Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

คำชี้แจง จาก ราชวิทยาลัยออร์โธฯ เกี่ยวกับยารักษาข้อเข่าเสื่อม (ที่กรมบัญชีกลางสั่งห้ามเบิก)..(จบ?)

ถ้ายังไม่ได้ อ่าน กระทู้ก่อนหน้า ... แวะไปอ่านก่อนก็ดีครับ จะได้อรรถรส เพิ่มขึ้น .. ^ -^

คำชี้แจงจาก ราชวิทยาลัยออร์โธฯ เกี่ยวกับยารักษาข้อเข่าเสื่อม..(ที่กรมบัญชีกลางสั่งห้ามเบิก)

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=08-04-2011&group=7&gblog=132

คำชี้แจงจาก ราชวิทยาลัยออร์โธฯ เกี่ยวกับยารักษาข้อเข่าเสื่อม(ที่กรมบัญชีกลางสั่งห้ามเบิก)..( ต่อ )

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=21-04-2011&group=7&gblog=134


ต่อไปนี้จะเป็น การชี้แจง จากราชวิทยาลัยแพทย์ ออร์โธปิดิกส์ แห่งประ้เทศไทย
//www.rcost.or.th/

ซึ่งผมนำมาจาก ข่าวสาร ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ ฉบับ เดือน มิถุนายน 2554 ..











































ปิดท้ายด้วย หนังสือเวียน ของกระทรวงการคลัง เรื่อง การเบิกค่ายากลูโคซามีนซัลเฟต ... สำหรับ ผู้ที่ใช้สิทธิข้าราชการ ต้องโหลดไปศึกษา จะมีข้อกำหนดหลายอย่างที่จะเิบิกยากลุ่มนี้ เช่น อายุมากกว่า 56 ปี ต้องจ่ายเงินเองก่อนแล้วนำไปเบิกที่หน่วยงาน (ใช้ระบบเบิกตรงไม่ได้) หมอสั่งยาได้ไม่เกิน 6 สัปดาห์/ครั้ง ต่อเนื่องกันไม่เกิน 3 เดือน เป็นต้น เวลาเบิกเงินคืนจะได้ไม่เกิดปัญหา นะครับ

//www.cgd.go.th/wps/wcm/connect/edff068047663b83884adfd1be5c0516/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%8B%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%99.pdf?MOD=AJPERES

//www.dol.go.th/landdoc/images/medias/landdoc/file/kcm_9.pdf





หมายเหตุ ขอบคุณ อ.สารเนตร์ ไวคกุล และ ราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย ด้วยครับ



Create Date : 22 กรกฎาคม 2554
Last Update : 22 พฤษภาคม 2558 15:14:16 น. 4 comments
Counter : 7827 Pageviews.  

 




หนังสือเวียน ของกระทรวงการคลัง เรื่อง การเบิกค่ายากลูโคซามีนซัลเฟต ... สำหรับ ผู้ที่ใช้สิทธิข้าราชการ ต้องโหลดไปศึกษา จะมีข้อกำหนดหลายอย่างที่จะเิบิกยากลุ่มนี้ เช่น อายุมากกว่า 56 ปี ต้องจ่ายเงินเองก่อนแล้วนำไปเบิกที่หน่วยงาน (ใช้ระบบเบิกตรงไม่ได้) หมอสั่งยาได้ไม่เกิน 6 สัปดาห์/ครั้ง ต่อเนื่องกันไม่เกิน 3 เดือน เป็นต้น เวลาเบิกเงินคืนจะได้ไม่เกิดปัญหา นะครับ

//www.cgd.go.th/wps/wcm/connect/edff068047663b83884adfd1be5c0516/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%8B%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%99.pdf?MOD=AJPERES

//www.dol.go.th/landdoc/images/medias/landdoc/file/kcm_9.pdf


คำชี้แจง จาก ราชวิทยาลัยออร์โธฯ เกี่ยวกับยารักษาข้อเข่าเสื่อม ..(ที่กรมบัญชีกลางสั่งห้ามเบิก)
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=08-04-2011&group=7&gblog=132

คำชี้แจง จาก ราชวิทยาลัยออร์โธฯ เกี่ยวกับยารักษาข้อเข่าเสื่อม (ที่กรมบัญชีกลางสั่งห้ามเบิก)..( ต่อ )
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=21-04-2011&group=7&gblog=134

คำชี้แจง จาก ราชวิทยาลัยออร์โธฯ เกี่ยวกับยารักษาข้อเข่าเสื่อม (ที่กรมบัญชีกลางสั่งห้ามเบิก)..(จบ?)
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=22-07-2011&group=7&gblog=146

แนวปฏิบัติ บริการ ดูแลรักษา ข้อเข่าเสื่อม พศ. ๒๕๕๓ ของราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์
//www.mediafire.com/?q6jqyvyci46b51s

คลัง ส่งหนังสือด่วนถึง รพ.อนุมัติเบิกจ่ายยาข้อเสื่อมได้แบบมีเงื่อนไข
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=01-07-2011&group=7&gblog=142

ข้อเข่าเสื่อม
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-05-2008&group=5&gblog=15



โดย: หมอหมู วันที่: 6 กันยายน 2554 เวลา:1:43:04 น.  

 

//www.pharmacy.mahidol.ac.th/thai/knowledgeinfo.php?id=41

ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับกลูโคซามีน (glucosamine) ในโรคข้อเสื่อม


โรคข้อเสื่อมเป็นโรคที่พบว่ามีการสึกกร่อนของกระดูกอ่อน เนื่องจากมีปริมาณของโปรตีโอไกลแคน (proteoglycans) ลดลง ทำให้ความสามารถในการรองรับการเคลื่อนไหวของกระดูกข้อต่อลดลง เกิดอาการปวดขึ้นเมื่อมีการลงน้ำหนัก หรือมีกิจกรรมบนข้อนั้นๆ จากการเปลี่ยนแปลงของกระดูกอ่อนที่พบในผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมดังกล่าวนี้ จึงทำให้เกิดแนวคิดในการนำเอากลูโคซามีนซึ่งเป็นสารตั้งต้นของการสร้างโปรตีโอไกลแคนที่เป็นองค์ประกอบในกระดูกอ่อนมาใช้เพื่อรักษาหรือชะลอการเสื่อมของข้อในโรคข้อเสื่อม

กลูโคซามีน (glucosamine) เป็นสารประกอบประเภทน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (monosaccharide) ที่ปกติถูกสร้าง และพบในร่างกายของทุกคนอยู่แล้ว กลูโคซามีนจะถูกนำไปใช้เป็นสารตั้งต้นในการสร้างสารขนาดโมเลกุลใหญ่ เช่น โปรตีโอไกลแคน, ไกลโคโปรตีน (glycoprotein), ไกลโคสามิโนไกลแคน (glycosaminoglycan), กรดไฮยาลูโรนิก (hyaluronic acid) สารเหล่านี้เป็นส่วนประกอบในเนื้อเยื่อเกือบทุกชนิดของร่างกาย โดยจะพบได้มากที่กระดูกอ่อน (cartilage)ซึ่งจะอยู่ที่บริเวณส่วนปลายของกระดูกโดยเฉพาะที่ข้อต่อ กระดูกอ่อนนั้นประกอบด้วยเมทริกซ์ของเส้นใยคอลลาเจนที่มีโปรตีโอไกลแคนอยู่ภายใน โดยโปรตีโอไกลแคนเป็นสารโมเลกุลใหญ่ที่มีความสามารถในการดึงน้ำเข้ามาหาตัวเองได้ดี จึงทำให้กระดูกอ่อนมีความยืดหยุ่น และสามารถรองรับการเคลื่อนไหวของกระดูกข้อต่อได้ ซึ่งจัดเป็นบทบาทสำคัญของกลูโคซามีนในเรื่องการทำงานของข้อ นอกจากนี้กลูโคซามีนยังมีผลยับยั้งการทำงานของสารอักเสบได้หลายชนิด จึงมีผลลดการอักเสบของข้อด้วย

กลูโคซามีนที่มีจำหน่ายแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ตามการขึ้นทะเบียน คือ (1) ยาอันตราย และ (2) ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ซึ่งทั้งสองแบบมีความแตกต่างกันในขั้นตอนการยื่นขอขึ้นทะเบียน รวมถึงเอกสารที่จำเป็นในการขอขึ้นทะเบียน กล่าวคือ

กลูโคซามีนที่ขึ้นทะเบียนเป็นยาอันตราย มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการรักษาโรคข้อเสื่อม ซึ่งจะต้องมีเอกสารยืนยันถึงการศึกษาทางการแพทย์ที่แสดงประสิทธิภาพและความปลอดภัยของสารดังกล่าว และการใช้ยาจะอยู่ภายใต้การสั่งใช้จากแพทย์เท่านั้น

ส่วนกลูโคซามีนที่ขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงใช้รับประทาน นอกเหนือจากการรับประทานอาหารหลักตามปกติ และในการขอขึ้นทะเบียนไม่จำเป็นต้องแสดงการศึกษาทางการแพทย์ประกอบ

สำหรับในประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุขได้อนุญาตให้มีกลูโคซามีนชนิดที่เป็นยาอันตรายเท่านั้นที่ได้รับการขึ้นทะเบียน และจำหน่ายในประเทศได้

ทั้งยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของกลูโคซามีนมีจำหน่ายในรูปแบบของสารประกอบเกลือหลายชนิด เช่น เกลือซัลเฟต (glucosamine sulfate), เกลือไฮโดรคลอไรด์ (glucosamine hydrochloride), เกลือคลอโรไฮเดรต (glucosamine chlorohydrate หรือ N-acetylglucosamine) ซึ่งทำให้ขนาดโมเลกุลและคุณสมบัติอื่นๆ ของกลูโคซามีนมีความแตกต่างกันไป เช่น ความคงตัวเมื่อทำเป็นผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ในผลิตภัณฑ์ของกลูโคซามีนซัลเฟตยังมีการเติมโซเดียม หรือโปแตสเซียมในสูตรตำรับ เพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์มีความคงตัวเพิ่มขึ้น โดยกลูโคซามีนซัลเฟตเป็นกลูโคซามีนที่ขึ้นทะเบียนเป็นยาอันตรายและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ส่วนกลูโคซามีนในรูปแบบอื่นจะขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

ด้านประสิทธิภาพของกลูโคซามีนต่อโรคข้อเสื่อม พบว่าการศึกษาทางการแพทย์ขนาดใหญ่ส่วนมากเป็นการศึกษาโดยใช้กลูโคซามีนซัลเฟต (glucosamine sulfate) ที่ขึ้นทะเบียนเป็นยาอันตราย

ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการให้ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมได้รับกลูโคซามีนซัลเฟตในขนาด 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลานาน 3 ปี ช่วยลดอาการปวด และช่วยลดการแคบของข้อได้เมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ใช้ยา (หรือใช้ยาหลอก)

แต่การใช้กลูโคซามีนซัลเฟตในระยะสั้น เช่น 3-6 เดือน พบว่าผลการศึกษามีทั้งสองแบบ คือ ให้ผลดีในการรักษา และไม่เห็นความแตกต่างในการรักษาเมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ใช้ยา

นอกจากนี้การศึกษาในผู้ป่วยข้อสะโพกเสื่อมก็ไม่แสดงประโยชน์เหนือกว่าการไม่ใช้ยาเช่นกัน

สำหรับกลูโคซามีนในรูปแบบอื่นนั้น พบว่ามีการศึกษาทางการแพทย์บ้าง แต่เป็นเพียงการศึกษาขนาดเล็ก จำนวนผู้ป่วยที่ใช้ศึกษาน้อย เช่น การใช้กลูโคซามีนไฮโดรคลอไรด์ ซึ่งขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม พบว่ากลูโคซามีนไฮโดรคลอไรด์ให้ประสิทธิภาพในการระงับปวดในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมได้ไม่แตกต่างจากกลูโคซามีนซัลเฟต

จากข้อมูลการศึกษาทางการแพทย์ของกลูโคซามีนดังกล่าวข้างต้น แสดงให้เห็นว่าประสิทธิภาพของกลูโคซามีนในโรคข้อเสื่อมนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น รูปแบบเกลือของกลูโคซามีน ตำแหน่งข้อที่เกิดการเสื่อม ขนาดยาที่ใช้ ระยะเวลาในการใช้ ซึ่งผู้บริโภค/ผู้ป่วยที่มีความประสงค์จะรับประทานกลูโคซามีน โดยเฉพาะในรูปแบบของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่สามารถหาซื้อได้เองจากร้านขายยาทั่วไป ควรศึกษาข้อมูลของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวให้เข้าใจ หรือปรึกษาแพทย์/เภสัชกรเพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงประโยชน์ที่จะได้รับให้มากยิ่งขึ้น เพราะนอกจากประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้กลูโคซามีนแล้ว กลูโคซามีนในทุกรูปแบบยังมีข้อควรระวังและทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ได้ด้วย ดังนี้

- อาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้บ่อยจากการรับประทานกลูโคซามีน คือ คลื่นไส้ ท้องเสีย แสบท้อง ปวดท้อง ท้องอืด นอกจากนี้ยังอาจพบอาการง่วงซึม ผื่นแพ้ผิวหนัง แพ้แสง ปากคอบวม (angioedema) หรือกระตุ้นให้เกิดการจับหืดได้

- ควรระมัดระวังการแพ้ในผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้อาหารทะเล โดยเฉพาะกุ้ง ปู เพราะกลูโคซามีนที่มีจำหน่ายสังเคราะห์มาจากเปลือกของสัตว์ดังกล่าว

- ควรระมัดระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยเฉพาะถ้าไม่สามารถคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามเป้าหมายการรักษา เพราะมีรายงานในสัตว์ทดลองว่ากลูโคซามีนทำให้การหลั่งอินซูลินลดลงได้ ถึงแม้ว่าจะยังไม่พบรายงานดังกล่าวในคนก็ตาม


บทความโดย: อาจารย์ ธนรัตน์ สรวลเสน่ห์

ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล





โดย: หมอหมู วันที่: 29 กันยายน 2555 เวลา:0:21:58 น.  

 
สมาคม ESCEO ชี้คริสตัลไลน์ กลูโคซามีน ซัลเฟต ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร (pCGS) แตกต่างจากกลูโคซามีนชนิดอื่นๆ และควรเป็นยาพื้นฐานในการรักษาโรคข้อเสื่อม

ลีแยร์ฌ, เบลเยียม--2 ธ.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

คณะทำงานเฉพาะกิจของสมาคม European Society for Clinical and Economic Aspects of Osteoporosis and Osteoarthritis (ESCEO) และแพทย์ผู้เชียวชาญจากทั่วโลก ได้มีมติร่วมกันในการใช้แนวทางการรักษาอย่างเป็นลำดับขั้นตอนของ ESCEO ในทางปฏิบัติและหาข้อสรุปร่วมกันในข้อมูลทั้งหมดของกลูโคซามีน เพื่อชี้ชัดถึงความแตกต่างระหว่างคริสตัลไลน์ กลูโคซามีน ซัลเฟต ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร (pCGS) ซึ่งผ่านการรับรองทางคลินิก กับกลูโคซามีนชนิดอื่นๆที่ไม่ได้ผลในทางคลินิก



(โลโก้: //photos.prnewswire.com/prnh/20151124/290592LOGO )

(Place and date)-แม้ว่าจะมีแนวทางปฏิบัติสำหรับการรักษาโรคข้อเสื่อมที่คำนึงด้านหลักฐ านทางการศึกษาจากองค์กรต่างๆทั้งในยุโรป อเมริกา และทั่วโลกแต่ก็ยังไม่สามารถสร้างมาตรฐานการรักษาร่วมกันได้

แต่เดิมการรักษาโรคข้อเสื่อมนิยมใช้ยาระงับปวดและยาต้านการอักเสบ โดยมีพาราเซตามอลเป็นยาพื้นฐานที่ใช้บรรเทาอาการปวด แต่ก็เกิดความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้ยา ซึ่งรวมถึงผลข้างเคียงต่อทางเดินอาหารและตับ

นอกจากนี้แนวทางการรักษาเกือบทั้งหมดไม่ได้ระบุชัดเจนถึงความแตกต่างระหว่าง กลูโคซามีนที่ได้รับการพิสูจน์ทางคลินิก (จากเกณฑ์ที่มีหลักฐานการศึกษารองรับและ Cochrane Review) กับกลูโคซามีนที่ไม่ได้รับการพิสูจน์ทางคลินิก ยกเว้นแนวทางการรักษาอย่างเป็นลำดับขั้นตอนของ ESCEO ซึ่งระบุถึงความแตกต่างไว้อย่างชัดเจน จึงก่อให้เกิดความไม่สอดคล้องในแนวทางการรักษาโรคข้อเสือม อีกทั้งทำให้เกิดความสับสนในการปฏิบัติด้วย

แนวทางการรักษาอย่างเป็นขั้นตอนของ ESCEO นำเสนอทางเลือกใหม่ ด้วยการใช้ยารักษาโรคข้อเข่าเสื่อมที่ออกฤทธิ์ช้า (SYSADOAs) ซึ่งมีคริสตัลไลน์ กลูโคซามีน ซัลเฟต ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร(pCGS) เป็นยาพื้นฐาน และเสริมด้วยยาพาราเซตามอลเพื่อระงับปวดตามความจำเป็น ศาสตราจารย์ ฌอง-อีฟ รีจินส์เตอร์ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานของ ESCEO กล่าวว่า "แนวทางของ ESCEO แนะนำให้ใช้ยา SYSADOAs โดยเฉพาะคริสตัลไลน์ กลูโคซามีน ซัลเฟตที่ได้รับการจดสิทธิบัตร (pCGS) และคอนดรอยติน ซัลเฟต ที่จดทะเบียนเป็นยา ให้เป็นยาพื้นฐานในการรักษาโรคข้อเสื่อม ปัจจุบันเห็นได้ชัดว่ายาต่างๆไม่ได้มีประสิทธิภาพเหมือนกันทั้งหมด และความแตกต่างระหว่างแนวทางการรักษาทั้งหลายสะท้อนให้เห็นถึงความจริงที่ว่ า แนวทางเหล่านี้ไม่ได้พิจารณาการรักษาจากยาตัวเดียวกัน"

"สาระสำคัญประการแรกที่ได้จากการประชุมคือ แนวทางการรักษาทั้งหมดล้วนเห็นตรงกันว่ากลูโคซามีน ไฮโดรคลอไรด์ไม่ได้ผลในการรักษา ตัวยาดังกล่าวไม่เคยได้รับการพิสูจน์ว่ามีประสิทธิภาพในการทดลองทางคลินิก และไม่เคยมีการวิจัยใดๆที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการรักษาของกลูโคซามี น ไฮโดรคลอไรด์แต่อย่างใด"

ศาสตราจารย์ รีจินส์เตอร์ กล่าวเสริมว่า "ในส่วนของกลูโคซามีน ซัลเฟตที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน พบว่ายังมีความแตกต่างในแต่ละสูตรตำรับ โดยสูตรตำรับยาส่วนใหญ่มักไม่คงตัวและไม่ควรนำไปใช้เพราะถือว่าเป็นยาปลอม ซึ่งอ้างว่าเป็นสูตรตำรับที่มีความ"คงตัว" แต่เป็นเพียงการผสมกลูโคซามีน ไฮโดรคลอไรด์ และโซเดียม ซัลเฟต เข้าด้วยกันเท่านั้นซึ่งไม่มีความคงตัวแต่อย่างใด เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพ โมเลกุลจะต้องถูกทำให้คงตัวในรูปของคริสตัลไลน์ กลูโคซามีน ซัลเฟต ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร(pCGS) โมเลกุลที่ถูกทำให้คงตัวเท่านั้นที่สามารถทำให้มีระดับความเข้มข้นของยาเพีย งพอที่จะส่งผลในการรักษาทั้งในกระแสเลือดและน้ำเลี้ยงข้อ และมีข้อมูลการทดลองที่แสดงถึงประสิทธิภาพอย่างชัดเจน ในมุมมองของการดำเนินไปตามธรรมชาติของโรคข้อเสื่อม การใช้สั่งใช้ยากลูโคซามีนที่ไม่มีความคงตัว จากผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ถือเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามหลักจรรยาบรรณ เพราะเป็นที่ทราบดีว่าในท้ายที่สุดผู้ป่วยจะไม่ได้รับประโยชน์อันใดจากผลการ รักษานั้นเลย"

สรุป

การประชุมครั้งนี้ก่อให้เกิดความก้าวหน้าครั้งสำคัญในการเห็นพ้องร่วมกันถึง ความแตกต่างของแนวทางในการรักษา โดยคณะทำงานเฉพาะกิจต่างเห็นพ้องร่วมกันในความแตกต่างระหว่างคริสตัลไลน์ กลูโคซามีน ซัลเฟต ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร (pCGS) ซึ่งได้รับการพิสูจน์ทางคลินิกและจดทะเบียนเป็นยา กับกลูโคซามีนประเภทอื่นๆ

หลักฐานทางคลินิกของคริสตัลไลน์ กลูโคซามีน ซัลเฟต ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร

- มีประสิทธิภาพที่ดีกว่าในแง่ของการลดอาการปวดและการทำงานของเข่า

- ช่วยชะลอการดำเนินไปของโรค

ด้วยเหตุนี้ คริสตัลไลน์ กลูโคซามีน ซัลเฟต ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร (pCGS) จึงเหนือกว่ากลูโคซามีนประเภทอื่นๆที่วางจำหน่ายในตลาด โดยเป็นกลูโคซามีนเพียงชนิดเดียวที่มีความคงตัวและมีความน่าเชื่อถือทางการร ักษา โดยส่งผลให้มีระดับความเข้มข้นของกลุโคซามีนที่ให้ผลในการรักษาทั้งในกระแสเ ลือดและและในข้อ ดังนั้นเมื่อจะสั่งยาพื้นฐานในการรักษาโรคข้อเสื่อม แพทย์ควรพิจารณาคริสตัลไลน์ กลูโคซามีน ซัลเฟต ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร (pCGS) ซึ่งถือได้ว่าเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด

แหล่งข่าว: ESCEO


โดย: หมอหมู วันที่: 18 ธันวาคม 2558 เวลา:14:04:19 น.  

 
อายุรศาสตร์ ง่ายนิดเดียว
https://www.facebook.com/medicine4layman/photos/a.1454742078175154.1073741829.1452805065035522/1935598710089486/?type=3&theater

อ่านมาเล่าให้ฟัง ยารักษาเข่าเสื่อมสามตัว glucosamine, chondroitin และ hyarulonic acid ติดค้างมานานแล้ว ตกลงข้อมูลว่าไง

🍖🍖 รู้จักยาสามตัวนี้คร่าวๆก่อน🍖🍖
glucosamine กับ chondroitin เป็นยากินหวังผลไปเพิ่มประสิทธิภาพและการสร้างกระดูกอ่อน เนื่องจากโรคข้อเสื่อมนั้นอวัยวะสำคัญที่ถูกทำลายคือกระดูกอ่อน สารทั้งสองตัวนี้สกัดมาจากสัตว์ glucosamine มาจากเปลือกแข็งสัตว์ทะเล ส่วน chondroitin มาจากกระดูกอ่อนของสัตว์ แต่ไม่ต้องกังวลได้ผ่านกรรมวิธีมาจนรับรองว่าใช้ได้แล้ว
สำหรับ hyaluronic acid จะเหมือนสารกันชนและหล่อลื่นในข้อ ในกลุ่มข้อเสื่อมสารนี้จะลดลง เป็นยาฉีดเข้าข้อ ยาตัวนี้มีความหลากหลายมากและผลการรักษาก็ขึ้นกับชนิดของยา เช่น มวลโมเลกุลมากหรือน้อย เกลือที่มาผสมกับ hyaluronic acid ที่ส่งผลต่อการแตกตัว ความคงรูป ก็ทำให้ผลการรักษาต่างกัน

🍟🍟เราใช้ยาทั้งสามตัวนี้เพื่ออะไร🍟🍟
แน่ละก็เพื่อทดแทนความเสื่อม เพื่อหวังผลสองประการคือนิยมใช้วัดผลคือ การลดปวด และสมรรถภาพข้อที่ดีขึ้นคือความสามารถในการเคลื่อนที่ ส่วน hyaluronic acid จะหวังผลลดปริมาณการผ่าตัดรักษาข้อเสื่อมโดยเฉพาะข้อเข่าด้วย
เมื่อมันทำหน้าที่เป็นยา ก็ต้องมีการศึกษาที่ละเอียดบอกถึงประโยชน์ ผลเสีย ข้อบ่งใช้ ข้อควรระวังที่ชัดเจน มีการศึกษามากมายทั้งสังเกตเอา ทดลองทดสอบ รวบรวมการศึกษา ที่ผมรวบรวมและทบทวนมานี้เป็นระดับการรวบรวมการศึกษาและแนวทางการรักษา โดยไปค้นเสริมการศึกษาย่อยๆที่น่าสนใจ

🍳🍳มีคำแนะนำที่เป็นแนวทางจากสมาคมแพทย์ต่างๆหรือไม่🍳🍳
ข้อดีสำหรับยายุคนี้คือหากมีการศึกษาก็จะบอกได้ว่าหลักฐานเป็นอย่างไร แข็งแรงแน่นหนาหรืออ่อนยวบ เพื่อมาประกอบคำแนะนำ หลายๆแนวทางที่ผมค้นมาเป็น backbone ยึดหลักในการอ่านและค้นต่อคือ คำแนะนำของ american colleges of rheumatology, american associations of orthopedics surgery, NICE UK guidelines ปรากฏว่าแนวทางออกมาคล้ายๆกัน รวมทั้งการรวบรวมการศึกษาแบบ systematic review อีกสามสี่อันที่จะบันทึกไว้ตอนท้าย ข้อมูลไปในทางเดียวกันทั้งสิ้น (ความน่าเชื่อถือสูง ทั้งตรงกันและแม่นยำ)

🌮🌮 glucosamine และ chondroitin ผลเป็นอย่างไร🌮🌮
หลักฐานทั้งหมดมาจากหลักฐานชั้นดีทั้งสิ้นว่า ไม่แนะนำ การใช้ยาทั้งสองในการรักษาผู้ป่วยข้อเสื่อมที่มีอาการ เพราะจากการทบทวนทั้งหมดพบว่าประสิทธิภาพในการลดปวด และประสิทธิภาพการใช้งานของข้อ สำหรับglucosamine ไม่ได้ต่างจากยาหลอกและการรักษามาตรฐานตามปกติ (ทั้ง glucosamine sulphate และ glucosamine hydrochloride)
ส่วน chondroitin มีหลักฐานเช่นกันว่าสำหรับอาการปวดนั้น ลดได้มากกว่ายาหลอกก็จริงแต่ว่าไม่มีนัยสำคัญทั้งทางคลินิกและทางสถิติ ส่วนประสิทธิภาพข้อนั้น ไม่ได้ดีกว่ายาหลอกเลย

แนวทางทั้งหมดจึงไม่แนะนำการใช้ยาทั้งสองชนิดนี้ แม้โทษจะไม่มีชัดเจน แต่ประโยชน์ก็ไม่ชัดเจนเช่นกันมีแนวโน้มไปทางไม่ต่างจากยาหลอกด้วย หากเทียบกับการรักษาอื่นๆมาตรฐานเช่นการลดน้ำหนัก การทำกายภาพ หรือยาแก้ปวดพาราเซตามอล การรักษามาตรฐานให้ผลการรักษาที่ดี ราคาไม่แพง ทรงประสิทธิภาพกว่า

🍜🍜แล้วยาฉีดเข้าข้อ hyaluronic acid จะดีกว่าไหม🍜🍜
หลักฐานทั้งหมดก็มาจากข้อมูลที่ดีเชื่อถือได้ดีเช่นกันว่า ไม่แนะนำ การใช้ยาฉีดเข้าข้อเพื่อรักษาอาการปวดและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานข้อ แต่...ตรงนี้เสียงจะแตกเล็กน้อย ไม่เป็นเสียงเดียวกัน เพราะจากการศึกษาแม้ภาพรวมจะดูประโยชน์ไม่มาก คือลดปวดได้จริงและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานข้อได้เพิ่มขึ้น หากไปเทียบกับการรักษามาตรฐานหรือยาหลอก แต่ว่าประโยชน์ที่ได้รับนั้น มันน้อยเกินกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ (Minimal Clinically Important Improvement) ที่จะบอกว่าส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตโดยรวม โดย hyaluronic ชนิดโมเลกุลหนักจะให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่า

🍦🍦แล้วมีที่ใช้บ้างไหม🍦🍦
สมาคมโรครูมาตอยด์ หรือ หลายๆวารสารที่มีความน่าเชื่อถือสูง รวมทั้งมีการศึกษาตีพิมพ์ในจดหมายเหตุการแพทย์ของไทยด้วยว่า มันก็ยังพอมีที่ใช้ เพราะการศึกษากลุ่มย่อยบางกลุ่มก็สามารถลดปวดได้ดี และชะลอการผ่าตัดได้ (เช่นผู้ที่มีโรคร่วมมากๆ มีข้อห้ามการใช้ยาต้านการอักเสบ) ลดการใช้ยาตัวอื่นที่มีผลข้างเคียงสูงได้ อันนี้คือ hyaluronic นะ ส่วนยากินนั้นค่อนข้างชัดและตรงกันว่าไม่เกิดประโยชน์
คำแนะนำของสมาคมโรครูมาติซั่มของอเมริกา แนะนำใช้ได้หากให้การรักษาทางกายภาพแล้วและให้ยาแก้ปวดลดการอักเสบเต็มขนาดแล้ว อาจจะ..ใช้คำว่าอาจจะ..ใช้ยาฉีดก่อนที่จะไปสู่ขั้นตอนการรักษาต่อไปคือการผ่าตัด

---&& อันนี้ส่วนตัวนะ ผมคิดว่าอาจจะเป็นการรักษาเพื่อชะลอการผ่าตัดเท่านั้น (เพราะน่าจะถึงขั้นต้องผ่าแล้วล่ะ) ผลระยะยาวและประสิทธิภาพโดยรวมไม่น่าจะชนะการผ่าตัดได้ แต่ว่าบางคนก็โรคร่วมมาก หรือรอคิวผ่าตัดในการปรับร่างกาย ยาตัวนี้ก็อาจมีที่ใช้ โดยคำนึงถึงราคาด้วยนะ&&--

🍞🍞ผลเสียล่ะ🍞🍞

การฉีดยาอาจเกิดการติดเชื้อหากใช้ไม่ระวัง หรืออาจมีการเจ็บและอักเสบหลังฉีดยาได้ pseudoseptic reaction ได้ และราคาที่ไม่ถูกเอาเสียเลย ต้องฉีดต่อเนื่องกันหลายครั้งหลายเข็มในหนึ่งการรักษา
ส่วนข้อสะโพกยังไม่มีการศึกษาที่ยืนยันได้ชัดเจนทั้งประโยชน์และโทษเหมือนข้อเข่านะครับ

สรุป...ปรับชีวิต...กายภาพ...ยาแก้ปวดผลข้างเคียงต่ำ...ยาต้านการอักเสบ..."อาจ"เลือกใช้ยาฉีดเข้าข้อ...ผ่าตัดรักษา น่าจะเป็นการดูแลรักษาโรคข้อเสื่อมที่ดี โดยเฉพาะข้อเข่า

อ้อ...อย่าไอมากนัก เพราะ ไอมากจะเจ็บเข่า

ที่มา
-AHRQ april 2009
-GAIT trial
-Clin Orthop Relat Res (2014);472:2028-34
-AAOS recommendation 2009
-ACR positional statement 2014
-Correspondence in NEJM 2015;372:2569-70 ...เถียงกันสนุกดี
-NICE guidelines 2014
-OARSI recommendation in osteoartritis & cartilage 2014;22:363-88
-J Med Assoc Thai 2007 Sep;90(9)
-Medscape review 2013, June 19

ข้อเข่าเสื่อม https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-05-2008&group=5&gblog=15
ข้อเข่าเสื่อม น้ำไขข้อเทียม https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-05-2008&group=5&gblog=16

๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๕ ขยายเวลาให้ข้าราชการ เบิกค่ายากลูโคซามีน ได้ ( คดีพลิกอีกแล้วครับท่าน ) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-12-2012&group=7&gblog=171
ขรก.เบิกกลูโคซามีนได้แล้ว หลังศาลปกครองมีคำสั่งเพิกถอนเกณฑ์ ก.คลัง https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=22-05-2015&group=7&gblog=187
คลังสั่งถอน “กลูโคซามีนซัลเฟต” จากระบบเบิกค่ายา ขรก. ..ห้ามเบิกตั้งแต่ ๑ พย. ๕๕ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=10-10-2012&group=7&gblog=161
คำชี้แจง จาก ราชวิทยาลัยออร์โธฯ เกี่ยวกับยารักษาข้อเข่าเสื่อม (ที่กรมบัญชีกลางสั่งห้ามเบิก) ttp://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=08-04-2011&group=7&gblog=132
คำชี้แจง จาก ราชวิทยาลัยออร์โธฯ เกี่ยวกับยารักษาข้อเข่าเสื่อม (ที่กรมบัญชีกลางสั่งห้ามเบิก)..( ต่อ ) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=21-04-2011&group=7&gblog=134
คำชี้แจง จาก ราชวิทยาลัยออร์โธฯ เกี่ยวกับยารักษาข้อเข่าเสื่อม (ที่กรมบัญชีกลางสั่งห้ามเบิก)..(จบ?) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=22-07-2011&group=7&gblog=146




โดย: หมอหมู วันที่: 9 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:15:48:07 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 763 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]