Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

เจ็บป่วยฉุกเฉินมาตรฐานเดียว นโยบายดี แต่การปฏิบัติล้มเหลว ? ...




1 เมษายน “ฉุกเฉินรักษาฟรี” คุณได้สิทธิ์นั้นทันทีแต่ต้องฉุกเฉินถึงแก่ชีวิตเท่านั้น

1 เมษายน 2012

//thaipublica.org/2012/04/april-1-for-emergency-illness-free/

หลังจากที่รัฐบาลประกาศ “ฉุกเฉินรักษาฟรี” โดยนำร่อง“เจ็บป่วยฉุกเฉินถึงแก่ชีวิต”ไม่ถามสิทธิ์ รักษาทุกที่ ทั่วถึงทุกคนเริ่ม 1เม.ย.นี้ เน้นแก้ปัญหาผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินระดับวิกฤตหรือโคม่า

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2555 นายแพทย์วินัย สวัสดิวรเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)กล่าวว่านโยบายรัฐบาลต้องการสร้างความเสมอภาคให้คนไทยได้รับการบริการสุขภาพอย่างเท่าเทียมกันทั้ง3 กองทุน คือสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ประกันสังคมและหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รวมทั้ง พ.ร.บ.ผู้ประสบภัยจากรถโดยเริ่มบูรณาการร่วมกันในการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2555 นี้เป็นต้นไปเมื่อประชาชนที่อยู่ภายใต้หลักประกันสุขภาพทั้ง 3 กองทุนเจ็บป่วยฉุกเฉิน สามารถไปรับบริการที่ใดก็ได้ที่อยู่ใกล้ที่สุดภายใต้มาตรฐานเดียวกัน จะได้รับบริการตรวจรักษาทันที โดยไม่ต้องถูกถามสิทธิไม่ต้องสำรองเงินจ่ายล่วงหน้าและต้องได้รับการส่งต่อไปรับบริการที่มีศักยภาพสูงขึ้นหากจำเป็นหรือรักษาจนกว่าอาการจะหายหรือทุเลาเนื่องจากการได้รับอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน เป็นนาทีวิกฤติเร่งด่วนของชีวิตเป็นตายเท่ากัน การรักษาที่รวดเร็ว จะช่วยให้รอดชีวิตหรือลดความพิการได้

ขณะนื้ ทั้ง 3 กองทุน ได้เตรียมความพร้อมในเรื่องการเบิกจ่ายโดยมีการปรับปรุงกฏระเบียบต่างๆ โดยกรมบัญชีกลางได้แก้ไขพระราชกฤษฎีกาผู้ป่วยสิทธิข้าราชการไม่ต้องสำรองจ่าย และสามารถชดเชยในอัตรา 10,500 บาท สำนักงานประกันสังคม ได้ปรับระบบการเบิกจ่ายกลางทางอิเลคทรอนิคและสปสช.ได้ปรับปรุงประกาศเพื่อให้ใช้อัตรากลาง โดยให้สปสช.เป็นหน่วยเบิกจ่ายกลาง(Clearing house ) ให้แก่โรงพยาบาลเอกชนทั่วประเทศที่ให้การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน

ทั้งนี้นิยามการเจ็บป่วยฉุกเฉินเป็นอย่างไร เพราะส่วนใหญ่อาการเจ็บป่วยฉุกเฉินระหว่างแพทย์และผู้ป่วยไม่ตรงกันจุดนี้ให้ยึดตามนิยามผู้ป่วยฉุกเฉินตามประกาศของคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินซึ่งแบ่งเป็น

1.ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ คือบุคคลที่มีอาการป่วยหรือบาดเจ็บกะทันหันที่มีภาวะคุกคามต่อชีวิตหากไม่ได้รับการรักษาทันทีเพื่อแก้ไขระบบหายใจ ไหลเวียนเลือดหรือระบบประสาทแล้วมีโอกาสเสียชีวิตสูงหรือมีอาการรุนแรงมากขึ้น เช่นภาวะหัวใจหยุดเต้น หายใจไม่ออกหอบรุนแรง หยุดหายใจ ภาวะช็อกชักตลอดเวลาหรือชักจนตัวเขียว เลือดออกมากอย่างรวดเร็วและตลอดเวลา

2.ผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน คือ บุคคลที่มีอาการป่วยหรือบาดเจ็บเฉียบพลันหากไม่ได้รับการรักษาอย่างรีบด่วนมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจนพิการหรือเสียชีวิตได้เช่น ไม่รู้สึกตัว ชัก อัมพาตหรือตาบอดหูหนวกทันที ตกเลือดซีดมากจนเขียวเจ็บปวดมากหรือทุรนทุราย ถูกพิษหรือรับยาเกินขนาด ได้รับอุบัติเหตุโดยเฉพาะมีบาดแผลที่ใหญ่มากหลายแห่ง

ทั้งนี้ผู้ป่วยฉุกเฉินที่เข้าเกณฑ์นี้ต้องเป็นระดับวิกฤติและเร่งด่วนนั่นหมายความว่าส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว ได้รับการส่งรักษาโดยบุคคลอื่นซึ่งต้องเป็นโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ที่สุด เพื่อให้การรักษาทันท่วงทีลดการสูญเสียชีวิตและความพิการรุนแรงจากเหตุไม่จำเป็น

ขณะที่พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญประธานสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปแห่งประเทศไทย (สพศท.)ให้ความเห็นว่า “ฉุกเฉินรักษาฟรี”ทุกคนเห็นพ้องว่าหลักการดี และดูเหมือนจะลดความยุ่งยากแต่จริงๆมันยุ่งยาก เพราะคำจำกัดความคำว่า “ฉุกเฉิน” แล้วยุ่งยากทันที เนื่องจากไม่ใช่ฉุกเฉินธรรมดา แต่เป็นฉุกเฉินวิกฤตที่คนไข้จะเป็นจะตาย คือไม่รักษาเดี๋ยวนั้นต้องตายเท่านั้น

“ประชาชนต้องเข้าใจว่าต้องฉุกเฉินวิกฤตเท่านั้นนอกนั้นไม่ใช่นะ แต่ในภาษาของเรา ถูกรถชนตูม หัวแตก แขนหัก ขาหัก ถามว่าฉุกเฉินไหมฉุกเฉิน แต่ตายไหม ไม่ตาย อย่างนี้ไม่เข้าไครทีเรียของเขานะรัฐบาลโปรโมทว่าฉุกเฉินไม่ต้องจ่าย คำเดียวเลยแต่คุณไม่พูดให้ชัดว่าฉุกเฉินวิกฤตเท่านั้น และประชาชนเข้าใจในรายละเอียดหรือยังเพราะ 1 เมษายนนี้ต้องเริ่มแล้ว”

พญ.ประชุมพรกล่าวต่อว่าความจริงนิยามนี้ใช้กับคนไข้วิกฤตไม่รักษาเดี๋ยวนั้นต้องตาย มีเกณฑ์ว่า เช่น คนไข้ช็อค จะด้วยสาเหตุอะไรก็ตามต้องแก้ช็อค คนไข้บาดเจ็บที่สมอง ไม่ใช่แค่หัวแตก คนไข้หัวใจขาดเลือดคนไข้ท้องเสียจนความดันตกไปแล้ว หรือตกเลือดมากจนเลือดจะหมดตัว หายใจรวยรินเป็นต้น ส่วนที่ฉุกเฉิน อาทิ เด็กแขนหักกระดูกโผล่ ถามว่าฉุกเฉินไหม ฉุกเฉินแต่ไม่เข้าคำจำกัดความนี้ คนไข้จะใช้สิทธินี้ไม่ได้คำถามคือประชาชนรู้เรื่องและเข้าใจหรือยัง

ส่วนประเด็นที่สปสช.จะเป็นผู้จัดเก็บข้อมูลและเป็นเคลียริ่งเฮ้าส์หรือน่วยเบิกจ่ายกลางนั้นเป็นสิ่งที่โรงพยาบาลรัฐกังวลคือกลัวว่าสปสช.จะจ่ายไม่ครบซึ่งต่างจากกรมบัญชีกลางและกองทุนประกันสังคมที่จ่ายตามที่เรียกเก็บดังนั้นสิ่งที่ต้องการเสนอคือรัฐบาลควรแต่งตั้งเคลียริ่งเฮ้าส์ที่ไม่ใช่ 3 กองทุนนี้ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสีย โดยแยกเคลียริ่งเฮ้าส์ออกไปต่างหากซึ่งอาจจะให้กระทรวงสาธารณสุขดูแลเรื่องนี้โดยตรงเพราะที่ผ่านมาในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติโรงพยาบาลรัฐมีปัญหาการเบิกจ่ายกับสปสช.มาโดยตลอดจนโรงพยาบาลรัฐส่วนใหญ่ขาดทุนมากมาย

นอกจากนี้ยังมีประเด็นพ.ร.บ.บุคคลที่ 3 ทางสปสช.จะรับผิดชอบแทนบริษัทประกันหรือไม่อย่างไร เพราะระบบเดิมจะใช้สิทธิพ.ร.บ.บุคคลที่3 จนหมดก่อน ซึ่งมีวงเงิน 15,000 บาทก่อน แล้วจึงใช้สิทธิอื่นๆประเด็นนี้ยังไม่ชัดเจนว่าจะให้ใช้สิทธิอันไหนก่อนหลังหรือจะใช้ซ้ำซ้อนกันแต่ถ้าใช้สิทธิของรัฐบาลก่อน บริษัทประกันก็ไม่ต้องรับภาระค่าใช้้จ่ายหรือไม่

“โรงพยาบาล ในฐานะผู้ปฏิบัติคนไข้เข้ามาต้องช่วยชีวิตอยู่แล้ว ทุกคนได้รับการรักษาเหมือนกันอยู่แล้วไม่ว่าจะใช้สิทธิอะไรเราต้องการช่วยคนไข้ที่ขอความชัดเจนเพราะเราไม่ต้องการมีปัญหากับคนไข้ ต้องการวินวินทั้งสองฝ่ายซึ่งสปสช.ต้องทำเรื่องนี้ให้ชัดเจนกับผู้ปฏิบัติ”

รวมทั้งประเด็นที่ให้โรงพยาบาลเอกชนรับคนไข้ฉุกเฉินวิกฤตหากพ้นวิกฤตเขาจะส่งคนไข้ไปไหน จุดสิ้นสุดอยู่ที่ไหนสำหรับโรงพยาบาเอกชนและหากไม่มีจุดสิ้นสุด ใครจะรับผิดชอบเรื่องเงินหลังจากวิฤตผ่านไปแล้วซึ่งคนไข้อาจจะจำเป็นต้องรักษาต่อเนื่อง

“รัฐบาลประกาศว่าเอกชนต้องรับหากไม่รับจะมีความผิด เอกชนเขาคงอยากช่วยแต่ต้องมีจุดสิ้นสุดหากหาจุดสิ้นสุดไม่เจอ ก็จะเป็นประเด็นปัญหาตามมาอีกและประเด็นสำคัญที่สุดคือเงินค่ารักษาฉุกเฉินรักษาฟรีนี้ อยู่ในเงินเหมาจ่ายรายหัว2,756 บาทหรือไม่ ถ้าอยู่ในส่วนนี้ เท่ากับมากินส่วนเดิมอีกขนาดไม่มีก้อนนี้มาแย่ง โรงพยาบาลรัฐก็แย่อยู่แล้ว หรือเป็นเงินกองใหม่แยกต่างหาก”พญ.ประชุมพรกล่าว


ปชช.ร้อง “เจ็บป่วยฉุกเฉิน” พ่นพิษ เก็บเงินผู้ป่วย

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 26 สิงหาคม 2556 17:04 น.

//www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000106726

กลุ่มคนรักหลักประกันฯ ร้อง “เจ็บป่วยฉุกเฉิน”ทำพิษ เรียกเก็บเงินผู้ป่วยทั้งที่รัฐบาลบอกไม่ต้องจ่าย แนะนำพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยรถยนต์มาใช้ร่วมด้วย จี้ รบ.เดินหน้า กม.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข

วันนี้ (26 ส.ค.)ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ศูนย์ราชการฯ น.ส.สุรีรัตน์ ตรีมรรคาผู้ประสานงานกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ ออกแถลงการณ์ ฉบับที่ 1/2556 เรื่อง “การรักษาพยาบาลไม่ใช่ธุรกิจเราต้องการระบบสุขภาพมาตรฐานเดียว” โดยกล่าวว่าขณะนี้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำลังถูกคุกคาม เนื่องจากนโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉินถึงแก่ชีวิต ไม่ถูกถามสิทธิ์ ใกล้ที่ไหนไปที่นั่น” ซึ่งโรงพยาบาลของรัฐและเอกชนจะต้องให้บริการผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะฉุกเฉินทั้งสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าประกันสังคม และสวัสดิการข้าราชการ โดย สปสช.จะเป็นเคลียริงเฮาส์คือจ่ายเงินสำรองไปก่อน และค่อยเรียกเก็บกับอีกสองกองทุนโดยประชาชนไม่ต้องจ่ายแม้แต่บาทเดียว เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2555 จวบจนปัจจุบันเป็นเวลากว่า 1 ปี แต่กลับพบปัญหามาก ทั้งที่เป็นนโยบายที่ดี สร้างชื่อให้รัฐบาลที่พบมากคือ ผู้ป่วยที่มาด้วยภาวะฉุกเฉินถูกเรียกเก็บเงินโดยเฉพาะในโรงพยาบาลเอกชน ประชาชนต้องจ่ายเอง และไม่รู้ว่าจะไปเบิกได้อีกหรือไม่ทั้งที่รัฐบาลบอกว่าไม่ต้องจ่าย

น.ส.สุรีรัตน์ กล่าวอีกว่า สาเหตุเพราะโรงพยาบาลเอกชนบางแห่งไม่ยอมรับว่าผู้ป่วยอยู่ในภาวะฉุกเฉิน บ้างก็อ้างว่าเพราะเงินค่าดีอาร์จี (DRG)หรือเงินที่สปสช.ต้องสำรองจ่ายโดยคิดค่าระดับความรุนแรงของภาวะฉุกเฉินที่ระดับละ 10,500 บาท ซึ่งเอกชนมองว่าไม่สอดคล้องกับต้นทุน เรื่องนี้ รัฐบาลโดยสปสช.ที่ถูกมอบหน้าที่ให้เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการจะต้องหาทางแก้ไขให้ได้ ที่สำคัญหลังจากมีนโยบายนี้ สปสช.จ่ายเงินสำรองไปแล้ว 240 ล้านบาท โดยที่ยังไม่ได้รับเงินคืนจากอีก 2 กองทุนคือ ประกันสังคม และสิทธิสวัสดิการข้าราชการซึ่งกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินมากที่สุด คือ ข้าราชการเพราะเข้ารับบริการได้มากกว่าสิทธิอื่นถึง 14 เท่า

น.ส.กชนุช แสงแถลง โฆษกกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ กล่าวว่า อยากให้รัฐบาลนำ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยรถยนต์ พ.ศ. 2535เข้าเป็นหนึ่งในนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินฯ เนื่องจากเกี่ยวพันกันเพราะผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน ส่วนใหญ่ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ แต่กลับไม่นำพ.ร.บ.นี้มาใช้ร่วมกัน กลายเป็นภาระของ สปสช.ในการสำรองจ่ายเนื่องจากการจะใช้สิทธิ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยรถยนต์ฯ นั้น จะมีขั้นตอนยุ่งยากโดยเงินก้อนแรกที่ได้จาก พ.ร.บ.นี้ คือ 15,000 บาทซึ่งจะได้รับญาติผู้ป่วยหรือผู้ประสบภัยต้องยื่นเอกสารต่างๆหากนำมาอยู่ในนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินฯ ก็จะลดขั้นตอนยุ่งยากได้ โดยสปสช.เป็นผู้ดำเนินการเอง

“ในเดือน ก.ย.กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพจะขอเข้าพบรัฐมนตรรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขถึงปัญหาจากนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินฯโดยเฉพาะการเก็บเงินผู้ป่วย และจะขอแนวทางแก้ปัญหานี้ ซึ่งหากยังไม่มีความคืบหน้าพวกเราคงต้องหารือถึงแนวทางการเคลื่อนไหวที่จะไปร้องขอนายกรัฐมนตรีเอง” น.ส.กชนุช กล่าวและว่า นอกจากนี้ อยากให้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)เดินหน้าเรื่องร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ...เพราะค้างในสภาฯมานานแล้ว แต่กลับไม่เดินหน้าซึ่งพวกตนจะเข้าพบคณะกรรมาธิการสาธารณสุขเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วย


นโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินพ่นพิษ ล่าสุดรพ.วิภาวดีกั๊กข้อมูลเบิกเงิน สปสช.ได้ไม่ครบ เจอจ่ายเองหลายแสน

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 เมษายน 2557 12:27 น.

//www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000037547

โวยนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินพ่นพิษเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์เผย รพ.วิภาวดีกั๊กข้อมูลเบิกจ่ายไม่บอกผู้ป่วยว่าเบิกเงิน สปสช.ได้ไม่ครบ จนต้องจ่ายเองอีกหลายแสนบาท ด้านสปสช.ชี้จ่ายได้บางส่วน ชงปรับแก้กฎกระทรวง

นโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินพ่นพิษ ล่าสุดรพ.วิภาวดีกั๊กข้อมูลเบิกเงิน สปสช.ได้ไม่ครบ เจอจ่ายเองหลายแสน

นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา

นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนาประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กล่าวว่านโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินรักษาได้ทุกที่ ไม่ต้องสำรองจ่าย มีปัญหามากขึ้นเรื่อยๆล่าสุดกรณีโรงพยาบาลวิภาวดี มีผู้ป่วยรายหนึ่งอายุ 75 ปี มาจาก จ.สุราษฎร์ธานี เดินทางมาร่วมงานแต่งงาน และเกิดอุบัติเหตุล้มลงจนลิ้นจุกปากต้องนำส่งโรงพยาบาลใกล้ที่สุด คือ รพ.วิภาวดี ปัญหาคือโรงพยาบาลแจ้งว่ามีค่าใช้จ่ายสูง ทางคนไข้จึงต้องการย้ายแต่โรงพยาบาลไม่อนุญาตบอกว่าอันตราย จึงต้องทำการรักษาโดยมีหนังสือมาให้ญาติเซ็นยินยอม

“รพ.วิภาวดีบอกกับญาติว่า ค่าใช้จ่ายการผ่าตัดอยู่ที่ประมาณ 7-8 แสนบาท สามารถเบิกจ่ายจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)ได้กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน แต่ไม่บอกว่าเบิกได้ไม่ครบ ซึ่งญาติต้องสำรองจ่ายสุดท้ายหลังผ่าตัดมีการเรียกเก็บเงินอีก และพอติดต่อไปทาง สปสช.กลับจ่ายให้เพียง 250,000 บาท ถามว่ากรณีที่เกิดขึ้นประชาชนจะต้องมารับเคราะห์จากนโยบายที่ไม่เป็นความจริงหรือไม่ จึงอยากให้สปสช.ออกมาให้ความชัดเจน เพราะสุดท้ายเกรงว่าจะต้องถึงขั้นการฟ้องร้องอีก” นางปรียนันท์ กล่าว

ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ โฆษก สปสช.กล่าวว่า สปสช.ได้ติดต่อกับทาง รพ.วิภาวดี เพื่อขอความเห็นใจกับกรณีดังกล่าวแต่ต้องยอมรับว่า สปสช.ไม่สามารถจ่ายได้ทั้งหมดเพราะตามนโยบายสามารถจ่ายได้ตามกลุ่มและระดับความรุนแรงของโรคซึ่งโรงพยาบาลเอกชนแต่ละแห่งจะมีราคาข้อกำหนดที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามสปสช.ตั้งใจจะพัฒนาระบบการให้บริการเจ็บป่วยฉุกเฉิน 3 กองทุน ให้มีประสิทธิภาพเพื่อแก้ไขปัญหาการเข้ารับบริการเมื่อประชาชนประสบกับภาวะฉุกเฉินซึ่งยอมรับว่านโยบายนี้เป็นนโยบายที่ดีแต่อาจมีปัญหาอยู่บ้าง โดยเฉพาะรพ.เอกชนที่ยังตกลงอัตราการรับค่าใช้จ่ายไม่ได้ ซึ่งทั้งหมดสปสช.อยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้ประชาชนได้ประโยชน์ที่สุด

แหล่งข่าวกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่าปัญหาทั้งหมด คือรพ.เอกชนหลายแห่งไม่ได้บอกค่ารักษาพยาบาลอย่างชัดเจนแก่ผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วยว่ากรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินจะเบิกเงินกับ สปสช.ได้ในวงเงินเท่าใด และต้องออกเองเท่าใดจึงเป็นปัญหา ซึ่ง สปสช.ก็ไม่มีกฎหมายมาควบคุม มีเพียงกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)ที่มีกฎหมายดูแลเรื่องนี้ คือ พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ. 2541มาตรา 36 ระบุว่าผู้รับอนุญาตและผู้ดำเนินการของสถานพยาบาลต้องควบคุมและดูแลให้มีการช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วยซึ่งอยู่ในสภาพอันตรายและจำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลโดยฉุกเฉินเพื่อให้ผู้ป่วยพ้นจากอันตรายตามมาตรฐานวิชาชีพและตามประเภทของสถานพยาบาลนั้นๆเมื่อให้การช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วยตามวรรคหนึ่งแล้วถ้ามีความจำเป็นต้องส่งต่อหรือผู้ป่วยมีความประสงค์จะไปรับการรักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลอื่นผู้รับอนุญาตและผู้ดำเนินการต้องจัดการให้มีการจัดส่งต่อไปยังสถานพยาบาลอื่นตามความเหมาะสมซึ่งมาตรานี้สามารถปรับปรุงแก้ไขได้ โดยเพิ่มเติมว่ารพ.เอกชนต้องรับรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินทุกกรณีขณะเดียวกันห้ามเรียกเก็บเงินกับผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วยเด็ดขาดแต่ให้มาเรียกเก็บเฉพาะ สปสช.เท่านั้น ซึ่งจะควบคุมไม่ให้เกิดปัญหาได้



ลิงค์บทความ ..

ลิงค์บทความทั้งหมด ..

1 เมษายน “ฉุกเฉินรักษาฟรี” คุณได้สิทธิ์นั้นทันที แต่ต้องฉุกเฉินถึงแก่ชีวิตเท่านั้น
//thaipublica.org/2012/04/april-1-for-emergency-illness-free/

ปชช.ร้อง “เจ็บป่วยฉุกเฉิน” พ่นพิษ เก็บเงินผู้ป่วย
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์     26 สิงหาคม 2556 17:04 น.    
//www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000106726

นโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินพ่นพิษ ล่าสุด รพ.วิภาวดีกั๊กข้อมูลเบิกเงิน สปสช.ได้ไม่ครบ เจอจ่ายเองหลายแสน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์     3 เมษายน 2557 12:27 น.    
//www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000037547


เจ็บป่วยฉุกเฉินมาตรฐานเดียว นโยบายดี แต่การปฏิบัติล้มเหลว ?
Fri, 2014-04-18 17:53 – hfocus
//www.hfocus.org/content/2014/04/6964


"3กองทุนสุขภาพ"เตรียมชง"คสช." ออกกฎห้ามรพ.เก็บเงินป่วยฉุกเฉิน
Wednesday, 25 June, 2014 - 00:00
//www.thaipost.net/news/250614/92194
//www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000071002

...........................


แถม เรื่องที่เกี่ยวข้อง ..

infographic9 ข้อควรรู้เรื่องเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติมีสิทธิทุกที่

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=06-06-2017&group=7&gblog=216

นพ.ธีระ วรธนารัตน์ : เจ็บป่วยฉุกเฉินเมื่อนโยบายยังไม่ชัด ต้องคิดก่อนเข้า

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=21-02-2017&group=7&gblog=212

เจ็บป่วยฉุกเฉินมาตรฐานเดียว นโยบายดีแต่การปฏิบัติล้มเหลว ?...

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=14-10-2014&group=7&gblog=185

สพฉ. จับมือ สธ.พัฒนาการให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉินตามนโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ดีทุกสิทธิ์”

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=02-04-2015&group=7&gblog=186

คำแนะนำเพื่อหลีกเลี่ยงค่ารักษาโรงพยาบาลเอกชนแสนแพง... ( นำมาฝาก )

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=28-05-2015&group=7&gblog=189

โรงพยาบาลเอกชน "แพง" ..ข้อมูลที่ยังไม่รู้ หรือว่า แกล้งไม่รู้ ? ( ฟังความอีกข้าง ^_^ )

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=08-06-2015&group=7&gblog=190

ตรวจสอบค่ารักษาพยาบาล Online ได้ที่//www.hospitalprice.org หรือ สายด่วนสุขภาพ 02 193 7999




Create Date : 14 ตุลาคม 2557
Last Update : 6 มิถุนายน 2560 22:12:06 น. 10 comments
Counter : 7714 Pageviews.  

 
เจ็บป่วยฉุกเฉินมาตรฐานเดียว นโยบายดี แต่การปฏิบัติล้มเหลว ?
Fri, 2014-04-18 17:53 – hfocus
//www.hfocus.org/content/2014/04/6964

ปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา “ระหว่างนี้อยากบอกว่าฉุกเฉินอย่าเข้ารพ.เอกชน จนกว่ารัฐบาลหรือสปสช.จะประกาศออกมาว่าได้รับความร่วมมือจากรพ.เอกชนทุกแห่งแล้ว เพราะไม่อย่างนั้นคุณมีสิทธิหมดตัว และเป็นหนี้ไปตลอดชีวิต อาจจะหายจากโรคแต่ช็อคเพราะค่ารักษาพยาบาล”
นพ.สัมฤทธิ์ ศรีธํารงสวัสดิ์ “โดยเจตนารมณ์ของนโยบายเป็นสิ่งที่ดี แต่มีปัญหาเชิงปฏิบัติ มันต้องการมาตรการที่มากกว่า 1 ถึงจะทำได้ สปสช.ไม่มีอำนาจไปบังคับรพ.เอกชน ที่พยายามแก้คือให้กองประกอบโรคศิลป์ออกประกาศแนบท้ายไปบังคับไม่ให้เรียกเก็บเงิน”

ตามที่รัฐบาลได้ประกาศนโยบาย“เจ็บป่วยฉุกเฉินถึงแก่ชีวิต ไม่ถามสิทธิ ใกล้ที่ไหน ไปที่นั่น” เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2555 ซึ่งเป็นการร่วมกันดูแลของกองทุนสวัสดิการข้าราชการ กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กองทุนประกันสังคม โดยมีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ทำหน้าที่เป็นเคลียร์ริ่งเฮ้าส์ ทั้งนี้ก็หวังว่าจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำด้านการรักษาพยาบาลของคนไทยในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน หลังดำเนินการมากว่า 3 ปี กลับพบว่าทำให้ประชาชนต้องแบกรับภาระหนี้สินจำนวนมาก ที่บางรายอาจจะต้องใช้ทั้งชีวิตเพื่อชดใช้เงินก้อนนี้ ส่วนผลประโยชน์งามๆ ก็ตกอยู่กับรพ.เอกชน สำนักข่าวHfocus ได้ทำการสัมภาษณ์นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ ในฐานะตัวแทนของผู้ป่วย และนพ.สัมฤทธิ์ ศรีธํารงสวัสดิ์ รองเลขาธิการ สปสช. หน่วยงานที่กลายเป็นจำเลยในงานนี้

นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์

“ระหว่างนี้อยากบอกว่าฉุกเฉินอย่าเข้ารพ.เอกชน จนกว่ารัฐบาลหรือสปสช.จะประกาศออกมาว่าได้รับความร่วมมือจากรพ.เอกชนทุกแห่งแล้ว เพราไม่อย่างนั้นคุณมีสิทธิหมดตัว และเป็นหนี้ไปตลอดชีวิต อาจจะหายจากโรคแต่ช็อคเพราะค่ารักษาพยาบาล”

เริ่มต้นที่นางปรียนันท์ กล่าวว่า รัฐบาลประกาศนโยบายดำเนินโครงการเม.ย. 2555 ผ่านมา 2 ปี แล้ว ตอนช่วงแรกมีปัญหาเข้ามา มีการร้องเรียนเข้าไปที่สำนักนายกรัฐมนตรีประมาณ 1,142 ราย ตรวจสอบแล้ว พบว่าเป็นกรณีฉุกเฉินจริง 882 ราย ซึ่งนพ.ทศพร เสรีรักษ์ เป็นคนให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อเอง ส่วนตนเป็นคนพาคนไข้ที่เสียหายจาก รพ.เอกชนแห่งหนึ่งซึ่งหมดค่ารักษาพยาบาลไป 5 แสนกว่าบาท แต่เบิกคืนได้ประมาณ ประมาณ 70,000 บาท และอีกรายจ่ายไป 4 แสนกว่าบาทเบิกคืนได้ประมาณ 80,000 บาท อีกรายจ่ายไป 1.3 ล้านบาท รายนี้เบิกคืนได้เพียง 5.3 หมื่นบาทเท่านั้น อย่างล่าสุดเมื่อวันที่ 28 มี.ค.ที่ผ่านมาที่รพ.แห่งหนึ่งที่ผู้ป่วยถูกเรียกเก็บไป 7.8 แสนบาท

วิเคราะห์ข้อดี ข้อเสียของโครงการนี้ ?

มองว่านโยบายนี้ผิดตั้งแต่แรก สปสช.ทำไมไม่ทักท้วงว่าเค้าไม่อาจจ่ายได้ในอัตราที่รพ.เอกชนเรียกเก็บได้แน่นอน คิดว่าหลายๆ ฝ่าย ผู้ใหญ่ต้องรู้ว่าเกิดปัญหานี้แน่นอน ส่วนตัวเองก็มองออกแต่คิดว่า สปสช. เอชน และรัฐบาลต้องคุยกันแล้ว และถ้านโยบายนี้เกิดขึ้นจริงประชาชนต้องได้รับประโยชน์แน่นอน ประชาชนจะได้ไม่ถูกปฏิเสธการรักษาอีก แต่พอดำเนินนโยบายไปสักพัก เกิดปัญหา เกิดเคสมากๆ แต่ไม่มีใครลงมาแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนแม้แต่รายเดียว ทุกรายจะถูกรพ.เอกชนบีบให้สำรองจ่ายเพราะไปเซ็นยินยอมให้รักษาตั้งแต่แรก

มีหลายกรณี ที่บางรพ.บอกว่า เข้าโครงการของรัฐบาล แต่ผู้ป่วยต้องสำรองจ่าย ซึ่งรายละเอียดปลีกย่อยเหล่านี้คนไข้ต้องไปเผชิญปัญหาเฉพาะหน้าด้วยตัวเอง เป็นสิ่งที่ไม่ใช่ว่า สปสช.หรือรัฐบาลจะลงมารับรู้เลย บางรพ.บอกว่าถ้าไม่เข้าโครงการ แต่ผู้ป่วยต้องผ่าที่นี่เพราะอันตรายถึงกับชีวิต เหมือนกับเอาคนไข้เป็นตัวประกัน อย่างรพ.เอกชนแห่งหนึ่งซึ่งเป็นเคสล่าสุดบอกแต่แรกแล้วว่าถ้ารักษาแต่แรกจะมีค่าใช้จ่ายในการนอนรพ.คืนละ 3 หมื่น และหมอบอกกับญาติว่าเป็นเรื่องอันตรายทำให้ญาติต้องเซ็นยินยอมวันรุ่งขึ้นก็จะย้าย แต่ในวันนั้นตอนเย็นบอกว่าต้องผ่าตัดด่วนเพราะว่าเส้นเลือดไปเลี้ยงหัวใจฉีกขาด แต่เขาบอกล่วงหน้าว่าค่าใช้จ่ายประมาณ 6-7 แสน หากไม่ไหวก็สามารถไปผ่าที่รพ.อื่นได้ แต่ถ้าผ่าที่นี่เบิกกับ สปสช.ได้ตามสิทธิฉุกเฉินซึ่งหมอจะทำให้เป็นสิทธิฉุกเฉิน แต่ไม่ได้บอกกับญาติคนว่าสิทธิที่ว่านี้ไม่สามารถเบิกค่าใช้จ่ายได้ทั้งหมด ที่สำคัญญาติต้องสำรองจ่ายไปก่อน ตรงนี้ญาติไม่รู้ข้อเท็จจริง เลยเกิดปัญหา

เห็นพี่เรียกนโยบายนี้ค่อนข้างแรงว่านโยบายลวงโลก ?

เรียกว่านโยบายลวงโลกเพราะว่ามันไม่ใช่เพิ่งเกิด แต่ตอนที่เริ่มมีปัญหาตนได้เข้าไปพบรัฐบาลเมื่อปี 55 ไปทั้งที่ทำเนียบ กรรมาธิการสาธารณสุข และสปสช. แต่ไม่เข้าใจว่าทำไมไม่ขยับแก้ปัญหานี้เลย และไม่มีการแจ้งความคืบหน้าให้กับคนไข้เลย พอไปแจ้งก็เงียบ คนไข้บางคนทั้งชีวิตยังไม่เคยเห็นเงินแสนเลยแต่กลับต้องกู้หนี้ยืมสินมาจ่าย แล้วทุกคนหลังได้รับผลกระทบทำให้ครอบครัวเขาระส่ำระสายมาก แต่กลับไม่ใช่สิ่งที่สปสช.หรือรัฐบาลให้ความสนใจเลย กลายเป็นว่าปัญหามากองอยู่กับใคร คนไข้ไม่มีที่พึ่งก็มาหาตน ก็พยายามผลักดันให้นโยบายเป็นจริงให้ได้ ให้ผู้ใหญ่มาดูแล ไปออกสื่อ เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหา แต่กลับไปปลดหมอที่เป็นคนรับเรื่องร้องเรียน อย่างหมอทศพร

แต่นโยบายนี้ก็ช่วยเหลือคนได้มากเหมือนกัน มากกว่าข้อเสียที่เห็น ?

นโยบายนี้เป็นการเปิดโอกาสและมองว่าเป็นการวางยาในการทำลายระบบสาธารณสุข เพราะว่านโยบายที่ดี รัฐบาลที่ดี แม้คนไข้ที่ได้รับผลกระทบร้องเรียนไปเพียงคนเดียวเขาก็ต้องลงมาดูแลแก้ไขปัญหา นี่นอกจากจะไม่ดูแลแล้วยังเพิกเฉย แถมสมาคมรพ.เอกชนซึ่งทราบว่ามีการประชุมกับ สปสช.แทนที่จะประกาศออกมาเลยว่าไม่เข้าโครงการ แสดงว่าคุณอาศัยความไม่รู้ของเหยื่อมาหากินอยู่ใช่ไหม อาศัยความเหนือกว่าในการซ่อนคำพูดที่เหนือกว่าไว้ในหนังสือเซ็นยินยอม แล้วจะมีคนไข้สักกี่คนที่รู้ว่านโยบายนี้เป็นอย่างไรและสามารถปฏิเสธได้ แล้วรู้สถานะของตัวเองเองว่าคุณไม่ได้เป็นลูกหนี้ของรพ. แต่รัฐบาลกับสปสช.ต่างหากที่เป็นลูกหนี้ของรพ. จะมีคนสักกี่คนที่รู้เรื่องนี้ พี่อุ้ยเข้าไปเหมือนเป็นก้างขวางคอ ทุกเคสพี่ต้องวิ่งไปตามรพ.เหล่านี้หรือไม่

สปสช.ได้กำหนดเพดานการจ่ายเงินตรงนี้หรือไม่ว่ารับผิดชอบให้ไม่เกินกี่บาท ?

ตามหลักเกณฑ์เพดานการจ่ายเป็นล้าน แต่ที่ผ่านมาจ่ายไม่ถึง 1 แสนบาทสักรายแต่กรณีนี้คุยกับรพ.อย่างไรถึงมีการจ่ายเงิน 2.5 แสน ทั้งที่ฝ่ายการเงินของรพ.ยืนยันเสียงแข็งกับพี่ว่าทางรพ.ไม่ได้เข้า แต่ปรากฏว่าหมอบอกคนไข้อีกอย่างหนึ่งว่าเดี๋ยวทำเบิกฉุกเฉินจาก สปสช.ให้ เบิกได้หากผ่าที่นี่ เป็นการลักลั่น ถ้าคนไข้ยอมหยวนวันนั้นคุณก็ได้ไปเกือบล้านแล้ว ว่าไม่สามารถเข้ารักษา

จะแนะนำคนไข้อย่างไร ?

ระหว่างนี้อยากบอกว่าฉุกเฉินอย่าเข้ารพ.เอกชน จนกว่ารัฐบาลหรือสปสช.จะประกาศออกมาว่าได้รับความร่วมมือจากรพ.เอกชนทุกแห่งแล้ว เพราไม่อย่างนั้นคุณมีสิทธิหมดตัว และเป็นหนี้ไปตลอดชีวิต อาจจะหายจากโรคแต่ช็อคเพราะค่ารักษาพยาบาล

แต่เราเลือกไม่ได้ เพราะตอนนั้นกำลังจะตาย ?

ถ้าหลงเข้าไปรพ.ต้องบอกความจริง กับคนไข้ว่าได้เข้าโครงการหรือไม่ สามารถเบิกได้กี่เปอร์เซ็นต์ คนไข้ควรรู้ว่าฉุกเฉินอยู่รพ.ได้ไม่เกิด 72 ชั่วโมง หลังจากนั้นคนไข้ต้องรับผิดชอบเอง การที่รพ.ให้คนไข้สำรองจ่ายเพราะรู้ว่าไม่สามารถเบิกจากสปสช.ได้ทุกบาท สปสช.ถ้าตกลงกันทำนโยบายอย่างนี้แล้วก็ควรตกลงจ่ายในเรต(rate)ที่รพ.เอกชนรับได้ด้วยถ้าจะดำเนินนโยบายนี้ต่อ ไม่ควรผลักภาระมาให้คนไข้ไปทะเลาะกับรพ. ถ้าคนไข้ไม่มีปัญญาจ่ายก็ต้องไปสู้คดี จ้างทนาย ใครรับผิดชอบความเสียหายเรื่องนี้ได้

ถ้าเขาให้เซ็นก่อนไม่อย่างนั้นจะไม่รักษา ?

เราเซ็นให้รักษาก่อนได้เพื่อรักษาชีวิต แต่หลังจากนั้นเมื่อคนไข้อาการดีขึ้นให้ย้ายไปที่รพ.ของรัฐ ถ้ามีเงินจ่ายก็ให้เซ็นรับสภาพหนี้ก็ให้รพ.ฟ้อง ก็ให้ สปสช.และรัฐบาลไปเป็นจำเลยร่วมเพราะว่าหนี้นี้ไม่ใช่หนี้ของเรา และถ้าเขาไม่ยอมให้ย้ายรพ.ถ้าเราไม่สำรองจ่ายก็ให้ไปแจ้งความฐานกักขังหน่วงเหนี่ยวได้เลย แต่เวลาจะเซ็นอะไรให้อ่านให้รอบคอบ ต้องรู้ว่าฉุกเฉินสปสช.รับผิดชอบเพียง 72 ชั่วโมงแรก ถ้ามีปัญหาให้ร้องเรียนแพทยสภา กองประกอบโรคศิลป์ หนี้ก้อนนี้เป็นของรัฐบาลและสปสช.ที่ต้องรับผิดชอบร่วมกัน ไม่ใช่หนี้ของคนไข้และญาติดังนั้นถ้าเรายังไม่มีจ่ายให้เซ็นรับสภาพหนี้ ตอนนี้ประชาชนเริ่มรู้สิทธิของตัวเองมากขึ้นแล้ว

รัฐบาลชุดเดียวกันที่ออกนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคเพื่อป้องกันไม่ให้คนไข้ล้มละลายจาการรักษาราคาแพง แต่ฉุกเฉินกับทำคนไข้ล้มละลาย ?

ออกนโยบายมาแล้วปล่อยปละละเลยไม่ใส่ใจอย่างที่ควรจะเป็น พี่ติดตามเรื่องนี้ไม่ได้ติดตามด้วยอคติ คนประกาศนโยบาย นายกรัฐมนตรีไม่เคยมานั่งเป็นประธานในการประชุมเลยเท่าที่ทราบ และอย่ามาอ้างเรื่องปัญหาทางการเมืองเพราะเรื่องนี้เกิดขึ้นก่อนมีการชุมนุมทางการเมือง สปสช.ในฐานะเป็นเคลียร์ริ่งเฮาส์ ควรแอ่นอกออกมาเคลียร์ปัญหา ไม่ใช่หนีปัญหาแบบนี้คำพูด รัฐบาล รพ.เอกชน และสปสช.มีความไม่ชอบมาพากล

ต่อกรณีประชาชนควรรู้ว่าอะไรบ้างที่เป็นสิทธิของตัวเอง ?

ประชาชนต้องรู้สิทธิ รพ.ไหนไม่เข้าร่วมโครงการควรเขียนป้ายตัวโตๆ ติดเลยว่าไม่เข้าโครงการ เบิกไม่ได้ ถ้ารพ.ไหนเข้าร่วมก็บอกด้วยว่าเบิกได้ประมาณกี่เปอร์เซ็นต์ ให้คนไข้รู้ความจริง อยู่ได้กี่ชั่วโมงหลังจากนั้นคนไข้ต้องรับผิดชอบเอง รัฐบาลอย่าไปหวังอะไรด้วย แต่สปสช.ต้องออกประกาศให้ชัดเจนว่าจะดำเนินโครงการนี้ต่อไปหรือไม่ ถ้าดำเนินการต่อก็ต้องมีแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา หรือถ้าเห็นว่าไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้แล้วก็ให้ประกาศยกเลิกโครงการให้ชาวบ้านรู้ สปสช.ต้องทำ นี่เป็นเรื่องใหญ่ที่ครอบครัวหนึ่งพังพินาศหมด ที่ผ่านมาคุณไม่แก้ไขอะไรเลย คนที่เจอปัญหานี้ต้องรับกรรมอย่างนั้นหรือซึ่งมีไม่น้อยเลย

แล้วจะแก้ไขอย่างไร ?

เรียกร้องให้ สปสช.ประกาศยกเลิกนโยบายชั่วคราว เพื่อให้ประชาชนทราบและไม่หลงเข้าไปรักษาที่รพ.เอกชน เพราะว่าสปสช.จ่ายได้ไม่ครบควรบอกความจริงกับสังคม ไม่ใช่บอกแค่ครึ่งเดียว คุยรองเลขาอ.ประทีป (นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ) ผอ.ศิริพร (นางศิริพร สินธนัง ผอ.สำนักบริการประชาชนและคุ้มครองสิทธิ์ สปสช.) ซึ่งบอกว่าญาติคนไข้ไปเซนต์ยินยอม คือไปอ้างลายลักษณ์อักษรที่ทำกันตอนฉุกละหุก ญาติคนไข้แทบไม่ได้อ่านอะไรด้วยซ้ำ เขาบอกว่าขณะนี้ สปสช.ตกเป็นจำเลยของสังคมแน่ๆ อยู่แล้วเพราะนโยบายนี้สร้างความลำบากใจให้กับสปสช.เพราะมีเรื่องร้องเรียนจากผู้ที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายนี้เป็นจำนวนมาก แต่ไม่เปิดเผยตัวเลข ตอนนี้มีการตั้งกรรมการ เรียกเอกชนมาคุย แต่ไม่มีการเปิดเผยผลการคุยกัน อยากให้แถลงข่าวยกเลิก แต่บอกเกรงใจรัฐบาล แต่นี่เหมือนกับการขุดหลุมล่อ จุดไฟล่อแมลงเม่า ความฉ้อฉลของรพ. เรื่องนี้จะมาโทษคนไข้ก็ไม่ถูก เพราะนโยบายที่ดีประกาศออกมาแล้วต้องเชื่อถือได้ ต้องปฏิบัติได้จริง

สรุปคือ 1. หากสปสช.จะเดินหน้านโยบายนี้ต่อไป ต้องมีมาตรการรองรับ ไม่ผลักภาระให้คนไข้ต้องมีคดีความฟ้องร้องกับรพ. 2.หากสปสช.เห็นว่ามีปัญหามาก ก็ควรแถลงข่าวยกเลิกนโยบายนี้อย่างเป็นทางการ 3.สปสช.ต้องคืนเงินให้กับคนไข้ที่ได้ไปกู้หนี้ยืมสินมาจ่ายให้รพ.เอกชน แล้วเบิกจ่ายคืนได้เพียงหลักหมื่นจากนโยบายนี้ทุกกรณี

( มีต่อ)


โดย: หมอหมู วันที่: 14 ตุลาคม 2557 เวลา:15:31:24 น.  

 
นพ.สัมฤทธิ์ ศรีธํารงสวัสดิ์ รองเลขาธิการ สปสช.

“โดยเจตนารมณ์ของนโยบายเป็นสิ่งที่ดี แต่มีปัญหาเชิงปฏิบัติ มันต้องการมาตรการที่มากกว่า 1 ถึงจะทำได้ สปสช.ไม่มีอำนาจไปบังคับรพ.เอกชน ที่พยายามแก้คือให้กองประกอบโรคศิลป์ออกประกาศแนบท้ายไปบังคับไม่ให้เรียกเก็บเงิน”

ด้าน นพ.สัมฤทธิ์ ศรีธํารงสวัสดิ์ รองเลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า นโยบายฉุกเฉิน 3 กองทุนของรัฐบาลไม่มีใครมองว่าเป็นนโยบายที่ไม่ดี ทุกคนต่างก็มองว่าเป็นนโยบายที่ดี ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพของเรา มีช่องทางให้ไปรพ.เอกชน ที่เป็นคู่สัญญากับสปสช. ประมาณ 30-40 แห่ง ประกันสังคมประมาณ 80 แห่ง รวมเบ็ดเสร็จแล้วมีรพ.เอกชนประมาณร้อยกว่าแห่งจากรพ.เอกชนทั้งหมด 300 กว่าแห่ง แต่เอกชนไม่ได้เข้าทั้งหมด เข้าใจว่าเอกชนมีหลายแบบ บางแห่งมุ่งจับกลุ่มคนระดับบน คนมีระดับ ชาวต่างชาติ และไม่เข้ามาร่วมในระบบ บางรพ.จะมีนโยบายไม่รับประกัน เพราะฉะนั้นนโยบายนี้ทำให้คนโดยเฉพาะในกทม. ซึ่งเราจะมีปัญหารพ.ของรัฐมีจำกัด ทำให้คนเข้าถึงบริการได้ในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินถึงแต่ชีวิต

หลังดำเนินโครงการแล้วมีเรื่องร้องเรียนเข้ามายังสปสช.เท่าไหร่ ?

ปัญหานโยบายนี้มีหลายส่วน ที่เป็นประเด็นคือคนที่มาใช้บริการระบบนี้มากที่สุดคือข้าราชการประมาณ 60-70% ทั้งๆ ที่สิทธิข้าราชการมีประชากรประมาณ 5 ล้านคนทั้งประเทศ เมื่อเทียบกับระบบบัตรทอง หรือประกันสังคม ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ 1.สิทธิข้าราชการปกติอนุญาตให้ไปใช้บริการได้เฉพาะรพ.ของรัฐ ไม่อนุญาตให้ไปเอกชน 2. ต้องยอมรับความจริงว่าก่อนหน้านี้มีสิทธิข้าราชการไปใช้รพ.เอกชนแล้วเขาสามารถเบิกได้ แต่เบิกได้ภายใต้เพดาน เช่นเบิกได้ไม่เกิน 4 พันบาท และมีใบรับรองแพทย์ว่าเป็นเรื่องฉุกเฉินถึงแก่ชีวิต มีคนไปใช้นโยบายนี้อยู่แล้ว แต่พอเรามีนโยบายนี้แล้วกรมบัญชีกลางก็ประกาศยกเลิกระเบียบตัวนี้ แต่นโยบายนี้เราจำกัดแค่ฉุกเฉินถึงแก่ชีวิต ฉุกเฉินเร่งด่วนเราก็ไม่ได้จ่ายให้ เลยมีเรื่องร้องเรียนเรื่องเหล่านี้ส่วนหนึ่ง

กับอีกส่วนหนึ่งคือเจตนารมณ์ของนโยบายคือไม่ต้องการให้ผู้ป่วยมีภาระเรื่องค่าใช้จ่าย แต่ก็ต้องยอมรับความจริงว่าในทางปฏิบัติเรามีช่องว่างทางกฎหมายอยู่พอสมควร เนื่องจากว่าเรามีพ.ร.บ.ประกอบการสถานพยาบาล และพ.ร.บ.การแพทย์ฉุกเฉิน จริงๆ กฎหมายทั้ง 2 ฉบับกำหนดให้เป็นหน้าที่ของรพ.เอกชนต้องช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยที่เจ็บป่วยฉุกเฉินโดยเฉพาะที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตแต่ตัวกฎหมายไม่ได้เขียนไว้ชัดเจนว่ารักษาแล้วเก็บตังค์ได้หรือเปล่า รพ.เลยเก็บตังค์คนไข้ได้ เพราะฉะนั้นคนไข้ฉุกเฉินวิกฤติที่เป็นอันตรายแก่ชีวิต คนไข้จะอยู่ในสถานะที่เสียเปรียบเพราะว่าต้องรีบตัดสินใจ จึงเป็นช่องอันหนึ่งที่มีคนบอกว่าเป็นช่องทางทำมาหากินของรพ.เอกชนเพราะว่าคนไข้ไม่มีทางเลือก นี่คืออดีตที่ผ่านมา เราพยายามจะแก้ไม่ให้ภาพแบบนี้เกิดขึ้นอีก

แต่ถามว่าเราทำได้สำเร็จหรือไม่ ก็ต้องยอมรับความจริงว่ายังมีปัญหาคือ 1. มีช่องว่างทางกฎหมายที่เราไม่สามารถทำอะไรกับรพ.เอกชนได้ ตอนเริ่มนโยบายใหม่ๆ นั้นสปสช.มีการทำสำรวจปัญหาเป็นระยะๆ กับผู้ที่ไปใช้บริการ ช่วงแรกๆ รพ.อาจจะยังกลัวๆ อยู่ไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไรหากเก็บเงินคนไข้แล้วจะเป็นอย่างไร แต่หลังดำเนินการไปประมาณ 6-7 เดือนทางรพ.ก็เริ่มรับทราบแล้วว่า เราไม่มีเครื่องมืออะไร เราไม่มีมาตรการอะไรไปบังคับเขา เลยรู้สึกว่ารพ.เอกชนเรียกเก็บตังค์คนไข้ เช่น สปสช.จ่ายให้เท่านี้ เขาก็เก็บตามที่เขาเก็บ

มีการกำหนดอัตราสูงสุดที่เรากำหนดให้รพ.เอกชนเรียกเก็บจากผู้ป่วยหรือไม่ ?

เราไม่ได้กำหนด เราจ่ายตามความรุนแรงของโรค กำหนดอัตราการจ่ายตามดีอาร์จี หรือกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม เป็นวิธีการจัดกลุ่มโรค เช่น การผ่าตัดไส้ติ่ง ค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ก็อาจจะจ่ายอยู่แค่ 1 จุดกว่าๆ แต่ถ้าเกิดว่าต้องผ่าตัดเปิดกะโหลก สมอง หัวใจค่าน้ำหนักสัมพัทธ์อาจจะเป็น 7,8,9,10 ขึ้นไป แล้วเราก็มีอัตราการจ่ายต่อ 1 หน่วยของน้ำหนักสัมพัทธ์เช่นตอนนี้เราจ่ายอยู่ที่ 10,500 บาท ดังนั้น ถ้าผ่าตัดหัวใจค่าน้ำหนักสัมพัทธ์อาจจะอยู่ที่ประมาณ 15 หน่วย เราจะจ่ายประมาณ 1.5 แสนบาท

มีระยะเวลากำหนดไว้หรือไม่ว่าสปสช.ดูแลภาวะฉุกเฉินภายในระยะเวลากี่วันหลังได้รับการรักษา ?

จริงๆ เราบอกว่าจะครอบคลุมให้จนพ้นภาวะฉุกเฉิน ถ้าพ้นภาวะฉุกเฉินผู้ป่วยต้องกลับไปรับบริการของรัฐ แต่ปัญหาอีกอันที่มีคือเรามีข้อจำกัดเรื่องการหาเตียงสำหรับผู้ป่วย คือในระบบเดิมปัจจุบันยังไม่ได้มีการกำหนด แต่ที่จะเสนออันใหม่นี้ที่ผ่านมาจริงๆ เราวางแผนเริ่มระบบใหม่ในวันที่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา แต่ด้วยเหตุความไม่สงบทางการเมืองจึงยังไม่เรียบร้อย

ระบบใหม่ที่มีการแก้ไขปรับปรุงเป็นอย่างไร ?

ระบบใหม่คือ 1. ถ้าจะทำให้นโยบายนี้มีประสิทธิผลมากขึ้นมันจะต้องมีความร่วมมือ และจำเป็นต้องมีมาตรการหลายด้าน ทั้งด้านบวกและด้านลบ ด้านบวกคือเรื่องอัตราจ่าย ประเด็นคือรพ.เอกชนเขาร้องเรียนว่าอัตราการจ่ายที่เราจ่ายให้ในปัจจุบันทำให้เขาขาดทุน 2. มีการเสนอปรับอัตราการจ่าย แต่ก็มีข้อท้วงติงจากคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและอนุกรรมการการเงินการคลังหลายท่านว่าถึงแม้เราจะปรับอัตราการจ่ายให้ มันก็ไม่ได้การันตีว่ารพ.เอกชนจะไม่เรียกเก็บกับคนไข้ เราไม่มีอาวุธอะไรที่จะไปบังคับไม่ให้เขาเก็บเงิน ดังนั้นมันต้องมีมาตรการทางด้านกฎหมาย คือคนที่ถือกฎหมายต้องไปปรับระเบียบ เท่าที่ทราบตอนนี้อย่างกองประกอบโรคศิลป์ของกระทรวงสาธารณสุข ก็ต้องมีการร่างระเบียบไปกำกับไม่ให้เอกชนเก็บตังค์ แต่อย่างที่บอกว่าทุกเรื่องที่เตรียมไว้ชะลอหมดเลย

ที่จะไม่ให้เก็บเงินนี่คือจะออกเป็นกฎหมายเลยหรือไม่ ?

เป็นกฎหมาย เป็นประกาศแนบท้ายระเบียบประกอบการสถานพยาบาล ของกระทรวงสาธารณสุข

หากละเมิด ยังเรียกเก็บเงินคนไข้จะมีโทษอย่างไร ?

ยังไม่ได้ดูรายละเอียด แต่เข้าใจว่าเนื่องจากกองประกอบโรคศิลป์เป็นคนออกใบอนุญาตให้สถานพยาบาลเอกชนก็จะมีอาวุธของเขาอยู่ ดังนั้นหากรพ.เอกชนยังเรียกเก็บอยู่ก็อาจจะมีมาตรการ ซึ่งผมยังไม่รู้รายละเอียดว่าจะทำอย่างไร

ตอนนี้พบว่ามีการเก็บเงินผู้ป่วยจนบางรายถึงขั้นล้มละลาย จะช่วยเหลือคนเหล่านี้ได้อย่างไร ?

ระบบนี้ นโยบายใหม่นี้เป็นนโยบายคุ้มครองคนได้ดี แต่ปัญหามีอยู่จุดเดียวเอง คือเนื่องจากเป็นประกาศว่าจะไม่ให้คนไข้ถูกเรียกเก็บตังค์ แต่ในทางปฏิบัติเรายังไม่สามารถเดินตามเจตนารมณ์นั้นได้ ก็เลยทำให้มีปัญหาร้องเรียนกันอยู่ แต่ถามว่าคนไข้ที่ไปใช้บริการแล้วจ่าย เช่น ข้าราชการ เราพบว่าข้าราชการจริงๆ จ่ายน้อยกว่าเดิม เพราะระบบใหม่ไม่ได้กำหนดเพดาน แต่เราจ่ายตามความรุนแรงของโรค ดังนั้นคนที่ได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นจริงๆ คือสิทธิข้าราชการ ส่วนอันอื่น ของบัตรทองและประกันสังคมมีระบบปกติของเขาอยู่และมีรพ.ส่วนหนึ่งที่เป็นเอกชน แต่ก็ยังแก้ปัญหาไม่ได้ บางรายจ่ายเป็นแสนๆ บาท ถามว่าแล้วเราจะช่วยเขาได้อย่างไรก็ต้องบอกว่าตอนนี้เรามีข้อจำกัดจริงๆ พูดกันตรงๆ นโยบายนี้รัฐบาลใช้มาตรการเชิงการบริหารไม่ได้มีงบประมาณเพิ่มขึ้นใหม่ เป็นงบที่แต่ละกองทุนใช้อยู่แล้ว เพราะฉะนั้นสิ่งที่สปสช.ทำคือเอาเงินของตัวเอสำรองจ่ายไปก่อนแล้วไปเรียกเก็บคืนจากแต่ละกองทุน เพราะฉะนั้นเวลาที่มีเรื่องร้องเรียนกันขึ้นมาเนื่องจากว่ามีการตกลงกันตั้งแต่แรกว่าเราจะจ่ายเท่านี้ สปสช.จึงไม่สามารถจ่ายมากกว่านี้ได้ เพราะว่าการเพิ่มอัตราการจ่ายตรงนั้น จ่ายไปแล้วเราต้องไปเรียกเก็บจากเจ้าของกองทุน ข้าราชการเจอหลายแสน ถ้าเราจ่ายมากก็ต้องไปเรียกคืนกับกรมบัญชีกลางแต่ไม่รู้ว่าเขาจะจ่ายให้เราทั้งหมดหรือปล่า

เพราะข้อจำกัดเยอะๆ แบบนี้กลายเป็นว่านโยบายนี้หลอกล่อประชาชนให้มาติดกับดัก ?

โดยเจตนารมณ์ของนโยบายเป็นสิ่งที่ดี แต่มีปัญหาเชิงปฏิบัติ มันต้องการมาตรการที่มากกว่า 1 ถึงจะทำได้ สปสช.ไม่มีอำนาจไปบังคับรพ.เอกชน ที่พยายามแก้คือให้กองประกอบโรคศิลป์ออกประกาศแนบท้ายไปบังคับไม่ให้เรียกเก็บเงิน

เคยมีการเรียกรพ.เอกชนมาคุยหรือไม่ว่าทำเกินเหตุที่ไปเก็บเงินผู้ป่วยจำนวนมหาศาลอย่างนั้น ?

เคยประชุมกันหลายรอบ แต่ประเด็นคือเวลาฟังความจากคนไข้บางครั้งก็สับสนว่าจะฟังความจากใครดี รพ.เอกชนมักจะบอกว่าคนไข้เขาแล้วบอกว่ายินดีจ่าย ไม่มีปัญหา แต่พอเรียกเก็บไปแล้วก็มาร้องเรียนทีหลัง อาจจะเป็นเพราะตอนแรกคิดว่ามันไม่เยอะแล้วเขาจ่ายไหวก็เป็นไปได้ แต่สุดท้ายไม่ไหว ทางรพ.เอกชนก็รู้สึกว่าคนไข้ไปหลอกเขา นี่คือข้อกล่าวหาของรพ.เอกชน แต่ถ้าเราฟังจากฟากคนไข้ หรือญาติคนไข้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ปรากฏการณ์ที่เราเห็นคือรพ.เอกชนจะเอาหลักฐานมายืนยันว่าญาติไปเซ็นยินยอมรับผิดชอบค่าใช้จ่าย

ปัญหาอย่างหนึ่งที่พบในเอกสารเซ็นยินยอมคือมีการซ่อนคำพูด หรือบอกข้อมูลกับญาติคนไข้ไม่หมด เช่น บอกแค่ว่าเป็นสิทธิฉุกเฉินสามารถเบิกค่ารักษาได้จาก สปสช. แต่ไม่ได้บอกให้หมดว่าเบิกได้กี่เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือต้องรับผิดชอบเอง ในขณะที่สถานการณ์ตอนนั้นญาติคนไข้ไม่มีเวลาในการตัดสินใจ หรือเวลาในการพิจารณาเอกสารอย่างละเอียดเพราะคนไข้ต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน

คิดว่าก็มีส่วน แต่ตอนนี้ที่เราพยายามแก้ปัญหาคือกรณีฉุกเฉินที่เป็นสีแดง คือเกิดวิกฤติที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตจริงๆ ทำอย่างไรให้คนกลุ่มนี้ได้รับการคุ้มครองจริงๆ เพราะว่าถ้าเป็นกรณีฉุกเฉินวิกฤติจริงๆ ก็ต้องบอกว่าคนไข้ไม่มีทางเลือกมากนัก หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนเขาอาจจะเสียชีวิตได้ ตรงนี้เป็นสิ่งที่เราคิดว่าจะมุ่งเน้นไปที่การคุ้มครอง เรามีข้อเสนอของแต่ละกองทุน อย่างที่บอกว่ากรมบัญชีกลาง หรือ สปสช.ต้องเอาระเบียบเรื่องเจ็บป่วยฉุกเฉินนั้นที่เขาเคยดำเนินการอยู่ตามเดิมกลับมาใช้ตามปกติ ยกเลิกไม่ได้เพราะว่าเราพยายามจะจำกัดนโยบายอันใหม่ให้เหลือเฉพาะวิกฤติที่เป็นสีแดงที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตให้ได้ นี่เป็นความพยายามอีกอย่างหนึ่งในการแก้ไขปัญหา แต่อาจจะต้องรอให้สถานการณ์การเมืองมันเข้าที่เข้าทางก่อน

มีคนเสนอให้ยุบโครงการนี้ ?

หากยุบโครงการนี้ก็จะเข้าไปสู่ระบบเดิม และไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหา อย่างที่บอกว่ามีคนล้มละลายจากการที่เขาต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาล เลยคิดว่ายังไม่น่าจะเป็นประเด็นเรื่องการยุบโครงการ ลองพยายามอีกสักตั้ง อย่างตอนนี้ที่พยายามเสนอคือ 1. เอาให้จำกัดเฉพาะกรณีฉุกเฉินที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตจริงๆ ถ้าเป็นกรณีที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตจริงๆ ก็จะลดปัญหาลงไปเยอะเพราะเราพบว่าเคสที่ส่งเข้ามาเรียกเก็บ 100 ราย มีไม่ถึง 30 รายที่เจ็บป่วยฉุกเฉินจริงๆ คือ 1 ใน 3 จะลดไป หายไป และจะแก้ปัญหาที่รพ.เอกชนเขารู้สึกว่าถูกคนไข้หลอกว่ายินดีจ่ายแล้วมาหักหลังทีหลังโดยการไม่ยอมจ่าย อีกอันหนึ่งคือเคยประชุมร่วมกับรพ.เอกชนเขาบอกว่ายินดีช่วยในกรณีที่เป็นการเจ็บป่วยฉุกเฉินถึงแก่ชีวิตจริงๆ ยินดีให้ความร่วมมือ แต่เขาไม่แฮปปี้ที่คนไข้ไม่ได้ฉุกเฉินถึงแก่ชีวิต แล้วพยายามเข้ามา เพราะเป็นเรื่องทำมาหากินของเขาด้วยส่วนหนึ่ง และเราก็ไม่สามารถจ่ายให้เขาได้ตามอัตราที่เรียกเก็บอยากให้เขาทำเป็นลักษณะเพื่อสังคมบ้าง แต่เราก็พยายามจำกัดขอบเขตไม่ให้เป็นปัญหากับเขามากเกินไป ดังนั้นส่วนตัวเห็นว่าเป็นนโยบายที่ดีที่น่าจะร่วมมือกันแก้ปัญหาให้สามารถคุ้มครองชาวบ้านได้จริงๆ

สถิติของคนที่จ่ายเยอะหรือไม่ ?

ไม่มี มีเฉพาะคนที่ร้องเรียนมา หากไม่ร้องเรียนมาเราก็ไม่รู้

เคยมีข้อมูลรพ.เอกชนฟ้องร้องผู้ป่วยกรณีไม่จ่ายค่ารักษาพยาบาลหลังเข้ารับการรักษาตามสิทธิฉุกเฉินหรือไม่ ?

เข้าใจว่าน่าจะขู่เฉยๆ ไม่เคยมีข่าวว่าฟ้องร้อง คิดว่ารพ.ไม่อยากฟ้องร้อง เพราะว่าฟ้องแต่ละครั้งยาวนาวกว่าเรื่องจะจบ สิ่งที่ต้องการได้คือเงินจากคนไข้ เข้าใจว่าเขาพยายามให้คนไข้เซ็น ซึ่งเราพยามยามทำให้เขาไม่เอาเรื่องนี้มาเป็นตัวอ้าง เพราะเรามองว่าตอนนั้นคนไข้อยู่ในสถานการณ์ที่เสียเปรียบและไม่มีทางเลือก

นโยบายนี้พรรคเพื่อไทยเป็นคนนำเสนอ เหมือนที่ครั้งหนึ่งเคยทำโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคแล้วได้รับการตอบรับค่อนข้างดี แตกต่างจากโครงการนี้ที่ทำให้ผู้ป่วยต้องล้มละลาย ดังนั้นเคยมีการคุยกันในระดับของนักการเมืองหรือหรือไม่ ?

จริงๆ เรื่องนี้รมว.สธ.รับทราบปัญหา และผมเข้าใจว่าการเมืองก็พยายามแก้ปัญหาอยู่ อย่างที่บอกว่าไปให้กองประกอบโรคศิลป์ออกประกาศแนบท้าย มีการไปคุยกับกระทรวงพาณิชย์ ในคณะกรรมการกำหนดรายการสินค้าที่มีการควบคุม นี่แสดงว่าเป็นเจตนารมณ์ที่ค่อนข้างมุ่งมั่น แต่อย่างที่บอกว่าเหตุการณ์ไม่สงบทางการเมืองจึงยังไม่สำเร็จ

ประกาศรายชื่อรพ.เอกชนที่เข้าร่วมโครงการได้หรือไม่ อย่างน้อยประชาชนจะได้ทราบว่าถ้าเข้ามารพ.นี้แล้วเขาจะได้รับหรือไม่ได้รับสิทธิอย่างไร ?

มันไม่ได้มีการกำหนดว่าเขาต้องสมัครเข้ามาร่วม เอาอ้างว่าเราไปมัดมือชกเขา เพราะเขาไม่ได้ยินดีที่จะเข้าร่วม

ถ้าไม่เปิดเผยรายชื่อรพ.ที่เข้าร่วมประชาชนก็จะเป็นเหมือนแมลงเม่าบินเข้ากองไฟ ?

ถูก แต่ผมยังอยากให้เครดิตกับนโยบายนี้ว่าเป็นนโยบายที่ดี แต่ยังมีปัญหาในทางปฏิบัติ เพราะเรายังไม่มีเครื่องมือในการไปบังคับรพ.เอกชนเพราะว่าถ้าพูดถึงเราไม่ได้มีการไปทำสัญญากับเขา เราไม่ได้ประกาศให้เขาสมัคร แต่เราไปบังคับเขา และเขาอ้างว่าที่ผ่านมาเราขอความร่วมมือดังนั้นก็เป็นสิทธิของเขาที่จะร่วมมือหรือไม่ร่วมมือ

ถ้าอย่างนั้นในช่วงสุญกาศประชาชนต้องทำอย่างไรเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ ?

ถ้ายังไม่ได้เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต แล้วยังสามารถเข้าไปยังรพ.ในระบบปกติได้ก็ควรทำ เชื่อว่า คนที่เข้าไปรพ.เอกชนถ้าไม่ถึงขนาดหมดสติส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าเขาเลือกที่จะเข้าเอกชน นี่เป็นประเด็นที่กำลังกวนใจเราอยู่ตอนนี้ เพราะเขาต้องการเบิกจ่าย

รพ.เอกชนไม่ได้บอกข้อมูลทั้งหมด หรือมีการซ่อนคำพูด ?

ปัญหาเราฟังความและได้ข้อมูลที่ไม่ตรงกัน ดังนั้นเราต้องให้ความเป็นธรรม แต่เชื่อว่าถ้าอันตรายถึงแก่ชีวิตแล้วก็จะไม่เป็นปัญหา ตอนนี้มีศูนย์ไกล่เกลี่ย ยอมรับว่าแก้ยาก การเรียกเก็บแต่ละโรงพยาบาลไม่เท่ากัน และถ้าเขายังยืนยันว่าจะต้องจ่ายตามอัตราที่เขาเรียกเก็บก็เป็นปัญหา





โดย: หมอหมู วันที่: 14 ตุลาคม 2557 เวลา:15:31:38 น.  

 
"3กองทุนสุขภาพ"เตรียมชง"คสช." ออกกฎห้ามรพ.เก็บเงินป่วยฉุกเฉิน
Wednesday, 25 June, 2014 - 00:00
//www.thaipost.net/news/250614/92194
//www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000071002


คณะกรรมการ 3 กองทุนสุขภาพเตรียมชง คสช.ออกกฎหมาย ห้าม รพ.เก็บเงินผู้ป่วยฉุกเฉินเด็ดขาด 15 ก.พ.นี้ ชี้ที่ผ่านมาไม่มีกฎหมายรองรับ ทำให้เกิดปัญหาหลายด้าน
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการประสานความร่วมมือ 3 กองทุน ระหว่าง สปสช. สำนักงานประกันสังคม (สปส.) และกรมบัญชีกลาง ในการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุข ว่า ภายหลังดำเนินโครงการเจ็บป่วยฉุกเฉินเข้าได้ทุกโรงพยาบาลโดยไม่ต้องสำรองจ่าย ไม่ถามสิทธิมาเป็นระยะเวลา 2 ปี พบว่ายังมีปัญหามากในเรื่องของการเรียกเก็บเงินค่ารักษาพยาบาลจากผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก และปัญหาเรื่องการหาสถานพยาบาลรองรับการส่งต่อหลังจากที่ผู้ป่วยพ้นสภาวะวิกฤตbถึงแก่ชีวิตแล้ว ซึ่งที่ประชุมมีความเห็นร่วมกันให้ตั้งฝ่ายกฎหมายของทั้ง 3 กองทุนมาเป็นคณะกรรมการร่วมศึกษา และจัดทำข้อเสนอเพื่อการแก้ปัญหาดังกล่าวไปยังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ภายในวันที่ 15 ก.ค.นี้
เบื้องต้นจะขอให้ คสช.ออกเป็นประกาศบังคับให้ทุกโรงพยาบาลต้องให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วยวิกฤติฉุกเฉินโดยไม่เรียกเก็บเงินจากผู้ป่วยโดยเด็ดขาด แต่ให้ทำเรื่องเบิกมายัง สปสช. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่เบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลของ 3 กองทุน (เคลียริงเฮาส์) และพิจารณาออกเป็นกฎหมายบังคับต่อไปในระยะยาว ซึ่งอาจจะจัดให้อยู่ใน พ.ร.บ.สถานพยาบาล หรือ พ.ร.บ.การแพทย์ฉุกเฉิน ทั้งนี้ เพื่อปกป้องผู้ป่วยวิกฤติที่ไม่มีสิทธิเลือกการรักษา ให้โครงการดังกล่าวสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยได้จริงๆ ไม่มีปัญหาจากการใช้บริการรักษาพยาบาล อย่างไรก็ตาม ในส่วนของบทลงโทษในกรณีที่ฝ่าฝืนกฎหมายนั้น ยังไม่ได้มีการหารือชัดเจน แต่ประเด็นหลักของการทำข้อเสนอนี้คือ อยากให้ผู้ป่วยวิกฤติฉุกเฉินได้รับการรักษาโดยไม่ถูกเรียกเก็บเงิน
"เนื่องจากที่ผ่านมายังไม่มีกฎหมายรองรับโครงการเจ็บป่วยฉุกเฉินรักษาฟรี จึงเกิดปัญหาในหลายด้าน ซึ่งจริงๆ แล้วการรักษาผู้ป่วยฉุกเฉิน ทางสถานบริการไม่ควรมองเชิงธุรกิจ ควรมองเป็นเรื่องมนุษยธรรมเป็นหลัก แต่อย่างไรก็ตาม กลไกการจ่ายเงินคืนนั้น ยืนยันว่าจะต้องไม่ทำให้สถานบริการเป็นภาระอย่างแน่นอน" นพ.วินัยกล่าว
เลขาธิการ สปสช.กล่าวต่อว่า ขณะเดียวกันจะมีการพิจารณากำหนดเกณฑ์การจ่ายค่ารักษาพยาบาลเพื่อไม่ให้เป็นภาระกับโรงพยาบาล จึงได้ดำเนินการคู่ขนานในการจัดทำเกณฑ์การจ่ายค่ารักษาตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (ดีอาร์จี) และการจ่ายตามรายการ ซึ่งเป็นหน้าที่ของ สปสช.ที่จะดำเนินการ รวมไปถึงการจัดทำเกณฑ์เจ็บป่วยฉุกเฉินในการเข้ารับบริการที่ชัดเจน นอกจากนี้ ในที่ประชุมยังเห็นควรให้เดินหน้าต่อ ทั้งในเรื่องการบริหารร่วมกัน ทั้งโรคไต เอดส์ และมะเร็ง ซึ่งทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน พร้อมกันนี้ให้เดินหน้าปรับการใช้ข้อมูลร่วมกัน เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการดูแลผู้ป่วยในกรณีที่มีการเปลี่ยนถ่ายสิทธิ.


โดย: หมอหมู วันที่: 14 ตุลาคม 2557 เวลา:15:32:05 น.  

 
ลิงค์บทความทั้งหมด ..

1 เมษายน “ฉุกเฉินรักษาฟรี” คุณได้สิทธิ์นั้นทันที แต่ต้องฉุกเฉินถึงแก่ชีวิตเท่านั้น
//thaipublica.org/2012/04/april-1-for-emergency-illness-free/

ปชช.ร้อง “เจ็บป่วยฉุกเฉิน” พ่นพิษ เก็บเงินผู้ป่วย
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 26 สิงหาคม 2556 17:04 น.
//www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000106726

นโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินพ่นพิษ ล่าสุด รพ.วิภาวดีกั๊กข้อมูลเบิกเงิน สปสช.ได้ไม่ครบ เจอจ่ายเองหลายแสน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 เมษายน 2557 12:27 น.
//www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000037547


เจ็บป่วยฉุกเฉินมาตรฐานเดียว นโยบายดี แต่การปฏิบัติล้มเหลว ?
Fri, 2014-04-18 17:53 – hfocus
//www.hfocus.org/content/2014/04/6964


"3กองทุนสุขภาพ"เตรียมชง"คสช." ออกกฎห้ามรพ.เก็บเงินป่วยฉุกเฉิน
Wednesday, 25 June, 2014 - 00:00
//www.thaipost.net/news/250614/92194
//www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000071002



โดย: หมอหมู วันที่: 14 ตุลาคม 2557 เวลา:15:32:49 น.  

 
ตรวจสอบค่ารักษาพยาบาล Online ได้ที่ //www.hospitalprice.org
สายด่วนสุขภาพ 02 193 7999


โดย: หมอหมู วันที่: 18 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา:21:28:36 น.  

 
สบส.ตรวจสอบ รพ.เอกชนย่านศรีราชา หลังถูกร้องเรียนเก็บค่ารักษาป่วยฉุกเฉินแพง
Sat, 2017-02-18 20:41 -- hfocus
https://www.hfocus.org/content/2017/02/13461

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ตรวจสอบ รพ.เอกชนย่านศรีราชา จ.ชลบุรีให้แล้วเสร็จใน 3 วัน หลังมีผู้ร้องเรียนผ่านเฟซบุ๊คว่าเก็บค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉินแค่ 2 ชั่วโมง เกือบ 50,000 บาท ชี้สถานพยาบาลทุกแห่งจะต้องแสดงอัตราค่ารักษาพยาบาล ยา เวชภัณฑ์ ค่าบริการให้ชัดเจน พร้อมให้ประชาชนสอบถามอัตราค่าบริการได้ และห้ามเก็บเกินราคาป้ายที่แสดง

จากกรณี มีหญิงสาวรายหนึ่ง แชร์ข้อความผ่านสื่อโซเชียลมีเดียว่าได้นำเพื่อนที่หมดสติจากการล้มศีรษะฟาดพื้น เข้ารักษาที่ รพ.เอกชนแห่งหนึ่งย่านศรีราชา จ.ชลบุรี แต่พบว่า ค่ารักษาพยาบาลภายใน 2 ชั่วโมง เป็นเงิน 40,945 บาท จึงขอให้ส่งตัวไปยัง รพ.ที่มีสิทธิประกันสังคม แต่ไม่ได้รับการตอบรับ จนต้องมีการวางสร้อยคอทองคำเป็นหลักประกัน

นพ.ภัทรพล จึงสมเจตไพศาล

ความคืบหน้ากรณีดังกล่าว นพ.ภัทรพล จึงสมเจตไพศาล รองโฆษกกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า นพ.วิศิษฎ์ ตั้งนภากร อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ได้สั่งการให้พนักงานเจ้าหน้าที่จากสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ และกองกฎหมาย ร่วมกับทีมเจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่ รพ.ที่ถูกร้องเรียน โดยจะเน้นในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ที่ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 4 ใน 2 ด้าน

ประการแรก คือ สถานพยาบาล ตามมาตรา 32 กำหนดให้สถานพยาบาลเอกชนทุกแห่งต้องมีป้ายแสดงรายละเอียด 3 เรื่องหลัก คือ 1.ชื่อสถานพยาบาล 2.รายการเกี่ยวกับผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล และ 3.อัตราค่ารักษาพยาบาล ยา เวชภัณฑ์ ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าบริการอื่นๆและสิทธิของผู้ป่วยให้เห็นชัดเจนที่จุดบริการ และต้องมีจุดให้ประชาชนสอบถามอัตราค่าบริการเพิ่มเติม โดยห้ามเก็บค่ารักษาพยาบาล ยา เวชภัณฑ์ ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าบริการอื่นๆ เกินกว่าที่ป้ายแสดง และต้องให้บริการแก่ผู้ป่วยตามสิทธิที่แสดงไว้ด้วย

ประการที่ 2 คือ ด้านแพทย์ผู้ให้บริการ ว่าแพทย์ที่ให้การรักษาใน รพ.แห่งนี้ มีการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินเบื้องต้นตามมาตรฐานวิชาชีพหรือไม่ รวมทั้งการสั่งการวินิจฉัยโรคเป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพหรือไม่ หากพบว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐานจะประสานส่งเรื่องให้สภาวิชาชีพ คือ แพทยสภา ดำเนินการด้านจริยธรรมต่อไป โดยจะเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 3 วัน เนื่องจากเรื่องนี้เป็นประเด็นที่มีการร้องเรียนบ่อยครั้ง

นพ.ภัทรพล กล่าวต่อว่า ในกรณีนี้แม้ รพ.เอกชนที่ถูกร้องเรียนจะไม่ปฏิเสธการรักษาผู้ป่วยฉุกเฉิน แต่ก็มีการเรียกเก็บค่ารักษาในอัตราที่สูงในระยะเวลาสั้นเพียง 2 ชั่วโมง จึงต้องมีการตรวจสอบว่า รพ.เอกชนดังกล่าวได้มีการสั่งการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างไรบ้าง และได้มีการติดป้ายแสดงอัตราค่ารักษาพยาบาล ยา เวชภัณฑ์ ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าบริการอื่นๆและสิทธิของผู้ป่วยให้ประชาชนทราบหรือไม่ หากไม่มี ถือว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และหากเรียกเก็บค่ารักษาเกินอัตราที่แสดงบนป้าย จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

อย่างไรก็ตาม ตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ที่ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 4 ได้กำหนดให้ รพ.จะต้องควบคุมและดูแลให้มีการช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วยฉุกเฉิน เพื่อให้พ้นจากอันตรายตามมาตรฐานวิชาชีพ โดยห้ามปฏิเสธการรักษาเด็ดขาด หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


โดย: หมอหมู วันที่: 20 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:16:06:19 น.  

 
สบส.เตือน! อย่าเชื่อข้อมูลคลาดเคลื่อนกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต รพ.ไหนเก็บเงินจับหมด
วันที่: 19 ก.พ. 60
//www.matichon.co.th/news/469242

จากกรณี นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ แชร์ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้บริการของผู้ป่วยเจ็บป่วยฉุกเฉินว่า ขณะนี้มีกฎหมายบังคับใช้แล้ว หากเข้ารพ.ด้วยภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉินห้ามจ่ายเงินรพ.เด็ดขาดภายใน 72 ชั่วโมง เนื่องจากกฎหมายกำหนดไว้เช่นนั้น หากรพ.รับเงินถือว่าผิดกฎหมาย และยังระบุว่ากรมสนับสนุนบริการสุขภาพ(สบส.) ทำหนังสือเวียนถึงรพ.ต่างๆอีกว่า
นพ.วิศิษฎ์ ตั้งนภากร อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีนี้ว่า เรื่องนี้เป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อน เนื่องจากข่าวเดิมที่ทางสบส.เคยประกาศว่าทำหนังสือเวียนไปยังสถานพยาบาลต่างๆนั้น ข้อเท็จจริงเป็นพ.ร.บ.สถานบริการฉบับที่ 4 พ.ศ. 2559 ที่มีการปรับปรุงและประกาศใช้เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2559 โดยสาระสำคัญของกฎหมายส่วนหนึ่งได้ให้สบส.จัดทำกฎหมายลูกเพื่อดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ซึ่งอาศัยพ.ร.บ.การแพทย์ฉุกเฉินฯ เป็นฐาน โดยสบส.อยู่ระหว่างจัดทำกฎหมายลูก คำนิยามของดผู้ป่วยเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต หรือกลุ่มผู้ป่วยสีแดง ว่า จะต้องมีลักษณะ ข้อบ่งชี้อย่างไรบ้าง เพื่อให้เกิดความชัดเจน

“ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างดำเนินการในเรื่องนี้ และยังไม่ได้มีการบังคับใช้ใดๆตามที่มีการแชร์กัน ณ ขณะนี้ เบื้องต้น สบส.อยู่ระหว่างเร่งดำเนินการเพื่อให้ชัดเจนว่า เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตสีแดงเป็นอย่างไร ซึ่งกลุ่มนี้จะต้องได้รับการรักษาจากรพ.ทุกแห่งฟรีภายใน 72 ชั่วโมงก่อนส่งกลับสู่รพ.ตามสิทธิสุขภาพภาครัฐนั้นๆ รวมทั้งสบส.ยังอยู่ระหว่างจัดทำเรื่องค่าใช้จ่ายในการรับบริการ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายกลางที่จะให้แก่รพ.ต่างๆ” นพ.วิศิษฎ์กล่าว และว่า ขอให้ประชาชนรับฟังข่าวสารจากทางสบส.ถึงความคืบหน้าดังกล่าว เพื่อให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจน ส่วนที่มีการระบุว่า ผู้ป่วยฉุกเฉินสีแดงมีอะไรบ้างเป็นข้อๆนั้น ยังไม่ใช่ ขอให้รอทางสบส.ก่อน


โดย: หมอหมู วันที่: 20 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:16:11:46 น.  

 
ยังไม่บังคับใช้ ห้าม รพ.เอกชนเก็บเงินป่วยฉุกเฉิน 72 ชม.แรก สบส.กำลังทำ กม.ลูก 3 ฉบับรองรับ
https://www.hfocus.org/content/2017/02/13473
Tue, 2017-02-21 10:28 -- hfocus

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เผยขณะนี้กฎหมายรักษาผู้ป่วยฉุกเฉิน 72 ชั่วโมงแรกตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 ที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 4 ยังไม่มีผลบังคับใช้ อยู่ระหว่างเร่งจัดทำกฎหมาย 3 ฉบับรองรับ พร้อมหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข กำหนดค่าใช้จ่ายการช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติโดยอาศัยพระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉินเป็นฐาน เพื่อเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบเพื่อประกาศใช้

นพ.วิศิษฎ์ ตั้งนภากร อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ ความคืบหน้าของการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ที่ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 4 ตามมาตรา 36 ที่กำหนดให้สถานพยาบาลทุกแห่งต้องควบคุมและดูแลให้มีการช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วยฉุกเฉิน ซึ่งอยู่ในสภาพอันตรายและจำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาล เพื่อให้พ้นจากอันตรายตามมาตรฐานวิชาชีพและตามประเภทของสถานพยาบาลนั้นๆ โดยเฉพาะการรักษาใน 72 ชั่วโมงแรกนั้น ขอยืนยันว่ายังไม่มีผลบังคับใช้ตามที่มีการนำเสนอในโซเซียลมีเดีย

นพ.วิศิษฎ์ กล่าวต่อว่า ในทางปฏิบัตินั้น จะต้องจัดทำกฎหมาย คือ ร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข 3 ฉบับ ได้แก่

1.ร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วย การกำหนดผู้ป่วยฉุกเฉิน

2.ร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วย หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วยฉุกเฉินและการระดมทรัพยากรและการมีส่วนร่วมการช่วยเหลือเยียวยาและจัดให้มีการส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลอื่น

และ 3. หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามมาตรา 36 โดยอาศัยพระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉินเป็นฐาน เพื่อให้ภาคเอกชนยึดเป็นแนวปฏิบัติ

ซึ่งขณะนี้กรม สบส.ได้เร่งดำเนินการจัดทำ และได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการสถานพยาบาลมาแล้ว โดยจะเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเห็นชอบ เพื่อนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีประกาศใช้ และหากร่างประกาศกระทรวงทั้ง 3 ฉบับ มีผลบังคับใช้ โรงพยาบาลเอกชนทุกแห่งต้องปฏิบัติตาม โดยห้ามเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลจากผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ

ทางด้าน นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กล่าวว่า ตามกรอบกฎหมายการรักษาผู้ป่วยฉุกเฉิน ตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 โรงพยาบาลเอกชนไม่มีสิทธิ์เรียกเก็บเงินก่อนทำการรักษาช่วยชีวิตที่ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ จะบอกว่าหากไม่มีเงินแล้วไม่รักษาไม่ได้ เพื่อคุ้มครองชีวิตของผู้ป่วยฉุกเฉิน โดยหากกฎหมายทั้ง 3 ฉบับ มีผลบังคับใช้ก็จะไม่มีการเรียกเก็บเงินค่ารักษาใดๆ จากญาติหรือผู้ป่วยภายใน 72 ชั่วโมง เนื่องจากจะมีกองทุนต่างๆ ได้แก่ กองทุนประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการ และกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มารับผิดชอบค่าใช่จ่ายส่วนนี้แทนตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามมาตรา 36 ซึ่งสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน จะเป็นฝ่ายกำหนดประเภท รายละเอียดของผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ


โดย: หมอหมู วันที่: 21 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:21:58:07 น.  

 
สธ.เร่งออกกฏกระทรวงฯ รับนโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่” ทันสงกรานต์นี้

https://www.hfocus.org/content/2017/02/13478
Tue, 2017-02-21 17:03 -- hfocus

ปลัด สธ.เผยนโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่” อยู่ระหว่างออกกฎกระทรวงตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาลฉบับใหม่ เสนอต่อคณะรัฐมนตรี ก่อนลงนามความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตั้งเป้าประกาศใช้สงกรานต์ปี 2560 นี้

นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า นโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่” (Universal Coverage for Emergency Patients : UCEP) มีวัตถุประสงค์ให้ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ได้ทุกแห่ง ทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชน เพื่อให้ได้รับการดูแลรักษาอย่างทันท่วงที โดยไม่ต้องสำรองจ่ายเงินในระยะ 72 ชั่วโมงแรก โดยดำเนินการร่วมกันในรูปแบบคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน ล่าสุดได้มอบหมายให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ จัดทำกฎกระทรวงตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2559 เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ ก่อนที่จะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงนามบันทึกความร่วมมือดำเนินการต่อไป

นพ.โสภณ กล่าวต่อว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้เร่งรัดดำเนินการนโยบายนี้อย่างต่อเนื่อง ตั้งเป้าให้เสร็จทันใช้ก่อนสงกรานต์ปี 2560 เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกและปลอดภัยจากการเจ็บป่วย/บาดเจ็บที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต ที่ยังเป็นปัญหาในการดำเนินงาน เกิดความเข้าใจไม่ตรงกันคือ นิยามผู้ป่วย การเบิกจ่ายเงิน รวมทั้งการดำเนินการหลังจากที่พ้นวิกฤติหรือหลังจากพ้น 72 ชั่วโมง โดยเฉพาะในส่วนของโรงพยาบาลเอกชน ที่มีบางส่วนเข้าร่วมนโยบายโดยความสมัครใจ ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นมาตรฐานเดียวกัน ประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด การออกพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2559 จะช่วยให้การดำเนินการนโยบายนี้ เป็นไปอย่างเข้าอกเข้าใจกัน โรงพยาบาลไม่ปฏิเสธผู้ป่วยวิกฤต ไม่เรียกเก็บเงินล่วงหน้า มีระบบการเบิกจ่ายเงินเหมาะสม รวมทั้งมีโรงพยาบาลต้นสังกัดของแต่ละกองทุนรองรับ

“ส่วนกรณีที่มีแชร์ในสังคมออนไลน์ว่านโยบายนี้มีผลบังคับใช้นั้น ขอให้ประชาชนรับฟังข่าวสารของทางราชการ นโยบายนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการออกกฎกระทรวงฯ รองรับนโยบาย และให้คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ เพื่อให้มีผลบังคับใช้” นพ.โสภณ กล่าว

หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามที่สายด่วนสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) หมายเลข 0 2872 1610-9


โดย: หมอหมู วันที่: 21 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:21:58:58 น.  

 
ยังไม่บังคับใช้ ห้าม รพ.เอกชนเก็บเงินป่วยฉุกเฉิน 72 ชม.แรก สบส.กำลังทำ กม.ลูก 3 ฉบับรองรับ
Tue, 2017-02-21 10:28 -- hfocus
https://www.hfocus.org/content/2017/02/13473

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เผยขณะนี้กฎหมายรักษาผู้ป่วยฉุกเฉิน 72 ชั่วโมงแรกตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 ที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 4 ยังไม่มีผลบังคับใช้ อยู่ระหว่างเร่งจัดทำกฎหมาย 3 ฉบับรองรับ พร้อมหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข กำหนดค่าใช้จ่ายการช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติโดยอาศัยพระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉินเป็นฐาน เพื่อเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบเพื่อประกาศใช้

นพ.วิศิษฎ์ ตั้งนภากร

นพ.วิศิษฎ์ ตั้งนภากร อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ ความคืบหน้าของการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ที่ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 4 ตามมาตรา 36 ที่กำหนดให้สถานพยาบาลทุกแห่งต้องควบคุมและดูแลให้มีการช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วยฉุกเฉิน ซึ่งอยู่ในสภาพอันตรายและจำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาล เพื่อให้พ้นจากอันตรายตามมาตรฐานวิชาชีพและตามประเภทของสถานพยาบาลนั้นๆ โดยเฉพาะการรักษาใน 72 ชั่วโมงแรกนั้น ขอยืนยันว่ายังไม่มีผลบังคับใช้ตามที่มีการนำเสนอในโซเซียลมีเดีย

นพ.วิศิษฎ์ กล่าวต่อว่า ในทางปฏิบัตินั้น จะต้องจัดทำกฎหมาย คือ ร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข 3 ฉบับ ได้แก่

1.ร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วย การกำหนดผู้ป่วยฉุกเฉิน

2.ร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วย หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วยฉุกเฉินและการระดมทรัพยากรและการมีส่วนร่วมการช่วยเหลือเยียวยาและจัดให้มีการส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลอื่น

และ 3. หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามมาตรา 36 โดยอาศัยพระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉินเป็นฐาน เพื่อให้ภาคเอกชนยึดเป็นแนวปฏิบัติ

ซึ่งขณะนี้กรม สบส.ได้เร่งดำเนินการจัดทำ และได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการสถานพยาบาลมาแล้ว โดยจะเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเห็นชอบ เพื่อนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีประกาศใช้ และหากร่างประกาศกระทรวงทั้ง 3 ฉบับ มีผลบังคับใช้ โรงพยาบาลเอกชนทุกแห่งต้องปฏิบัติตาม โดยห้ามเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลจากผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ

ทางด้าน นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กล่าวว่า ตามกรอบกฎหมายการรักษาผู้ป่วยฉุกเฉิน ตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 โรงพยาบาลเอกชนไม่มีสิทธิ์เรียกเก็บเงินก่อนทำการรักษาช่วยชีวิตที่ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ จะบอกว่าหากไม่มีเงินแล้วไม่รักษาไม่ได้ เพื่อคุ้มครองชีวิตของผู้ป่วยฉุกเฉิน โดยหากกฎหมายทั้ง 3 ฉบับ มีผลบังคับใช้ก็จะไม่มีการเรียกเก็บเงินค่ารักษาใดๆ จากญาติหรือผู้ป่วยภายใน 72 ชั่วโมง เนื่องจากจะมีกองทุนต่างๆ ได้แก่ กองทุนประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการ และกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มารับผิดชอบค่าใช่จ่ายส่วนนี้แทนตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามมาตรา 36 ซึ่งสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน จะเป็นฝ่ายกำหนดประเภท รายละเอียดของผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ


โดย: หมอหมู วันที่: 9 มีนาคม 2560 เวลา:23:13:01 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 763 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]