Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

โรคนิ้วหัวแม่เท้าเก ออกด้านนอก (โรคฮัลลักซ์ วัลกัส ,Hallux Valgus )






โรคนิ้วหัวแม่เท้าเก ออกด้านนอก (โรคฮัลลักซ์ วัลกัส ,Hallux Valgus )


ดัดแปลงจากเอกสารของ ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย

โรคนี้เป็น ความผิดรูปของ นิ้วหัวแม่เท้า ที่เอียงออกด้านนอกเข้าหานิ้วชี้ และ โคนนิ้วหัวแม่เท้าเอียงเข้าด้านในแยกออกจากนิ้วอื่น ทำให้ปลายเท้าแบนกว้างขึ้น โคนนิ้วหัวแม่เท้าโตมาก เมื่อเป็นมากขึ้นปลายนิ้วหัวแม่เท้าจะซ้อนใต้นิ้วเท้า

เมื่อนิ้วเท้าเอียงไปทำให้แรงดึงในเส้นเอ็นต่างๆ ของนิ้วเท้า ผิดแนวไป ก็จะเป็นตัวเสริมทำให้ผิดรูปเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ แรงกระทำต่อข้อนิ้วเท้าเปลี่ยนไปโดยตำแหน่งเคลื่อนไปทางด้านนอก มีการอักเสบของข้อโคนนิ้วหัวแม่เท้า



สาเหตุ

ส่วนใหญ่เป็นจากการใส่รองเท้าบีบรัดปลายเท้า (รองเท้าส้นสูงปลายแหลม) ทำให้โรคนี้พบได้บ่อยในผู้หญิง

กรรมพันธุ์ หรือ ความผิดปกติตั้งแต่เกิด เช่น เท้าแบน นิ้วหัวแม่เท้ายาวมาก นิ้วหัวแม่เท้าเกออกเอง เป็นต้น

ความผิดปกติของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น การอักเสบของข้อในผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบ



การวินิจฉัยโรค

ความผิดรูปจะค่อยเป็นค่อยไป พร้อมกับอาการปวดที่โคนนิ้วหัวแม่เท้า มักเป็นในวัยกลางคนขึ้นไป มีประวัติใส่รองเท้าส้นสูงปลายรองเท้าแหลมบีบปลายเท้า

ประวัติครอบครัวที่เป็นมักพบใน กลุ่มผู้ป่วยอายุน้อย (10-19 ปี)

ตรวจพบนิ้วหัวแม่เท้าเอียง เข้าหานิ้วชี้โคนนิ้วด้านในบวม เจ็บ ปลายเท้ากว้าง เมื่อเป็นมากขึ้นนิ้วหัวแม่เท้าซ้อนใต้นิ้วชี้ร่วมกับมีบิดเอียง บางรายบริเวณที่เสียดสีกดกับรองเท้าหรือ พื้นผิวหนังจะหนาตัว นิ้วเท้าอื่นอาจผิดรูปร่วมด้วย

เอ็กซเรย์ในท่าต่างๆ ของเท้าและข้อเท้า เพื่อดูมุมที่ผิดรูปไป รวมถึงความผิดปกติอื่น ๆ ที่อาจพบร่วมกัน



แนวทางการรักษา

1. การรักษาโดยวิธีไม่ผ่าตัด

ข้อบ่งชี้ ในรายที่มีอาการไม่มาก ข้อผิดรูปไม่มาก สามารถดึงหรือดันแก้ไขได้ ไม่มีข้อเสื่อม

แนวทางการรักษา ด้วยวิธีไม่ผ่าตัด เช่น

• ใส่รองเท้าขนาดพอดี ไม่คับ ปลายรองเท้ากว้างใส่แล้วพอขยับนิ้วเท้าได้บ้าง ไม่บีบรัดนิ้วเท้า พื้นรองเท้านุ่ม

• หลีกเลี่ยงรองเท้าปลายแหลมและส้นรองเท้าสูงมากกว่า 2 นิ้ว

• การนวด การยืด การแช่ น้ำอุ่น หรือ ประคบด้วยความเย็น อาจช่วยให้อาการปวดลดลงได้

• การใช้กายอุปกรณ์ เฝือกอ่อน หรือ พันผ้ารัดนิ้วเท้า (Padding & Taping ) เพื่อบรรเทาอาการปวด

• กายภาพบำบัด สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้ เช่น การนวด การยืดหรือดัดข้อ การอบร้อน เป็นต้น

   ท่าบริหารเท้า  //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-07-2008&group=11&gblog=4

• ยาแก้ปวดลดอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาคลายกล้ามเนื้อ เพื่อบรรเทาอาการปวด



2. การรักษาโดยวิธีผ่าตัด

ข้อบ่งชี้ มีอาการปวดร่วมกับข้อผิดรูปมากขึ้น มีลักษณะของข้อเสื่อมเกิดขึ้น

วิธีผ่าตัดมีมากกว่า 100 วิธี เช่น ตัดก้อนที่นูนออก การตัดกระดูกเพื่อเปลี่ยนแนวให้ตรงขึ้น การเชื่อมข้อ เป็นต้น ซึ่งจะเลือกวิธีไหนนั้นมักขึ้นอยู่กับลักษณะความผิดปกติของนิ้วเท้าว่ามากน้อยขนาดไหน และเกิดจากสาเหตุอะไร

หลังผ่าตัดผู้ป่วยสามารถเดินได้ในสัปดาห์แรก โดยอาจใช้ไม้เท้าช่วยพยุงตัว ประมาณ 4-6 สัปดาห์



Create Date : 25 กรกฎาคม 2551
Last Update : 11 กรกฎาคม 2556 14:58:03 น. 0 comments
Counter : 42947 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]