Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) .. นำมาฝาก



 

เครดิต FB JonesSalad
https://www.facebook.com/JonesSaladThailand/photos/a.1411999495702208/2909516542617155/


กลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม (office syndrome)

https://www.bumrungrad.com/th/rehabilitation-clinic-sathorn/conditions/office-syndromes
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) เป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นกับคนที่ทำงานในออฟฟิศ เนื่องจากลักษณะงานที่ต้องนั่งหน้าคอมพิวเตอร์หรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยท่าทางซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานาน จนอาจส่งผลให้เกิดโรคและอาการผิดปกติในระบบต่างๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบการย่อยอาหารและการดูดซึม ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบฮอร์โมน นัยน์ตาและการมองเห็น โดยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานกายภาพบำบัดจะเป็นอาการที่เกิดขึ้นกับระบบกระดูกและกล้ามเนื้อเป็นส่วนใหญ่
 

อาการทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อที่เกิดจากการทำงานที่พบได้บ่อยและสามารถดูแลโดยนักภาพภาพบำบัด
  • กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง (myofascial pain syndrome)
  • เอ็นรัดข้อมืออักเสบกดทับเส้นประสาท (carpal tunnel syndrome)
  • ความผิดปกติของความตึงตัวของเส้นประสาท (nerve tension)
  • กล้ามเนื้อบริเวณแขนท่อนล่างด้านนอกอักเสบ (tennis elbow)
  • ปลอกหุ้มเอ็นกล้ามเนื้อบริเวณฐานนิ้วโป้งอักเสบ (De Quervain’s tendonitis)
  • นิ้วล็อก (trigger finger)
  • เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ (tendinitis)
  • ปวดหลังจากท่าทางผิดปกติ (postural back pain)
  • หลังยึดติดในท่าแอ่น (back dysfunction)


สาเหตุของการเกิดออฟฟิศซินโดรม

สาเหตุและอาการของการเกิดออฟฟิศซินโดรม
  • การนั่งหน้าคอมพิวเตอร์หรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยท่าทางซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานานมากกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน
  • ท่าทางในการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น การนั่งหลังค่อม ท่าก้มหรือเงยคอมากเกินไป
  • สภาพแวดล้อมหรืออุปกรณ์ในการทำงานไม่เหมาะสม
  • สภาพร่างกายที่อาจส่งผลต่ออาการเจ็บป่วย เช่น ภาวะเครียดจากงาน การอดอาหาร การพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งส่งผลให้ร่างกายต้องแบกรับความตึงเครียดปราศจากการผ่อนคลาย


การสังเกตอาการออฟฟิศซินโดรมและแนวทางแก้ไข

 ระดับของอาการ    การสังเกตอาการ           แนวทางแก้ไข
ระดับที่ 1 อาการเกิดขึ้น เมื่อทำงานไประยะหนึ่ง พักแล้วดีขึ้นทันที
  • พักสลับทำงานเป็นระยะๆ
  • ยืดกล้ามเนื้อเพื่อผ่อนคลาย
  • นวดผ่อนคลาย
  • ออกกำลังกาย
ระดับที่ 2 อาการเกิดขึ้น พักนอนหลับแล้ว แต่ยังคงมีอาการอยู่
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน
  • รับการรักษาที่ถูกต้อง
ระดับที่ 3 อาการปวดมากแม้ทำงานเพียงเบาๆ พักแล้วอาการก็ยังไม่ทุเลาลง
  • พักงาน/ปรับเปลี่ยนงาน
  • รับการรักษาที่ถูกต้อง
 
 

แนวทางการรักษากลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม

  • การรักษาด้วยยา
  • การรักษาด้วยวิธีทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูและการทำกายภาพบำบัดเพื่อยืดกล้ามเนื้อและปรับอิริยาบถให้ถูกต้อง
  • การปรับสถานีงาน พื้นที่การทำงาน สภาพแวดล้อมในการทำงาน และลักษณะงานให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล
  • การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มสมรรถภาพร่างกายโดยรวม
  • การรักษาด้วยศาสตร์ทางเลือกอื่น เช่น การฝังเข็ม การนวดแผนไทย

ความสำคัญของกายภาพบำบัดต่อการรักษากลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม

กายภาพบำบัดมีบทบาทสำคัญในการรักษากลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมที่เกี่ยวข้องกับระบบกล้ามเนื้อและกระดูกตั้งแต่ระยะเริ่มแรกจนถึงกรณีที่มีอาการมากจนรบกวนชีวิตประจำวันหรือก่อให้เกิดความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว เพื่อฟื้นฟูให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ

นักกายภาพบำบัดยังมีหน้าที่ในการเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยกลับมามีอาการเหล่านี้อีก โดยนักกายภาพบำบัดจะประเมินโครงสร้างร่างกายพร้อมปรับแก้โครงสร้างร่างกายให้เกิดความสมดุลและปกติ รวมถึงให้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนท่าทางระหว่างการทำงาน การปรับสภาพแวดล้อมของเครื่องมือและสิ่งแวดล้อมในที่ทำงานให้เหมาะสมในแต่ละบุคคล แนะนำการยืดกล้ามเนื้อเพื่อผ่อนคลายในระหว่างการทำงาน รวมทั้งส่งเสริมให้มีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องเพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง พร้อมรับสภาวะการทำงานที่อาจไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงของโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับออฟฟิศซินโดรมด้วย


เป้าหมายในการดูแลทางกายภาพบำบัดในผู้ป่วยกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม

  • ลดอาการปวดที่เกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อ/เอ็นกล้ามเนื้อ
  • ลดการเคลื่อนไหวของข้อต่อนั้นๆ (immobilization) ด้วยอุปกรณ์ช่วยพยุงต่างๆ รวมถึงถ้ายังจำเป็นต้องใช้งานต่อเนื่องจากภาระงาน
  • ให้คำแนะนำที่ถูกต้องเพื่อลด/หลีกเลี่ยงการใช้งานบริเวณที่มีการอักเสบ
  • ให้ความรู้ในการแก้ไขปัจจัยอื่นที่กระตุ้นให้เกิดอาการ ได้แก่
    • การปรับท่าทางให้ถูกต้อง
    • การปรับหรือแก้ไขความผิดปกติของโครงสร้างร่างกาย
    • การลดการกดทับของกล้ามเนื้อหรือการหดสั้นของกล้ามเนื้อ
    • การปรับสภาพแวดล้อมของเครื่องมือและสิ่งแวดล้อมในที่ทำงานให้เหมาะสมในแต่ละบุคคล
    • การออกกำลังกายเพื่อการป้องกันและส่งเสริมการทำงานของกล้ามเนื้อ
      • การยืดกล้ามเนื้อ
      • การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
      • การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความทนทานของกล้ามเนื้อและระบบหัวใจและหลอดเลือด
      • การออกกำลังกายเพื่อการผ่อนคลาย
      • การออกกำลังกายเพื่อปรับการทรงท่า (postural correction)

อย่างไรก็ดี การรักษากลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมด้วยวิธีต่างๆ นั้นเป็นเพียงการรักษาที่ปลายเหตุ เพื่อรักษาอาการกล้ามเนื้ออักเสบหรือรักษาพังผืดในกล้ามเนื้อ วิธีการที่ดีที่สุดที่จะป้องกันอาการจากออฟฟิศซินโดรมจำเป็นต้องทำร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การปรับอิริยาบถในการทำงานให้ถูกต้อง รวมถึงการเสริมสร้างสุขภาพกายและใจให้สมบูรณ์แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ ลดความเครียด และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยลดการเกิดอาการบาดเจ็บต่างๆ ที่จะมาบั่นทอนคุณภาพชีวิตและประสิทธิภาพในการทำงานได้อย่างถาวร

::::::::::::::::::::::::::::::::::::::
 

เป็นแล้วต้องรักษา "ออฟฟิศซินโดรม" ปล่อยไว้นาน อันตรายเกินคาด

 
โดย MGR Online    18 ตุลาคม 2559 21:25 น.
https://www.manager.co.th/goodhealth/ViewNews.aspx?NewsID=9590000104494
 
ทุกสิ่งที่เกิดกับเราในปัจจุบัน ล้วนเป็นผลสืบเนื่องจากการกระทำที่ผ่านมาเสมอเรื่องของสุขภาพร่างกายก็เช่นกัน

โดยทั่วไป คนเรามักเริ่มต้นวัยทำงานในช่วงอายุ 23 ปี ไปจนเกษียณตอนอายุ 60 ปี แม้ในช่วงนี้ ร่างกายจะยังแข็งแรง ไม่ค่อยเจ็บป่วยง่าย แต่ลักษณะการทำงานในบางอาชีพ โดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศที่ต้องนั่งโต๊ะทำงานตั้งแต่เช้าจนถึงเย็น ก็มีความเสี่ยงเกิดอาการออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) ที่เริ่มจากการแสดงอาการเล็กๆ น้อยๆ จนคนมองข้ามไป เช่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ปวดคอ แต่หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่มีการปรับพฤติกรรมหรือทำการรักษา ก็อาจลุกลาม ทำให้ร่างกายเสียสมดุล จนนำไปสู่การเจ็บป่วยอื่นๆ ในอนาคต

 
 
อย่าวางใจ...“ออฟฟิศซินโดรม” เรื่องเล็กๆ ที่อาจกลายเป็นเรื่องใหญ่

       นพ. วศิน กุลสมบูรณ์ แพทย์หัวหน้าแผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า ออฟฟิศซินโดรมเป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นกับคนที่ทำงานในออฟฟิศ ซึ่งมีลักษณะงานที่ต้องนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยท่าทางซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานานมากกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน หรือท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น การนั่งหลังค่อม ท่าก้มหรือเงยคอมากเกินไป จนอาจส่งผลให้เกิดโรคและอาการผิดปกติในระบบต่างๆ ของร่างกาย เช่น ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบการย่อยอาหารและการดูดซึม ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบฮอร์โมน นัยน์ตาและการมองเห็น

“วงจรชีวิตการทำงานคือ 23-60 ปี ถ้ามีอาการต่อเนื่อง 3-5 ปีก็จะเริ่มมีปัญหาแล้ว และจะส่งผลต่อปัจจัยอื่นๆ ในร่างกาย เช่น กระดูกต้นคอเสื่อม กระดูกหลังเสื่อมเพราะตัวกล้ามเนื้อและกระดูก ถูกธรรมชาติออกแบบให้ใช้งานสำหรับการเคลื่อนไหว เมื่อไหร่ที่นั่งทำงานนานๆ การทำงานของระบบพวกนี้ก็จะผิดปกติ ทำให้ระบบทุกอย่างในร่างกายเกิดความไม่สมดุลกันไปหมด กล่าวได้ว่าเป็นเรื่องเล็กๆ ที่จะกลายเป็นเรื่องใหญ่ในอนาคต” นพ. วศิน กล่าว

       สำหรับอาการออฟฟิศซินโดรมที่พบได้บ่อย ได้แก่ กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง (myofascial pain syndrome) เอ็นรัดข้อมืออักเสบกดทับเส้นประสาท (carpal tunnel syndrome) ความผิดปกติของความตึงตัวของเส้นประสาท (nerve tension)กล้ามเนื้อบริเวณแขนท่อนล่างด้านนอกอักเสบ (tennis elbow) ปลอกหุ้มเอ็นกล้ามเนื้อบริเวณฐานนิ้วโป้งอักเสบ (De QuervainSyndrome) นิ้วล็อก (trigger finger) เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ (tendinitis)และ หลังยึดติดในท่าแอ่น (back dysfunction)

จากสถิติผู้ป่วยที่เข้ารับบริการที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ในแต่ละปี พบว่า ผู้ป่วยที่เข้ารับการทำกายภาพบำบัดกว่า 60% ของผู้ป่วยทั้งหมด คือผู้ที่มีอาการออฟฟิศซินโดรม ซึ่งเมื่อตรวจสอบประวัติแล้วก็พบว่าสาเหตุมาจากการนั่งทำงานเป็นระยะเวลานานๆ โดยไม่มีการเคลื่อนไหว

       นอกจากนี้ แนวโน้มที่น่าสนใจคือ ช่วงอายุของผู้มีอาการออฟฟิศซินโดรม เริ่มมีแนวโน้มที่น้อยลงเรื่อยๆ จากอดีต มักพบในกลุ่มคนวัยทำงานอายุ 40 ปี ต่อมาลดลงเหลือ 30 ปี และปัจจุบันลดลงมาอยู่ที่ 20 กว่าปีแล้ว สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะไลฟ์สไตล์เปลี่ยน เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น มีการใช้สื่อโซเชียลอย่างแพร่หลาย ทำให้คนอยู่ในท่าทางเดิมเป็นระยะเวลานาน ซึ่งในกลุ่มที่เล่นโซเชียลผ่านโทรศัพท์มือถือนานๆ ส่วนใหญ่จะพบการอักเสบของข้อมือ และในระยะยาวอาจเกิดอาการนิ้วล็อก เหยียดให้ตรงไม่ได้

อย่างไรก็ดี ในอีกมุมหนึ่งก็อาจมองได้ว่า การตระหนักรู้และใส่ใจต่อสุขภาพของคนยุคปัจจุบันมีมากขึ้น ทำให้คนที่อายุน้อยๆ เข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาลมากขึ้นตามไปด้วย

 
 
เช็กลิสต์ “อาการ” ออฟฟิศซินโดรม "เป็นน้อย” หรือ “เป็นหนัก” ต้องรักษา?

       นพ. วศิน กล่าวอีกว่า วิธีปฏิบัติตัวเพื่อหลีกเลี่ยงอาการออฟฟิศซินโดรม ทำได้ง่ายมาก โดยหลักการคือควรมีการลุกหรือเคลื่อนไหวร่างกายทุกๆ ครึ่งชั่วโมงก็ช่วยได้แล้ว แต่ต้องเป็นการเคลื่อนไหวแบบยืดตัว เนื่องจากลักษณะท่าทางการทำงานส่วนใหญ่คือการก้มทั้งหมด

อย่างไรก็ดี ด้วยภาระงานที่ยังต้องทำต่อไป ก็อาจเป็นข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวร่างกาย จนทำให้เกิดอาการได้ ซึ่งในทางวิชาการแล้ว ออฟฟิศซินโดรม แบ่งออกเป็น3 ระดับ ซึ่งประชาชนทั่วไปสามารถสังเกตเบื้องต้นด้วยตัวเองว่าอาการเจ็บปวดที่เกิดขึ้นอยู่ในระดับไหนแล้ว

ระดับที่ 1
       มีอาการปวดเมื่อยเกิดขึ้นเมื่อทำงานไประยะหนึ่ง แต่พักแล้วดีขึ้นทันที แนวทางแก้ไขคือ การพักสลับทำงานเป็นระยะๆ การยืดกล้ามเนื้อเพื่อผ่อนคลาย การนวดเพื่อผ่อนคลาย และการออกกำลังกาย

ระดับที่ 2
       มีอาการเกิดขึ้น แม้จะพักผ่อนนอนหลับแล้ว แต่ยังคงมีอาการอยู่ อาจจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานหรือรับการรักษาที่ถูกต้อง

ระดับที่ 3
       มีอาการปวดอย่างมากแม้ทำงานเพียงเบาๆ พักแล้วอาการก็ยังไม่ทุเลาลง หากมีอาการระดับนี้ จำเป็นต้องพักงานปรับเปลี่ยนงานและรับการรักษาที่ถูกต้อง

“วิธีสังเกตอาการว่าเป็นมากเป็นน้อย สมมุตินั่งทำงานอยู่แล้วปวด แต่พอลุกเดินไปทำกิจกรรมอื่น เช่น ไปเข้าห้องน้ำ ไปชงกาแฟ แล้วหายปวด แบบนี้อยู่ในระยะเริ่มแรก แปลว่าคุณดูแลตัวเองได้ ยังไม่ถึงขั้นต้องไปหาหมอ แต่พอเป็นถึงระดับ 2-3 คุณเริ่มต้องการคำแนะนำหรือต้องไปพบแพทย์แล้ว ระดับ 2 อาจต้องมาพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ ทำการรักษา 1-2 ครั้งแล้วกลับไปทำต่อที่บ้าน แต่ถ้าระดับ 3 จำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง” นพ. วศิน กล่าว

ทั้งนี้ นพ. วศิน แนะนำว่า เมื่อมีอาการเกิดขึ้น แม้ไม่ถึงขั้นต้องรักษาด้วยเครื่องมือหรือตัวยา ก็ควรมาพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาอย่างน้อยเพื่อตรวจสอบว่าอาการที่เกิดขึ้นเกิดจากกล้ามเนื้อและกระดูกจริงๆ หรือเกิดจากภาวะซ่อนเร้นอื่นๆ เช่น ปลายประสาท หรือผิดปกติของกระดูก เพื่อจะได้วิเคราะห์ต้นเหตุได้อย่างถูกต้องต่อไป

 
 
“กายภาพบำบัด” ปัจจัยสำคัญในการรักษา

       แนวทางการรักษากลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม ขึ้นอยู่กับอาการและระดับความรุนแรง ตั้งแต่การรักษาด้วยยา การรักษาด้วยวิธีทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูและการทำกายภาพบำบัด เพื่อยืดกล้ามเนื้อและปรับอิริยาบถให้ถูกต้อง การปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน และลักษณะงานให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล

“การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มสมรรถภาพร่างกายโดยรวม ตลอดจนการรักษาด้วยศาสตร์ทางเลือกอื่น เช่น การฝังเข็ม การนวดแผนไทยซึ่งระยะเวลาการรักษาต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร เช่น ถ้าอยู่ในระยะเริ่มต้น อย่างเร็วก็ 1-3 เดือนถึงจะหาย และมีข้อแม้ว่าต้องดูแลตัวเองไปเรื่อยๆ ไม่ให้กลับมาเป็นอีก”

       นพ. วศิน กล่าวเพิ่มเติมว่า กระบวนการทำกายภาพบำบัด เป็นขั้นตอนสำคัญในการรักษากลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมที่เกี่ยวข้องกับระบบกล้ามเนื้อและกระดูก เพื่อฟื้นฟูให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ซึ่งการทำกายภาพบำบัดที่ดีนั้น ไม่ใช่แค่การรักษาแล้วปล่อยกลับบ้าน แต่ยังควรสร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยกลับมามีอาการเหล่านี้อีก

นักกายภาพบำบัดควรประเมินโครงสร้างร่างกายและปรับแก้ให้เกิดความสมดุล แนะนำการปรับเปลี่ยนท่าทางระหว่างการทำงานให้เหมาะสมเฉพาะแต่ละบุคคล รวมทั้งส่งเสริมให้มีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องเพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง พร้อมรับสภาวะการทำงานที่อาจไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงของโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับออฟฟิศซินโดรมด้วย

 
 









อาการ Office Syndrome เป็นอาการที่เกิดกับคนที่มีลักษณะงานที่ต้องนั่งหน้าคอมพิวเตอร์หรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยท่าทางซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานาน จนอาจส่งผลให้เกิดโรคและอาการผิดปกติในระบบต่างๆ ของร่างกาย อาการที่พบส่วนใหญ่มักจะพบเป็นอาการเกี่ยวกับกระดูก โดยกระดูกจะมีการสูญเสียแคลเซียมมาก ทำให้เริ่มมีอาการปวดที่ไหล่ หลัง รวมไปถึงกล้ามเนื้ออักเสบ ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจจะทำให้เกิดโรคร้ายแรง เช่น การปวดหลังเรื้อรัง หรือสูญเสียบุคลิกภาพ
คุณหมอยังกล่าวอีกว่า ปัจจัยสำคัญในการแก้ Office Syndrome นั้นคือ การปรับพฤติกรรมของตนเองทั้งในช่วงเวลาทำงานและเวลาอื่นๆ ด้วย โดยเริ่มจากหลักการดังนี้

การจัดโต๊ะทำงาน
การจัดวางคอมพิวเตอร์ให้อยู่ตรงหน้า ไม่เอียงซ้ายหรือขวา จะช่วยให้คุณจัดท่านั่งของตนเองได้ดียิ่งขึ้น ทั้งยังช่วยให้กล้ามเนื้อและกระดูกสันหลังอยู่ในท่าที่ตั้งตรง ไม่ก่อให้เกิดอาการปวดเมื่อย

การเปลี่ยนอริยาบท
สำหรับคนที่ต้องทำงานออฟฟิศและต้องนั่งหรือยืนนานๆ แนะนำว่าควรเปลี่ยนอริยาบททุกๆ 50 นาทีถึง 1 ชั่วโมง ไม่ว่าจะลุก ยืน เดิน หรือเปลี่ยนท่าทางอื่นๆ โดยการขยับร่างกายจะช่วยกล้ามเนื้อได้มีการออกแรง ทั้งยังส่งผลดีต่อหัวใจและปอดอีกด้วย

ออกกำลังกายเบาๆ
นอกจากจะเปลี่ยนอริยาบทระหว่างอยู่ที่ทำงานแล้ว ยามว่างลองหาโอกาสในการออกกำลังกายเบาๆ ด้วยท่าออกกำลังกายต่างๆที่ช่วยป้องกันและบรรเทาอาการ Office Syndrome โดยตรงไม่ว่าจะเป็น ท่าแกว่งแขน ที่เป็นการขยับกล้ามเนื้อส่วนไหล่และแขนให้กล้ามเนื้อแข็งแรง และช่วยเรื่องอาการปวดเป็นอย่างดี

กินอาหารที่มีประโยชน์
รู้หรือไม่ว่า การนั่งหรืออยู่ในท่าต่างๆ นานๆ โดยไม่มีการขยับ ก่อให้เกิดการสูญเสียแคลเซียมมากกว่าที่เราคิด ดังนั้นอาหารการกินที่มีปริมาณแคลเซียมสูงเช่น คะน้า นม งา หรือข้าวโอ๊ต จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คุณทำได้

เมื่อรู้วิธีการปรับเปลี่ยนนิสัยเพื่อป้องกันอาการ Office Syndrome กันแล้ว อย่าลืมลองทำตามกันดูนะคะ

ขอบคุณข้อมูลจาก : บทสัมภาษณ์ ร.ศ.นพ.ปัญญา ไข่มุก

https://www.thaihealth.or.th/sook/info-body-detail.php?id=187

 





********************************

อาการปวดกล้ามเนื้อ ปัญหาสุขภาพจากการใช้ Smartphone ... โดยภัทริยา อินทร์โท่โล่ และคณะ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=17-04-2017&group=5&gblog=51

ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) .. นำมาฝาก https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=17-08-2017&group=5&gblog=53

ปวดคอ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-06-2008&group=5&gblog=26

ปวดไหล่ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-06-2008&group=5&gblog=25

ปวดหลัง https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=18

เส้นเอ็นอักเสบแบบนิ้วไกปืน (โรคทริกเกอร์ฟิงเกอร์ ,TriggerFinger) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=16-07-2008&group=5&gblog=29

กลุ่มอาการ เส้นประสาทถูกกดทับที่ข้อมือ(ผังผืดทับเส้นประสาท) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=15-07-2008&group=5&gblog=28

ปลอกหุ้มเอ็นนิ้วหัวแม่มืออักเสบ (โรคเดอเกอร์แวง , De Quervain'sDisease) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=16-07-2008&group=5&gblog=30

เส้นเอ็นข้อศอกอักเสบ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=22-07-2008&group=5&gblog=32

 




Create Date : 17 สิงหาคม 2560
Last Update : 31 มีนาคม 2566 15:16:01 น. 1 comments
Counter : 19922 Pageviews.  

 
สวัสดีจ้ะ เราแวะมาทักทายนะ sinota ซิโนต้า Ulthera สลายไขมัน SculpSure เซลลูไลท์ ฝ้า กระ Derma Light เลเซอร์กำจัดขน กำจัดขนถาวร รูขุมขนกว้าง ทองคำ ไฮยาลูโรนิค Hyaluronic คีเลชั่น Chelation Hifu Pore Hair Removal Laser freckle dark spot cellulite SculpSure Ultherapy กำจัดไขมัน ร้อยไหม adenaa ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ สักคิ้วถาวร สักคิ้ว 6 มิติ ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ


โดย: สมาชิกหมายเลข 4286561 วันที่: 22 ธันวาคม 2560 เวลา:17:40:39 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]