ข้อเข่าเสื่อม ( OA knee , Osteoarthritis knee )
เครดิต ภาพ https://med.mahidol.ac.th/ramachannel/home/article/6-อาการควรรู้--ข้อเข้าเสื/
ข้อเข่าเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด อาจเกิดจาก อายุที่มากขึ้น (มักพบในผู้ที่อายุ 40 ปีขึ้นไป) น้ำหนักตัวมาก พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึง 3 เท่า และ จากการใช้ข้อไม่เหมาะสม สาเหตุอื่น ๆ เช่น อุบัติเหตุ การติดเชื้อในข้อ เป็นต้น
เมื่อเกิดข้อเสื่อม จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ อย่าง ภายในข้อ เช่น กระดูกอ่อนผิวข้อบางลง และ ผิวไม่เรียบ มีกระดูกงอกบริเวณขอบ ๆ ข้อ และ เกิดการสูญเสียคุณสมบัติของน้ำไขข้อ ปริมาณมากขึ้น แต่ความยืดหยุ่นลดลง
อาการและอาการแสดงของโรคข้อเข่าเสื่อม อาจพบอาการเพียงอาการเดียว หรือ หลายอาการพร้อมกันก็ได้ ในระยะแรกมักจะเป็นไม่มาก และ เป็น ๆ หาย ๆ แต่เมื่อข้อเสื่อมมากขึ้น ก็จะมีอาการบ่อยมากขึ้น หรือ เป็นตลอดเวลา
• ปวดข้อเข่า รู้สึกเมื่อย ตึงที่ ต้นขา น่อง และ ข้อพับเข่า ผิวหนังบริเวณข้อ อุ่นหรือ ร้อนขึ้น
• ข้อขัด ข้อฝืด เหยียด-งอเข่าได้ไม่สุด มีเสียงดังในข้อเวลาขยับข้อเข่า จากการเสียดสีกันของผิวข้อที่ไม่เรียบ
• ข้อเข่าบวม เพราะน้ำไขข้อมากขึ้นจากการอักเสบ หรือ มีก้อนถุงน้ำในข้อพับเข่า ( เบเคอร์ ซีสต์ , Baker’s Cyst ) จากเยื่อบุข้อเข่าโป่งออก
• เข่าคดเข้า เข่าโก่งออก หรือ มีกระดูกงอก ทำให้ข้อผิดรูปร่าง กล้ามเนื้อรอบข้อลีบเล็กลง
เอกซเรย์ อาจพบสิ่งผิดปกติ เช่น ช่องของข้อเข่าแคบลง กระดูกงอก (ในผู้สูงอายุปกติ ที่ไม่มีอาการก็พบได้ )
ความผิดปกติทางเอกซเรย์ ไม่สัมพันธ์กับอาการปวด บางคนเอกซเรย์พบว่าข้อเสื่อมมากแต่กลับไม่ค่อยปวด โดยทั่วไปแล้ว แพทย์สามารถวินิจฉัยว่าเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้โดยไม่จำเป็นต้องเอกซเรย์ ยกเว้นผู้ที่จะรักษาด้วยการผ่าตัด หรือ ผู้ที่รักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้น
แนวทางรักษา มีอยู่หลายวิธี เช่น
• ควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เพื่อหลีกเลี่ยงการงอเข่ามากเกินไป
• กายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อาจใช้ ผ้ารัดเข่า เฝือกอ่อนพยุงเข่า (แต่ถ้าใช้นาน ๆ จะทำให้กล้ามเนื้อลีบ)
• ยาบรรเทาอาการ เช่น ยาแก้ปวดลดการอักเสบที่มิใช่สเตียรอยด์ ยาคลายกล้ามเนื้อ แต่ไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานเพราะจะทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น แผลในกระเพาะอาหาร ไตวาย ความดันโลหิตสูง เป็นต้น
• ยากระตุ้นการสร้างกระดูกอ่อนผิวข้อ (ปกติ กระดูกอ่อนผิวข้อจะไม่สร้างขึ้นใหม่) หรือ ยาชะลอความเสื่อม
• ฉีดน้ำไขข้อเทียม ซึ่งจะช่วยให้อาการดีขึ้นเฉลี่ย 6 เดือน – 1 ปี แต่มีราคาค่อนข้างสูง (13,000-16,000 บาท)
• การผ่าตัด เช่น ผ่าตัดจัดแนวกระดูกใหม่เพื่อลดเข่าโก่ง ส่องกล้องเข้าไปในข้อ หรือ ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
วิธีผ่าตัดถือว่าเป็นทางเลือกสุดท้าย จะใช้ในผู้ที่มีอาการมาก และรักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล เท่านั้น
การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อ หรือ เจาะข้อเพื่อดูดน้ำไขข้อออก จะทำให้อาการปวดดีขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่เมื่อผ่านไป 1-2 เดือน ก็จะกลับมาเป็นอีก และมีผลข้างเคียง เช่น กระดูกอ่อนผิวข้อบางลง ทำให้ข้อเสื่อมเร็วขึ้น กระดูกพรุน กล้ามเนื้อลีบ หรือ ติดเชื้อในข้อ จึงถือว่าเป็นเพียงแค่บรรเทาอาการชั่วคราวเท่านั้น
ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ ก็ไม่ควรฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อ หรือ เจาะดูดน้ำไขข้อออก แต่ถ้าจำเป็นต้องฉีดยาสเตียรอยด์ หรือ เจาะข้อ ก็ต้องป้องกันการติดเชื้อขณะฉีดอย่างดี (ต้องใช้ผ้าปลอดเชื้อคลุมบริเวณที่ฉีด) และ ไม่ควรฉีดมากกว่าปีละ 2-3 ครั้ง หลังจากฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อ ต้องลดการใช้งานข้อข้างที่ฉีด ประมาณ 1-2 อาทิตย์ และใช้ผ้าพันรัดเข่าไว้ด้วย ข้อแนะนำในการดูแลรักษาด้วยตนเอง
1. ลดน้ำหนัก เพราะเมื่อเดินจะมีแรงกดลงที่เข่าประมาณ 5 เท่าของน้ำหนักตัว แต่ถ้า วิ่ง จะมีแรงกดลงที่เข่า เพิ่มขึ้นเป็น 7 – 10 เท่าของน้ำหนักตัว ( การถีบจักรยาน เข่าจะรับแรงกดเพียง 1.5 เท่าของน้ำหนักตัวเท่านั้น )
ดังนั้น ถ้าลดน้ำหนักตัวได้ เข่าก็จะรับแรงกดน้อยลง ทำให้เข่าเสื่อมช้าลงและอาการปวดก็จะลดลงด้วย
2. ท่านั่ง ควรนั่งบนเก้าอี้สูงระดับเข่า ซึ่งเมื่อนั่งห้อยขาแล้วฝ่าเท้าจะวางราบกับพื้นพอดี
ไม่ควร นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งคุกเข่า นั่งยอง ๆ หรือ นั่งราบบนพื้น เพราะจะทำให้ผิวข้อเข่าเสื่อมเร็วมากขึ้น
3. เวลาเข้าห้องน้ำ ควรนั่งถ่ายบนโถนั่งชักโครก หรือ นั่งบนเก้าอี้สามขาที่มี รู ตรงกลาง วางไว้เหนือคอห่าน
ควรทำที่จับยึดบริเวณด้านข้างโถนั่ง เพื่อใช้จับพยุงตัวเวลาจะลงนั่งหรือจะลุกขึ้นยืน
ไม่ควรนั่งยอง ๆ เพราะผิวข้อเข่าเสียดสีกันมาก และเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงขาถูกกดทับ ทำให้เลือดไปเลี้ยงขาได้ไม่ดี
4. นอนบนเตียง ซึ่งมีความสูงระดับเข่า เมื่อนั่งห้อยขาที่ขอบเตียงแล้วฝ่าเท้าจะแตะพื้นพอดี
ไม่ควรนอนราบบนพื้นเพราะต้องงอเข่าเวลาจะนอนหรือจะลุกขึ้น ทำให้ผิวข้อเสียดสีกันมากขึ้น ข้อก็จะเสื่อมเร็วขึ้น
5. หลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันได ขณะขึ้นลงบันได จะมีแรงกดที่เข่าประมาณ 3 เท่าของน้ำหนักตัว
6. หลีกเลี่ยงการยืนหรือนั่งในท่าเดียวนาน ๆ ถ้าจำเป็นก็ให้ขยับเปลี่ยนท่า หรือ เหยียด-งอข้อเข่า บ่อย ๆ
7. การยืน ควรยืนตรง ขากางออกเล็กน้อย ให้น้ำหนักตัวลงบนขาทั้งสองข้างเท่า ๆ กัน
ไม่ควร ยืนเอียงลงน้ำหนักตัวบนขาข้างใดข้างหนึ่ง เพราะจะทำให้เข่าที่รับน้ำหนักมากกว่าเกิดอาการปวดได้
8. การเดิน ควรเดินบนพื้นราบ ไม่ควร เดินบนพื้นที่ไม่เสมอกัน เช่น บันได ทางลาดเอียงที่ชันมาก หรือ ทางเดินที่ขรุขระ เพราะทำให้น้ำหนักตัวที่ลงไปที่เข่าเพิ่มมากขึ้น และ อาจจะเกิดอุบัติเหตุหกล้มได้ง่าย ควรใส่รองเท้าแบบมีส้นเตี้ย (สูงไม่เกิน 1 นิ้ว) หรือ ไม่มีส้นรองเท้า พื้นรองเท้านุ่มพอสมควร และ มีขนาดกระชับพอดี
9. ใช้ไม้เท้า โดยเฉพาะ ผู้ที่ปวดมากหรือข้อเข่าโก่งผิดรูป เพื่อช่วยรับน้ำหนัก และ ช่วยพยุงตัวเมื่อจะล้ม
วิธีถือไม้เท้า ในผู้ที่ปวดเข่ามากข้างเดียว ให้ถือในด้านตรงข้ามกับเข่าที่ปวด แต่ถ้าปวดทั้งสองข้างให้ถือในข้างที่ถนัด
10. บริหารกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า ให้แข็งแรง ซึ่งจะช่วยลดอาการปวด ทำให้ข้อเคลื่อนไหวและการทรงตัวดีขึ้น
11. การออกกำลังกายวิธีอื่น
ควรออกกำลังกายที่ไม่ต้องลงน้ำหนักมากนัก เช่น ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน เดินเร็ว ๆ วิ่งเหยาะ ๆ เป็นต้น
ไม่ควร ออกกำลังกายที่ต้องมีการลงน้ำหนักที่เข่าเพิ่มขึ้น เช่น วิ่งเร็ว ๆ เต้นแอโรบิก ฟุตบอล เทนนิส แบดมินตัน บาสเกตบอล เพราะอาจทำให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นรอบข้อเข่าเกิดการฉีกขาดได้และมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุหกล้มได้
12. ถ้ามีอาการปวด ให้พักการใช้ข้อเข่า และ ประคบด้วยความเย็น/ความร้อน หรือ ใช้ยานวดร่วมด้วยก็ได้
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมให้หายขาดได้
จุดมุ่งหมายในการรักษาทุกวิธีคือ เพื่อลดอาการปวด ทำให้ข้อเคลื่อนไหวดีขึ้น ป้องกันหรือแก้ไขข้อที่ผิดรูป เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามสมควร
จึงถือว่าแนวทางรักษาข้างต้นเป็นเพียงการรักษาปลายเหตุ เพื่อบรรเทาอาการเท่านั้น และ ยังมีข้อจำกัดในการรักษาอีกด้วย เช่น การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะสามารถใช้งานได้ใกล้เคียงกับธรรมชาติ และ บรรเทาอาการปวดได้ดี แต่ก็มีอายุใช้งานได้นานแค่ 10 -15 ปี เป็นต้น

 



เพิ่มเติม ..
ข้อเข่าเสื่อม https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-05-2008&group=5&gblog=15 วิธีบริหารเข่า https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-07-2008&group=11&gblog=5 น้ำไขข้อเทียม https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-05-2008&group=5&gblog=16 ปวดเข่า....ส่องกล้องข้อเข่า ... kneearthroscopy https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=15-01-2009&group=5&gblog=42 แนวปฏิบัติบริการดูแลรักษา ข้อเข่าเสื่อม พศ. ๒๕๕๓ ของราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ https://www.mediafire.com/?q6jqyvyci46b51s คำชี้แจงจากราชวิทยาลัยออร์โธฯ เกี่ยวกับยารักษาข้อเข่าเสื่อม..(ที่กรมบัญชีกลางสั่งห้ามเบิก) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=08-04-2011&group=7&gblog=132 คำชี้แจงจากราชวิทยาลัยออร์โธฯเกี่ยวกับยารักษาข้อเข่าเสื่อม(ที่กรมบัญชีกลางสั่งห้ามเบิก)..( ต่อ ) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=21-04-2011&group=7&gblog=134 คำชี้แจงจากราชวิทยาลัยออร์โธฯ เกี่ยวกับยารักษาข้อเข่าเสื่อม(ที่กรมบัญชีกลางสั่งห้ามเบิก)..(จบ?) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=22-07-2011&group=7&gblog=146 ข้อเข่าเทียม https://www.thaijoints.com/ข้อเข่าเทียม การดูแลตนเองเมื่อใส่ข้อเข่าเทียม(Selfcare after knee replacement) https://haamor.com/th/การดูแลตนเองเมื่อใส่ข้อเข่าเทียม/ คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมโดย รศ.นพ.ณัฐพล ธรรมโชติ https://thaiknee.com/home/wp-content/uploads/2013/09/คำแนะนำเรื่องโรคข้อเข่า.pdf การผ่าตัดแก้ไข"ขาโก่ง"หรือ "ข้อเข่าโก่ง(เสื่อม)" ตอนที่ 1-3 https://www.bangkokhealth.com/index.php/health/health-system/bone/2170--qq--qq--1.html https://www.bangkokhealth.com/index.php/health/health-system/bone/2171-2.html https://www.bangkokhealth.com/index.php/health/health-system/bone/2172-qq-qq-3.html การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม(TotalKnee Replacement) | Bangkok Hospital https://www.bangkokhospital.com/index.php/th/diseases-treatment/total-knee-replacement เตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับการผ่าตัด...“ข้อเข่าเทียม” https://www3.siphhospital.com/th/news/article/share/191 “ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม”ทางเลือกที่ต้องเลือกจริงหรือ? https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=710 การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม https://www.jointdee.info/knee/การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อ/ วิธีปฏิบัติตนภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม https://www.samitivejhospitals.com/th/วิธีปฏิบัติตนภายหลังกา/ คนเคยป่วย – ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม(12-17 ก.ค. 57) https://mynametai.wordpress.com/2014/07/21/คนเคยป่วย-ผ่าตัดเปลี่ย/

ในคนที่ ข้อเข่าปกติ .. การวิ่ง หรือ การออกกำลังกาย ไม่ทำให้เกิด เข่าเสื่อมมากขึ้น (ยกเวันในกรณีเกิดอุบัติเหตุ) แต่ในคนที่ มีปัญหาเรื่องเข่า (เส้นเอ็นขาด เข่าเสื่อม) ... การวิ่ง หรือ การออกกำลังกาย "อาจ" ทำให้ เข่าเสื่อม มากขึ้น
.................. วิ่งไม่ได้ทำให้ข้อเสื่อม...ผู้เขียนนพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ https://health2u.exteen.com/20090924/entry-1 วิ่งทำให้ข้อเสื่อมจริงหรือ?....ผู้เขียน นพ.กฤษฎา บานชื่น https://www.doctor.or.th/article/detail/5585 WhyRunners Don’t Get Knee Arthritis https://well.blogs.nytimes.com/2013/09/25/why-runners-dont-get-knee-arthritis/?emc=edit_tnt_20130925&tntemail0=y&_r=4 Effectsof running and walking on osteoarthritis and hip replacement risk. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/23377837 WhyDon't Most Runners Get Knee Osteoarthritis? A Case for Per-Unit-Distance Loads. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/24042311 ::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::: บทบาทของแพทย์ออร์โธปิดิกส์กับการรักษาข้อเสื่อมระยะต้น | พ.ต.อ.น.พ.ธนา ธุระเจน | ข้อเสื่อม โรคที่ทำให้เกิดการเสียหายของกระดูกอ่อนในข้อต่าง ๆ นำไปสู่การที่มีอาการปวดข้อและข้อติดงอ ข้อที่พบบ่อย ๆ ที่มีอาการได้แก่ ข้อเข่า ข้อสะโพก กระดูกสันหลัง ในประเทศอเมริกาพบว่า มีคนเป็นถึง 16 ล้านคน ในช่วงอายุต่ำกว่า 45 ปี อุบัติการณ์ที่พบในผู้ชายเท่ากับผู้หญิง แต่ถ้าช่วงอายุมากกว่า 45 ปี อุบัติการณ์ที่พบในผู้ชายจะน้อยกว่าผู้หญิง กระดูกอ่อนทำหน้าที่ที่สำคัญ คือ ทำให้การเคลื่อนไหวได้อย่างถูกต้อง เรียบตามจังหวะของการเคลื่อนไหว และทำหน้าที่เป็นตัวที่กระจายแรงที่กระทำต่อข้อให้ไม่มากจนเกินไปนัก | สาเหตุของข้อเสื่อมมีได้หลายสาเหตุ ได้แก่ ปัจจัยทางชีวภาพ ปัจจัยทางชีกลศาสตร์ กรรมพันธุ์ การมีน้ำหนักเกินกว่ามาตรฐาน อุบัติเหตุการใช้อย่างไม่เหมาะสม การเปลี่ยนแปลงของกระดูกอ่อนจะเริ่มนิ่มกว่าปกติ มีการแตกเป็นร่อง ทำให้ความสามารถในการยืดหยุ่นและกระจายน้ำหนักเสียไป กระดูกอ่อนมีการแตกมากขึ้น มีการเสียดสีของกระดูก กระดูกจะเสียรูปร่างและมีอาการผิดรูปได้แก่ ขาโก่ง เอ็นยึดข้อต่าง ๆ จะเสียไป เมื่อมีการเสื่อมและแตกเป็นร่องของกระดูก ทำให้น้ำในข้อเข่าลดลง และซึมเข้าไปในกระดูกและเกิดเป็นถุงน้ำในกระดูก ( Cyst ) | สาเหตุทั้งหมดนี้จะทำให้อาการปวดเวลามีการเคลื่อนไหวของข้อนั้น ๆ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือในระยะแรกอาจจะมีอาการเจ็บ หรือขัด ๆ เล็กน้อยเวลาเดิน ต่อมาจะมีอาการปวด เดินไม่ได้ เดินขึ้นบันไดลำบาก ขาโก่งผิดรูป ขยับเขยื้อนได้น้อยลง โดยธรรมชาติถ้าข้อมีอาการปวดจะพักโดยการลดการเคลื่อนไหว ซึ่งทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง การทรงตัวเสียไป การวินิจฉัย ได้แก่การตรวจร่างกาย และภาพถ่ายทางรังสีวิทยา ซึ่งสามารถให้การวินิจฉัยได้โดยไม่ยากนักโปรแกรมการรักษาที่ดีจะต้องลดอาการปวดข้อนั้น ให้ข้อที่ติดมีการเคลื่อนไหวได้ใกล้เคียงของเดิมเพื่อจะทำให้การกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข ได้แก่ การให้ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินโรค, การรับประทานยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่ สเตียรอยด์ ( N-SAIDS) เพื่อลดการอักเสบและอาการปวด แต่ผลข้างเคียงที่พบบ่อย ๆ ได้แก่ อาการปวดท้องจากกระเพาะอาหารอักเสบ การฉีดยาเข้าข้อในปัจจุบันมียาสองประเภทที่รักษาในปัจจุบัน ได้แก่ ประเภทแรก สเตียรอยด์ ข้อบ่งชี้คือ การใช้ในระยะการอักเสบเฉียบพลัน ลดอาการปวด ประเภทที่สอง น้ำข้อเข่าเทียม ใส่ไปในข้อ โดยที่ถ้ากระดูกอ่อนไม่มีการสูญเสียจากข้อเข่าเสื่อม ก็จะได้ผลในแง่การลดอาการปวดเพื่อให้มีโอกาสที่สามารถบริหารกล้ามเนื้อให้แข็งแรงได้ โดยเฉลี่ยก็ประมาณสามถึงหกเดือนแต่ถ้ากระดูกเหลือน้อยมากหรือเกิดการเสื่อมทั้งหมด การใส่ยาอาจไม่สามารถรักษาอาการเหล่านี้ได้ แต่อาจจะพิจารณาในกรณีที่รักษาอาการชั่วคราว เพื่อบรรเทาอาการปวดเพื่อรอการผ่าตัด | การควบคุมน้ำหนัก นอกจากจะทำให้อาการปวดลดลงแล้วยังทำให้รูปร่างดูดี และรู้สึกแข็งแรงขึ้น การทำกายภาพบำบัด การออกกำลังกายที่เหมาะสม โดยการเดินออกกำลังกาย การออกกำลังกายแอโรบิกทำให้อาการปวดลดลง ข้อขยับได้มากขึ้น รวมทั้งกล้ามเนื้อแข็งแรงมากขึ้น ในกรณีที่ไม่สามารถรับประทานยาได้ หรือรับประทานยา ทำกายภาพบำบัดอาการไม่ดีขึ้น ด้วยวิทยาการสมัยใหม่ มีการรักษาทางออร์โธปิดิกส์ดังต่อไปนี้ | การรักษาโดยการผ่าตัดผ่านกล้อง | เป็นการรักษาที่ผ่าตัดผ่านกล้องวีดีโอทัศน์ขนาดเล็ก ประมาณ 4.5 มิลลิเมตร หรือขนาดเท่าปลายดินสอ ใส่เข้าไปในข้อที่เสื่อม ทำให้เห็นพยาธิสภาพของข้อเข่าที่เสื่อมได้อย่างชัดเจน เป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยและวางแผนรักษา เราจะพิจารณาให้การรักษาแบบผ่าตัดผ่านกล้องในกรณีข้อเสื่อมที่มีภาวะร่วมกับเศษกระดูกที่แตกลอยอยู่ในข้อเข่า หมอนรองกระดูกในข้อเข่าที่เสื่อมและมีการฉีกขาด มีพังผืดรัดที่กระดูกอ่อน (plica)การมีลูกสะบ้าที่เอียงกดกระดูกอ่อนทางด้านนอก (lateral compression syndrome) การมีผู้ป่วยที่มีข้อเสื่อมมากที่มีภาวะซึ่งไม่สามารถรักษาด้วยการจัดกระดูก หรือทำข้อเทียมได้ เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด | การรักษาด้วยการส่องกล้องเพื่อการปลูกกระดูกอ่อน arthroscopic debirdement mesenchymal cell stimulation technique โดยการใช้กล้องผ่าตัดตามปกติ เพื่อดูพื้นที่ของการเสื่อมมากน้อยเพียงใด ในกรณีที่ไม่มีการสูญเสียไม่มากนัก การรักษาโดยการใช้เข็มเล็ก ๆ ขนาดประมาณ 2 x 2 มม. ทำให้เป็นรูเล็ก ๆ ห่างกันประมาณ 2 – 4 มม. ในพื้นที่ที่กระดูกเสื่อม เพื่อเป็นการกระตุ้นกระดูกอ่อนให้ขึ้นมาใหม่ โดยปกติ กระดูกอ่อนของเราเป็นลักษณะ hyaline cartilage แต่ส่วนกระดูกที่ขึ้นใหม่ จะมีลักษณะของ fibro cartilage ซึ่งอาจจะไม่แข็งแรงเท่าเดิม แต่อาจจะใช้ได้ การรักษาวิธีนี้ควรพิจารณาในกรณีกระดูกเสื่อมไม่เกิน 2 – 4 ตารางเซติเมตร มีการโก่งงอของเข่าไม่เกิน 5-10 องศา เป็นกระดูกเสื่อมเฉพาะส่วนเท่านั้น ไม่มีการเสื่อมทั่วไปที่เรียกว่า tricompartmental knee | ในปัจจุบันเพื่อเป็นการเพิ่มความสามารถในการเจริญเติบโตของกระดูกอ่อนชนิด fibro cartilage ที่จะงอกใหม่ โดยมีการทำวิจัยเพื่อใช้น้ำเลี้ยงข้อเข่าเทียม เสริมเข้าไปทันทีหลังจากการรักษาด้วยกล้อง โดยเชื่อว่าสารนี้ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของเนื้อเยื่อกระดูกอ่อน จะเข้าไปกระตุ้นการสร้างโปรติโอไกลแคนอื่น ๆ ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูกอ่อน ทำให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งได้เริ่มใช้แพร่หลายในประเทศทางยุโรป อย่างไรก็ตาม การติดตามผลการรักษาวิจัยทางการแพทย์ จะทำให้ช่วยทราบผลการรักษาที่ได้ผลที่เหมาะสมต่อไป | การตัดกระดูก ในกรณีที่กระดูกเสื่อมเฉพาะด้านใน | (Medial compartment) จุดประสงค์คือการจัดกระดูกให้อยู่ในแนวการรับน้ำหนักที่ถูกต้องเพื่อแก้ไขความผิดรูปและการลงน้ำหนักที่ดีขึ้น เข่าที่เสื่อมมากจะมีลักษณะโค้งงอ ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นปัญหาของการเดินเท่านั้น ยังทำให้กระดูกอ่อนของเราเสื่อมมากขึ้น การจัดกระดูกให้อยู่ในแนวที่ถูกต้องจึงไม่เป็นเพียงแต่การรักษาเท่านั้น ยังเป็นการป้องกันข้อเข่าไม่ให้เสื่อมต่อไปด้วย อย่างไรก็ตามข้อบ่งชี้ได้แก่ ลักษณะขาโก่งไม่เกิน 15 องศา มีการเสื่อมเฉพาะด้านในของข้อเข่า ไม่มีลักษณะของกระดูกบาง หรือเหยียดไม่สุด อายุส่วนใหญ่น้อยกว่า 55 ปี ( หรืออาจมากว่าก็ได้ ขึ้นกับการวินิจฉัยของแพทย์ ) การลดน้ำหนักจะใช้เวลาประมาณ 3- 6 เดือน เพื่อจะลงน้ำหนักได้เต็มที่โดยไม่ต้องใช้ไม้เท้า ผลการรักษาสามารถลดอาการปวดได้ประมาณร้อยละ 50-80 ขึ้นกับประมาณการเสื่อมมากหรือน้อย น้ำหนักตัว ลักษณะกระดูกที่โก่ง ภาวะกระดูกบางที่ร่วมด้วย | การจะรักษาอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับอาการของโรคนั้นอยู่ในระยะใด อาการของข้อเสื่อม อายุ น้ำหนักงานที่ทำการกิจวัตรประจำวันการจะทำให้การรักษามีประสิทธิภาพนั้น ท่านควรจะมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคข้อเสื่อม ผลแทรกซ้อนของยาที่ใช้ ปริมาณยาที่ใช้ การรักษาชนิดต่าง ๆ การรักษาอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง | บทบาทของแพทย์ออร์โธปิดิกส์ กับการรักษาข้อเสื่อมระยะปลาย | ถ้าเรามีโอกาสถามว่าอะไรเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้คนอายุยืนอย่างมีความสุข จากการสำรวจพบว่าความต้องการในอันดับต้นได้แก่ สามารถอยู่ได้ด้วยตัวเอง ช่วยเหลือตัวเองได้ ไปไหนมาไหนได้ ทำอะไรที่อยากทำได้ พื้นฐานของสิ่งเหล่านี้คือ การมีข้อและกล้ามเนื้อที่แข็งแรง สิ่งเหล่านี้เป็นอุปสรรคในกรณีที่มีข้อเสื่อมในระยะท้าย ๆ ถ้าการรับประทานยา ฉีดยาหรือทำกายภาพบำบัดไม่ได้ผล เพราะคนที่อายุยืน ถ้าไม่มีการเคลื่อนไหว จะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนตัวลง เพิ่มอุบัติการณ์ของการล้ม อาจทำให้กระดูกหักตามมา และผลต่อเนื่องจากภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ด้วยเหตุผลเหล่านี้แพทย์ออร์โธปิดิกส์ ( แพทย์โรคกระดูกและข้อ ) เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางศัลยกรรมกระดูกและข้อเป็นผู้ให้คำแนะนำการรักษาอย่างถูกต้องที่มีประสิทธิภาพการรักษาได้แก่ การรักษาโดยการทำข้อเข่าเทียม การรักษาที่ว่านี้ไม่ใช้การตัดข้ออกจากร่างกายแต่เป็นทดแทน กระดูกอ่อนส่วนที่เสียไปด้วยกระดูกอ่อนเทียม ที่ทำจากวัสดุพิเศษ โดยการทดแทนกระดูกอ่อนที่เสียไปนั้นขึ้นกับว่า มีการเสียกระดูกในส่วนใด ก็จะทดแทนส่วนนั้น เพื่อความเข้าใจ ในการรักษาด้วยวิธีดังกล่าว เราแบ่งการผ่าตัดข้อเทียมในปัจจุบันเป็น | ประเภทแรก การผ่าตัดข้อเทียมเฉพาะส่วน (unicompartment knee arthroplasty) เราพิจารณาใช้ในกรณีที่อายุมากกว่า 55 ปี (หรืออาจจะต่ำกว่านี้ ถ้ามีความเสื่อมของกระดูกที่สามารถรักษาวิธีนี้ได้) มีการเสื่อมเฉพาะด้านในของข้อเท่านั้น medial compartment เอ็นในข้อเข่าปกติไม่มีการขาด ข้อดีคือ วัสดุที่ใช้ราคาถูกลง แผลเล็กลง เดินลงน้ำหนักได้ภายในหนึ่งถึง สองวัน ตามวารสารทางการแพทย์ อายุใช้งานได้ประมาณ 8-10 ปี ข้อห้ามในการผ่าตัดมีการเลื่อมทั่วไปมากกว่า หนึ่งส่วน อาทิเช่นมีการเสื่อมของกระดูกเข่าด้านนอก lateral compartment หรือมีการเสื่อมของกระดูกลูกสะบ้าร่วมด้วย มีการขาดของเอ็นในเข่าร่วมด้วย มีข้อห้ามในการผ่าตัดจากสาเหตุอื่นทางอายุกรรม ปัจจุบันนี้การรักษาด้วยวิธีนี้เป็นที่นิยมในประเทศสหรัฐอเมริกา เนื่องจากมีแผลเล็ก หายได้เร็ว และถ้าทำตามมาตรฐาน เลือกผู้ป่วยอย่างเหมาะสมก็จะสามารถมีการใช้งานให้เคียงกับการทำข้อเทียมแบบปกติ ประเภทที่สอง การผ่าตัดข้อเทียมทั้งหมด (total knee arthroplasty) ในกรณีผู้ป่วยที่ข้อเข่าเสื่อมมากและมีความขรุขระของกระดูกข้อเข่าและกระดูกสะบ้ามากนั้น หรือลักษณะที่เรียกว่า tricompartmental knee มีอาการปวดมาก รับประทานยาทำกายภาพบำบัดอาการไม่ดีขึ้น เข่าผิดรูป และมีการเสื่อมในลักษณะดังกล่าว การผ่าตัดเพื่อให้ผู้ป่วยเดินได้เร็วและหายปวดซึ่งใช้งานได้ดี จึงถูกพัฒนาขึ้นเพื่อการรักษา โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ขึ้นไปโดยใช้วัสดุที่เข้าไปแทนที่ของกระดูกอ่อนส่วนที่เสียไปทัทางด้านในและด้านนอกของข้อเข่าสำหรับในส่วนของลูกสะบ้านั้นขึ้นกับลักษณะการเสื่อมของลูกสะบ้า ว่ามีความจำเป็นต้อง เปลี่ยนหรือไม่ การรักษาได้ผลมากกกว่าร้อยละ 90 จะทำให้อาการปวดดีขึ้นเดินได้ดีขึ้นร้อยละ 95 - 98 ของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดมี อายุการใช้งาน ประมาณ 10 ปี | ขั้นตอนการรักษาผู้ป่วยโรคข้อเข่าเทียม | 1. ผู้ป่วยที่แพทย์เห็นว่าสมควรจะได้รับการผ่าตัดนั้นจะได้รับคำแนะนำอย่างละเอียดจากแพทย์และส่วนที่สำคัญคือ ได้แลกเปลี่ยนทัศนะคติกับผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดแล้ว เพื่อให้ทราบความรู้สึกของผู้ป่วยว่าได้ผลดีอย่างไรอย่างชัดเจนขึ้น | 2. การเตรียมผู้ป่วยและใช้ขนาดของข้อเข่าเสื่อม ที่เหมาะสมพอดี และแนะนำการดูแลรักษาหลังผ่าตัด | 3. เราให้ยาระงับความปวดด้วยความร่วมมือของวิสัญญีแพทย์เพื่อควบคุมอาการปวดให้เหมาะสม | 4. ในการผ่าตัดใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง | 5. ในวันที่ 3 หรือ 4 เริ่มเดินลงน้ำหนักได้ด้วยตนเอง สามารถงอเข่าได้เฉลี่ยประมาณ 0-90 องศาและทำกายภาพบำบัดโดยการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด หากไม่มีภาวะแทรกซ้อน และผู้ป่วยสามารถฟื้นสมรรถภาพของกล้ามเนื้อได้เร็วก็สามารถออกจากโรงพยาบาลได้ภายในเจ็ดถึงสิบวัน | การดูแลตามขั้นตอนอย่างละเอียดและมีมาตรฐาน สำหรับผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษา โดยทราบถึงการปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง รวมถึงผลการรักษาอย่างชัดเจน ในกรณีที่ต้องการายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาสอบถามแพทย์ https://www.thaiarthritis.org/article08.php
::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::: อาหารกับโรคกระดูกและข้อที่พบบ่อย ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ รศ.ดร.พญ.ภัทรวัณย์ วรธนารัตน์ https://med.mahidol.ac.th/ortho/th/food%20ortho/patient https://drive.google.com/file/d/0BzVECrTBp1yodUFpQUNkV1RkTzg/view
วิถีชีวิตกับโรคกระดูกและข้อ รศ.ดร.พญ.ภัทรวัณย์ วรธนารัตน์ ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ https://resource.thaihealth.or.th/library/collection/14822 https://www.ebooks.in.th/ebook/31135/วิถีชีวิตกับโรคกระดูกและข้อ
แนะนำหนังสือ ดี และ ฟรี : อาหารกับโรคกระดูกและข้อที่พบบ่อย+วิถีชีวิตกับโรคกระดูกและข้อ https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=27-12-2017&group=5&gblog=55


..........................................................การเสียชีวิตใน 45 วันหลังเปลี่ยนข้อเข่าจากเข่าเสื่อม Lancet. 2014;384(9952):1429-1436. บทความเรื่อง 45-Day Mortality after 467,779 Knee Replacements for Osteoarthritis from The National Joint Registry for England and Wales: An Observational Study รายงานว่า การศึกษาปัจจัยเสี่ยงของการเสียชีวิตในระยะกระชั้นภายหลังเปลี่ยนข้อเข่าอาจช่วยลดความเสี่ยงการเสียชีวิตหลังเปลี่ยนข้อเข่า นักวิจัยได้ประเมินแนวโน้มการเสียชีวิตภายใน 45 วันหลังเปลี่ยนข้อเข่าเนื่องจากเข่าเสื่อมในอังกฤษและเวลส์ เพื่อศึกษาผลจากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยระหว่างผ่าตัดที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ต่อการเสียชีวิต นักวิจัยรวบรวมข้อมูลการเปลี่ยนข้อเข่าเนื่องจากเข่าเสื่อมในอังกฤษและเวลส์ระหว่างวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2003 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2011 จากทะเบียน National Joint Registry for England and Wales โดยเชื่อมโยงข้อมูลกับฐานข้อมูลการเสียชีวิตและฐานข้อมูล Hospital Episode Statistics เพื่อติดตามข้อมูลด้านการเสียชีวิต สังคมประชากร และโรคร่วม การเสียชีวิตภายใน 45 วันประเมินจาก Kaplan-Meier analysis และบทบาทของปัจจัยด้านผู้ป่วยและการรักษาประเมินจาก Cox proportional hazards models มีการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเพื่อรักษาข้อเสื่อมจำนวน 467,779 ครั้ง ระหว่าง 9 ปี ผู้ป่วย 1,183 คนเสียชีวิตภายใน 45 วันหลังผ่าตัด โดยการเสียชีวิตลดลงอย่างมีนัยสำคัญจาก 0.37% ในปี ค.ศ. 2003 ลงมาที่ 0.20% ในปี ค.ศ. 2011 แม้หลังปรับตามอายุ เพศ และโรคร่วม การเปลี่ยนข้อเทียมเพียงเสี้ยวเดียวสัมพันธ์กับการเสียชีวิตที่ต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญเทียบกับการเปลี่ยนทั้งข้อ (HR 0.32, 95% CI 0.19-0.54, p < 0.0005) นอกจากนี้พบว่า โรคร่วมสัมพันธ์กับการเสียชีวิตที่สูงขึ้นทั้งกล้ามเนื้อหัวใจตาย (3.46, 95% CI 2.81-4.14, p < 0.0005), โรคหลอดเลือดสมอง (3.35, 2.7-4.14, p < 0.0005), โรคตับระดับปานกลาง/รุนแรง (7.2, 3.93-13.21, p < 0.0005) และโรคไต (2.18, 1.76-2.69, p < 0.0005) ปัจจัยระหว่างผ่าตัดที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้รวมถึงวิธีการผ่าตัด และการให้ยา thromboprophylaxis ไม่สัมพันธ์กับการเสียชีวิต การเสียชีวิตหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญระหว่างปี ค.ศ. 2003-2011 ความพยายามเพื่อลดการเสียชีวิตให้น้อยลงควรเน้นไปที่ผู้ป่วยสูงอายุ เพศชาย และมีโรคร่วมจำเพาะ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจตาย หลอดเลือดสมอง ตับ และไต
https://wongkarnpat.com/viewpat.php?id=1340
Create Date : 29 พฤษภาคม 2551 |
Last Update : 23 สิงหาคม 2565 15:53:47 น. |
|
18 comments
|
Counter : 83637 Pageviews. |
|
 |
|
ขอบคุณมากนะคะ