Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ทำอย่างไรดีเมื่อแพทย์โดนฟ้อง ... รศ.นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ (นำมาฝาก)





slideประกอบการบรรยาย "ทำอย่างไรดีเมื่อแพทย์โดนฟ้อง"
สำหรับเพื่อนแพทย์ทุกท่าน
ขอบคุณความรู้จากท่านผู้พิพากษา ท่านอัยการ และเพื่อนนักกฎหมาย
แต่ไม่ว่าอย่างไรดี การไม่ถูกฟ้องคือสุดยอดปรารถนา

รศ.นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ

สรุปการบรรยาย "ทำอย่างไรดีเมื่อแพทย์โดนฟ้อง"
https://www.facebook.com/methee.wong.7/posts/6175808509113328

ไฟล์ดาวโหลด
https://drive.google.com/file/d/12JQnIFAqBGXWIfhNrzlbr23an18sRkf5/view?fbclid=IwAR2ThNeoWDtzMyryyegaUYPT8CZMw6vVsiGdz9akjq7O23hEkeaqULFM31U

..........................................

สำหรับเพื่อนแพทย์ทุกท่าน
คงไม่มีใครอยากโดนฟ้อง

คนที่โดนฟ้อง...มักเป็นคนที่ไม่คิดว่าจะโดนฟ้อง...และมักเป็นคนที่ไม่สนใจเรื่องนี้มาก่อนเลย !!!

ถ้าท่านคิดว่าท่านเป็นฝ่ายผิด...ดีที่สุดคือ "ไกล่เกลี่ย"
หากท่านมั่นใจว่าเป็นฝ่ายถูก...การต่อสู้คดี เป็นทางออกหนึ่งที่จะพิสูจน์ความจริงต่อสาธารณชน และรักษาเกียรติศักดิ์ของท่าน...แต่ต้องอดทนและต้องต่อสู้โดยมีเข็มทิศที่ถูกต้องนำทาง



(๑) การที่คดีแพทย์ถูกจัดให้เป็นคดีผู้บริโภค ทำให้เกิดภาระหนักตกอยู่ที่แพทย์ เพราะ “แพทย์มีหน้าที่ต้องพิสูจน์” + “พิสูจน์ว่าตนเองไม่ได้ประมาทตามที่โจทก์กล่าวอ้าง”



(๒) สิ่งสำคัญที่สุดเมื่อโดนฟ้องคือ “สติ”

ท่านจะต้องมีสติ และอาจไม่มีเวลาสำหรับ “ทำใจ” เท่าใดนัก เพราะตามกฎหมายแล้วจะมีเงื่อนเวลาหลายอย่างที่แพทย์ต้องรีบทำให้ทันภายในกำหนด โดยเฉพาะ “การทำคำให้การแก้ฟ้อง” ดังนั้นคนที่จะช่วยท่านได้ คือ ทีมแพทย์พยาบาลที่เกี่ยวข้องในคดีและที่สำคัญที่สุดคือ “ทีมนักกฎหมาย” ไม่วาจะเป็น อัยการ ทนายความ หรือนิติกร ...ท่านต้องรีบหาทีมAvengersเหล่านี้มาช่วยเหลือท่าน โดยเฉพาะประเด็นเรื่องข้อกฎหมายและระเบียบวิธีการปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ท่านไม่อาจรู้ได้เอง


(๓) ตรวจสอบ Checklists ที่ต้องเตรียมตัวในการต่อสู้คดี (เมื่อท่านมั่นใจว่าท่านมิได้กระทำผิดตามคำกล่าวฟ้องของโจกท์)
- สรุปเรื่องราว ... และควรทำเป็น TimeLine ให้ชัดเจนสำหรับคนนอกที่ไม่ใช่แพทย์จะได้ลำดับเหตุการณ์ได้ง่ายและถูกต้อง....ประเด็นคำฟ้อง ทุนทรัพย์ มาตราที่ใช้ฟ้อง
- ตรวจสอบเบื้องต้น .. วันครบกำหนดยื่นคำให้การ อายุความ อำนาจฟ้อง ฟ้องผิดตัว ฟ้องไม่ครบคน
- ตรวจสอบโดยละเอียด .. ข้อเท็จจริงในคำฟ้องคลาดเคลื่อนหรือไม่ พยานหลักฐาน พยานบุคคล พยานเอกสาร
- พยาน .. พยานบุคคลที่เป็นกลาง มีความน่าเชื่อถือพร้อมแสดงให้ศาลเห็นว่าทำไมพยานเราจึงน่าเชื่อกว่าพยานโจทก์ พยานเอกสารมีความสอดคล้องกันหรือไม่ พยานที่ศาลไม่อาจปฏิเสธการรับฟัง เช่น ภาพถ่าย คลิปVDO
- การต่อสู้คดี ...ต้องร่วมมือกับทนายหรืออัยการ อย่าปล่อยให้เขาสู้คดีตามลำพัง ทำลายความน่าเชื่อถือพยานที่โจทก์นำมาทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารด้วยพยานฝ่ายเรา (ซึ่งควรเตรียมพยานเอกสาร ตำราวิชาการไว้ด้วย)



(๔) ประเด็นสำคัญที่สุดต่อการแพ้ชนะในคดี ที่ท่านต้องต่อสู้(ชี้แจง)ให้ศาลเห็นด้วยกับท่าน คือ

(๑) มาตรฐานวิชาชีพ และมาตรฐานวิชาการ เข่นภาวะวิสัยพฤติการณ์ ประสบการณ์ สถานที่ทำงาน ว่าเป็นอย่างไร (ท่านมีประสบการณ์มากี่ปี ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์จบใหม่ รพ.มีข้อจำกัดอะไร ภาระงานที่ท่านมีคืออะไร หรือ ณ วันเวลาที่เกิดเหตุการณ์ มีสถานการณ์พิเศษอะไรเช่น คนไข้เทกระจาดมาพร้อมกัน ท่านเป็นแพทย์เวรเพียงคนเดียวแต่ต้องรับมือผู้ป่วยพร้อมกันหลายคน เป็นต้น) ท่านอดหลับอดนอนมาเท่าไร ท่านอยู่เวรปฏิบัติงานในช่วงเวลาดังกล่าวมากน้อยเพียงใด ..ทั้งนี้เพื่อให้ศาลเห็นว่าท่านมีข้อจำกัดอะไร ....เพราะโจทก์มักบรรยายฟ้องเสมือนว่าท่านเป็นแพทย์ที่เลอเลิศ เป็นแพทย์ที่มีประสบการณ์สูง วัน ๆ ท่านไม่ทำอะไร ท่านมีภาระงานไม่มาก หรือคิดเอาเองว่ารพ.ที่ท่านทำงานมีความพร้อมเหมือนกับ รร.แพทย์...

ประเด็นต่าง ๆเหล่านี้ศาลมิอาจรู้ได้เอง...ท่านต้องบรรยายให้ศาลทราบถึงข้อจำกัดเหล่านี้
หากมีเอกสารต้องเตรียมไปให้เรียบร้อยพร้อมแปลเป็นไทยให้ศาลเข้าใจ

(๒) ข้อยกเว้นความรับผิดทางละเมิด เช่นการให้ความยินยอม เหตุสุดวิสัย และความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล




(๕) ไม่ว่าท่านมั่นใจว่าจะชนะคดีมากแค่ไหนก็ตาม

ในคำแก้ฟ้อง และในการต่อสู้ในชั้นศาล ...ท่านต้องต่อสู้ในประเด็นนี้ด้วยเสมอ

ไม่อย่างงั้น...หากท่านแพ้คดี... ท่านอาจต้องจ่ายสินไหมในฐานกระทำละเมิดมากกว่าที่ควรจะต้องเสีย



(๖) ระมัดระวังเรื่อง “ค่าเสียหายเชิงลงโทษ (Punitive damage)” ซึ่งศาลอาจสั่งให้ท่านจ่ายหากเห็นว่าท่านกระทำการเข้าข่าย เช่น เจตนา ประมาทเลินเล่อร้ายแรง เอาเปรียบผู้ป่วยโดยไม่เป็นธรรม ไม่นำพาต่อความเสียหายที่เกิดแก่ผู้ป่วย .....ถ้าท่านมีพฤติการณ์เหล่านี้...ศาลอาจมีคำพิพากษาเกินคำขอได้



(๗) slideนี้ เป็นขั้นตอนมาตรฐานที่ "ต้อง" เกิดขึ้น และ "ต้อง" เป็นไปตามนี้ หากท่านปฏิบัติงาน ณ รพ.ของรัฐ และท่านเป็นพนักงานของรัฐ (ข้าราชการ/ลูกจ้างประจำ) และคดีที่เกิดขึ้นเกิดเนื่องจากการปฏิบัติงานในหน้าที่รัฐ

หากนิติกร หรือทีมที่รับผิดชอบในรพ.ที่ท่านปฏิบัติงานอยู่ไม่ทำตามขั้นตอนนี้...ท่านอาจแพ้คดีแบบ Technical KnockOutได้ (แพ้แบบไม่ควรแพ้)

แต่แม้ท่านปฏิบัติงานในภาคเอกชน ก็สามารถนำไปปรับใช้ได้ โดยตัดส่วนราชการที่ไม่เกี่ยวข้องออก และเปลี่ยนจากอัยการที่จะทำคดี เป็นทนายความแทน

และ "อย่า"ปล่อยให้การต่อสู้คดีเป็นหน้าที่ของนักกฎหมาย โดยที่ท่านปล่อยปละละเลยไม่ติดตามรายละเอียด ...แม้จะมี พรบ.ความรับผิดทางละเมิด คุ้มครองท่านอยู่ในกรณีที่ท่านทำงานในรพ.รัฐก็ตาม (อย่าลืมว่า หากแพ้คดี ก็ยังมีสิทธิโดนไล่เบี้ย !!ได้)


..................................................


🎯หัวข้อ
“ทำอย่างไรดีเมื่อแพทย์โดนฟ้อง” และ
“practical point in drug allergy for physicians”
.
📅วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม 2565⏰
เวลา 13.00 น. - 16.00น.
รับชมผ่าน Facebook live เพจแพทยสภา ที่
https://www.facebook.com/thaimedcouncil
...........................................
กำหนดการ
⏰13.00 - 13.10 น. :
กล่าวความเป็นมาการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 5
โดย พล.อ.ท.นพ.อิทธพร คณะเจริญ
เลขาธิการแพทยสภา
⏰13.10 - 13.20 น. :
กล่าวเปิดการบรรยาย
โดย ศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์
นายกแพทยสภา
⏰13.20 - 13.40 น. :
ความรู้สำหรับ แพทย์โดนฟ้องร้อง ในมุมมองจากแพทยสภา
โดย พล.อ.ท.นพ.อิทธพร คณะเจริญ
เลขาธิการแพทยสภา
⏰13.40 - 14.10 น. :
ความรู้สำหรับ แพทย์เมื่อโดนฟ้องร้อง ในมุมมองจากอัยการ
โดย นาย อังคาร เพชรอาวุธ
อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
⏰14.10 - 15.00 น. :
เสวนา ความรู้ทางกฎหมาย สำหรับที่แพทย์ต้องทราบ
โดย นาย อังคาร เพชรอาวุธ อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด รศ.นพ.วิสูตร ฟองศิริไพบูลย์ รองเลขาธิการแพทยสภา
รศ.นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา
ผศ.นพ.ต่อพล วัฒนา ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา
⏰15.00 - 15.10 น. :
ช่วงถาม - ตอบ Q&A
⏰15.15 - 15.45 น. :
practical point in drug allergy for physicians
โดย รศ.นพ.เจตทะนง แกล้วสงคราม
ผู้แทนสมาคมโรคภูมิแพ้ โรคหืดและวิทยาภูมิคุ้มกันแห่งประเทศไทย
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
⏰15.45 - 16.00 น. :
กล่าวปิดการบรรยาย
โดย พล.อ.ท.นพ.อิทธพร คณะเจริญ
เลขาธิการแพทยสภา
.
ดำเนินรายการโดย นายแพทย์ภาสกร วันชัยจิระบุญ ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา
...................................................
แพทยสภาขอขอบพระคุณทุกท่าน
ที่เข้าร่วมสนับสนุนกิจกรรมของแพทยสภามาโดยตลอด



 


Create Date : 17 ตุลาคม 2565
Last Update : 17 ตุลาคม 2565 14:41:26 น. 0 comments
Counter : 1395 Pageviews.  

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณhaiku, คุณนายแว่นขยันเที่ยว


ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]