Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ขยะใต้พรม พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสธ. ... โดย doctorlawyer





นำมาฝากจาก เวบ ไทยคลินิก ... กระทู้ หัวข้อ 7278: ขยะใต้พรม พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสธ. (จำนวนคนอ่าน 420 ครั้ง)

//www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action=display;num=1286481484;start=;mstate=0


จนถึงบัดนี้ (ตุลาคม ๒๕๕๓) ยังไม่ได้ข้อสรุปว่า รัฐบาลโดยรัฐมนตรีสาธารณสุขจะเอาอย่างไรกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับกฎหมายนี้ ซึ่งทางผู้ผลักดันคงนึกไม่ถึงว่าจะโดนต่อต้านอย่างรุนแรงจากบุคลากรสาธารณสุขเช่นนี้ ความเชื่อมั่น ไม่กังวล ไม่แคร์และไม่เชื่อว่ากลุ่มบุคลากรสาธารณสุขโดยเฉพาะแพทย์จะรวมตัวกันและดำเนินกิจกรรมทางการเมืองต่อสู้กับกลไกของมูลนิธิที่ฝังรากลึกมานาน คงเปลี่ยนไปไม่มากก็น้อย

จนถึงบัดนี้เวลาล่วงผ่านมาไม่น้อยกว่า ๖ เดือนนับแต่มีการเข้ายื่นต่อสภาเพื่อให้ผลักดันเป็นกฎหมาย ทางมูลนิธิคงนึกไม่ถึงว่ากิจกรรมทางการเมืองของมูลนิธิที่ไม่เคยถูกต่อต้านจะถูกเหยียบเบรกหัวทิ่มเช่นนี้ แต่เชื่อว่ามูลนิธิเองก็คงไม่ยอมแพ้อย่างเด็ดขาด เพราะหากแพ้ นั่นหมายถึงเครดิตที่มีอยู่ เงินทุนที่เคยได้รับการสนับสนุนจะมีปํญหา เพราะทำงานไม่แล้วเสร็จตามเป้าหมายและอาจมีการเปลี่ยนแปลงตัวบุคคลครั้งใหญ่ เกิดขึ้น

การผลักดันแรกเริ่มด้วยการพยายามหว่านล้อมถึงหลักการและเหตุผลที่ดูสวยหรู ต่อประชาชนที่ไม่มีความรู้เรื่องกฎหมาย เปลี่ยนไปเป็นการขอให้แพทย์ที่อยู่ในกลุ่มสังกัดเดียวกับตนมาเป็นประชาสัมพันธ์ให้เพื่อทำให้ประชาชนไขว้เขว แพทย์เหล่านี้มีทั้งกลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนจากฐานเสียงของมูลนิธิให้เป็นใหญ่เป็นโต และมีทั้งที่มีอำนาจบารมีมากพอที่จะสนับสนุนการทำงานของมูลนิธิในทางอ้อม และในที่สุดเปลี่ยนไปเป็นการดิสเครดิตฝ่ายที่คัดค้านด้วยเหตุผลที่ดูไร้น้ำหนักและไม่ใช่ข้อเท็จจริง

ไม่ว่าเรื่องนี้จะลงเอยเช่นไร ผู้เขียนรู้สึกว่าปัญหาในการทำความเข้าใจในเนื้อหาของกฎหมายนี้เป็นประเด็นหลักที่ทำให้หลายคนสับสน อีกทั้งการพยายามโฆษณาชวนเชื่อยิ่งทำให้เรื่องนี้ยากต่อการทำความเข้าใจ จึงขอสรุปเนื้อหาข้อเท็จจริงมาเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ



หลักการที่สับสนของกฎหมายนี้และผลกระทบที่จะตามมา


ผู้ผลักดันกฎหมายนี้ ตั้งconceptไว้ว่า การรักษาพยาบาล มีความหมายเท่ากับ การให้บริการ การขายสินค้าอุปโภคบริโภค โดยมีผู้ให้บริการคือเหล่าบุคลากรทางการแพทย์เป็นพ่อค้าแม่ค้า (ดังนั้น แพทย์ชายก็น่าจะเรียกว่า “ชายขายบริการ” ส่วนแพทย์หญิงหรือพยาบาลก็น่าจะเรียกว่า “....” ) และ อาศัยสถานพยาบาลหรือคลินิกเป็นโรงงานหรือหน้าร้าน (สถานที่ก่อเหตุ) ทั้งหมดนี้เป็นแนวคิดที่ล้อมาจาก พรบ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคที่ตนมีส่วนผลักดันให้บังคับใช้กับการรักษาพยาบาลแทนที่จะเป็นสินค้าทั่วไป เช่น รถยนต์ บ้านพัก สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น

ในขณะเดียวกันก็พยายามสร้างคำจำกัดความเกี่ยวกับ “ผลที่อาจเกิดได้จากการรักษาที่เป็นไปตามมาตรฐาน” เช่น ผ่าตัดแล้วติดเชื้อโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือติดเชื้อเพราะผู้ป่วยมีเบาหวานอยู่เดิม ติดเชื้อเพราะแผลสกปรกตั้งแต่เกิดเหตุ ซึ่งทางการแพทย์ไม่เรียกว่า “ความเสียหาย” ให้กลายเป็นความเสียหายตามมาตรา ๕ และ ๖ ของกฎหมายนี้ เพื่อที่จะทำให้ผู้ป่วยสามารถได้รับเงินเยียวยา (หลักล้านบาทขึ้นไป) และพยายามรณรงค์ให้ประชาชนเข้าใจว่า “ความเสียหาย”นี้เป็นอันเดียวกับ ความเสียหายในทางกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพื่อให้สามารถปรับไปใช้กับคำว่า “ละเมิด” หรือ “Tort” และสามารถนำไปต่อยอดในการฟ้องร้องทางแพ่ง(พ่วงอาญา)ได้อีกชั้นหนึ่ง

และเพื่อหลีกเลี่ยงการต่อต้านจากบุคลากรและประชาชน ก็พยายามรณรงค์ในทำนองว่า กฎหมายนี้ไม่พิสูจน์ผิดถูก ไม่เอาโทษใคร จึงตั้งกฎว่า “หากพิสูจน์ไม่ได้ ก็ให้ยกประโยชน์ให้ผู้ร้อง (เพราะผู้ร้องหรือโจทก์คือลูกค้าผู้มารับบริการ และ ลูกค้าย่อมถูกเสมอ!!) และให้กองทุนนำเงินภาษีอากรมาจ่ายเงินให้กับผู้ร้อง (ม. ๓๐ วรรคสาม) โดยเร็ว”

และเช่นกัน ทางมูลนิธิเองก็รู้ดีว่าการพิสูจน์ทราบดังกล่าวทำได้ยาก และตนไม่มีความรู้เพียงพอ แต่เนื่องจากต้องการเข้ามาควบคุมเงินมหาศาลนี้ และสามารถรับผลประโยชน์ตอบแทนจากงบบริหาร (๑๐ %) ในมาตรา ๒๐ วรรคสอง ซึ่งประมาณการณ์ว่าน่าจะเป็นหลักร้อยล้านหรือพันล้านต่อปีในเวลาไม่นาน จึงอ้างต่อประชาชนว่า “กฎหมายนี้ไม่แพ่งโทษ(?) จึงไม่จำเป็นต้องมีผู้มีความรู้ในวิชาชีพแพทย์เข้ามาเป็นกรรมการให้มากความ (ม. ๗) หากจะมีก็ขอแค่มีพอเป็นพิธีไม่ให้กระดากอาย เช่น ปลัดกระทรวง หรืออธิบดี ซึ่งทางมูลนิธิรู้ดีว่า บุคคลเหล่านี้ไม่มีเวลาว่างมานั่งประชุมเหมือนทีมงานตน”




ใครได้ประโยชน์จากกฎหมายนี้

แม้NGOจะตีฆ้องร้องป่าวว่า ประชาชนและแพทย์ได้ประโยชน์จากกฎหมายนี้ แต่มาลองดูว่าใครกันแน่ที่จะเป็นผู้ได้ประโยชน์ตัวจริง

(๑) ผู้ร้องที่สามารถทำตนให้เป็นผู้เสียหายตามม. ๕ + ๖ ซึ่งอาจไม่ใช่ผู้เสียหายตัวจริงในมุมมองทางการแพทย์ ดังได้กล่าวแล้ว และกลุ่มนี้น่าจะเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุดที่จะเข้ามาขอรับเงินจากกองทุ นนี้ โดยกรรมการที่มีคนนอกเข้ามาทำตัวเป็นผู้ทรงความรู้ทางการแพทย์ในมาตรา ๗

(๒) ผู้ที่สามารถหลุดเข้ามาเป็นบอร์ด กรรมการ อนุกรรมการ ของกองทุน สามารถได้ประโยชน์จากงบบริหาร ๑๐ % (คาดว่าหลักร้อยหรือพันล้านบาท) ตามมาตรา ๒๐ วรรคสอง


แล้วบุคลากรทางการแพทย์ละจะได้ประโยชน์อะไร เท่าที่อ่านดูรายมาตรา ไม่พบว่ามีมาตราไหนที่ให้ประโยชน์ นอกไปจากคำโฆษณาชวนเชื่อว่า ไม่หาคนผิด ไม่ฟ้องแพทย์ ไม่ลงโทษอาญา ซึ่งจะกล่าวต่อไปว่าเท็จจริงอย่างไร

ส่วนสถานพยาบาลได้ประโยชน์หรือไม่นั้น ก็ไม่พบว่ามีคุณอะไรต่อสถานพยาบาล แต่กลับมีสิ่งที่ระบุไว้ใน ม. ๒๑ ว่าด้วยการจ่ายเงินสมทบ ดังนั้น “แพทย์หรือสถานพยาบาลใดยิ่งทำงานมาก ก็ยิ่งเสี่ยงมาก ยิ่งต้องจ่ายสมทบมาก ยิ่งมีโอกาสเสื่อมเสียชื่อเสียง”

ดังนั้นหากกฎหมายนี้มีผลบังคับใช้ อะไรจะเกิดขึ้นกับระบบสาธารณสุขไทยที่สมเด็จพระราชบิดาทรงวางรากฐานไว้ เพราะเชื่อแน่ว่าวิธีลดผลกระทบดังกล่าวที่ดีที่สุดคือ “คนที่ไม่เคยทำอะไรผิดพลาด คือคนที่ไม่ทำอะไรเลย”




ผู้ทรงปัญญารู้แจ้งโดยไม่ต้องตั้งสติปัฏฐานสี่
คณะกรรมการที่จะมาตัดสินผิดถูกในเรื่องการรักษาพยาบาลนั้น เกินกว่าครึ่งหรือเกือบทั้งหมดก็ว่าได้ ล้วนเป็นบุคคลที่ไม่มีสภาวิชาชีพทางการแพทย์รับรอง

คำถามคือคนเหล่านี้มีปัญญารู้แจ้งในเรื่องทางการแพทย์ได้อย่างไร ???และตั้งแต่เมื่อใด ??? และหากมีทำไม่จึงไม่สวมหัวใจมนุษย์ลงมาช่วยกระทรวงสาธารณสุขในการตรวจรักษาผ่าตัดผู้ป่วยที่มีจำนวนมากมายทั่วไปประเทศ ในอัตราประชากร ๗๐ล้านคนต่อแพทย์ไม่เกิน ๓๐,๐๐๐ คน

และนอกเหนือจากผู้ทรงปัญญารู้แจ้งในม. ๗ แล้ว ยังมีผู้ทรงปัญญารู้แจ้งอีกคือ กรรมการชั่วคราวในมาตรา ๕๐ ที่เต็มไปด้วย NGO จำนวนมาก บุคคลเหล่านี้ล้วนแต่มีอภินิหารและสามารถสั่งการให้สถานพยาบาลปรับปรุงวิธีก ารรักษาตามที่ตนเห็นชอบ มิฉะนั้นจะใช้มาตรการทางการเงินมาเล่นงาน (ม. ๔๒)




ระบบศาลเตี้ยที่ถูกต้องตามกฎหมาย


พรบ.ฉบับ NGO นำเสนอ (ไม่ใช่ฉบับรัฐบาลที่มีDNAแฝงอยู่) ยังดึงเอาพรบ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคมาใช้ ด้วยการร้องปากเปล่า ไม่ต้องวางเงิน และสั่งให้มีการจ่ายสินไหมชดเชยความเสียหายทางจิตใจ

ดังนั้นสิ่งที่จะตามมาคือ เราจะเห็นผู้ร้องขอเงิน แสดงความทุกข์อย่างแสนสาหัส สุดจะบรรยาย เพื่อให้ได้สินไหมก้อนนี้ในอัตราที่สูงที่สุด และเช่นกัน เมื่อพิสูจน์ไม่ได้ก็ยกประโยชน์ให้โจทก์ (ม. ๓๐ วรรคสาม)

นอกจากนี้กฎหมายนี้ยังอนุญาตให้บอร์ดทำตัวเป็นศาลโดยเอา ปพพ. และ ปวพ. มาปรับใช้ในการจ่ายสินไหม แทนการใช้ดุลพินิจโดยศาลเอง (ม. ๓๐) ดังนั้นจึงเป็นที่น่าหวั่นเกรงว่าในอนาคต เราจะขาดแคลนผู้พิพากษาไปอีก เพราะบอร์ดชุดนี้มีอำนาจทั้งสั่งปรับ สั่งล้มละลาย สั่งจำคุก และหยิบเอา ปพพ.มาใช้โดยไม่ต้องจบนิติศาสตร์ เนติบัณฑิต และไม่ต้องสอบเป็นผู้พิพากษา

ของแถมจากกฎหมายนี้คือ อนุญาตให้เอาคำสั่งทางปกครองของศาลปกครองมาใช้บังคับทางแพ่งโดยไม่ต้องร้องต่อศาลแพ่ง เพื่อให้สถานพยาบาลล้มละลายได้ รวมทั้งการยึดทรัพย์ ปิดสถานพยาบาล (ม. ๒๑)



การพัฒนาระบบความปลอดภัยฉบับ “สมพงษ์ เลือดทหาร”

โฆษณาชวนเชื่ออีกอย่างของNGOที่พูดเป็นmotto ประจำไปแล้วคือ “กฎหมายนี้จะช่วยเพิ่มระบบความปลอดภัยให้ผู้ป่วย” ใครฟังก็ต้องชอบใจ เพราะที่ผ่านมาNGOรณรงค์ให้ประชาชนไม่ไว้วางใจบุคลากรทางการแพทย์และสภาวิชา ชีพได้สำเร็จแล้ว (คล้ายกรณีม็อบการเมือง เพื่อสร้างความชอบธรรมในการเคลื่อนไหว) เราลองมาดูระบบความปลอดภัยที่NGOเสนอให้กับประชาชนว่ามีอะไรบ้าง

(๑) การตัดสินผิดถูกในเรื่องทางการแพทย์ตามม. ๕ และ ๖ ทำโดยกรรมการในมาตรา ๗ ที่เต็มไปด้วยคนที่ไม่ต้องจบสายวิชาชีพทางการแพทย์ และตัดสินความถูกต้องทางการแพทย์ด้วยวิธียกมือเสียงข้างมาก (ม. ๑๑)

ดังนั้นเมื่อกฎหมายนี้ผ่านสภา น่าจะได้เห็นหลักสูตร “การเตรียมตัวเป็นNGO” เชื่อแน่ว่าจบมาแล้วจะมีงานทำ รายได้ดี มีอำนาจเหนือปลัด เหนือนักการเมือง แต่ไม่ต้องเลือกตั้ง ไม่ต้องถูกตรวจสอบ มีอาชีพรองรับมากมาย เช่น บอร์ดอัยการ บอร์ดผู้พิพากษา บอร์ดบัญชี บอร์ดตำรวจ บอร์ดวิศวกร บอร์ดสถาปนิก สารพัดบอร์ดวิชาชีพ หวังว่าบอร์ดเหล่านี้คงสามารถพัฒนาระบบความถูกต้องปลอดภัยให้กับวิชาชีพเหล่านี้ได้ดียิ่งขึ้น และเมื่อกม.นี้ผ่าน แพทยสภา ทันตแพทยสภา สภาการพยาบาล สภาวิชาชีพทางการแพทย์ สภาวิชาชีพอัยการ ตำรวจ ผู้พิพากษา เหล่านี้คงต้องถูกยุบในไม่ช้า เพราะไม่มีงานจะทำ

(๒) บอร์ดที่มียีนNGOเป็นยีนเด่นสามารถออกคำสั่งให้สถานพยาบาลดำเนินกิจการในทาง ที่ตนเห็นว่าถูกต้องชอบพอ โดยอาศัยม. ๔๒ ที่มีอำนาจเงินมาใช้บังคับ เหมือนกับที่สปสช.กระทำกับสถานพยาบาลและบุคลากรทั่วประเทศในทุกวันนี้ ดังนั้นเมื่อกม.นี้ผ่าน สำนักงานประกอบโรคศิลปะ กระทรวงสาธารณสุข สารพัดองค์กรของรัฐที่ควบคุมมาตรฐานสถานพยาบาล คงตกงานเป็นแถว



สร้างหลักประกันในการเลี้ยงดูประชาชนตลอดชีพ

นอกเหนือการรักษาฟรี ไม่มีเกี่ยงแล้ว ยังมีกลไกการให้เงินเลี้ยงดู (แถมการส่งเสริมการฟ้องร้อง) ดังนี้

(๑) เงินช่วยเหลือเบื้องต้น แบบด่วนได้ภายในไม่เกิน ๖๐ วัน ตามม. ๒๗ และเมื่อได้แล้ว ทุกคนต้องได้เงินก้อนต่อไปอีกสี่ก้อน

(๒) เงินชดเชยแบบทันใจ ตามม. ๓๐ ภายใน ๙๐ วัน (เฉพาะสองก้อนนี้ ไม่ต่ำกว่าหลักล้านบาท) หากได้ไม่มากพอตามที่ต้องการ ก็จะฟ้องแพ่งและอาญา แต่ไม่คืนเงินก้อนแรก แต่หากฟ้องแล้วตนแพ้ก็สามารถเปลี่ยนใจมารับเงินก้อนนี้ใหม่ได้อีก ตามม. ๓๔

(๓) เงินสะสมปันผลตามม. ๓๗ แบบไม่มีอายุความแน่นอน (นับแต่รู้ความเสียหาย) รับได้หลายครั้งจนกว่าจะตาย หากไม่ให้ก็จะฟ้องทั้งแพ่งและอาญา แต่ไม่คืนเงินสองก้อนแรก

(๔) เงินค่าทำสัญญาประนีประนอมใหม่หลังฉีกสัญญาเดิมไปแล้วตามม. ๓๘ หากให้ก็จะทำสัญญาประนีประนอมฉบับใหม่ (ม. ๓๙) หากไม่ให้ก็จะฟ้องทั้งแพ่งและอาญา แต่ไม่คืนเงินที่ได้ไปแล้ว

(๕) เงินค่าไถ่อิสรภาพ (Blackmail) ตามม. ๔๕ มิฉะนั้นจะร้องต่อศาลว่า “ผู้มีพระคุณที่ลงมือรักษาตนเองหรือญาติ” ไม่ยอมสำนึกผิด(ไหนว่าจะไม่หาคนผิด?) ไม่ยอมเยียวยา ห้ามศาลลดโทษอาญา

กฎหมายประชานิยมฉบับไหน ๆ ในโลกก็ไม่ดีเท่ากฎหมายที่ NGO สาขาประเทศไทยเสนอ เชื่อแน่ว่า NGO เหล่านี้คงมีตำแหน่งใหญ่โตในเวทีNGOโลกในไม่ช้า และนี่อาจจะเป็นกลไกการพัฒนาระบบความปลอดภัยแฝงที่พยายามนำเสนอ คือ “การให้เงินตลอดชีพ” เพื่อให้มีความปลอดภัยทางการเงินตลอดชีวิต รับรองว่า “คงไม่มีผู้ป่วยรายไหน ยอมพิการ ยอมตาย (แต่ยอมเจ็บนี่ไม่แน่)” เพื่อให้ได้เงินก้อนนี้ แต่ไม่รับรองว่าจะมีกรณี “ค้าประโยชน์จากความเจ็บ ความพิการ ความตาย ของญาติตนเอง” โดยผู้อนุบาล สามีภรรยาที่เลิกกันไปแล้ว หรือทายาทที่สาบสูญไปนานตามม. ๒๕ วรรคสอง



กฎหมายที่อายุความทางแพ่งยาวนานกว่าคดีอาญา ยิ่งกว่าคดีคอรัปชั่นทุจริต หรือ ฆ่าคนตายโดยเจตนา

แทบทุกมาตราที่มีบัญญัติเรื่องอายุความ จะใช้คำว่า ทันทีที่รู้สึกตัว “รู้ถึงความเสียหาย”แทนคำว่า “นับแต่เกิดการกระทำ” หรือหนักไปกว่านั้น ในฉบับ NGO แท้ ๆ ยังระบุให้อายุความสะดุดหยุดลง (ม. ๓๘ วรรคสอง) แทนที่จะเป็น อายุความสะดุดหยุดอยู่ (ม. ๒๖) ซึ่งอันแรกจะเป็นการนับหนึ่งใหม่ อันหลังเป็นการนับต่อจากของเดิม นอกจากนี้ยังมีอายุความหยุดแล้วหยุดอีกตามม. ๔๐

หากต้องการพิสูจน์ข้อเท็จจริงตามอายุความเจ็ดชั่วตระกูลนี้ สถานพยาบาล คลินิก ร้ายขายยา ต้องเก็บเอกสารทุกอย่างไว้ตลอดชีพของลูกค้า (ผู้รับบริการ) มิฉะนั้นอาจโดนปรับดอกเบี้ย ๒๔ % หรือหากเจ้าของกิจการ(ผู้อำนวยการ รมต. ปลัด ผู้บริหาร) หรือลูกจ้าง (บุคลากร)ละสังขารไปแล้ว อาจมีการตามไปสอบถามในสุขาวดี ก็เป็นได้ หรือหากไม่ได้เพราะอภิญญายังไม่แก่กล้า ก็ยกประโยชน์ให้ผู้ร้องตามมาตรา ๓๐




บอกว่าไม่แพ่งโทษใคร แต่บัญญัติเรื่องการเอาผิดเต็มไปหมด

มุมมองของผู้ผลักดันกม.นี้ มองว่า บุคลากรทางการแพทย์ ล้วนแต่ผู้ต้องสงสัย ผู้ก่อเหตุร้าย ที่กระทำขึ้นภายในสถานพยาบาล โดยมีสภาวิชาชีพคอยสนับสนุน ดังนั้นต้องนำตัวมาลงโทษ ดังนี้

(๑) ม. ๒๕-นับแต่รู้ตัวผู้กระทำผิด (ผู้ก่อให้เกิดความเสียหาย)

(๒) ม. ๓๗-นับแต่รู้ตัวผู้กระทำผิด

(๓) ม. ๔๕-ให้สำนึกผิด(ทั้ง ๆ ที่ไม่รู้ว่าตนผิดหรือไม่) ต่อผู้ร้องขอเงิน หาไม่แล้วจะไม่ลดโทษอาญา



เงินของข้าใครอย่าแตะ-อ้อยเข้าปากช้าง

เงินนี้มีที่มาที่สำคัญตามม. ๒๒ คือ เงินภาษีอากรของผู้เสียภาษี (ไม่เกิน ๑๐ % ของประชากร) กับ เงินที่สถานพยาบาลเอกชนสมทบ (ความเป็นจริงคือเงินของประชาชนที่สถานพยาบาลบวกเพิ่มในค่ารักษา) ส่วนเงินบริจาคคงไม่มีใครใจดีให้ นอกนั้นก็อาจมีดอกเบี้ยมหาโหด (๒๔%ต่อปี) ที่รีดนาทาเร้นมาจากสถานพยาบาลอีกเช่นกัน (ซึ่งก็คือเงินภาษีและเงินผู้ป่วยเอง)

นอกเหนือจะไปจ่ายเป็นค่าตึก ค่ารถประจำตำแหน่ง ค่าเบี้ยประชุมหลักหมื่นต่อสองสามชั่วโมง (บอร์ด สปสช.) ค่าน้ำมันรถ ค่าเดินทาง ค่าอาหาร ค่าเครื่องบินไปดูงาน ค่าสนับสนุนการวิจัยของเครือข่ายตนเอง ทุนแก่เครือข่ายเพื่อจ้างทำวิจัยหรือร่างกฎหมายการแพทย์ ค่าสนับสนุนสื่อมวลชนในสังกัด แล้ว ห้ามใครมาแตะต้อง แม้แต่กระทรวงการคลังที่เป็นคนส่งเงินนี้มาสมทบ เพราะ ม. ๒๒ วรรคสอง บอกว่าห้ามเอาเงินคืน ให้แล้วให้เลย และ ม. ๒๓ อนุญาตให้นำไปหาประโยชน์อื่นใดได้เพิ่มเติมภายใต้ความเห็นชอบของกท.การคลัง (ซึ่งไม่มีเวลามากพอที่จะมาตรวจสอบ) เช่น ซื้อหุ้นแบบกบข. อุดหนุนสินค้าบริการของเครือข่ายพรรคพวกตนเอง




บทสรุป – พรบ. เงิน เงิน เงิน

อ่านแล้วอ่านอีก ก็ไม่เข้าใจว่า พรบ.นี้จะบรรลุหลักการและเหตุผลที่โฆษณาสวยหรูได้อย่างไร หากจะมีใครได้ประโยชน์ชัด ๆ ก็คงไม่พ้น ผู้ผลักดันที่ได้หลายเด้ง เริ่มจากการได้เป็นบอร์ด กรรมการ อนุกรรมการ มีตำแหน่งมีหน้ามีตา แถมได้เงินมากกว่าบุคลากรที่หลังขดหลังแข็ง ทำงานแล้วโดนด่า เมื่อบอร์ดอนุมัติเงินให้ผู้ร้อง เขาและเธอเหล่านั้นก็จะกลายเป็นวีรสตรีวีรบุรุษในสายตาผู้ร้องขอ ซึ่งจะตามมาด้วยรางวัลบุคคลตัวอย่าง และแถมท้ายด้วยการเดินเข้าสภาผู้ทรงเกียรติด้วยการอ้างอิงผลงานอภิมหาประชาน ิยม แบบที่นักการเมืองทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาลต้องมาขอเป็นลูกศิษย์เรียนวิชา

ส่วนประชาชนแน่นอนว่าได้เงินก้อนใหญ่ เพียงแค่เดินเข้าสถานพยาบาลแล้วตั้งข้อสงสัยเรื่องการรักษาพยาบาลไว้ก่อน (จับผิดการทำงาน) โดยไม่ต้องไปสนใจปัญหาข้อจำกัด ความขาดแคลนของระบบ กระทรวงสาธารณสุขน่าจะได้รางวัลดีเด่น “รักษาฟรี งบประมาณจำกัด มาตรฐานสูง ไร้ปัญหา แต่หากเสียหายก็เลี้ยงดูตลอดชีพ โดยไม่ต้องพิสูจน์ผิดถูก” เอวัง ก็มีด้วยประการฉะนี้


หมายเหตุ อ่านประกอบกับร่างพรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ฉบับ ครม.เสนอ

NGO หมายถึง NGO สายสาธารณสุขบางคน


ส่งโดย: doctorlawyer



download full version

//www.mediafire.com/?oelgwonm150m7qc



ปล. เป็นอีกมุมมองหนึ่ง ที่น่าสนใจ ส่วนว่าจะคิดเห็นอย่างไร ก็ไม่ว่ากันอยู่แล้ว ...

แถม ..

บทวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงแก้ไข “ร่างพรบ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ” ... โดย นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=02-09-2010&group=7&gblog=100


ประเด็นที่น่าสงสัย ใน พรบ.คุ้มครอง ฯ ..และ..ลิงค์กระทู้บทความที่น่าสนใจ จะได้เข้าใจตรงกันมากขึ้น

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=02-08-2010&group=7&gblog=69


ถ้าสนใจ อ่านร่าง พรบฯ ก็แวะไปโหลดได้นะครับ ..

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=22-07-2010&group=7&gblog=64




Create Date : 11 ตุลาคม 2553
Last Update : 11 ตุลาคม 2553 10:14:02 น. 2 comments
Counter : 2484 Pageviews.  

 

สวัสดีค่ะ..

อ้อมแอ้มไปเที่ยวเรือSagresที่ท่าเรือคลองเตยมา

เจอถังน้ำ 3 ใบอยู่บนเรือ

ขอทายอะไรหน่อย เอาไว้ทำอะไรค่ะ?

ใครรู้ช่วยตอบหน่อย มีรางวัลให้ค่ะ



โดย: คนผ่านทางมาเจอ วันที่: 11 ตุลาคม 2553 เวลา:12:54:32 น.  

 


ใครสนใจก็ลองแวะไปโหลดมาอ่านกันนะครับ ...

ร่างใหม่ จาก สภาทนายความ
//www.mediafire.com/?4lyz3rpl37pa8xc

เปรียบเทียบ ๓ ร่าง พรบฯ
//www.mediafire.com/?slodsosamvks28e

รวมบทความ พรบฯ
//www.mediafire.com/?p7r6az6gk19ot



โดย: หมอหมู วันที่: 14 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:2:08:55 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]