรียกง่ายๆ ว่าน้องๆ นะครับ) ที่ไม่ได้ขอผ่อนผันไปเกณฑ์ปีถัดๆ ไป จะถูกนำมาตรวจร่างกาย และวัดขนาด

ตรงนี้แหละครับ หลายท่านเข้าใจว่า จุดประสงค์เพื่อคัดเอาคนพิการออก ... ผิดครับ !! จริงๆ แล้ว กองทัพต้องการคนที่สมบูรณ์เพื่อมาเป็นทหารต่างหาก ซึ่งฟังดูแนวคิดทั้ง 2 แบบก็อาจจะไม่ต่างกันเท่าไร แต่พิจารณาในรายละเอียดแล้วมันต่างกันมากครับ

ผมยกตัวอย่างเช่น สายตาสั้น มากกว่า 8 ไดออปเตอร์ (ก็คือมากกว่า 800 ทั้ง 2 ข้าง) จัดว่าพิการ หากมีน้องคนหนึ่งใส่แว่นเดินมาบอกแพทย์ว่าสายตาสั้นข้างละ 900 แต่ไม่มีอะไรยืนยันเลย แพทย์เอง ซึ่งก็ไม่มีอุปกรณ์ตรวจในขณะนั้น ก็ไม่สามารถจำหน่ายพิการได้ แถมน้องเองบอกว่าจะขอจับใบดำใบแดงปีนี้เลย หากคิดว่าเหตุผลเพื่อคัดคนพิการออก ก็จะเห็นว่าน้องเค้าใส่แว่น มองเห็นชัด แถมยังอยากจะไปจับใบดำใบแดงเลย ก็น่าจะให้เค้าไปจับ

แต่หากคิดตามแนวคิดเพื่อผลประโยชน์ของกองทัพ แพทย์อาจตัดสินใจ ให้น้องไปหาหลักฐานมาใหม่ในปีหน้า เพราะหากอยู่ในสถานการรบพุ่งกัน กองทัพย่อมอยากได้คนที่สายตาดีกว่าอยู่แล้ว... นี่คือเหตุผลครับ

ซึ่งในขั้นนี้ จะมีแพทย์ (ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นแพทย์ทหาร) ทำการตรวจร่างกายเพื่อแบ่งคนเป็น 4 จำพวก ได้แก่


จำพวกที่ 1 คือ สมบูรณ์ดี
พวกนี้จะถูกนำไปวัดขนาด รอจับใบดำ ใบแดง

จำพวกที่ 2 คือ ไม่สมบูรณ์ดีเหมือนพวก 1 แต่ไม่ถึงกับทุพพลภาพ เช่น ตาเหล่ กระจกตาขุ่น กระเทย ฯลฯ สามารถดูได้ที่ (1), (2)
ตรงนี้ขึ้นอยู่กับแพทย์ในคณะ จะเป็นผู้คัดเลือกบุคคลจำพวกนี้เท่านั้น ไม่สามารถให้คนอื่นคัดเลือกได้ครับ หากมีใครมาบอกว่าจะช่วยอย่าไปเชื่อครับ คนจำพวกนี้ ก่อนปล่อยตัว แม้ไม่อยู่ในระเบียบ แต่คณะกรรมการส่วนมากมักจะนำความผิดปกติมาแจ้งให้น้องๆ คนอื่นที่เหลือดูว่าเป็นจริงๆ เพื่อกันข้อครหา โดยคนจำพวกนี้ หากคนจำพวก 1 มีไม่พอจริงๆ ก็จะถูกนำมาเกณฑ์ครับ ซึ่งสมัยนี้เป็นไปได้ยากมาก เพราะอนามัยดีกันทุกพื้นที่

จำพวกที่ 3 คือ มีโรคซึ่งไม่ขัดต่อการเป็นทหาร แต่ไม่หายใน 30 วัน
พวกนี้เดี๋ยวสมมติจับได้ใบแดงขึ้นมา จะไปฝึกไม่ทัน เช่น รถชนเป็นแผลเหวอะ เพิ่งผ่าตัดออกมาจาก รพ. เมื่อวาน แผลยังไม่หายดี อันนี้ปีหน้าให้ไปฟื้นฟูสุขภาพ แล้วมาใหม่อีกครั้ง

จำพวกที่ 4 คือ ทุพพลภาพ เช่น พิการทั้งหลาย โรคเรื้อรังทั้งหลาย รวมถึงโรคอ้วน ดัชนีมวลกาย (BMI) >35 เป็นต้น รายละเอียดตาม (3), (4)
คนจำพวกนี้ จะไม่มีโอกาสเป็นข้าราชการทหารอีก และมีผลในการสมัครงานบางแห่ง จึงไม่ค่อยมีใครอยากอยู่ในกลุ่มนี้ แพทย์จะปลดให้ต่อเมื่อตรวจร่างกายเห็นเด่นชัด หรือมีบัตรพิการชัดเจน แต่ถ้าเป็นโรคที่ตรวจร่างกายไม่ได้ง่ายๆ เช่น เบาหวาน HIV หอบหืด ฯลฯ ก็จะต้องให้น้องๆ ไปตรวจ ที่ รพ.ทหาร ช่วง ม.ค.-มี.ค. ซึ่งก็คือ รพ.ค่าย ต่างๆ ที่กำหนดไว้ แล้วให้แพทย์ทหาร ที่ รพ. นั้นๆ อย่างน้อย 3 นาย ลงนามรับรองว่าเป็นโรคจริง แล้ว รพ. จะนำชื่อมาประกาศไว้ในเว็บไซต์กรมแพทย์ทหารบก(5)


ปัญหาคือ มีคนจำนวนมากไม่ทราบตรงนี้ บางคนอายไม่กล้าบอกแพทย์ว่าเป็น HIV บางคนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าหอบหืดห้ามเป็นทหาร บางคนไม่ทราบว่าแค่มาบอกแพทย์ลอยๆ ว่าเป็นโรคนั้นนี้ โดยไม่มีหลักฐาน หรือมีแค่ใบรับรองแพทย์จากคลินิกมาเท่านั้นไม่พอ ตรงนี้เป็นปัญหาและเป็นที่น่าหนักใจต่อแพทย์มาก เพราะโรคพวกนี้ หากรับเข้าไป กองทัพจะเสียหาย บางคนอาจจะคิดว่า... ไม่เป็นไร... ฝึกได้... ไม่ตาย... ผมเคยเกณฑ์ทหารก็มีคนเป็นโรคนั่นนี่เยอะแยะ... แต่อยากให้คิดถึงในสนามรบด้วยครับ

ยกตัวอย่างตอนผมปฏิบัติราชการสนามที่จังหวัดชายแดนใต้ เคยเจอพลทหารเป็นหอบหืดกำเริบ มาทราบภายหลังว่าเป็นอยู่นานแล้ว ปีละ 1-2 ครั้ง ไม่มีอาการ ตอนมาเกณฑ์จึงไม่ได้แจ้งแพทย์ เพราะไม่รู้ และแพทย์เองก็ไม่สามารถตรวจร่างกายอะไรยืนยันได้เลย ซึ่งกรณีนี้ต้องเอารถส่งกลับ ออกมาจากฐานระดับหมวดปืนเล็ก เพื่อมา รพ. ถือว่าเพิ่มความเสี่ยงต่อชีวิตกำลังพลโดยไม่จำเป็นเลย (อย่างที่ท่านทราบกันดีครับ การวางระเบิดทำร้ายเจ้าหน้าที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เกิดขึ้นบนถนนเป็นหลัก) ซึ่งโรคหอบนี้มันไม่ได้แสดงอาการให้เห็นตลอดเวลานะ ผมยกตัวอย่างดาราคุณ ดี๋ ดอกมะดัน ทำงานมาจนอายุ 50 กว่าปี ก่อนเข้า รพ. จนเสียชีวิต มีกี่คนกันที่ทราบว่าเค้าเป็นโรคหอบครับ

ดังนั้นเมื่อเจอกรณีข้างต้น ที่ไม่มีใบรับรองแพทย์ชัดเจน ทางแก้ปัญหาของแพทย์ที่เป็นคณะกรรมการคือ อาจให้โอกาสแก้ตัว โดยลงเป็นจำพวก 3 ไปก่อน ปีหน้ามาใหม่ เอาหลักฐานมาให้ครบ หากยังไม่ครบอีกปีหน้าก็ค่อยมาจับ หรือหากแพทย์พิจารณาแล้วคิดว่าไม่ได้เป็นโรคจริงๆ ก็ให้ไปจับใบดำใบแดงเลย

จะเห็นว่า ไม่ว่ายังไง สุดท้ายก็จะมีคนที่เป็นโรค มาเข้ารับการฝึก ให้ทหารทั้งผู้ฝึกและแพทย์ได้ปวดหัวได้เสมอ เพราะโรคหลายๆ โรค หากไม่บอกแพทย์เลย แพทย์ก็จะไม่มีทางทราบจากการตรวจร่างกายได้เลย ไปรอแสดงอาการเอาตอนฝึกเท่านั้น นี่เป็นสาเหตุที่เรายังพบทหารเกณฑ์ที่เป็นโรค ต้องมาทำเรื่องปลดหลังจากฝึกไปแล้วในภายหลังอยู่เสมอ

ผมเองเคยเป็นแพทย์ตรวจเลือก เกือบให้คนปัญญาอ่อน ซึ่งมีบัตรคนพิการไปจับสลากแล้ว เพราะน้องเค้าทำตามสั่งได้ทุกอย่าง หากไม่ได้คุยจริงจังไม่ได้แสดงอาการเลย จนกระทั่งบิดาของน้องคนดังกล่าวมาแจ้ง... หวุดหวิดไป Facepalm

ถัดมาจากการตรวร่างกาย ก็จะเป็นการวัดขนาด รอบอก ส่วนสูง นะครับ แบ่งคนเป็น 3 ขนาด คือ

ได้ขนาด สูง 160 ซม. และรอบตัว 76 ซม. ขึ้นไป
ขนาดถัดรอง สูงไม่ถึง 159 ซม.
ไม่ได้ขนาด สูงไม่ถึง 146 ซม. หรือรอบตัวไม่ถึง 76 ซม.

ซึ่งกรณีนี้โกงกันยากมาก เพราะวัดกันให้เห็นจะๆ

จะเห็นว่า ขั้นตอนต่างๆ ซับซ้อนมาก โอกาสทุจริตลำบาก แต่สมมติมีการทุจริตเกิดขึ้น เช่น มีแพทย์ลงความเห็นว่าน้องคนหนึ่งนิ้วคด ทั้งๆ ที่ไม่คด กรณีนี้สามารถร้องเรียนประธานคณะกรรมการได้ทันทีครับ เป็นสิทธิ์ของท่าน และสมมติว่าท่านได้ใบแดง แต่เห็นว่าไม่สมควร ก็สามารถร้องเรียนคณะกรรมการจังหวัดได้ทันที ซึ่งตรงนี้เป็นระเบียบอยู่แล้วว่าจะต้องชี้แจงให้ทุกคนฟังตั้งแต่เดินทางมาถึงตอนเช้า (แต่ส่วนใหญ่จะตื่นเต้น ไม่ค่อยได้ฟังกัน)

ดังนั้นเมื่อช่องทางหากินลำบากขึ้น ปัจจุบันช่องทางโกงที่แพร่หลายที่สุดจึงเป็นการกินเปล่า โดยอาศัยความไม่รู้ครับ เช่น มีน้องคนหนึ่งตาเขเห็นชัดเจน ก็จะมีคนไปทาบทาม ว่าจะช่วยให้รอดได้ ถ้า "ยัดเงิน" ซึ่งจริงๆ ตาเข มันเป็นทหารไม่ได้อยู่แล้ว พวกนี้พอมาตรวจกับแพทย์ แพทย์ก็วินิจฉัยไปตามจริงว่าตาเข โดยไม่ทราบว่าน้องเค้าจ่ายใครไป แต่คนรับเงินกลับเป็นกลุ่มมิจฉาชีพเหล่านี้ ผมเองก็เคยมีประสบการณ์ ปลดคนเป็นจำพวก 2 ด้วยอาการทีเห็นเด่นชัด น้องเค้ามาถามผมซื่อๆ ว่าจ่ายเงินตรงไหน ผมก็งงเลย มาทราบภายหลังว่ามีคนหลอกลวงให้จ่ายเงิน จะช่วยให้ ซึ่งก็บอกไปว่าไม่ต้องจ่าย

อีกช่องทางหนึ่งคือหากินกับใบดำครับ สมมติมีใบดำต่อใบแดง 2:1 ก็ไปไล่หลอกลวงคนว่าจะไม่ต้องเป็นทหารถ้ายัดเงินไว้ก่อน พอจับได้ใบดำ ก็เอาเงินไป พอจับได้ใบแดง ก็คืนเงิน บอกว่าพยายามช่วยแล้ว แต่ไม่สำเร็จ ฟันเงินเหนาะๆ เลยครับ

ก็หวังว่าท่านทั้งหลาย จะไม่ตกเป็นเหยื่อบุคคลเหล่านี้ และช่วยกันสอดส่อง ให้การเกณฑ์ทหาร เป็นไปอย่างโปร่งใสมากยิ่งๆ ขึ้นไปนะครับ

ปล. ผมไม่ใช่ติ่งดาราคนไหนนะครับ แหะๆๆๆ

อ้างอิง

[1] กฎกระทรวง ฉบับที่ 37 (พ.ศ. 2516)
//law.longdo.com/download/475/sub33513
[2] กฎกระทรวง ฉบับที่ 75 (พ.ศ. 2555)
//www.library.coj.go.th/managelaw/data/4-2555-18.PDF
[3] กฎกระทรวงฉบับที่ 74 (พ.ศ. 2540)
//law.longdo.com/download/475/sub33509
[4] กฎกระทรวงฉบับที่ 76 (พ.ศ. 2555)
//www.library.coj.go.th/managelaw/data/4-2555-19.PDF
[5] ใบรับรองแพทย์
//www.amed.go.th/index.php/2013-04-01-03-14-47/113-2014-03-13-01-42-29




โดย: หมอหมู วันที่: 8 เมษายน 2557 เวลา:22:36:50 น.  

 
การกำหนดคนเป็นจำพวกตามผลการตรวจร่างกาย (โรคที่ขัดต่อการรับราชการทหาร)
//www.sussadee.com/PR/index_t.htm

คนจำพวกที่ ๑ ได้แก่
คนที่มีร่างกายสมบูรณ์ดี ไม่มีอวัยวะพิการหรือผิดส่วนแต่อย่างใด - มีขนาดสูงตั้งแต่ ๑๔๖ ซม. ขึ้นไป - ขนาดรอบตัวตั้งแต่ ๗๖ ซม. ขึ้นไป

คนจำพวกที่ ๒ ได้แก่ (ตาม กฎกระทรวงฯ ที่ ๓๗)
คนซึ่งมีร่างกายที่เห็นได้ชัดว่า ไม่สมบูรณ์ดีเหมือนคนจำพวกที่ ๑ แต่ไม่ถึงทุพพลภาพ คือ
(๑) ตาหรือหนังตาผิดปกติจนปรากฏชัดอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ แม้เพียงข้างเดียว
(ก) ตาเหล่ (Squint)
(ข) ลูกตาสั่น (Nystagmus)
(ค) แก้วตาขุ่น (Cataract)
(ง) กระจกตาขุ่น (Opacity of Cornea)
(จ) หนังตาตก (Ptosis)
(ฉ) หนังตาม้วนเข้า (Entropion)
(ช) หนังตาม้วนออก (Ectropion)
(ซ) ช่องหนังตา (Palpebral Fissure) ทั้งสองข้างกว้างไม่เท่ากันจนดูน่าเกลียด
(๒) หูผิดปกติอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้แม้เพียงข้างเดียว
(ก) ใบหูผิดรูปหรือผิดขนาดปรากฏชัดเจนจนดูน่าเกลียด เช่น ลีบหรือเล็ก หรือใหญ่ หรือบี้
(ข) ช่องหูมีหนองเรื้อรังและทั้งแก้วหูทะลุ
(๓) จมูกผิดรูปจนดูน่าเกลียด เช่น บี้ หรือแหว่ง
(๔) ปากผิดรูปจนดูน่าเกลียด เช่น แหว่งหรือผิดรูปจนพูดไม่ชัด
(๕) ช่องปากผิดรูป หรือผิดปกติจนพูดไม่ชัด
(๖) หน้าผิดปกติจนดูน่าเกลียดอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
(ก) อัมพาต (Facial Paralysis)
(ข) เนื้อกระตุก (Tics)
(ค) แผลเป็นหรือปานที่หน้า มีเนื้อที่ตั้งแต่ ๑/๔ ของหน้าขึ้นไป หรือยาวมาก
(ง) เนื้องอก (Benign Tumou Tumous)
(๗) คอพอก (Simple Coitre)
(๘) ซอกคอหรือซอกรักแร้ติดกัด
(๙) อวัยวะเคลื่อนไหวผิดปกติอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ แม้เพียงข้างเดียว
(ก) ข้อติด (Ankylosis) หรือหลวมหลุดง่ายหรือเคลื่อนไหวไม่สะดวกจนทำงานไม่ถนัด
(ข) นิ้วมือหรือนิ้วเท้ามีจำนวนหรือขนาดของนิ้วผิดปกติจนดูน่าเกลียด หรือนิ้วบิดเกจนดูน่าเกลียดหรือจนทำงานไม่ถนัด หรือช่องนิ้วติดกันหรือนิ้วมือด้วนถึงโคนเล็บ
(ค) มือหรือแขนลีบหรือบิดเก
(ง) เท้าหรือขาลีบหรือบิดเก
(๑๐) กระดูกชิ้นใหญ่ผิดรูปจนทำให้อวัยวะนั้นทำงานไม่สะดวกหรือจนดูน่าเกลียด
(๑๑) ไส้เลื่อนลงถุง
(๑๒) ภาวะเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำหนด (Gender Identity Disorder) (เพิ่ม ตาม กฎกระทรวงฯ ที่ ๗๕)

คนจำพวกที่ ๓ ได้แก่
คนซึ่งมีร่างกายยังไม่แข็งแรงพอที่จะรับราชการทหารในขณะนั้นได้เพราะป่วย ซึ่งจะบำบัดให้หายภายใน ๓๐ วันไม่ได้

คนจำพวกที่ ๔ ได้แก่ (ตาม กฎกระทรวงฯ ที่ ๗๔)
คนพิการทุพพลภาพ ซึ่งมีโรคหรือสภาพร่างกายหรือ สภาพจิตใจที่ไม่สามารถจะรับราชการทหารได้ คือ
(๑) โรคหรือความผิดปกติของตา
(ก) ตาข้างหนึ่งข้างใดบอด คือ เมื่อรักษา และแก้สายตาด้วยแว่นแล้วการมองเห็นยังอยู่ในระดับต่ำกว่า ๗/๖๐ หรือลานสายตาโดยเฉลี่ยแคบกว่า ๑๐ องศา
(ข) สายตาไม่ปกติ คือ เมื่อรักษาและแก้สายตาด้วยแว่นแล้วการมองเห็นยังอยู่ในระดับ ๖/๒๔ หรือต่ำกว่าทั้งสองข้าง
(ค) สายตาสั้นมากกว่า ๘ ไดออปเตอร์ หรือสายตายาวมากกว่า ๕ ไดออปเตอร์ทั้งสองข้าง
(ง) ต้อแก้วตาทั้งสองข้าง (Bilateral Cataract)
(จ.) ต้อหิน (Glaucoma)
(ฉ) โรคขั้วประสาทตาเสื่อมทั้ง ๒ ข้าง (Optic Atrophy)
(ช) กระจกตาอักเสบเรื้อรังหรือขุ่นทั้งสองข้าง
(ซ) ประสาทการเคลื่อนไหวลูกตาไม่ทำงาน สูญเสียอย่างถาวร (Cranial nerel ๓ rd, ๔ th, ๖ th) (เพิ่ม ตาม กฎกระทรวงฯ ที่ ๗๖)
(๒) โรคหรือความผิดปกติของหู
(ก) หูหนวกทั้งสองข้าง คือต้องใช้เสียงในช่วงคลื่นความถี่ ๕๐๐ - ๒,๐๐๐ รอบต่อวินาทีหรือเกินกว่า ๕๕ เดซิเบล จึงจะได้ยินทั้งสองข้าง
(ข) หูชั้นกลางอักเสบเรื้อรังทั้งสองข้าง
(ค) เยื่อแก้วหูทะลุทั้งสองข้าง
(๓) โรคของหัวใจและหลอดเลือด
(ก) หัวใจหรือหลอดเลือดพิการอย่างถาวร จนอาจเกิดอันตรายร้ายแรง
(ข) ลิ้นหัวใจพิการ
(ค) การเต้นของหัวใจผิดปกติอย่างถาวร จนอาจเกิดอันตรายร้ายแรง
(ง) โรคของกล้ามเนื้อหัวใจ ชนิดที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และอาจเป็นอันตราย
(จ) หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง
(ฉ) หลอดเลือดภายในกระโหลกศีรษะโป่งพองหรือผิดปกติชนิดที่อาจเป็นอันตราย
(๔) โรคเลือดและอวัยวะสร้างเลือด
(ก) โรคเลือดหรืออวัยวะสร้างเลือดผิดปกติอย่างถาวรและอาจเป็นอันตราย
(ข) ภาวะม้ามโต (Hypersplenism) ที่รักษาไม่หายและอาจเป็นอันตราย
(๕) โรคของระบบหายใจ (แก้ไข ตาม กฎกระทรวงฯ ที่ ๗๖)
(ก) โรคหืด (Asthma) ที่ได้รับการวินิจฉัยตามเกณฑ์การวินิจฉัย
(ข) โรคทางปอดที่มีอาการไอ้ หอบเหนื่อย และมีการสูญเสียการทำงาน ของระบบทางเดินหายใจ โดยตรวจสอบสมรรถภาพปอดได้ค่า Forced Expiratory Volume in One second หรือ Forced Vital Capacity ต่ำกว่าร้อยละ ๖๐ ของค่ามาตรฐานตามเกณฑ์
(ค) โรคความดันเลือดในปอดสูง (Pulmonary Hypertension) ซึ่งวินิจฉัยโดยการตรวจหัวใจด้วยคลื่นความถี่สูง (Echocardiogram) หรือ โดยการใส่สายวัดความดันเลือดในปอด
(ง) โรคถุงน้ำในปอด (Lung Cyst) ที่ตรวจวินิจฉัยได้โดยภาพถ่ายรังสีทรวงอก หรือเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ปอด
(จ) โรคหยุดการหายใจในขณะหลับ (Cbstructive Sleep Apnea) ซึ่งวินิจฉัยโดยการตรวจการนอนหลับ (Polysonmography)
(๖) โรคของระบบปัสสาวะ
(ก) ไตอักเสบเรื้อรัง
(ข) กลุ่มอาการไตพิการ (Nephrotic Syndrome)
(ค) ไตวายเรื้อรัง
(ง) ไตพองเป็นถุงน้ำแต่กำเนิด (Polycystis Kidney)
(๗) โรคหรือความผิดปกติของกระดูก ข้อ และกล้ามเนื้อ
(ก) โรคข้อหรือความผิดปกติของข้อ ดังต่อไปนี้ (แก้ไข ตาม กฎกระทรวงฯ ที่ ๗๖)
(๑) ข้ออักเสบเรื้อรัง (Chronic arthritis)
(๒) ข้อเสื่อมเรื้อรัง (Chronic osteoarthritis)
(๓) โรคข้อและกระดูกสันหลังอักเสบเรื้อรัง (Spondyloaethropathy)
(ข) แขน ขา มือ เท้า นิ้ว อย่างใดอย่างหนึ่งผิดปกติ ดังต่อไปนี้
(๑) แขน ขา มือ หรือเท้า ด้วน หรือพิการ ถึงแม้ว่าจะรักษาด้วยวิธีใหม่ที่สุดแล้วก็ยังใช้การไม่ได้
(๒) นิ้วหัวแม่มือด้วนจนถึงข้อปลายนิ้วหรือพิการถึงขั้นใช้การไม่ได้
(๓) นิ้วชี้ของมือด้วนตั้งแต่ข้อปลายนิ้ว
(๔) นิ้วมือในมือข้างเดียวกันตั้งแต่สองนิ้วขึ้นไปด้วนจนถึงข้อปลายนิ้วหรือพิการถึงขั้นใช้การไม่ได้
(๕) นิ้วหัวแม่เท้าด้วนจนถึงข้อปลายนิ้วหรือพิการถึงขั้นใช้การไม่ได้
(๖) นิ้วเท้าในเท้าข้างเดียวกัน ตั้งแต่สองนิ้วขึ้นไปด้วนจนถึงข้อปลายนิ้ว หรือพิการถึงขั้นใช้การไม่ได้
(๗) นิ้วเท้าในเท้าแต่ละข้างตั้งแต่หนึ่งนิ้วขึ้นไปด้วนจนถึงข้อปลายนิ้วหรือพิการ ถึงขั้นใช้การไม่ได้
(๘) นิ้วเท้าในเท้าข้างใดข้างหนึ่ง ตั้งแต่หนึ่งนิ้วขึ้นไปด้วนจนถึงข้อโคนนิ้วหรือพิการจนถึงขั้นใช้การไม่ได้
(ค) คอเอียงหรือแข็งทื่อชนิดถาวร
(ง) กระดูกสันหลังโก่งหรือคดหรือแอ่นจนเห็นได้ชัด หรือแข็งทื่อชนิดถาวร
(จ) กล้ามเนื้อเหี่ยวลีบหรือหดสั้น (Atrophy or Contracture) จนเป็นผลให้อวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใดใช้การไม่ได้
(๘) โรคของต่อมไร้ท่อและภาวะผิดปกติของเมตะบอลิสัม
(ก) ภาวะต่อมธัยรอยด์ทำงานน้อยไปอย่างถาวร
(ข) ภาวะต่อมพาราธัยรอยด์ทำงานน้อยไปอย่างถาวร
(ค) ภาวะต่อมใต้สมองผิดปกติอย่างถาวร
(ง) เบาหวาน
(จ) ภาวะอ้วน (Obesity) ซึ่งมีดัชนีความหนาของร่างกาย (Body Mass Index) ตั้งแต่ ๓๕ กิโลกรัม ต่อตารางเมตรขึ้นไป
(ฉ) โรคหรือความผิดปกติเกี่ยวกับเมตะบอลิสัมของแร่ธาตุ สารอาหารดุลย์สารน้ำอีเล็กโทรลัยท์ และกรดด่าง ตลอดจนเมตะบอลิสัมอื่น ๆ ชนิดถาวร และอาจเป็นอันตราย
(ช) ภาวะต่อมธัยรอยด์ทำงานมากผิดปกติ (Hyperthy roidism) (เพิ่ม ตาม กฎกระทรวงฯ ที่ ๗๖)
(๙) โรคติดเชื้อ
(ก) โรคเรื้อน
(ข) โรคเท้าช้าง
(ค) โรคติดเชื้อเรื้อรังระยะแสดงอาการรุนแรง ซึ่งไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
(๑๐) โรคทางประสาทวิทยา
(ก) จิตเจริญล่าช้า (Mental Retardation) ที่มีระดับเชาว์ปัญญา ๖๙ หรือต่ำกว่านั้น
(ข) ใบ้ (Mutism) หรือพูดไม่เป็นภาษา หรือฟังภาษาไม่รู้เรื่อง (Aphasia) ชนิดถาวร
(ค) ลมชัก (Epilepsy) หรือโรคที่ทำให้มีอาการชัก (Seizures) อย่างถาวร
(ง) อัมพาต (Paralysis) ของ แขน ขา มือ หรือเท้าชนิดถาวร
(จ) สมองเสื่อม (Dementia)
(ฉ) โรคหรือความผิดปกติของสมอง หรือไขสันหลังที่ทำให้เกิดความผิดปกติอย่างมากในการเคลื่อนไหวของแขนหรือขาอย่างถาวร
(ช) กล้ามเนื้อหมดกำลังอย่างหนัก (Myasthenia Gravis)
(๑๑) โรคทางจิตเวช (แก้ไข ตาม กฎกระทรวงฯ ที่ ๗๖)
(ก) โรคจิตที่มีอาการรุนแรงหรือเรื้อรัง
(๑) โรคจิตเภท (Schizophrenia)
(๒) โรคจิตกลุ่มหลงผิด (Resistant Delusional Disorder, Induced Delusional Disorder)
(๓) โรคสคิซโซแอฟเฟ็คทีป (Schizoaffective Disorder)
(๔) โรคจิตที่เกิดจากโรคทางกาย (Other mental disorder due to brain damage and dysfunction)
(๕) โรคจิตอื่น ๆ (Unspecified Ninorganic psychosis)
(ข) โรคอารมณ์แปลปรวนที่มีอาการรุนแรงหรือเรื้อรัง
(๑) โรคอารมณ์แปรปรวน (Manic Episode, Bipolar Affective Disorder)
(๒) โรคอารมณ์แปรปรวนที่เกิดจากโรคทางกาย (Other mental disorder due to brain damage and dysfunction and to Physical Disorder)
(๓) โรคอารมณ์แปรปรวนอื่น ๆ (Other Mood (Affective) Disorder, Unspecified Mood Disorder)
(๔) โรคซึมเศร้า (Depressive Disorder, Recurrent Depressive Disorder)
(ค) โรคพัฒนาการทางจิตเวช
(๑) จิตเจริญล่าช้าที่มีระดับเชาว์ปัญญา ๗๐ หรือต่ำกว่า (Mental Retardation)
(๒) โรคหรือความผิดปกติในการพัฒนาการของทักษะทางสังคมและภาษา (Pervasive Developmental Disorder)

(๑๒) โรคอื่น ๆ
(ก) กระเทย (Hermaphrodism)
(ข) มะเร็ง (Malignant Neoplasm)
(ค) ตับอักเสบเรื้อรัง (Chronic Hepatittis) (แก้ไข ตาม กฎกระทรวงฯ ที่ ๗๖)
(ง) ตับแข็ง (Cirrhosis of liver)
(จ) คนเผือก (Albino)
(ฉ) โรคลูปัสอิริธิมาโตซัสทั่วร่างกาย (Systemic Lupus Erythematosus)
(ช) กายแข็งทั่วร่างกาย (Systemic Sclerosis)
(ซ) รูปวิปริตต่าง ๆ ได้แก่
๑. จมูกโหว่
๒. เพดานโหว่หรือสูงหรือลิ้นไก่สั้นพูดไม่ชัด
(ฌ) โรคผิวหนังลอกหลุดตัวผิดปกติแต่กำเนิดชนิดเด็กดักแด้ (Lamellar Ichthyosis & Congenital Ichthyosiform Erythtroderma) (เพิ่ม ตาม กฎกระทรวงฯ ที่ ๗๖)


โดย: หมอหมู วันที่: 3 มีนาคม 2560 เวลา:15:46:24 น.  

 
คัดลอกมาฝาก " คำถามที่พบได้บ่อยที่โต๊ะหมอ ณ วันเกณฑ์ทหาร " โดย Lewdlei S Arseid
https://pantip.com/topic/42601822


คำถามที่พบได้บ่อยที่โต๊ะหมอ ณ วันเกณฑ์ทหาร

จุดประสงค์ของการเขียนบทความนี้
- เพื่อรวบรวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการเกณฑ์ทหารในขั้นตอนที่มีกรรมการแพทย์เป็นส่วนเกี่ยวข้อง สำหรับน้องๆที่จะต้องเข้าสู่กระบวนการตรวจเลือกทหารกองเกิน จะได้เตรียมตัวให้พร้อมที่สุด

ข้อจำกัดของบทความ
- เป็นบทความที่เขียนโดยหมอที่ทำหน้าที่ "กรรมการแพทย์" มาแล้วห้าปี ประสบการณ์ถือว่าน้อย
- บทความนี้จะครอบคลุมเฉพาะขั้นตอนที่กรรมการแพทย์มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงเท่านั้น (การตรวจร่างกาย และจำแนกน้องๆเป็นบุคคลจำพวกต่างๆ)
- ไม่ครอบคลุมเนื้อหาในขั้นตอนอื่นๆ เช่น งานเอกสาร กระบวนการร้องเรียนกรรมการชั้นสูง หรือการขอใบรับรองแพทย์ก่อนวันตรวจเลือก (ไปขอได้วันไหน ที่ไหน เอาอะไรไปยื่นเพื่อขอใบรับรองแพทย์บ้าง)
- จขกท. ไม่มีสิทธิ์ อำนาจ หรือหน้าที่ในการกำหนดบุคคลเป็นจำพวกผ่านระบบออนไลน์ อำนาจชี้ขาด ว่าน้องจะเป็นคนจำพวกใด จะอยู่ที่กรรมการแพทย์ (ร่วมกับประธานคณะ และสัสดี) ณ วันตรวจเลือกเท่านั้น
- การปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการแพทย์นั้น อาศัยดุลยพินิจเป็นหลัก กรรมการแพทย์ท่านอื่นอาจมีดุลยพินิจหรือความเข้มงวดในขั้นตอนการปฏิบัติงานที่แตกต่างจากที่เขียนไว้ในกระทู้นี้ได้ ขอให้อ่านกระทู้นี้เอาไว้เป็น "แนวทาง" ไม่ใช่ "กฏหมาย" นะครับ
- ข้อมูลอัพเดทล่าสุดวันที่ 25/3/67
_______________________________________________________
0. คอนเซปต์ของกรรมการแพทย์
- กรรมการแพทย์จะมีหน้าที่จำแนกน้องๆเป็นคนจำพวกต่างๆ โดยอาศัยหลักฐานหลายๆอย่างมาประกอบกัน ไม่ว่าจะมาจากการตรวจร่างกาย ใบรับรองแพทย์ ประวัติการรักษา และผลตรวจพิเศษต่างๆ และใช้ "ดุลยพินิจ" ของกรรมการแพทย์ในการประเมินว่า จะให้น้องๆเป็นคนจำพวกไหน
- ในสายตาของกรรมการแพทย์ ใบรับรองแพทย์ไม่ใช่ "คำสั่ง" ว่าให้ทำอย่างโน้นอย่างนี้ แต่เป็นเอกสารชนิดหนึ่งเพื่อประกอบกับการใช้ดุลยพินิจเท่านั้น
- ดังนั้น ไม่ควรถือใบรับรองแพทย์มาเพียงอย่างเดียว ในหลายๆกรณี ใบรับรองแพทย์อย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะทำให้กรรมการแพทย์ส่งคุณไปเป็นบุคคลจำพวกที่ 2 หรือ 4 (ทำให้เป็นบุคคลจำพวกที่ 3 ต้องมาใหม่ปีหน้าด้วยหลักฐานที่มากขึ้น หรือ บุคคลจำพวกที่ 1 จับใบดำใบแดงไปเลย) และในหลายๆกรณี แม้จะไม่มีใบรับรองแพทย์มาเลย แต่กรรมการแพทย์ตรวจพบความผิดปกติ ก็ทำให้น้องๆรอดพ้นจากการเกณฑ์ทหารได้เช่นเดียวกัน ดุลยพินิจล้วนๆครับ
- แต่ถ้ามีหลักฐานมาครบถ้วน ก็จะทำให้การใช้ดุลยพินิจ ทำได้ง่ายขึ้นกว่าไม่มีอะไรมาเลย

1. สิ่งที่กรรมการแพทย์คาดหวังจากน้องๆที่มีภาวะเจ็บป่วย
- เพื่อผลประโยชน์ของน้องๆ (และความง่ายของกรรมการแพทย์ในการทำงาน) กรรมการแพทย์คาดหวังที่จะได้เห็นสิ่งต่างๆดังต่อไปนี้
1.1. ใบรับรองแพทย์ฉบับจริง (เป็นใบๆ ไม่เอารูปถ่าย หรือเปิดดูออนไลน์ เนื่องจากน้องๆต้องเซ็นกำกับ ว่าเอาเอกสารฉบับนี้มายื่นจริง แล้วทางกรรมการแพทย์จะจัดเก็บไว้เป็นหลักฐานให้กองทัพต่อไป)
1.2. ประวัติการรักษา/เวชระเบียน โดยเฉพาะโรคที่รักษามานาน จะมีความสำคัญมาก
1.3. ผลตรวจต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น ผลเลือด ผลเป่าปอด ฟิล์ม X-ray, CT scan, MRI และอื่นๆ (บางโรค เอามาแต่ใบรับรองแพทย์ไม่ได้)
1.4. บัตรผู้พิการ (ถ้ามี)

2. ใบรับรองแพทย์ ควรจะไปขอจากที่ไหนดี รพ.ค่าย รพ.รัฐบาล รพ.เอกชน หรือ คลินิก?
- ความน่าเชื่อถือของใบรับรองแพทย์ ไล่จากที่เชื่อถือได้มากที่สุด ลงมาต่ำสุด คือ
2.1. ใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาลทหารบก (ตรวจเช็คได้ง่ายที่สุด เนื่องจากมีระบบออนไลน์ในการตรวจสอบ)
2.2. ใบรับรองแพทย์จากรพ.รัฐบาล (ถ้ามีข้อเคลือบแคลงสงสัย กรรมการแพทย์จะโทรไปสอบถามที่โรงพยาบาล)
2.3. ใบรับรองแพทย์จากรพ.เอกชน และคลินิก (ความน่าเชื่อถือต่ำที่สุด กรรมการแพทย์จะถูกเทรนมาว่า ไม่มีน้ำหนักในการพิจารณา)

ดังนั้น สามารถขอใบรับรองแพทย์ได้จากทั้งรพ.ทหาร และรพ.รัฐบาล ไม่แนะนำให้ขอใบรับรองแพทย์จากรพ.เอกชนหรือคลินิก เนื่องจากกรรมการแพทย์หลายท่านจะไม่พิจารณาใบรับรองแพทย์ฉบับนั้น

3. ปัญหาที่พบได้บ่อยในใบรับรองแพทย์
- สำหรับใบรับรองแพทย์รพ.ทหาร มักจะไม่มีปัญหาอยู่แล้ว เพราะจะรู้ดีว่าควรออกใบรับรองแพทย์อย่างไร (และมีระบบออนไลน์ที่จะแนบผลตรวจที่สำคัญให้กรรมการแพทย์อ่านอยู่แล้ว) แต่ปัญหาจะพบบ่อยในใบรับรองแพทย์รพ.รัฐ เช่น
3.1. แพทย์ที่เซ็นใบรับรองแพทย์ ไม่ได้มีความเชี่ยวชาญในการวินิจฉัยโรคนั้นๆ เช่น ในใบรับรองแพทย์เขียนมาว่าสายตาสั้นเกิน 800 (แต่คนเซ็นใบรับรองแพทย์ไม่ได้เป็นจักษุแพทย์) เขียนว่าเป็นโรคซึมเศร้า (แต่คนเซ็นไม่ใช่จิตแพทย์) เป็นต้น -> ส่วนใหญ่จะจบลงเป็นบุคคลจำพวกที่ 3 (ปีหน้ามาใหม่ด้วยใบรับรองแพทย์ที่ถูกต้อง)
3.2. มีใบรับรองแพทย์มาจริง แต่เป็นโรคที่ต้องมีหลักฐานการตรวจอื่นๆประกอบ เช่น โรคหอบหืด (ต้องมีผลเป่าปอด), ธาลัสซีเมีย (ต้องมีผลตรวจ Hemoglobin typing) -> เป็นบุคคลจำพวกที่ 3 (ปีหน้ามาใหม่ด้วยหลักฐานที่มากชึ้น)
3.3. ใบรับรองแพทย์เก่าเกินไป ความเก่าของใบรับรองแพทย์ไม่ได้มีตัวตัดชัดเจนว่าต้องกี่เดือนกี่วัน แต่ถ้าห่างจากวันตรวจเลือกมากๆ ในบางโรคอาจทำให้ความน่าเชื่อถือของใบรับรองแพทย์ลดลง
3.4. ถ้ากรรมการแพทย์สงสัยเรื่องการปลอมแปลงใบรับรองแพทย์ จะทำการโทรไปสอบถามที่โรงพยาบาล ว่าได้มาขอใบรับรองแพทย์จริงหรือไม่ ดังนั้น อย่าปลอมใบรับรองแพทย์มาเด็ดขาด

4. ไปขอใบรับรองแพทย์รพ.ทหารมาแล้ว แต่ไม่เห็นเขียนเลยว่างดเว้นการเกณฑ์ทหาร หรือเป็นบุคคลจำพวกไหน ตกลงต้องเกณฑ์ทหารไหม?
- หน้าที่ในการจำแนกน้องๆเป็นบุคคลจำพวกต่างๆ ไม่ใช่หน้าที่ของหมอที่รพ.ทหาร แต่เป็นหน้าที่ของกรรมการแพทย์ที่มาตรวจน้องๆ ณ วันตรวจเลือก ดังนั้น ใบรับรองแพทย์จากรพ.ทหาร จึงมักจะไม่ระบุจำพวกในใบรับรองแพทย์
- ใบรับรองแพทย์รพ.ทหารที่ไม่ได้ระบุจำพวก ในทางปฏิบัติ หมายถึง ให้กรรมการแพทย์หน้างานเป็นคนตัดสินใจเอง ว่าน้องๆเป็นบุคคลจำพวกใด
- ใบรับรองแพทย์รพ.ทหาร มักจะระบุจำพวก เฉพาะเพศสภาพไม่ตรงเพศกำเนิด หรือ บุคคลจำพวกที่ 4 เท่านั้น คือ มีโรคที่ขัดต่อการเกณฑ์ทหารอย่างชัดเจน เช่น เป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคลมชัก โรคหอบหืด สายตาสั้นเกิน 800 เป็นต้น เนื่องจากเป็นโรคที่ต้องอาศัยพยานหลักฐานที่หนาแน่น และวินิจฉัยโดยแพทย์เฉพาะทาง จึงจะสามารถวินิจฉัยได้ ประกอบกับมีการสแกนเวชระเบียนที่สำคัญเข้าระบบออนไลน์ เพื่อให้กรรมการแพทย์หน้างานตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง
- ภาวะอ้วน (BMI เกิน 35) ไม่ต้องขอใบรับรองแพทย์ เนื่องจากน้ำหนักสามารถเปลี่ยนแปลงได้ จึงต้องมาวัดน้ำหนักกับส่วนสูงที่หน้างานเท่านั้น ถ้าวัดแล้ว BMI เกิน 35 ก็เป็นคนจำพวกที่ 4 เลย แต่ถ้า BMI ไม่ถึง แม้จะมีใบรับรองแพทย์ ก็ต้องเป็นคนจำพวกที่ 1 เพราะต้องบันทึกน้ำหนักและส่วนสูงที่วัดได้ลงไปในใบสด.43 ด้วย

5. มีเหล็กดามกระดูก แปลว่าไม่ต้องเกณฑ์ทหาร ใช่หรือไม่?
- ไม่ใช่ครับ เพราะการประเมินเหล็กดามกระดูก มีหลักสำคัญดังนี้
5.1. ใส่เหล็กดามไม่เกิน 1 ปี = ถือว่ากระดูกยังติดได้ไม่ดี ให้เป็นบุคคลจำพวกที่ 3 (ปีหน้ามาประเมินใหม่)
5.2. ใส่เหล็กดามเกิน 1 ปี จะตรวจร่างกาย พร้อมกับดูฟิล์ม X-ray
- ถ้าอยู่ที่แกนกลางกระดูก(ไม่ใกล้ข้อ): ถ้าในฟิล์ม X-ray กระดูกติดดี = จำพวกที่ 1, กระดูกติดผิดรูป = จำพวกที่ 2
- ถ้าอยู่ใกล้ข้อต่อ: ตรวจดูองศาการเคลื่อนไหว ถ้าองศาปกติ = จำพวกที่ 1, องศาลดลง = จำพวกที่ 2

6. รอยสักตามตัว หรือใบหน้า ระเบิดหู เจาะจมูก มีผลต่อการเกณฑ์ทหารหรือไม่?
- ไม่มีครับ เกณฑ์ทหารตามปกติ แต่ถ้าใครคิดจะมาเอาดีทางทหาร เช่น อยากเป็นนายสิบ นายร้อย ห้ามมีรอยสักในบริเวณที่เห็นได้ชัดเจน

7. เพศสภาพไม่ตรงเพศกำเนิด ต้องทำอย่างไรบ้าง?
- ถ้าทำการผ่าตัดเสริมเต้านมแล้ว หรือทำช่วงล่าง(ตัดทิ้ง)ไปแล้ว ไม่จำเป็นต้องมีใบรับรองแพทย์
- ถ้ายังไม่ได้ทำ หรือกินแต่ฮอร์โมน ต้องมีใบรับรองแพทย์ประกอบ
- สามารถขอใบรับรองแพทย์ได้ที่ รพ.พระมงกุฎเกล้า รพ.ค่าย (เฉพาะบางแห่งที่มีจิตแพทย์ หรือถ้าไม่มี มักจะร่างหนังสือขอความอนุเคราะห์ให้จิตแพทย์รพ.รัฐตรวจแทนให้) หรือ รพ.รัฐ (ต้องออกใบรับรองแพทย์โดยจิตแพทย์เท่านั้น และต้องระบุชัดเจน ว่ามีเพศสภาพไม่ตรงเพศกำเนิด)
- ถ้าอยากให้กระบวนการลื่นไหลที่สุด มาปีเดียวแล้วจบ แนะนำให้ขอใบรับรองแพทย์จากรพ.พระมงกุฎเกล้า หรือรพ.ค่าย เนื่องจากมีหลายๆกรณีที่มีใบรับรองแพทย์จากรพ.รัฐ แล้วน้องๆต้องไปเอาใบรับรองแพทย์รพ.ทหารมายื่นใหม่ปีหน้า เช่น เขียนแทงกั๊ก (ไม่ฟันธงว่าเป็นหรือไม่เป็นกันแน่) อ่านไม่ออก ตรวจสอบชื่อแพทย์และเลขใบประกอบวิชาชีพไม่ได้ กรรมการแพทย์ไม่มั่นใจในใบรับรองแพทย์ ฯลฯ

8. การติดเชื้อ HIV
- ต้องมีใบรับรองแพทย์ และ/หรือผลเลือดมาประกอบทุกครั้งที่ยื่น
- ถ้าไม่มีผลเลือดหรือใบรับรองแพทย์ = ตรวจเหมือนน้องๆที่ไม่มีโรคประจำตัว ถ้าปกติดี = จำพวกที่ 1 (ถ้ามาพบทีหลังว่าติดเชื้อจริง ก็กินยารักษาในค่ายทหาร ไม่มีปลดออก ดังนั้น รับผิดชอบตัวเองในการเอาหลักฐานมานะครับ)
- ถ้ามีผลเลือดหรือใบรับรองแพทย์ = ลงในใบสด.43 ว่า มีโรคติดเชื้อ ซึ่งจะบำบัดให้หายใน ๓๐ วันไม่ได้ (จำพวกที่ 3) ซึ่งน้องๆต้องมาทั้งหมดสามครั้ง (3 ปี) หลังจากนั้นไม่ต้องมาอีกแล้ว
- ถามว่าทำไมต้องให้มาสามปี: เพื่อหลีกเลี่ยงการเขียนว่า "มีโรคติดเชื้อเรื้อรังระยะแสดงอาการรุนแรง ซึ่งไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้" (จำพวกที่ 4) ถ้าน้องๆรับได้ คิดว่าที่ทำงานเขาโอเคกับการเห็นใบสด.43 ที่เขียนเช่นนี้ ให้แจ้งกรรมการแพทย์ครับ กรรมการแพทย์ยินดีจะเขียนเป็นบุคคลจำพวกที่ 4 ให้

9. ภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD, กลุ่มโรคตุ่มน้ำพอง โรคลำไส้โป่งพอง ตอนนี้งดเกณฑ์ทหารหรือยัง?
- อ้างอิงจากการประชุมกรรมการแพทย์ปี 2567 นี้ ได้ข้อสรุปว่า "ยังไม่งด" ครับ (อยู่ระหว่างการดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมาย ณ ตอนนี้ จึงยังไม่มีผลบังคับใช้)
- สรุป: ตอนนี้ถือว่าเป็นคนจำพวกที่ 1 อยู่ครับ จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง

10. ถ้าน้องๆคิดว่า กระบวนการตรวจเลือก ไม่ได้รับความเป็นธรรม จะร้องเรียนอย่างไรได้บ้าง?
- สามารถร้องเรียนได้ผ่านการร้องเรียน "กรรมการชั้นสูง" โดยสามารถสอบถามกระบวนการได้ที่เจ้าหน้าที่ ณ วันตรวจเลือก เดี๋ยวเขาพาไปทำเรื่องเอง
- กรรมการชั้นสูง จะเป็นทีมแยกอีกต่างหากในการพิจารณาคนเป็นจำพวกซ้ำ โดยการตัดสินจากกรรมการชั้นสูง ถือว่าเป็นที่สิ้นสุด

11. BMI เกิน ยังเอาเข้าไปเป็นทหารอยู่หรือเปล่า?
- เอาจริงๆข้อนี้คือจุดประสงค์หลักที่ต้องมาตั้งกระทู้ เพราะมีสมาชิกให้คำตอบที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงหลายท่าน อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดถ้าปล่อยทิ้งไว้
- BMI เกิน เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่ทำให้เกิดโรคลมร้อน (heatstroke) ในพลทหาร ซึ่งเป็นโรคที่อันตรายถึงตายได้ จากการที่อวัยวะหลายๆอย่างหยุดทำงาน (ไตวาย ตับวาย เป็นต้น ซึ่งต้องนอน ICU) หรือ ถ้าไม่ตาย มักจะทิ้งร่องรอยของโรคเอาไว้หลังจากพ้นขีดอันตราย โดยเฉพาะอาการทางสมอง (คิดอ่านช้าลง พูดไม่ชัด ฯลฯ)
- ซึ่งการที่เอาคนที่ BMI เกินเข้าไปในค่ายทหาร แม้ระเบียบจะเขียนเอาไว้ชัดเจนแล้วว่าเป็นคนจำพวกที่ 4 แปลว่า ประธานคณะตรวจเลือก สัสดี และกรรมการแพทย์ ต้องมารับผลกรรม รับหางเลข รับผิดชอบกับความสูญเสียที่เกิดขึ้น เพราะฝ่าฝืนกติกาชัดเจน จึงไม่มีใครกล้าแบกรับความเสี่ยงตรงนี้ (อีกอย่างคือ มีคนจำพวกที่ 1 มากเกินพอที่จะเอาไปจับใบดำใบแดงอยู่แล้ว ไม่มีความจำเป็นต้องดึงดันเอาคนกลุ่มนี้เข้าค่ายทหารให้ได้)
- มีกระบวนการร้องเรียนกรรมการชั้นสูงรองรับอยู่แล้ว น้องๆสามารถร้องเรียนได้ครับ ถ้าไม่ได้รับความเป็นธรรม

12. ผมมีโรค/อาการ "ใส่ชื่อโรค/อาการ" ต้องเกณฑ์ทหารไหม?
- เนื่องจากจขกท.ไม่มีอำนาจหน้าที่จำแนกคนผ่านระบบออนไลน์ ไม่ได้ตรวจร่างกายด้วยตนเอง ไม่ได้ตรวจสอบหลักฐานต่างๆที่มีด้วยตัวเอง จึงไม่สามารถตอบได้
- แต่ถ้าน้องๆไม่มั่นใจ ไปตรวจและขอใบรับรองแพทย์ที่รพ.ค่าย แต่ถ้าไม่ทัน พ้นช่วงเวลาแล้ว ให้ไปรพ.รัฐ มีอะไรมาให้ดูบ้าง ย่อมดีกว่าไม่มีอะไรมาให้ดูเลย แล้วกรรมการแพทย์หน้างานจะตัดสินเอง ว่าเป็นคนจำพวกใด

(ตัดจบเพราะจะเกิน 10,000 ตัวอักษร ถ้ามีอะไรเพิ่มเติม จะตั้งกระทู้เพิ่มครับ)

Lewdlei S Arseid
https://pantip.com/topic/42601822



โดย: หมอหมู วันที่: 28 มีนาคม 2568 เวลา:14:29:26 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 763 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]