Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ไปคลินิกแล้ว จะดูอย่างไรว่า ผู้ที่ตรวจรักษา เป็น หมอจริง ?

เคยสงสัยกันหรือเปล่าครับว่า " เวลาไปคลินิก แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า เป็นคลินิก ที่ถูกต้องตามกฏหมาย ??? คนที่ตรวจเราเป็นหมอจริง ??? "

จะดูหน้าตา ก็บอกยาก หมอก็มีทั้งหน้าตาท่าทางสมกับเป็นหมอ แต่บางคนก็ไม่ใช่ ... หน้าตาดูดีเหมือนเป็นดารานักร้อง  ...

การแต่งกาย ก็ดูไม่ได้อีก ... แต่งตัวดูดี ภูมิฐาน มีเสื้อกาว์นสีขาว แต่ไม่ใช่หมอ ก็มี .. หมอบางคนก็อาจแต่งตัวสบาย ๆ ( สบายเกินไป ??? ) ...

ยิ่งสถานที่ ยิ่งลำบาก .. บางคลินิก ก็หรูหรา จนน่าตกใจ โดยเฉพาะคลินิกผิวหนังทั้งหลาย .. แต่บางแห่ง ก็ซอมซ่อซะ


ผม เสนอ ๓ ข้อสังเกต ง่าย ๆ ที่เมื่อไปคลินิกแล้ว สามารถตรวจสอบได้ในเบื้องต้น .. เข้าไปปุ๊บ มองหาหลักฐานเหล่านี้ก่อนเลย ...

ถ้ามี ก็สบายใจหน่อยว่า น่าจะได้รับการตรวจรักษากับ หมอตัวจริง ... แต่ถ้าไม่มี หรือ ดูหน้าตาแล้วไม่เหมือนในรูป ก็ตัดสินใจเองว่า จะรักษาต่อ หรือ จะกลับบ้านก่อน ?

๑. แบบแสดงรูปถ่าย แสดงรายละเอียด ผู้ประกอบวิชาชีพ ..




ตามกฏหมาย ทุกคลินิกต้องมีติดไว้

ซึ่งในกรณีมีแพทย์ หลายคนตรวจรักษาในคลินิกเดียวกัน ก็ต้องมีแบบแสดงฯ ของ แพทย์ทุกคน ..

แพทย์ ที่ตรวจคุณอยู่ ต้องมีรูปภาพ ตรงกับในแบบแสดงฯ ..

*************************************

๒. ใบอนุญาต ให้ดำเนินการ ..



ตามกฏหมาย ทุกคลินิกต้องมีติดไว้

เป็นแพทย์ที่ขอนุญาต ดำเนินการ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบ เวลาเกิดปัญหาในคลินิกนั้น โดยส่วนใหญ่ ก็คือ แพทย์ที่ตรวจในคลินิก ( แต่ ในกรณีที่มีแพทย์ตรวจหลายคน ..อาจไม่ใช่ แพทย์ที่กำลังตรวจอยู่ก็ได้ )


ข้อ ๒ (ต่อ )  ใบอนุญาต ให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล .. ซึ่งอาจเป็นแพทย์ หรือ ไม่ใช่แพทย์ ก็ได้ คิดง่าย ๆ ก็คือ เป็นเจ้าของคลินิก ...




โดยส่วนใหญ่ ก็จะเป็นแพทย์ คนเดียวกันกับ ที่ดำเนินการฯ

**************************************

๓.ใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ( ใบ ว. ) ของแพทย์ ผู้ตรวจรักษา




ออกให้โดย แพทยสภา เพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่า จบเป็นแพทย์จริง  ... จะมีเลขที่ ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม ชื่อสกุล รูปภาพ


สามารถตรวจสอบเพิ่มเติม ว่าตรงกับข้อมูลที่เวบแพทยสภา หรือไม่ ???

https://www.tmc.or.th/check_md/


กรณีตรวจสอบไม่พบ หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อแพทยสภาที่ โทรศัพท์: 0-2590-1887 หรือ e-mail: tmc@tmc.or.th
โทรสอบถาม ฝ่าย จริยธรรม 02-590-1886-7 ต่อ 210-270 Email : contact@tmc.or.th

สำนัก งานเลขาธิการแพทยสภา
อาคาร 6 ชั้น 7 ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ถ.ติวานนท์ จ.นนทบุรี
โทร.: 02-5901880-1,3


ถ้าเข้าไปในคลินิกแล้ว หาทั้ง ๓ ข้อ ไม่พบ ... ผมคิดว่า น่าจะกลับบ้านก่อน ดีกว่า หรือเปลี่ยนไป คลินิกอื่น ..

อย่าเสี่ยงเลย เราไม่รู้ว่า เขาเป็น แพทย์จริงหรือไม่ ??? ขนาดกฏหมายกำหนดไว้ เขายังไม่ทำ แล้วเราจะแน่ใจได้อย่างไรว่า เขาสามารถรักษาเราได้จริง ถ้าเกิดอะไรขึ้นมา ไม่คุ้ม  ( แต่ถ้า รู้แล้ว อย่าจะเสี่ยงรักษา ก็ไม่ว่ากัน นะครับ )


ปล.

สำหรับรูปภาพแพทย์ .. ก็ต้องเตรียมใจไว้นิดหนึ่งว่า อาจไม่เหมือนร้อยเปอร์เซนต์ ... เพราะ เป็นการเปลี่ยนแปลงตามวัย นะครับ ... จากหนุ่มสาว หน้าตาสดใส ตอนจบแพทย์ใหม่ๆ   กลายเป็นคุณหมอ สูงวัย จะให้หน้าใสเหมือนตอนจบคงไม่ได้ ...


วิธีตรวจสอบรายชื่อแพทย์และเลขที่ใบอนุญาตคลินิกศัลยกรรมเสริมความงาม

❤ตรวจสอบข้อมูลแพทย์
ตรวจสอบข้อมูลว่าเป็นแพทย์จริงหรือไม่ที่ เว็บไซด์ แพทยสภา โดยกรอกชื่อ-นามสกุล ข้อมูลของแพทย์ที่รับใบอนุญาตให้ถูกต้อง ซึ่งจะสามารถตรวจสอบรายชื่อแพทย์ และมีการแสดงรูปภาพของแพทย์ด้วย

กรณีชื่อถูกต้อง และหากทราบเลขที่ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทย์ สามารถกรอกข้อมูลเพื่อตรวจสอบว่าข้อมูลตรงกันหรือไม่ เข้าเว็บไซต์ของแพทยสภาที่

➡เว็บไซต์ : https://www.tmc.or.th/check_md/
➡โทร : 02-5901886
➡แพทยสภา

❤ตรวจสอบสถานประกอบการ (โรงพยาบาล/คลินิก)
การตรวจสอบโดยเฉพาะสถานประกอบการคลินิกเสริมความงามศัลยกรรม เนื่องจากปัจจุบันมีคลินิกศัลยกรรมเปิดใหม่จำนวนมาก ทั้งที่ถูกกฎหมาย และ ไม่ถูกกฎหมาย โดยคลินิกจะมีป้ายชื่อคลินิกและเลขใบอนุญาต 11 หลัก ให้นำข้อมูลเหล่านี่ตรวจสอบคลินิกได้ที่

ตรวจสอบโรงพยาบาล (ใส่ข้อมูลชื่อภาษาไทย)
❤หากค้นข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ จะได้ข้อมูลครบถ้วนกว่าการค้นผ่านโทรศัพท์มือถือ
➡เว็บไซต์ : https://hssdemo.1mediasoft.net/hospital
➡โทร 02-193-7999
➡กองสุขภาพระหว่างประเทศ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

ตรวจสอบคลินิก (ใส่ข้อมูลชื่อภาษาไทย)
❤หากค้นข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ จะได้ข้อมูลครบถ้วนกว่าการค้นผ่านโทรศัพท์มือถือ
➡เว็บไซต์ : https://hssdemo.1mediasoft.net/clinic
➡โทร 02-193-7999
➡กองสุขภาพระหว่างประเทศ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

ตรวจสอบโรงพยาบาล/คลินิก (ใส่ข้อมูลชื่อภาษาไทย)
❤หากค้นข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ จะได้ข้อมูลครบถ้วนกว่าการค้นผ่านโทรศัพท์มือถือ
➡เว็บไซต์ : https://privatehospital.hss.moph.go.th/
➡โทร : 02-1937000
➡สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

ถ้าไม่มีอาจเป็น "คลินิกเถื่อน" โทรสอบถามได้ที่สำนักสถานพยาบาลฯ หมายเลขโทรศัพท์ 02-1937999 (🚨Hotline มือปราบสถานพยาบาล และ หมอเถื่อน)

📣📍กรณี พบ หมอเถื่อน คลินิกเถื่อน ผิดพระราชบัญญัติสถานพยาบาล 🚨ให้แจ้งที่ Hotline มือปราบสถานพยาบาล และ หมอเถื่อน โทร. 02-193-7999 หรือ 02-590-2999 ต่อ 1280-1282

*** สำนักสถานพยาบาล จะมีอำนาจตามกฎหมาย เป็นเจ้าพนักงานไปจับได้ที่เห็นตามข่าว โดยจะมีทีมออกไปจับ ร่วมกับแจ้งความดำเนินคดีกับตำรวจ และจะรายงานมาที่แพทยสภาเป็นพยาน เพื่อดำเนินคดีร่วมกันต่อไป (ℹแพทยสภาไม่มีอำนาจไปจับเองต้องผ่านพรบ.สถานพยาบาลกับตำรวจ)

*** ยกเว้นกรณีคลินิกถูกต้องแต่หมอจริงยอมให้หมอเถื่อนเข้าไปทำงานในคลินิก ทางแพทยสภาจะดำเนินคดีจริยธรรมกับหมอเช่นเดียวกัน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
📍กระทรวงสาธารณสุข
📍กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
📍สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ

เครดิต https://www.facebook.com/MantisKcompanylimited/posts/642598479405477/

*********************************************



" ร้องคลินิก ต้องไปที่ไหน ? "  ( ๑๙ พค.๖๒ )
Ittaporn Kanacharoen

มีปัญหา สงสัยคลินิกเถื่อน ค่ารักษาพยาบาลที่คลินิกไม่ถูกต้อง ค่ารักษา รวมถึงคลินิกไม่รับผิดชอบผลของการผ่าตัดต่างๆ จะรักษา ด้วยการเจาะเลือดแปลกๆ สเต็มเซลล์ที่ยังไม่อนุญาต และไม่เป็นมาตรฐาน ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล อยู่ในความรับผิดชอบของกรม สบส. สามารถแจ้งได้ตาม โปสเตอร์ หรือ โทร 02193 7057 หรือ Facebook มือปราบสถานพยาบาลเถื่อน

ขอบคุณหลายท่านที่ส่งมาที่แพทยสภา ผมได้ส่งต่อให้แล้วนะครับ แต่ถ้าเป็นไปได้ส่งตรงเลย แพทยสภา จะดูแลได้ตามอำนาจ ใน พรบ วิชาชีพเวชกรรม ซึ่งจะดูเฉพาะตัวแพทย์ไม่เกี่ยวกับตัวคลินิก และลงโทษได้เฉพาะผู้ถือใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม ไม่มีอำนาจในการไกล่เกลี่ย ขอเงินคืนต่างๆ รวมถึงให้จ่ายชดเชย อันนั้นของ สบส.และ สคบ.ครับ

ขอบคุณท่าน Akom Praditsuwan ณัฐวุฒิ ประเสรฺิฐสิริพงศ์


"สบส.ฮอทไลน์"
เบอร์โทรศัพท์สายด่วนกรณีปัญหาจากคลินิกและ รพ.เอกชน ตามพระราชบัญญัติ สถานพยาบาลครับ

1. ร้องเรียน/ปรึกษา จากการไปรับบริการกับคลินิก และ รพ.เอกชน และได้รับความเสียหายหรือเกิดผลกระทบจากการไปใช้บริการ
เบอร์โทร 02-193-7000 ต่อ 18833

2. แจ้งเบาะแส คลินิกเถื่อน หมอเถื่อน
เบอร์โทร 02-193-7000 ต่อ 18822

3. ตรวจสอบคลินิกที่ไปใช้บริการได้รับอนุญาตถูกต้องหรือไม่
เบอร์โทร 02-193-7000 ต่อ 18407

4. ปรึกษาเรื่องอื่นๆ
เบอร์โทร 02-193-7000 หรือ 02-590-2999

" มือปราบสถานพยาบาลเถื่อน "  คลินิกเถื่อน หมอเถื่อน
เฟสบุ๊ค  https://goo.gl/F1MjlO
โทร 02-193-7999  ,  02-590-2999  ต่อ 1280

*************************************************************




#หมอชวนรู้ โดย แพทยสภา
ตอนที่ 120 "แพทย์จริง แพทย์ปลอม และสาขาเฉพาะทาง" 
.
ตรวจสอบง่ายๆ ได้ แบบ online ได้ที่
https://checkmd.tmc.or.th/
.
บทความโดย
นายแพทย์ภาสกร วันชัยจิระบุญ
ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา
กรรมการแพทยสภา

https://www.facebook.com/thaimedcouncil/posts/3006309486300603


............................................

คู่มือประชาชนในการเลือก คลินิก ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=07-07-2017&group=15&gblog=80
ช่องทางร้องเรียนเกี่ยวกับ ...ยา ....หมอ ....คลินิก .....โรงพยาบาล ...
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-02-2009&group=7&gblog=18
ไปคลินิกแล้ว จะดูอย่างไรว่า ผู้ที่ตรวจรักษา เป็น หมอจริง ?
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=10-07-2020&group=7&gblog=238
แขวนป้ายแขวน ใบว. ถ้ารู้แล้วยืนยันจะเสี่ยงก็ไม่ว่ากัน
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=12-11-2015&group=7&gblog=193
ข้อแนะนำก่อนจะพบแพทย์กระดูกและข้อ
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-07-2008&group=7&gblog=3
ข้อแนะนำเมื่อต้องรับการรักษา
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=24-12-2007&group=4&gblog=2
คำถาม..ที่ควรรู้..คำตอบ
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=03-01-2008&group=4&gblog=3
เคล็ดลับ20 ประการ ที่จะช่วยคุณ "ป้องกันความผิดพลาดทางการแพทย์ในการเข้ารับบริการสุขภาพ "...
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cmu2807&month=10-2010&date=19&group=27&gblog=52
หมอคนไหนดี“ ??? .... คำถามสั้น ๆ ง่ายๆ แต่ ไม่รู้จะตอบอย่างไร ..
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=14-01-2012&group=15&gblog=42
ผลของการรักษาโรค
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cmu2807&month=01-2008&date=05&group=27&gblog=22
 
ข้อเท็จจริงในการดูแลรักษาโรคภัยไข้เจ็บโดยแพทย์
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cmu2807&month=06-2013&date=11&group=27&gblog=12
ฉลาดเลือกใช้...การแพทย์ทางเลือกโดยอ.ประมาณ เลืองวัฒนะวณิช
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-09-2011&group=7&gblog=149
หน้าที่อันพึ่งปฏิบัติของผู้ป่วย(มิย.๖๓) สิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย(สค.๕๘) สิทธิผู้ป่วย(เมย.๔๑)https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=23-12-2007&group=4&gblog=1
ความรู้เกี่ยวกับใบรับรองแพทย์
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=06-01-2008&group=4&gblog=5
 

 


Create Date : 10 กรกฎาคม 2563
Last Update : 17 ธันวาคม 2564 15:14:31 น. 0 comments
Counter : 4716 Pageviews.  

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณhaiku, คุณnewyorknurse


ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]