Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ทุ่ม 4 หมื่นล้าน ผลิตแพทย์เพิ่มมหา'ลัยรัฐ-เอกชน เปิดคณะรองรับ



ทุ่ม 4 หมื่น ล.ผลิตแพทย์เพิ่มมหา'ลัยรัฐ-เอกชนเปิดคณะรองรับ
Wed, 2013-03-13 13:48
//www.healthfocus.in.th/content/2013/03/2548


ปัจจุบันประเทศไทยมีแพทย์ที่ปฏิบัติงานอยู่ประมาณ 3 หมื่นคน เทียบกับจำนวนประชากรไทยขณะนี้ประมาณ 64 ล้านคน หรือเรียกได้ว่า แพทย์ 1 คน จะต้องดูแลประชากร ที่วันหนึ่งอาจต้องเข้าใช้บริการทางการแพทย์ถึง 2 พันคน ยังไม่นับรวมประชากรแฝง อย่างคนต่างด้าวหรือชาวต่างชาติที่เดินทางมาใช้บริการทางการแพทย์ในประเทศไทยที่มีจำนวนมากขึ้นทุกปี

โดยสัดส่วนของแพทย์ต่อประชากรที่สมดุลและมีการดูแลอย่างทั่วถึงนั้น จะต้องมีแพทย์ 1 คนต่อประชากร 500 คน หมายความว่าในจุดสมดุลไทยจะต้องมีแพทย์ 1.2 แสนคน และยังมีความต้องการแพทย์เพิ่มอีกกว่า 9 หมื่นคน

ถึงแม้คณะแพทยศาสตร์จะเป็นคณะฮอตฮิตของเด็กที่เรียนสายวิทยาศาสตร์มาโดยตลอด แต่กลับถูกจำกัดด้วยจำนวนที่นั่ง ในมหาวิทยาลัย ซึ่งมีเพียง 20 แห่งที่ เปิดรับ ทำให้การผลิตแพทย์มีความขาดแคลน อย่างไรก็ดี รัฐได้เข้ามาดูแลปัญหานี้อย่างเป็นรูปธรรม ขณะที่มหาวิทยาลัยรัฐและเอกชนได้ขยายแนวทางในการเพิ่มจำนวนนักศึกษาให้มากขึ้น

ทุ่ม 4 หมื่นล้านผลิต 9 พันคน

เมื่อ 18 ธ.ค. 2555 คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบให้ดำเนินโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทยปี 2556-2560 เพื่อผลิตแพทย์ให้เพียงพอต่อความต้องการด้านบริการการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศ แก้ปัญหาการกระจายแพทย์ตามภูมิภาค โดยมีเป้าหมายผลิตแพทย์เพิ่ม 5 รุ่น จำนวน 9,039 คน ประกอบด้วยโครงการผลิตแพทย์เพิ่ม โดยกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) 4,038 คน และโครงการผลิตแพทย์ชนบทเพิ่ม ภายใต้ความร่วมมือของ ศธ. และกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) 5,001 คน จากการผลิตแพทย์ตามแผนปกติที่มีอยู่เดิม 4,780 คน

เมื่อรวมแล้วเป็นการผลิตแพทย์ 13,819 คน และได้อนุมัติงบประมาณกว่า 4 หมื่นล้านบาทสำหรับการผลิตแพทย์เพิ่มให้กับสถาบันฝ่ายผลิตแพทย์ สธ. และโรงพยาบาลที่ผ่านการรับรองจากแพทยสภา

นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 12 ก.พ.ที่ผ่านมา ครม.ได้เห็นชอบงบประมาณกว่า 4 พันล้านบาท สำหรับโครงการก่อสร้างศูนย์การแพทย์พร้อมระบบสาธารณูปโภคของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ในการสร้างอาคารศูนย์การแพทย์ให้บริการทางการแพทย์เฉพาะทาง เพื่อรองรับการบริการที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

ม.รัฐเปิดหลักสูตรเพิ่ม

ในปีการศึกษา 2556 มีมหาวิทยาลัยรัฐ 2 แห่งที่เริ่มเปิดหลักสูตรด้านการแพทย์ แห่งแรกคือมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ที่เพิ่งเปิดสำนักวิชาแพทยศาสตร์ไปเมื่อเร็ว ๆ นี้

"รศ.ดร.วันชัย ศิริชนะ" อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เปิดเผยว่า ในหลักสูตรดังกล่าวจะเปิดรับนักศึกษารุ่นแรก 32 คน หากมีความพร้อมด้านการเรียนการสอนมากขึ้นก็จะรับเพิ่มเป็น 48 คน และ 60 คนตามลำดับ โดยมหาวิทยาลัยจะเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาสามารถประกอบอาชีพรับผู้ป่วยต่างชาติและผู้ป่วยเขตร้อนด้วย

"ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการขอ งบประมาณรัฐบาลประมาณ 2.3 พันล้านบาท เพื่อก่อสร้างโรงพยาบาลขนาด 400 เตียง เพื่อรองรับการฝึกงานของนักศึกษา และใช้เป็นงบประมาณจัดหาอาจารย์และบุคลากร ระหว่างนี้ได้ร่วมมือกับโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ และโรงพยาบาลกลางของกรุงเทพมหานคร สำหรับเป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 5-6 ไปก่อน"

เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อยู่ในระหว่างการเตรียมเปิดสอนหลักสูตรแพทยศาสตร์ ภาคภาษาอังกฤษ เป็นแห่งแรกของประเทศ โดยมีแผนจะรับนักศึกษาจำนวน 30 คนในปีการศึกษา 2556

นอกจากนี้ สภามหาวิทยาลัยยังได้อนุมัติให้มีการจัดตั้งวิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติ

ในปี 2558 เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และเปิดสอนหลักสูตรแพทยศาสตร์นานาชาติ คาดว่าจะรับนักศึกษาปีละ 40 คน โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลักคือนักศึกษาจากประเทศตะวันออกกลาง และจะมีการจัดสรรทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาจากประเทศลาว, เวียดนาม และกัมพูชาด้วย

มหา'ลัยเอกชนขยับเปิดแห่งที่ 2

สำหรับมหาวิทยาลัยเอกชนที่เปิดวิทยาลัยแพทยศาสตร์มา 24 ปี อย่างมหาวิทยาลัยรังสิต ผลิตแพทย์ไปแล้วกว่า 1,200 คน โดยนักศึกษาที่จบไปส่วนใหญ่เลือกทำงานในโรงพยาบาลของรัฐ โดยในปีนี้มีแผนรับ นักศึกษาแพทย์เพิ่มขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา จากเดิม 100 คน เป็น 130 คน

"ผศ.ดร.นเรฏฐ์ พันธราธร" รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่า เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาเราได้ทำความร่วมมือกับสถาบันร่วมผลิตแพทย์ กรมการแพทย์ เพื่อส่งนักศึกษาไปฝึกปฏิบัติ ในโรงพยาบาล เช่น โรงพยาบาลราชวิถี และสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ มหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก) ปีนี้จึงขยาย ความร่วมมือกับโรงพยาบาลเลิดสิน เพิ่มเติม และมีการเปิดรับนักศึกษาเพิ่ม โดยมีค่าเทอมของวิทยาลัยแพทยศาสตร์ตกปีละ 4.5 แสนบาท

และล่าสุดปีนี้มหาวิทยาลัยสยามได้เปิดตัวคณะแพทยศาสตร์ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งที่ 2 ที่เปิดสอนในคณะดังกล่าว

"ดร.พรชัย มงคลวนิช" อธิการบดีมหาวิทยาลัยสยาม เล่าว่า ทางมหาวิทยาลัยต้องการผลิตแพทย์เข้ามารองรับความต้องการของประชาชน โดยเฉพาะคนที่อยู่พื้นที่ต่างจังหวัด อีกทั้งการเปิดประชาคมอาเซียนจะทำให้คนจากประเทศอาเซียนเข้ามาใช้บริการสาธารณสุขในไทยมากขึ้น

"เราร่วมมือกับโรงพยาบาลตำรวจในการเป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์ ซึ่งมีประสบการณ์การสอนกว่า 20 ปี กับการฝึกนักศึกษาแพทย์ให้กับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยมหิดล และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้ตั้งเป้ารับนักศึกษารุ่นแรก 48 คน มีค่าเทอมอยู่ที่ 5 แสนบาทต่อปี"

"พล.ต.ท.น.พ.จงเจตน์ อาวเจนพงษ์" นายแพทย์ใหญ่ (สบ 8) โรงพยาบาลตำรวจ ให้มุมมองเกี่ยวกับการผลิตแพทย์ ว่า ประเทศไทยควรเปลี่ยนนโยบายด้านการผลิตแพทย์ที่ยึดติดกับสถาบันการศึกษาของรัฐ และไม่เชื่อมั่นในมาตรฐานภาคเอกชน

"จากผลการสอบใบประกอบโรคศิลปะ พบว่าอัตราการสอบได้ของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเอกชนเทียบเท่าหรือมากกว่านักศึกษาจากภาครัฐบาล ซึ่งเห็นว่าควรมีความร่วมมือกัน เพราะภาครัฐมีบุคลากรที่มีความสามารถ ขณะที่ภาคเอกชนก็มีเงินลงทุนและการบริหารจัดการที่ดี ถ้ามารวมกันก็จะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ ช่วยเหลือประเทศชาติได้"

อาจเป็นทางเลือกและทางรอดของประเทศที่จะช่วยผลิตแพทย์ให้มากขึ้น เพื่อรองรับด้านสาธารณสุขของคนไทยที่มีความต้องการเพิ่มขึ้นทุกปี

ที่มา: หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 14 - 17 มี.ค. 2556




กระทู้ ที่เกี่ยวข้อง ล่าสุด ..  มีคนแจมเพียบ ..  

เมืองไทยแพทย์น้อยจัง มหาลัยแพทย์น่าจะรับนิสิตเยอะกว่านี้
//pantip.com/topic/30181761/comment23

คงต้องรอติดตามกันต่อไปว่า จะแก้ไขปัญหา หรือ จะกลายเป็นปัญหาใหม่  ?





นำข้อมูลมาฝาก ...

แพทยสภา สรุปข้อมูล 2555

โหลดเอกสาร pdf ได้ที่ .. //www.mediafire.com/?qb2jxznghu0p9qo


แถม บทความเกี่ยวกับ การลาออกของแพทย์ ด้วยละกัน ..


จริงหรือ ? อาชีพในฝันปัจจุบัน ไม่ใช่ยุคของ "แพทย์" ! ....    
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-03-2009&group=7&gblog=20

ทำไม ผมถึงลาออกจากราชการ .... เรื่องเก่าเขียนไว้ตั้งแต่ปี 2551 เอามาเล่าสู่กันฟัง     
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-01-2011&group=15&gblog=37

ปัญหาสาธารณสุขไทย ความจริงของ “แพทย์ไทย” กับอนาคตไร้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ    
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-11-2012&group=7&gblog=169

สาเหตุที่ทำให้แพทย์ลาออกจากราชการ ... เคยมีการวิจัยมาเพียบ เมื่อไหร่จะเริ่มแก้ไข ???    
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-02-2010&group=7&gblog=140

หมอไทยวิกฤติแล้ว คนเก่ง ยี้ เรียนแพทย์ ....    

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=02-03-2009&group=7&gblog=19







29 มีนาคม 2013 ·
ผมอยากให้ผู้บริหารเลิกบ่นเรื่องการผลิตแพทย์เพิ่มเหมือนแผ่นเสียงตกร่องเสียที ?!?!
แพทยสภาผลิตแพทย์เพิ่มมากจนเรากังวลว่ามากกว่านี้ เราจะได้ "คุณภาพ"ที่ต่ำเท่าเพื่อนบ้านแล้ว
/ความเหนือกว่าของเราคือคุณภาพ ไม่ใช่ปริมาณ /

วันนี้ ปี2556 รับนักเรียนแพทย์ปี1จำนวน2800 และจะจบในอนาคต น้องๆเหล่านี้รัฐบาลมีตำแหน่งให้จริงหรือ /จะให้เขาไปอยู่ที่ไหน คุณภาพชีวิตอย่างไร /

วันที่1เมษายน2556 ผมท่านนายก และเลขาธิการแพทยสภา ต้องไปปฐมนิเทศน์น้องลงพื้นที่ในชุมชนของ สธ./ปีนี้ที่จบทั้งหมดตัวเลขที่ผม 2126คน และเพิ่มทุกปีจนครบ2800 คนต่อปี หมายความว่า รพ.สธ.ในอนาคต 840 แห่งต้องรับแพทย์เพิ่มที่ละ 3คนต่อปีทุกปี รพ.เล็กๆจำนวนหลายร้อยแห่ง ที่มีหมอ 5 คนต้องเตรียมตำแหน่งเพิ่มด้วย เป็น 8-11-14 ใน3ปี หากไม่ลาออก ซึ่งดีขึ้นแน่นอน การผลิต ชนะการลาออกแน่ๆ /หมายความว่ารัฐต้องเตรียมงบจ้างเฉพาะหมอจบใหม่ ราว2แสนบาทต่อคนต่อปี ปีละ 560 ล้านบาทเริ่มต้นไม่รวมเบี้ยเลี้ยงอีกกว่า 300 ล้านบาทเริ่มต้น เป็น ราว900ล้านบาท ในกระทรวงต่างๆ ตามแพทย์ที่จบ โดย 85%อยผู่ในกระทรวงสาธารณสุข สะสมไปเรื่อยๆ/ เรากังวลปัญหานี้มานานแล้ว /รพ.เอกชนไม่มีทางจะรับแพทย์ปีละ2000กว่าคนได้แน่นอนครับ /

..สิ่งที่ต้องทำต่อคือวางแผน
กำลังพลบน "ข้อเท็จจริง" ในแพทย์ทั้ง 4เสาหลัก คือ รร.แพทย์ สธ. รัฐอื่นๆ และเอกชน ให้สอดคล้องกันได้แล้วครับ โดยเอาประชาชนเป็นที่ตั้ง /ก่อนจะเกิดภาวะสับสนที่ดึงบุคลากรคุณภาพกันเอง/ ซึ่งหาก สธ.ไม่ปฎิรูปขยายระบบให้ทัน ปัญหาที่เกิดขึ้นใหม่จะซับซ้อนกว่าเก่าแน่ ยิ่งถ้า AEC มายุ่งด้วยนะครับ /...

โปรดอย่ามองแค่การผลิต ทุกชีวิตหมอต้องมี"ทางเดิน"ให
้เขาครับ !?!

.......................
วันที่: 4 ก.พ. 60

แพทยสภามึนมหา’ลัยแห่เปิด ‘หมอ’ ห่วง ‘ไร้คุณภาพ-ล้น’ เผย ‘มรภ.นครปฐม-สจล.-ม.พายัพ’ ขอเปิดคณะแพทย์
//www.matichon.co.th/news/450934

นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา เปิดเผยกรณีที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าขณะนี้มหาวิทยาลัยหลายๆ แห่ง ขยายการเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนด้านการแพทย์ ทั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) และสถาบันเทคโนโลยี ทั้งที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในด้านอื่นๆ ว่า เนื่องจากรัฐบาลได้กำหนดเอาไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ให้อิสระมหาวิทยาลัยในการเปิดหลักสูตรต่างๆ ได้ ซึ่งส่วนตัวคิดว่าค่อนข้างอันตราย ดังนั้น ในส่วนของแพทยสภา จะเข้มงวดหลักเกณฑ์การเปิดสอนคณะแพทยศาสตร์ให้มากขึ้น ทั้งจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตรที่จะต้องมีครบตามที่กำหนด รวมถึง จะต้องมีโรงพยาบาลรองรับการฝึกปฏิบัติของนักศึกษาด้วย ซึ่งเท่าที่ทราบขณะนี้มีมหาวิทยาลัยขอเปิดสอนในหลักสูตรแพทยศาสตร์แล้ว 3 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) นครปฐม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และมหาวิทยาลัยพายัพ ขณะเดียวกันยังมีมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่งขอขยายจำนวนรับนักศึกษาแพทย์ต่อปีเพิ่มขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับต้นทุนในการจัดการเรียนการสอน

นพ.สมศักดิ์กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ การที่มหาวิทยาลัยขอเปิดสอนคณะแพทยศาสตร์ และขอขยายจำนวนรับนักศึกษาเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดข้อกังวลว่าจะขาดคุณภาพ เพราะจำนวนอาจารย์แพทย์ปัจจุบันมีจำกัด และการผลิตแพทย์สาขาใดก็ตามในปริมาณมาก จะกระทบกับคุณภาพการจัดการศึกษาตามมา อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนคณะแพทยศาสตร์ 22 แห่ง มีนักศึษาแพทย์เข้าเรียนปีละประมาณ 3,000 คน ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการ หากผลิตเพิ่มขึ้นก็อาจล้น หรือปริมาณเกินความต้องการ ส่วนหนึ่งเพราะอัตราการเกิดลดลง แม้จะมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น แต่จำนวนแพทย์ที่อยู่ในระบบกว่า 50,000 คน ยังถือว่าเพียงพอต่อความต้องการ

“ปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยเปิดสอนคณะแพทย์อยู่แล้ว 22 แห่ง และกำลังจะขอเปิดเพิ่มอีกอย่างน้อย 3 แห่ง ยังไม่นับรวมการรับนักศึกษาแพทย์เข้าเรียนผ่านโครงการพิเศษต่างๆ และนักศึกษาไทยที่ไปเรียนคณะแพทยศาสตร์ในต่างประเทศ อย่างสหรัฐอเมริกา ผมไม่กังวล เพราะมีคุณภาพ และได้รับการรับรอง แต่ที่กังวลคือคนที่ไปเรียนคณะแพทย์ศาสตร์ในจีน ฟิลิปปินส์ รัสเซีย โปรแลนด์ และอินเดีย ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่ไปเรียนในประเทศเหล่านี้ จะสอบไม่ผ่านเกณฑ์ประเมินเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบโรคศิลป์ของไทย ทั้งนี้ จะมีนักศึกษาแพทย์จบใหม่เฉลี่ยร้อยละ 6 ต่อปี ดังนั้ ผมอยากให้มหาวิทยาลัยที่เตรียมจะเปิดสอนหลักสูตรแพทยศาสตร์ดูความพร้อมของตนเองให้ดี ไม่อยากให้การผลิตแพทย์เป็นธุรกิจการศึกษา หากเปิดสอนมากเกินไป จบออกมานักศึกษาอาจไม่มีงานทำ แม้บางแห่งจะให้เหตุผลว่าเปิดสอนแพทย์เพื่อส่งออกไปทำงานยังต่างประเทศ แต่หากไม่มีคุณภาพ ก็ไม่สามารถสอบใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะผ่าน ทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาอีกมาก” นพ.สมศักดิ์กล่าว

นพ.สมศักดิ์กล่าวต่อว่า สำหรับแนวทางแก้ไขในเบื้องต้น ทางแพทยสภาจะเข้มงวดในเรื่องการคัดกรองมหาวิทยาลัยที่จะเปิดสอนหลักสูตรแพทยศาสตร์ให้มากขึ้น หากมหาวิยาลัยใดผลิตบัณฑิตที่ไม่มีคุณภาพ สอบใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะผ่านได้น้อย ก็อาจต้องปิดหลักสูตร





Create Date : 17 มีนาคม 2556
Last Update : 4 กุมภาพันธ์ 2560 16:03:57 น. 0 comments
Counter : 4103 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 763 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]