Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ประชาชนต้องการความปลอดภัยในการไปโรงพยาบาล หรือต้องการได้รับเงินชดเชยความเสียหาย?




ประชาชนต้องการความปลอดภัยในการไปโรงพยาบาล หรือ ต้องการได้รับเงินชดเชยความเสียหาย?

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา

ประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย

(สผพท.)

//www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1299060365&grpid=&catid=02&subcatid=0200



ได้อ่านบทความเรื่อง “เปิดความในใจประชาชนผู้เสนอร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข วันที่ 2 มีนาคม 2554 แล้ว คุณสารี อ๋องสมหวัง ได้กล่าวถึงความเป็นมาของการเสนอร่างพ.ร.บ.ฉบับเจ้าปัญหานี้แล้ว มีข้อความทั้งจริงและเท็จปนอยู่มากมาย ตามสำนวนไทยที่ต้องแยกแยะว่า อะไรคือความจริง อะไรคือความเท็จ



ความจริงก็คือ กระบวนการร่างกฎหมายและเสนอกฎหมาย ก็เป็นไปตามปกติของการเสนอกฎหมายใหม่จริง ผ่านไปถึงคณะกรรมการกฤษฎีกาจริง มีกรรมการฝ่ายแพทย์ไปประชุมด้วยจริง แต่อาจจะเป็นเสียงข้างน้อย และไม่ได้บันทึกไว้ หรือคณะกรรมการกฤษฎีกามีการสรุปความเห็นจริง แต่ผู้ผลักดันกฎหมายได้ใช้สิทธิไปผลักดันให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แก้กฎหมายจากที่คณะกรรมการกฤษฏีกาเสนอ ให้กลับคืนมาเป็นตามแบบที่กลุ่มเครือข่ายผู้เสียหายต้องการ โดยการนำเอาผู้พิการไปเป็นผู้เรียกร้องด้วย


ส่วนความเท็จที่คุณสารีอ้างก็คือ การกล่าวหาว่าฝ่ายผู้ต่อต้าน มีการ “ปล่อยข่าว”ว่ามีผู้ต้องการหาผลประโยชน์

............. เรื่องนี้ถ้าสอบสวนวิเคราะห์ให้ดี จะพบว่า “ไม่ใช่การปล่อยข่าว” แต่อย่างใด ในบทเฉพาะกาลของร่างพ.ร.บ.ฉบับเสนอโดยรัฐบาล เขียนไว้ว่า NGO ด้านสาธารณสุขจะเป็นกรรมการในบทเฉพาะกาลไว้มากถึง 6 ใน 11 คน (ถามเด็กอนุบาลก็รู้ว่าเป็นกรรมการเสียงข้างมาก ที่จะไปออกกฎระเบียบต่างๆ และระเบียบการใช้เงินกองทุนต่อไป และกำหนดผลประโยชน์ของคณะกรรมการได้ด้วย)

และถ้าไปไล่เรียงรายชื่อผู้ออกหน้ามาสนับสนุนพ.ร.บ.นี้ ก็จะเห็นว่า บุคคลต่างๆเหล่านี้ต่างก็มีชื่อเป็นกรรมการในสปสช. สสส. สช. และคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ซ้ำกันไปมา จนดูเหมือนว่า ประเทศไทยมีคนเก่งและรอบรู้ มีความสามารถผูกขาดอยู่ไม่กี่คน



ส่วนประเด็นคดีอาญานั้น คุณสารีจะมาอ้างว่าพ.ร.บ.นี้จะให้ประโยชน์แก่แพทย์นั้น แพทย์ไม่เห็นด้วย เพราะแพทย์ตั้งใจมา “ช่วยชีวิต” ผู้ป่วย ไม่ได้ตั้งใจมา “ฆ่าคน” จึงปราศจาก “เจตนาในการฆ่า” เหมือนกับการขับรถชนคนตายโดยประมาท ถึงแม้จะปราศจาก “เจตนาฆ่า” แต่พฤติกรรมที่ประมาทเลินเล่อ” ทำให้เกิดการสูญเสียชีวิต “ ศาลก็ย่อมต้องใช้ดุลพินิจที่เหมาะสมในการพิจารณาพิพากษาคดีอยู่แล้ว

................ การมาบัญญัติให้ศาลใช้ดุลพินิจเพื่อลดโทษในพ.ร.บ.นี้ จึงไม่น่าจะมีผลที่เป็นประโยชน์เพิ่มเติมกับแพทย์แต่อย่างใด

การที่แพทย์ส่วนหนึ่งมาคัดค้าน จนมีการรวมตัวกันเป็นสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย ก็เนื่องจากได้อ่านรายละเอียดของร่างพ.ร.บ.ฉบับรัฐบาลแล้ว เห็นว่า เป็นพ.ร.บ.ที่ไม่ “เที่ยงธรรม” กล่าวคือให้สิทธิประชาชน 9 ในสิบส่วน แต่ให้สิทธิบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขเพียง 1 ในสิบส่วนเท่านั้น ทั้งๆที่ประชาชนเป็นฝ่ายมาให้แพทย์รักษา แพทย์มิได้ออกไปขอให้ประชาชนมารักษากับตน และแพทย์ไม่สามารถปฏิเสธการรักษาประชาชนได้ ไม่สามารถเลือกผู้ป่วยได้ โดยที่แพทย์ต้องถูกควบคุมกำกับโดยผู้บังคับบัญชาในกระทรวงสาธารณสุข สภาวิชาชีพ กฎหมายสถานพยาบาล กฎหมายแพ่ง อาญา กฎหมายปกครอง และจริยธรรมวิชาชีพ อยู่มากมายหลายฉบับแล้ว และจะต้องมาถูกควบคุมจากฎหมายฉบับนี้ " โดยกรรมการที่ไม่ต้องตรวจสอบคุณสมบัติความรู้ ความสามารถและตรวจสอบผลประโยชน์ทับซ้อน หรือจริยธรรมใดๆ "

ทั้งๆที่ในการทำงานตรวจรักษาผู้ป่วยของบุคลากรทางการแพทย์นั้น บุคลากรส่วนมากมีความตั้งใจที่จะทำงานให้ดีที่สุด เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้ป่วย การที่ผู้ป่วยไม่หายจากอาการเจ็บป่วย มีความพิการ หรือเป็นโรคเรื้อรังนั้น ก็อาจจะเกิดจากอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา โรคแทรกซ้อน สังขารของผู้ป่วยเอง และความรุนแรงของโรค ที่มนุษย์ปุถุชนเช่นแพทย์ไม่มีการรักษาที่จะสามารถหยุดยั้งความรุนแรงของโรคได้ และมีส่วนน้อยที่เกิดจากความประมาทเลินเล่อ ปล่อยปละละเลย หรือความผิดพลาดในการรักษาจากผู้ทำการรักษา



และพ.ร.บ.นี้ อ้างว่าจะช่วย “เสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดี” ระหว่างประชาชนและแพทย์ ก็ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ความจริงที่เห็นชัดในพ.ร.บ.นี้ ที่ฝ่ายสนับสนุนต้องการ คืออยากได้เงินชดเชยเมื่อเกิดความเสียหาย เพิ่มจากขีดจำกัดที่เคยได้รับจากมาตรา 41 ของพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่จ่ายเงินช่วยเหลือสูงสุดเพียง 200,000 บาท ทำให้ฝ่ายผู้เสียหายบอกว่า เงินไม่พอใช้ ต้องการเงินมากกว่านี้




ถ้าอ่านพ.ร.บ.นี้ให้เข้าใจทุกบททุกมาตราแล้ว จะเห็นว่า ผู้ที่รู้ตัวว่าได้รับความเสียหายทางการแพทย์นั้น จะได้รับเงินช่วยเหลือและชดเชยก็ต่อเมื่อบุคลากรทางการแพทย์ทำผิดมาตรฐานเท่านั้น

............. ถ้าเป็นอาการอันไม่พึงประสงค์เช่นแพ้ยาจนตาบอด ก็จะไม่ได้เงินช่วยเหลือและชดเชยจากกองทุนนี้ ยกเว้นคณะอนุกรรมการและกรรมการจะตัดสินว่าแพทย์ทำผิดมาตรฐานจึงจะได้เงินช่วยเหลือและชดเชย ซึ่งเมื่อมีการจ่ายเงินครั้งใด จะหมายความว่าแพทย์ทำผิดประการเดียวเท่านั้น จะหมายความเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ ซึ่งผู้เสียหายจะไม่ได้เงินง่ายๆเหมือนมาตรา 41 ของพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

แต่การตัดสินการทำงานของแพทย์ผู้ต้องใช้ความรู้และทักษะทางวิชาการเฉพาะ แต่จะถูกตัดสินโดยกลุ่มบุคคลที่ไม่มีความรู้และทักษะในวิชาการไม่เท่าเทียมกัน จึงถือว่าเป็นพ.ร.บ.ที่ไม่ยุติธรรม เหมือนเอาคนตัดสินฟุตบอลโรงเรียนประถม ไปตัดสินการแข่งฟุตบอลโลก



ทำไมผู้คัดค้านส่วนมากจึงเป็นแพทย์ที่ทำงานหรือเคยทำงานในกระทรวงสาธารณสุข?

................ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ การทำงานบริการทางการแพทย์ในกระทรวงสาธารณสุขนั้น ส่วนมากเป็นการทำงานที่ไม่ได้มาตรฐานที่แพทย์เองพึงพอใจ เนื่องจากความขาดแคลนบุคลากร ขาดเตียง ขาดอาคารสถานที่ ขาดเงินงบประมาณในการซื้อยา เครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย ได้มาตรฐาน แต่จำนวนผู้ป่วยมากมายเกินกำลังคน และอุปกรณ์ที่มีอยู่ บุคลากรต้องทำงานติดต่อกันไม่มีเวลาพักจนเหนื่อยล้า ประชาชนเสี่ยงต่อความผิดพลาดหรืออันตราย เสี่ยงต่อความเข้าใจผิด เนื่องจากมีความคาดหวังสูงเกินไป ไม่ยอมรับในความสูญเสีย ทั้งๆที่ความสูญเสียนั้นอาจจะเกิดจากอาการป่วยที่ทรุดหนักตามสังขารและความรุนแรงของโรค หรืออาการอันไม่พึงประสงค์ของการใช้ยา แต่ประชาชนไม่เข้าใจ และฟ้องร้องแพทย์ว่าเป็นสาเหตุแห่ง “ความเสียหาย”เสมอ



ที่จริงแล้วแพทย์ต้องการให้ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ได้ “ป้องกัน” ไม่ให้ประชาชนได้รับความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข

การป้องกันความเสียหายเหล่านี้ สามารถทำได้โดยการพัฒนาสถานพยาบาลทุกระดับ ให้มีบุคลากร อาคารสถานที่ งบประมาณในการจัดซื้ออุปกรณ์ เทคโนโลยีและเวชภัณฑ์ ให้ได้มาตรฐานการบริการทางการแพทย์ที่ดี เพื่อให้ประชาชนปลอดภัยจากการรับบริการสาธารณสุข

และเมื่อเกิดความเสียหายขึ้น ก็สามารถใช้มาตรา 41 ในพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติมาช่วยเหลือประชาชนได้ และถ้าความเสียหายเกิดจากความผิดพลาดหรือประมาทเลินเล่อ กระทรวงสาธารณสุขในฐานะผู้บังคับบัญชาต้องรีบมาให้การช่วยเหลือเยียวยาประชาชนและให้ความเป็นธรรมแก่บุคลากร มิใช่ลอยตัวอยู่เหนือปัญหา ปล่อยปละละเลยไม่ดูแลป้องกันหรือแก้ไขปัญหาในสถานพยาบาลที่ตนต้องรับผิดชอบ ปล่อยให้บุคลากรทำงานในสภาพที่ตกต่ำจากมาตรฐาน ประชาชนเสี่ยงอันตราย โดยไม่ป้องกันอันตราย ไม่พัฒนาบริการเช่นนี้



หรือประชาชนยอมรับต่อการเสี่ยงอันตราย แต่พอใจจะรอรับเงินช่วยเหลือหลังจากเกิดความพิการหรือเพื่อชดเชยชีวิตเท่านั้น?





ตอนท้ายบทความคุณสารีขอบคุณนายกรัฐมนตรี ที่รับปากว่าจะผลักดันร่างกฎหมายนี้แน่นอน

ทางสผพท.ก็ขอขอบคุณนายวิทยา แก้วภราดัยที่ยืนยันว่า จะนำร่างพ.ร.บ.นี้เข้าพิจารณา ก็ต่อเมื่อกระทรวงสาธารณสุขได้ทำประชาพิจารณ์ในวงกว้าง

และขอขอบคุณนายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ที่เคยให้สัญญาลูกผู้ชายว่า จะยอมถอนร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ ออกจากสภาฯถ้าแพทยสภาสามารถรวบรวมรายชื่อบุคลากรสาธารณสุขถึง 80% ว่าไม่เห็นด้วยกับพ.ร.บ.นี้









Create Date : 04 มีนาคม 2554
Last Update : 4 มีนาคม 2554 16:50:49 น. 0 comments
Counter : 2026 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]