|
|
|
|
|
|
|
- เมอรัลเจีย พาเรสทีทิกา Meralgia Paresthetica (Burning Thigh Pain , Skinny Jeans Syndrome)
- ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) .. นำมาฝาก
- กระเป๋านักเรียน หนักเกินทนไหว สะพายเป้อย่างไร ไม่ให้ปวดหลัง
- อาการปวดกล้ามเนื้อ ปัญหาสุขภาพจากการใช้ Smartphone ... โดย ภัทริยา อินทร์โท่โล่ และคณะ
- ปวดหลังกระดูกทับเส้น ยา pregabalin และสัจจธรรมเรื่องอาการปวด .. โดย นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
- กลุ่มอาการผิดปกติจากความสั่นสะเทือนเฉพาะมือและแขน (Hand-Arm Vibration Syndrome: HAVS) .. นำมาฝาก
- ปวดหลัง .. ก็มีคะแนน ทำเองได้ ง่ายมาก
- ทำไม ... ลูกถึงเดินขาโก่ง ... แบบนั้นละคะคุณหมอ ???
- ข้อสะโพกอักเสบ ชั่วคราว ในเด็ก ( Transient synovitis , toxic synovitis or irritable hip )
- ปวดก้นกบ ( Coccyx Pain , coccydynia , coccygodynia )
- หัวกระดูกสะโพกตาย จากการขาดเลือด ในเด็ก Legg-Calve'-Perthes disease
- มะเร็งกระดูก เนื้องอกกระดูก ชนิดไจแอนท์เซลทูเมอร์ (Giant Cell Tumor, GCT ) Osteosarcoma
- ปวดเข่า .... ส่องกล้องข้อเข่า ... knee arthroscopy
- ปวดขาในเด็ก จากการเจริญเติบโต ( Growing Pain or benign limb pain of childhood )
- กระดูกเสื่อม กระดูกพรุน เหมือนกัน ??? ถ้าเป็นโรคกระดูก ต้องกินแคลเซี่ยมเสริม ???
- กระดูกงอก แคลเซี่ยมเกาะ ถือว่า ผิดปกติ ต้องผ่าตัดเอาออก หรือไม่ ?
- ดัดข้อ แล้วมีเสียงลั่น ในข้อ เกิดจากอะไร ??? อันตรายหรือไม่ ???
- ภาวะ หัวกระดูกสะโพกตาย จาก การขาดเลือด
- กระดูกทับเส้น หมอนรองกระดูกทับเส้น กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท เป็นอย่างไร ???
- โรคนิ้วหัวแม่เท้าเก ออกด้านนอก (โรคฮัลลักซ์ วัลกัส ,Hallux Valgus )
- กลุ่มอาการปวดบริเวณ ส้นเท้า ... เส้นเอ็นร้อยหวาย อักเสบ
- เส้นเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ ( รองช้ำ )
- เส้นเอ็นข้อศอกอักเสบ (Tennis Elbow , Golfer Elbow )
- ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ ( โรคคาร์พัล แกงเกลียน ,Carpal ganglion )
- ปลอกหุ้มเอ็นนิ้วหัวแม่มืออักเสบ (โรคเดอ เกอร์แวง , De Quervain's Disease)
- เส้นเอ็นอักเสบแบบนิ้วไกปืน (โรคทริกเกอร์ ฟิงเกอร์ ,Trigger Finger)
- กลุ่มอาการ เส้นประสาทถูกกดทับที่ข้อมือ (ผังผืดทับเส้นประสาท)
- อาหารเสริมกับโรคข้อ
- ปวดคอ
- ปวดไหล่ ข้อไหล่ติด
- โรคกระดูกสันหลังอักเสบยึดติด ( AS )
- กล้ามเนื้อหลัง อักเสบ
- หมอนรองกระดูกส่วนเอวกดทับเส้นประสาท
- การฉีดซีเมนต์รักษากระดูกสันหลังหักยุบ
- กระดูกสันหลังเสื่อม
- สาเหตุ ของอาการ ปวดหลัง ที่พบบ่อย
- ปวดหลัง
- ข้อแนะนำเพื่อป้องกันและบรรเทาอาการ ปวดหลัง
- น้ำไขข้อเทียม (แถม ฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อเข่า , การฉีดเกล็ดเลือด PRP)
- ข้อเข่าเสื่อม ( OA knee , Osteoarthritis knee )
- โรคปุ่มกระดูกหน้าแข้งอักเสบ ( ออสกูด-ชาเลตเทอร์'ส ดีสีส , Osgood-Schlatter's Disease)
- ปวดเข่า
- โรคข้อเสื่อม
- บ้านสำหรับผู้สูงอายุ ปลอดภัย ไม่ล้ม
- ผู้สูงอายุ ท่าทางที่เหมาะสม
- โรคเอสแอลอี หรือ โรคลูปัส
- เกาต์
- การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก (BONE DENSITOMERY)
- กระดูกพรุน กระดูกโปร่งบาง Osteoporosis
- โรครูมาตอยด์ในเด็ก
- ข้อแนะนำเกี่ยวกับยา MTX (เมทโทรเทรกเสด หรือ ยาต้านมะเร็ง)
- กายภาพบำบัดในโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
- โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
- ข้ออักเสบ
|
|
|
|
|
|
กลุ่มอาการปวดบริเวณ ส้นเท้า ... เส้นเอ็นร้อยหวาย อักเสบ
กลุ่มอาการปวดบริเวณส้นเท้า
ดัดแปลงจากเอกสารของ ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย
กลุ่มอาการปวดบริเวณส้นเท้า ประกอบด้วย โรคหลาย ๆ โรค ที่ทำให้เกิดลักษณะอาการที่คล้ายคลึงกัน เช่น
เอ็นร้อยหวายอักเสบ
ถุงน้ำกระดูกส้นเท้าอักเสบ หรือ ถุงน้ำเส้นเอ็นร้อยหวายอักเสบ
กระดูกเท้าบิดผิดรูป
โรครูมาตอยด์
โรคเก๊าท์ หรือ
กระดูกหัก เป็นต้น
ซึ่งในบางครั้งอาจพบหลายโรคพร้อม ๆ กันก็ได้
อาการและอาการแสดง
มีอาการเจ็บบริเวณด้านหลังของส้นเท้า หรือ ด้านหลังข้อเท้า ซึ่งจะมีอาการมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวข้อเท้า เช่น เดินขึ้นลงบันได หรือ วิ่ง เป็นต้น
บางรายพบว่าการกดทับจาก ขอบด้านหลังของรองเท้า เวลาใส่รองเท้าทำให้เกิดอาการมากขึ้น ในผู้ที่เป็นมานาน บริเวณส้นเท้าอาจบวมหรือเป็นก้อนโตขึ้นได้
ตำแหน่งที่เจ็บอาจจะอยู่ที่ เส้นเอ็นร้อยหวาย หรือ ด้านหลังต่อเส้นเอ็นร้อยหวายก็ได้ เมื่อกระดกข้อเท้าขึ้น จะมีอาการเจ็บมากขึ้น แต่เมื่อเหยียดข้อเท้าลง อาการก็จะดีขึ้น อาจคลำก้อนถุงน้ำ หรือ กระดูกงอกได้
การถ่ายภาพรังสีด้านข้างของกระดูกข้อเท้าและส้นเท้า มักจะปกติ อาจพบมีกระดูกงอกได้ในผู้ป่วยบางราย ซึ่งในคนปกติ ที่ไม่มีอาการปวดส้นเท้า ก็อาจพบกระดูกงอกได้ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องถ่ายภาพรังสีในผู้ป่วยทุกคน
แนวทางการรักษา
การรักษาโดย ไม่ผ่าตัด
ส่วนใหญ่แล้วการรักษาโดย ไม่ผ่าตัด จะได้ผลดี ซึ่งประกอบด้วย
1. ลดกิจกรรมที่ทำให้ปวด หรือ กิจกรรมที่ต้องลงน้ำหนัก เช่น การยืนหรือเดินนาน ๆ เป็นต้น และ ควรออกกำลังชนิดที่ไม่ต้องมีการลงน้ำหนัก เช่น ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน
2. บริหารเพื่อยืดกล้ามเนื้อน่อง และ เส้นเอ็นร้อยหวาย
3. ใช้ผ้าพันที่ข้อเท้า ใส่เฝือกชั่วคราวในตอนกลางคืน หรือใส่เฝือกตลอดเวลา เพื่อลดการเคลื่อนไหวของข้อเท้า
4. ใส่รองเท้าที่เหมาะสม เช่น ขนาดกระชับพอดีไม่หลวมเกินไป ส้นสูงประมาณ 1–1.5 นิ้ว มีขอบด้านหลังที่นุ่ม หรือใช้แผ่นรองส้นเท้ารูปตัวยู ( U ) ติดที่บริเวณขอบรองเท้าด้านหลัง เพื่อไม่ให้ขอบของรองเท้ามากดบริเวณที่เจ็บ
5. หลีกเลี่ยงการเดินด้วยเท้าเปล่า
6. รับประทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซ็ตตามอล ยาแก้ปวดลดการอักเสบ ประคบด้วยความร้อน หรือใช้ยานวด
7. ฉีดยาสเตียรอยด์ บริเวณที่มีการอักเสบ ทุก 1-2 อาทิตย์ แต่ ไม่ควรฉีดเกิน 2 ครั้งใน 1 เดือน ถ้าไม่จำเป็นก็ ไม่ควรฉีด เพราะอาจเกิดผลแทรกซ้อนได้ เช่น เส้นเอ็นร้อยหวายขาด ผิวหนังบริเวณที่ฉีดเปลี่ยนเป็นสีขาว เป็นต้น
การรักษาโดยการผ่าตัด
ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด
1. ผู้ป่วยที่ตอบสนองต่อการรักษาดี แต่กลับเป็นซ้ำบ่อย ๆ ไม่หายขาดทำให้มีปัญหาในการดำเนินชีวิตประจำวัน
2. ในรายที่ตอบสนองต่อการรักษาไม่ดี โดยเฉพาะรายที่มีสาเหตุชัดเจน เช่น ฝ่าเท้าบิดเข้าหรือบิดออก เป็นต้น
วิธีผ่าตัด เช่น ผ่าตัดเพื่อเอาถุงน้ำ เนื้อเยื่อที่อักเสบ และ กระดูกงอก ออก หรือ ผ่าตัดเปลี่ยนแนวกระดูก เป็นต้น
ผลข้างเคียงที่อาจพบได้ เช่น แผลเป็นนูนทำให้ปวดแผลเรื้อรัง เส้นเอ็นร้อยหวายขาด เป็นต้น
บทความเรื่อง " เส้นเอ็นร้อยหวาย ขาด "
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=21-06-2009&group=6&gblog=29
Create Date : 24 กรกฎาคม 2551 |
Last Update : 19 เมษายน 2562 14:20:52 น. |
|
8 comments
|
Counter : 123432 Pageviews. |
|
|
|
|
โดย: น้องมู๋ตัวเล็ก (mutualek ) วันที่: 24 กรกฎาคม 2551 เวลา:16:47:38 น. |
|
|
|
โดย: เสลาสีม่วง วันที่: 24 กรกฎาคม 2551 เวลา:17:19:46 น. |
|
|
|
โดย: หมอหมู วันที่: 28 กรกฎาคม 2551 เวลา:19:35:50 น. |
|
|
|
โดย: หมอหมู วันที่: 21 มกราคม 2565 เวลา:16:01:08 น. |
|
|
|
| |
|
|
หมอหมู |
|
|
|
Location :
กำแพงเพชร Thailand
[Profile ทั้งหมด]
|
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]
|
ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ
ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )
หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป ) นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ
ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ
นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )
ปล.
ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com
ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..
|
|
|
นึกว่าเราเป็นจิงๆ นู๋แค่เมื่อยเฉยๆ