Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

เส้นเอ็นอักเสบแบบนิ้วไกปืน (โรคทริกเกอร์ ฟิงเกอร์ ,Trigger Finger)

 
 



เส้นเอ็นอักเสบแบบนิ้วไกปืน ( โรคทริกเกอร์ ฟิงเกอร์ ,Trigger Finger )

โรคเส้นเอ็นอักเสบแบบนิ้วไกปืน มีชื่อเรียกอย่างอื่นอีกหลายอย่าง เช่น นิ้วล็อก เอ็นนิ้วมือสะดุดและติดแข็ง ปลอกเอ็นตีบตันจากการอักเสบ เส้นเอ็นอักเสบแบบมีก้อน เป็นต้น

เกิดเนื่องจากเมื่อเส้นเอ็นอักเสบเป็นเวลานาน ก็จะมีการหนาตัวของเส้นเอ็นทำให้เคลื่อนที่ผ่านปลอกหุ้มเส้นเอ็นได้ยาก และ ถ้าเส้นเอ็นหนาตัวมาก ๆ ก็จะคลำได้เป็นก้อน

พบบ่อยใน เส้นเอ็นงอ นิ้วนาง นิ้วกลาง และ นิ้วหัวแม่มือ

ตำแหน่งที่เกิดการอักเสบ คือบริเวณโคนนิ้ว อาจพบในมือเพียงข้างเดียว หรือ อาจเป็นทั้งสองข้างก็ได้

ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงว่าเกิดจากอะไร แต่เชื่อว่ามีสาเหตุจาก การสัมผัส การกด หรือ เสียดสีบริเวณโคนนิ้วมือซ้ำ ๆ กัน หรือ อาจเกิดจากการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อในตำแหน่งนี้ทำให้ปลอกเส้นเอ็นหนาตัวขึ้น เช่น ช่างไม้ ชาวนาชาวไร่ แม่บ้าน เป็นต้น

อาจพบได้ในผู้ที่เป็นโรคบางอย่าง เช่น โรครูมาตอยด์ โรคเก็าท์ หรือ เบาหวาน

มักพบบ่อยในผู้หญิง อายุมากกว่า 40 ปี



อาการและอาการแสดง แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 มักมีอาการเจ็บบริเวณโคนนิ้วมือ หรือปวดเมื่อสัมผัส หรือ กด บริเวณโคนนิ้วมือ โดยเฉพาะช่วงเวลาเช้าตอนตื่นนอนใหม่ ๆ อาจจะมีอาการปวดมาก งอนิ้วไม่ค่อยได้ แต่สักพักก็จะค่อย ๆ ดีขึ้น

ระยะที่ 2 รู้สึกสะดุด (กระตุก) ที่นิ้วนั้น อาจคลำได้ก้อนบริเวณที่เจ็บ ซึ่งก้อนนี้จะขยับตามการเคลื่อนไหวของนิ้วมือ หรือ อาจมีเสียงดังเวลาขยับนิ้ว

ระยะที่ 3 งอนิ้วหรือเหยียดนิ้วได้ไม่เต็มที่ (เนื่องจากอาการเจ็บ) หรือ งอได้แต่เหยียดนิ้วไม่ออก ต้องใช้มืออีกข้างช่วยจับให้เหยียดนิ้วออก ซึ่งอาจจะมีเสียงดังที่บริเวณโคนนิ้วและจะมีอาการปวดมาก

ระยะที่ 4 นิ้วจะติดอยู่ในท่างอ หรือ เหยียด ไม่สามารถขยับนิ้วได้เลย



แนวทางรักษา

1.วิธีไม่ผ่าตัด การรักษาวิธีนี้ได้ผลดีในรายที่เป็นไม่มาก ( ระยะที่ 1 , 2 ) แต่มีโอกาสเกิดเป็นซ้ำ ประมาณ 30-50%

วิธีรักษา

ลดกิจกรรม หรือ หลีกเลี่ยงการทำงานที่ทำให้มีอาการปวดมากขึ้น

ประคบบริเวณที่ปวดด้วยความร้อน

บริหารนิ้วมือ

รับประทานยาแก้ปวดลดการอักเสบ

ฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่

ใส่เฝือกชั่วคราว


2.วิธีผ่าตัด จะเลือกวิธีผ่าตัดในผู้ที่ฉีดสเตียรอยด์ 2 ครั้งแล้วไม่ได้ผล หรือในรายที่มีอาการมาก ( ระยะที่ 3 และ 4 )

วิธีการผ่าตัด แพทย์จะฉีดยาชาเฉพาะที่ แผลผ่าตัดจะยาวประมาณ 1 ซม.

แพทย์จะตัดพังผืดที่รัดเส้นเอ็นออก หลังตัดพังผืดจะสามารถงอ-เหยียดนิ้วโดยไม่รู้สึกว่านิ้วติด ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 20 นาที

หลังผ่าตัด แพทย์จะพันผ้ายืด รัดแน่นเพื่อห้ามเลือด ถ้ารู้สึกแน่นมากให้คลายออกได้บ้าง ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้เลย ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล

เริ่มทำแผลในวันที่สองหลังผ่าตัด หลังจากนั้นควรทำแผลวันละครั้ง เมื่อครบ 7-10 วันก็ตัดไหมได้…

ท่าบริหารนิ้วมือ ( ท่า 1-2 และ 5-6 )    (ตามภาพ ยกเว้น ท่าที่ 3-4 ซึ่งเป็นท่าบริหารข้อมือ แต่ถ้าจะทำทั้งหมดเลยก็ได้




ตัดบางส่วนมาจาก วิธีบริหาร นิ้วมือ ข้อมือ ข้อศอก

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-07-2008&group=11&gblog=8


อ้างอิง ..

https://emedicine.medscape.com/article/1244693-overview

https://orthoinfo.aaos.org/topic.cfm?topic=a00024

https://www.eatonhand.com/hw/hw022.htm

https://www.wheelessonline.com/ortho/trigger_finger_tenosynovitis

https://www.medicinenet.com/trigger_finger/article.htm

https://www.handuniversity.com/topics.asp?Topic_ID=28

https://www.ejbjs.org/cgi/content/abstract/90/8/1665

https://www.freemd.com/trigger-finger/definition.htm




 

อาการปวดกล้ามเนื้อ ปัญหาสุขภาพจากการใช้ Smartphone ... โดยภัทริยา อินทร์โท่โล่ และคณะ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=17-04-2017&group=5&gblog=51

ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) .. นำมาฝาก https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=17-08-2017&group=5&gblog=53

ปวดคอ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-06-2008&group=5&gblog=26

ปวดไหล่ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-06-2008&group=5&gblog=25

ปวดหลัง https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=18

เส้นเอ็นอักเสบแบบนิ้วไกปืน (โรคทริกเกอร์ฟิงเกอร์ ,TriggerFinger) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=16-07-2008&group=5&gblog=29

กลุ่มอาการ เส้นประสาทถูกกดทับที่ข้อมือ(ผังผืดทับเส้นประสาท) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=15-07-2008&group=5&gblog=28

ปลอกหุ้มเอ็นนิ้วหัวแม่มืออักเสบ (โรคเดอเกอร์แวง , De Quervain'sDisease) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=16-07-2008&group=5&gblog=30

เส้นเอ็นข้อศอกอักเสบ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=22-07-2008&group=5&gblog=32


"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""

Congenital Trigger Thumb


- Discussion:
    - stenosing tenosynovitis of the flexor pollicis longus in childhood is relatively uncommon condition which causes triggering, IP joint
           flexion contracture, and a flexor tendon nodule over the metacarpal head level (Notta's nodule);
    - although present at birth, dx often not made until 4-6 months of age
    - often bilateral, with fixed flexion contractures at presentation;
    - in some cases, there will be an associated anomaly;
    - diff dx:
           - may be mistaken for a fracture or dislocation of the thumb;
           - congenital loss of the extensor tendon;
           - in some cases, the diagnosis will be confused with arthrogryposis or CP;
    - prognosis:
           - if trigger thumb is present at birth, approximately 30 % of children will recover spontaneously in one year;
           - 12 % of the trigger thumbs that develop at the age of six to 30 months recover in six months;
           - if trigger thumb develops in a child over three years of age, however, it almost never improves spontaneously;
           - therefore, it is wise to operate as soon as acceptable at this age
           - a child not seen until after the age of four has a 50 per cent chance of developing a permanent flexion contracture;
           - in the report by Moon et al, 7700 newborn children were examined prospectively to determine the congenital incidence
                  of trigger thumb and finger - no cases were found;
                  - case histories of 43 trigger digit cases (35 trigger thumbs and 8 trigger fingers) noted in 40 children diagnosed were reviewed;
                  - of 35 thumb cases, 23 underwent surgical release and all responded satisfactorily to surgical treatment;
                  - spontaneous recovery was noted in 12 trigger thumb cases and in all eight trigger finger cases;
                  - trigger finger developed earlier in life than trigger thumb and the spontaneous recovery rate was higher in trigger finger than trigger thumb;
                  - ref: Trigger Digits in Children. WN Moon.  Journal of Hand Surgery (Br) p 11-12, Volume 26B, No 1, Feb 2001  

- Exam:
    - most often involves the thumb but may involve any digit;
    - thumb is often held in fixed, flexed position;
    - characteristically, a palpable nodule called Notta's node is present on tendon in the region of the metacarpal head;

- Treatment:
    - surgery should be considered if not resolved by 12 months of age;
    - most surgical procedures for trigger thumb should be postponed until the age of 2 yrs, but should not be delayed beyond 3 yrs because of possible flexion contractures;
    - general anesthesia;
    - only potential surgical complication of significance in this anomaly is the severing of one of the digital nerves;
           - radial digital nerve is esp at risk;
           - both nerves hug the flexor tendon, and one or both can be easily cut by slight deviation of a knife or scissors in either direction as the pulley is opened;
           - avoid making incisions directly over MP flexion crease, since there is little or no subQ fat underneath the crease, which leaves nerves unprotected during incision;
    - generally only excision of the A1 pulley is required (since Notta's flexion tendon nodule will disapate with time);
    - outcomes:
           - in the report by TR McAdams et al 2002, the authors reexamined 21 patients (30 thumbs) who underwent a release procedure,
                  with an average follow-up of 181.3 months (15.1 years).
                  - 23 % of patients had a loss of IP motion and 17.6% had metacarpal phalangeal hyperextension, and this was unrelated to age at the time of surgery;
                  - there were no recurrence of triggering or nodules and no functional deficit;
                  - all seven patients who had a longitudinal incision had concerns about their scar appearance;
                  - it is the authors' belief that a transverse skin incision and surgical release of the A1 pulley for trigger thumb in children is a successful procedure even when done
                          after age 3, but IP motion loss and metacarpal phalangeal hyperextension may occur in the long term;

https://www.wheelessonline.com/ortho/congenital_trigger_thumb


Trigger thumbs in children.     Dinham, J. M., and Meggitt, B. F.:  J. Bone Joint Surg. 56B:153, 1974.

Long-Term Follow-Up of Surgical Release of the A 1 Pulley in Childhood Trigger Thumb   Timothy R. McAdams, M.D  J Pediatr Orthop 2002 January/February;22(1):41-43
Incidence and Development of Trigger Thumb in Children.
Surgical Treatment of the Pediatric Trigger Finger
The Natural History of Pediatric Trigger Thumb
The treatment outcome of trigger thumb in children. J Pediatric Orthop B 2002;11:256-259.
Acquired thumb flexion contracture in children: Congenital trigger thumb. J Bone Joint Surg Br 1996;78:481-483. 
Pediatric Trigger Thumb in Identical Twins: Congenital or Acquired?
 
Clinical Example: Congenital trigger thumb

Trigger digits are uncommon in children. The thumb is affected much more frequently than the fingers.
Although there is evidence for a genetic predisposition to the condition, trigger digits in children develop after birth. Pediatric trigger thumb appears to be a different entity than pediatric trigger finger. One third of patients with congenital trigger thumb have a positive family history of trigger thumbs, and 20 - 30% of cases are bilateral.
Treatment can be postponed until after age 1, as spontaneous regression probably occurs in about 30 per cent of cases. After that age, surgical correction is the best approach to treatment and usually results in normal thumb function. 
Simple surgical release of the entire A1 pulley is all that is required, but special care is required because of the superficial location of the thumb digital nerves, more easily injured than in surgery for the adult condition.
The condition must be distinguished from congenital clasped thumb or congenital absence of the extensor pollicis longus, either of which require completely different treatment.
 
https://www.youtube.com/watch?v=xIdih25tfu0&NR=1
 
https://www.youtube.com/watch?v=vMVrHIPHi6M&NR=1
 
https://www.trigger-finger.net/fl_inchildren.html




Create Date : 16 กรกฎาคม 2551
Last Update : 12 ตุลาคม 2565 13:59:02 น. 4 comments
Counter : 70024 Pageviews.  

 
//hilight.kapook.com/view/22613

นิ้วล็อค ภัยเงียบที่คุณควรรู้

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ภาพประกอบจาก lockfinger.com

เคยไหม... อยู่ดีๆ ก็ขยับนิ้วไม่ได้ จะงอก็ไม่ได้ จะยืดก็ไม่ได้ หรืออยู่ดีๆ นิ้วก็เกิดอาการกระตุกขึ้นมาซะอย่างงั้น… และนิ้วที่เป็นบ่อยคือนิ้วนาง นิ้วกลาง และนิ้วหัวแม่มือ (แต่จริงๆ แล้วก็สามารถเกิดได้กับทุกนิ้ว) แถมพอจะกระดิกนิ้วก็กระดิกไม่ได้อีก เพราะมันทั้งตึงทั้งเจ็บปวดมากๆ ซึ่งอาการเหล่านี้เรียกว่า "นิ้วล็อค" นั่นเอง

"นิ้วล็อค" เป็นภาษาชาวบ้านที่เรียกกันง่ายๆ ตามอาการที่เป็น คือผู้ป่วยจะมีอาการเหมือนนิ้วล็อค นั่นคือ กำมืองอนิ้วได้ แต่เวลาเหยียดนิ้วออก นิ้วใดนิ้วหนึ่งเกิดเหยียดไม่ออกเหมือนโดนล็อคไว้ จึงเป็นที่มาของคำว่า "นิ้วล็อค"

ถ้าเรียกกันให้ถูกต้องแล้ว โรคนี้ต้องเรียกว่า "โรคนิ้วเหนี่ยวไกปืน" ภาษาอังกฤษเรียกว่า "Trigger Finger" เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของเยื้อหุ้มเส้นเอ็นงอนิ้ว ซึ่งอยู่ที่บริเวณฝ่ามือตรงตำแหน่งโคนนิ้ว มีโอกาสเป็นได้ทุกนิ้ว ผู้ป่วยบางคนอาจจะเป็น 2 หรือ 3 นิ้วพร้อมกัน (อูย... คงจะปวดน่าดู)

อย่างไรก็ตาม โรคนี้พบบ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และอายุที่พบบ่อยอยู่ที่ประมาณ 40 - 50 ปี โดยมากจะเกิดกับผู้ที่ใช้งานมือในลักษณะเกร็งนิ้วบ่อยๆ เช่น การทำงานบ้านต่างๆ การบิดผ้า การหิ้วของหนัก การใช้กรรไกรตัดกิ่งไม้ ตัดผ้า การยกของหนักต่างๆ เป็นต้น

อาการของโรคนี้แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ

1. ระยะแรก มีอาการปวดเป็นอาการหลัก โดยจะมีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วมือ และจะมีอาการปวดมากขึ้น ถ้าเอานิ้วกดบริเวณฐานนิ้วมือด้านหน้า แต่ยังไม่มีอาการติดสะดุด

2. ระยะที่สอง มีอาการสะดุด (triggering) เป็นอาการหลัก และอาการปวดก็มักจะเพิ่มมากขึ้นด้วย เวลาขยับนิ้ว งอ และเหยียดนิ้ว จะมีการสะดุดจนรู้สึกได้

3. ระยะที่สาม มีอาการติดล็อคเป็นอาการหลัก โดยเมื่องอนิ้วลงไปแล้ว จะติดล็อคจนไม่สามารถเหยียดนิ้วออกเองได้ ต้องเอามืออีกข้างมาช่วยแกะ หรืออาจมีอาการมากขึ้นจนไม่สามารถงอนิ้วลงได้เอง

4. ระยะที่สี่ มีการอักเสบบวมมาก จนนิ้วบวมติดอยู่ในท่างอเล็กน้อย ไม่สามารถเหยียดให้ตรงได้ ถ้าใช้มือมาช่วยเหยียดจะปวดมาก


วิธีป้องกัน "โรคนิ้วล็อค"

1. ไม่หิ้วของหนัก เช่น ถุงพลาสติก ตะกร้า ถังน้ำ ถ้าจำเป็นต้องหิ้ว ควรใช้ผ้าขนหนูรองและหิ้วให้น้ำหนักตกที่ฝ่ามือ แทนที่จะให้น้ำหนักตกที่ข้อนิ้วมือ หรือใช้วิธีการอุ้มประคองช่วยลดการรับน้ำหนักที่นิ้วมือได้

2. ไม่ควรบิดหรือซักผ้าด้วยมือเปล่าจำนวนมากๆ และไม่ควรบิดผ้าให้แห้งสนิท เพราะจะยึดปลอกหุ้มเอ็นจนคราก และเป็นจุดเริ่มต้นของโรคนิ้วล็อค

3. นักกอล์ฟที่ต้องตีแรง ตีไกล ควรใส่ถุงมือ หรือใช้ผ้าสักหลาดหุ้มด้ามจับให้หนาและนุ่มขึ้น เพื่อลดแรงปะทะ และไม่ควรไดร์กอล์ฟต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ

4. เวลาทำงานที่ต้องอาศัยอุปกรณ์ช่าง ควรระวังการกำหรือบดเครื่องมือทุ่นแรง เช่น ไขควง เลื่อย ค้อน ฯลฯ ควรใส่ถุงมือหรือห่อหุ้มด้ามจับให้ใหญ่และนุ่มขึ้น

5. ชาวสวนควรระวังเรื่องการตัดกิ่งไม้ด้วยกรรไกร หรืออื่นๆ ที่ใช้แรงมือควรใส่ถุงมือเพื่อลดการบาดเจ็บของปลอกเอ็นกับเส้นเอ็น และควรใช้สายยางรดน้ำต้นไม้แทนการหิ้วถังน้ำ

6. คนที่ยกของหนักๆ เป็นประจำ เช่นคนส่งน้ำขวด ถังแก๊ส แม่ครัวพ่อครัว ควรหลีกเลี่ยงการยกมือเปล่า ควรมีผ้านุ่มๆ มารองจับขณะยก และใช้เครื่องทุ่นแรง เช่น รถเข็น รถลาก

7. หากจำเป็นต้องทำงานที่ต้องใช้มือกำ หยิบ บีบ เครื่องมือเป็นเวลานานๆ ควรใช้เครื่องทุ่นแรง เช่น ใช้ผ้าห่อที่จับให้หนานุ่ม เช่น ใช้ผ้าห่อด้ามจับตะหลิวในอาชีพแม่ครัวพ่อครัว

8. งานบางอย่างต้องใช้เวลาทำงานนานต่อเนื่อง ทำให้มือเมื่อยล้าหรือระบม ควรพักมือเป็นระยะๆ เช่นทำ 45 นาที ควรจะพักมือสัก 10 นาที



สำหรับวิธีการรักษา "โรคนิ้วล็อค" ประกอบไปด้วย...

1. การใช้ยารับประทาน เพื่อลดการอักเสบ ลดบวม และลดอาการปวด ร่วมกับพักการใช้มือ

2. การใช้วิธีทางกายภาพบำบัด ได้แก่ การใช้เครื่องดามนิ้วมือ การนวดเบาๆ การใช้ความร้อนประคบ และการออกกำลังกายเหยียดนิ้ว โดยการรักษาด้วยยาและกายภาพบำบัด อาจใช้ร่วมกันได้ และมักใช้ได้ผลดีเมื่อมีอาการของโรคในระยะแรก และระยะที่สอง

3. การฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่ เพื่อลดการอักเสบ ลดปวดและลดบวม เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพค่อนข้างมาก ส่วนมากมักจะหายเจ็บ บางรายอาการติดสะดุดจะดีขึ้น แต่การฉีดยามักถือว่าเป็นการรักษาแบบชั่วคราว และข้อจำกัดก็คือ ไม่ควรฉีดยาเกิด 2 หรือ 3 ครั้ง ต่อ 1 นิ้วที่เป็นโรค การรักษาโดยการฉีดยานี้สามารถใช้ได้กับอาการของโรคตั้งแต่ระยะแรกจนถึงระยะท้าย

4. การรักษาโดยการผ่าตัด ถือว่าเป็นการรักษาที่ดีที่สุดในแง่ที่จะไม่ทำให้กลับมาเป็นโรคอีก หลักในการผ่าตัด คือ ตัดปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่หนาอยู่ให้เปิดกว้างออก เพื่อให้เส้นเอ็นเคลื่อนผ่านได้โดยสะดวก ไม่ติดขัดหรือสะดุดอีก ทั้งนี้ การผ่าตัดแบ่งออกได้เป็น 2 วิธี คือ การผ่าตัดแบบเปิด เป็นวิธีมาตรฐาน ที่ควรทำในห้องผ่าตัด โดยฉีดยาชาเฉพาะที่ผ่าตัดเสร็จก็กลับบ้านได้ หลังผ่าตัดหลีกเลี่ยงการใช้งานหนัก และการสัมผัสนิ้ว ประมาณ 2 สัปดาห์

อีกวิธีเป็นการผ่าตัดแบบปิด โดยการใช้เข็มเขี่ยหรือสะกิดปลอกหุ้มเอ็นออก โดยแทบไม่มีแผลให้เห็น โดยวิธีนี้อาจมีผลแทรกซ้อนได้ถ้าไปเขี่ยหรือสะกิดถูกเส้นประสาท ดังนั้น จึงไม่แนะนำสำหรับนิ้วที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของเส้นประสาทสูง คือ นิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้ และการผ่าตัดแบบปิดนี้ใช้ได้สำหรับคนไข้ที่มีอาการของโรคตั้งแต่ระยะที่สองขึ้นไป





ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก

- ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- นิตยสารชีวจิต ปีที่ 8 ฉบับ 16 มิถุนายน 2549
- คอลัมน์ พบแพทย์ จุฬาฯ หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันศุกร์ที่ 31 มีนาคม 2549


โดย: หมอหมู วันที่: 7 มีนาคม 2555 เวลา:23:52:49 น.  

 

//ortho.md.chula.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=79:2010-10-29-08-19-35&catid=43:2010-10-29-08-15-48&Itemid=98

ภาวะนิ้วล็อค หรือ ภาวะปลอกหุ้มเอ็นอักเสบ (Trigger finger & Trigger thumb) เป็นภาวะที่มีสาเหตุเกิดจากการหนาตัวขึ้น ปลอกหุ้มเส้นเอ็นบริเวณฐานของนิ้วมือ (A1-pulley) ทำให้เส้นเอ็นเคลื่อนผ่านปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่หนาขึ้นนี้ด้วยความยากลำบาก มีการเสียดสีทำให้เกิดอาการปวด หรือติดล็อคได้. (อ.นพ.กวี ภัทราดูลย์)..



โรคนี้พบบ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และอายุที่พบบ่อยอยู่ประมาณ 40-50 ปี โดยมากจะเกิดกับผู้ที่ใช้งานมือในลักษณะเกร็งนิ้วบ่อย ๆ เช่น การทำงานบ้านต่าง ๆ การบิดผ้า การหิ้ว ของหนัก การใช้กรรไกรตัดกิ่งไม้ ตัดผ้า การยกของหนักต่าง ๆ เป็นต้น ..

อาการของโรคนี้แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ

1. ระยะแรกมีอาการปวดเป็นอาการหลัก โดยจะมีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วมือ จะมีอาการปวดมากขึ้น ถ้าเอานิ้วกดบริเวณฐานนิ้วมือด้านหน้า แต่ยังไม่มีอาการติดสะดุด

2. ระยะที่สอง มีอาการสะดุด (triggering) เป็นอาการหลัก แต่อาการปวดก็มักจะเพิ่มมากขึ้นด้วย เวลาขยับนิ้วงอและเหยียดนิ้ว จะมีการสะดุดจนรู้สึกได้

3. ระยะที่สาม มีอาการติดล็อคเป็นอาการหลัก โดยเมื่องอนิ้วลงไปแล้ว จะติดล็อคจนไม่สามารถเหยียดนิ้วออกเองได้ ต้องเอามืออีกข้างมาช่วยแกะ หรือ อาจมีอาการมากขึ้นจนไม่สามารถงอนิ้วลงได้เอง

4. ระยะที่สี่ มีการอักเสบบวมมาก จนนิ้วบวมติดอยู่ในท่างอเล็กน้อย ไม่สามารถเหยียดให้ตรงได้ ถ้าใช้มือมาช่วยเหยียดจะปวดมาก



สำหรับวิธีการรักษาโรคนี้ ประกอบไปด้วย

1. การใช้ยารับประทาน เพื่อลดการอักเสบ ลดบวม และลดอาการปวด ร่วมกับพักการใช้มือ

2. การใช้วิธีทางกายภาพบำบัด ได้แก่ การใช้เครื่องดามนิ้วมือ การนวดเบา ๆ การใช้ความร้อนประคบ และ การออกกำลังกายเหยียดนิ้ว โดยการรักษาด้วยยาและกายภาพบำบัด อาจใช้ร่วมกันได้ และมักใช้ได้ผลดีเมื่อมีอาการของโรคในระยะแรก และระยะที่สอง

3. การฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่ เพื่อลดการอักเสบ ลดปวดและลดบวม เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพค่อนข้างมาก ส่วนมากมักจะหายเจ็บบางรายอาการติดสะดุดจะดีขึ้น แต่การฉีดยามักถือว่าเป็นการรักษาแบบชั่วคราว และข้อจำกัดก็คือ ไม่ควรฉีดยาเกิด 2 หรือ 3 ครั้ง ต่อ 1 นิ้วที่เป็นโรค การรักษาโดยการฉีดยานี้สามารถใช้ได้กับอาการของโรคตั้งแต่ระยะแรกจนถึงระยะท้าย

4. การรักษาโดยการผ่าตัด ถือว่าเป็นการรักษาดีที่สุดในแง่ที่จะไม่ทำให้กลับมาเป็นโรคอีก หลักในการผ่าตัด คือ ตัดปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่หนาอยู่ให้เปิดกว้างออก เพื่อให้เส้นเอ็นเคลื่อนผ่านได้โดยสะดวก ไม่ติดขัดหรือสะดุดอีก โดยการผ่าตัดแบ่งออกได้เป็น 2 วิธี คือ

การผ่าตัดแบบเปิด เป็นวิธีมาตรฐาน ที่ควรทำในห้องผ่าตัด โดยฉีดยาชาเฉพาะที่ผ่าตัดเสร็จก็กลับบ้านได้ หลังผ่าตัดหลีกเลี่ยงการใช้งานหนัก และการสัมผัสนิ้ว ประมาณ 2 สัปดาห์

อีกวิธีเป็นการผ่าตัดแบบปิด ... โดยการใช้เข็มเขี่ยหรือสะกิดปลอกหุ้มเอ็นออก โดยแทบไม่มีแผลให้เห็น
โดยวิธีนี้อาจมีผลแทรกซ้อน ได้ถ้าไปเขี่ยหรือสะกิดถูกเส้นประสาท ดังนั้น จึงไม่แนะนำสำหรับนิ้วที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของเส้นประสาทสูง คือ นิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้ และการผ่าตัดแบบปิดนี้ใช้ได้สำหรับคนไข้ที่มีอาการของโรคตั้งแต่ระยะที่สอง ขึ้นไป



โดย: หมอหมู วันที่: 7 มีนาคม 2555 เวลา:23:55:22 น.  

 

//www.doctor.or.th/node/8438

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับนิ้วล็อก

ข้อมูลสื่อ
File Name :262-011
วารสารคลินิก เล่ม :262
เดือน-ปี :10/2549
คอลัมน์ :คำถามที่ท่านควรรู้ในเวชปฏิบัติทั่วไป
นักเขียนหมอชาวบ้าน :นพ.วีรพัฒน์ สุวรรณธรรมา



Q : อาการของนิ้วล็อกเป็นอย่างไร สาเหตุเกิดจากอะไร

A : โรคนิ้วล็อก (trigger finger) หรือ stenosing tenosynovitis มีอาการและอาการแสดงเมื่อเกิดอาการ สะดุด หรือล็อกขณะกำ-เหยียดนิ้ว พบบ่อยที่นิ้วหัวแม่มือ (ร้อยละ 33) และนิ้วนาง (ร้อยละ 27).

อาการสะดุดหรือล็อก เกิดจากความไม่สมดุลระหว่างขนาดของเส้นเอ็น และปลอกหุ้มเอ็น A1 (A1 pulley) (ภาพที่ 1) สาเหตุเกิดจากการใช้งานซ้ำๆ ทำให้เกิดการอักเสบขึ้น พบพยาธิสภาพ fibrocartilaginous metaplasia ของเส้นเอ็น.

ดังนั้นชื่อที่ถูกต้องน่าจะเป็น tendovaginitis มากกว่า tenosynovitis เนื่องจากไม่พบลักษณะการอักเสบที่เยื่อหุ้มเอ็น (tenosynovium). อย่างไรก็ตามทั้ง 2 คำนี้ สามารถใช้แทนกันได้โดยสื่อ ความเหมือนกัน.

อาการที่พบก็คือ ปวดเวลากำ-เหยียดนิ้ว ตำแหน่งที่ปวดคือฝ่ามือบริเวณ metacarpal head ซึ่งเป็นตำแหน่งของ A1 pulley และมีการสะดุดเวลาเหยียดนิ้ว โดยขณะที่กำมือสามารถกำเข้ามาได้ เนื่องจากแรงของ flexor tendon มากพอที่จะเอาชนะแรงเสียดทานของ tendon กับ A1 pulley แต่ขณะที่เหยียดนิ้วออกอาจต้องใช้นิ้วอื่นช่วยในการเหยียดออก หากอาการ เป็นมาก นิ้วก็จะล็อกอยู่ในท่างอ.

อาการแสดงคือ กดเจ็บบริเวณตำแหน่ง A1 pulley ซึ่งอยู่บริเวณ metacarpal head (ภาพที่ 2) อาจคลำได้ก้อนนูนเล็กๆ บริเวณเดียวกัน หากก้อนที่คลำได้นั้นเคลื่อนที่ตามการขยับของนิ้ว แสดงว่าเป็น fibrocartilaginous metaplasia ของ tendon หากก้อนนั้นไม่เคลื่อนที่ตามการขยับของนิ้ว แสดงว่าก้อนที่คลำได้เป็น synovial cyst ของ A1 pulley.




Q : ใครมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้

A : ตามความชุกของโรค ช่วงอายุที่พบบ่อยคือ 40-60 ปี ผู้หญิงพบบ่อยกว่าผู้ชายประมาณ 6 : 1. ผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าประชากรทั่วไป 5 เท่า. ปัจจัยอื่นที่เพิ่มความเสี่ยงได้แก่ โรคทาง systemic เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์, amyloidosis เป็นต้น.





Q : ให้การรักษาเบื้องต้นอย่างไรดี

A : การให้การรักษาเบื้องต้น เริ่มจากการให้ คำแนะนำเกี่ยวกับโรคที่เป็น ปรับเปลี่ยนวิธีการทำกิจกรรมบางอย่าง เช่น หลีกเลี่ยงการใช้งานซ้ำๆ ของมือ ใส่ splint จัดให้ข้อ metacarpopharyngeal (MCP) อยู่ในท่างอ 15 องศา ให้ข้อนิ้วส่วนต้น (proximal interphalangeal joint-PIP) และส่วนปลาย (distal interphalangeal joint-DIP) ขยับได้ตามปกติ จะสามารถช่วยลดอาการได้หากเป็นมาน้อยกว่า 6 เดือน.

การให้ยา NSAIDs มีผลดีในแง่ลดอาการปวด แต่ไม่สามารถรักษาอาการสะดุดเวลากำเหยียดนิ้วได้.





Q : การฉีดยาสตีรอยด์ได้ผลหรือไม่ ควรเริ่มฉีดเมื่อไร

A : การฉีด corticosteriod เป็นการรักษาที่ให้ผลดีในระยะแรกๆ ของโรคนิ้วล็อก โดยมีประสิทธิภาพในการรักษาถึงร้อยละ 93 โดยผสม corticosteroid (triamcinolone, methylprenisolone, หรือ betamethasone) กับ lidocaine ฉีดได้เมื่อให้การวินิจฉัยครั้งแรก หรือหลังจากใช้ splint แล้วไม่ได้ผล.

การตอบสนองต่อ corticosteroid จะลดลงหากอาการเป็นมานานมากกว่า 6 เดือน หรือเป็นการฉีดครั้งที่ 2 ขึ้นไป เนื่องจาก corticosteroid จะช่วยลด inflammation แต่ไม่สามารถแก้ไขภาวะ fibrocartilagenous metaplasia ได้ จึงไม่แนะนำให้ฉีด corticosteroid มากกว่า 3 ครั้ง.





Q : จำเป็นต้องฉีด corticosteroid เข้าไปใน tendon sheath หรือไม่

A : การฉีด corticosteroid เข้าไปใน tendon sheath กับฉีดรอบๆ tendon sheath ได้ผลในการ รักษาไม่แตกต่างกัน. การฉีด corticosteroid เข้า tendon sheath มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดcollagen necrosis จากการฉีดยาเข้าไปใน flexor tendon ได้. สำหรับการฉีด corticosteroid เข้าบริเวณ subcutaneous tissue ก็อาจเกิด fat necrosis และ skin depigmentation ได้.





Q : การรักษาด้วยการผ่าตัด ทำอย่างไร

A : การรักษาด้วยการผ่าตัด คือการตัด A1 pulley เพื่อให้เส้นเอ็นเคลื่อนที่ได้สะดวกขึ้น.






Q : ตัด A1 pulley ไปแล้วจะเกิดผลเสียหรือไม่

A : Pulley system ช่วยทำให้ได้เปรียบเชิงกล ในการออกแรงงอนิ้วและป้องกันการเกิด bowstring ของเส้นเอ็น. การตัด A1 pulley ทำให้กล้ามเนื้อต้องออกแรงในการงอนิ้วเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 10 ซึ่งไม่มีอาการผิดปกติ แต่ถ้าหากเป็น pulley ที่สำคัญคือ A2 และ A4 จะเกิด bowstring หากตัด A2 pulley กล้ามเนื้อต้องออกแรงในการงอนิ้วเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 44 และถ้าหากตัด A1 และ A2 pulley กล้ามเนื้อต้องออกแรง ในการงอนิ้วเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 62 (ภาพที่ 3).






Q : ภาวะแทรกซ้อนในการผ่าตัดมีอะไรบ้าง

A : ภาวะแทรกซ้อนทั่วๆ ไปก็คือ การติดเชื้อ. ส่วนภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ ได้แก่ การตัด A2 pulley ไปด้วย และการบาดเจ็บต่อเส้นประสาท digital.





Q : การรักษาโดยการทำ percutaneous release ได้ผลดีหรือไม่

A : การทำ percutaneous release คือ การใช้อุปกรณ์ เช่นปลายเข็มฉีดยา หรือเครื่องมือเฉพาะแทงผ่านผิวหนังแล้วทำการสะกิด หรือตัด A1 pulley จนขาดจากกันโดยไม่ต้องทำแผลเปิด.

ข้อดีของการทำ percutaneous release คือ ขนาดแผลเล็กกว่าการทำ open surgery ประสิทธิภาพในการรักษาเท่ากันหากสามารถ release A1 pulley ได้หมด. แต่การ ทำ percutaneous release จะต้องสะกิดหลายครั้งและมองไม่เห็นโครงสร้างใต้ผิวหนัง ทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการบาดเจ็บต่อเส้นประสาท digital, ตัด A1 pulley ได้ไม่หมด และบาดเจ็บต่อเส้นเอ็น.

ดังนั้นผลการรักษาโดย percutaneous release จะขึ้นอยู่กับทักษะและความชำนาญของ surgeon ไม่แนะนำให้ใช้เป็นวิธีมาตรฐานในการรักษา.





Q : โรคนี้พบในเด็กได้หรือไม่

A : Trigger finger/thumb พบในเด็กได้ตั้งแต่ ขวบปีแรกถึงอายุ 5 ปีพบในเพศชาย-หญิงในปริมาณเท่าๆกัน มากกว่าร้อยละ 90 พบที่นิ้วหัวแม่มือ.

อาการที่พบ มักจะพบว่านิ้วหัวแม่มือติดอยู่ ในท่างอ ไม่สามารถเหยียดนิ้วได้สุด และคลำได้ก้อนนูนที่โคนนิ้วหัวแม่มือ มักไม่ค่อยพบอาการสะดุดของนิ้ว.

หากพบภายในขวบปีแรก ภาวะนี้จะหายได้เองประมาณร้อยละ 30-60 แต่ถ้าพบหลังอายุ 1 ปี สามารถหายเองได้ร้อยละ 12 ดังนั้นการรักษาในช่วงอายุ 1 ปีแรกคือแนะนำให้สังเกตอาการ และนัดตรวจติดตาม และรักษาด้วยการผ่าตัด ถ้ายังพบมีอาการอยู่หลังอายุ 2 ปี.



เอกสารอ้างอิง

1. Akhtar S, Bradley MJ, Quinton DN, et al. Management and referral for trigger finger/thumb. BMJ 2005; 331(7507): 30-3.

2. Fitzgerald BT, Hofmeister EP, Fan RA, et al. Delayed flexor digitorum superficialis and profundus ruptures in a trigger finger after a steroid injection : a case report. J Hand Surg [Am] 2005;30(3):479-82.

3. Hayashi M, Uchiyama S, Toriumi H, et al. Carpal tunnel syndrome and development of trigger digit. J Clin Neurosci 2005;12(1):39-41.

4. Ryzewicz M, Wolf JM. Trigger digits : principles, management, and complications. J Hand Surg [Am] 2006; 31(1):135-46.

5. Sawaizumi T, Nanno M, Ito H. Intrasheath triamcinolone injection for the treatment of trigger digits in adult. Hand Surg 2005;10(1):37-42.

6. Slesarenko YA, Mallo G, Hurst LC, et al. Percutaneous release of A1 pulley. Tech Hand Up Extrem Surg 2006; 10(1):54-6.


วีรพัฒน์ สุวรรณธรรมา พ.บ. ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาล รามาธิบดี, มหาวิทยาลัยมหิดล



โดย: หมอหมู วันที่: 7 มีนาคม 2555 เวลา:23:59:12 น.  

 
Congenital Trigger Thumb
________________________________________

- Discussion:
- stenosing tenosynovitis of the flexor pollicis longus in childhood is relatively uncommon condition which causes triggering, IP joint
flexion contracture, and a flexor tendon nodule over the metacarpal head level (Notta's nodule);
- although present at birth, dx often not made until 4-6 months of age
- often bilateral, with fixed flexion contractures at presentation;
- in some cases, there will be an associated anomaly;
- diff dx:
- may be mistaken for a fracture or dislocation of the thumb;
- congenital loss of the extensor tendon;
- in some cases, the diagnosis will be confused with arthrogryposis or CP;
- prognosis:
- if trigger thumb is present at birth, approximately 30 % of children will recover spontaneously in one year;
- 12 % of the trigger thumbs that develop at the age of six to 30 months recover in six months;
- if trigger thumb develops in a child over three years of age, however, it almost never improves spontaneously;
- therefore, it is wise to operate as soon as acceptable at this age
- a child not seen until after the age of four has a 50 per cent chance of developing a permanent flexion contracture;
- in the report by Moon et al, 7700 newborn children were examined prospectively to determine the congenital incidence
of trigger thumb and finger - no cases were found;
- case histories of 43 trigger digit cases (35 trigger thumbs and 8 trigger fingers) noted in 40 children diagnosed were reviewed;
- of 35 thumb cases, 23 underwent surgical release and all responded satisfactorily to surgical treatment;
- spontaneous recovery was noted in 12 trigger thumb cases and in all eight trigger finger cases;
- trigger finger developed earlier in life than trigger thumb and the spontaneous recovery rate was higher in trigger finger than trigger thumb;
- ref: Trigger Digits in Children. WN Moon. Journal of Hand Surgery (Br) p 11-12, Volume 26B, No 1, Feb 2001
________________________________________
- Exam:
- most often involves the thumb but may involve any digit;
- thumb is often held in fixed, flexed position;
- characteristically, a palpable nodule called Notta's node is present on tendon in the region of the metacarpal head;
________________________________________
- Treatment:
- surgery should be considered if not resolved by 12 months of age;
- most surgical procedures for trigger thumb should be postponed until the age of 2 yrs, but should not be delayed beyond 3 yrs because of possible flexion contractures;
- general anesthesia;
- only potential surgical complication of significance in this anomaly is the severing of one of the digital nerves;
- radial digital nerve is esp at risk;
- both nerves hug the flexor tendon, and one or both can be easily cut by slight deviation of a knife or scissors in either direction as the pulley is opened;
- avoid making incisions directly over MP flexion crease, since there is little or no subQ fat underneath the crease, which leaves nerves unprotected during incision;
- generally only excision of the A1 pulley is required (since Notta's flexion tendon nodule will disapate with time);
- outcomes:
- in the report by TR McAdams et al 2002, the authors reexamined 21 patients (30 thumbs) who underwent a release procedure,
with an average follow-up of 181.3 months (15.1 years).
- 23 % of patients had a loss of IP motion and 17.6% had metacarpal phalangeal hyperextension, and this was unrelated to age at the time of surgery;
- there were no recurrence of triggering or nodules and no functional deficit;
- all seven patients who had a longitudinal incision had concerns about their scar appearance;
- it is the authors' belief that a transverse skin incision and surgical release of the A1 pulley for trigger thumb in children is a successful procedure even when done
after age 3, but IP motion loss and metacarpal phalangeal hyperextension may occur in the long term;

//www.wheelessonline.com/ortho/congenital_trigger_thumb
________________________________________


Trigger thumbs in children. Dinham, J. M., and Meggitt, B. F.: J. Bone Joint Surg. 56B:153, 1974.

Long-Term Follow-Up of Surgical Release of the A 1 Pulley in Childhood Trigger Thumb Timothy R. McAdams, M.D J Pediatr Orthop 2002 January/February;22(1):41-43

Incidence and Development of Trigger Thumb in Children.
Surgical Treatment of the Pediatric Trigger Finger
The Natural History of Pediatric Trigger Thumb
The treatment outcome of trigger thumb in children. J Pediatric Orthop B 2002;11:256-259.
Acquired thumb flexion contracture in children: Congenital trigger thumb. J Bone Joint Surg Br 1996;78:481-483.

Pediatric Trigger Thumb in Identical Twins: Congenital or Acquired?



Clinical Example: Congenital trigger thumb


Trigger digits are uncommon in children. The thumb is affected much more frequently than the fingers.
Although there is evidence for a genetic predisposition to the condition, trigger digits in children develop after birth. Pediatric trigger thumb appears to be a different entity than pediatric trigger finger. One third of patients with congenital trigger thumb have a positive family history of trigger thumbs, and 20 - 30% of cases are bilateral.
Treatment can be postponed until after age 1, as spontaneous regression probably occurs in about 30 per cent of cases. After that age, surgical correction is the best approach to treatment and usually results in normal thumb function.
Simple surgical release of the entire A1 pulley is all that is required, but special care is required because of the superficial location of the thumb digital nerves, more easily injured than in surgery for the adult condition.
The condition must be distinguished from congenital clasped thumb or congenital absence of the extensor pollicis longus, either of which require completely different treatment.

//www.youtube.com/watch?v=xIdih25tfu0&NR=1

//www.youtube.com/watch?v=vMVrHIPHi6M&NR=1

//www.trigger-finger.net/fl_inchildren.html


โดย: หมอหมู วันที่: 12 ตุลาคม 2565 เวลา:13:52:28 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]