Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

เมื่อแพทย์และพยาบาลต้องล้มละลายเพราะถูกไล่เบี้ย ... ผศ.นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ



เมื่อแพทย์และพยาบาลต้องล้มละลายเพราะถูกไล่เบี้ย

ผศ.นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา กรรมการแพทยสมาคม

ปัจจุบันแพทย์พยาบาลสามารถถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย(คดีแพ่ง) โดยง่าย เหตุเพราะมีการตีความว่าการรักษาช่วยชีวิตคนไม่ต่างอะไรจากสินค้าหรือบริการที่มุ่งหวัง กำไรทั่ว ๆ ไป (ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค)ทำให้มีแนวโน้มการฟ้องร้องสูงขึ้น เรื่อย ๆ ที่ผ่านมาประเด็นนี้ ได้รับการปลอบขวัญจากรัฐเพื่อลดความวิตกกังวลของบุคลากรภาครัฐว่า“ไม่ต้องกังวล เพราะมีพ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ เป็นเกราะป้องกันการฟ้องร้องไว้” จึงทำให้แพทย์พยาบาล หลายคนชะล่าใจ คิดว่าไม่ว่าผิดถูกอย่างไร ไม่ว่าศาลจะทำคำตัดสินออกมาเช่นไรบุคลากรก็ไมได้รับผลกระทบ ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วแพทย์พยาบาล อาจตกอยู่ในฐานะล้มละลายโดยง่ายได้เหตุเพราะแท้จริงแล้วบุคลากรยังคงมีความรับผิดชอบต่อเงินที่หน่วยงานต้นสังกัดต้องทดรองจ่ายให้ไปก่อนควรเข้าใจเสียใหม่ว่า กฎหมายนี้เป็นเพียงเกราะป้องกันมิให้แพทย์พยาบาลตกเป็นจำเลยโดยตรง แต่ความรับผิดทางอ้อม (การโดนไล่เบี้ย )ยังคงอยู่

ที่สำคัญคือในการอภิปรายและการประชุมในหลายๆ ครั้ง ผู้บริหารระดับสูง ในกระทรวงก็ยอมรับว่าท่านไม่มีอำนาจสั่งห้ามการไล่เบี้ยได้ เพราะเมื่อกระทรวงต้องนำเงินหลวงออกไปจ่ายให้กับโจทก์ตามคำพิพากษาท่านมีหน้าที่ตั้ง กรรมการสอบเพื่อพิจารณาการ ไล่เบี้ยและรายงานผลให้กระทรวงการคลังที่เป็นเจ้าของเงินที่แท้จริงซึ่งส่วนใหญ่แล้วกระทรวงการคลัง จะดูคำพิพากษาศาลเป็นหลักหากศาลตัดสินว่ามีความผิด การไล่เบี้ยนั้น เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงได้ยาก !!ที่น่าตกใจยิ่งไปกว่านี้คือขณะนี้มีคดีแพ่งที่กระทรวงตกเป็นจำเลยและรอฟังคำตัดสินของศาล อยู่อีกประมาณ ๕๐ คดีคิดเป็นทุนทรัพย์ประมาณ ๓,๐๓๙ ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ ๙กรกฎาคม ๒๕๕๙ กลุ่มกฎหมาย กระทรวงสาธารณสุข)

ที่น่าวิตกยิ่งไปกว่านี้คือหากรัฐยอมผ่านพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขจะมีคดีฟ้องร้องเพิ่มขึ้นอีกกี่ร้อยเท่าเพราะเดิมพันตามร่างกฎหมายใหม่นี้เป็นเงินจำนวนหลายล้านบาทต่อการร้องเรียนหนึ่งรายและเมื่อจ่ายเงินไปหลายล้านบาทออกไป กระทรวงการคลัง จะยอมมิให้มีการไล่เบี้ยอย่างที่ผู้ผลักดันกฎหมายออกมาโฆษณาชวนเชื่อ จริงหรือ !?!

แนะนำให้อ่านอย่างยิ่งยวด .. โดยเฉพาะ แพทย์พยาบาล ที่ยังรับราชการอยู่

เมื่อแพทย์และพยาบาลต้องล้มละลายเพราะถูกไล่เบี้ย
ผศ.นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา กรรมการแพทยสมาคม

ดาวน์โหลด วารสารเมดิคอลโฟกัส MedicalFocusปีที่ 8 ฉบับที่ 94 ตุลาคม 2559

//www.luckystarmedia.co.th/download/medical_focus_vol_94.pdf


 ...............................

ตัวอย่างคดีที่แพทย์พยาบาลโดนไล่เบี้ย

- คดีแรก Drug allergy ศาลเห็นว่าแพทย์กระทำการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงจึงมีคำพิพากษาให้กระทรวงสาธารณสุข ต้องชดใช้สินไหมเป็นเงินจำนวน ๓,๖๘๘,๖๓๐ บาท เมื่อคดีนี้ เข้าสู่คณะกรรมการพิจารณาไล่เบี้ยคำตัดสินที่ได้ออกมาคือแพทย์ต้องควักเงินส่วนตัว เพื่อชำระในอัตรา ๕๐% คิดตกเป็นเงินทั้งสิ้นที่แพทย์ต้องจ่ายคืนให้กับรัฐ๑,๘๔๔,๓๑๕ บาท

- คดีที่สอง Compartment syndrome ศาลจึงมีคำพิพากษาถึงที่สุด ต้องชดใช้สินไหมพร้อมค่าเสียหายเป็นเงิน ๔,๒๕๑,๓๗๗ บาท โดยมีการไล่เบี้ยให้แพทย์ต้องชดใช้เงินคืนรัฐจำนวน ๗๐% และพยาบาล ๓ คนอีก ๓๐%

- คดีที่สาม Snake bite ศาลจึงตัดสินให้จำเลยมีความผิดและต้องชดใช้เงินเป็นจำนวนทั้งสิ้น ประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ บาท คดีนี้ มีคำสั่งให้ไล่เบี้ยแพทย์คิดเป็น ๖๐% พยาบาล ๔๐%

- คดีที่สี่ Extubation ศาลจึงมีคำพิพากษาว่าจำเลยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง!! ต้องชดใช้เงินรวมทั้งสิ้น ๕,๑๒๕,๔๑๑ บาท กระทรวงสาธารณสุข ตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาการไล่เบี้ย มีคำสั่งให้ไล่เบี้ยเป็นจำนวนเงิน ๕๐% ของเงินที่จ่ายไป โดยให้แพทย์รับไป ๗๐% พยาบาล ๒ คน ๓๐%

- คดีที่ห้า Pulmonary tuberculosis คำพิพากษาให้จำเลย ที่เป็นกุมารแพทย์มีความผิดฐานประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงให้กระทรวงสาธารณสุข ต้องจ่ายเงินประมาณ ๓,๘๐๐๐,๐๐๐ บาท



...................................................

แนะนำให้อ่านอย่างยิ่งยวด .. โดยเฉพาะ แพทย์พยาบาล ที่ยังรับราชการอยู่

เมื่อแพทย์และพยาบาลต้องล้มละลายเพราะถูกไล่เบี้ย
ผศ.นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา กรรมการแพทยสมาคม

ดาวน์โหลด วารสารเมดิคอลโฟกัส MedicalFocusปีที่ 8 ฉบับที่ 94 ตุลาคม 2559

//www.luckystarmedia.co.th/download/medical_focus_vol_94.pdf





Create Date : 15 พฤศจิกายน 2559
Last Update : 15 พฤศจิกายน 2559 14:46:54 น. 5 comments
Counter : 6122 Pageviews.  

 
หมอ ก็เป็นแค่หัวโขน วันหนึ่งก็อาจเปลี่ยนเป็น ผู้ป่วย หรือ ญาติผู้ป่วย ..
รวบรวมมาฝาก .. จะได้เข้าใจกันมากขึ้นว่า เรื่องนี้ ไม่ใช่แค่ผลกระทบของ "หมอ" เท่านั้น
มีผลกระทบต่อระบบสาธารณสุขโดยรวม และ มีความสลับซับซ้อนกว่า คำพูดไม่กี่คำ ที่ยกขึ้นมาอ้าง

ถอดความ รายการสามัญชน คนไทย ตอน กฎหมายคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบทางสาธารณสุข ... ชเนษฎ์ ศรีสุโข https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=21-11-2016&group=7&gblog=208

ร่าง พรบ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ... ปัญหา หรือ โอกาส ... https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=11-07-2010&group=7&gblog=61

เมื่อแพทย์และพยาบาลต้องล้มละลายเพราะถูกไล่เบี้ย
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=15-11-2016&group=7&gblog=207

การกระทำของแพทย์ในการรักษาโรค
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-09-2016&group=7&gblog=204

ประกันภัยภาระรับผิดชอบในวิชาชีพ (Professional Liability Insurance) ทางออกหนึ่งสำหรับคดีทางการแพทย์ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=17-04-2016&group=7&gblog=197

ได้ไม่เท่าเสีย ....โดย สุนทร นาคประดิษฐ์ ( ความเห็น เกี่ยวกับ การฟ้องร้องแพทย์ ) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-03-2009&group=7&gblog=21

ฟ้องร้องแพทย์ ความยุติธรรมแก่ใคร ฤๅ???
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-01-2009&group=7&gblog=12


โดย: หมอหมู วันที่: 21 พฤศจิกายน 2559 เวลา:14:33:34 น.  

 
สธ.ยันไม่ทอดทิ้งบุคลากรเหตุเสียหายทางการแพทย์ หากถูกไล่เบี้ย หาเงินบริจาคจ่ายคืนคลัง
Mon, 2016-11-21 21:34 -- hfocus
https://www.hfocus.org/content/2016/11/13017

กระทรวงสาธารณสุข กำหนดยุทธศาสตร์แก้ปัญหาความขัดแย้งทางการแพทย์ครบวงจร ยืนยันไม่ทอดทิ้งบุคลากร ดูแลช่วยเหลือทั้งไกล่เกลี่ย ดำเนินการชั้นศาล ดูแลจิตใจลดความวิตกกังวล หากแพ้คดี ถูกไล่เบี้ย หาเงินบริจาคช่วยในการจ่ายคืนกระทรวงการคลัง โดยบุคลากรอาจมีส่วนร่วมบางส่วนเท่านั้น แนะหากบุคลากรช่วยกันขอ ก.พ.ให้เพิ่มอัตราข้าราชการสาขาต่างๆ และสำนักงบประมาณจัดสรรงบจัดซื้อเครื่องมือทางการแพทย์

นพ.มรุต จิรเศรษฐสิริ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับกรณีที่มีการเผยแพร่ข้อมูลคดีทางการแพทย์ที่บุคลากรทางการแพทย์ถูกไล่เบี้ยจากกระทรวงการคลัง จากการรักษาพยาบาลหรือให้บริการสาธารณสุข จำนวน 5 คดี ซึ่งอาจทำให้บุคลากรสาธารณสุขและประชาชน เกิดความสงสัยถึงเหตุผลที่แพทย์พยาบาลต้องรับผิดชอบจ่ายค่าเสียหายหรือถูกไล่เบี้ย รวมทั้งการช่วยเหลือของกระทรวงสาธารณสุข ว่า กระทรวงสาธารณสุข มีความห่วงใยและต้องการช่วยเหลือทั้งบุคลากรทางการแพทย์และประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากบริการทางการแพทย์ ได้กำหนดยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการแพทย์อย่างครบวงจร ตั้งแต่การพัฒนาระบบบริการ การบริหารความเสี่ยงทางการแพทย์ การเจรจาไกล่เกลี่ย การต่อสู้คดี ตลอดจนการช่วยเหลือกรณีถูกไล่เบี้ย

“ขอยืนยันว่าไม่เคยทอดทิ้งบุคลากร เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ขึ้นทุกโรงพยาบาลจะส่งเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการอบรมเป็นนักเจรจาไกล่เกลี่ยพูดคุยกับผู้ได้รับผลกระทบ ซึ่งส่วนใหญ่สามารถเจรจาไกล่เกลี่ยได้ เมื่อได้รับฟังเหตุผลและเห็นความจริงใจของเจ้าหน้าที่ จึงเข้าใจดีว่าไม่มีใครต้องการให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย”

อย่างไรก็ตาม หากไม่สามารถเจรจาไกล่เกลี่ยได้ เกิดการฟ้องร้องเป็นคดีความ การดำเนินการต่างๆ จะเป็นไปขั้นตอนตามกฎหมาย กระทรวงสาธารณสุขจะส่งเรื่องให้พนักงานอัยการเป็นทนายความสู้คดี ขอสนับสนุนพยานผู้เชี่ยวชาญจากกรมการแพทย์และสภาวิชาชีพมาให้ความเห็นทางวิชาการในคดี และดูแลช่วยเหลือบุคลากรที่เกี่ยวข้องเพื่อลดความกังวล และจะมีการเจรจาไกล่เกลี่ยในศาลอีก

ที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขถูกฟ้อง 261 คดี กว่าครึ่งสามารถเจรจาไกล่เกลี่ยได้ ส่วนคดีที่ถึงที่สุด 47 คดี ชนะ 27 คดี แพ้ 20 คดี ซึ่งกรณีที่แพ้คดี จะมีการทบทวนสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด และส่งกระทรวงการคลังพิจารณาข้อเท็จจริงต่างๆ และเป็นผู้ชี้ขาดความรับผิดชอบทางแพ่ง กระทรวงสาธารณสุขไม่มีอำนาจแก้ไขหรือตัดสินใจได้เอง ซึ่งส่วนใหญ่คดีที่ถูกไล่เบี้ย กระทรวงสาธารณสุขและโรงพยาบาลที่เกิดเหตุไม่ได้ทอดทิ้ง จะหาเงินบริจาคช่วยในการจ่ายคืนกระทรวงการคลัง บุคลากรอาจมีส่วนร่วมบางส่วนเท่านั้น

“ไม่เข้าใจว่าเหตุใดจึงมีผู้นำข้อมูลคดีทางการแพทย์ดังกล่าว ซึ่งเป็นเรื่องที่ผ่านมา 5-6 ปี การดำเนินการต่างๆ ทางกฎหมายก็ยุติลงแล้ว ขอให้กำลังใจบุคลากรสาธารณสุขทุกคน ที่ทุ่มเททำงานในการดูแลสุขภาพประชาชนท่ามกลางข้อจำกัดต่างๆ และภาระงานที่มีมาก ขณะที่จำนวนบุคลากรในสถานพยาบาลส่วนใหญ่ยังไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุไม่พึงประสงค์ อาจนำไปสู่การฟ้องร้อง จึงขอให้พวกเราช่วยกันขอให้ ก.พ.เพิ่มอัตราข้าราชการสาขาต่างๆ และสำนักงบประมาณจัดสรรงบจัดซื้อเครื่องมือทางการแพทย์ เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ขณะเดียวกัน ต้องไม่ท้อถอย ทำงานอย่างละเอียดรอบคอบ ให้ความสนใจ พูดคุยให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและญาติอย่างเป็นมิตร จะช่วยลดปัญหาความขัดแย้งลงได้มาก” นพ.มรุต กล่าว



โดย: หมอหมู วันที่: 22 พฤศจิกายน 2559 เวลา:23:13:10 น.  

 
ร่าง พรบ.คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบ สธ. ฉบับ สปท.
https://www.facebook.com/ittaporn/media_set?set=a.1319098424817627.1073743885.100001524474522&type=3&pnref=story

ร่าง พรบ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ... ปัญหา หรือ โอกาส ... https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=11-07-2010&group=7&gblog=61

เมื่อแพทย์และพยาบาลต้องล้มละลายเพราะถูกไล่เบี้ย https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=15-11-2016&group=7&gblog=207


"""""""""""""
Thiravat Hemachudha ได้เพิ่มรูปภาพใหม่ 4 ภาพ
https://www.facebook.com/thiravat.hemachudha/posts/10154958765611518

การแก้ปัญหาโดยการออก พรบคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบโดยไม่เคยพิจารณาข้อเท็จจริง ทำไมเกิดเหตุการณ์เช่นนั้น ไม่ได้ดูภาวะงานล้นมือ ขาดคน ขาด ความรู้ ขาดประสบการณ์ การกล่าวโทษ ง่าย ดูย้อนหลังง่าย แต่ถ้าขณะนั้นมีคนไข้หนัก 20 ราย ผู้รักษาไม่ได้นอนมา 2 วัน ยาที่อยากใช้ ไม่มีไม่เข้าเกณฑ์ สปสช แล้ว เกิดเรื่อง โทษคนให้การรักษา กรองคนดีออกจากระบบ ไปเรื่อยๆ เถอะครับ แล้วให้ รพ เอกลนเป็นใหญ่ หมดเงินพี่งรัฐ เสียหายกล้าวโทษ
จับตาดูกระบวนการที่จะเกิดขึ้น

(16 มค.60) คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านสังคม สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ จะเสนอ "ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากการได้รับบริการทางสาธารณสุข พ.ศ. .."
เข้าสภา (ไม่ใช่จาก คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สปท.) ส่วนเนื้อหาเป็นอย่างไรขอโหลดมาอ่านก่อนนะครับ

https://edoc.parliament.go.th/Meeting/MeetingViewer.aspx…
พรบ คุ้มครอง ผู้เสียหาย ตระกูล ส หนีไป ออกโดย กมธ.สังคม โดยหมออำพล แทน สาธารณสุข ที่ไม่เห็นด้วย
เดาว่าสังคมไม่ค่อยรู้รายละเอียด
ไม่มีธรรมาภิบาล เพื่อแก้ปัญหา และไม่ยุติการฟ้อง

https://www.facebook.com/thiravat.hemachudha/posts/10154958765611518

............................

พรุ่งนี้ (16 มค.60) คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านสังคม สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ จะเสนอ "ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากการได้รับบริการทางสาธารณสุข พ.ศ. .."
เข้าสภา (ไม่ใช่จาก คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สปท.นะครับ) ส่วนเนื้อหาเป็นอย่างไรขอโหลดมาอ่านก่อนนะครับhttps://edoc.parliament.go.th/Meeting/MeetingViewer.aspx?id=385
https://www.facebook.com/ittaporn/posts/1318962438164559?pnref=story


โดย: หมอหมู วันที่: 16 มกราคม 2560 เวลา:13:21:46 น.  

 
Thiravat Hemachudha

คนทั่วไปอาจไม่เข้าใจ ว่าหมอในรพ รัฐ ขณะนี้ ถ้ามีอาชีพอื่นทำได้คงไปหมดแล้ว แต่ไม่แน่อยู่เฉยๆ อนาคตอันใกล้ อาจนอนอยู่บ้านดีกว่า ดูคนไข้หนักวันละ 30-40 คน ตรวจคนไข้นอก 50-60 นอนไม่ได้นอน ทำงานต่อเนื่อง วันแล้วปีเล่า พลาดถูกจับ ถูกฟ้อง จ่ายเงิน เป็น ล้าน หรือหลายล้าน เงินเดือนหมอต่างจังหวัด เท่านี้ ครอบครัวก็มี คนไข้หนักเป็นอะไรก็ไม่รู้ แต่ต้องหาย
ถ้าจะด่าดูสภาพก่อน ทางกฏหนายเคยเข้าไปดูสภาพมั้ย ว่าหดหู่แค่ไหน
นี่คือระบบที่คนถืออำนาจทำเพื่อหาเสียง ตัวเองหน้าตาหล่อสวย บนความทุกข์ของคนทำงาน นี่คือรพ รัฐ ไม่ใช่รพ เข้าตลาดหลักทรัพย์ ชาร์จ เงินคนไข้ ยาไม่มี เครื่องมือไม่พอรักษาคนป่วยต้องไปขอเรี่ยราย มาให้คนไข้
จะให้เป็นสังคนไร้นำ้ใจ ตัวใครตัวม้น อีกหน่อยไม่มีหมอ เข้า รพ เอกชน ให้เขางาบงับเอาเอง

ร่าง พรบ.คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบฯ
คนเข้าประชุม 151

เห็นชอบ 48
ไม่เห็นชอบ 26
งดออกเสียง 77

มติประวัติศาสตร์ ไม่ออกเสียงมากกว่า 2 มติ 74 และ ไม่ออกเสียง 77 มากกว่า หลังอภิปรายยาวนานสรุปให้ถอนเรื่องคืนครับยังไม่ส่งต่อรัฐบาลอีกหนึ่งเดือนพิจารณาใหม่
ประเด็นโต้แย้งเพิ่มเติม สำหรับสมาชิก สปท เพื่ออภิปรายบ่ายนี้
(ร่าง พรบ คุ้มครองฉบับ กรม สบส)

(1) ธรรมาภิบาลในการเสนอ กม
ไม่ผ่าน กรรมาธิการสาธาณสุข ทั้งๆ ที่ เป็นเรื่องเกี่ยวข้องโดยตรง

(2) รับเงินแล้วจบทั้งแพ่งและอาญา จริงหรือ?

ไม่จริง. เหตุผลดังนี้

1. ที่ประชุมกฤษฎีกาคณะพิเศษ (ประกอบด้วย อดีตประธานศาลฎีกา. อดีตอัยการสูงสุด (เรวัต ฉ่ำเฉลิม). ผู้พิพากษาศาลฎีกา อดีตนายกสภาทนายความ เป็นต้น) ให้ความเห็นแล้วว่า การรับเงินไม่ว่าจะเอาเงินมาจากไหน ไม่เป็นเหตุให้คดีอาญาระงับได้. ขัดหลักกม.ประเทศและสากล. ระงับสิทธิฟ้องได้เฉพาะ แพ่ง เท่านั้น
2. ทีมงาน กม ของ รัฐบาล (ดร วิษณุ เครืองาม) ตีกลับร่าง พรบ ของ สบส กลับมาที่ กม สธ ระบุว่า ร่างนี้ มีหลายมาตราทำไม่ได้ในทางปฏิบัติ อาทิ เช่น สิทธิการฟ้องคดีอาญา. การจ่ายเงินจำนวนมากแล้วจบโดยไม่ไล่เบี้ยซึ่งไม่ได้เพราะเป็นเงินภาษีอากร. ที่สำคัญการไม่หาเหตุบกพร่องแล้วมีแค่จ่ายเงินเพื่อให้เรื่องจบ ไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาที่สาเหตุ ความปลอดภัยผู้ป่วยจะพัฒนาไม่ได้.
3. ทีมกม ของรัฐบาล ตีกลับกม ดังกล่าว(พรบ คุ้มครอง ฉบับ สบส) แยะให้กลับไปพิจารณาใหม่ รวมทั้ง ให้สอบถามผู้เกี่ยวข้อง ก่อนเสนอ กม. ....ทำไมกรม สบส ไม่ทำตาม และยังเสนอมาช่องทางนี้อีก
4. กรมบัญชีกลางเคยให้ความเห็นในที่ประชุม กรม สบส แล้วว่าไม่เห็นด้วยกับการจ่ายเงินหลวงโดยไม่สอบสวนหาสาเหตุ และหาว่าใครทำผิดหรือ ระบบมีปัญหา. แต่หากยืนยันจะทำ(จ่ายแบบno fault) ก็ควรกระบวนการไล่เบึ้ย (ล่าสุด มี แพทย์พยาบาล กท สธ โดนไล่เบี้ยไปแล้ว 4 คดี ตาม พรบ รับผิดทางละเมิด เป็นเงินเกือบ 20 ล้านบาท!!)
5. การลดโทษอาญา ภายหลังจ่ายเงิน ไม่จำเป็นต้องบัญญัติเพิ่มเติม เพื่อให้บุคลากรสาธารณสุข เพราะมีบัญญัติไว้แล้วใน ปอ ปวอ. ดังนั้นการที่อ้างว่าร่างนี้มีการจ่ายเงินแล้วจะไม่ลงโทษ ก็เพื่อคนทำงานจะได้ลดโทษอาญา. จึงเป็นเรื่องหลอกลวง
6. ประเด็นจ่ายเงิน แล้วลดโทษอาญา. เป็นการบอกชี้ชัดว่า หลักการกม ไม่ตรงกับเนื้อหา ที่อ้างว่า no fault ถ้าไม่มีใครผิด ทำไมมีเรื่องคดีอาญา???? ทำไมต้องให้แพทย์ไปจ่ายเงินเพื่อหวังว่าศาลจะลดโทษ???

https://www.facebook.com/thiravat.hemachudha/posts/10154961412791518


โดย: หมอหมู วันที่: 17 มกราคม 2560 เวลา:2:19:53 น.  

 
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาทักทาย สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ


โดย: nokyungnakaa วันที่: 21 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:18:11:38 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 763 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]