|
 |
|
 |
 |
|
 |
- เมอรัลเจีย พาเรสทีทิกา Meralgia Paresthetica (Burning Thigh Pain , Skinny Jeans Syndrome)
- ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) .. นำมาฝาก
- กระเป๋านักเรียน หนักเกินทนไหว สะพายเป้อย่างไร ไม่ให้ปวดหลัง
- อาการปวดกล้ามเนื้อ ปัญหาสุขภาพจากการใช้ Smartphone ... โดย ภัทริยา อินทร์โท่โล่ และคณะ
- ปวดหลังกระดูกทับเส้น ยา pregabalin และสัจจธรรมเรื่องอาการปวด .. โดย นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
- กลุ่มอาการผิดปกติจากความสั่นสะเทือนเฉพาะมือและแขน (Hand-Arm Vibration Syndrome: HAVS) .. นำมาฝาก
- ปวดหลัง .. ก็มีคะแนน ทำเองได้ ง่ายมาก
- ทำไม ... ลูกถึงเดินขาโก่ง ... แบบนั้นละคะคุณหมอ ???
- ข้อสะโพกอักเสบ ชั่วคราว ในเด็ก ( Transient synovitis , toxic synovitis or irritable hip )
- ปวดก้นกบ ( Coccyx Pain , coccydynia , coccygodynia )
- หัวกระดูกสะโพกตาย จากการขาดเลือด ในเด็ก Legg-Calve'-Perthes disease
- มะเร็งกระดูก เนื้องอกกระดูก ชนิดไจแอนท์เซลทูเมอร์ (Giant Cell Tumor, GCT ) Osteosarcoma
- ปวดเข่า .... ส่องกล้องข้อเข่า ... knee arthroscopy
- ปวดขาในเด็ก จากการเจริญเติบโต ( Growing Pain or benign limb pain of childhood )
- กระดูกเสื่อม กระดูกพรุน เหมือนกัน ??? ถ้าเป็นโรคกระดูก ต้องกินแคลเซี่ยมเสริม ???
- กระดูกงอก แคลเซี่ยมเกาะ ถือว่า ผิดปกติ ต้องผ่าตัดเอาออก หรือไม่ ?
- ดัดข้อ แล้วมีเสียงลั่น ในข้อ เกิดจากอะไร ??? อันตรายหรือไม่ ???
- ภาวะ หัวกระดูกสะโพกตาย จาก การขาดเลือด
- กระดูกทับเส้น หมอนรองกระดูกทับเส้น กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท เป็นอย่างไร ???
- โรคนิ้วหัวแม่เท้าเก ออกด้านนอก (โรคฮัลลักซ์ วัลกัส ,Hallux Valgus )
- กลุ่มอาการปวดบริเวณ ส้นเท้า ... เส้นเอ็นร้อยหวาย อักเสบ
- เส้นเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ ( รองช้ำ )
- เส้นเอ็นข้อศอกอักเสบ (Tennis Elbow , Golfer Elbow )
- ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ ( โรคคาร์พัล แกงเกลียน ,Carpal ganglion )
- ปลอกหุ้มเอ็นนิ้วหัวแม่มืออักเสบ (โรคเดอ เกอร์แวง , De Quervain's Disease)
- เส้นเอ็นอักเสบแบบนิ้วไกปืน (โรคทริกเกอร์ ฟิงเกอร์ ,Trigger Finger)
- กลุ่มอาการ เส้นประสาทถูกกดทับที่ข้อมือ (ผังผืดทับเส้นประสาท)
- อาหารเสริมกับโรคข้อ
- ปวดคอ
- ปวดไหล่ ข้อไหล่ติด
- โรคกระดูกสันหลังอักเสบยึดติด ( AS )
- กล้ามเนื้อหลัง อักเสบ
- หมอนรองกระดูกส่วนเอวกดทับเส้นประสาท
- การฉีดซีเมนต์รักษากระดูกสันหลังหักยุบ
- กระดูกสันหลังเสื่อม
- สาเหตุ ของอาการ ปวดหลัง ที่พบบ่อย
- ปวดหลัง
- ข้อแนะนำเพื่อป้องกันและบรรเทาอาการ ปวดหลัง
- น้ำไขข้อเทียม (แถม ฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อเข่า , การฉีดเกล็ดเลือด PRP)
- ข้อเข่าเสื่อม ( OA knee , Osteoarthritis knee )
- โรคปุ่มกระดูกหน้าแข้งอักเสบ ( ออสกูด-ชาเลตเทอร์'ส ดีสีส , Osgood-Schlatter's Disease)
- ปวดเข่า
- โรคข้อเสื่อม
- บ้านสำหรับผู้สูงอายุ ปลอดภัย ไม่ล้ม
- ผู้สูงอายุ ท่าทางที่เหมาะสม
- โรคเอสแอลอี หรือ โรคลูปัส
- เกาต์
- การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก (BONE DENSITOMERY)
- กระดูกพรุน กระดูกโปร่งบาง Osteoporosis
- โรครูมาตอยด์ในเด็ก
- ข้อแนะนำเกี่ยวกับยา MTX (เมทโทรเทรกเสด หรือ ยาต้านมะเร็ง)
- กายภาพบำบัดในโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
- โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
- ข้ออักเสบ
|
 |
|
|
 |
|
ผู้สูงอายุ ท่าทางที่เหมาะสม
ผู้สูงอายุท่าทางที่เหมาะสม
1. การนอน
1.1 เตียงนอน ควรทำด้วยวัสดุที่แข็งและมีผิวเรียบ สูงระดับเข่า เมื่อนั่งห้อยขาข้างเตียงเท้าจะวางราบกับพื้นพอดี
1.2 ที่นอน ควรมีความแน่นและแข็งพอสมควร ขณะนอนไม่ทำให้ลำตัวโค้งงอ ซึ่งทดสอบได้โดยนอนหรือนั่งบนที่นอนแล้วลุกขึ้น ใช้มือลูบบนที่นอน ถ้ารู้สึกว่าที่นอนยุบบุ๋มลงไปตามน้ำหนักตัว ไม่เรียบเสมอกัน ก็ควรเปลี่ยนที่นอน
1.3 ท่านอน ควรนอนหงายแล้วใช้หมอนหนุนใต้เข่า ให้เข่างอเล็กน้อย หรือ นอนตะแคงกอดหมอนข้าง โดยขาที่วางบนหมอนข้างให้งอสะโพกและเข่าเล็กน้อย
ไม่ควร นอนคว่ำเพราะหลังจะแอ่นทำให้ปวดหลังได้
1.4 การลุกจากที่นอน ให้เลื่อนตัวมาใกล้ขอบเตียงแล้วตะแคงตัว งอเข่า งอสะโพก ห้อยเท้าลงข้างเตียงพร้อมกับใช้มือและศอกยันตัวลุกขึ้นนั่งในท่าตะแคงตัวแล้วจึงค่อยลุกยืนต่อไป
ไม่ควรลุกขึ้นนั่งในขณะที่นอนหงายอยู่
2. การนั่ง
2.1 เก้าอี้ ควรมี
- ความสูงระดับข้อเข่า เมื่อนั่งแล้วฝ่าเท้าจะวางราบกับพื้นพอดี
- ส่วนรองนั่ง ควรมีความลึกพอที่จะรองรับสะโพกและต้นขาได้
- พนักพิง ควรมี ผิวเรียบ เอนไปข้างหลังเล็กน้อย
- ที่เท้าแขน เพื่อเป็นที่พักวางแขนและใช้เป็นที่ยันตัวเวลานั่งหรือลุกยืน
2.2 ท่านั่ง ควรนั่งหลังตรง พิงกับพนักพิง ให้น้ำหนักลงตรงกลางไม่เอียง วางเท้าราบกับพื้น งอเข่าตั้งฉาก ต้นขาวางราบกับที่นั่งให้ข้อพับเข่าอยู่ห่างจากส่วนรองนั่งของเก้าอี้ 1 นิ้ว เพื่อป้องกันการกดทับเส้นเลือดใต้เข่า ถ้าที่นั่งของเก้าอี้ลึกมากและมีช่องว่างระหว่างหลังกับพนักเก้าอี้ ควรหาหมอนมารองแผ่นหลัง ไว้ด้วย
ไม่ควร กึ่งนั่งกึ่งนอนเพราะทำให้ปวดหลังได้ง่าย ซึ่งอาจจะไม่รู้สึกปวดทันที บางครั้งข้ามวันไปแล้ว จึงจะเริ่มปวด
2.3 การนั่งส้วม ควรใช้โถส้วมชนิดมีที่นั่ง (โถชักโครก) และ ทำที่จับบริเวณข้างโถส้วมเพื่อช่วยพยุงตัวเวลานั่งลงหรือลุกขึ้น
ไม่ควรนั่งยอง ๆ เพราะจะทำให้เกิดอาการปวดเข่าได้
3. การยืน
ผู้ที่เวียนศีรษะขณะเปลี่ยนท่าหรือหน้ามืดบ่อย ๆ ก่อนลุกจากเตียงหรือเก้าอี้ ให้นั่งห้อยขา ขยับข้อเท้า 5-10 ครั้ง ใช้มือจับที่ยึดเกาะข้างเตียงหรือข้างเก้าอี้ แล้วจึงค่อย ๆ ลุกขึ้นและยืนนิ่ง ๆ สักพัก เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีการเซขณะลุก
ควรยืนให้หลังตรงในท่าที่สบาย กางขาเล็กน้อย ให้น้ำหนักตัวลงค่อนมาทางส้นเท้า ถ้าต้องยืนในท่าเดียวนาน ๆ ควรขยับตัวเปลี่ยนท่าบ่อย ๆ หรือยืนให้ลงน้ำหนักบนขาข้างใดข้างหนึ่งสลับกัน หรือ วางพักเท้าบนที่สูงประมาณ 1 คืบ ถ้าต้องการหยิบของจากพื้น ไม่ควรก้มหลังลงไปหยิบ ใช้วิธีนั่งยอง ๆ งอเข่าและสะโพก แต่ให้หลังตรงจะดีกว่า
การหยิบของจากที่สูง ไม่ควรยื่นมือและยืดตัว ไปหยิบสุดเอื้อมควรหาเก้าอี้หรือบันได เพื่อปีนขึ้นไปหยิบจะดีกว่า การหิ้วของ ควรปรับน้ำหนักเฉลี่ยใกล้เคียงกันและหิ้ว 2 ข้าง ไม่ควรหิ้วของข้างเดียว ถ้าใช้การอุ้มจะดีกว่าการหิ้ว
4. การเดิน
ควรเดินบนพื้นราบ ใส่รองเท้าแบบมีส้นเตี้ย ( สูงไม่เกิน 1 นิ้ว ) หรือ ไม่มีส้นรองเท้า พื้นรองเท้านุ่มพอสมควรและมียางกันลื่น มีขนาดที่พอดีเวลาสวมรองเท้าเดินแล้วรู้สึกว่ากระชับ ไม่หลวมหรือคับเกินไป
ควรใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน เช่น ไม้เท้า หรือ โครงเหล็ก 4 ขา ไม่ควร เดินบนพื้นที่ไม่เสมอกัน เช่น บันได ทางลาดเอียง หรือ ทางเดินที่ขรุขระ
Create Date : 21 มีนาคม 2551 |
Last Update : 21 มีนาคม 2551 17:44:59 น. |
|
1 comments
|
Counter : 2240 Pageviews. |
|
 |
|
|
โดย: หมอหมู วันที่: 20 พฤศจิกายน 2564 เวลา:16:28:37 น. |
|
|
|
| |
|
 |
หมอหมู |
|
 |
|
Location :
กำแพงเพชร Thailand
[Profile ทั้งหมด]
|
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]

|
ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ
ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )
หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป ) นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ
ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ
นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )
ปล.
ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com
ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..
|
|
|
ข้อเข่าเสื่อม
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-05-2008&group=5&gblog=15
บ้านสำหรับผู้สูงอายุ
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=21-03-2008&group=5&gblog=11
ผู้สูงอายุ ท่าทางที่เหมาะสม
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=21-03-2008&group=5&gblog=10