Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

หัวกระดูกสะโพกตาย จากการขาดเลือด ในเด็ก Legg-Calve'-Perthes disease



หัวกระดูกสะโพกตาย จากการขาดเลือด ในเด็ก

LCP , Perthes disease , Legg Perthes disease , Legg-Calve'-Perthes disease

ในประเทศอเมริกา พบ 1 ต่อ 1200 ในเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปี

พบบ่อยในเด็กอายุ 4 - 8 ปี ( 2 – 14 ปี) พบในเด็กชาย มากกว่า เด็กหญิง ( 4 : 1 )

พบเป็นทั้งสองข้าง ร้อยละ 10



สาเหตุ
ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด มีประวัติในครอบครัว ร้อยละ 1.6 – 20

เชื่อว่า เกิดจากเส้นเลือดตีบ จากสาเหตุอะไรก็ตาม ทำให้หัวสะโพกขาดเลือดมาเลี้ยง ทำให้เนื้อกระดูกภายในส่วนหัวตาย และ ยุบตัวลง


อาการ

ปวดตึงที่ ขาหนีบ ต้นขา หรือ เข่า เดินกระเผลก เนื่องจากขาสองข้างไม่เท่ากันและหัวสะโพกผิดรูป

ช่วงแรกจะเป็น ๆ หาย ๆ บางช่วงก็จะปวดมาก บางครั้งก็ไม่ปวด แต่เดินกะเผลก

อาการมักไม่สัมพันธ์กับลักษณะของการเปลี่ยนแปลงในภาพเอกซเรย์


การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

• เอกซเรย์ธรรมดา

• เอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ( MRI )

• ฉีดสีเข้าข้อสะโพก


ปัจจัยทีมีผล ต่อ ผลการรักษา

• อายุของเด็กเมื่อเริ่มเป็นโรค อายุยิ่งน้อย ผลการรักษายิ่งดี โดยเฉพาะ อายุน้อยกว่า 5 ปี

• อ้วน ถ้าน้ำหนักมาก ผลก็มักไม่ค่อยดี

• บริเวณที่เนื้อหัวกระดูกสะโพกตาย ถ้ามีบริเวณกว้าง หัวกระดูกสะโพกก็จะมีโอกาสผิดรูปมากขึ้น ผลไม่ค่อยดี

• ข้อสะโพกเคลื่อน ในขณะที่ยืนลงน้ำหนัก ถ้ามีข้อสะโพกเคลื่อน ผลการรักษาก็จะไม่ดี

• การเคลื่อนไหวของข้อสะโพก ถ้าเคลื่อนไหวได้น้อย ผลก็จะไม่ค่อยดี



แนวทางรักษา

ไม่ผ่าตัด เช่น

นอนพัก

ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาคลายกล้ามเนื้อ

กายภาพบำบัด ใส่เฝือก (4–6 อาทิตย์) ใส่กายอุปกรณ์ (18–24 เดือน) หรือ ใช้อุปกรณ์ดึงถ่วงน้ำหนักที่ขา ถ้าปวดมาก อาจต้องดึงนาน 2-4 อาทิตย์ เมื่ออาการปวดลดลงและเคลื่อนไหวข้อสะโพกได้ดีขึ้น ก็ให้เดินโดยใช้ไม้ค้ำยัน




ผ่าตัด

มีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับ ความผิดปกติของหัวสะโพก เช่น ผ่าตัดกระดูกสะโพก กระดูกต้นขา หรือ กระดูกเชิงกราน




ผลการรักษา ในระยะยาว ค่อนข้างได้ผลดี

ผู้ป่วยร้อยละ 60 สามารถดำเนินชีวิตได้ปกติ

โดยเฉพาะผู้ที่เริ่มเป็นอายุน้อยกว่า 5 ปี ( ถ้าอายุมากกว่า 9 ปี ได้ผลดีเพียง 10-15 %)

เด็กชาย จะมีผลการรักษาดีกว่า เด็กหญิง



อ้างอิง


//orthoinfo.aaos.org/topic.cfm?topic=A00070&return_link=0

//emedicine.medscape.com/article/826935-overview

//www.wheelessonline.com/ortho/legg_calve_perthes_disease

//www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/001264.htm

//www.patient.co.uk/doctor/Legg-Calve-Perthes-Disease.htm
//www.orthoseek.com/articles/perthes.html

//www.peds-ortho.com/perthes.html

//www.eorthopod.com/public/patient_education/6624/perthes_disease.html





แถม ...

ภาวะ หัวกระดูกสะโพกตาย จาก การขาดเลือด ในผู้ใหญ่

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=01-08-2008&group=5&gblog=37








Create Date : 20 กรกฎาคม 2552
Last Update : 20 กรกฎาคม 2552 19:32:58 น. 1 comments
Counter : 10192 Pageviews.  

 
สวัสดีคะคุณหมอ

ช่วงนี้สนใจเรื่องกระดูกเพราะน้องหมาที่บ้านเป็นโรคข้อสะโพกเสื่อมคะ
หมากับคนก็คงคล้าย ๆ กัน ตอนนี้ก็ต้องพาน้องหมาไปทำกายภาพ และคิดว่าสิ้นปีนี้คงจะได้ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกใหม่

อาการของน้องหมาที่บ้านคล้ายกับที่คุณหมอกล่าวไว้เลยคะ เนื่องจากปวดที่ข้อสะโพกทำให้มาเกรงที่ขาหนีบแทน ตอนนี้เลยมีอาการปวดตึงที่ขาหนีบ

ไว้จะแวะมาอ่านบ่อยๆ นะคะ เผื่อจะนำไปปรับใช้กับน้องหมาที่บ้านได้บ้าง


โดย: สาวญี่ปุ่น วันที่: 20 ตุลาคม 2552 เวลา:23:15:32 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]