เส้นเอ็นข้อศอกอักเสบ (Tennis Elbow , Golfer Elbow )
เส้นเอ็นข้อศอกอักเสบ เส้นเอ็นข้อศอกอักเสบ เป็นโรคที่เกิดในบริเวณตำแหน่งที่เส้นเอ็นไปยึดเกาะกับกระดูกข้อศอก สามารถเกิดได้ทั้ง เส้นเอ็นด้านนอก และ เส้นเอ็นด้านใน
เส้นเอ็นข้อศอกด้านนอกอักเสบ หรือ เท็นนิส เอ็ลโบว์ ( Tennis Elbow ) เป็นโรคที่เกิดความผิดปกติในบริเวณข้อศอกด้านนอก ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เส้นเอ็นของกล้ามเนื้อสำหรับกระดกข้อมือ เหยียดนิ้วมือ ไปเกาะกับกระดูก
เส้นเอ็นข้อศอกด้านในอักเสบ หรือ กอฟท์ เอ็ลโบว์ ( Golfer Elbow ) เป็นโรคที่เกิดความผิดปกติในบริเวณข้อศอกด้านใน ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เส้นเอ็นของกล้ามเนื้อสำหรับงอข้อมือ กำนิ้วมือ ไปเกาะกับกระดูก
เครดิต FB @ โรครว้ายๆวัยทำงาน https://www.facebook.com/strongworkers/photos/a.2321619421455504/3043636715920434/
o ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค แต่อาจเกิดจากการเล่นกีฬา หรือการใช้งานในชีวิตประจำวันบางอย่างที่ต้องกระดกข้อมือ หรือ งอข้อมือซ้ำ ๆ เกร็งข้อมือในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานาน ๆ ทำให้กล้ามเนื้อต้องทำงานมากเกินไปจนเกิดเส้นเอ็นอักเสบ
o พบในผู้หญิง เท่า ๆ กับ ในผู้ชาย พบบ่อยในช่วงอายุประมาณ 30 - 40 ปี
o ผู้ป่วยมักจะมีประวัติการเจ็บป่วยแบบค่อยเป็นค่อยไป มีประวัติการใช้งานซ้ำ ๆ กันของข้อศอกด้านนั้น อาการปวดจะเริ่มที่ข้อศอกด้านนอก และอาจมีอาการปวดร้าวมาตามแขนได้ จะเจ็บมากเวลากดที่ข้อศอก หรือ เวลาใช้มือทำงาน เช่น จับลูกบิด ยกขันน้ำ กวาดบ้าน หรือ ยกวัตถุในท่าคว่ำมือ เป็นต้น
o การถ่ายภาพเอ็กซเรย์ ประมาณ 25% ของผู้ป่วยอาจจะพบมีแคลเซี่ยมเกาะบริเวณที่ปวดได้
แนวทางรักษา
1. การรักษาโดยวิธีไม่ผ่าตัด
ผลการรักษาโดยวิธีไม่ผ่าตัด มักจะได้ผลดี ซึ่งมีแนวทางรักษาดังนี้
o หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เกิดอาการปวดเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการกระดกข้อมือขึ้นลง เช่น ซักผ้า สับหมู พิมพ์ดีด เป็นต้น หรือ การเกร็งข้อมือนิ้วมือเป็นเวลานาน ๆ เช่น การหิ้วของ ใช้เมาส์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
o ประคบบริเวณที่ปวดด้วย ความร้อน หรือ ความเย็น อาจใช้ ยาทาบรรเทาอาการปวดร่วมด้วย
o รับประทานยาบรรเทาอาการปวดลดการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ ประมาณ 10-14 วัน
o ฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่ บริเวณจุดที่กดเจ็บมากที่สุด เพื่อลดอาการอักเสบของเส้นเอ็น
ผู้ป่วยมักมีอาการดีขึ้นชั่วคราว (ประมาณ 3 - 6 เดือน) อาจกลับมาเป็นซ้ำได้
ถ้าฉีดยาครั้งแรกแล้วอาการไม่ดีขึ้น อาจฉีดซ้ำได้อีก 1-2 ครั้ง ถ้าอาการไม่ดีขึ้นก็ควรรักษาด้วยการผ่าตัดจะได้ผลดีกว่าที่จะฉีดยาซ้ำ เพราะการฉีดยาซ้ำบ่อย ๆ นอกจากอาการมักจะไม่ค่อยดีขึ้นแล้ว ยังอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนมากขึ้น เช่น เส้นเอ็นขาด หรือ ผิวหนังมีรอยด่างขาว เป็นต้น
o ทำกายภาพบำบัด อบด้วยความร้อน หรือ อัลตร้าซาวน์ เพื่อลดอาการปวด
o ใช้อุปกรณ์รัดบริเวณแขน (Counterforce brace) หรือ ผ้ายืด พันบริเวณแขนต่ำจากข้อศอกประมาณ 1 นิ้ว (ไม่ได้พันตรงจุดที่เจ็บ บริเวณข้อศอก ) เพื่อให้กล้ามเนื้อทำงานได้ดีขึ้น
แพทย์จะนัดผู้ป่วยมาตรวจซ้ำ เป็นระยะ เพื่อติดตามผลการรักษา โดยสังเกตจากอาการปวด การเคลื่อนไหวของข้อศอก ว่าดีขึ้นหรือไม่ ถ้าไม่ดีขึ้นก็อาจจะต้องปรับเปลี่ยนยา หรือ เปลี่ยนวิธีรักษา
2. การบริหารกล้ามเนื้อ (หลังอาการปวดดีขึ้นแล้ว) สำหรับผู้ที่ต้องทำงานที่ต้องใช้ข้อศอกมาก ๆ ก็ควรใช้เวลาประมาณ 5 - 10 นาที บริหาร ก่อนเริ่มการทำงาน ส่วนผู้ที่มีอาการแล้วก็ควรทำการบริหารให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
3. การรักษาโดยการผ่าตัด
o ข้อบ่งชี้สำหรับการผ่าตัด เช่น มีอาการปวดมาก ฉีดยาสเตียรอยด์ 2 ครั้งใน 1 เดือน แต่อาการไม่ดีขึ้น เป็นต้น
o ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องผ่าตัด มีจำนวนน้อยมาก ผู้ป่วย โดยส่วนใหญ่ หายโดยไม่ต้องผ่า แต่อาจใช้เวลานานหลายเดือนกว่าจะหาย
o การผ่าตัดอาจทำได้ทั้งการฉีดยาชาเฉพาะที่ หรือ ใช้ยาสลบ หลังผ่าตัดมักจะต้องใช้เฝือกชั่วคราว 2 อาทิตย์
o การผ่าตัดจะให้ผลดีในแง่ลดความเจ็บปวด แต่ อาจทำให้กล้ามเนื้อในการกระดกข้อมืออ่อนแรง
............................................
อาการปวดกล้ามเนื้อ ปัญหาสุขภาพจากการใช้ Smartphone ... โดยภัทริยา อินทร์โท่โล่ และคณะ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=17-04-2017&group=5&gblog=51 ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) .. นำมาฝาก https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=17-08-2017&group=5&gblog=53 ปวดคอ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-06-2008&group=5&gblog=26 ปวดไหล่ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-06-2008&group=5&gblog=25 ปวดหลัง https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=18 เส้นเอ็นอักเสบแบบนิ้วไกปืน (โรคทริกเกอร์ฟิงเกอร์ ,TriggerFinger) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=16-07-2008&group=5&gblog=29 กลุ่มอาการ เส้นประสาทถูกกดทับที่ข้อมือ(ผังผืดทับเส้นประสาท) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=15-07-2008&group=5&gblog=28 ปลอกหุ้มเอ็นนิ้วหัวแม่มืออักเสบ (โรคเดอเกอร์แวง , De Quervain'sDisease) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=16-07-2008&group=5&gblog=30 เส้นเอ็นข้อศอกอักเสบ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=22-07-2008&group=5&gblog=32
Create Date : 22 กรกฎาคม 2551 |
Last Update : 1 มิถุนายน 2564 15:14:55 น. |
|
7 comments
|
Counter : 68059 Pageviews. |
|
|
|