(เก็บมาฝาก) สำหรับผู้ที่ต้องการบริจาค ร่างกาย อวัยวะ ดวงตา

ขอบคุณ แหล่งข้อมูล อ้างอิง และ ขออนุญาต นำมาเก็บไว้ ในบล๊อก ด้วย ... ^_^ ๑. กระทู้ ของคุณ RLD ในห้องสวนลุม .. https://topicstock.pantip.com/lumpini/topicstock/2009/01/L7438480/L7438480.html
๒. เวบ DonationThailand.com บริจาคร่างกาย และบริจาคอวัยวะเพื่อการศึกษา https://goo.gl/3qoWkl
๓. บริจาค ร่างกาย ดวงตา และอวัยวะ สำหรับคนบ้านไกล https://pantip.com/topic/34516757................................. " ฉันเป็นครู ตายแล้วก็ขอเป็นครูต่อไป " เรื่องราวประทับใจ ของ หมอที่เป็นครูของหมอ .. อาจารย์ใหญ่ ครูผู้ให้ The Everlasting Teacher เผยแพร่เมื่อ 13 ม.ค. 20157-Eleven ร่วมเชิดชูพระคุณครูกับภาพยนตร์โฆษณาส่งเสริมสังคม "อาจารย์ใหญ่ ครูผู้ให้ The Everlasting Teacher" กับเรื่องราวที่สร้างจากโครงเรื่องจริงของอาจารย์หมอผู้เป็นครูผู้ให้อย่างแท้จริง นอกจากตอนมีลมหายใจจะสร้างหมอมารักษาและช่วยชีวิตคนนับแสนแล้ว แม้ไร้ซึ่งลมหายใจ ก็ยังขอเป็นครูผู้ให้ตลอดกาล
https://youtu.be/Fc8CaO0LgXA ....................................
คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล
วัตถุประสงค์ของการบริจาคร่างกาย
เพื่อให้นักศึกษาแพทย์นำไปศึกษาหรือที่เรียกว่า “เป็นอาจารย์ใหญ่” แยกการบริจาคร่างกาย ออกเป็น 2 แบบ
1. บริจาคเพื่อให้นักศึกษาแพทย์ได้ศึกษา ระยะเวลาที่ใช้ในการเรียน 3 ปี ดูภาพจากเวปข้างบน ตรงลิ้งก์ > ผู้บริจาค > การบริจาคร่างกายเพื่อการศึกษาทางการแพทย์
ข้อจำกัด
- ขณะเสียชีวิตอายุต้องไม่เกิน 80 ปี น้ำหนักโดยประมาณไม่ต่ำกว่า 40 กก. - ไม่เป็นศพเกี่ยวกับคดี - ไม่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง โรคไต โรคเบาหวาน และอุบัติเหตุ - ไม่เป็นศพที่มีสภาพไม่เหมาะสม เช่น ศพเน่าเปื่อย อวัยวะขาดหายไปไม่ครบสมบูรณ์ ยกเว้นกรณี บริจาคดวงตา - ที่เก็บศพของภาควิชาเต็ม
2. บริจาคให้แผนกเก็บกระดูกเพื่อการศึกษา ระยะเวลาที่ใช้ในการเรียน 10 ปี ดูภาพจากเวปข้างบน ตรงลิ้งก์ > ผู้บริจาค > การบริจาคร่างกายเพื่อการศึกษาทางการแพทย์
ข้อจำกัด
- ขณะเสียชีวิตอายุต้องไม่เกิน 55 ปี - ญาติสามารถนำอวัยวะบางส่วนของศพดองไปทำพิธีทางศาสนาได้ - ไม่ฉีดยารักษาศพ เพราะจะไม่สามารถเก็บเป็นโครงกระดูกได้ - พื้นที่ที่รับบริจาคร่างกายเฉพาะเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ปทุมธานี นครปฐม สุพรรณบุรี ยกเว้น อ.ด่านช้าง อ.หนองหญ้าไซ อ.เดิมบางนางบวช อ.สามชุก กาญจนบุรี รับเฉพาะ อ.เมือง อ.ท่าม่วง อ.พนมทวน อ.ท่ามะกา พระนครศรีอยุธยา ยกเว้น อ.ท่าเรือ ราชบุรี ยกเว้น อ.สวนผึ้ง อ.จอมบึง
................................................................... เอกสารที่ใช้ - รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว หรือ 2 นิ้ว จำนวน 2 ใบ เขียนชื่อ – นามสกุลให้ชัดเจน
ขั้นตอนการบริจาคร่างกาย
กรอก แบบฟอร์ม ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน ระบุผู้แจ้งการถึงแก่กรรม (ผู้แจ้งการถึงแก่กรรมหมายถึงผู้ที่เต็มใจจะรับเป็นธุระในการแจ้งให้ภาค วิชาฯ ไปรับศพ ของผู้บริจาคร่างกาย มิได้เกี่ยวข้องกับมรดกอื่นใดของผู้บริจาคร่างกาย) แบบฟอร์มที่กรอกแล้ว แต่ขาดรูปถ่าย กรุณาส่งให้ทางไปรษณีย์มาที่ ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช บางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700 เขียนที่มุมซองว่า “บริจาคร่างกาย” ผู้บริจาคร่างกายจะได้รับบัตรประจำตัวผู้บริจาคทางไปรษณีย์ภายใน 1 เดือน
หากผู้บริจาคร่างกาย ต้องการรับบัตรเอง ติดต่อขอรับได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0 2419 7036, 0 2411 2007 ต่อ 21 หากทำบัตรหายกรุณาโทรแจ้งภาควิชาฯ ที่เบอร์โทรศัพท์ 0 2419 7036
หากผู้บริจาคเปลี่ยนแปลงที่อยู่กรุณาแจ้งภาควิชาฯ ทราบด้วย ท่านที่ต้องการยกเลิกพินัยกรรมฉบับนี้ ไม่ต้องแจ้งให้ภาควิชาทราบ จะไม่ถือว่าเป็นความผิดแต่ประการใด
ข้อปฏิบัติเมื่อผู้บริจาคร่างกายเสียชีวิต
• ห้ามฉีดยากันศพเน่า • โทร. แจ้งเจ้าหน้าที่ภาควิชาฯ ไปตรวจสภาพศพ และฉีดยาหลังจากเสียชีวิต ภายใน 24 ชม. • ที่เบอร์โทรศัพท์ 0 2419 7028, 0 2419 7030, 0 2411 2007 • ญาติต้องดำเนินการเรื่องใบมรณบัตรและจัดหาหีบศพเอง
ข้อปฏิบัติเมื่อได้รับศพของผู้บริจาคร่างกาย
• บริการฉีดยาและรับศพหลังจากเสร็จพิธีหลังจากเสร็จพิธี โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น • ให้ญาติสวดตามประเพณีนิยมได้ไม่เกิน 5 วัน • ศพของผู้บริจาคร่างกายจะจัดเก็บที่อาคาร กายวิทยาทาน ต.ศาลายา จ.นครปฐม • ออกหนังสือรับรองการรับรองศพของผู้บริจาคร่างกายภายใน 2 วัน • จัดส่งใบอนุโมทนาบัตร หลังจากการรับศพของผู้บริจาคร่างกายภายใน 1 เดือน
ข้อแนะนำในการร่วมพิธีพระราชทานเพลิงศพ
จัดพิธีทำบุญทุก ๆ ปี ประมาณเดือนเมษายน ญาติเข้าร่วมพิธีได้ไม่เกิน 4 คน ภาควิชาฯ มีรถบริการให้ญาติที่เข้าร่วมพิธีจากโรงพยาบาลศิริราช ไปที่อาคารกายวิทยาทาน ต.ศาลายา จ.นครปฐม ญาติสามารถนำศพของผู้บริจาคร่างกายที่ศึกษาเสร็จแล้วไปประกอบพิธีทางศาสนาเองได้ จัดเก็บอัฐิของผู้บริจาคร่างกายไม่เกิน 5 ปี เอกสารที่ใช้ประกอบการทำหนังสือที่ระลึกใน พิธีพระราชทานเพลิงศพ รูปถ่ายของผู้บริจาคร่างกาย ขนาด 1 หรือ 2 นิ้ว จำนวน 1 ใบ ประวัติส่วนตัวของผู้บริจาคร่างกาย คำไว้อาลัยของญาติ

สภากาชาด คณะแพทย์จุฬาฯ
บริจาคร่างกายเพื่อการศึกษาแพทย์
การบริจาคร่างกายเพื่อการศึกษาสร้างกุศลทานอันยิ่งใหญ่ ด้วยการอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษาการให้ หรือ การบริจาคย่อมทำให้เกิดความสุขทั้งผู้ให้และผู้รับ ผู้ให้มีความสุข มีความภาคภูมิใจในความเป็นผู้เสียสละ ผู้รับมีความสุข ที่ได้รับสิ่งจำเป็นที่สุดที่ตนเองยังขาดแคลน
การบริจาคร่างกายเพื่อ การศึกษา ผู้บริจาคเป็นผู้เสียสละที่ยิ่งใหญ่ ยอมสละร่างกายของตนเอง ให้ผู้ที่ไม่เคยได้รู้จักมาก่อนได้ศึกษาโดยเพียงแต่มุ่งหวังว่า ผู้ที่ศึกษาร่างของตนจะนำความรู้ที่ได้รับนั้นไปช่วยมวลมนุษย์ชาติต่อไป
ผู้ อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษาได้สร้างกุศลทานครั้งสุดท้ายของชีวิตที่ยิ่งใหญ่ ที่สุด โดยได้แต่หวังว่า ผู้อยู่เบื้องหลังจะไม่ต้องทนทุกข์จากอาการเจ็บป่วย ตนเองมิได้หวังสิ่งตอบแทนใดใด นอกจากได้เป็นผู้"ให้"เท่านั้น
คุณประโยชน์
การอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา เป็นการสร้างประโยชน์ทั้งด้านวิชาการ ด้านสาธารณสุข ด้านจริยธรรมและการเสริมสร้างสังคมอันจะนำไปสู่พัฒนาการที่ดีต่อไปในอนาคต โดยเฉพาะในการศึกษาทางการแพทย์บุคลากรทางการแพทย์จำเป็นต้องเรียนรู้สิ่ง ต่างๆ จากร่างกายของมนุษย์เพื่อเป็นแนวทางสำคัญในการรักษาผู้ป่วยต่อไปในอนาคต
การศึกษาจากร่างกายผู้อุทิศร่างกาย ใช้ประโยชน์หลายกรณี อาทิเช่น
1. เพื่อใช้ในการศึกษาของนิสิตแพทย์ 2. เพื่อใช้ในการศึกษาของแพทย์เฉพาะทาง 3. เพื่อใช้ในการศึกษาของนักศึกษาพยาบาล 4. เพื่อใช้ในการศึกษาของนิสิตเทคนิคการแพทย์ 5. เพื่อใช้ในการศึกษาของนักศึกษารังสีเทคนิค 6. เพื่อใช้ในการศึกษาวิจัยทางการแพทย์ 7. เพื่อใช้ในการจัดทำพิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์
วิธีการ ผู้มีความประสงค์อุทิศร่างกายสามารถยื่นความจำนงได้ 2 แบบ คือ
1. ยื่นความจำนงโดยตรงที่ ศาลาทินฑัต โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยกรอกข้อความลงใน แบบฟอร์ม ของโรงพยาลบาล 1 ฉบับ เจ้าหน้าที่จะออกบัตรประจำตัวผู้อุทิศร่างกายให้ไว้เป็นหลักฐาน
2. ยื่นความจำนงทางไปรษณีย์ โดยกรอกข้อความลงใน แบบฟอร์ม ทางไปรษณีย์ 1 ฉบับ เจ้าหน้าที่จะส่ง บัตรประจำตัวผู้อุทิศร่างกายให้ภายหลัง
เมื่อ ผู้อุทิศร่างกายถึงแก่กรรม ทายาท มีสิทธิ์คัดค้านไม่มอบศพให้กับโรงพยาบาลได้โดยต้องแจ้งการคัดค้านไม่มอบศพ กับโรงพยาบาลฯภายใน 24 ชั่วโมง
เมื่อผู้อุทิศร่างกายถึงแก่กรรม และทายาทผู้รับมรดกยินยอมพร้อมใจกันจะมอบศพให้โรงพยาบาลฯ ขอให้ติดต่อโรงพยาบาลฯเพื่อจัดเจ้าหน้าที่ไปรับศพ โดยเจ้าหน้าที่จะให้กรอกใบสำคัญยินยอมมอบศพให้โรงพยาบาลเพื่อการศึกษาไว้ เป็นหลักฐาน
โดยติดต่อแจ้งการรับศพได้ที่
1. ในเวลาราชการติดต่อที่ ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ หมายเลขโทรศัพท์ 02-256-4281 หรือ 02-2527-028 หรือ 02-256-4000 ต่อ 3247
2. นอกเวลาราชการติดต่อที่ ตึกห้องพักศพ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการรับศพ หมายเลขโทรศัพท์ 2564317
โรงพยาบาลจะสามารถรับร่างของผู้อุทิศร่างกายได้ก็ต่อเมื่อ มีใบมรณบัตรซึ่งออกโดย นายทะเบียนท้องถิ่นที่ผู้อุทิศร่างกายถึงแก่กรรมแล้วเท่านั้น
โรงพยาบาลจะจัดเจ้าหน้าที่ไปรับร่างผู้อุทิศร่างกายเฉพาะที่อยู่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล
เมื่อ โรงพยาบาลรับร่างผู้อุทิศร่างกายมาแล้ว ไม่สามารถอนุญาตให้ญาตินำกลับไปบำเพ็ญกุศลก่อน เพราะจะทำให้ไม่อยู่ในสภาพที่เหมาะสมสำหรับการศึกษา
เมื่อเจ้า หน้าที่ไปรับร่างผู้อุทิศร่างกาย ทายาทควรให้ที่อยู่ที่ติดต่อได้สะดวกที่สุดไว้กับเจ้าหน้าที่เพื่อให้สามารถ ติดต่อได้เมื่อนิสิตศึกษาร่างผู้อุทิศร่างกายเสร็จเรียบร้อยแล้วและหากมีการ เปลี่ยนแปลงที่อยู่ต้องแจ้งให้ทราบ
ฝ่ายกายวิภาคศาสตร์ จะจัดให้มีการศึกษาร่างของผู้อุทิศร่างกายในกรณีต่างๆต่อไปนี้ ตามความเหมาะสม
1. เพื่อการศึกษาของนิสิตแพทย์ และแพทย์ประจำบ้าน 2. เพื่อการฝึกอบรมหัตถการต่างๆ และงานวิจัยทางการแพทย์
เมื่อ ฝ่ายกายวิภาคศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ศึกษาร่างผู้อุทิศฯศึกษาเรียบร้อยแล้วจะมีคณะกรรมการดำเนินการจัดงานฌาปนกิจ และขอพระราชทานเพลิงศพ (เป็นกรณีพิเศษ)
คุณสมบัติของผู้บริจาค ผู้ มีความประสงค์อุทิศร่างกายต้องมีอายุตั้งแต่ 17 ปีขึ้นไป กรณีที่อายุต่ำกว่า 20 ปี ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองเป็นลายลักษณ์อักษร
โรงพยาบาลจะไม่รับศพผู้อุทิศร่างกายในกรณีดังนี้ - ถึงแก่กรรมเกิน 24 ชั่วโมง ยกเว้นได้เก็บไว้ในห้องเย็นของโรงพยาบาล - ผู้อุทิศร่างกายที่ได้รับการผ่าตัด หรือมีรอยเสียหายจากอุบัติเหตุ บริเวณศีรษะและสมอง - ผู้อุทิศร่างกายที่ถึงแก่กรรมจากสาเหตุจากโรคมะเร็งบริเวณศีรษะและ สมอง หรือติดเชื้อ โรคร้ายแรงเช่น เอดส์ ไวรัสลงตับ และวัณโร - ผู้อุทิศร่างกายที่มีคดี เกี่ยวข้องกับคดี หรือมีการผ่าพิสูจน์ ยกเว้นการผ่าพิสูจน์บริเวณช่องท้องที่แพทย์นำไปใช้ในทางการศึกษาทางการแพทย์ เท่านั้น - ผู้อุทิศฯที่ผ่านกระบวนการเก็บรักษาด้วยน้ำยาแล้ว
ใน กรณีที่รับร่างผู้อุทิศฯมาแล้ว มีการตรวจพบว่าอยู่ในกรณีดังกล่าวข้างต้น โรงพยาบาลจะติดต่อญาติให้นำกลับไปบำเพ็ญกุศลตามประเพณีต่อไป
สถานที่ติดต่อ ศาลาทินฑัต โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 ในวัน เวลาราชการ
หลักฐานที่ต้องเตรียมมามีดังนี้ 1. รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป 2. สำเนาบัตรประชาชน หรือ สำเนาบัตรข้าราชการ 1 ฉบับ

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
เอกสารการบริจาคร่างกายเพื่อการศึกษาทางการแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานรินทร์
คำแนะนำการบริจาคร่างกาย
1. การบริจาคร่างกายตนเองเมื่อถึงแก่กรรมเพื่อใช้ในการศึกษาไม่มีผลให้ได้รับ สิทธิพิเศษจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หรือในการรักษาพยาบาลจากโรงพยาบาลต่าง ๆ แต่ประการใด หากแต่เป็นการให้และกระทำด้วยจิตศรัทธาเท่านั้น
2.ผู้ประสงค์จะ บริจาคร่างกายติดต่อขอรับแบบพินัยกรรมบริจาคร่างกาย ได้ที่ ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โทร. 0-7428-8151,0-7428-8131
3. กรอกแบบพินัยกรรมดังกล่าวให้ครบถ้วนสมบูรณ์ แล้วส่งคืนภาควิชากายวิภาคศาสตร์ ด้วยตนเองหรือทางไปรษณีย์ เพื่อดำเนินการต่อไป อนึ่ง ในการบริจาคร่างกายนั้น ท่านควรแจ้งและชี้แจงให้ญาติผู้เกี่ยวข้องหรือผู้ที่ดำเนินการเมื่อท่านเสีย ชีวิต ทราบรายละเอียดด้วย
4.เมื่อผู้บริจาคร่างกายเสียชีวิต ญาติหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้จัดการเรื่องศพของผู้บริจาคร่างกาย ต้องแจ้งให้ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ทราบโดยตรง ด้วยตนเองหรือทางโทรศัพท์ภายใน 12 ชั่วโมง หากช้ากว่านี้จะฉีดยาและดองศพได้ไม่ดี ศพจะเสียและไม่สามารถใช้เรียนได้ กรุณาอย่าฉีดยาศพเป็นอันขาด เพราะจะทำให้ไม่สามารถนำศพไปใช้ในการศึกษาได้ เจ้าหน้าที่ของภาควิชากายวิภาคศาสตร์เท่านั้น ที่เป็นผู้ฉีดยาศพ
5. เมื่อภาควิชาฯ ได้รับแจ้ง จะส่งเจ้าหน้าที่มารับศพ หากญาติประสงค์จะทำพิธีทางศาสนาก่อนให้ใช้โลงแอร์ระหว่างทำพิธี (หรือเจ้าหน้าที่จะฉีดยารักษาศพไว้ชั่วคราว) เมื่อเสร็จพิธีจะมารับศพเพื่อดำเนินการต่อไป
6.เมื่อศพได้ใช้ในการ ศึกษาเรียบร้อยแล้ว ทางภาควิชาฯ ร่วมกับนักศึกษาที่ได้เรียนในปีการศึกษานั้นๆ เป็นเจ้าภาพทำพิธีทางศาสนาเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้บริจาคร่างกาย เป็นประจำทุกปี โดยจะมีหนังสือแจ้งให้ทางญาติทราบ ในกรณีที่ญาติต้องการรับศพ (ส่วนที่เหลือจากการศึกษา)กลับไปทำพิธีทางศาสนา โปรดแจ้งความประสงค์ในพินัยกรรมให้ชัดเจน
7.ภาควิชา ฯ ขอสงวนสิทธิที่จะ ไม่รับศพ กรณีดังต่อไปนี้ - อยู่ไกล ระยะทางมากกว่า 200 กิโลเมตร จากมหาวิทยาลัยฯ - ศพเกี่ยวกับคดี หรือ อุบัติเหตุ ที่ศพไม่อยู่ในสภาพที่ใช้เรียนได้ - ศพที่มีสภาพไม่เหมาะแก่การนำมาศึกษา เช่น ศพเน่าเปื่อย อวัยวะขาดหาย - ที่ดองศพของภาควิชาฯ เต็ม
8.หากมีการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ กรุณาแจ้งให้ภาควิชาฯ ทราบด้วย เพื่อความสะดวกในการติดต่อกับท่านในโอกาสต่อไป
หาก ประสงค์จะอุทิศดวงตาหรือบริจาคอวัยวะ (ไต หัวใจ ตับ ปอด ฯลฯ) ติดต่อได้ที่ ประชาสัมพันธ์ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
การบริจาคร่างกายของท่านถือเป็นการเสียสละอันยิ่งใหญ่ เพื่อรักษาไว้ซึ่งชีวิตของอนุชนรุ่นหลัง และเพื่อความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ นักศึกษาที่เรียนผ่าศพทุกคนจะให้ความเคารพศพดุจอาจารย์ และเรียกศพที่ตนเองเรียนว่า อาจารย์ใหญ่ เพราะนักศึกษาทุกคนได้ทราบซึ้งในจิตใจดีแล้ว ถึงเจตนารมณ์ของท่าน ที่เสียสละร่างให้พวกเขาได้เรียนรู้ เพื่อที่จะเป็นหมอที่รู้จักเสียสละช่วยเหลือผู้อื่นต่อไป
ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90112 โทร. 0-7428-8151, 8131และ 0-7444-6448

คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บริจาคอวัยวะ https://www.kkh.go.th/donate/donate-organ/ https://www.kkh.go.th/center-clinics/ศูนย์ปลูกถ่ายอวัยวะ/
บริจาคร่างกายเพื่อการศึกษา คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลียขอนแก่น
ระเบียบปฏิบัติสำหรับผู้ที่จะอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา
เพื่อ ให้การอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษาเป็นไปดังเจตนารมณ์ของท่านและเกิดประโยชน์ สูงสุด ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีระเบียบในการรับบริจาคร่างกายดังนี้คือ
ภาควิชาฯ จะรับบริจาคร่างกาย เฉพาะผู้ที่มีภูมิลำเนาในจังหวัดต่อไปนี้เท่านั้น คือ ขอนแก่น นครราชสีมา อุบลราชธานี อุดรธานี หนองคาย กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด หนองบัวลำภู บุรีรัมย์ ศรีษะเกษ สุรินทร์ อำนาจเจริญ มหาสารคาม ชัยภูมิ เลย ยโสธร นครพนม สกลนคร มุกดาหาร
จะต้องไม่เป็นโรคดังต่อไปนี้ คือ โรคมะเร็ง โรคไต โรคเบาหวาน โรควัณโรค โรคตับอับเสบบี และโรคเอดส์
ต้องมีอายุระหว่าง 20-80 ปี การบริจาคแบ่งตามวัตถุประสงค์ได้ 2 แบบ คือ
แบบ ที่ 1 เพื่อให้นักศึกษาชำแหละ (หลังจากศึกษาแล้ว ญาติสามารถนำกระดูกไปทำ พิธีเองได้ หรือจะให้ทางภาควิชาฯ จัดพิธีพระราช ทานเพลิงศพให้ก็ได้)
แบบ ที่ 2 เพื่อทำโครงกระดูกไว้ศึกษา (ญาติจะไม่ได้รับกระดูกคืน) ในกรณีนี้จะรับเฉพาะผู้ที่ อายุน้อยกว่า 55 ปี ในวันที่ถึงแก่กรรมแล้วเท่านั้น
หากผู้อุทิศร่างกาย และ ญาติมีความประสงค์จะยกเลิกการอุทิศร่างกาย กรุณาทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษร แจ้งไปยังภาควิชาให้ทราบ
* โทรศัพท์ในเวลาราชการติดต่อ ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ หมายเลข (043) 348381, (043) 363173, (043) 363212, (043) 242342-6, (043) 348360-8, (043) 347518-26 ต่อ 3173 หรือ 3212
ขั้นตอนการรับบริจาคร่างกาย ขอ แบบฟอร์มหนังสืออุทิศร่างกายจากเจ้าหน้าที่ของภาควิชากายวิภาคศาสตร์ หรือ สามารถสั่งพิมพ์ได้จากเวปไซด์ข้างบน ของทางภาควิชาฯ เพื่อนำไปกรอกรายละเอียด และวัตถุประสงค์ ของผู้อุทิศร่างกาย ให้เรียบร้อย
แนบรูปถ่ายขนาด 1 X 1 นิ้ว หรือขนาดใกล้เคียง หน้าตรงไม่สวมหมวก จำนวน 2 รูป
ยื่นแบบฟอร์มอุทิศร่างกาย พร้อมรูปถ่าย ตามข้อ 1 และข้อ 2 แก่เจ้าหน้าที่เพื่อออกบัตรประจำตัวให้
สำหรับ ท่านที่ต้องการจะติดต่ออุทิศร่างกายทางไปรษณีย์ กรุณาส่งหลักฐานดังกล่าวทางจดหมาย โดยจ่าหน้าซองพร้อมติดแสตมป์ ส่งแบบฟอร์มพร้อมรูปถ่ายไปที่
หัวหน้าภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002
เมื่อ ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ ได้รับพร้อมรูปถ่ายของท่านแล้ว จะดำเนินการออกบัตรประจำตัว ผู้อุทิศร่างกายและส่งกลับไปตามที่อยู่ที่ท่านได้ระบุเอาไว้ ในหนังสืออุทิศร่างกาย และขอให้ท่านพกบัตรประจำ ตัวผู้อุทิศร่างกายนั้นติดตัวไว้เสมอ
หากมีการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ ขอความกรุณาแจ้งให้ทางภาควิชาฯ ทราบด้วย
การปฏิบัติสำหรับญาติเมื่อผู้อุทิศร่างกายถึงแก่กรรม
ให้ญาติหรือผู้ที่เกี่ยวข้องแจ้งไปที่ ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ตามวัน เวลา และหมายเลขโทรศัพท์ต่อไปนี้ วัน จันทร์ - วันศุกร์ เวลา 8.30 - 16.30 น. หมายเลข (043) 348381, (043) 363212, (043) 363173, (043) 242342-6, (043) 348360-8, (043) 347518-26 ต่อ 3173 หรือ 3212
วันเสาร์ - วันอาทิตย์ หรือวันหยุดราชการอื่นๆ เวลา 8.30 -16.30น. หมายเลข(043) 363386, (043)242342-6, (043) 348360-8, (043) 347518-26 ต่อ 3386
หมาย เหตุ ให้ผู้แจ้งโทรไปในช่วงเวลา 8.30-16.30 น. ไม่ว่าจะเสียชีวิตในช่วงเวลาใดก็ตาม เนื่องจากพนักงานขับรถ และพนักงานรักษาศพ จะปฏิบัติหน้าที่ ในช่วงเวลานี้เท่านั้น
กรณี อุทิศแบบที่ 1 (เพื่อชำแหละศึกษา) เมื่อเจ้าหน้าที่เดินทางไปฉีดยาศพแล้ว ญาติสามา รถขอตั้งศพ ไว้ทำบุญได้ 3 วัน เมื่อครบกำหนดแล้ว เจ้าหน้าที่จะกลับมารับศพ ไปดองไว้เพื่อ ให้นักศึกษา ชำแหละศึกษาต่อไป
กรณี อุทิศแบบที่ 2 (ทำโครงกระดูก) เจ้าหน้าที่จะนำศพไปเก็บที่ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ทันทีและไม่มีการ ฉีดยาศพแต่อย่างใด โดยพิจารณาจากคุณภาพของศพ แม้ว่าผู้บริจาคมีความประสงค ์อุทิศเพื่อ ใช้ชำแหละ ศึกษาก็ตาม
หากญาติหรือผู้อุทิศร่างกายต้อง การยกเลิกการอุทิศร่างกาย ขอความกรุณาแจ้งให้ทางภาควิชาฯทราบ เพื่อทางภาควิชาฯจะได้ทำการยกเลิกหนังสืออุทิศร่างกายต่อไป
หมายเหตุ เมื่อ ทำการศึกษาจนเสร็จสิ้นแล้ว ภาควิชาฯ จะทำหนังสือแจ้งให้ทราบ และเชิญญาติไปร่วม ในพิธี พระราชทานเพลิง ศพครูใหญ่ ซึ่งคณาจารย์และนักศึกษา ในศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพจะร่วมกันประกอบพิธี โดยทางญาติไม่ต้องออกค่าใช้จ่ายใดๆ ในพิธีนี้
ภาควิชาฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการไม่รับศพดังต่อไปนี้ - ศพที่เสียชีวิตโดยผิดธรรมชาติ เช่น ศพเกี่ยวกับคดี หรืออุบัติเหตุ - ศพที่เสียชีวิตด้วยโรคตามระเบียบปฏิบัติสำหรับผู้ที่จะอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา ข้อ 2 - ศพที่อายุเกิน 80 ปี - ศพที่มีสภาพไม่เหมาะสมแก่การนำมาศึกษา เช่น ศพเน่าเปื่อย อวัยวะขาดหาย อ้วน หรือ ผอมมากเกินไป
(ยกเว้น บริจาคดวงตา) ฯลฯ
- ศพของผู้อุทิศร่างกายที่เสียชีวิตนอกเขตจังหวัดที่ระบุไว้ตามระเบียบปฏิบัติฯ ข้อ 1
สถานที่เก็บศพของภาควิชาเต็ม ศพที่อยู่ในภาวะจำเป็นของภาควิชา โดยการพิจารณาของอาจารย์ผู้รับผิดชอบ
* ภาควิชาฯขออภัยล่วงหน้าสำหรับศพ ที่ไม่สามารถรับได้ตามกรณีดังกล่าวข้างต้น แบบฟอร์มนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม 2543 เป็นต้นไปและไม่มีผลย้อนหลังต่อผู้บริจาคไปแล้ว

คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เอกสารการบริจาคร่างกายเพื่อการศึกษาและเป็นวิทยาทานของคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ระเบียบปฏิบัติสำหรับผู้ที่จะอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา
เพื่อ ให้การอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษาเป็นไปดังเจตนารมณ์ของท่าน และเกิดประโยชน์สูงสุด คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีระเบียบในการรับบริจาคร่างกาย ดังนี้คือ
1.ต้องมีอายุระหว่าง 20 – 80 ปี 2.ต้องไม่เป็นผู้พิการทางร่างกาย จนไม่เหมาะสมแก่การศึกษา เช่น ขา แขนขาด หรือพิการแต่กำเนิดทำให้ร่างกายผิดรูป 3.ไม่รับศพอุทิศร่างกายที่เสียชีวิตเมื่ออายุเกิน 80 ปี หรือเป็นโรคหรือเสียชีวิตจากสาเหตุต่อไปนี้ 3.1 โรคมะเร็ง 3.2 โรคเอดส์ 3.3 โรคไวรัสตับอักเสบบี 3.4 โรคพิษสุนัขบ้า 3.5 โรคบาดทะยัก 3.6 โรควัณโรคระยะรุนแรง 3.7 ถูกสัตว์มีพิษกัดต่อย 3.8 เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ 3.9 ศพที่ได้รับการผ่าตัดชันสูตรมาแล้ว
4. การบริจาคแบ่งตามวัตถุประสงค์ได้ 2 แบบ คือ แบบที่ 1 เพื่อให้นักศึกษาชำแหละ แบบที่ 2 เพื่อทำโครงกระดูกไว้ศึกษา (ในกรณีนี้ ต้องมีอายุ น้อยกว่า 55 ปี ในวันที่ถึงแก่กรรม หรือขึ้นกับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่)
ขั้นตอนการรับบริจาคร่างกาย
1. ขอแบบฟอร์มหนังสืออุทิศร่างกายจากเจ้าหน้าที่ของภาควิชากายวิภาคศาสตร์ (1 ชุด มีจำนวน 3 แผ่น) เพื่อนำไปกรอกรายละเอียดและวัตถุประสงค์ของผู้อุทิศร่างกาย ทั้ง 3 แผ่น
2. แนบรูปถ่ายขนาด 1x1 นิ้ว หรือขนาดใกล้เคียง หน้าตรง ไม่สวมหมวก จำนวน 2 รูป (เขียน ชื่อ – สกุล ไว้ด้านหลังรูปทุกใบ)
3. แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้านอย่างใดอย่างหนึ่งของผู้อุทิศร่างกาย
4. ยื่นแบบฟอร์มอุทิศร่างกาย พร้อมรูปถ่าย ตามข้อ 1 และข้อ 2 แก่เจ้าหน้าที่เพื่อออกบัตรประจำตัวให้
5. สำหรับท่านที่ต้องการจะติดต่ออุทิศร่างกายทางไปรษณีย์ กรุณาส่งหลักฐานดังกล่าวทางจดหมาย โดยจ่าหน้าซองพร้อมติดแสตมป์ ส่งแบบฟอร์มพร้อมรูปถ่ายไปที่
6.เมื่อภาควิชาฯ ได้รับหนังสืออุทิศร่างกายและรูปถ่ายของท่านแล้ว จะดำเนินการออกบัตรประจำตัวผู้อุทิศร่างกาย และส่งกลับไปตามที่อยู่ที่ระบุเอาไว้ในหนังสืออุทิศร่างกาย และขอให้ท่านพกบัตรประจำตัวผู้อุทิศร่างกายนั้นติดตัวไว้เสมอ
7. หากมีการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ ขอความกรุณาแจ้งให้ทางภาควิชาฯ ทราบด้วย
การปฏิบัติสำหรับญาติ เมื่อผู้อุทิศร่างกายถึงแก่กรรม
เมื่อผู้อุทิศร่างกายได้เสียชีวิตลง ให้ทายาทหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้
1.ติดต่อขอทราบรายละเอียดในการดำเนินการที่ห้องอุทิศร่างกาย ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โทรศัพท์ 053 – 945318 วันจันทร์ ถึง วันศุกร์ เวลา 08.30 – 20.00 น. วันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดราชการ เวลา 08.30 – 16.30 น.
2. ห้ามฉีดยารักษาสภาพศพก่อนที่จะติดต่อเจ้าหน้าที่ห้องอุทิศร่างกาย ซึ่งจะเป็นผู้แนะนำวิธีรักษาศพ และหากญาติต้องการตั้งศพไว้ทำบุญ สามารถตั้งได้ไม่เกิน 3 วัน เมื่อครบกำหนดแล้วเจ้าหน้าที่จะมารับศพเพื่อไปดำเนินการต่อไป
3. ให้ญาติดำเนินการแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ และนำสำเนาใบมรณะบัตร 1 ฉบับ มอบให้แก่เจ้าหน้าที่ของภาควิชากายวิภาคศาสตร์ เพื่อเป็นหลักฐานในการเคลื่อนย้ายศพออกจากพื้นที่ (ในกรณีตรงกับวันหยุดราชการ ไม่สามารถทำใบมรณะบัตรได้ ให้นำสำเนาใบรับรองการตายมามอบแทน และให้นำสำเนาใบมรณะบัตรส่งมอบให้ภาควิชาฯ ในวันทำการถัดจากวันหยุดราชการ)
4. ถ้าผู้อุทิศร่างกายแจ้งความจำนงอุทิศดวงตาร่วมด้วย ญาติต้องแจ้งที่ศูนย์ดวงตาภาค 10 หมายเลขโทรศัพท์ 053-945512-3, 053-945112 (นอกเวลาราชการ) ภายในระยะเวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมงนับตั้งแต่เสียชีวิต
5. หากผู้อุทิศร่างกายต้องการยกเลิกการอุทิศร่างกาย ขอความกรุณาแจ้งให้ภาควิชาฯ ทราบ เพื่อทางภาควิชาฯ จะได้ทำการยกเลิกหนังสืออุทิศร่างกายต่อไป
ภาควิชาฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการไม่รับศพ ดังต่อไปนี้
1. ศพที่เสียชีวิตโดยผิดธรรมชาติ เช่น ศพเกี่ยวกับคดี หรืออุบัติเหตุ 2. ศพที่เสียชีวิตด้วยโรคตามระเบียบปฏิบัติสำหรับผู้ที่จะอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา ข้อ 3 3. ศพที่อายุเกิน 80 ปี 4. ศพที่สภาพไม่เหมาะสมแก่การนำมาศึกษา เช่น ศพเน่าเปื่อย อวัยวะขาดหาย อ้วน หรือผอมมากเกินไป ฯลฯ 5. ศพของผู้อุทิศร่างกายที่เสียชีวิตนอกระยะทาง 200 กิโลเมตร จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ยกเว้น ผู้ที่แสดงความจำนงอุทิศร่างกายไว้ก่อนวันที่ 2 พฤศจิกายน 2533 หรือญาติ (หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย)จะดำเนินการนำส่งเอง 6. สถานที่เก็บศพของภาควิชาฯ เต็ม
.................................................
มหาวิทยาลัยนเรศวรคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ม.นเรศวร เปิดรับบริจาคร่างกายเมื่อถึงแก่กรรม เพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษาของนิสิตในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ และการวิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อเป็นการศึกษาและทำความเข้าใจเบื้องต้นก่อนการรับบริจาค สามารถดาวน์โหลดเอกสารเพื่อศึกษาเบื้องต้น - คำแนะนำเกี่ยวกับผู้บริจาคร่างกายเพื่อการศึกษาทางการแพทย์ ได้ที่ https://www.pr.nu.ac.th/pdf/คำแนะนำเกี่ยวกับผู้บริจาคร่างกาย.pdf - วัตถุประสงค์ในการนำร่างอาจารย์ใหญ่ไปใช้ ได้ที่ https://www.pr.nu.ac.th/pdf/วัตถุประสงค์ในการนำร่างอาจารย์ใหญ่ไปใช้.pdf - แบบฟอร์มหนังสือพินัยกรรมการบริจาคร่างกายเมื่อถึงแก่กรรมแล้ว ได้ที่ https://www.pr.nu.ac.th/pdf/แบบฟอร์มหนังสือพินัยกรรมการบริจาคร่างกาย.pdf
หรือ ดาวโหลดเอกสารรายละเอียดทั้งหมดได้ที่ ... https://www.medsci.nu.ac.th/Web2010/Files/Formborijak.pdf
สอบถามข้อมูลเพิ่มได้ที่ ... งานรับบริจาคร่างกาย ภาควิชากายวิภาคศาสตร์คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (ส่วนหนองอ้อ) ตําบลท่าโพธิ์อําเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000 หมายเลขโทรศัพท์ 0-5596-4705, 0-5596-4752, 0-5596-4792

::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::
บริจาคอวัยวะ
คุณประโยชน์
ปัจจุบันมีผู้ป่วยในระยะสุดท้ายอยู่เป็นจำนวนมาก ที่ทุกข์ทรมานจากการที่อวัยวะสำคัญ เช่น หัวใจ, ตับ, ไต, ปอด ฯลฯ ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ วิธีรักษาทางการแพทย์ที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยเหล่านี้ คือ การปลูกถ่ายอวัยวะใหม่ ด้วยอวัยวะของผู้มีจิตศรัทธา ซึ่งได้แสดงเจตนารมณ์ในการบริจาคอวัยวะ หรือได้จากญาติที่มีความประสงค์จะบริจาคอวัยวะของบุคคลนั้น เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นมาปลูกถ่าย จึงจะช่วยให้ผู้ป่วยในระยะสุดท้ายมีชีวิตอยู่เป็นประโยชน์ต่อครอบครัวและ สังคมต่อไปได้
อวัยวะใหม่ที่สามารถนำมาปลูกถ่าย ได้แก่ หัวใจ, ตับ, ไต, ปอด, ตับอ่อน, กระดูก ฯลฯ ซึ่งได้มาจากการนำอวัยวะใหม่เปลี่ยนแทนอวัยวะเดิมที่เสื่อมสภาพ จนไม่สามารถทำหน้าที่ต่อไปได้ และการผ่าตัดนั้นจะเป็นการช่วยชีวิตผู้ป่วยในระยะสุดท้าย เพื่อให้อวัยวะใหม่นั้นทำงานแทนอวัยวะเดิม
ขั้นตอนการบริจาค
1. กรอกรายละเอียดในใบแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะให้ชัดเจน ที่อยู่ควรจะตรงกับทะเบียนบ้าน (หากต้องการให้ส่งบัตรประจำตัวไปยังสถานที่อื่น กรุณาระบุ)
2. พิมพ์ใบแสดงความจำนงบริจาค ส่งเอกสารมายังศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย ตามที่อยู่ด้านล่าง และเมื่อศูนย์รับบริจาคอวัยวะฯ ได้รับใบแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะของท่านแล้ว ศูนย์รับบริจาคอวัยวะฯ จะส่งบัตรประจำตัวผู้มีความจำนงบริจาคอวัยวะให้ตามที่อยู่ที่ได้ระบุไว้
3. หลังจากที่ท่านได้รับบัตรประจำตัวผู้มีความจำนงบริจาคอวัยวะจากศูนย์รับบริจาคอวัยวะฯ แล้ว อย่าลืมกรอกชื่อ และรายละเอียดการบริจาคลงในบัตร
4. กรุณาเก็บบัตรประจำตัวผู้แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะไว้กับตัวท่าน หากสูญหายกรุณาติดต่อกับศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย
คุณสมบัติของผู้บริจาคอวัยวะ
1. ผู้บริจาคอวัยวะต้องมีอายุไม่เกิน 60 ปี 2. เสียชีวิตจากสภาวะสมองตายด้วยสาเหตุต่าง ๆ 3. ปราศจากโรคติดเชื้อ และโรคมะเร็ง 4. ไม่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน, หัวใจ, โรคไต, ความดันโลหิตสูง, โรคตับ และไม่ติดสุรา 5. อวัยวะที่จะนำไปปลูกถ่ายต้องทำงานได้ดี 6. ปราศจากเชื้อที่ถ่ายทอดทางการปลูกถ่ายอวัยวะ เช่น ไวรัสตับอักเสบชนิดบี, ไวรัสเอดส์ ฯลฯ 7. กรุณาแจ้งเรื่องการบริจาคอวัยวะแก่บุคคลในครอบครัวหรือญาติให้รับทราบด้วย
สถานที่ติดต่อ
ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย อาคารเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) ชั้น 5 ถ.อังรีดูนังต์ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทร. 02-256-4045-6 หรือ 1666 สำหรับผุ้สนใจบริจาคอวัยวะ หากไม่สะดวกมาด้วยตนเอง สามารถโทรมาที่ 1666 เพื่อขอรับแบบฟอร์ม ทางไปรษณีย์ได้

......................................
บริจาคดวงตา
1)ใบแสดงความจำนงอุทิศดวงตา ( ผู้บริจาค กรอกรายละเอียด ผ่านเวบ) https://www.redcross.or.th/donation/eye_donate_form.php4
2)ใบแสดงความจำนงอุทิศดวงตา ( ผู้บริจาค ดาวน์โหลดเอกสาร PDF กรอกรายละเอียดส่งทางจดหมาย ) https://www.redcross.or.th/donation/eye_donation_form.pdf
3) แบบฟอร์มใบสำคัญแสดงการยินยอมมอบดวงตาให้สภากาชาดไทย ( เมื่อผู้บริจาคเสียชีวิต ญาติ กรอกรายละเอียด มอบให้เจ้าหน้าที่ ) https://www.redcross.or.th/donation/eye_donate_agreement_form.pdf
คุณประโยชน์
ช่วยผู้ป่วยกระจกตาพิการ ซึ่งอาจแบ่งเป็น - กระจกตาขุ่นเป็นฝ้าขาว เช่น เป็นแผลเป็น หรือกระจกตาบวมจากอุบัติเหตุสารเคมี การติดเชื้อ โรคกระจกตาที่เป็นแต่กำเนิด เป็นต้น - กระจกตามีความโค้งนูนผิดปกติ - กรณีฉุกเฉิน เช่น เป็นโรคติดเชื้อรุนแรง ไม่สามารถควบคุมด้วยการใช้ยารักษาได้ หรือรายที่กระจกตากำลังทะลุ หรือทะลุแล้ว สาเหตุใดก็ตาม ต้องรีบตัดกระจกตาส่วนที่ติดเชื้อ แล้วใส่กระจกตาบริจาคแทนที่เพื่อรักษาดวงตาไว้ก่อน - ทำเพื่อความสวยงามเป็นการทำให้ฝ้าขาวที่ตาดำหายไปโดยไม่คำนึงว่ามองเห็นหรือ ไม่ วิธีนี้ไม่นิยมทำในเมืองไทย เพราะดวงตาบริจาคมีน้อย จำเป็นต้องเก็บไว้ทำการผ่าตัดให้ผู้ที่ทำแล้วจะทำให้เห็นดีขึ้นเท่านั้น
วิธีการ
ภาย หลังถึงแก่กรรม ดวงตาจะเริ่มเสื่อมคุณภาพและเน่าเปื่อยเหมือนอวัยวะอื่นๆ ของร่างกาย ดังนั้นจำเป็นต้องรีบเก็บดวงตาให้เร็วที่สุด อย่างช้าไม่ควรเกิน 6 ชั่วโมง ถ้าช้าเกินไปดวงตาจะใช้ไม่ได้ และไม่ควรอนุญาตให้ฉีดน้ำยากันเน่าเปื่อยของศพ ก่อนที่จะผ่าตัดเก็บดวงตา
ขั้นตอนการแสดงความจำนงอุทิศดวงตา
1. กรอกรายละเอียดในใบแสดงความจำนงอุทิศดวงตาให้ชัดเจน 2. เมื่อศูนย์ดวงตา สภากาชาดไทย ได้รับใบแสดงความจำนงอุทิศดวงตาจากท่านแล้ว ศูนย์ฯจะส่งบัตรประจำตัวให้ตามที่อยู่ที่ระบุไว้ 3. หากย้ายที่อยู่หรือเปลี่ยนสถานภาพใดๆ กรุณาแจ้งศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย
ข้อควรปฏิบัติภายหลังการอุทิศดวงตา
1. แจ้งสมาชิกในครอบครัวหรือญาติใกล้ชิดให้รับทราบ 2. เก็บบัตรอุทิศดวงตาไว้กับตัวหรือในที่หาง่าย 3. ถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับดวงตา ควรปรึกษาจักษุแพทย์
สถานที่ติดต่อ
ศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย อาคารเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฒโน) ชั้น 7 ถนนอังรีดูนังต์ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ 0-2252-8131-9 , 0-2258-8181-9, 0-2256-4039 และ 0-2256-4040 ต่อศูนย์ดวงตา ตลอด 24 ชั่งโมงhttps://eyebankthai.redcross.or.th/?page_id=744
E-mail: eyebank@redcross.or.th
เฟสบุ๊ค ศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย https://www.facebook.com/%E0%B8%A8%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-702870006405109/
ขอขอบคุณ คุณ RLD และ ผุ้มีจิตใจงดงาม ที่ร่วมกันทำบุญ บริจาคร่างกายและอวัยวะ ทุกท่าน ...
ขอให้กรรมดี ที่ท่านได้ทำไว้ ส่งผลให้ ทุกท่านและครอบครัว มีความสุข ความเจริญ คิดสิ่งใดที่เป็นสิ่งดี ก็ให้ได้สิ่งนั้น สุขกาย สุขใจ ตราบนานเท่านาน ...

ปล. ผมบริจาคทั้งร่างกายและดวงตาให้กับสภากาชาด เรียบร้อยแล้ว.. เผื่อถึงเวลาจะได้มีประโยชน์กับผู้ที่จำเป็นต้องใช้ ดีกว่าปล่อยให้เน่าเสีย หรือ เผาทิ้งไปเปล่า ๆ 
แถม ...
L6806180 ภาวะสมองตาย : ระยะสุดท้ายของชีวิตที่จะต่อชีวิตผู้อื่นได้ [คลินิกหมออาสา] หมอหมู (57 - 17 ก.ค. 51 12:27)l
https://topicstock.pantip.com/lumpini/topicstock/2008/07/L6806180/L6806180.html
L7356533 --จะ บริจาคร่างกายเป็นอาจารย์ใหญ่ หรือบริจาคอวัยวะดีคะ ..สับสนมานานมากแล้ว อย่างไหนขาดแคลนมากกว่ากันคะ ขอความคิดเห็นค่ะ-- [สุขภาพกาย] jibjib (36 - 24 ธ.ค. 51 23:56)
https://topicstock.pantip.com/lumpini/topicstock/2008/12/L7356533/L7356533.html
  ............................... มีคำถามบ่อย ๆ ว่า จะบริจาคอวัยวะ หรือ บริจาคร่างกาย ดี ??? คำตอบ " บริจาคได้ทั้งสองอย่างเลยครับ " มีแนวทางดำเนินการ ง่าย ๆ คือ เมื่อถึงเวลานั้น ให้ญาติ แจ้งไปที่สภากาชาด เรื่องการบริจาค อวัยวะ ก่อน ... เพื่อให้เจ้าหน้าที่ประเมินว่า สามารถนำ "อวัยวะ" นั้นไปใช้ได้หรือไม่ ... ( ไม่ใช่ทุกคน ที่บริจาคแล้ว ถึงเวลาจะนำไปใช้ได้ ) ถ้า อวัยวะใช้ไม่ได้ .. ก็ค่อยแจ้งไปยังหน่วยงานที่บริจาคร่างกาย ถ้า อวัยวะใช้ได้ ... ก็ไม่ต้องแจ้งหน่วยงานที่บริจาคร่างกาย .. เพราะ อวัยวะจะไม่ครบ ไม่สามารถนำร่างกายไปเป็นอาจารย์ใหญ่ ให้นักศึกษาแพทย์ ได้ นะครับ (ยกเว้น บริจาคดวงตา (กระจกตา) สามารถบริจาคร่างกายต่อไปได้) ข้อมูลเพิ่มเติม .. คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการอุทิศร่างกาย - โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ www.chulalongkornhospital.go.th/anatomy1/images/rules/quit.pdf ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย https://www.facebook.com/organdonationthailand/posts/630891767094109 ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย https://www.facebook.com/organdonationthailand/ https://www.organdonate.in.th/ https://www.organdonate.in.th/Download/download.html [CR]การบริจาคดวงตา อวัยวะ และร่างกายให้สภากาชาดไทย https://pantip.com/topic/33443933      
Create Date : 23 มกราคม 2552 |
Last Update : 23 ธันวาคม 2562 22:29:29 น. |
|
12 comments
|
Counter : 30892 Pageviews. |
|
 |
|
//www.nephrothai.org/news/news.asp?type=KNOWLEDGE&news_id=69
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการปลูกถ่ายไต
น.ต. พงศธร คชเสนี
โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
การปลูกถ่ายไต คือการรักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย โดยการใช้ไตจากผู้อื่น (ซึ่ง ผ่านการตรวจแล้วว่าสามารถเข้ากันได้) ให้มาทำหน้าที่แทนไตเก่าของผู้ป่วยที่สูญเสียหน้าที่ไปอย่างถาวรแล้ว
ปัจจุบันถือเป็นการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ระยะสุดท้ายทั้งในวัยเด็กและผู้ใหญ่ เนื่องจากถ้าไตใหม่ทำหน้าที่ได้ดีแล้ว สามารถทดแทนไตเดิมได้สมบูรณ์ คุณภาพชีวิตจะดีขึ้น รวมทั้งอายุที่ยืนยาวกว่าการรักษาทดแทนไตโดยวิธีอื่น ไม่ว่าจะเป็นการฟอกเลือด หรือการล้างไตทางผนังหน้าท้อง ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกเหมือนกับการได้รับชีวิตใหม่
วิธีการปลูกถ่ายไต คือ การนำไตของผู้อื่นที่เข้าได้กับผู้ป่วยมาปลูกถ่ายให้กับผู้ป่วย มิใช่การเปลี่ยนเอาไตผู้ป่วยออกแล้วเอาไตผู้อื่นใส่เข้าไปแทนที่
การผ่าตัดทำโดยวางไตใหม่ไว้ในอุ้งเชิงกรานข้างใดข้างหนึ่งของผู้ป่วย แล้วต่อหลอดเลือดของไตใหม่เข้ากับหลอดเลือดของผู้ป่วย และต่อท่อไตใหม่เข้าในกระเพาะปัสสาวะของผู้ป่วย
การปลูกถ่ายไตนี้ใช้ไตเพียงข้างเดียวก็พอ ถ้าร่างกายของผู้ป่วยรับไตใหม่ได้ดีและไม่มีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ไตที่ได้รับใหม่จะทำงานได้ดี
แต่ผู้ป่วยต้องได้รับยากดภูมิต้านทานตลอดชีวิต และจะต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ตลอดไป หากขาดยากดภูมิต้านทาน ร่างกายจะต่อต้านไตที่ได้รับใหม่ ทำให้ไตเสียและยังอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
ขั้นตอนของการปลูกถ่ายไต
- แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยไตวานเรื้อรังระยะสุดท้าย
- ซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจทางหัวใจ ตรวจสภาพจิตใจ
- เจาะเลือดตรวจหน้าที่ของไต / ตับ / ตับอักเสบ บี -ซี / ซิฟิลิส / เอช ไอ วี
- ตรวจเนื้อเยื่อ (HLA Matching)
- การลงทะเบียนรอ ( Waiting list)
- ส่งเลือดตรวจทุก 2 เดือน (ตรวจหาภูมิคุ้มกัน)/ตรวจร่างกายทุก 2-3 เดือน
- การลงทะเบียนรอ พร้อมรับการเปลี่ยนถ่าย (Active waiting list)
การเตรียมตัวของผู้ที่จะปลูกถ่ายไต
ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังในระยะสุดท้าย ระหว่างที่รอการปลูกถ่ายไตต้องเตรียมร่างกายและจิตใจให้พร้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะ ไตที่รอคอยนั้น อาจจะมาเมื่อใดก็ได้โดยที่เราจะไม่คาดคิด
ความพร้อมทางร่างกายนั้นต้องตรวจเช็คอวัยวะทุกระบบในตัวว่าแข็งแรงพอที่จะทน การผ่าตัดได้หรือไม่ และสามารถรับการรักษาด้วยยากดภูมิต้านทานได้ ผู้ป่วยจะต้องไม่เป็นผู้ที่ติดสุราเรื้อรัง หรือติดยาเสพติด ผลการเปลี่ยนไตจึงจะได้คุ้มค่า
มีการตรวจอะไรบ้าง ที่ควรทำในระหว่างการรอปลูกถ่ายไต
ระบบต่างๆของร่างกายที่ต้องตรวจเช็ค คือ ระบบหัวใจ / ตับ / ปอด / สมอง / ระบบเส้นเลือด และความดันโลหิต
- หัวใจที่มีเส้นเลือดหัวใจตีบตัน ควรได้รับการแก้ไขก่อนที่จะผ่าตัดเปลี่ยนไต
- ตับ ที่เป็นไวรัสตับอักเสบชนิด บี/ ซี ที่ยังไม่สงบ ควรได้รับการรักษาให้เรียบร้อยก่อน มิฉะนั้นแล้วหลังการผ่าตัดเปลี่ยนไต เชื้อไวรัสอาจกำเริบและเพื่มจำนวนมากเป็นทวี เพราะ หลังการผ่าตัดเปลี่ยนไต ผู้ป่วยต้องรับประทานยาประเภทสเตียรอยด์ ซึ่งเป็นยาที่จะทำให้เกิดแผลในกระเพาะได้ง่าย ทำให้เกิดเลือดออกจากแผลในกระเพาะได้
- ระบบ เลือด ควรดูเกล็ดเลือดและตรวจดูการแข็งตัวของเลือด เพราะถ้าเลือดหยุดยากอาจจะทำให้เสียเลือดมากในระหว่างการผ่าตัด ควรแก้ไขก่อนทำก่รผ่าตัด การตรวจดูเส้นเลือดที่จะนำไตใหม่ไปต่อมีความจำเป็น
ในบางรายที่มีสภาพของเส้นเลือดแข็งและมีแคลเซี่ยมไปเกาะอยู่ที่ผนังเส้น เลือด ซึ่งมักพบได้ในผู้ป่วยสูงอายุและโรคผู้ป่วยเบาหวานเรื้อรัง
ตรวจเนื้อเยื่อ (HLA Matching)
การทำแม็ชชิ่ง คือการเจาะเลือดของผู้รอรับไตมาผสมกับเซลล์ของผู้บริจาคไต เพื่อดูว่าเข้ากันได้หรือไม่ จะเกิดปฏิกริยาต่อต้านรุนแรงหรือไม่ถ้าใส่ไตนี้เข้าไปในตัวของผู้รับ การทำแม็ชชิ่งจำเป็นต้องทำทุกครั้งที่จะมีการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ เพื่อตรวจสอบความเข้ากันได้ก่อน
ผู้บริจาค (Donor)
ไตที่นำมาใช้ปลูกถ่ายได้มาจาก 2 แหล่งคือจากคนบริจาคที่ยังมีชีวิต (Living Donor) และจากคนบริจาคที่เสียชีวิตแล้ว (Cadaveric Donor)
1. คนบริจาคที่ยังมีชีวิต
ตาม กฏหมายของแพทยสภาที่ประเทศไทยถือปฏิบัติอยู่ คนบริจาคที่มีชีวิตต้องเป็นญาติโดยทางสายเลือด, สามีหรือภรรยา ซึ่งรวมถึงพ่อ แม่ พี่ น้อง ลูก หลาน และญาติ ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นญาติโดยทางสายเลือดอย่างแท้จริง ทั้ง ทางด้านการแพทย์และหรือทางด้านกฏหมาย
สำหรับสามี/ภรรยาที่จะบริจาคไตให้คู่ครองของตน จะต้องแต่งงานโดยมีทะเบียนสมรสมาไม่ต่ำกว่า 3 ปี และ/หรือมีลูกสืบสกุลที่เกิดจากสามีภรรยาคู่นั้น
ผู้บริจาคและผู้รับบริจาคควรมีเลือดกรุ๊ปเดียวกันหรือเป็นกรุ๊ปเลือดที่เข้า กันได้ และผลการทดสอบเข้ากันได้ของเลือดจะต้องไม่มีปฏิกริยาต่อต้านกัน
ผู้บริจาคที่ยังมีชีวิตต้องได้รับการตรวจร่างกาย ตรวจเลือด ตรวจ ปัสสาวะ อัลตราซาวน์ ตรวจคลื่นหัวใจอย่างละเอียด เพื่อให้มีความแน่ชัดว่ามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ มีความเสี่ยงน้อยที่สุด
ผู้บริจาคต้องมีความเข้าใจในเรื่องการบริจาค มีความตั้งใจ เต็มใจ ที่จะช่วยเหลืออย่างบริสุทธิ์ใจ ปราศจากอามิสสินจ้างตอบแทน
ภายหลังการบริจาคไต ผู้บริจาคไตจะเหลือไตเพียงข้างเดียว เพียงพักฟื้น 2-4 สัปดาห์ ก็จะสามารถทำงานได้ตามปกติ ผู้บริจาค
จะยังคงมีสุขภาพปกติ แข็งแรงเหมือนคนที่มีไต 2 ข้างตามปกติ สามารถ ทำงาน ออกกำลังกาย เดินทาง และมีอายุยืนยาวเหมือนคนปกติ เพียงแต่ควรระมัดระวังดูแลไตที่เหลือไม่ให้เกิดการติดเชื้อ ไม่ให้เกิดอุบัติเหตุกระทบกระเทือนต่อไต
2. คนบริจาคที่เสียชีวิตแล้ว
หมายถึง ผู้บริจาคที่เสียชีวิตหรือตายแล้ว การตายนี้ได้รับการพิสูจน์และยืนยันโดยคณะแพทย์ และญาติผู้ตายแสดงความประสงค์จะบริจาคอวัยวะของผู้ตายคนนั้น
ขั้นตอนในการวินิจฉัยการตายและการรับบริจาคอวัยวะ ต้องปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ของแพทยสภาและของศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทยอย่างเคร่งครัด
แพทย์ในประเทศไทยสามารถให้การวินิจฉัยการตายของคนไข้ได้ โดยยึดหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยแพทยสภาเมื่อแพทย์ตรวจพบว่าคนไข้มีแกนสมองไม่ทำงานอย่างถาวร โดย มีสาเหตุที่ชัดเจน ถือว่าแกนสมองตาย ถือว่าสมองตาย จึงจะถือว่าเป็นการตายที่สมบูรณ์ ถึงแม้ว่าหัวใจยังเต้นอยู่ก็ตาม ญาติของผู้ตายในลักษณะนี้ควรและสามารถแสดงความประสงค์บริจาคอวัยวะของผู้ตาย ได้
การเสียชีวิตที่ชัดเจนแบบข้างต้น ส่วนใหญ่จะเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และมีการบาดเจ็บของสมองอย่างรุนแรงและถาวร หรืออาจจะมาจากผู้เสียชีวิตจากเส้นเลือดในสมองแตกและสมองถูกทำลายอย่างรุนแรงถาวร
เมื่อไตที่บริจาคถูกนำออกจากร่างกายของผู้บริจาคแล้ว ถ้าได้รับการเก็บรักษาอย่างถูกวิธี ก็สามารถเก็บได้นานถึง 48 ชม.
การรอปลูกถ่ายไต
การรอ ปลูกถ่ายไต จะนานแค่ไหน คงจะบอกยาก ขึ้นอยู่กับโชคและดวงเสียส่วนหนึ่ง ที่ว่าคือผู้บริจาคไตนั้นมีเนื้อเยื่อที่คล้ายคลึงกับผู้ป่วยที่รอรับมากน้อยแค่ไหน บางท่านอาจรอเพียงไม่กี่เดือน ส่วนบางท่านอาจต้องรอเป็นปีๆ ส่วนใหญ่โดยเฉลี่ย 2-3 ปี
การผ่าตัดเปลี่ยนไต
จะถือเป็นการผ่าตัดใหญ่ โดยเมื่อได้ไตมาแล้ว จะนำมาต่อเข้ากับเส้นเลือดของร่างกายบริเวณหน้าท้องน้อยซึ่งโดยปกติแล้วถือ ว่าไม่ยากนัก และขนาดก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคใดๆ
หลังการผ่าตัดแล้วผู้ป่วยต้องอยู่ในห้องแยกเชื้อประมาณ 1-2 สัปดาห์ไม่จำเป็นต้องเป็นไอซียู อาจเป็นหอผู้ป่วยที่สร้างขึ้นมาโดยเฉพาะหรือห้องเดี่ยวก็ได้แต่ต้องใช้มาตรการป้องกันการติดเชื้อเป็นกรณีพิเศษ เพราะผู้ป่วยในระยะแรกจะได้รับยากดภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันปฏิกริยาต่อต้านอวัยวะของร่างกายเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะไปทำให้ภูมิคุ้มกันการติดเชื้อลงลง ผู้ป่วยอาจได้รับเชื้อจากญาติ หรือผู้มาเยี่ยมได้ง่ายกว่าคนปกติ จึงต้องป้องกันเอาไว้เพื่อผู้ป่วยเอง จะค่อยๆลดยากดภูมิต้านทานลง จนไม่มีโรคแทรกซ้อนอย่างใด อาจใช้ระยะเวลาในโรงพยาบาลระหว่าง 2-6 สัปดาห์
การพักฟื้นหลังออกจากโรงพยาบาล
หลังออก จากโรงพยาบาล แพทย์มักแนะนำให้ผู้ป่วยทำงานเบาๆที่ไม่มีความเสี่ยงไม่ว่าจากอุบัติเหตุ หรืองานที่จะเสี่ยงจากโรคที่จะได้รับจากบุคคลอื่น
หลีกเลี่ยงการติดเชื้อเช่น ไข้หวัด โรคปอด หรือแผลเป็นหนอง
สามารถนอนกับสามีภรรยาได้ตามปกติ
แพทย์จะแนะนำให้กลับไปทำงานได้หลังจาก 1 เดือน ถ้าไม่มีอะไรแทรกซ้อน ค่อยๆออกกำลังกายและเล่นกีฬาเพื่อฝึกฝนและเพิ่มสมรรถภาพของร่างกายเพิ่มขึ้น เรื่อยๆ หลายท่านที่ฝึกฝนจนสามารถแข่งขันกีฬาแทบทุกชนิดได้
การใช้ยาหลังการปลูกถ่ายไต
ยาที่ใช้หลังการผ่าตัดมีอยู่หลายกลุ่ม เพื่อจุดประสงค์ต่างๆกัน เช่น
- ยากดภูมิต้านทานของร่างกายเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะสลัดไต (Acute rejection)
- ยา ที่ป้องกันการติดเชื้อไวรัส เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย เนื่องจากได้ยากดภูมิคุ้มกันในขนาดสูง จะมีโอกาสติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น โดยปกติยาป้องกันการติดเชื้อเหล่านี้ จะให้ไปอย่างน้อย 3 เดือน และอาจจะต้องให้ซ้ำถ้ามีภาวะที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกกดอย่างมาก โดยเฉพาะหลังได้รับยารักษาภาวะสลัดไต
- ยารักษาภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่นยารักษาเบาหวาน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ยารักษาความดันโลหิตสูง ยาลดไขมัน ยาลดบวม ยาที่เพิ่มความแข็งแรงของกระดูก ยาที่เพิ่มความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงในภาวะโลหิตจาง
- ยาวิตามินเพื่อเสริมสร้างบำรุงร่างกาย
โอกาสประสพความสำเร็จในการปลูกถ่ายไต
ผลสำเร็จในการปลูกถ่ายไตขึ้นกับหลายปัจจัย ปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือชนิดของไตที่ได้รับ ดังนี้
ไตจากผู้มีชีวิต ผลสำเร็จใน 1 ปี ประมาณ 95%
ผลสำเร็จใน 5 ปี ประมาณ 90 %
ไตจากผู้เสียชีวิต ผลสำเร็จใน 1 ปี ประมาณ 85 %
ผลสำเร็จใน 5 ปี ประมาณ 70 %
สาเหตุที่ทำให้ไตหลังการปลูกถ่ายเสื่อม มีดังนี้
- การรับประทานยาไม่สมำเสมอ ลืมทาน ทานมากเกิน ทานยาน้อยไป
- การกำเริบของโรคไตเดิม
- การต่อต้านไตแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง
- การติดเชื้อโรคในไต
หลัง การผ่าตัดเปลี่ยนไต หากไตไม่ทำงานไม่ว่าจะเกิดจากการต่อต้านแบบเฉียบพลัน หรือเกิดจากเทคนิคการผ่าตัดจนไตเสียแล้วนั้น จำเป็นต้องผ่าเอาไตออก แต่ถ้าไตทำงานไปได้นานแล้ว และเกิดการเสื่อมอย่างช้าๆ อย่างเรื้อรังจนไม่ทำงานไปในที่สุด ในกรณีหลังนี่ไม่มีความจำเป็นต้องผ่าเอาไตออก
ภาวะแทรกซ้อนหลังการเปลี่ยนไต
๑. ไตไม่ทำงานทันที ที่ใส่เข้าไปในร่างกาย : ป้องกันได้ด้วยการตรวจการเข้ากันได้ของเนื้อเยื่อให้ถูกต้องก่อนทำการปลูกถ่ายไต
๒. การสลัดไตอย่างเฉียบพลัน : มี ประมาณ ๒๐-๔๐ % ในปีแรก ขึ้นกับชนิดของยาที่ใช้กดภูมิต้านทานอวัยวะที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่สามารถรักษาได้ด้วยยาสเตียรอยด์ ซึ่งไม่แพงมากนัก มีจำนวนน้อยที่ต้องใช้ยาที่มีราคาแพงเพื่อควบคุมการสลัดไต
๓. การสลัดไตอย่างเรื้อรัง : คือ การเสื่อมสภาพของไตอย่างช้าๆ โดยมีสาเหตุจากหลายปัจจัย ในปัจจุบันยังไม่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดได้โดยเด็ดขาด แต่สามารถลดความเสี่ยงนี้ได้โดยการควบคุมโรคที่อาจเกิดร่วมด้วยให้ดี เช่น ความดันโลหิต ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน และต้องกินยาลดภูมิต้านทานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงต่อภาวะสลัดไตอย่างเฉียบพลัน ซึ่งจะมีผลทำให้ไตมีอายุยืนยาวขึ้น
๔. การติดเชื้อจากเชื้อทั่วไป : หลัง การปลูกถ่ายไต ภูมิต้านทานร่างกายจะลดลง ทำให้ติดเชื้อได้ง่ายจากเชื้อทั่วๆไป เช่น ปอดบวม กรวยไตอักเสบ หรือจากเชื้อพวกฉวยโอกาส เช่น ไวรัส CMV , Herpes, EB virus เชื้อรา เชื้อพยาธิ วัณโรค และอาจต้องกินยาเพื่อป้องกันพวกเชื้อฉวยโอกาสเหล่านี้ด้วยในระยะแรกหลังการผ่าตัด
๕. มะเร็ง : หลัง การปลูกถ่าย ภูมิต้านทานร่างกายลดลง ทำให้เกิดโอกาสเกิดมะเร็งได้ง่ายกว่าบุคคลทั่วๆ ไป โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ หรือผู้ได้รับการปลูกถ่ายและรับทานยาลดภูมิต้านทานมานานแล้ว มะเร็งที่มักพบได้บ่อยได้แก่ มะเร็งผิวหนัง มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งของไตเก่า
๖. ภาวะแทรกซ้อนความดันโลหิตสูง : อาจ เป็นจากโรคที่มีมาก่อนการผ่าตัด หรือเกิดจากยาที่ใช้ในการลดภูมิต่อต้านอวัยวะ เช่น เพร็ดนิโซโลน นีโอรัล หรือ โปรกราฟ ก็มีส่วนทำให้เกิดความดันโลหิตสูง
๗. โรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน : ผู้ ป่วยปลูกถ่ายไต มีโอกาสเสียชีวิตสูงกว่าบุคคลทั่วไป อาจเพราะมีโอกาสมากที่มีความดันโลหิตสูง ไขมันในโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคเส้นเลือดห้วใจตีบตัน
๘. เบาหวาน : ยาเพร็ดนิโซโลน และโปรกราฟ ทำให้มีโอกาสเกิดเบาหวานได้ง่ายขึ้น หรือเบาหวานที่เป็นอยู่แล้วควบคุมได้ยากขึ้น
๙. ไขมันในโลหิตสูง : พบ ได้สูง 50-80% และอาจเกิดจากการใช้ยาเพร็ดนิโซโลน และนีโอลัล ถ้าจำเป็นก็ต้องใช้ยาลดไขมันจำพวกกลุ่ม สตาติน เช่น ลิปิตอร์ หรือ โซคอร์
๑๐. กระดูกผุกร่อน : ใน ผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย มักมีภาวะกระดูกขาดแคลเซี่ยมอยู่แล้ว เมื่อได้รับยาเพร็ดนิโซโลนก็ยิ่งทำให้มีโอกาสเกิดกระดูกผุได้ง่าย บางรายอาจถึงต้องผ่าตัดเปลี่ยนหัวกระดูกตะโพกก็มีแผลในกระเพาะอาหาร ยาเพร็ดนิโซโลน จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดแผลในกระเพาะ ผู้ป่วยจึงต้องได้รับยาลดกรดในกระเพาะร่วมด้วย
๑๑. ผลข้างเคียงของยาที่ใช้ในการลดภูมิต้านทานอวัยวะแปลกปลอม :
ยาแต่ละตัวจะมีผลข้างเคียงต่างๆ กัน และไม่จำเป็นจะต้องเกิดกับทุกคน
นีโอรัล ขนขึ้นตามหน้าและตัว เหงือกหนาขึ้น พิษต่อไต ไขมันในเลือดสูง กรดยูริคสูง ความดันโลหิตสูง
โปรกราฟ พิษต่อไต เบาหวาน มือสั่น ผมร่วง
เพร็ดนิโซโลน สิว หน้ากางขึ้น น้ำหนักขึ้น แผลในกระเพาะ เบาหวานลงไต โรคตับอักเสบเรื้อรัง กระดูกพรุน
ข้อควรและไม่ควรปฏิบัติหลังได้รับการปลูกถ่ายไตแล้ว
ผู้ป่วย ที่ปลูกไตแล้ว สามารถทำงานได้ตามปกติ แต่ควรเลือกลักษณะงานที่เหมาะสม งานที่สกปรก สิ่งแวดล้อมที่ไม่สะอาด อับชื้น ไม่ควรทำ เพราะจะทำให้ติดเชื้อได้ง่าย
- ควรบอกนายจ้างให้ทราบ เพื่อจะได้จัดงานที่เหมาะสมให้ จัดการประกันสุขภาพตามสิทธิ
- ไม่ควรออกแรง ทำงานหักโหมจนเกินไป ผักผ่อนเท่าที่จำเป็น
- การไปเที่ยว ควรเลือกสถานที่ สิ่งแวดล้อมที่สะอาด ปลอดภัย ควรมีโรงพยาบาลที่เข้าถึงได้ง่าย
- สามารถขับขี่ยานพาหนะได้ตามปกติ
- สามารถมีลูกได้ตามปกติ สำหรับหญังอาจมีปัญหาในการตั้งครรภ์ได้
- สามารถเล่นกีฬา ออกกำลังกายได้ตามปกติ แต่อย่าให้หักโหมจนเกินไป
ปัจจุบัน การปลูกถ่ายไตถือเป็นการรักษาภาวะไตวายขั้นสุดท้ายที่ดีที่สุด แต่การรักษาวิธีนี้ก็ยังมีความเสี่ยงอยู่และมีมากกว่าวิธีอื่นที่กล่าวมา แล้ว แต่ถ้าผลที่ได้ดี ผู้ป่วยจะมีชีวิตใกล้เคียงคนปกติมากกว่าวิธีอื่น
ผลการรักษาจะดีถ้าเป็นผู้ที่ไม่มีโรคของระบบอื่น นอกเหนือจากโรคไต ไม่มีภาวะติดเชื้อ และอายุไม่มาก เป็น ต้น
ในการปลูกถ่ายไตแพทย์จึงต้องพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนและรอบคอบ ว่าผู้ป่วยเหมาะสมกับการรักษาด้วยวิธีนี้หรือไม่ รวมทั้งต้องเตรียมความพร้อมทั้งด้านร่างกายและจิตใจให้ผู้ป่วยด้วย มิฉะนั้นผลจะไม่ดีและในบางครั้งอาจเสียชีวิตได้
สำหรับในผู้ป่วยโรคเบาหวานนั้นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ทั้งในระยะก่อนผ่าตัด ขณะผ่าตัด และหลังผ่าตัด เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ระหว่างการรักษาด้วยวิธีปลูกถ่ายไตทุกระยะ
จากประสบการณ์ในการรักษาที่ผ่านมาของผู้เขียน พบว่าผู้ป่วยที่มีกำลังใจดีและรักษาใจของตนเองได้ดี ไม่ ว่าจะรักษาด้วยวิธีใด ผลการรักษามักจะดี มีคุณภาพชีวิตที่ดีแม้โรคที่เป็นจะรุนแรงหรือแม้จะทุพพลภาพ
การรักษาใจร่วมกับการรักษาวิธีอื่น ๆ ดังกล่าวมาแล้ว จึงมีความสำคัญมาก และเป็นสิ่งที่ทั้งแพทย์ ผู้ป่วย และญาติ ควรให้ความสำคัญและช่วยกันทำเพื่อผู้ป่วยจะได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีมีความสุข แม้จะเจ็บไข้ได้ป่วยอยู่
น.ต. พงศธร คชเสนี
เวบ สมาคมโรคไต ..
//www.nephrothai.org/index.asp