Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

เจ็บป่วยฉุกเฉินมาตรฐานเดียว นโยบายดี แต่การปฏิบัติล้มเหลว ? ...




1 เมษายน “ฉุกเฉินรักษาฟรี” คุณได้สิทธิ์นั้นทันทีแต่ต้องฉุกเฉินถึงแก่ชีวิตเท่านั้น

1 เมษายน 2012

//thaipublica.org/2012/04/april-1-for-emergency-illness-free/

หลังจากที่รัฐบาลประกาศ “ฉุกเฉินรักษาฟรี” โดยนำร่อง“เจ็บป่วยฉุกเฉินถึงแก่ชีวิต”ไม่ถามสิทธิ์ รักษาทุกที่ ทั่วถึงทุกคนเริ่ม 1เม.ย.นี้ เน้นแก้ปัญหาผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินระดับวิกฤตหรือโคม่า

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2555 นายแพทย์วินัย สวัสดิวรเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)กล่าวว่านโยบายรัฐบาลต้องการสร้างความเสมอภาคให้คนไทยได้รับการบริการสุขภาพอย่างเท่าเทียมกันทั้ง3 กองทุน คือสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ประกันสังคมและหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รวมทั้ง พ.ร.บ.ผู้ประสบภัยจากรถโดยเริ่มบูรณาการร่วมกันในการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2555 นี้เป็นต้นไปเมื่อประชาชนที่อยู่ภายใต้หลักประกันสุขภาพทั้ง 3 กองทุนเจ็บป่วยฉุกเฉิน สามารถไปรับบริการที่ใดก็ได้ที่อยู่ใกล้ที่สุดภายใต้มาตรฐานเดียวกัน จะได้รับบริการตรวจรักษาทันที โดยไม่ต้องถูกถามสิทธิไม่ต้องสำรองเงินจ่ายล่วงหน้าและต้องได้รับการส่งต่อไปรับบริการที่มีศักยภาพสูงขึ้นหากจำเป็นหรือรักษาจนกว่าอาการจะหายหรือทุเลาเนื่องจากการได้รับอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน เป็นนาทีวิกฤติเร่งด่วนของชีวิตเป็นตายเท่ากัน การรักษาที่รวดเร็ว จะช่วยให้รอดชีวิตหรือลดความพิการได้

ขณะนื้ ทั้ง 3 กองทุน ได้เตรียมความพร้อมในเรื่องการเบิกจ่ายโดยมีการปรับปรุงกฏระเบียบต่างๆ โดยกรมบัญชีกลางได้แก้ไขพระราชกฤษฎีกาผู้ป่วยสิทธิข้าราชการไม่ต้องสำรองจ่าย และสามารถชดเชยในอัตรา 10,500 บาท สำนักงานประกันสังคม ได้ปรับระบบการเบิกจ่ายกลางทางอิเลคทรอนิคและสปสช.ได้ปรับปรุงประกาศเพื่อให้ใช้อัตรากลาง โดยให้สปสช.เป็นหน่วยเบิกจ่ายกลาง(Clearing house ) ให้แก่โรงพยาบาลเอกชนทั่วประเทศที่ให้การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน

ทั้งนี้นิยามการเจ็บป่วยฉุกเฉินเป็นอย่างไร เพราะส่วนใหญ่อาการเจ็บป่วยฉุกเฉินระหว่างแพทย์และผู้ป่วยไม่ตรงกันจุดนี้ให้ยึดตามนิยามผู้ป่วยฉุกเฉินตามประกาศของคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินซึ่งแบ่งเป็น

1.ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ คือบุคคลที่มีอาการป่วยหรือบาดเจ็บกะทันหันที่มีภาวะคุกคามต่อชีวิตหากไม่ได้รับการรักษาทันทีเพื่อแก้ไขระบบหายใจ ไหลเวียนเลือดหรือระบบประสาทแล้วมีโอกาสเสียชีวิตสูงหรือมีอาการรุนแรงมากขึ้น เช่นภาวะหัวใจหยุดเต้น หายใจไม่ออกหอบรุนแรง หยุดหายใจ ภาวะช็อกชักตลอดเวลาหรือชักจนตัวเขียว เลือดออกมากอย่างรวดเร็วและตลอดเวลา

2.ผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน คือ บุคคลที่มีอาการป่วยหรือบาดเจ็บเฉียบพลันหากไม่ได้รับการรักษาอย่างรีบด่วนมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจนพิการหรือเสียชีวิตได้เช่น ไม่รู้สึกตัว ชัก อัมพาตหรือตาบอดหูหนวกทันที ตกเลือดซีดมากจนเขียวเจ็บปวดมากหรือทุรนทุราย ถูกพิษหรือรับยาเกินขนาด ได้รับอุบัติเหตุโดยเฉพาะมีบาดแผลที่ใหญ่มากหลายแห่ง

ทั้งนี้ผู้ป่วยฉุกเฉินที่เข้าเกณฑ์นี้ต้องเป็นระดับวิกฤติและเร่งด่วนนั่นหมายความว่าส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว ได้รับการส่งรักษาโดยบุคคลอื่นซึ่งต้องเป็นโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ที่สุด เพื่อให้การรักษาทันท่วงทีลดการสูญเสียชีวิตและความพิการรุนแรงจากเหตุไม่จำเป็น

ขณะที่พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญประธานสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปแห่งประเทศไทย (สพศท.)ให้ความเห็นว่า “ฉุกเฉินรักษาฟรี”ทุกคนเห็นพ้องว่าหลักการดี และดูเหมือนจะลดความยุ่งยากแต่จริงๆมันยุ่งยาก เพราะคำจำกัดความคำว่า “ฉุกเฉิน” แล้วยุ่งยากทันที เนื่องจากไม่ใช่ฉุกเฉินธรรมดา แต่เป็นฉุกเฉินวิกฤตที่คนไข้จะเป็นจะตาย คือไม่รักษาเดี๋ยวนั้นต้องตายเท่านั้น

“ประชาชนต้องเข้าใจว่าต้องฉุกเฉินวิกฤตเท่านั้นนอกนั้นไม่ใช่นะ แต่ในภาษาของเรา ถูกรถชนตูม หัวแตก แขนหัก ขาหัก ถามว่าฉุกเฉินไหมฉุกเฉิน แต่ตายไหม ไม่ตาย อย่างนี้ไม่เข้าไครทีเรียของเขานะรัฐบาลโปรโมทว่าฉุกเฉินไม่ต้องจ่าย คำเดียวเลยแต่คุณไม่พูดให้ชัดว่าฉุกเฉินวิกฤตเท่านั้น และประชาชนเข้าใจในรายละเอียดหรือยังเพราะ 1 เมษายนนี้ต้องเริ่มแล้ว”

พญ.ประชุมพรกล่าวต่อว่าความจริงนิยามนี้ใช้กับคนไข้วิกฤตไม่รักษาเดี๋ยวนั้นต้องตาย มีเกณฑ์ว่า เช่น คนไข้ช็อค จะด้วยสาเหตุอะไรก็ตามต้องแก้ช็อค คนไข้บาดเจ็บที่สมอง ไม่ใช่แค่หัวแตก คนไข้หัวใจขาดเลือดคนไข้ท้องเสียจนความดันตกไปแล้ว หรือตกเลือดมากจนเลือดจะหมดตัว หายใจรวยรินเป็นต้น ส่วนที่ฉุกเฉิน อาทิ เด็กแขนหักกระดูกโผล่ ถามว่าฉุกเฉินไหม ฉุกเฉินแต่ไม่เข้าคำจำกัดความนี้ คนไข้จะใช้สิทธินี้ไม่ได้คำถามคือประชาชนรู้เรื่องและเข้าใจหรือยัง

ส่วนประเด็นที่สปสช.จะเป็นผู้จัดเก็บข้อมูลและเป็นเคลียริ่งเฮ้าส์หรือน่วยเบิกจ่ายกลางนั้นเป็นสิ่งที่โรงพยาบาลรัฐกังวลคือกลัวว่าสปสช.จะจ่ายไม่ครบซึ่งต่างจากกรมบัญชีกลางและกองทุนประกันสังคมที่จ่ายตามที่เรียกเก็บดังนั้นสิ่งที่ต้องการเสนอคือรัฐบาลควรแต่งตั้งเคลียริ่งเฮ้าส์ที่ไม่ใช่ 3 กองทุนนี้ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสีย โดยแยกเคลียริ่งเฮ้าส์ออกไปต่างหากซึ่งอาจจะให้กระทรวงสาธารณสุขดูแลเรื่องนี้โดยตรงเพราะที่ผ่านมาในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติโรงพยาบาลรัฐมีปัญหาการเบิกจ่ายกับสปสช.มาโดยตลอดจนโรงพยาบาลรัฐส่วนใหญ่ขาดทุนมากมาย

นอกจากนี้ยังมีประเด็นพ.ร.บ.บุคคลที่ 3 ทางสปสช.จะรับผิดชอบแทนบริษัทประกันหรือไม่อย่างไร เพราะระบบเดิมจะใช้สิทธิพ.ร.บ.บุคคลที่3 จนหมดก่อน ซึ่งมีวงเงิน 15,000 บาทก่อน แล้วจึงใช้สิทธิอื่นๆประเด็นนี้ยังไม่ชัดเจนว่าจะให้ใช้สิทธิอันไหนก่อนหลังหรือจะใช้ซ้ำซ้อนกันแต่ถ้าใช้สิทธิของรัฐบาลก่อน บริษัทประกันก็ไม่ต้องรับภาระค่าใช้้จ่ายหรือไม่

“โรงพยาบาล ในฐานะผู้ปฏิบัติคนไข้เข้ามาต้องช่วยชีวิตอยู่แล้ว ทุกคนได้รับการรักษาเหมือนกันอยู่แล้วไม่ว่าจะใช้สิทธิอะไรเราต้องการช่วยคนไข้ที่ขอความชัดเจนเพราะเราไม่ต้องการมีปัญหากับคนไข้ ต้องการวินวินทั้งสองฝ่ายซึ่งสปสช.ต้องทำเรื่องนี้ให้ชัดเจนกับผู้ปฏิบัติ”

รวมทั้งประเด็นที่ให้โรงพยาบาลเอกชนรับคนไข้ฉุกเฉินวิกฤตหากพ้นวิกฤตเขาจะส่งคนไข้ไปไหน จุดสิ้นสุดอยู่ที่ไหนสำหรับโรงพยาบาเอกชนและหากไม่มีจุดสิ้นสุด ใครจะรับผิดชอบเรื่องเงินหลังจากวิฤตผ่านไปแล้วซึ่งคนไข้อาจจะจำเป็นต้องรักษาต่อเนื่อง

“รัฐบาลประกาศว่าเอกชนต้องรับหากไม่รับจะมีความผิด เอกชนเขาคงอยากช่วยแต่ต้องมีจุดสิ้นสุดหากหาจุดสิ้นสุดไม่เจอ ก็จะเป็นประเด็นปัญหาตามมาอีกและประเด็นสำคัญที่สุดคือเงินค่ารักษาฉุกเฉินรักษาฟรีนี้ อยู่ในเงินเหมาจ่ายรายหัว2,756 บาทหรือไม่ ถ้าอยู่ในส่วนนี้ เท่ากับมากินส่วนเดิมอีกขนาดไม่มีก้อนนี้มาแย่ง โรงพยาบาลรัฐก็แย่อยู่แล้ว หรือเป็นเงินกองใหม่แยกต่างหาก”พญ.ประชุมพรกล่าว


ปชช.ร้อง “เจ็บป่วยฉุกเฉิน” พ่นพิษ เก็บเงินผู้ป่วย

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 26 สิงหาคม 2556 17:04 น.

//www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000106726

กลุ่มคนรักหลักประกันฯ ร้อง “เจ็บป่วยฉุกเฉิน”ทำพิษ เรียกเก็บเงินผู้ป่วยทั้งที่รัฐบาลบอกไม่ต้องจ่าย แนะนำพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยรถยนต์มาใช้ร่วมด้วย จี้ รบ.เดินหน้า กม.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข

วันนี้ (26 ส.ค.)ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ศูนย์ราชการฯ น.ส.สุรีรัตน์ ตรีมรรคาผู้ประสานงานกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ ออกแถลงการณ์ ฉบับที่ 1/2556 เรื่อง “การรักษาพยาบาลไม่ใช่ธุรกิจเราต้องการระบบสุขภาพมาตรฐานเดียว” โดยกล่าวว่าขณะนี้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำลังถูกคุกคาม เนื่องจากนโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉินถึงแก่ชีวิต ไม่ถูกถามสิทธิ์ ใกล้ที่ไหนไปที่นั่น” ซึ่งโรงพยาบาลของรัฐและเอกชนจะต้องให้บริการผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะฉุกเฉินทั้งสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าประกันสังคม และสวัสดิการข้าราชการ โดย สปสช.จะเป็นเคลียริงเฮาส์คือจ่ายเงินสำรองไปก่อน และค่อยเรียกเก็บกับอีกสองกองทุนโดยประชาชนไม่ต้องจ่ายแม้แต่บาทเดียว เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2555 จวบจนปัจจุบันเป็นเวลากว่า 1 ปี แต่กลับพบปัญหามาก ทั้งที่เป็นนโยบายที่ดี สร้างชื่อให้รัฐบาลที่พบมากคือ ผู้ป่วยที่มาด้วยภาวะฉุกเฉินถูกเรียกเก็บเงินโดยเฉพาะในโรงพยาบาลเอกชน ประชาชนต้องจ่ายเอง และไม่รู้ว่าจะไปเบิกได้อีกหรือไม่ทั้งที่รัฐบาลบอกว่าไม่ต้องจ่าย

น.ส.สุรีรัตน์ กล่าวอีกว่า สาเหตุเพราะโรงพยาบาลเอกชนบางแห่งไม่ยอมรับว่าผู้ป่วยอยู่ในภาวะฉุกเฉิน บ้างก็อ้างว่าเพราะเงินค่าดีอาร์จี (DRG)หรือเงินที่สปสช.ต้องสำรองจ่ายโดยคิดค่าระดับความรุนแรงของภาวะฉุกเฉินที่ระดับละ 10,500 บาท ซึ่งเอกชนมองว่าไม่สอดคล้องกับต้นทุน เรื่องนี้ รัฐบาลโดยสปสช.ที่ถูกมอบหน้าที่ให้เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการจะต้องหาทางแก้ไขให้ได้ ที่สำคัญหลังจากมีนโยบายนี้ สปสช.จ่ายเงินสำรองไปแล้ว 240 ล้านบาท โดยที่ยังไม่ได้รับเงินคืนจากอีก 2 กองทุนคือ ประกันสังคม และสิทธิสวัสดิการข้าราชการซึ่งกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินมากที่สุด คือ ข้าราชการเพราะเข้ารับบริการได้มากกว่าสิทธิอื่นถึง 14 เท่า

น.ส.กชนุช แสงแถลง โฆษกกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ กล่าวว่า อยากให้รัฐบาลนำ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยรถยนต์ พ.ศ. 2535เข้าเป็นหนึ่งในนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินฯ เนื่องจากเกี่ยวพันกันเพราะผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน ส่วนใหญ่ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ แต่กลับไม่นำพ.ร.บ.นี้มาใช้ร่วมกัน กลายเป็นภาระของ สปสช.ในการสำรองจ่ายเนื่องจากการจะใช้สิทธิ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยรถยนต์ฯ นั้น จะมีขั้นตอนยุ่งยากโดยเงินก้อนแรกที่ได้จาก พ.ร.บ.นี้ คือ 15,000 บาทซึ่งจะได้รับญาติผู้ป่วยหรือผู้ประสบภัยต้องยื่นเอกสารต่างๆหากนำมาอยู่ในนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินฯ ก็จะลดขั้นตอนยุ่งยากได้ โดยสปสช.เป็นผู้ดำเนินการเอง

“ในเดือน ก.ย.กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพจะขอเข้าพบรัฐมนตรรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขถึงปัญหาจากนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินฯโดยเฉพาะการเก็บเงินผู้ป่วย และจะขอแนวทางแก้ปัญหานี้ ซึ่งหากยังไม่มีความคืบหน้าพวกเราคงต้องหารือถึงแนวทางการเคลื่อนไหวที่จะไปร้องขอนายกรัฐมนตรีเอง” น.ส.กชนุช กล่าวและว่า นอกจากนี้ อยากให้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)เดินหน้าเรื่องร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ...เพราะค้างในสภาฯมานานแล้ว แต่กลับไม่เดินหน้าซึ่งพวกตนจะเข้าพบคณะกรรมาธิการสาธารณสุขเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วย


นโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินพ่นพิษ ล่าสุดรพ.วิภาวดีกั๊กข้อมูลเบิกเงิน สปสช.ได้ไม่ครบ เจอจ่ายเองหลายแสน

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 เมษายน 2557 12:27 น.

//www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000037547

โวยนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินพ่นพิษเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์เผย รพ.วิภาวดีกั๊กข้อมูลเบิกจ่ายไม่บอกผู้ป่วยว่าเบิกเงิน สปสช.ได้ไม่ครบ จนต้องจ่ายเองอีกหลายแสนบาท ด้านสปสช.ชี้จ่ายได้บางส่วน ชงปรับแก้กฎกระทรวง

นโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินพ่นพิษ ล่าสุดรพ.วิภาวดีกั๊กข้อมูลเบิกเงิน สปสช.ได้ไม่ครบ เจอจ่ายเองหลายแสน

นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา

นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนาประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กล่าวว่านโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินรักษาได้ทุกที่ ไม่ต้องสำรองจ่าย มีปัญหามากขึ้นเรื่อยๆล่าสุดกรณีโรงพยาบาลวิภาวดี มีผู้ป่วยรายหนึ่งอายุ 75 ปี มาจาก จ.สุราษฎร์ธานี เดินทางมาร่วมงานแต่งงาน และเกิดอุบัติเหตุล้มลงจนลิ้นจุกปากต้องนำส่งโรงพยาบาลใกล้ที่สุด คือ รพ.วิภาวดี ปัญหาคือโรงพยาบาลแจ้งว่ามีค่าใช้จ่ายสูง ทางคนไข้จึงต้องการย้ายแต่โรงพยาบาลไม่อนุญาตบอกว่าอันตราย จึงต้องทำการรักษาโดยมีหนังสือมาให้ญาติเซ็นยินยอม

“รพ.วิภาวดีบอกกับญาติว่า ค่าใช้จ่ายการผ่าตัดอยู่ที่ประมาณ 7-8 แสนบาท สามารถเบิกจ่ายจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)ได้กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน แต่ไม่บอกว่าเบิกได้ไม่ครบ ซึ่งญาติต้องสำรองจ่ายสุดท้ายหลังผ่าตัดมีการเรียกเก็บเงินอีก และพอติดต่อไปทาง สปสช.กลับจ่ายให้เพียง 250,000 บาท ถามว่ากรณีที่เกิดขึ้นประชาชนจะต้องมารับเคราะห์จากนโยบายที่ไม่เป็นความจริงหรือไม่ จึงอยากให้สปสช.ออกมาให้ความชัดเจน เพราะสุดท้ายเกรงว่าจะต้องถึงขั้นการฟ้องร้องอีก” นางปรียนันท์ กล่าว

ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ โฆษก สปสช.กล่าวว่า สปสช.ได้ติดต่อกับทาง รพ.วิภาวดี เพื่อขอความเห็นใจกับกรณีดังกล่าวแต่ต้องยอมรับว่า สปสช.ไม่สามารถจ่ายได้ทั้งหมดเพราะตามนโยบายสามารถจ่ายได้ตามกลุ่มและระดับความรุนแรงของโรคซึ่งโรงพยาบาลเอกชนแต่ละแห่งจะมีราคาข้อกำหนดที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามสปสช.ตั้งใจจะพัฒนาระบบการให้บริการเจ็บป่วยฉุกเฉิน 3 กองทุน ให้มีประสิทธิภาพเพื่อแก้ไขปัญหาการเข้ารับบริการเมื่อประชาชนประสบกับภาวะฉุกเฉินซึ่งยอมรับว่านโยบายนี้เป็นนโยบายที่ดีแต่อาจมีปัญหาอยู่บ้าง โดยเฉพาะรพ.เอกชนที่ยังตกลงอัตราการรับค่าใช้จ่ายไม่ได้ ซึ่งทั้งหมดสปสช.อยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้ประชาชนได้ประโยชน์ที่สุด

แหล่งข่าวกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่าปัญหาทั้งหมด คือรพ.เอกชนหลายแห่งไม่ได้บอกค่ารักษาพยาบาลอย่างชัดเจนแก่ผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วยว่ากรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินจะเบิกเงินกับ สปสช.ได้ในวงเงินเท่าใด และต้องออกเองเท่าใดจึงเป็นปัญหา ซึ่ง สปสช.ก็ไม่มีกฎหมายมาควบคุม มีเพียงกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)ที่มีกฎหมายดูแลเรื่องนี้ คือ พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ. 2541มาตรา 36 ระบุว่าผู้รับอนุญาตและผู้ดำเนินการของสถานพยาบาลต้องควบคุมและดูแลให้มีการช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วยซึ่งอยู่ในสภาพอันตรายและจำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลโดยฉุกเฉินเพื่อให้ผู้ป่วยพ้นจากอันตรายตามมาตรฐานวิชาชีพและตามประเภทของสถานพยาบาลนั้นๆเมื่อให้การช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วยตามวรรคหนึ่งแล้วถ้ามีความจำเป็นต้องส่งต่อหรือผู้ป่วยมีความประสงค์จะไปรับการรักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลอื่นผู้รับอนุญาตและผู้ดำเนินการต้องจัดการให้มีการจัดส่งต่อไปยังสถานพยาบาลอื่นตามความเหมาะสมซึ่งมาตรานี้สามารถปรับปรุงแก้ไขได้ โดยเพิ่มเติมว่ารพ.เอกชนต้องรับรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินทุกกรณีขณะเดียวกันห้ามเรียกเก็บเงินกับผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วยเด็ดขาดแต่ให้มาเรียกเก็บเฉพาะ สปสช.เท่านั้น ซึ่งจะควบคุมไม่ให้เกิดปัญหาได้



ลิงค์บทความ ..

ลิงค์บทความทั้งหมด ..

1 เมษายน “ฉุกเฉินรักษาฟรี” คุณได้สิทธิ์นั้นทันที แต่ต้องฉุกเฉินถึงแก่ชีวิตเท่านั้น
//thaipublica.org/2012/04/april-1-for-emergency-illness-free/

ปชช.ร้อง “เจ็บป่วยฉุกเฉิน” พ่นพิษ เก็บเงินผู้ป่วย
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์     26 สิงหาคม 2556 17:04 น.    
//www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000106726

นโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินพ่นพิษ ล่าสุด รพ.วิภาวดีกั๊กข้อมูลเบิกเงิน สปสช.ได้ไม่ครบ เจอจ่ายเองหลายแสน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์     3 เมษายน 2557 12:27 น.    
//www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000037547


เจ็บป่วยฉุกเฉินมาตรฐานเดียว นโยบายดี แต่การปฏิบัติล้มเหลว ?
Fri, 2014-04-18 17:53 – hfocus
//www.hfocus.org/content/2014/04/6964


"3กองทุนสุขภาพ"เตรียมชง"คสช." ออกกฎห้ามรพ.เก็บเงินป่วยฉุกเฉิน
Wednesday, 25 June, 2014 - 00:00
//www.thaipost.net/news/250614/92194
//www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000071002

...........................


แถม เรื่องที่เกี่ยวข้อง ..

infographic9 ข้อควรรู้เรื่องเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติมีสิทธิทุกที่

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=06-06-2017&group=7&gblog=216

นพ.ธีระ วรธนารัตน์ : เจ็บป่วยฉุกเฉินเมื่อนโยบายยังไม่ชัด ต้องคิดก่อนเข้า

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=21-02-2017&group=7&gblog=212

เจ็บป่วยฉุกเฉินมาตรฐานเดียว นโยบายดีแต่การปฏิบัติล้มเหลว ?...

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=14-10-2014&group=7&gblog=185

สพฉ. จับมือ สธ.พัฒนาการให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉินตามนโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ดีทุกสิทธิ์”

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=02-04-2015&group=7&gblog=186

คำแนะนำเพื่อหลีกเลี่ยงค่ารักษาโรงพยาบาลเอกชนแสนแพง... ( นำมาฝาก )

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=28-05-2015&group=7&gblog=189

โรงพยาบาลเอกชน "แพง" ..ข้อมูลที่ยังไม่รู้ หรือว่า แกล้งไม่รู้ ? ( ฟังความอีกข้าง ^_^ )

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=08-06-2015&group=7&gblog=190

ตรวจสอบค่ารักษาพยาบาล Online ได้ที่//www.hospitalprice.org หรือ สายด่วนสุขภาพ 02 193 7999




 

Create Date : 14 ตุลาคม 2557   
Last Update : 6 มิถุนายน 2560 22:12:06 น.   
Counter : 7364 Pageviews.  

กฏหมาย แพทย์ต้องรู้ ( ผู้ป่วยและญาติ ก็ควรรู้ )

กฏหมาย แพทย์ต้องรู้ ( ผู้ป่วยและญาติ ก็ควรรู้ )

ปัญหาเรื่องการฟ้องร้องแพทย์ ยังเป็นประเด็นที่ร้อนแรงอยู่เสมอ บางช่วงก็ร้อนมาก บางช่วงก็ร้อนน้อย

ท่านใดที่ยังทำหน้าที่เป็น แพทย์รักษาผู้ป่วย และ ยังอยากจะประกอบวิชาชีพแพทย์ ต่อไป .. สิ่งที่ท่านต้อง "เรียน รู้ " ก็คือ กฏหมาย

โดยเฉพาะ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทางการแพทย์  เพื่อที่คุณหมอ จะได้ไม่พลาดพลั้ง ทำผิดกฏหมายด้วยความไม่รู้ ซึ่งหมอบางท่าน จ่ายค่าเรียนรู้ ด้วย เงินหลายแสนหลายล้านบาท หรือแม้กระทั่งจ่ายค่าเรียนรู้ ด้วย "วิชาชีพแพทย"

ความรู้วิชาการทางการแพทย์ ความตั้งใจดี ปรารถดี อาจไม่เพียงพอสำหรับปัจจุบัน อย่างที่เห็นในสื่อต่าง ๆ ทีวี สื่อสิ่งพิมพ์ และ อินเตอร์เนต โลกเปลี่ยนไปแล้ว อย่ายึดมั่นกับ โลกสวยในอดีต หรือ คำพูดที่ว่า " ถ้าหมอทำดี ไม่มีใครฟ้องหมอหรอก "

เรียนรู้ กฏหมาย เรียนรู้จากข่าวสาร เพื่อที่ ท่านจะได้ทำหน้าที่แพทย์ รักษาผู้ป่วย ต่อไปนาน ๆ ...

สำหรับผู้ป่วยและญาติ การเรียนรู้กฏหมาย ก็มีประโยชน์ต่อตัวท่านเอง ในการที่จะปกป้องสิทธิที่ท่านมี และ อาจเข้าใจมากขึ้นว่า บางอย่างทำไม แพทย์ ถึงต้องทำแบบนั้น


แนะนำ หนังสือ "สารพันปัญหาข้อกฏหมาย การบริการทางการแพทย์"  อ่านแป๊บเดียวจบ แต่มีประโยขน์มาก ใช้ได้ตลอดชีวิต และที่สำคัญ " ฟรี " ^_^

กลุ่มงานคดีทางการแพทย์ กลุ่มกฎหมาย ได้จัดทำหนังสือ "สารพันปัญหาข้อกฏหมาย การบริการทางการแพทย์" เพื่อรวบรวมปัญหา ข้อสงสัยที่บุคลากรทางการแพทย์ประสบอยู่และยังไม่เข้าใจทั้งหลักกฎหมายและแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสม โดยจัดทำเป็นคำถามตอบในเรื่องที่ประสบอยู่เป็นประจำในการปฏิบัติงาน เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้กฎหมายที่เกี่ยวกับการให้บริการและวิธีดำเนินการที่ถูกต้อง ทั้งนี้ได้ทำการจัดส่งไปให้ทุกโรงพยาบาลแล้ว และท่านสามารถ Download หนังสือฉบับนี้ได้ที่เว็บไซต์กลุ่มกฎหมาย ตามลิงค์นี้นะครับ







ยกตัวอย่าง เรื่องที่น่าสนใจ ..

ถ่ายภาพ ถ่ายคลิป ผิดกาละเทศะ  อาจ ติดคุก โดยไม่รู้ตัว ..








ประเด็นนี้น่าสนใจ ..  ผู้ป่วย ใส่ท่อช่วยหายใจ ..ถ้าจะเอาออก ใครควรเป็นคนเอาออก ?



ใบยินยอมรับการรักษา .. ย้ำกันอีกที ...จะได้เข้าใจตรงกัน ทั้งแพทย์ และ ผุ้ป่วย (ญาติ)





เวบ กลุ่มกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.
//www.legal.moph.go.th/

เวบ กลุ่มกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. รวมหนังสือบทความน่าสนใจ
//www.legal.moph.go.th/index.php?option=com_remository&Itemid=813&func=select&id=81&orderby=3

เฟส กลุ่มกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/thailegalmoph

การระมัดระวังการใช้Social Media สำหรับแพทย์และผู้ประกอบวิชาชีพทางด้านสาธารณสุข ... โดย หมอแมว    
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=28-06-2014&group=7&gblog=179

แพทยสภา เตือน แพทย์ ระมัดระวังก่อนโพสต์รูปตนเอง/คนไข้หรือความเห็นส่วนตัวลง social media      
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-06-2014&group=7&gblog=178

"Facebook, Line, Tweeter….จริยธรรมบนโลกออนไลน์ .... โดย doctorlawyer"   
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=29-06-2014&group=7&gblog=181

จรรยาบรรณนิสิตนักศึกษาแพทย์ไทย   
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=13-07-2013&group=15&gblog=60

แพทย์ต้องมี จรรยาแพทย์ (จรรยาบรรณ) แล้วคนอื่น อาชีพอื่น ไม่ต้องมีหรือ ???   
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=30-08-2009&group=7&gblog=31

เวลาเปลี่ยน คนไข้ (ญาติ) เปลี่ยน แต่ หมอ (บางคน) ไม่ยอมเปลี่ยน ...   
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=19-06-2011&group=15&gblog=39

ห้องตรวจในโรงพยาบาลของรัฐ ... กับ ... ความลับของผู้ป่วย   
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=06-05-2010&group=7&gblog=55

โพสชื่อ นามสกุล จริง ทำให้คนอื่นเสียหาย .. ทั้งคนโพส ทั้งเจ้าของเวบ ก็เดือดร้อนได้ ระวังหน่อย...    
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=20-12-2009&group=15&gblog=12

โรคหรือสภาพร่างกายหรือสภาพจิตใจ ซึ่งจะ ไม่สามารถจะรับราชการทหารได้ ตามมาตรา 41    
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=10-04-2009&group=7&gblog=22

หมอ ... มีสิทธิ... ที่จะปฏิเสธ .... คนไข้ที่ไม่ฉุกเฉิน..... หรือเปล่า ???   
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=20-08-2009&group=7&gblog=29

ช่องทางร้องเรียน เกี่ยวกับ เรื่อง ...ยา ....หมอ ....คลินิก .....โรงพยาบาล ...    
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-02-2009&group=7&gblog=18

ความรู้เกี่ยวกับ ใบรับรองแพทย์    
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=06-01-2008&group=4&gblog=5







 

Create Date : 07 ตุลาคม 2557   
Last Update : 7 ตุลาคม 2557 14:27:38 น.   
Counter : 33803 Pageviews.  

“ณรงค์ สหเมธาพัฒน์” ปลัดกระทรวงสาธารณสุข แจงสภาพข้อเท็จจริงระบบสุขภาพของไทย

“ณรงค์ สหเมธาพัฒน์” ปลัดกระทรวงสาธารณสุข แจงสภาพข้อเท็จจริงระบบสุขภาพของไทย

//thaipublica.org/2014/07/narong-sahametapat-health-care-system-in-thailand/

25 กรกฎาคม 2014

จากข้อเสนอของกระทรวงสาธารณสุขต่อพลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย ผู้บัญชาการทหารเรือ หัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในโอกาสตรวจเยี่ยมกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2557 โดยมี นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นำเสนอข้อมูล ภารกิจ และโครงการของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งในรายงานดังกล่าวได้สรุปสถานการณ์ปัญหาด้านสุขภาพของคนไทยในประเด็นต่างๆ(คลิ๊กที่ภาพเพื่อขยาย)

สภาพโดยรวมของระบบสาธา


ประเด็นที่ 1 สังคมผู้สูงอายุและผลกระทบด้านสุขภาพ

จากโครงสร้างประชากรที่จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ในปี 2568 การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดบริการสุขภาพ การเตรียมบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีความเฉพาะทางมากขึ้น และภาระรายจ่ายสุขภาพของภาครัฐที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากการเจ็บป่วยของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้องรังมากขึ้น เช่น หัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง สมองเสื่อม ทำให้รัฐต้องจ่ายงบประมาณในการรักษาพยาบาลผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น

ข้อมูลผู้สูงอายุ ณ ปี 2556 มีจำนวน 9,517,000 คน คิดเป็น 14.7% ของประชากรทั้งหมด และค่าใช้จ่ายสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในอีก 12 ปีข้างหน้าเพิ่มขึ้น 3.6 เท่า และสูงกว่าค่าใช้จ่ายสุขภาพโดยรวมทุกอายุจาก 63,565.1 ล้านบาทในปี 2553 คาดว่าจะเพิ่มเป็น 228,482.2 ล้านบาทในปี 2565 หรือคิดเป็น 2.1% ของจีดีพีในปี 2553 เป็น 2.8% ในปี 2565 ทั้งนี้มาจากการเพิ่มอัตราการใช้บริการ อัตราค่าบริการ และค่ายา รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีทางการแพทย์


ประเด็นที่ 2 การเปลี่ยนภาวะโรคจากโรคติดเชื้อเป็นโรคไม่ติดเชื้อเรื้อรัง

ขณะนี้ปัญหาสุขภาพและการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอยู่ในระดับสูงและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าจาก 1,682,281 ราย ในปี 2548 เป็น 3,099,685 รายในปี 2555 และพบว่ามี 5 อันดับโรคที่เพิ่มขึ้นมากสุด(คลิ๊กที่ภาพเพื่อขยาย)

อันดับปัญหาสุขภาพของไทย

นอกจากนี้พบอัตราการตายด้วยโรคเรื้อรังสูงเช่นกัน โดย

โรคมะเร็งตาย เป็นอันดับหนึ่ง และมีแนวโน้มสูงขึ้น 8 เท่า จาก 12.6 ต่อประชากรแสนคนในปี 2510 เพิ่มเป็น 43.8 ต่อประชากรแสนคนในปี 2540 และ 98.5 ต่อประชากรแสนคนในปี 2555

อันดับที่สองเป็น อุบัติเหตุทุกประเภท จาก 26.2 ต่อประชากรแสนคน ในปี 2510 เพิ่มเป็น 51.6 ต่อประชากรแสนคนในปี 2555

อันดับที่สาม โรคหัวใจ จาก 16.5 ต่อประชากรแสนคน ในปี 2510 เพิ่มเป็น 32.9 ต่อประชากรแสนคน

และ โรคหลอดเลือดสมอง จาก 25.3 ต่อประชากรแสนคน ในปี 2510 เพิ่มเป็น 31.7 ต่อประชากรแสนคนในปี 2555

หากไม่สกัดกั้นหรือหยุดยั้งปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จะทำให้เกิดการเจ็บป่วยมีภาวะแทรกซ้อน พิการ และเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ส่งผลให้ภาระค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพและการสูญเสียทางเศรษฐกิจมหาศาล สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค คาดว่าในปี 2558 ประเทศไทยจะสูญเสียรายได้เนื่องจากโรคไม่ติดต่อเรื้องรัง 52,150 ล้านบาท แต่ถ้าหากคนไทยช่วยป้องกันตนเองจะช่วยลดการสูญเสียได้ถึง 10-20 %


ประเด็นที่ 3 ปัญหาตามกลุ่มวัย

กลุ่มที่น่าจับตาคือกลุ่มวัยรุ่นอายุ 15-21 ปี คือการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น เนื่องจากการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกมีอายุเฉลี่ยน้อยลง จากอายุ 15-16 ปีในปี 2545-2552 เป็นอายุ 12-15 ปีในปี 2554 ประมาณ 50% ไม่ใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ทำให้โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่นและเยาวชนมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นเกือบ 2 เท่า

การตั้งครรภ์ของวัยรุ่นไทยในช่วง 14 ปีที่ผ่านมาเพิ่มสูงขึ้น 1.4 เท่า จาก 39.1 ต่อประชากรพันคนในปี 2541 เป็น 55.4 ต่อประชากรพันคนในปี 2555 มีแม่อายุต่ำกว่า 20 ปี จำนวน 133,176 คน หรือ 16.6% ของแม่ทุกกลุ่มอายุ และ สูงกว่าค่าเฉลี่ยมาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ที่ร้อยละ 10

ส่วนกลุ่มผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ปัจจุบันไทยมีประชากร 64.5 ล้านคน เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป 9.4 ล้านคน คิดเป็น 14.57% ของประชากรรวม พบว่าป่วยและตายด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มว่าผู้สูงอายุจะมีความพิการร่วมด้วย ผลกระทบที่ตามมาคือโรคของผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะเป็นโรคที่ต้องได้รับการดูแลระยะยาว และความชุกของโรคที่เกี่ยวเนื่องกับความเสื่อมถอยของอวัยวะเพิ่มสูงขึ้น ทำให้อัตราการพึ่งพิงของประชากรสูงอายุสูงขึ้น

คนพิการมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 2,196,482 คนในปี 2564 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนพิการที่มีความบกพร่องทางร่างกายและการประกอบกิจวัตรประจำวัน


ประเด็นที่ 4 การเข้าถึงบริการของประชาชนเพิ่มขึ้นแต่มีความเหลื่อมล้ำระหว่างภาค ระหว่างกองทุน

กล่าวคือ ตั้งแต่มีนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าส่งผลให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและใช้บริการสถานพยาบาลเมื่อเจ็บป่วยมากขึ้น จากร้อยละ 49 ในปี 2534 เป็นร้อยละ 75.3 ในปี 2548 และร้อยละ 68.5 ในปี 2552 แต่ยังพบความเหลื่อมล้ำของสิทธิประโยชน์จาก 3 กองทุนหลัก (ข้าราชการ, กองทุนประกันสังคม และกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า) มีความแตกต่างกันค่อนข้างมากในหลายแง่มุม เช่น แหล่งที่มาของงบประมาณ จำนวนเงินที่ภาครัฐให้การสนับสนุน วิธีการจ่ายเงินให้กับสถานพยาบาล และชุดสิทธิประโยชน์ที่แตกต่างกัน


ประเด็นที่ 5 งบประมาณค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประเทศ

รายจ่ายโดยรวมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 2.3 เท่า จาก 170,203 ล้านบาท คิดเป็น 3.3% ของรายได้ประชาชาติ หรือเฉลี่ย 2,732 บาทต่อคน ในปี 2544 ก่อนมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพิ่มเป็น 403,459.4 ล้านบาท คิดเป็น 4.1% ของรายได้ประชาชาติ หรือเฉลี่ย 6,777 บาทต่อคนในปี 2554

นอกจากนี้ จากรายงานสาธารณสุขไทยปี 2551-2553 พบว่า รายจ่ายด้านสุขภาพเพิ่มในอัตราที่เร็วกกว่าการเพิ่มขึ้นของจีดีพี กล่าวคือ รายจ่ายด้านสุขภาพเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 7.6% ต่อปีในมูลค่าจริง ขณะที่จีดีพีเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 5.6% ต่อปี สัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่มาจากภาครัฐเพิ่มจาก 56% ของรายจ่ายสุขภาพรวมในปี 2544 เป็น 77% ในปี 2554 ขณะที่รายจ่ายภาคเอกชนลดลงจาก 44% ในปี 2544 เป็น 23% ในปี 2554

ขณะเดียวกัน สถานการณ์การเงินของโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ณ 30 มิถุนายน 2555 พบว่าผลประกอบการล่าสุดขาดทุน โดยแบ่งระดับการขาดทุนเป็น 7 ระดับ พบว่ามีโรงพยาบาลที่อยู่ในภาวะวิกฤติสูงในระดับ 7 จำนวน 175 แห่ง


ประเด็นที่ 6 การแทรกแซงจากอำนาจไม่ชอบธรรม ในการดำเนินการบริหารของกระทรวงสาธารณสุข

ที่ผ่านมาพบว่ามีการแทรกแซงจากอำนาจที่ไม่ชอบ รวมทั้งการจัดซื้อ จัดจ้าง ซึ่งนำไปสู่การเรียกรับผลประโยชน์ การแต่งตั้งโยกย้ายในเกือบทุกระดับ มีคำขอจากฝ่ายที่มีอำนาจเหนือผู้มีอำนาจแต่งตั้ง ทำให้คนที่มีความสามารถขาดโอกาสในการทำหน้าที่บริหาร


ประเด็นที่ 7 เอกภาพในการกำหนดนโยบาย

การกำหนดนโยบายสุขภาพเป็นบทบาทสำคัญของกระทรวงสาธารณสุขในฐานะหน่วยงานหลักในการดูแลสุขภาพ แต่ในทางปฏิบัติ มีกระทรวงอื่นๆ ที่มีบทบาทในบางส่วนในการจัดบริการสุขภาพหรือการผลิตบุคลากรทางการแพทย์ และการเกิดขึ้นของหน่วยงานต่างๆ ตามกฎหมาย เช่น สปสช., สสส., สวรส., สช., สพฉ., สรพ. ซึ่งเป็นผู้เล่นสำคัญในระบบสุขภาพ แต่การดำเนินการไม่มีกลไกที่มีเอกภาพในการกำหนดและขับเคลื่อนนโยบาย ทำให้เกิดปัญหาในการบริหารงานเพื่อขับเคลื่อนนโยบายตลอดมา

ข้อเสนอแก้ปัญหาระบบสุขภาพของไทย

ข้อเสนอนโยบายเร่งด่วนที่ทำทันที ได้แก่

1. พัฒนาระบบบริการให้ตอบสนองความต้องการของประชาชนทุกกลุ่มวัย โดยการพัฒนาคุณภาพสถานบริการทุกระดับให้ดีขึ้นบนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน มุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคมากกว่าการรักษาเมื่อเจ็บป่วย พัฒนาการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุ สนับสนุนการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก จัดระบบบริการโดยไม่ยินยอมให้ใช้เวลาราชการในการปฏิบัติธุรกิจส่วนตัว ผู้ป่วยได้รับการดูแลจากแพทย์ทุกรายในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน ลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น ลดความแออัดและเวลารอคอย โดยขยายเวลาบริการที่เหมาะสม พัฒนาระบบการส่งต่อผู้ป่วย ลดการปฏิเสธการรับ–ส่งต่อผู้ป่วยในกรณีที่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์

2. ร่วมสร้างความสมานฉันท์เพื่อลดความขัดแย้งของบุคคลที่เห็นต่างทางการเมือง โดยใช้กลไกหน่วยบริการสาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุขที่มีมากกว่าหนึ่งล้านคนทั่วประเทศ และกระบวนการทางสังคมจิตวิทยา

3. สร้างขวัญและกำลังใจแก่บุคลากรสาธารณสุข ได้แก่ การปรับระบบค่าตอบแทนที่เป็นธรรมตามภาระและคุณภาพงาน การจัดสรรตำแหน่งเพื่อคัดเลือกลูกจ้างชั่วคราว พนักงานราชการ พนักงานกระทรวงสาธารณสุข บรรจุเป็นข้าราชการ และขอจัดสรรสำหรับบรรจุผู้สำเร็จการศึกษาตำแหน่งแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร รวมทั้งมาตรการให้ความช่วยเหลือแก่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ได้รับผลกระทบจากการให้บริการทางการแพทย์

4. สร้างกลไกอภิบาลระบบที่เป็นระบบคุณธรรม ไม่ยินยอมให้มีการทุจริตและการแทรกแซงจากอำนาจที่ไม่ถูกต้องชอบธรรม โดยมีกลไกการเฝ้าระวัง ตรวจสอบถ่วงดุลในรูปประชาคมสาธารณสุขที่เข้มแข็ง

ส่วนนโยบายระยะกลางที่ทำภายใน 1 ปี คือ

5. ปฏิรูประบบบริการเป็นเขตบริการสุขภาพ เพื่อสร้างเครือข่ายบริการที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ครอบคลุมประชากร 4-6 ล้านคน เกิดความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการของประชาชน ตั้งแต่ระดับการสาธารณสุขมูลฐาน บริการปฐมภูมิ จนถึงบริการระดับสูง มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างคุ้มค่า การลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น โดยการจัดให้มีการบริหารเบ็ดเสร็จภายในเขตบริการสุขภาพ โดยการมอบอำนาจและการสนับสนุนจากส่วนกลาง

6. ปฏิรูประบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ ให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่าง 3 กองทุน ระหว่างสถานบริการ และการดูแลระบบที่มีเอกภาพ มีความโปร่งใส มีประสิทธิภาพสูงสุด

7. ปฏิรูประบบข้อมูลด้านสุขภาพ ให้มีข้อมูลที่มีความครบถ้วน ใช้ประโยชน์ได้ และประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ตามจำเป็น โดยไม่เป็นภาระมากเกินไปสำหรับผู้ปฏิบัติงานในทุกระดับ โดยการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลสุขภาพแห่งชาติ

8. พัฒนาและบังคับกฎหมาย เพื่อให้เป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายด้านสาธารณสุขให้บรรลุผล เช่น พรบ.จัดตั้งสถาบันพระบรมราชชนก, พรบ.ยา, พรบ.ผู้ได้รับความเสียหายจากบริการทางการแพทย์ฯ

9. พัฒนากลไกการสร้างเอกภาพในการพัฒนานโยบายสาธารณสุข และการกำหนดยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อน โดยมีกระทรวงสาธารณสุขเป็นแกนหลัก ร่วมกับกระทรวงที่เกี่ยวข้องและองค์กรภาคีสุขภาพที่สำคัญ





 

Create Date : 18 กันยายน 2557   
Last Update : 18 กันยายน 2557 22:42:33 น.   
Counter : 5813 Pageviews.  

บริการตรวจสุขภาพเคลื่อนที่ เลือกอย่างไร ไม่ให้ถูกหลอก ?






บริการตรวจสุขภาพเคลื่อนที่ เลือกอย่างไร ไม่ให้ถูกหลอก

เนื่องด้วย พระราชบัญญัติ สถานพยาบาล พ.ศ.2541 ว่าด้วยเรื่องการขึ้นสถานพยาบาล ซึ่งหมายถึง สถานที่รวมตลอดถึงยานพาหนะ ซึ่งจัดไว้เพื่อการประกอบโรคศิลปะตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ และจากประกาศ กระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2542)ว่าด้วยเรื่องหลักเกณฑ์การยกเว้นสถานพยาบาลซึ่งไม่ต้องอยู่ในบังคับ ของ พรบ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 ข้อที่ 1.3 เป็นสถานพยาบาลเคลื่อนที่ของสถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนที่ใช้ ยานพาหนะเป็นที่ให้บริการและออกให้บริการไปยังหน่วยงานที่ร้องขอเพื่อการตรวจดูแลสุขภาพพนักงาน นักศึกษา ควรเป็นไปตามสัญญาประกันสุขภาพหรือการตรวจสุขภาพประจำปีระหว่างสถานพยาบาลกับหน่วยงานเท่านั้น

    ดังนั้น จึงมีประกาศจากกระทรวงฯ เรื่องแนวทางการให้บริการตรวจสุขภาพเคลื่อนที่สำหรับสถานศึกษาและสถานประกอบการ โดยสถานพยาบาลเอกชนที่เรียกเก็บค่าบริการ สถานพยาบาลเอกชนนั้นต้องเป็นสถานพยาบาลที่มีเตียงผู้ป่วยไว้ค้างคืนเท่านั้น

    ซึ่งพิจารณาได้จากใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลที่ออกให้โดยกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น และ หากต้องออกบริการจะต้องมีหน่วยงานร้องขอให้ไปตรวจ และเป็นไปเฉพาะกรณีเพื่อการตรวจดูแลสุขภาพพนักงานนักศึกษา ตามสัญญาประกันสุขภาพหรือตรวจประจำปีระหว่างสถานพยาบาลกับหน่วยงานเท่านั้น

ทั้งนี้ หากสถานศึกษา/ผู้ประกอบกิจการ สงสัยหรือต้องการตรวจสอบว่าสถานพยาบาล เอกชนนั้นสามารถให้บริการได้หรือไม่
- ในเขตกรุงเทพมหานครสอบถามได้ที่สํานักสถานพยาบาลและการ ประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ โทร 0 2590 1997 ต่อ 405,406 
- ในส่วน ภูมิภาค สอบถามได้ที่ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด ทุกจังหวัด
- สอบถามที่สายด่วนคุ้มครองบริการสุขภาพ หมายเลข  0 2193 7999 ตลอด 24 ชั่วโมง

( ในขณะนี้มีสถานพยาบาล(เอกชน) ประเภทที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน ที่กระทรวงสาธารณสุขได้ออกใบอนุญาตให้ประกอบกิจการ จํานวน 326 แห่งเท่านั้น )

มีคำแนะนำใน 3 ประการ ได้แก่
1. การให้บริการตรวจสุขภาพนักเรียน ผู้ใช้แรงงาน เพื่อเป็นสวัสดิการ จะต้องตรวจโดยสถานพยาบาลภาครัฐหรือเอกชนที่มีเตียงรับผู้ป่วยพักค้างคืนเท่านั้น และก่อนดำเนินการ ควรแจ้งขออนุญาตที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนั้นๆ
2. บุคลากรที่ดำเนินการตรวจสุขภาพจะต้องเป็นผู้ที่มีใบประกอบวิชาชีพ เช่น แพทย์ พยาบาล นักเทคนิคการแพทย์ เท่านั้น
3. หากไม่แน่ใจว่าหน่วยบริการที่ไปตรวจสุขภาพถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ ขอให้แจ้งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในพื้นที่เพื่อร่วมกันตรวจสอบก่อน หรือสอบถามสายด่วนคุ้มครองบริการสุขภาพ สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ โทร. 0-2193-7999 ตลอด 24 ชั่วโมง.

สำหรับ บริษัทที่ตรวจสุขภาพเถื่อน จะมีความผิด 2 ข้อหา ได้แก่
1.ข้อหา สถานพยาบาลเถื่อน ตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี จำคุกไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2.ข้อหา แพทย์เถื่อนและเทคนิคการแพทย์เถื่อน ผู้ที่ดำเนินการตรวจสุขภาพและเจาะเลือด ไม่ใช่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและเทคนิคการแพทย์ ตาม พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม และ พ.ร.บ.เทคนิคการแพทย์ มีโทษเท่ากัน คือจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ




 

Create Date : 28 มิถุนายน 2557   
Last Update : 28 มิถุนายน 2557 22:20:39 น.   
Counter : 5667 Pageviews.  

สถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในประเทศไทย 2556 ; Adolescent Pregnancy Thailand 2013




สถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในประเทศไทย 2556 ; Adolescent Pregnancy Thailand 2013


https://hitap.net/research/13577

สรุปย่อโครงการ : 

โครงการประเมิน เทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ได้ทบทวน เอกสารทางวิชาการ รวมทั้งรายงานและบทความการศึกษาวิจัย เพื่อสะท้อนสถานการณ์ เกี่ยวกับการตั้ง ครรภ์ในวัยรุ่น ในประเทศไทย สำหรับ เป็นข้อมูล ประกอบการจัดทำ The State of Thailand Population Report 2013 (STPR 2013) on Adolescent Pregnancy ซึ่ง ดำเนิน การโดยกองทุน ประชากรแห่งสหประชาชาติ (United Nations Population Fund, UNFPA) ประจำประเทศไทยรายงานนี้เสนอผลการทบทวนดังกล่าวโดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น 7 บท ดังนี้
บทท่ี 1 เหตุใดประเทศไทยจึงควรให้ความสำคัญต่ออนามัยการเจริญพันธุ์ และการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
บทท่ี 2 ระบาดวิทยาของการตั้งครรภ์ การคลอด และการทําาแท้งในวัยรุ่น
บทที่ 3 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
บทที่ 4 การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ในมุมมองของสังคม
บทที่ 5 ผลกระทบจากการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
บทที่ 6 นโยบายและมาตรการป้องกันการต้ังครรภ์ในวัยรุ่น บทที่ 7 ข้อเสนอเชิงนโยบาย
ไม่ว่าจะเป็นในกรณีใดก็ตาม การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นส่งผลกระทบท้ังในระยะสั้น และระยะยาว ทั้งผลกระทบด้านสุขภาพทางกายและใจของผู้เป็นแม่และทารก ผลกระทบ ด้านสังคม เช่นวัยรุ่นที่ตั้งครรภต์ โอกาสทางการศึกษา ปัญหาอันเนื่องมาจากขาด ความพร้อมในการเลี้ยงดูลูก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีผลกระทบด้านเศรษฐกิจทั้งระดับครัวเรือน และระดับประเทศทั้งนี้นโยบายมาตรการและบริการต่างๆที่ภาครัฐและหน่วยงานในภาคสว่น อื่นๆจัดขึ้น เป็นปัจจัยท่ีมีผลต่อความชุกของการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

นักวิจัยหลัก: 
แหล่งทุน: 
กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย
บทคัดย่อ/บทสรุปผู้บริหาร: 

สถานะโครงการ: งานวิจัยเสร็จสิ้น

รายงานผลการวิจัยฉบับสมบูรณ์: 
application/pdf icon  adolescent_pregnancy_rep_online.pdf


อัตราการมีบุตรของวัยรุ่น : ข้อมูล พ.ศ.2558-2559    https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=23-11-2017&group=7&gblog=225

สถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในประเทศไทย 2556 ; Adolescent Pregnancy Thailand 2013    https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=03-05-2014&group=7&gblog=177


Emergency Contraception การคุมกำเนิดฉุกเฉิน     https://www.med.cmu.ac.th/dept/obgyn/2011/index.php?option=com_content&view=article&id=268:emergency-contraception&catid=39&Itemid=367
ยาคุมกำเนิด แบบเม็ด แบบฉีด ยาคุมฉุกเฉิน    https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=25-02-2008&group=4&gblog=13
ยาเลื่อนประจำเดือน    https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=05-10-2017&group=4&gblog=133
วิธีคุมกำเนิดทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพสูง‬ ...แพทย์เฉพาะทางบาทเดียว‬    https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=25-02-2008&group=4&gblog=12
วิธีคุมกำเนิดที่คุณใช้นั้น มีโอกาสท้องกี่เปอร์เซ็นต์ ? ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิด    https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=13-09-2017&group=4&gblog=132

ข้อเท็จจริงเรื่องการทำแท้งในประเทศไทย ... ทำแท้ง กฏหมาย แพทยสภา     https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=11-01-2010&group=4&gblog=80
ทำแท้ง ..... ปัญหาที่ยังไร้ทางออก ....     https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=18-01-2009&group=4&gblog=67
ทำแท้ง กฏหมาย แพทยสภา    https://www.med.cmu.ac.th/dept/obgyn/2011/index.php?option=com_content&view=article&id=493:2011-06-09-01-37-20&catid=40&Itemid=482
อันตรายจากการทำแท้งไม่ปลอดภัย .. โดย ประธานราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย     https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-02-2009&group=4&gblog=73





 

Create Date : 03 พฤษภาคม 2557   
Last Update : 23 พฤศจิกายน 2560 14:37:43 น.   
Counter : 3154 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]