โพลชี้ ปชช.ไม่เห็นด้วยหมอ-บุคคลากรแพทย์ค้านพรบ.คุ้มครองผู้เสียหาย ...จาก มติชน
โพลชี้ ปชช.ไม่เห็นด้วยหมอ-บุคคลากรแพทย์ค้านพรบ.คุ้มครองผู้เสียหาย
วันที่ 08 สิงหาคม พ.ศ. 2553 เวลา 12:57:02 น. มติชนออนไลน์
//www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1281247039&grpid&catid=04
เมื่อวันที่ 8 ส.ค. รศ. ทัศนีย์ ประธาน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิดเผยผลการสำรวจ"หาดใหญ่โพล " ซึ่งจัดทำโดยสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจ ความคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดสงขลา เกี่ยวกับ ร่าง พรบ.คุ้มครองความเสียหายจากการบริการสาธารณสุข โดยเก็บรวบรวมข้อมูลประชาชน จำนวน 1,198 ตัวอย่าง และใช้แบบสำรวจเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ดำเนินการสำรวจระหว่างวันที่ 5-6 สิงหาคม 2553
สรุปผลการสำรวจ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 82.5 เห็นด้วยให้มี พรบ.คุ้มครองความเสียหายจากการบริการสาธารณสุข มีเพียงร้อยละ 17.5 ที่ไม่เห็นด้วยให้มี พรบ. คุ้มครองความเสียหายจากการบริการสาธารณสุข
นอกจากนี้ประชาชนร้อยละ 61.4 เห็นว่าหากมีการใช้พรบ. คุ้มครองความเสียหายจากการบริการสาธารณสุข ประชาชนจะเป็นผู้ที่ได้รับผลประโยชน์สูงสุด รองลงมา คือ ผู้เสียหายและเครือญาติ และบุคลากรทางการแพทย์ คิดเป็น ร้อยละ 32.4 และ 6.1 ตามลำดับ
ส่วนความคิดเห็นต่อความขัดแย้งของประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์ หากมีการใช้พรบ. คุ้มครองความเสียหายจากการบริการสาธารณสุข พบว่า
ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 79.4 เห็นว่าจะเกิดความขัดแย้งระหว่างประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์
โดยที่ประชาชนร้อยละ 51.6 เห็นว่าจะเกิดความขัดแย้งระหว่างประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์ระดับมาก และร้อยละ 27.8 เกิดความขัดแย้งระดับน้อย มีเพียงร้อยละ 20.6 เห็นว่าจะไม่เกิดความขัดแย้งระหว่างประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์
ประชาชนร้อยละ 51.6 ไม่เห็นด้วยที่แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ เรียกร้องไม่ให้มีการฟ้องคดีอาญาอันเนื่องจากการประกอบวิชาชีพ
และร้อยละ 48.4 เห็นด้วยไม่ให้มีการฟ้องคดีอาญากับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ นอกจากนี้ประชาชนร้อยละ 64.4 ไม่เชื่อว่าจะเกิดสถานการณ์ผู้ป่วยหนักมาเข้ารับการรักษาเพื่อขอรับเงินชดเชย มีเพียงร้อยละ 35.6 ที่คาดว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นหากมีการใช้ พรบ.ฉบับนี้ ส่วนแนวโน้มหากมีการใช้ พรบ. คุ้มครองความเสียหายจากการบริการสาธารณสุข พบว่า ประชาชน
คิดว่าคุณภาพในการรักษาผู้ป่วย มีแนวโน้มจะดีขึ้น มากที่สุด รองลงมา ผู้ป่วยได้รับการคุ้มครองและชดเชย รวดรวดขึ้น และความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้และผู้รับบริการ มีแนวโน้มจะดีขึ้นตามลำดับ
นอกจากนี้ประชาชนคิดว่าการฟ้องร้องบุคลากรทางการแพทย์ มีแนวโน้มลดลงแต่ไม่เด่นชัดมากนัก
ในส่วนของค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชน พบว่า ประชาชนมีความวิตกกังวล คาดว่ามีแนวโน้มค่ารักษาพยาบาลเพิ่มสูงขึ้น
ปล. ขนาดประชาชนทั่วไป ยังรู้เลยว่า ถ้า พรบ.นี้ออกมาจะทำใหเกิดความขัดแย้ง มากขึ้น ..
ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 79.4 เห็นว่าจะเกิดความขัดแย้งระหว่างประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์
มันก็แย้งกับ หลักการ เหตุผล ที่อ้างไว้ อยู่แล้ว ..

ประชาชน ทั่วไป ก็รู้สึกเช่นนั้น .. แล้วท่าน ๆ ทั้งหลาย ไม่รู้สึกกันบ้างหรือ ??? สิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนี้ ท่าน ๆ ทั้งหลาย ไม่คิดบ้างหรือว่ามันต้องมีอะไรที่ผิดปกติ ???
เมื่อมองเห็นปัญหา ที่จะเกิดขึ้น ทำไม ท่าน ๆ ถึงไม่ลองมานั่งพูดนั่งคุยกันให้เข้าใจ เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ..เหมือนกับที่พูดไว้ละครับ
Create Date : 10 สิงหาคม 2553 |
Last Update : 10 สิงหาคม 2553 20:21:04 น. |
|
0 comments
|
Counter : 2305 Pageviews. |
|
 |
|
|
| |