Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ปวดคอ


 
ปวดคอ

สาเหตุที่พบบ่อย

1. กล้ามเนื้ออักเสบ หรือ กล้ามเนื้อเคล็ด ซึ่งมักเกิดจาก อิริยาบถ หรือ ท่าทางที่ไม่ถูกต้อง เช่น การแหงนหน้า หรือ ก้มหน้าเป็นเวลานาน นอนในท่าที่คอพับ หรือ บิดไปข้างใดข้างหนึ่ง นอนหนุนหมอนที่สูง หรือ แข็งเกินไป

2. ความเครียด ทำให้กล้ามเนื้อเกร็ง เกิดอาการปวดต้นคอ ท้ายทอยหรือขมับ มักมีอาการช่วงบ่าย หรือ ตอนเย็น

3. อุบัติเหตุ ทำให้คอเคลื่อนไหวมากหรือเร็วกว่าปกติ อาจจะเกิดกล้ามเนื้อ / เส้นเอ็นฉีกขาด หรือ กระดูกคอเคลื่อน

4. หมอนรองกระดูกคอเคลื่อนกดทับเส้นประสาท หรือ กดทับไขสันหลัง ทำให้มีอาการปวดร้าวไปที่ไหล่ แขน และมือ มีอาการชา หรือ กล้ามเนื้อมืออ่อนแรง กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง เวลาเดินรู้สึกว่าขาสั่น เดินเซ หรือ ขากระตุกบางครั้งอาจมีอาการ กลั้นอุจจาระหรือปัสสาวะไม่ได้ ทำให้มีอุจจาระ หรือปัสสาวะราด ร่วมด้วย

5. กระดูกคอเสื่อมกดทับเส้นประสาท หรือ กดทับไขสันหลัง พบบ่อยในผู้สูงอายุ แต่ผู้สูงอายุบางคนเท่านั้นที่มีอาการมากจนต้องรับการรักษา ถ้าเอ๊กซเรย์กระดูกคอในผู้สูงอายุก็จะพบว่ามีกระดูกงอกได้ โดยไม่มีอาการผิดปกติ ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องเอกซเรย์ในผู้ป่วยทุกราย

6.ข้ออักเสบ เช่น ในผู้ป่วยที่เป็นโรค รูมาตอยด์ เก๊าท์ โรคกระดูกสันหลังยึดติด การติดเชื้อแบททีเรีย เป็นต้น

7.กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุว่าเกิดจากอะไร ผู้ป่วยจะมีอาการปวดในกล้ามเนื้อและเมื่อใช้งานกล้ามเนื้อนั้นก็จะปวดมากขึ้นและรู้สึกอ่อนแรง มักจะมีจุดที่กดเจ็บชัดเจนและอาจคลำได้ก้อนพังผืดแข็ง ๆ ร่วมด้วย



การรักษาเบื้องต้น

1. ระวังอิริยาบถ หรือ ท่าทางที่ไม่ถูกต้อง

- หลีกเลี่ยง การก้ม หรือ แหงน คอ นานเกินไป หรือ บ่อยเกินไป ถ้าจำเป็นก็ควรหยุดพักเป็นช่วง ๆ เพื่อบริหารกล้ามเนื้อคอ หรือ ขยับเคลื่อนไหวคอเปลี่ยนอิริยาบถสัก 2 - 3 นาทีทุก ๆ ชั่วโมง

- ควรนอนบนที่นอนแข็งพอสมควร ไม่ควรนอนคว่ำอ่านหนังสือ หรือ ดูทีวี เพราะจะทำให้คอแหงนมาก

- นอนหนุนหมอนที่นุ่มและยืดหยุ่นพอที่จะแนบส่วนต่างๆ โดยเฉพาะบริเวณส่วนโค้งของคอ และ มีความหนาพอเหมาะที่จะทำให้คออยู่ในแนวตรง ( เมื่อมองจากด้านข้าง ) ไม่ทำให้คอแหงนหรือก้มมากเกินไป

2. ประคบด้วยน้ำแข็งหรือน้ำอุ่น อาจใช้ครีมนวด ร่วมด้วยแต่อย่านวดแรงเพราะจะทำให้กล้ามเนื้อฟกช้ำมากขึ้น

3. รับประทานยา เช่น ยาพาราเซตามอล ยาแก้ปวดลดการอักเสบที่มิใช่สเตียรอยด์ ยาคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น

4. ทำกายภาพบำบัด ในกรณีที่มีอาการมาก รับประทานยาและบริหารกล้ามเนื้อ แล้วไม่ดีขึ้น เช่น

- ใส่เครื่องพยุงคอ ซึ่งควรใช้ชั่วคราวเท่านั้น เพราะถ้าใช้ติดต่อกันนาน ๆ จะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงมากขึ้น

- ดึงถ่วงน้ำหนักกระดูกคอ

- ประคบบริเวณที่ปวดด้วย ความร้อน ความเย็น หรือ อัลตร้าซาวน์




ถ้าอาการต่อไปนี้ควรปรึกษาแพทย์

1. มีอาการปวดร้าวไปที่ไหล่ แขน หรือ มือ โดยอาจจะมีอาการชา หรือ กล้ามเนื้อมืออ่อนแรง ร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้

2. มีอาการ ขาชา หรือ ขาอ่อนแรง เวลาเดินรู้สึกว่าขาจะสั่น เดินเซ เดินแล้วจะล้ม หรือ รู้สึกขากระตุก

3. กลั้นอุจจาระหรือปัสสาวะไม่ได้ ทำให้มีอุจจาระ หรือปัสสาวะราด

4. อาการไม่ดีขึ้น หรือ รู้สึกเป็นมากขึ้น เพราะโดยทั่วไป ถ้าเกิดจากสาเหตุที่ไม่ร้ายแรง อาการมักจะดีขึ้นใน 2-3 วัน




ข้อแนะนำการบริหารกล้ามเนื้อคอ

1. ควรเริ่มทำภายหลังจากอาการปวดเริ่มทุเลาแล้ว ขณะบริหารถ้ามีอาการปวดมากขึ้นให้ลดจำนวนครั้งลง หรือหยุดพักการบริหารท่านั้นไว้ก่อน จนอาการปวดดีขึ้น แล้วจึงค่อยเริ่มทำใหม่ หรือ เพิ่มจำนวนครั้งให้มากขึ้น

2. เมื่อเริ่มบริหาร ควรเริ่มด้วยจำนวนครั้งน้อย ๆ ถ้าไม่มีอาการปวดจึงค่อยเพิ่มจำนวนครั้งมากขึ้น

3. ควรทำอย่างสม่ำเสมอทุกวัน อย่างน้อยวันละ 2-3 รอบ สามารถทำเวลาไหนก็ได้แล้วแต่สะดวก

4. ระหว่างการบริหาร หรือ การเกร็งกล้ามเนื้อ อย่ากลั้นหายใจ ซึ่งป้องกันโดยให้ ออกเสียงนับดัง ๆ ขณะบริหาร










อาการปวดกล้ามเนื้อ ปัญหาสุขภาพจากการใช้
Smartphone ... โดยภัทริยา อินทร์โท่โล่ และคณะ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=17-04-2017&group=5&gblog=51

ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) .. นำมาฝาก https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=17-08-2017&group=5&gblog=53

ปวดคอ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-06-2008&group=5&gblog=26

ปวดไหล่ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-06-2008&group=5&gblog=25

ปวดหลัง https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=18

เส้นเอ็นอักเสบแบบนิ้วไกปืน (โรคทริกเกอร์ฟิงเกอร์ ,TriggerFinger) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=16-07-2008&group=5&gblog=29

กลุ่มอาการ เส้นประสาทถูกกดทับที่ข้อมือ(ผังผืดทับเส้นประสาท) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=15-07-2008&group=5&gblog=28

ปลอกหุ้มเอ็นนิ้วหัวแม่มืออักเสบ (โรคเดอเกอร์แวง , De Quervain'sDisease) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=16-07-2008&group=5&gblog=30

เส้นเอ็นข้อศอกอักเสบ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=22-07-2008&group=5&gblog=32

 




Create Date : 26 มิถุนายน 2551
Last Update : 1 กุมภาพันธ์ 2563 15:19:05 น. 2 comments
Counter : 29319 Pageviews.  

 
กำลังปวดต้นคออยู่พอดี จอบคุณสำหรับคำแนะนำค่ะ


โดย: nathanon วันที่: 1 พฤศจิกายน 2551 เวลา:12:09:19 น.  

 




เคล็ด 'เลือกหมอน' ช่วยคนในบ้าน ลดเสี่ยงกระดูกคออักเสบ!

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 4 กุมภาพันธ์ 2553 17:33 น.

//www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9530000015909


เชื่อว่าหลาย ครอบครัว คงเคยไม่สบายตัว จนปวดหลัง เพราะเลือกเตียงไม่เหมาะสมกันมาแล้ว เหมือนกันกับการเลือกหมอน พ่อบ้าน แม่บ้านส่วนใหญ่ มักไม่ค่อยให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เท่าที่ควร เพราะคิดว่า หมอนทุกใบ ก็เหมือนๆ กัน

แต่การเลือกหมอนที่ดี มีวิธีการเลือกมากกว่านั้น เพราะถ้าเลือกไม่เหมาะสม มีแนวโน้มสูงที่จะทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อคอ คอเคล็ด จนเกิดการเสื่อมอักเสบของข้อต่อกระดูกคอตามมาได้

ทั้งนี้ เพื่อสุขภาพการนอนที่ดี ทีมงาน Life and Family ได้รับเทคนิคการเลือกหมอนที่น่าสนใจจาก "นพ.พุทธิพร เธียรประสิทธิ์" ผู้อำนวยการอาวุโส สถาบันโรคกระดูกสันหลังกรุงเทพ มาเป็นทิปเลือกซื้อหมอนให้เหมาะสม ลดเสี่ยงอาการปวดคอ จนนำไปสู่การเสื่อม และอักเสบของข้อต่อกระดูกคอของสมาชิกในบ้านกันครับ

กับเรื่องดังกล่าวนี้ ถือเป็นเรื่องสำคัญไม่ใช่น้อย เหตุที่ต้องใส่ใจกับการเลือกหมอนนั้น เนื่องจากกระดูกสันหลังของคนเรา มีลักษณะคล้ายกับตัว S ที่ช่วงหน้าอกจะงอไปข้างหลัง ช่วงคอจะงอมาด้านหน้า ทำให้เวลานอน จำเป็นต้องมีหมอนหนุนคอ เพื่อให้ได้รูปโค้งงอไปตามธรรมชาติ ซึ่งไม่ใช่หมอนทุกแบบ ที่จะช่วยให้รูปกระดูกเป็นไปตามธรรมชาติได้

ดังนั้น หมอนที่ดี ควรมีความนุ่มหนุนสบาย สามารถรองรับได้ตั้งแต่คอจนถึงศีรษะ โดยมีความสูงของหมอนประมาณ 4-6 นิ้ว รวมไปถึงความนุ่ม และรองรับศีรษะจนถึงบริเวณคอได้ทั้งหมด

สำหรับความแตกต่างระหว่างหมอนเตี้ย และนุ่มเกินไป กับหมอนสูง และแข็งเกินไปนั้น คุณหมออธิบายว่า ในส่วนของหมอนเตี้ย และนุ่มมากเกินไป เวลานอนหนุนจะเกิดการยุบตัวลง ทำให้แรงดันในหลอดเลือดสูง โดยเฉพาะกับผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ส่งผลให้เมื่อตื่นขึ้นมา จะเกิดอาการมึนศีรษะ หน้าตาบวม อาจทำให้เกิดอาการเหมือนกับคนตกหมอน ปวดเคล็ดต้นคอ หันซ้ายขวาลำบาก

ขณะที่การหนุนหมอนสูง และแข็งเกินไป จะทำให้ส่วนของศีรษะสัมผัสกับหมอนได้น้อย ทำให้ในส่วนที่สัมผัสกับหมอน เลือดจะไหลเวียนไม่สะดวก เพราะคอตั้งมากเกินไป นำไปสู่โรคเกี่ยวกับข้อต่อกระดูกต้นคอทับหลอดเลือด และเส้นประสาท หรือเกิดอาการเฉพาะที่ เช่น ปวดต้นคอ แขน และผู้ที่มีอาการหนัก อาจเกิดอาการนอนกรนได้อีกด้วย

"บ้าน ไหนที่มีคนเป็นโรคหัวใจ และปอด แนะนำว่า ควรจะนอนหมอนสูง เพื่อให้หัวใจ และปอดทำงานเบาลง ส่วนผู้ป่วยที่มีไข้สูง ควรหาหมอนน้ำให้หนุน เพื่อให้ความเย็น และช่วยลดความร้อนที่ศีรษะให้ดีขึ้นได้"





เลือกหมอนอย่างไร? ให้สอดรับกับท่านอน

ดังนั้น พ่อบ้าน แม่บ้าน ควรเลือกหมอนที่ไม่เตี้ยนุ่ม และสูงแข็งจนเกินไป แต่ควรเลือกให้เหมาะกับร่างกายจะดีที่สุด อย่างไรก็ดี ไม่เพียงแต่การเลือกหมอนเท่านั้นที่สำคัญ ในเรื่องของท่านอน คุณหมอบอกว่า มีส่วนเกี่ยวข้องกับหมอนด้วย จึงต้องเลือกให้เหมาะสมกับท่านอน ซึ่งแต่ละคน ล้วนมีท่านอนที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะนอนคว่ำ นอนหงาย หรือนอนตะแคงซ้ายขวา อย่างไรก็ดี เพื่อการเลือกหมอนให้สอดรับกับท่านอน คุณหมอมีวิธีแนะนำที่น่าสนใจตามแต่ละท่าดังนี้

* ท่านอนคว่ำ ท่านี้ไม่จำเป็นต้องใช้หมอน แต่ถ้าหากใช้หมอน จะค่อนข้างแบน และอาจจะมีหมอนใบเล็กๆ หนุนตรงบริเวณท้อง เพื่อความสบายตัวของท่านผู้อ่านเอง

* ท่านอนหงาย สำหรับสมาชิกในบ้านคนไหน ชอบนอนในท่านี้ คุณหมอแนะว่า หมอนที่ใช้ ต้องนิ่ม และไม่สูง ควรให้มีการรองรับส่วนเว้าของกระดูกคอ หน้าไม่เงยไปข้างหลัง โดยตำแหน่งที่จะใช้หนุน ได้แก่ บริเวณศีรษะ คอ ไหล่ และเข่า

นอกจากนี้ตัวหมอนต้องกว้างพอที่จะไม่ต้องนอนเกร็งคอเพราะกลัวตกหมอน และหลีกเลี่ยงการใช้หมอนเป่าลม หรือหมอนที่บรรจุน้ำ เพราะจะทำให้ศีรษะกลิ้งไปมา ส่งผลให้กล้ามเนื้อคอเกร็งจนไม่เป็นอันหลับอันนอนกันพอดี

* ท่านอนตะแคง หมอนต้องสูงเท่ากับระดับความสูงจากไหล่มายังศีรษะ ซึ่งศีรษะต้องอยู่ในแนวเดียวกับกึ่งกลางลำตัว (ไม่ใช่ศีรษะตกลงมาที่ไหล่ข้างที่นอนทับ หรือเอียงขึ้นจากแนวกึ่งกลางลำตัวไปยังหัวไหล่ด้านตรงกันข้าม)

นอกจากนี้ คุณสมบัติอื่นๆ ของหมอน ทั้งในท่านอนหงาย หรือท่านอนตะแคง ต้องมีความกว้างพอเหมาะกับขนาดศีรษะด้วย โดยจะต้องไม่นิ่ม หรือแข็งจนเกินไป

ซึ่งนอกจากหมอนแล้ว ที่นอน ควรมีเนื้อแน่น ไม่ยุบตัวลงเวลานอน แต่ไม่ใช่ว่าแข็งมากจนกดกระดูกของข้อไหล่ ที่สำคัญ ต้องไม่นิ่มมากจนเกินไป และต้องทำให้สามารถพลิกตัวไปมาได้ง่าย นั่นจะช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี ไม่เป็นเหน็บชาเวลาตื่นนอน รวมทั้งป้องกันข้อไหล่ติดจากการนอนทับในท่าเดียวกันตลอดคืนด้วย

เห็น ได้ว่า "หมอน" ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ที่จะซื้อหมอนอะไรมาหนุนนอนก็ได้ แต่ควรเลือกให้เหมาะสมตามคำแนะนำของคุณหมอข้างต้นด้วย เพียงเท่านี้ อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อบริเวณคอ หรือส่วนอื่นๆ ก็จะมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อย โดยเฉพาะอาการคอเคล็ด จนเกิดการเสื่อมอักเสบของข้อต่อกระดูกคอ ซึ่งถ้าเป็นแล้ว อาจจะต้องใช้เวลาในการรักษา และเสียค่าใช้จ่ายไม่น้อย ส่งผลต่อหน้าที่การงานในระยะยาวได้



โดย: หมอหมู วันที่: 8 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:15:38:06 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]