Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

สืบเนื่องจาก อ.นิธิ เขียน " ใครเสีย ในร่างพ.ร.บ.คุ้มครองความเสียหายฯ " .. ขอแจมหน่อย นะครับ..



//www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1281341620&grpid&catid=02

วันที่ 09 สิงหาคม พ.ศ. 2553 เวลา 20:00:14 น. มติชนออนไลน์

ใครเสีย ในร่างพ.ร.บ.คุ้มครองความเสียหายฯ

โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์




ก่อนอื่น อยากจะชี้แจงไว้ก่อนว่า ผมไม่ได้คัดค้านไม่เห็นด้วยกับหลักการของร่าง พรบฯ นี้ .. ไม่ได้อยากคว่ำร่าง พรบฯ นี้ ... พรบ.นี้ มีหลักการดี แต่ในเมื่อมีข้อสงสัย ข้อกังวลใจ จาก ผู้ประกอบวิชาชีพ ( แพทย์ ทันตะ เภสัช พยาบาล เทคนิกการแพทย์ แพทย์แผนไทย ฯลฯ ) .. ผมจึงคิดว่า น่าจะคุยกันก่อนดีกว่า ที่จะดันทุรังเข้าสภา ในตอนนี้ ..


ผมได้อ่านบทความ ของ อจ.นิธิ .. มีประเด็น อยากจะร่วมแสดงความคิดเห็น... ในฐานะ “ หมอที่ "ยังทำหน้าที่เป็น หมอ" อยู่ในขณะนี้ " .. ไม่ใช่ นักบริหาร ที่เคยเป็นหมอ ...นั่งในห้องแอร์แล้วคิดโน่นคิดนี่แล้วบอกว่า ดี .. ประหนึ่งว่า คนอื่นคิดไม่เป็น ไม่รู้ว่า สิ่งนั้นดี ..

สิ่งที่ดีกับ สิ่งที่ทำได้ นั้นอาจเป็นคนละเรื่องกัน .. เทียบง่าย ๆ เหมือนกับ ผมรู้ว่า รถเบนซ์ดี แต่ที่ไม่ใช่ เพราะ ไม่มีเงินซื้อ .. ไม่ใช่ "ไม่รู้ว่า มันดี "

มาเข้าประเด็นกันดีกว่า .. จากบทความของ อาจารย์นิธิ ถ้าใครยังไม่ได้อ่าน ต้องเข้าไปอ่านก่อนนะครับ จะได้เข้าใจตรงกัน ...


๑. สิทธิเรื่องการฟ้องร้อง ทั้ืงแพ่ง และ อาญา

...... เห็นด้วยกับอาจารย์ ไม่ควรมีการกำหนดกฎหมาย ยกเว้นให้กับวิชาชีพใดวิชาชีพหนึ่งเป็นการเฉพาะ


๒. หลักการไม่พิสูจน์ถูกผิด ..


..... แต่ในแง่ของกฎหมาย ตาม มต.๖ ซึ่งเป็นข้อยกเว้นนั้น ทำให้ต้องมีการหาข้อมูล (จากเวชระเบียน จากการสอบถามผู้เกี่ยวข้อง) ซึ่งถ้าจะได้เงิน ก็แสดงว่า " ผิดพลาด " (ไม่ปกติ ทั่วไปไม่เกิด) ใช่หรือเปล่าครับ ???

..... ดังนั้น จึงต้องมีการสืบสวน สอบสวนหาข้อมูล อยู่ดี ประเด็นนี้ได้คุยกันหลายครั้ง ซึ่งเป็นประเด็นที่ หมอที่ยังทำหน้าที่เป็นหมอ "ติดใจ" มากที่สุด ..

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=02-08-2010&group=7&gblog=69

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=06-08-2010&group=7&gblog=72


๓.อาจารย์บอกว่า ผู้ที่เดือดร้อนคือ "รพ.เอกชน" ...


..... แต่ว่า ผู้ที่ออกมาต่อต้าน ในขณะนี้ เกือบทั้ืงหมด เป็นบุคลากรภาครัฐ .. ไม่ใช่เอกชน ...

..... อาจารย์คิดว่า น่าแปลกหรือเปล่าครับ ??? มันต้องมีอะไรสักอย่างที่ทำให้ หมอ พยาบาล ทันตะ เภสัช ฯลฯ ที่อยู่ ใน รพ.รัฐ .. ออกมารวมตัวกันแต่งดำ ถือป้ายประท้วง แบบนี้

..... " หมอที่ไม่ได้ทำหน้าที่หมอ " บอกว่าเป็นเพราะ " หมอ รพ.รัฐ ไม่เข้าใจ ถูกหลอก ทำให้เข้าใจผิด ฯลฯ " ... แบบนี้ ผมว่า มันดูถูกสติปัญญา ของ ผู้ประกอบวิชาชีพ ใน รพ. รัฐ มากไป ..

..... อาจารย์ไม่ลองหาข้อมูลเพิ่มหน่อยหรือครับว่า ทำไม ???

..... สำหรับ รพ.เอกชน ไม่ต้องสนใจกับเขาเลย เขาเอาตัวรอดได้อยู่แล้ว และการเพิ่มเงินอีกแค่ ๕ บาทในผู้ป่วยนอก และ ๘๐ บาทในผู้ป่วยใน (ตามการเสนอของ สวรส) ถึงแม้ว่าจะไม่เก็บเพิ่ม ก็ไม่มีผลอะไรกับ รายได้ของ เอกชน .. แถมถ้า พรบ.นี้ออกมา อาจถูกนำไปอ้างว่าต้องเก็บเงินเพิ่มเพื่อนำเข้า่กองทุน อีกต่างหาก ..


๔ ที่อาจารย์บอกว่า “ กลุ่มสหภาพแพทย์โรงพยาบาลเอกชน ที่เรียกตนเองว่า "แพทยสภา"

..... อาจารย์ลองคิดดูนะครับว่า คะแนนของกรรมการแพทยสภานั้น ได้จาก “แพทย์” ซึ่งแพทย์ส่วนใหญ่ก็คือ แพทย์ จาก รพ.รัฐ .. ไม่ใช่เอกชนอย่างที่อาจารย์เข้าใจ

..... น่าแปลกหรือเปล่าที่ หมอบางคนอ้างว่าเป็นตัวแทนของแพทย์ที่อยู่ในชนบท กลับไม่ได้รับเลือก ไม่ได้รับความไว้วางใจจาก แพทย์ที่ทำงานอยู่ในชนบทจริงๆ ???

..... อาจารย์ไม่ลองหาข้อมูลเพิ่มหน่อยหรือครับว่า ทำไม ???


๕ อาจารย์ บอกว่า " หมอ รพ.รัฐ ไม่เดือดร้อน เพราะ ไม่ได้เก็บเงินโดยตรงกับหมอ รัฐ มี พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดฯ คุ้มครองอยู่ "

..... ก็ถูกส่วนหนึ่ง ถ้ามองในมุมเดียวเรื่อง "เงิน"

..... แต่ ถ้ามองว่า หมอ รพ.รัฐ ต้องถูกเรียกสอบจาก คกก. (ส่วนหนึ่งเป็น NGO ซึ่งไม่ไว้วางใจแพทย์ ระบบบริการสาธารณสุข) ถ้าเรียกแล้วไม่ไป ไม่ให้ความร่วมมือ ก็โดนอาญา ในมต.๑๘ ..แบบนี้ คิดว่า หมอคนที่ตั้งใจทุ่มเททำงาน ทุกวันทุกคืน จะรู้สึกอย่างไร จิตใจของหมอคนนั้นจะเป็นอย่างไร ???

..... ผมเคยอยู่ รพ.รัฐ ที่มีคดีฟ้องร้อง หมอ ..ต้องต่อสู้คดีถึง ๕ ปี ถึงแม้จะจบด้วยการ ยกฟ้อง แต่หมอทุกคนที่เกี่ยวข้องกับคดี ได้รับผลกระทบ หมอผ่าตัด ลาออกจากราชการ เลิกเป็นหมอผ่าตัด .. หมอเด็กขอย้ายไปอยู่ รพ.ใหญ่กว่า ..แพทย์ใช้ทุน ๒ ท่าน ที่ขอทุนเรียนต่อไว้ เปลี่ยนใจขอยกเลิก ... ผมจึงไม่เคยเชื่อคำพูดที่ว่า " หมอทำดี ไม่ต้องกลัวการฟ้องร้อง..ต่อให้ฟ้องร้อง หมอก็ไม่เดือนร้อน " .. คนที่พูดแบบนี้ ก็อาจไม่ได้เป็นหมอ (ตัวเองไม่เสี่ยง) หรือไม่ก็ เป็นหมอที่ไม่เคยโดนฟ้อง ..



๖ ประเด็นเรื่อง จำนวนการฟ้องร้อง .. ลดลง จาก มต.๔๑

..... ข้อมูล ของกระทรวงสาธารณสุขและแพทยสภา พบว่า ... คดี ทั้งแพ่ง และ อาญา ในศาลเพิ่มขึ้น ทุกปี ทั้ง ๆ ที่มี มต.๔๑ ใช้มา ๕ ปี ???

..... และตัวเลขจำนวน การฟ้องร้องและชดเชยใน มต.๔๑ เพิ่มมากขึ้นทุกปี เช่นกัน และ ที่น่าตกใจก็คือ ๙๗%เป็นของภาครัฐ

..... ผมคิดว่า การที่จะสรุปว่า มต.๔๑ ทำให้การฟ้องร้องลดลง จึงอาจเป็นการ "ด่วนสรุป" ไปหน่อยนะครับ



สิ่งที่ผม ผมอยากจะเน้นสำหรับ ประชาชนทั่วไป ช่วยกันคิด .. ก็คือ ที่มากองทุนฯ และ ผู้บริหารกองทุน ฯ

๑ ที่มาของกองทุนนี้ ได้จาก สถานบริการสาธารณสุข ...ที่ น่าเป็นห่วง ก็คือ รพ.รัฐ ที่มีเงินน้อย ..งบที่รัฐให้มานั้นก็ไม่พออยู่แล้ว ถ้าสถานบริการภาครัฐ จะต้องนำเงินส่วนหนึ่งเข้ากองทุน ก็ต้องหักเงินจากงบที่ให้มาอีก .. มิกลายเป็น รีดเลือดกับปู หรอกหรือ ???

ในเมื่อ การบริการสาธารณสุข เป็นบริการพื้นฐาน ที่รัฐ ต้องดูแล จัดให้กับประชาชนทุกคน และ รพ.ของรัฐ ก็เป็น หน่วยงานของรัฐ อยู่แล้ว มันก็แปลก ๆ เหมือนกันที่จะต้องให้ รพ.รัฐ เอาเงินที่ได้จัดสรรมาจากรัฐ มาแบ่งเข้ากองทุนอีกที ???


๒ . สิ่งที่แอบแฝงไว้ ก็คือ " ประชาชน คนไทยทุกคน ก็จะเป็น " ผู้จ่ายเงิน " เข้ากองทุนนี้ "

- สถานบริการภาค รัฐ เงินที่เข้ากองทุน นี้ก็คือ เงินที่รัฐ ( ซึ่งก็คือ ภาษี ที่เก็บไปจากทุกคน เป็นการจ่ายทางอ้อม ) จัดสรรให้กับ รพ. เป็นเงินที่จะนำไปจ้างเจ้าหน้าที่ ซื้อวัสดุอุปกรณ์ ยารักษาโรค ปรับปรุงฯลฯ ทำให้เงินส่วนหนึ่ง ต้องหายออกไป จากระบบ เข้าไปสู่กองทุน ??? แทนที่จะนำเงินนั้น มาให้บริการกับผู้ป่วย ก็ต้องส่งไปเก็บไว้สำรอง เผื่อมีการชดเชยที่เกิดน้อยมาก ๆ ๆ ๆ

- สถานบริการเอกชน (คลินิก + รพ.เอกชน).. ถ้าเพิ่มค่าบริการ เพื่อนำไปเข้ากองทุนนี้ .. นั่นก็คือ เงินที่ผู้รับบริการ ประชาชน จ่ายทางตรง


ไม่ว่าจะเป็นทางไหน ประชาชน ก็เป็น ผู้จ่าย อยู่ดี


ก็คงต้องขึ้นอยู่กับ ประชาชนคนไทยทุกคนว่า ยอมจ่ายเงินตรงนี้หรือเปล่า ???

ยอมให้เงินหลายพันล้านไปให้ คกก. ซึ่งส่วนหนึ่งเป็น NGO (ไม่รู้ว่าใครแต่งตั้ง เลือกกันมาอย่างไร ไม่รู้ว่ามีสมาชิกเท่าไหร่ ฯลฯ ) นำไปใช้จ่ายหรือเปล่า ??? (ค่าบริหารจัดการ ตาม พรบฯ นี้ ระบุไว้ไม่เกิน ๑๐% ของกองทุน ก็น่าจะสัก ๔๐๐ ล้านต่อปี )




Create Date : 10 สิงหาคม 2553
Last Update : 10 สิงหาคม 2553 20:07:17 น. 4 comments
Counter : 2499 Pageviews.  

 
//www.thaitrl.org/index.php?option=com_content&task=view&id=281&Itemid=56

ขัดคอนิธิ เอียวศรีวงศ์ (๑): ผู้กล่าวว่า "กลุ่มผู้ต่อต้านร่าง พ.ร.บ.นี้อย่างรุนแรงที่สุด จึงเป็นกลุ่มสหภาพแพทย์โรงพยาบาลเอกชน ที่เรียกตนเองว่า "แพทยสภา"..."

ผู้เขียน ไทสยาม



การกล่าวอ้างของอาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ ในบทความ "ใครเสีย ในร่างพ.ร.บ.คุ้มครองความเสียหายฯ" จากมติชนออนไลน์ เป็นความคิดเห็นที่น่าฟัง เนื่องจากอาจารย์นิธิมีคุณวุฒิและมีบทบาทชี้นำสังคมมานาน ซึ่งเป็นที่นิยมชมชอบของผู้เขียนมาโดยตลอด จนกระทั่งได้เห็นชื่ออาจารย์นิธิเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ผู้เขียนจึงไม่ได้ติดตามต่อไป เพราะไม่สะดวกใจที่จะศึกษากันในเงื่อนไขที่ไม่ปกติ

การเป็นผู้ชี้นำสังคมมายาวนานของอาจารย์นิธิ สังคมจึงมีมายาคติเป็นความโน้มเอียงที่จะเชื่อไว้ก่อน แม้ ผู้เขียนก็มีมายาคติเช่นเดียวกันกับสังคม แต่เมื่อได้อ่านบทความของอาจารย์นิธิแล้ว มายาคติที่โน้มเอียงจะเชื่อก็สลายไป เพราะสิ่งที่อาจารย์นิธิได้นำเสนอนั้น มาจากความเชื่อที่ผิดจากข้อเท็จจริง ซึ่งผู้เขียนได้คลุกคลีกับประชาชนมาโดยตลอด อีกทั้งได้ทราบกระบวนการเคลื่อนไหวและเจตนารมณ์ของผู้คัดค้านร่างพ.ร.บ.คุ้ม ครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข พ.ศ. ... มาโดยตลอดเช่นกัน

ดังนั้น จึง นิ่งเฉยต่อไปไม่ได้ ต้องออกมาขอใช้สิทธิขั้นพื้นฐาน เพื่อปกป้องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่เป็นผู้ปฏิบัติงานในระบบบริการสาธารณ สุขกว่า ๒๐ ปี ต้องนำเสนอข้อเท็จจริงเพื่อแก้ไขมายาคติที่ไม่ถูกต้องจากการชี้นำสังคมของ อาจารย์นิธิ ต้องขออภัยในความไม่สะดวกยิ่งของท่านอาจารย์

การนำเสนอเพียงความดีของหลักการและเหตุผลที่อ้างปะหน้าร่างกฎหมายนั้น คนสติปัญญาสมประกอบคนใดก็ปฏิเสธไม่ได้ถ้าเพื่อประโยชน์ของประชาชน

แต่ ถ้าเป็นเพียงเพื่ออธิบายความชอบธรรมที่จะมีกองทุนขนาดใหญ่ และให้กลุ่มเอ็นจีโอผู้เสนอกฎหมาย เข้าไปบริหารกองทุน และมีระเบียบปฏิบัติที่เขียนเองโดยระเบียบกระทรวงการคลัง และการตรวจสอบจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเข้าไม่ถึง นั้นเป็นความจริงที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมไทย

การออกกฎหมายโดยคนกลุ่มหนึ่งซึ่งมักจะอ้างความเป็นธรรม ความเสมอภาคและความเท่าเทียม ตามแนวทางทฤษฎีเปลี่ยนแปลงสังคมด้วยสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา ของราษฎรอาวุโส ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับทฤษฎีแก้วสามประการในการเปลี่ยนแปลงอำนาจรัฐ ตามลัทธิความเชื่อที่ว่า การล้มล้างอำนาจรัฐ เป็นแนวทางการเปลี่ยนแปลง ไปสู่ความเป็นรัฐในอุดมคติ ที่จะนำความเสมอภาค เท่าเทียม มาสู่มหาประชาชน ทำนองนั้น

ลัทธิหรือความเชื่อนั้น เป็นมายาคติอย่างหนึ่ง ซึ่งโน้มน้าวด้วยเหตุผลต่างๆ ให้คนเชื่อและคาดหวัง ถ้ามายาคติหรือความเชื่อเป็นจริงได้และเป็นธรรมย่อมเป็นสิ่งที่ดี และเป็นได้ถึงศาสนาวัฒนธรรมประเพณีที่ทุกผู้คนยึดเหนี่ยว แต่ถ้ามายาคติที่เกิดขึ้นจากความเชื่อที่เป็นเท็จ มายาคติย่อมสลายไป เมื่อความจริงปรากฏ ต่อไปนี้จะได้อธิบายถึงเหตุที่ทำให้มายาคติจากการชี้นำของอาจารย์นิธิได้ สลายไป ดังต่อไปนี้

๑.การกล่าวอ้างที่ว่า "...กลุ่มผู้ต่อต้านร่าง พ.ร.บ.นี้อย่างรุนแรงที่สุด จึงเป็นกลุ่มสหภาพแพทย์โรงพยาบาลเอกชน ที่เรียกตนเองว่า "แพทยสภา"..." นั้นเป็นความเท็จสองประการ

-ความเท็จประการที่๑ กลุ่มผู้ต่อต้านร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ คือ แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ ผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลของรัฐทั้งในและนอกกระทรวงสาธารณสุข

-ความเท็จประการที่๒.แพทยสภาไม่ใช่สหภาพแพทย์โรงพยาบาลเอกชน แต่มาจากแพทย์ผู้ได้รับเลือกตั้งจากแพทย์ผู้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบ วิชาชีพเวชกรรมในประเทศไทย ๒๖ ตำแหน่ง และเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง ๒๖ ตำแหน่ง ได้แก่ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข,อธิบดีกรมการแพทย์,อธิบดีกรมอนามัย,เจ้ากรมแพทย์ทหาร บก,เจ้ากรมแพทย์ทหารเรือ,เจ้ากรมแพทย์ทหารอากาศ,นายแพทย์ใหญ่สำนักงานตำรวจ แห่งชาติ,คณบดีคณะแพทยศาสตร์๑๘สถาบัน และผู้อำนวยการสถาบันพระบรมราชชนก

ตรงไหนที่เรียกว่ากลุ่มสหภาพแพทย์โรงพยาบาลเอกชน ? อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์เป็นผู้มีชื่อเสียงในสังคม จะชี้นำสังคมเช่นนี้หรือ?

๒.การกล่าวถึง "...สิทธิพื้นฐานของมนุษย์ ทั้งเพื่อปกป้องตนเอง และถ้าคิดให้กว้าง ย่อมปกป้องสังคมโดยรวมจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้ขายหรือให้ บริการด้วย..."นั้น

การแพทย์ไทยตั้งแต่สมเด็จพระราชชนกพระราชทานแก่ประชาชนไทยนั้น มิใช่การขายหรือการให้บริการ แต่เป็นการดูแลรักษาประชาชนด้วยพรหมวิหาร๔ (เมตตา-กรุณา-มุทิตา-อุเบกขา) ไม่มีแพทย์ผู้ดูแลรักษาประชาชนคนไหนในประเทศไทยอยากจะบอกตนเองว่าตนเป็นผู้ให้บริการ เพราะการช่วยชีวิตคนนั้นสูงกว่าการเป็นงานบริการ

หากอาจารย์นิธิยังซาบซึ้งกับการบริการด้วยหัวใจมนุษย์นั้น ขอเรียนให้ทราบว่า แพทย์ต่างประเทศนั้น เขาคิดกันแบบงานบริการ คือ เป็นธุรกิจกันนานมาแล้ว หัวใจคนมันหายไป แต่เมืองไทยมิใช่เช่นนั้น แพทย์ไทยถูกสอนให้ดูแลประชาชนด้วยพรหมวิหารธรรม มิได้เลือกยากดีมีจน ความทุกข์ของประชาชนคือทุกข์ของแพทย์และพยาบาล

ส่วนคนที่ไม่ได้ดูแลคนไข้ แต่มักไป "ศึกษาดูงาน" บ่อยๆ ด้วยภาษีประชาชน ณ ประเทศแถบสแกนดิเนเวียนั้น ติดอกติดใจใจภาษาหรูเลยเอามาใช้ ไม่ได้ดูแลคนไข้มานานจึงไม่รู้ว่า บ้านเรานั้นหมอกับประชาชนผูกพันกันตามธรรมเนียมไทยที่สูงด้วยคุณธรรมอยู่ แล้ว เว้นแต่ ใครที่เลวมาแต่เดิม พัฒนาไม่ได้ จึงมีทุรเวชอยู่บ้างที่หาความรวยจากคนที่รู้ไม่ทัน

อีกทั้งการประทับใจกับกิจการแถบสแกนดิเนเวียนั้น ผู้เขียนอดนึกถึง "ปฏิญญาฟินแลนด์" อันโด่งดังมิได้ จึงอยากทราบว่า ระบบการดูแลแบบสแกนดิเนเวียนั้นเป็นส่วนหนึ่งในปฏิญญาฟินแลนด์หรือไม่???

และเมื่อกล่าวถึง สิทธิพื้นฐานของมนุษย์ แพทย์และผู้ปฏิบัติหน้าที่ดูแลรักษาประชาชนผู้มีความ เจ็บป่วย ก็ย่อมมีสิทธิพื้นฐานของมนุษย์เช่นเดียวกันกับมนุษย์ผู้อื่น และแพทย์ก็ต้องการได้รับการปฏิบัติด้วยหัวใจมนุษย์เช่นเดียวกัน

ดังนั้น การ เคลื่อนไหวเพื่อขัดแย้งสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ในร่าง พ.ร.บ.นั้น จึงเป็นการใช้สิทธิพื้นฐานของมนุษย์ หากมนุษย์ที่มีสติปัญญาและมีสำนึกดีต่อวิชาชีพที่ดูแลรักษาชีวิตคน เห็นว่า มีสิ่งที่ไม่สมควรในกฎหมายที่จะออกบังคับใช้กับคนทั้งหมดย่อมทนไม่ได้ที่จะ ให้อธรรมเกิดแก่ประชาชนและประเทศชาติ การเคลื่อนไหวจึงเป็นการสมควร การไม่ปล่อยให้เกิดกฎหมายอธรรมออกใช้จึงชอบแล้ว

การคัดค้านร่างกฎหมายอธรรม จึงไม่เป็นการลิดรอนสิทธิ และผู้เจริญย่อมไม่ควรมองเป็นการลิดรอนสิทธิผู้อื่น หลักประชาธิปไตยย่อมมีการถกเหตุผลที่จะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยได้ มีแต่ลัทธิเผด็จการเท่านั้นที่จะไม่พอใจที่มีผู้มีความเห็นแย้ง


โปรดปฏิบัติต่อแพทย์และผู้ปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วย ด้วยหัวใจมนุษย์











โดย: หมอหมู วันที่: 16 สิงหาคม 2553 เวลา:11:09:11 น.  

 


//www.thaitrl.org/index.php?option=com_content&task=view&id=282&Itemid=56


ขัดคอนิธิ เอียวศรีวงศ์ (๒): ไม่น่าเชื่อว่าผู้สูงด้วยวัยวุฒิและคุณวุฒิจะแยกไม่ออกระหว่าง การก่อความเสียหาย กับ การเกิดผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์ ...

ผู้เขียน ไทสยาม




... จึงขอเรียนให้ทราบว่า แพทย์และผู้ปฏิบัติงานการดูแลรักษาไม่ได้ขัดข้องในการช่วยเหลือดูแลประชาชน แต่ประการใด การเคลื่อนไหวคัดค้านนี้ นอกจากจะเห็นพ้องในการดูแลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์แล้ว ยังได้ช่วยตรวจสอบระบบที่จะเกิดขึ้นในร่างกฎหมายนี้ จนมองเห็นเนื้อในที่มีปัญหา ซึ่งหากปล่อยให้ร่างกฎหมายฉบับนี้ได้ออกใช้โดยไม่มีการแก้ไขปรับปรุง สิ่งที่แอบแฝงไว้จะเกิดผลสัมฤทธิ์...

-------------------------------------------

๓.การกล่าวอ้างของกลุ่มผู้สนับสนุนร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ มักจะนำเสนอต่อสื่อมวลชนว่า เป็นการแก้ไขความขัดแย้งระหว่างหมอกับคนไข้ เป็นความเห็นแก่ตัวของหมอ เป็นความใจดำ เป็นเด็กเอาแต่ใจตัวใช้แต่อารมณ์ ถูกจูงจมูกมาคัดค้าน และชี้แจงด้านที่อ้างบางส่วนเป็นข้อดี เว้นไม่พูดในส่วนที่เป็นปัญหาหรือซ่อนเร้นเจตนารมณ์

จึงขอเรียนให้ทราบว่า แพทย์และผู้ปฏิบัติงานการดูแลรักษาไม่ได้ขัดข้องในการช่วยเหลือดูแลประชาชน แต่ประการใด การเคลื่อนไหวคัดค้านนี้ นอกจากจะเห็นพ้องในการดูแลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์แล้ว ยังได้ช่วยตรวจสอบระบบที่จะเกิดขึ้นในร่างกฎหมายนี้ จนมองเห็นเนื้อในที่มีปัญหา ซึ่งหากปล่อยให้ร่างกฎหมายฉบับนี้ได้ออกใช้โดยไม่มีการแก้ไขปรับปรุง สิ่งที่แอบแฝงไว้จะเกิดผลสัมฤทธิ์


๔."... แม้ผลดีที่เกิดขึ้นจาก พ.ร.บ.ที่มีอยู่ปรากฏอย่างชัดแจ้งแล้ว แต่ พ.ร.บ.ทั้งสองฉบับก็มีข้อจำกัดที่ครอบคลุมประชาชนไม่ทั่วถึง..."

การออกร่างพ.ร.บ.นี้ไม่ได้เป็นการการแก้ไขข้อจำกัดดังกล่าว ถ้าต้องการแก้ไขข้อจำกัดนั้น และต้องการช่วยเหลือประชาชนจริง สามารถทำได้เลยและทันที โดยการแก้ไขระเบียบปฏิบัติ มีข้อจำกัดก็แก้ข้อจำกัด ไม่ใช่การออกกฎหมายใหม่ที่จะต้องมีกลุ่มเอ็นจีโอมานั่งบริหารกองทุนหมื่นล้าน


๕."... หลักการ "ไม่ต้องพิสูจน์ความผิด" ก็ยังคงเดิม ซึ่งหมายความว่าบุคลากรทางการแพทย์ไม่ต้องรับผิดชอบเป็นส่วนตัว แต่ในขณะเดียวกันก็สร้างเงื่อนไขที่ทำให้ "ระบบ" สาธารณสุขต้องพัฒนาไปในทางที่ปลอดภัยมากขึ้น ..."


"...ม.41 ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ให้ความคุ้มครองแก่ผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข "โดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิด" เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนที่อาจเกิดขึ้นทั้งแก่คนไข้ และบุคลากรทางสาธารณสุข..."

ไม่น่าเชื่อว่าผู้สูงด้วยวัยวุฒิและคุณวุฒิจะแยกไม่ออกระหว่าง การก่อความเสียหาย กับ การเกิดผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์


การเกิดสิ่งไม่พึงประสงค์ในการดูแลรักษาผู้เจ็บป่วย ย่อมไม่สมควรเรียกเป็นความเสียหาย เพราะเมื่อเรียกเป็นความเสียหายก็ต้องมีผู้ก่อความเสียหาย สำนักงบประมาณมีการท้วงติงเรื่องนี้ อีกทั้งการดูแลรักษาประชาชนแล้วเกิดสิ่งไม่พึงประสงค์จึงไม่ใช่การก่อความเสียหาย

ดังนั้นการที่จะแก้ไขเยียวยาสิ่งไม่พึงประสงค์ ด้วยการมองไปที่ระบบตามที่อาจารย์นิธิกล่าวแล้ว ชื่อพ.ร.บ.จึงไม่ควรมีคำว่าผู้ได้รับความเสียหาย และควรเรียกเป็นการคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากบริการสาธารณะด้านสาธารณสุข ซึ่งจะต้องไม่รวมกรณีไม่ตรวจสอบถูกผิดเพื่อหมอทุรเวชได้ปลอดภัยหรือกลุ่มสิบแปดมงกุฎจะเข้าหากินกับกฎหมายนี้


การก่อความเสียหายในการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชน มี๒กรณี

๑.)แพทย์ที่มีความบกพร่องอย่างร้ายแรง ได้แก่ มีความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง และมีความบกพร่องทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง เพื่อหาเงินหรือหากินโดยไร้คุณธรรมหรือเรียกว่าประกอบทุรเวชกรรม

๒.)ผู้ที่เจตนาหาเรื่องเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายในเรื่องที่กล่าวอ้างเท็จขึ้นมา หรือการหาเรื่องเพื่อเรียกร้องเงินหรือเรียกว่าวิธีหากินแบบสิบแปดมงกุฎ


ส่วน ผู้ที่เดือดร้อนจากสิ่งไม่พึงประสงค์ที่แท้จริง คือ ผู้ได้รับการดูแลจากทุรแพทย์ ผู้ที่การดูแลรักษาเกิดผลที่ไม่เป็นไปตามคาดหมาย หรือมีภาวะแทรกซ้อนต่างๆสุดวิสัยที่จะคาดคิดได้


การช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบซึ่งไม่พึงประสงค์มีทั้งประชาชนและผู้ปฏิบัติ งาน การช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจึงควรรวมทั้งประชาชนและผู้ปฏิบัติงาน ด้วย


การพิสูจน์ถูกผิดต้องมี หากเป็นทุรเวชหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ผู้กระทำต้องรับผิดชอบเอง

ผู้ได้รับผลกระทบ ต้องได้รับการเยียวยาชดเชยเบื้องต้นจากรัฐตามสมควรแก่กรณี ซึ่งต้องมีองค์กรวิชาชีพผู้รับผิดชอบดูแลมาตรฐานการประกอบวิชาชีพมาร่วม พิจารณาจึงจะวินิจฉัยการ "สมควรแก่กรณี" ได้


หากรัฐขยันและจริงใจต่อประชาชน ก็ให้จัดระบบประกันการชดเชยแก่ประชาชน และจัดตั้งองค์กรของรัฐให้เป็นผู้ไล่เบี้ยทุรเวชเอง


ยิ่งกว่านั้น รัฐก็ควรมีการบริหารจัดการใหม่ เพื่อให้กระทรวงสามารถบริหารนโยบายและทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยยุบกองทุนบริโภคทรัพย์แผ่นดิน มาบริหารจัดการอย่างโปร่งใสตรวจสอบได้ คือต้องรื้อกระทรวงมาสร้างใหม่ เพื่อให้หน่วยปฏิบัติการดูแลรักษาประชาชนได้มีทรัพยากรและระบบที่เหมาะสมกับภารกิจ


ยุติการอ้างประชาชน เพื่อหากินกับกองทุนบริโภคทรัพย์แผ่นดิน

----------------------------------------------













โดย: หมอหมู วันที่: 16 สิงหาคม 2553 เวลา:11:11:52 น.  

 
//www.thaitrl.org/index.php?option=com_content&task=view&id=283&Itemid=56

ขัดคอนิธิ เอียวศรีวงศ์ (๓): ผู้กล่าวว่า เรื่องระบบการบริการทางการแพทย์ เอ็นจีโอรู้ดี มากกว่าผู้ดูแลรักษาประชาชน

... ผู้เขียน ไทสยาม

-----------------------


๖."... ที่เกรงว่าจะก่อให้เกิดการฟ้องร้องเป็นคดีในศาลมากขึ้น สถิติที่มีอยู่กลับชี้ไปในทางตรงกันข้าม แม้ว่า สปสช.ยังไม่มีสถิติว่าผู้ได้รับความช่วยเหลือเบื้องต้นแล้ว นำคดีขึ้นสู่ศาลสักเท่าไร แต่ดูจากการ "อุทธรณ์" คำวินิจฉัยของคณะกรรมการประจำจังหวัด เข้ามายังคณะกรรมการกลาง (ซึ่งหมายความว่า คำวินิจฉัยของคณะกรรมการประจำจังหวัดไม่เป็นที่พอใจ จึงร้องขอคำวินิจฉัยใหม่ หากเป็นกระบวนการทางการศาลก็คือนำคดีขึ้นสู่ศาล) กลับพบว่า จากที่เคยมีตัวเลขถึง 14.4% ใน พ.ศ.2548 กลับลดลงเหลือเพียง 8.2% ใน พ.ศ.2552 เฉลี่ยคือ 10.5% เท่านั้น..."



อันนี้ตัว เลขเปอร์เซ็นต์การฟ้องร้องมันลดลงแน่ เพราะตัวหารมันเพิ่ม ตัวหารคืออะไร? คือจำนวนผู้ร้องขอค่าชดเชยเพิ่มขึ้นมาก แต่จำนวนผู้ฟ้องเพิ่มปกติ และเนื่องมาจากมาตรา๔๑ มีการจัดการในพื้นที่และมีคนกลางที่เป็นที่ยอมรับกัน ซึ่งคนกลางตามมาตรา๔๑ไม่ใช่เอ็นจีโอแน่ๆ

วัตถุประสงค์ของคนที่ร้องขอการชดเชยกับคนที่จะฟ้อง ทั้งสองกลุ่มไม่เหมือนกัน

คนฟ้องก็เพราะเข้าใจว่าหมอเลวต้องเอาเรื่องต้องพิสูจน์ให้เกิดความจริง ว่าหมอเลวหรืออะไรเลว

ส่วน เรื่องขอเรียกร้องชดเชยเบื้องต้นเนื่องจากได้รับผลกระทบนั้น ส่วนมากยอมรับกันอยู่แล้วว่ามันเป็นข้อบกพร่องของระบบมิใช่ทุรเวช ระบบที่มีปัญหาก็เพราะทรัพยากรมีการบริหารอย่างมีปัญหา



๗."... ค่าใช้จ่ายจริงตาม ม.41 ของ พ.ร.บ.ประกันสุขภาพก็มีน้อยกว่าที่คาดการณ์มาก กล่าวคือเป็นเพียง 0.05% ของกองทุนเท่านั้น ในปีสุดท้ายใช้ไปเพียง 296.5 ล้านบาท(ข้อมูลผิดจริงๆปี 52 - 73 ล้าน) ของเงิน 1,000 ล้านบาท (ซึ่งเหลือสะสมมามากกว่านี้อีกมาก)..."

อันนี้สปสช.คงไม่สบายใจ ขอให้อาจารย์เคลียร์กันเอง ขอเว้นการขัดคอไป๑ข้อ^^


๘."... หากเราถือว่าคณะกรรมการไม่ได้วินิจฉัยความผิดพลาดของบุคคล แต่วินิจฉัยความผิดพลาดบกพร่องของ "ระบบ" ถึงความผิดพลาดนั้นเกิดขึ้นจากบุคคล แต่ก็เป็นบุคคลที่ต้องทำงานอยู่ใน "ระบบ" ดังนั้น "ผู้ชำนาญการ" จึงต้องมีหลายด้านมากกว่าทางการแพทย์ คนที่ติดตามกรณีผู้เสียหายมานาน ย่อมเข้าใจและ "ชำนาญการ" กับ "ระบบ" ยิ่งกว่าแพทย์ ดังเช่นเอ็นจีโอทั้งหลายเป็นต้น..."

อันนี้แหละทำให้เกิดคำถามว่า ให้เอ็นจีโอไปพัฒนาคุณภาพระบบบริการโรงพยาบาลแทนแพทย์พยาบาลกันดีไหม?

รัฐบาลก็ไม่ต้องพัฒนาระบบราชการแล้ว ให้เอ็นจีโอไปพัฒนาแทน ผมชักจะงงๆว่าคำพูดนี้มันปกติดีหรือ? ถ้าปกติดีก็ควรมีกิจการเอ็นจีโอระดับกระทรวง เอ็นจีโอระดับรัฐสภา ทางรัฐบาลก็ต้องเอ็นจีโอมาบริหารประเทศแทนแล้วครับ เพราะคนกลุ่มนี้ติดตามการทำงานของรัฐบาลมานับสิบปี


๙."...นอกจากนี้ แม้ว่าคณะกรรมการประกอบด้วยคนหลายฝ่าย ก็ใช่ว่าฝ่ายอื่นๆ ที่ไม่ใช่แพทย์มีความจงเกลียดจงชังแพทย์เป็นพิเศษ..."

อันนี้ ไม่รู้ว่าจะเชื่อได้ยังไง เพราะเอ็นจีโอที่บอกว่าห่วงแพทย์ ไม่ต้องการฟ้องแพทย์ ต้องการปกป้อง แต่พาชาวบ้านฟ้องเอาเป็นเอาตาย ด่าแพทยสภาเมื่อไม่ได้ดังประสงค์มานับสิบปี

ทั้งหมดนี้ จึงอธิบายว่าเหตุใดมายาคติที่เกิดจากความโน้มเอียงที่จะเชื่อตามการชี้นำสังคมของอาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์นั้น

จึงกลายเป็นตัณหุปาทานของผู้สูงอายุท่านหนึ่งเท่านั้น


จากทัศนะของนิธิ เอียวศรีวงศ์

ผู้ที่สนับสนุนการฟ้องร้องแพทย์มานับ๑๐ปี เป็นผู้ชำนาญการในระบบ

มาจาก ความเชื่อเรื่องแพทย์รู้แต่รักษาคน ไม่รู้เรื่องระบบ

ตามทฤษฎีของปรมาจารย์สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา เป็นที่มาของตัณหุปาทาน ที่ผู้สูงอายุออกบทความ



----------------------------------------------------





โดย: หมอหมู วันที่: 31 สิงหาคม 2553 เวลา:15:21:31 น.  

 


ใครสนใจก็ลองแวะไปโหลดมาอ่านกันนะครับ ...

ร่างใหม่ จาก สภาทนายความ
//www.mediafire.com/?4lyz3rpl37pa8xc

เปรียบเทียบ ๓ ร่าง พรบฯ
//www.mediafire.com/?slodsosamvks28e

รวมบทความ พรบฯ
//www.mediafire.com/?p7r6az6gk19ot



โดย: หมอหมู วันที่: 14 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:2:21:40 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]