Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

นัก กม.แจง กมธ.สธ.คุ้มครองผู้เสียหาย “ยุติธรรม เอื้อ 2 ฝ่าย” .... ข่าวจาก ASTV online


//www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9530000117999

นัก กม.แจง กมธ.สธ.คุ้มครองผู้เสียหาย “ยุติธรรม เอื้อ 2 ฝ่าย”


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 24 สิงหาคม 2553 17:37 น.



นักกฎหมาย แจง กมธ.สธ.

มาตรา 5-6 ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ไม่ขัดกัน ตรงข้ามมีความยุติธรรมเอื้อให้เกิดประโยชน์ กันคนแห่มารับเงิน

เห็นด้วยเพิ่มสัดส่วนสภาวิชาชีพ-ตัวแทนราชวิทยาลัยใน คกก.

ลั่น รพ.เอกชนไม่ร่วมกองทุนชดเชยกับ รพ.รัฐทำได้ แต่ต้องแก้กฎหมาย ในขั้น กมธ.




ศ.แสวง บุญเฉลิมวิภาส อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวถึงกรณีคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร ลงความเห็นว่า ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ... จำเป็นต้องมีการแก้ไขบางมาตราที่ขัดแย้งกัน โดยเฉพาะเรื่องการชดเชยความเสียหาย ว่า ส่วนตัวเห็นด้วยในหลักการของกฎหมายฉบับนี้ ซึ่งไม่ได้เขียนกฎหมายให้ขัดแย้งกัน แต่เป็นการเขียนกฎหมายที่ดี มีความยุติธรรม โดยมาตรา 5 ระบุให้ผู้เสียหายได้รับการชดเชยไม่ต้องพิสูจน์ถูกผิด ส่วนมาตรา 6 ระบุข้อยกเว้นที่ผู้เสียหายจะไม่ได้รับการชดเชย หากเป็นการรักษาตามมาตรฐานวิชาชีพ มาตรานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันไม่ให้คนแห่มาขอรับเงินชดเชยตามมาตรา 5 ทั้งนี้ หากกังวลว่าอาจเกิดความคลาดเคลื่อนในการอ่านกฎหมายและทำให้เกิดความสับสน ก็สามารถแก้ไขได้ในขั้นการพิจารณาของคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร

ศ.แสวง กล่าวต่อว่า หากต้องมีการแก้ไขก็ควรแก้ไขมาตราที่เกี่ยวข้องกับสัดส่วนของคณะกรรมการเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุข จำนวน 18 คน เพื่อทำหน้าที่วินิจฉัยการชดเชยความเสียหาย ตามมาตรา 5 และ 6 โดยเพิ่มตัวแทนอีก 6 คน รวมเป็น 24 คน ซึ่งมาจากสภาวิชาชีพ 5 องค์กร ได้แก่ จากสภาเภสัชกรรม ทันตแพทยสภา สภาการพยาบาล สภาเทคนนิคการแพทย์ และสภากายภาพบำบัด และตัวแทนจากราชวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องอีก 1 คน เพื่อความเหมาะสม

“กฎหมายนี้ดี คือ ไม่ต้องไปศาล เพราะเมื่อไปถึงศาลจะสู้กันด้วยเทคนิค ดังนั้น การไกล่เกลี่ยจึงดีกว่าการฟ้องร้อง และช่วยให้หมอไม่เดือดร้อน ไม่ต้องถูกฟ้อง เพราะถ้าผู้เสียหายไม่พอใจเงินชดเชยก็ให้ฟ้องกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ไม่เกี่ยวกับหมอ ส่วนหลังจากนั้น สธ.จะมาไล่บี้กับหมอได้หรือไม่ ตามมาตรา 8 ของ พ.ร.บ.ความรับผิดฐานละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 กำหนดไว้ว่า สธ.จะกระทำได้ต่อเมื่อเป็นการกระทำที่ประมาทเลินเล่อร้ายแรงและไม่เคยมีคดีใ ดที่ประมาทเลินเล่อร้ายแรงมาก่อน”ศ.แสวง กล่าว

ศ.แสวง กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีที่สถานพยาบาลเอกชนต้องการให้แยกกองทุนชดเชยระหว่างสถานพยาบาลรัฐและเอกชนนั้น ส่วนตัวเห็นว่า หากภาคเอกชนไม่ต้องการเข้าร่วมตามร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ก็ได้ เพราะมีฝ่ายกฎหมายและไกล่เกลี่ยอยู่แล้ว โดยให้แก้ไขในร่าง พ.ร.บ.กำหนดให้ชัดเจนว่ามีผลบังคับใช้เฉพาะสถานพยาบาลรัฐเท่านั้น







แถม ความเห็นเพิ่มเติม ..จาก คุณ 716:16 ..

สรุป..ขอบคุณ ความเห็น อ.แสวงครับ

1.เห็นว่าตัวแทนต้องมีสภาวิชาชีพอีก 6 คน

2.เห็นว่าแยกรัฐบาลและเอกชน

3.เห็นว่า ม.6 ที่มีเพื่อกันคนไข้ แห่ไปเบิก ตามมาตรา 5 ..ค้านกับที่ NGO บอกว่าไม่มีคนเอาความเจ็บป่วยพิการมาเบิกหรอก..

ความเห็นจะเข้าสู่สภาพความเป็นจริงมากขึ้นเรื่อยๆครับ ที่ทำให้ทุกฝ่ายได้ข้อสรุปที่ WIN WIN และประชาชน -รัฐ ได้ประโยชน์..

คงต้องใช้เวลาอีกสักนิด และเชิญอาจารย์ ไปเยี่ยม รพ.ชุมชน อีกหน่อย ก็จะเข้าใจผู้ทำงานมากขึ้นครับ..

ผมคิดว่าลึกๆแล้ว อาจารย์ ไม่มีอคติ อะไร และออกจะหวังดี ..เพียง..
แต่..ข้อมูลของท่านอาจยังไม่ตรง เพราะ ไม่เข้าใจผู้ทำงานภาคปฏิบัติมากพอครับ.. และแพทย์ที่ใกล้ชิดก็อาจเป็นผู้บริหารไปหมดแล้ว..

จะรอฟังความเห็นอาจารย์ในครั้งต่อไปครับ..

--::ประเทศไทยมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน ประเทศไทยยังคงต้องอยู่อีกนาน ..เรายังมีเวลาอีกมากมาย
ไม่มีเหตุจำเป็นใดๆ ที่ต้องเร่งรีบออกกฎหมายหรือสร้างระบบที่อาจเกิดผลกระทบในแง่ลบทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ...อ.สุจิตรา :::--

ส่งโดย: 716:16







Create Date : 31 สิงหาคม 2553
Last Update : 31 สิงหาคม 2553 15:16:07 น. 1 comments
Counter : 2263 Pageviews.  

 
ใครสนใจก็ลองแวะไปโหลดมาอ่านกันนะครับ ...

ร่างใหม่ จาก สภาทนายความ
//www.mediafire.com/?4lyz3rpl37pa8xc

เปรียบเทียบ ๓ ร่าง พรบฯ
//www.mediafire.com/?slodsosamvks28e

รวมบทความ พรบฯ
//www.mediafire.com/?p7r6az6gk19ot



โดย: หมอหมู วันที่: 14 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:2:12:50 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 763 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]