Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ขอนแก่นโมเดล .. ดีจริงหรือ ??? .. ลองมาฟังความเห็น ข้อกังวลใจ ของจักษุแพทย์

หลายท่านคงได้ทราบข่าว ผู้ป่วยที่ตาบอดหลังจากไปผ่าตัดต้อกระจก ที่ รพ.ขอนแก่น ..

ถ้าจำไม่ได้ ก็ลองแวะไปอ่านข่าวนี้ในเวบมติชนออน์ไลน์ ก็ไดครับ พาดหัวนี้เลย ..

" ผ่าตัดตาต้อกระจกบอดสนิทอีก 3รวมเป็น 10ราย รพ.ขอนแก่นควักลูกตาใส่ตาเทียมจ่ายเงินชดเชยคนละ 5 หมื่น "

วันที่ 07 มกราคม พ.ศ. 2553 เวลา 17:54:34 น

//www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1262862364&grpid=00&catid=00


หรือจะใช้คำค้นว่า " ผ่าตัดต้อกระจก ขอนแก่น" ในกูเกิล ก็ได้ มีเพียบ ..


หลังจากนั้น ก็มีหลายคนออกมาชื่นชม การบริหารจัดการ ของ รพ.ขอนแก่น ทั้ง ผอ. แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ทุกคน ที่ช่วยกันดูแลจัดการปัญหานี้ จนผลออกมาเป็นที่มาพึงพอใจ จนเรียกกันว่า " ขอนแก่นโมเดล "..

//mx.kkpho.go.th/uc/index.php?option=com_content&task=view&id=700&Itemid=2




ผมได้อ่านหนังสือ " เหตุเกิดที่ขอนแก่น เมื่อ รพ.พลาดแต่คนไข้ให้พร " ก็ต้องขอชื่นชม ผอ. แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ รวมถึงผู้เกี่ยวข้องทุกท่าน ที่ได้ช่วยกันดูแลแก้ไขปัญหา ที่เกิดขึ้น ..

หนังสือเล่มนี้ เป็นหนังสือที่ดีมาก รพ. ควรมีทุกแห่ง ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ( แพทย์ ทันตะ เภสัช พยาบาล ฯลฯ ) ควรได้อ่าน เพราะจะได้เห็นแนวทาง วิธีจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น (ผลข้างเคียง ภาวะแทรกซ้อน ) ในการรักษา ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้น และ ทุกคนก็มีโอกาสได้พบกับปัญหาทำนองนี้


นอกจากคำชื่นชมแล้ว สิ่งที่ผมอยากจะเสนอก็คือ " ความคิดเห็น ข้อกังวลใจ ของจักษุแพทย์ " ซึ่งผมก็คิดว่า ถ้าแทนคำว่า "จักษุแพทย์ " เป็นคำว่า " ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ( แพทย์ ทันตะ เภสัช พยาบาล ฯลฯ ) " ก็คงได้อารมณอย่างเดียวกัน

ลองอ่านดูก่อนนะครับ ..














ถ้ามาตรการเพิ่มคุณภาพ ลดความเสี่ยง ป้องกันการติดเชื้อ ของ รพ.ขอนแก่น ในขอนแก่นโมเดล เป็นสิ่งที่หลายท่านชื่นชม ..

- วัสดุอุปกรณ์ ใช้แล้วทิ้ง .. ไม่นำไปทำความสะอาดแล้วกลับมาใช้ใหม่

- ลดปริมาณผู้ป่วยผ่าตัด ไม่เกิน ๗ คน ต่อวัน





ลองมาคิดต่อกันว่า ..

๑. รพ.รัฐ ทุกแห่ง ควรทำแบบนั้น ถ้าไม่ทำก็แสดงว่า คุณภาพไม่ดี มีความเสี่ยงสูง ไม่ได้คุณภาพ ใช่หรือไม่ ???


๒. แล้วถ้า รพ.ทำแบบนั้นเพื่อให้ได้มาตรฐานที่ดีขึ้น

- ค่าใช้จ่าย ที่เพิ่มขึ้น จะเอามาจากไหน ในเมื่อ รพ.ไม่มีเงิน ???

- ผู้ป่วยที่ รอคิวผ่าตัด นาน ๆ จะทำอย่างไร ???

( ถ้าจำกัด ปริมาณผู้ป่วยนอก จากที่ต้องตรวจ เกือบร้อยคนต่อวัน เหลือสัก ๑๐ คนต่อวัน มาตรฐาน คุณภาพ ก็คงดีขึ้นเหมือนกัน )


๓. ขอนแก่นโมเดล เป็นวิธีการจัดการปัญหา ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าชื่นชม และ เอาแบบอย่าง ... แต่ว่าในแง่ของมาตรการเพิ่มคุณภาพ ลดความเสี่ยง เป็นสิ่งที่เหมาะสม น่าชื่นชม จริงหรือ ???



คำถามเหล่านี้ ก็คงต้องฝากช่วยกันคิดต่อ นะครับ ..




แถม ..


ห้องตรวจในโรงพยาบาลของรัฐ ... กับ ... ความลับของผู้ป่วย

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=06-05-2010&group=7&gblog=55


เมื่อร่างพรบ.คุ้มครองฯ เป็นกฎหมาย การดูแลผู้ป่วยโดยหลักการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์จะไม่เกิดขึ้นอีกต่อไป

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=11-10-2010&group=7&gblog=110





Create Date : 20 ธันวาคม 2553
Last Update : 20 ธันวาคม 2553 12:16:02 น. 1 comments
Counter : 3344 Pageviews.  

 
มีผู้สอบถาม ข้อมูลเกียวกับหนังสือ ฯ ผมเลยนำมาลงเพิ่ม ...ผมก็ลืมไปจริงๆ ..

หนังสือเล่มนี้ จัดพิมพ์โดย สำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสาธารณสุข (สวค)

//www.hrdothai.org/

โทรฯ 02-590-2396 02-590-2366-67

มีเวบให้โหลด มาอ่านด้วยนะครับ ลองอ่านดูก่อนก็ได้

//ihppthaigov.net/publication/publication_research_show.php?id=209


//ihppthaigov.net/publication/attachresearch/209/chapter1.pdf

//ihppthaigov.net/publication/attachresearch/209/chapter2.pdf



โดย: หมอหมู วันที่: 16 มกราคม 2554 เวลา:0:44:45 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 763 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]